2
ถ้าวันใดปัญญาแก่รอบ เห็นความจริงว่าร่างกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ
จิตจะหมดความยึดถือในตัวกายนี้ ตาหูจมูกลิ้นกายนี้ไม่ยึดถือแล้ว
เนี่ยก็เลยจะไม่ยึดถือในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่สัมผัสทางกายด้วยเมื่อไม่ยึดในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ ไม่ยึดในตาหูจมูกลิ้นกาย
ความยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ความยินดีในตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี
ความยินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี
จิตไม่ยินดีไม่ยินร้าย จิตพ้นจากกามและปฏิฆะโดยอัตโนมัติ
งั้นที่เป็นพระอนาคามีกันนะ เพราะท่านแจ้งแล้ว หมดความยึดถือในตัวรูปธรรม ในตัวกายนี้
ถัดจากนั้นจะไปยึดอยู่ที่จิตอันเดียวแล้ว ต้องภาวนากัน นิพพานอยู่ฟากตาย ต้องสู้ตาย
งั้นไม่มีทางเลย เห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์เนี่ย
ยิ่งภาวนามากๆนะ จิตยิ่งเป็นตัวสุข ยิ่งสุขโดดเด่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีแต่ความสุข
ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ ถึงจะเห็นเลย จิตนี้เอาเป็นที่พี่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่ทุกข์
กายนี้ก็มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ เพียงแต่บางทีก็ทุกข์มาก บางทีก็ทุกข์น้อย
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป
มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้าสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์มากก็ว่าทุกข์ เวลาทุกข์น้อยก็ว่าสุข
ทุกข์กับสุขเลยเป็นของสัมพัทธ์ สิ่งสัมพัทธ์ เปรียบเทียบเอา
ถ้าตัวสภาวะแท้ๆ มันก็คือตัวทุกข์ ทุกข์มากกับทุกข์น้อย
ทีนี้ทำยังไงเราจะเห็นความจริงของธาตุขันธ์อายตนะ รูปนามกายใจได้
เรียกมีหลายชื่อ เป็นธาตุเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นรูปเป็นนาม เป็นกายเป็นใจ
จริงๆย่อลงมาก็คือรูปธรรม กับนามธรรมทั้งหมดเลย
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจริงอันนี้ได้
พระพุทธเจ้าสอนวิธีที่จะเห็นความจริง ชื่อว่าวิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐาน ปัสสนะ แปลว่าการเห็น วิ คือเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้อง
งั้นเราต้องมาเรียน ถ้าเราอยากเข้าสู่ความพ้นทุกข์นะ
จนจิตหมดความยึดถือในรูปนาม ไม่หยิบฉวยเอากองทุกข์ขึ้นมา
ตัวกายตัวใจเรานี่แหละ รูปนามนี่แหละ ท่านจัดอยู่ในกองทุกข์
ท่านสรุปเลยว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
โดยสรุป ตัวขันธ์ ๕ นั่นแหละตัวทุกข์
ถ้าเราเห็นตรงนี้นะ ความอยากจะไม่มี
เห็นทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น
อย่างถ้าเราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์อย่างเดียวเลย
ทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น
ความอยากจะให้กายเป็นสุขไม่เกิดขึ้น ความอยากจะให้ใจเป็นสุขไม่เกิดขึ้น
เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เป็นความอยากที่ไร้เดียงสา
เพราะมันเป็นตัวทุกข์ จะไปอยากให้มันสุขได้ยังไง
ความอยากจะให้กายให้ใจพ้นทุกข์ก็ไม่มี เพราะมันเป็นตัวทุกข์มันจะพ้นตัวของมันได้อย่างไร
งั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ ความอยากจะไม่มี เป็นอันละสมุทัยเด็ดขาดเลย
ทันทีที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็ละสมุทัยเด็ดขาดในขณะนั้นเลย
ทันทีที่รู้สมุทัยเด็ดขาด ก็แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นเลย
ทันทีที่แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นนะ อริยมรรค โดยเฉพาะอรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้นเลย
จิตจะหมดความยึดถือในตัวกายนี้ ตาหูจมูกลิ้นกายนี้ไม่ยึดถือแล้ว
เนี่ยก็เลยจะไม่ยึดถือในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ คือสิ่งที่สัมผัสทางกายด้วยเมื่อไม่ยึดในรูปในเสียงในกลิ่นในรสในโผฏฐัพพะ ไม่ยึดในตาหูจมูกลิ้นกาย
ความยินดีในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ความยินดีในตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี
ความยินร้ายในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะ ตาหูจมูกลิ้นกาย ก็ไม่มี
จิตไม่ยินดีไม่ยินร้าย จิตพ้นจากกามและปฏิฆะโดยอัตโนมัติ
งั้นที่เป็นพระอนาคามีกันนะ เพราะท่านแจ้งแล้ว หมดความยึดถือในตัวรูปธรรม ในตัวกายนี้
ถัดจากนั้นจะไปยึดอยู่ที่จิตอันเดียวแล้ว ต้องภาวนากัน นิพพานอยู่ฟากตาย ต้องสู้ตาย
งั้นไม่มีทางเลย เห็นว่าจิตเป็นตัวทุกข์เนี่ย
ยิ่งภาวนามากๆนะ จิตยิ่งเป็นตัวสุข ยิ่งสุขโดดเด่นเด่นดวงอยู่ทั้งวันทั้งคืน มีแต่ความสุข
ต้องสติปัญญาแก่รอบจริงๆ ถึงจะเห็นเลย จิตนี้เอาเป็นที่พี่งที่อาศัยไม่ได้ มีแต่ทุกข์
กายนี้ก็มีแต่ทุกข์ จิตนี้ก็มีแต่ทุกข์ เพียงแต่บางทีก็ทุกข์มาก บางทีก็ทุกข์น้อย
นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป
มีแต่ทุกข์มากกับทุกข์น้อย ถ้าสติปัญญาไม่พอ เวลาทุกข์มากก็ว่าทุกข์ เวลาทุกข์น้อยก็ว่าสุข
ทุกข์กับสุขเลยเป็นของสัมพัทธ์ สิ่งสัมพัทธ์ เปรียบเทียบเอา
