วันอาทิตย์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
ผู้สละโลก ผู้เลิศทางธุดงคคุณผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระhttp://www.fungdham.com/book/wasin.ht... ฟังธรรม:ท่านอาจารย์วศิน อินทสระ มหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อยโดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่านกำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว” พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป สาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ หมวดหมู่ แนวปฏิบัติและการใช้ชีวิต สัญญาอนุญาต สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube แสดงน้อยลง ความคิดเห็น 25 รายการ จัดเรียงตาม คุณมีความคิดเห็นที่รอการตรวจสอบจากคุณ ตรวจสอบ Sompong Tungmepol เพิ่มความคิดเห็นสาธารณะ... ตอง อรุณดิ์ ความคิดเห็นที่ไฮไลต์ ตอง อรุณดิ์ 10 ชั่วโมงที่ผ่านมา ฟังแล้วมีสติปันยาทำไห้มีความสุกมากๆครับ ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol 2 ปีที่ผ่านมา สำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ ... "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ ...จนเข้าถึงสภาวะพลังงานอันสูงสุด อันเป็นหนึ่งเดียว ของรูป-นาม เมื่อรูป นาม ดับสลาย เข้าสู่สภาวะพลังงานตื่นอันเป็นที่สุด อันเป็นปรมัตถปัญญา - ปัญญาวิมุตติ คือภาวะแห่งพุทธะ อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ Sompong Tungmepol Sompong Tungmepol 4 ปีที่ผ่านมา ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตานี้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วิมริยาทิกตจิต” คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง .. วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง .. ตอบกลับ 1 ประพฤติ พลสีดา ประพฤติ พลสีดา 10 เดือนที่ผ่านมา ฟังกี่รอบๆก็ทำให้มีความสุข มีสมาธิเวลาทำสมาธิ ตอบกลับ 4 ดูการตอบกลับ prakard p. prakard p. 3 ปีที่ผ่านมา ขออำนาจพระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ จงบัลดาลบุญที่ข้าพเจ้าที่ได้รับฟังธรรมะนี้ให้ถึงแก่เทวดาที่ปกปักรักษาคุ้มครองข้าพเจ้า ถึงแก่บิดามารดาครูบาอาจารย์ เจ้ากรรมนายเวร และเจ้าของเสียงธรรมอันกังวาลไพเราะนี้ และผู้สดับรับฟังธรรมะนี้ทุกผู้ทุกนามด้วยเถิด สาธุสาธุสาธุ ตอบกลับ 2 คน ป่า คน ป่า 2 ปีที่ผ่านมา มีสาระมากครับ ตอบกลับ 1 bensatawat1 bensatawat1 1 ปีที่ผ่านมา สาธุ ตอบกลับ 1 Nun Kuvilavong Nun Kuvilavong 3 ปีที่ผ่านมา ขออาโมทนาสาธุๆๆๆ ตอบกลับ 1 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 2 ปีที่ผ่านมา อุปสมบทด้วยวิธีโอวาท ๓ ข้อ ปิปผลิ เดินทางไปตามลำดับ ได้พบพระผู้มีพระภาคเสด็จประทับที่ภายใต้ร่มไทร ระหว่างกรุงราชคฤห์กับนาลันทา เห็นพุทธจริยาน่าเลื่อมใสแปลกกว่านักบวชอื่น ๆ ที่ตนเคยพบ มา ปลงใจเชื่อว่าต้องเป็นพระอรหันต์แน่นอน จึงน้อมกายกราบถวายบังคมแทบพระบาท กราบ ทูลขออุปสมบทในพระพุทธศาสนา พระพุทธองค์ ประทานการอุปสมบทด้วยวิธีให้รับโอวาท ๓ ข้อ เรียกว่า “โอวาทปฏิคคหณูปสัมปทา” โอวาท ๓ ข้อนั้นคือ ๑) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักตั้งความละอายและความเกรงใจไว้ในภิกษุทั้งที่ เป็นพระเถระผู้เฒ่า ผู้มีพรรษาปานกลาง และทั้งผู้บวชใหม่ ๒) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจักฟังธรรม บทใดบทหนึ่งอันประกอบด้วยกุศลด้วย ความตั้งใจฟังโดยเคารพ และพิจารณาจดจำเนื้อความธรรมบทนั้น ๓) กัสสปะ เธอพึงศึกษาว่า เราจะไม่ละสติไปในกาย คือ พิจารณากายเป็นอารมณ์ โดยสม่ำเสมอ ได้รับยกย่องในทางผู้ทรงธุดงค์ เมื่อท่านอุปสมบทแล้วทำความเพียรไม่นานก็ได้บรรลุพระอรหัตผล หลังจากอุปสมบท ได้ ๘ วัน พุทธบริษัททั้งหลายรู้จักท่านในนาม “พระมหากัสสะ” ท่านได้ช่วยรับภารธุระอบรม สั่งสอนพระภิกษุและพุทธบริษัทอื่น ๆ จนมีภิกษุเป็นบริวารจำนวนมาก ท่านมีปกติสมาทาน ธุดงค์ ๓ ประการ อย่างเคร่งครัด คือ:- ๑) ถือการนุ่งห่มบังสุกุลเป็นวัตร ๒) ถือการเที่ยวบิณฑบาตเป็นวัตร ๓) ถือการอยู่ป่าเป็นวัตร เพราะการปฏิบัติในธุดงค์คุณทั้ง ๓ ประการนี้อย่างเคร่งครัด พระบรมศาสดาจึงทรงยก ย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลาย ในทาง ผู้ทรงธุดงค์ นอกจากนี้ พระบรมศาสดายังทรงยกย่องท่านในทางอื่น ๆ อีกหลายประการ กล่าวคือ:- ครั้งหนึ่ง ท่านติดตามพระพุทธองค์ไปประทับที่ภายใต้ร่มไม้ต้นหนึ่งท่านได้พับผ้า สังฆาฏิของท่านเป็น ๔ ชั้นแล้วปูถวายให้พระพุทธองค์ประทับนั่งพระพุทธองค์ตรัสว่า:- “กัสสปะ ผ้าสังฆาฏิของเธอนุ่มดี” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค ขอพระองค์ทรงใช้สอยเถิด พระเจ้าข้า” “กัสสปะ แล้วเธอจะใช้อะไรทำสังฆาฏิเล่า ?” “ข้าแต่พระผู้มีพระภาค เมื่อข้าพระองค์ได้รับจากพระองค์ ก็จะใช้เป็นสังฆาฏิ พระเจ้าข้า” ครั้นแล้ว พระบรมศาสดาได้ประทานผ้าสังฆาฏิของพระองค์ ซึ่งเก่าคร่ำคร่าให้แก่ท่าน แล้วทรงยกย่องท่านอีก ๔ ประการคือ:- ๑) กัสสปะ มีธรรมเป็นเครื่องอยู่เสมอด้วยตถาคต