หมวดหมู่
ใบอนุญาต
ความคิดเห็น 6 รายการ
จัดเรียงตาม
Religion
Nirvāṇa literally means "blown out", as in an oil lamp. The term "nirvana" is most commonly associated with Buddhism, and represents its ultimate state of soteriological release and liberation from rebirths in saṃsāra. Wikipedia
People also search for
View 10+
Dharma
Saṃsāra
Moksha
จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน เป็นเรื่องที่แปลกนะ เวลาเราภาวนาเืบื้องต้น เราก็รู้ึสึก พระพุทธก็อันนึง พระธรรมก็อันนึง พระสงฆ์ก็อันนึง แต่โดยเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน ในเนื้อแท้แล้วเป็นอันเดียวกัน เป็นความไม่มีอะไรนี่เอง เป็นธรรมะนั่นเอง แต่ไม่ใช่แบบว่างเปล่าสาบสูญ ถ้าสาบสูญเป็นมิจฉาทิฐิ มีแต่ความสุขล้วนๆเลย เวลาที่เรากระทบ เราสัมผัส เราระลึกถึง เพราะฉะนั้นถ้าเราฝึกจนถึงจุดที่ว่าเราปล่อยวางจิตได้แล้ว เวลาที่เรามนสิการถึงนิพพาน นิพพานกับจิตก็สัมผัสกันอยู่ตรงนั้นเลย นิพพานไม่ใช่ต้องเข้าสมาธิก่อนแล้วส่งจิตไปดู ไม่ใช่
ค่อยฝึกนะ เราจะมีความสุขมหาศาลรออยู่ข้างหน้า หัดเบื้องต้นก็มีความสุขเล็กน้อยไปก่อน คนไม่เคยมีสติ พอมีสติขึ้นมาก็มีความสุข คนไม่มีศีล พอมีศีลขึ้นมาก็มีความสุข คนไม่เคยมีสัมมาสมาธิ พอจิตมีสัมมาสมาธิตั้งมั่น ไม่หลง ไ่ม่เผลอตามอารมณ์ สักว่ารู้ สักว่าเห็น มีความสุข จิตที่มีวิมุติมีปัญญาขึ้นมาก็มีความสุข มีวิมุติขึ้นมาก็มีความสุข
เพราะฉะนั้นเราภาวนาไป จะมีความสุขเป็นลำดับๆไป เบื้องต้นมีความสุขจากการรู้สึกตัวก่อน หัดตัวนี้ให้ได้ก่อน พอเรามีความสุขที่ได้รู้สึกตัว เราจะรู้สึกตัวบ่อย เพราะเราชอบแล้ว เราชอบรู้สึกตัว เราชักไม่ชอบเผลอแล้ว แต่เดิมคิดว่าเผลอๆ เพลินๆ มีความสุข รู้สึกตัวไม่มีความสุขเพราะรู้สึกตัวแล้วเห็นแต่ทุกข์ เห็นกายเป็นทุกข์ เห็นใจเป็นทุกข์ แต่พอเรารู้สึกตัวเป็น รู้สึกไปเรื่อย เราพบว่าทันทีที่รู้สึกตัว มีความสุขขึ้นมา มีความสุขโชยแผ่วๆขึ้นมา สุขอยู่ในตัวเอง แล้วก็เห็นทุกสิ่งทุกอย่างเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไป เมื่อไหร่ใจหลงเข้าไปแทรกแซง เมื่อนั้นความทุกข์ก็เกิดขึ้น เมื่อไหร่ใจไม่แทรกแซง สักว่ารู้ สักว่าเห็น ก็มีความสุข ตรงนี้เป็นความสุขของกายใจที่ตั้งมั่นและใจที่มีปัญญา แต่ยังไม่ใช่ความสุขถึงที่สุด ความสุขของศาสนาพุทธมันลึกซึ้งเป็นชั้นๆ ไป
คนในโลกใจมันคลุกอยู่กับอารมณ์ อย่างมีความอยากขึ้นมาแล้วก็ได้รับการตอบสนอง สมอยากแล้วมีความสุข ไม่สมอยากถึงจะทุกข์ คนทั่วๆไปเห็นได้แค่นี้ ตื้นที่สุดเลย หมาแมวเหมือนกันนะ แมวจะไปจับนกนะ จับได้แล้วมีความสุข จับไม่ได้แล้วทุกข์ ถ้าสมอยากแล้วมีความสุข ถ้าไม่สมอยากถึงจะทุกข์ พวกเราผู้ภาวนา เราจะเห็นเลย ถ้ามีความอยากก็จะมีความทุกข์ ถ้าไม่มีความอยากแล้วไม่ทุกข์ จะเห็นอย่างนี้ ถ้าถึงจุดสุดท้ายเราจะรู้เลย จะมีความอยากหรือจะไม่มีความอยาก ขันธ์ห้านี่แหล่ะเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง ถ้าเห็นอยู่อย่างนี้เรียกว่า รู้อริยสัจแจ่มแจ้งแล้ว รู้ว่าขันธ์ห้าเป็นตัวทุกข์โดยตัวของมันเอง ความอยากที่จะให้ขันธ์ห้าเป็นสุขจะไม่มีอีกต่อไปแล้ว เพราะรู้ว่ามันเป็นตัวทุกข์ ทำอย่างไรมันก็ทุกข์ อย่างเรารู้ว่าไฟนี้เป็นของร้อน เราก็ไม่ต้องไปอยากให้มันเย็น อย่างไรมันก็ร้อน เราไม่โง่พอที่จะไปอยากรู้่ว่าไฟวันนี้จะเย็นหรือยัง ลองจับ จะไม่โง่ขนาดนั้น คือจิตที่มันรู้ว่าขันธ์เป็นของร้อนแล้ว มันจะไ่ม่ไปหยิบฉวยขันธ์ขึ้นมาอีกแล้ว ไม่ไปหยิบฉวยจิต ไม่ไปหยิบฉวยขันธ์
มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน
ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ
แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง
พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก
พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร
มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น
เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน
ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว
กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน
ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง
ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น
จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา
บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย
ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา
ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก
สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต
อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ
เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ
เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้
แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง
เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง
เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน
ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์
ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม
จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ
ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย
นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก
การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้
เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น
สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว
จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้
จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ
จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี
มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น
จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว
สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย
สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ
อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว
จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง
จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย
คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง
ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว
เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม
มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้
ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร
เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที
พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก
มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก
รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี
คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว
ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน
พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ
พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ
จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม
อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป
คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ
ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป
นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง
ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง
นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ
จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ
รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง
โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น
หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม
คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย
พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม
อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้
ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ
ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก
อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว
อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว
เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ
ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ
ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง
งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์
จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย
เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ
จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว
อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ
ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ
เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น
ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน
ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง
ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ
ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง
แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา
อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น
จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ
ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต
ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ
ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร
ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร
จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง
ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว
ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ
ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง
พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง
พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป
มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา
ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก
ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน
ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก
มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ
ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต
ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน
ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน
ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร
ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน
เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร
เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ
มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้
ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ
ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก
ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย
มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย
จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ
งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา
นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น
ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ
จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว
ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ
มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง
พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป
เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม
โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า
..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น