ถ้าตัวสภาวะแท้ๆ มันก็คือตัวทุกข์ ทุกข์มากกับทุกข์น้อย
ทีนี้ทำยังไงเราจะเห็นความจริงของธาตุขันธ์อายตนะ รูปนามกายใจได้
เรียกมีหลายชื่อ เป็นธาตุเป็นขันธ์ เป็นอายตนะ เป็นรูปเป็นนาม เป็นกายเป็นใจ
จริงๆย่อลงมาก็คือรูปธรรม กับนามธรรมทั้งหมดเลย
ทำอย่างไรเราจึงจะเห็นความจริงอันนี้ได้
พระพุทธเจ้าสอนวิธีที่จะเห็นความจริง ชื่อว่าวิปัสสนากรรมฐาน
วิปัสสนากรรมฐาน ปัสสนะ แปลว่าการเห็น วิ คือเห็นแจ้งเห็นจริงเห็นถูกต้อง
งั้นเราต้องมาเรียน ถ้าเราอยากเข้าสู่ความพ้นทุกข์นะ
จนจิตหมดความยึดถือในรูปนาม ไม่หยิบฉวยเอากองทุกข์ขึ้นมา
ตัวกายตัวใจเรานี่แหละ รูปนามนี่แหละ ท่านจัดอยู่ในกองทุกข์
ท่านสรุปเลยว่า สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา
โดยสรุป ตัวขันธ์ ๕ นั่นแหละตัวทุกข์
ถ้าเราเห็นตรงนี้นะ ความอยากจะไม่มี
เห็นทุกข์เมื่อไหร่ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น
อย่างถ้าเราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ มีแต่ทุกข์อย่างเดียวเลย
ทุกข์มากกับทุกข์น้อยเท่านั้น
ความอยากจะให้กายเป็นสุขไม่เกิดขึ้น ความอยากจะให้ใจเป็นสุขไม่เกิดขึ้น
เพราะรู้ว่ามันเป็นไปไม่ได้ เป็นความอยากที่ไร้เดียงสา
เพราะมันเป็นตัวทุกข์ จะไปอยากให้มันสุขได้ยังไง
ความอยากจะให้กายให้ใจพ้นทุกข์ก็ไม่มี เพราะมันเป็นตัวทุกข์มันจะพ้นตัวของมันได้อย่างไร
งั้นถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ ความอยากจะไม่มี เป็นอันละสมุทัยเด็ดขาดเลย
ทันทีที่รู้ทุกข์แจ่มแจ้งก็ละสมุทัยเด็ดขาดในขณะนั้นเลย
ทันทีที่รู้สมุทัยเด็ดขาด ก็แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นเลย
ทันทีที่แจ้งพระนิพพานในขณะนั้นนะ อริยมรรค โดยเฉพาะอรหัตมรรคก็จะเกิดขึ้นในขณะนั้นเลย
จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ
ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต
ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ
ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร
ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร
จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง
ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว
ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ
ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง
พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง
พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป
มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา
ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก
ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน
ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก
มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ
ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต
ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน
ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน
ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร
ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ
ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต
เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต
ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ
ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร
ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร
จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง
ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว
ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ
ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง
พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้
ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง
พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป
มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา
ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก
ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน
ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก
มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ
ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต
ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน
ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน
ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร
มโนสัมผัสไม่เที่ยง สุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะมโนสัมผัสเป็น ปัจจัยก็ไม่เที่ยง ดูกรภิกษุทั้งหลาย อริยสาวกผู้ได้สดับแล้ว เห็นอยู่อย่างนี้ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในจักษุ แม้ในรูป แม้ในจักษุวิญญาณ แม้ในจักษุสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้นเพราะจักษุสัมผัสเป็นปัจจัย ฯลฯ ย่อมเบื่อหน่ายแม้ในใจ แม้ในธรรมารมณ์ แม้ในมโนวิญญาณ แม้ในมโนสัมผัส แม้ในสุขเวทนา ทุกขเวทนา หรืออทุกขมสุขเวทนา ที่เกิดขึ้น เพราะมโนสัมผัสเป็นปัจจัย