เป็นผู้มักน้อยสันโดษภิกษุทั้ง หลายควรถือเป็นแบบอย่าง ๒) กัสสปะ เมื่อเธอเข้าไปใกล้ตระกูลแล้ว ชักกายและใจออกห่างประพฤติตนเป็นคน ใหม่ ไม่คุ้นเคย ไม่คะนองกาย วาจา และใจ ในสกุลเป็นนิตย์ จิตไม่ข้องอยู่ในสกุลนั้น ตั้งจิตเป็นกลางว่า “ผู้ใคร่ลาภจงได้ลาภ ผู้ใคร่บุญจงได้บุญ ตนได้ลาภแล้วมีจิตเป็นฉันใด ผู้อื่นก็ มีใจเป็นฉันนั้น” ๓) กัสสปะ มิจิตประกอบด้วยเมตตา กรุณา แสดงธรรมแก่ผู้อื่น ๔) ทรงแลกเปลี่ยนผ้าสังฆาฏิกับท่านไปใช้สอย ทรงสอนภิกษุให้ประพฤติดีปฏิบัติ ชอบ โดยยกพระมหากัสสปะขึ้นเป็นตัวอย่าง พระเถระขับล่านางเทพธิดา ครั้งหนึ่งพระเถระพักอยู่ที่ถ้ำปิปผลิ เข้าฌานสมาบัติอยู่ ๗ วัน ออกจากฌานแล้วเข้าไป บิณฑบาต ในบ้านหญิงสาวคนหนึ่งเห็นพระเถระแล้วเกิดศรัทธาเลื่อมใส ได้นำข้าวตอกใส่บาตร พระเถระแล้วตั้งความปรารถนา ขอเข้าถึงส่วนแห่งธรรมที่พระเถระบรรลุแล้ว พระเถระกล่าว อนุโมทนาแก่เธอแล้วกลับยังที่พัก ฝ่ายนางกุลธิดานั้นมีจิตเอิบอิ่มด้วยทานที่ตนถวาย ขณะเดินกลับบ้านถูกงูพิษกัดตาย และ ได้ไปเกิดเป็นเทพธิดาบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ นามว่า “ลาชา” (ลาชา = ข้าวตอก) มีวิมานทอง ประดับด้วยขันทองห้อยอยู่รอบ ๆ วิมาน ในขันนั้นเต็มด้วยข้าวตอกทองเช่นกัน นางมองดูสมบัติ ทิพย์ที่ตนได้แล้วก็ทราบว่าได้มาเพราะถวายข้าวตอกแก่พระมหากัสสปะ ซึ่งเป็นบุญเพียงเล็กน้อย นางต้องการที่จะเพิ่มผลบุญให้มากยิ่งขึ้น จึงลงจากเทวพิภพเข้าไปปัดกวาดเสานาเสานะและ บริเวณที่พักของพระเถระ จัดตั้งน้ำใช้น้ำฉันเสร็จแล้วกลับยังวิมานของตน พระเถระคิดว่ากิจเหล่านี้คงจะมีพระภิกษุหรือสามเณรมาทำให้ ในวันที่สองที่สาม นาง เทพธิดามาทำเหมือนเดิม แม้พระเถระก็คิดเช่นเดิม แต่พระเถระได้ยินเสียงไม้กวาดและเห็นแสง สว่างจากช่องกลอนประตูจึงถามว่า “นั่นใคร ?” “ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ดิฉันเป็นเทพธิดาชื่อลาชา เป็นอุปัฏฐายิกาของท่าน” พระเถระคิดว่า หญิงผู้เป็นอุปัฏฐากของเราชื่ออย่างนี้ไม่มี จึงเปิดประตูเห็นนางเทพธิดา กำลังปัดกวาดอยู่ จึงสอบถามทราบความโดยตลอดตั้งแต่ต้นแล้ว จึงกล่าวห้ามว่า “กิจที่เธอทำ แล้วก็ถือว่าแล้วกันไป ต่อแต่นี้เธอจงอย่างมาทำอีก เพราะในอนาคต จะมีพระธรรมกถึกยกเอา เหตุนี้เป็นตัวอย่างอ้างแก่พุทธบริษัททั้งหลาย ว่า “พระมหากัสสปะมีนางเทพธิดามาปฏิบัติใช้ สอย ดังนั้น เธอจงกลับไปเถิด” นางเทพธิด้านอ้อนวอนช้ำแล้วช้ำเล่าว่าขอพระคุณเจ้าอย่างทำให้ดิฉันประสบหายนะเลย ขอให้ดิฉันได้ครองสมบัติทิพย์นี้ตลอดกาลนานเถิด