วันพุธที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ลำดับนั้นจิตของเราก็ หลุดพ้นจากสรรพกิเลสนั้นมีเหตุเกิดขึ้นได้อย่างไร ? ในกาลแห่งพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ท่านพระ- นาคสมาลเถระนี้ บังเกิดในเรือนมีตระกูล ถึงความเป็นผู้รู้เดียงสา ใน คิมหสมัย ได้เห็นพระศาสดาเสด็จดำเนินบนภาคพื้นอันร้อนระอุไปด้วย แสงพระอาทิตย์ จึงได้ถวายร่ม. ด้วยบุญกรรมนั้น ท่านท่องเที่ยวไปในเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ในพุทธุปบาทกาลนี้ บังเกิดในสักยราชตระกูล ได้นามว่า นาคสมาละ เจริญวัยแล้วได้ศรัทธาบวชในสมาคมแห่งพระญาติ ได้เป็นผู้อุปัฏฐากพระ- ผู้มีพระภาคเจ้า ตลอดกาลเล็กน้อย. วันหนึ่งท่านเข้าไปบิณฑบาตยังพระนคร เห็นหญิงนักฟ้อนคนหนึ่ง ประดับตกแต่งแล้วฟ้อนอยู่ ในเมื่อดนตรีกำลัง ประโคมอยู่ในหนทางใหญ่ เริ่มตั้งความสิ้นไปและความเสื่อมไปว่า วาโย- ธาตุอันกระทำให้วิจิตรนี้ ย่อมเปลี่ยนแปรกรัชกายไปโดยประการนั้น ๆ ด้วยอำนาจความแผ่ไป น่าอัศจรรย์สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ดังนี้แล้ว ได้ บำเพ็ญขวนขวายวิปัสสนาบรรลุพระอรหัต ด้วยเหตุนั้น ท่านจึงกล่าวไว้ ในอปทาน๑ว่า แผ่นดินร้อนดังเพลิง แผ่นดินดุจมีเถ้ารึงไหล พระ- ผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระนามว่า ปทุมุตระ เสด็จจงกรมอยู่ ๑. ขุ. อ. ๓๓/ข้อ ๔๗. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 3 ที่กลางแจ้ง เรากั้นร่มขาวเดินทางไป ได้เห็นพระสัม- พุทธเจ้าเข้าไปกลางแจ้งนั้น แล้วเกิดความคิดขึ้นว่า ภูมิ- ภาคถูกพยับแดดแผ่คลุม แผ่นดินนี้จึงเป็นเหมือนถ่าน เพลิง พายุใหญ่ทำสรีรกายให้ลอยขึ้นได้ตั้งขึ้นอยู่ หนาว ร้อน ย่อมทำให้ลำบาก ขอได้โดยรับร่มนี้อันเป็นเครื่อง ป้องกันลมและแดดเถิด ข้าพระองค์จักสัมผัสพระนิพพาน พระชินเจ้าทรงพระนามว่าปทุมุตระ ผู้ทรงอนุเคราะห์ ประกอบด้วยพระกรุณา มีพระยศใหญ่ ทรงทราบความ ดำริของเราแล้ว ทรงรับไว้ในกาลนั้น เราจักเป็นจอม เทวดา เสวยราชสมบัติในเทวโลก ๓๐ กัป ได้เป็นพระ- เจ้าจักรพรรดิราช ๕๐๐ ครั้ง และได้เป็นเจ้าประเทศราช อันไพบูลย์โดยคณานับมิได้ เราได้เสวยกรรมของตนซึ่ง ก่อสร้างไว้ดีแล้วในปางก่อน นี้เป็นชาติสุดท้ายของเรา ภพที่สุดกำลังเป็นไปอยู่ ถึงทุกวันที่ชนทั้งหลายก็พากัน กั้นเศวตฉัตรให้เราตลอดกาลทุกเมื่อ ในแสนกัปแต่ภัทร- กัปนี้ เราได้ถวายร่มนั้นไม่รู้จักทุคติเลย นี้เป็นผลแห่ง การถวายร่ม เราเผากิเลสทั้งหลายแล้ว... ฯลฯ ... พระ- พุทธศาสนาเราได้ทำเสร็จแล้ว ดังนี้. ก็แลครั้นท่านพระพระอรหัตแล้ว ได้พยากรณ์พระอรหัตผล โดย ระบุข้อปฏิบัติของตนขึ้นเป็นประธานด้วย ๔ คาถาว่า เราเดินทางเข้าไปบิณฑบาตในพระนคร ได้เห็นหญิง ฟ้อนรำคนหนึ่ง ตกแต่งร่างกายด้วยเครื่องอาภรณ์นุ่งห่ม พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 4 สวยงาม ทัดทรงดอกไม้ ลูบไล้ด้วยกระแจะจันทร์ ฟ้อน รำอยู่ในวงดนตรีที่ถนนหลวง ท่านกลางพระนคร เป็น ดุจบ่วงแห่งมัจจุราชอันธรรมชาติมาดักไว้ เพราะฉะนั้น การกระทำไว้ในใจโดยอุบายอันแยบคาย จึงบังเกิดขึ้น แก่เรา อาทีนวโทษปรากฏแก่เรา ความเบื่อหน่ายก็ตั้งลง มั่น ลำดับนั้น จิตของเราก็หลุดพ้นจากสรรพกิเลส ขอ ท่านจงดูความที่แห่งธรรมเป็นธรรมอันดีเลิศ เราได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้ว ได้ทำกิจพระพุทธศาสนาเสร็จแล้ว. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อลงฺกตา ความว่า มีตัวประดับด้วย อาภรณ์มีกำไรมือเป็นต้น. บทว่า สุวสนา ได้แก่ เครื่องนุ่งห่มผ้าดี คือ นุ่งผ้างาม. บทว่า มาลินี ได้แก่ทัดทรงดอกไม้ คือมีพวงดอกไม้ประดับ แล้ว. บทว่า จนฺทนุสฺสทา ได้แก่มีร่างกายลูบไล้ด้วยกระแจะจันทน์. บทว่า มชฺเฌ มหาปเถ นารี ตูริเย นจฺจติ นฏฺฏกี ความว่า หญิงนักฟ้อน คือหญิงฟ้อนรำคนหนึ่ง ในสถานที่ตามที่กล่าวแล้ว ฟ้อนรำอยู่ในวงดนตรี มีองค์ ๕ ในท่ามกลางถนนพระนคร คือกระทำการฟ้อนรำอยู่ตาม ปรารถนา. บทว่า ปิณฺฑิกาย ได้แก่ เพื่อภิกษา. บทว่า ปวิฏฺโมฺหิ ได้แก่ เราเข้าไปยังพระนคร. บทว่า คจฺฉนฺโต น อุทิกฺขิส ความว่า เมื่อ เดินไปบนถนนในพระนคร ตรวจดูถนนเพื่อกำจัดอันตราย ได้แลดูหญิง นักฟ้อนนั้น. ถามว่าเหมือนอะไร ? แก้ว่า เหมือนบ่วงแห่งมัจจุราช อัน ธรรมชาติมาดักไว้, อธิบายว่า อารมณ์มีรูปเป็นต้น อันเป็นบ่วงแห่ง มัจจุ คือแห่งมัจจุราช อันธรรมชาติดักไว้ คือเที่ยวสัญจรอยู่ในโลก ย่อม นำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวฉันใด หญิงนักฟ้อนแม้นั้นก็ฉันนั้น พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 5 ย่อมนำมาซึ่งความพินาศโดยส่วนเดียวแก่ปุถุชนคนบอด เพราะฉะนั้น ท่านจึงกล่าวว่าเสมือนกับบ่วงแห่งมัจจุราช. บทว่า ตโต แปลว่า เพราะเหตุนั้น สัตว์ทั้งหลายจึงเป็นผู้ข้องอยู่ เสมือนบ่วงแห่งมัจจุราช. บทว่า เม ได้แก่ เรา. บทว่า มนสีกาโร โยนิโส อุทปชฺชถ ความว่า การกระทำไว้ในใจโดยแยบคายเกิดขึ้นแล้ว อย่างนี้ว่า ร่างกระดูกนี้ อันเอ็นเกี่ยวพันไว้ อันเนื้อฉาบทาไว้ อันผิวหนัง ปิดบังไว้ ไม่สะอาดมีกลิ่นเหม็นน่าเกลียดและปฏิกูล มีอันปิดบัง ย่ำยี ทำลาย กำจัดความไม่เที่ยงเป็นธรรมดา จึงแสดงอาการอันแปลกเช่นนี้. บทว่า อาทีนโว ปาตุรหุ ความว่า เมื่อว่าโดยหัวข้อคือการเข้าไป ทรงไว้ตามสภาวะของกายอย่างนี้ เมื่อเรามนสิการ ถือความเกิดขึ้นและ ความเสื่อมไป และความผุพังไปพร้อมด้วยกิจ (ตามความเป็นจริง) แห่ง กายนั้น และแห่งจิตและเจตสิกอันอาศัยกายนั้น และเมื่อจิตและเจตสิก ปรากฏโดยความเป็นภัย เหมือนเมื่อยักษ์และรากษสเป็นต้นปรากฏ อาทีนวโทษมีอาการเป็นอันมากปรากฏแก่เราในเพราะเหตุนั้น และย่อม ได้รับอานิสงส์ในพระนิพพานโดยเป็นปฏิปักษ์ต่ออาทีนวโทษนั้น. บทว่า นิพฺพิทา สมติฏฺถ ความว่า ความเบื่อหน่าย ย่อมสำเร็จ ด้วยอานุภาพแห่งอาทีนวานุปัสสนา การตามพิจารณาเห็นโทษ คือ นิพพิทาญาณย่อมสำเร็จแล้วในหทัยของเรา, จิตในการจับรูปธรรม และ นามธรรมเหล่านั้น แม้เพียงครู่เดียวก็ไม่ปรากฏ, โดยที่แท้เกิด แต่เพียง วางเฉยในรูปธรรมนามธรรมนั้นเท่านั้น ด้วยอำนาจความเป็นผู้ใคร่จะพ้น เป็นต้น. บทว่า ตโต ความว่า เบื้องหน้าแต่วิปัสสนาญาณ. พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๓ - หน้าที่ 6 บทว่า จิตฺต วิมุจฺจิ เม ความว่า จิตของเราได้หลุดพ้นแล้วจาก สรรพกิเลสโดยลำดับแห่งมรรค ในเมื่อโลกุตรภาวนาเป็นไปอยู่. ด้วย เหตุนั้น ท่านจึงแสดงเหตุเกิดขึ้นแห่งผล. จริงอยู่ในขณะแห่งมรรคจิต กิเลสทั้งหลาย ชื่อว่า ย่อมหลุดพ้น. ในขณะแห่งผลจิต กิเลสชื่อว่าหลุดพ้น แล้ว ฉะนี้แล. คำที่เหลือมีนัยดังกล่าวแล้วนั่นแล. จบอรรถกถานาคสมาลเถรคาถาที่ ๑

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น