วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

การปฏิบัติในขั้นแตกหักว่า ทําอย่างไรจะปล่อยวางตัวจิตนี้ได้

ถ้าเข้าใจแจ่มแจ้ง ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์ ไม่ใช่ขันธ์นี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง แต่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อยถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งความอยากให้ขันธ์เป็นสุขจะไม่เกิดขึ้น ความอยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ก็ไม่เกิดขึ้น อยากให้มีสุขไปทําไม อยากให้โง่หรือ มันไม่มีทางมีความสุขได้เพราะมันเป็นตัวทุกข์ อยากให้มันพ้นทุกข์หรือ อยากให้โง่สิ เพราะถึงอย่างไรมันก็ทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย

ความอยากทั้งหลายแหล่มันก็มีอยู่แค่นี้เอง ความอยากที่ ว่ากิเลส ๑,๕๐๐ ตัณหา ๑๐๘ จริงๆ ก็คืออยากให้ขันธ์เป็นสุข อยากให้ขันธ์พ้นทุกข์ ย่อๆ ลงมาก็คือรักสุขเกลียดทุกข์นั่นแหละพอเข้าใจขันธ์เท่านั้น ความอยากดับเอง ไม่ต้องไปทรมาน กายทรมานใจเพื่อจะดับตัณหา ขอให้รู้ทุกข์แจ่มแจ้งแล้วตัณหา จะดับไปโดยอัตโนมัติเลยถ้าเราเข้าใจตัวนี้ ความเข้าใจมันจะประณีตมาก จิตมันจะสลัดคืนขันธ์ให้โลกไปเลย พอจิตมันเห็นว่าขันธ์ไม่ใช่ของดีของวิเศษ ขันธ์นี้เป็นทุกข์ล้วนๆ กระทั่งตัวจิตก็เป็นทุกข์ล้วนๆ จิตมันก็อยู่ใน ขันธ์นั่นเอง อยู่ในวิญญาณขันธ์ พอมันปล่อยขันธ์ทิ้งไป ไม่มีอะไรให้ยึดอีก มันก็พ้นจากอุปาทานขันธ์ อุปาทานขันธ์ก็กองอยู่อย่างนั้น กองอยู่กับโลกนั้นเอง ไม่ใช่ต้องไปทําลายล้างมัน มันมีเหตุมันก็เกิด หมดเหตุมันก็ดับ บังคับมันไม่ได้ แต่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันแล้ว ที่ใจไม่เข้าไปยึดถือมันก็เพราะรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง รู้ว่าขันธ์ทั้งหลาย ทั้งปวงนี้แหละเป็นตัวทุกข์
ฉะนั้น การรู้ทุกข์นี่เป็นเรื่องสําคัญที่สุดสําหรับการปฏิบัติ ธรรมในทางพระพุทธศาสนา ไม่ใช่แค่นั่งสมาธิ หวังว่าทําสมาธิ ไปเรื่อยๆ แล้วจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางพ้นเลย ทําสมาธิก็ไปสร้างภพภูมิ ที่ละเอียดขึ้นไปอีก นอกจากการรู้ทุกข์แล้ว ไม่มีวิธีอย่างอื่นที่จะเห็นธรรมได้เลย

วิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . .

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น