พระเถระเห็นว่านางเทพธิดาดื้อดึงไม่ยอมฟังคำ จึงโบกมือพร้อมกล่าวขับไล่นางออกไป นางลาชาเทพธิดาไม่สามารถดำรงอยู่ได้ จงเหาะขึ้นไปบนอากาศยืนประนมมือร้องไห้เสียดายที่ ไม่มีโอกาสทำทิพยสมบัติของตนให้ถาวรได้ พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธานปฐมสังคายนา ด้วยความที่ท่านเป็นผู้ยินดีในการอยู่ป่า มักน้อย สันโดษ ประวัติของท่านจึงไม่ค่อย โดดเด่นเป็นที่รู้จักกันมากนัก จวบจนสมัยที่พระบรมศาสดาปรินิพพานได้ ๗ วัน ขณะที่ท่าน กำลังเดินทางพร้อมด้วยภิกษุบริวารของท่านเพื่อไปเข้าเฝ้าประบรมศาสดา ได้ทราบข่าวจาก อาชีวกว่าพระผู้มีพระภาคเจ้าปรินิพพานแล้ว ทำให้ภิกษุทั้งหลายที่เป็นปุถุชนพากันร่ำไห้เสียใจ รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา รำพึงรำพันถึงพระบรมศาสดา แต่มีภิกษุวัยชรานามว่า สุภัททะ พูดห้ามปรามภิกษุเหล่านั้นมิให้ร้องไห้โดยกล่าว่า “ท่านทั้งหลาย อย่าร้องไห้เสียใจไปเลย พระ พุทธองค์ปรินิพพานเสียได้ก็ดีแล้ว ต่อไปนี้พวกเราพ้นจากอำนาจของพระศาสดาแล้ว จะทำ อะไรก็ย่อมได้ ไม่มีใครมาบังคับว่ากล่าวห้ามปรามพวกเราอีกแล้ว” พระเถระ ได้ฟังคำของพระสุภัททะแล้วเกิดความสังเวชสลดใจว่า “พระพุทธองค์ ปรินิพพานได้เพียง ๗ วัน ยังมีผู้กล่าวจ้วงจาบล่วงเกินพระธรรมวินัยถึงเพียงนี้ ต่อไปภายหน้าก็ คงจะหาผู้เคารพในพระธรรมวินัยได้ยากยิ่ง” ด้วยคำพูดของพระสุภัททะเพียงเท่านี้ หลังจากถวายพระเพลิงพระบรมศพแล้ว ท่านได้ ชักชวนพระเถระผู้เป็นพระอรหันต์ ประชุมกันทำปฐมสังคายนารวบรวมพระธรรมวินัยตั้งไว้ เป็นหมวดหมู่ เป็นตัวแทนองค์พระบรมศาสดาปกครองหมู่สงฆ์ต่อไป สาระสำคัญของปฐมสังคายนา ๑) พระมหากัสสปะเถระ เป็นประธาน มีหน้าที่ซักถามเกี่ยวกับพระธรรมวินัย ๒) พระอุบาลี เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับขอบัญญัติพระวินัย ๓) พระอานนท์ เป็นผู้ชี้แจงเกี่ยวกับพระสูตร และพระอภิธรรม ๔) กระทำที่ถ้ำสัตตบรรณคูหา แห่งภูเขาเวภารบรรพต กรุงราชคฤห์ ๕) พระเจ้าอชาตศัตรู เป็นองค์ศาสนูปถัมภ์ ๖) กระทำอยู่ ๗ เดือน จึงสำเร็จ อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ 1 สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 2 ปีที่ผ่านมา การปฏิบัติธรรมเจริญสติ เพื่อให้รู้ทันจิต โดยหลวงพ่อปราโมทย์ เทปนี้สําคัญมากสําหรับการปฏิบัติเพื่อดูจิตครับ และบอกถึงการแก้ไขในการติดเพ่งด้วยครับ...การหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน อ่านเพิ่มเติม ตอบกลับ 1
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น