วันเสาร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์



เอาจิตมารวมอยู่ในพุทโธอันเดียวจึงจะเห็นจิตพระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์

  
ดู 6,755 ครั้ง
เผยแพร่เมื่อ 15 พ.ค. 2014
เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว
เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา
เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้

จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น

เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่
กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้
การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว
  • หมวดหมู่

  • สัญญาอนุญาต

    • สัญญาอนุญาตมาตรฐานของ YouTube

ความคิดเห็น • 52 รายการ

สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา )

อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย

เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง

เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 
เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว
เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา
เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้

จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น

เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่
กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้
การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 
จิตไปอยู่ข้างนอกก็ว่างสว่างบริสุทธิ์ขึ้นมานะ นึกว่าบรรลุมรรคผลแล้ว ที่แท้ตัวนี้คือวิปัสสนูฯตัวนึง ชื่อว่าโอภาส พวกนักดูจิตเนี่ยไปติดโอภาสเยอะ เพราะจิตมันจะสว่างไสว แล้วก็จิตมันไม่ถึงฐาน มันเคลื่อนออกจากฐานไป
วิปัสสนูปกิเลสมี ๑๐ อย่าง แต่ทั้ง ๑๐ อย่างเกิดจากอาการอันเดียวกัน คือจิตไม่ถึงฐาน เพราะนั้นในขณะที่เราเดินวิปัสสนาอยู่นะ ถ้าจิตเราเคลื่อนไป ต้องรู้ทันนะ ถ้าเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันเนี่ย มันจะไปปรุงแต่งวิปัสสนูปกิเลสขึ้นมาหลอกเรา จะนึกว่าบรรลุมรรคผลนิพพาน
เมื่อช่วงสองสามวันนี้ไปแก้พระองค์นึง พระองค์นึงก็เนี่ยจิตไม่ถึงฐานแล้ว พอจิตไม่เข้าฐานนะ ไปรู้ไปเห็นอะไรนะ มันว่างไปหมดมันดับไปหมดเลย แล้วก็บอกว่าชะรอยจะบรรลุแล้ว ไม่บรรลุหรอก จิตยังออกนอกอยู่
งั้นเราต้องสังเกตให้ดี ตรงที่ิจิตมันถึงฐานหรือไม่ถึงฐาน ถ้าจิตมันเคลื่อนแล้วไม่รู้ทันนะ ตัวนี้แล้วไปเดินปัญญานะ แล้วก็ไม่รู้ทันตัวนี้ จะโดนวิปัสสนูปกิเลสเอาไปกิน
Sompong Tungmepol 
เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว
เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา
เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ 

จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น 

เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่
กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้
การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว
Sompong Tungmepol 
. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ


[3]

ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน

1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4]

2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่)

3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา)

4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์)

เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]
ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ

5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ)

7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง)

8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ )

จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]
ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ

9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต

10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง

11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ )

12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์)

ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้]
ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์

13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ)

14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ)

15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ)

16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ)

ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒]

อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน

ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์)
ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้

อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า

ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์
ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข)
ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร)
ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์
ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร)
อ้างอิง[แก้]
สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์
สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต
สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย
อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก.
มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค
สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต
อวิชชาสูตร ๑๙/๑
คิริมานนทสูตร
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘)
อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ.
มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒.
ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค
มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑]
ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260
คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34)
วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82
พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค
อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196
Sompong Tungmepol 
 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา )

อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย 

เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง 

เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้
แสดงน้อยลง
ตอบกลับ  ·  
Ladda PJ 
น้อมจิตต์กราบพระเดชพระคุณหลวงปู่สาธุๆๆๆเจ้าค่ะ
สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์ 
พอถึงขั้นเดินปัญญา มันเป็นขั้นรู้ทุกข์ ไม่ใช่ขั้นมีความสุข ถ้าเราเดินปัญญา .... นี่ภาวนาไปเรื่อยนะ เห็นทุกข์ไปเรื่อย สุดท้ายใจมันเต็มอิ่ม ขึ้นมา ... จิตนี้เป็นทุกข์โดยตัวของมันเอง อันนี้เรียกว่ารู้แจ้งใน “ทุกขสัจ” ... ... ในคําสอนของพระพุทธเจ้า จะรู้เลยว่า ขันธ์นั่นแหละเป็นตัวทุกข์
สำรวย ชูคง 
ชอบหาธรรมะฟังครับ ขออนุโมทนาบุญด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ
Sompong Tungmepol 
หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แสดง  ณ  วัดหินหมากเป้ง   อ.ศรีเชียงใหม่  จ.หนองคาย
วันที่ ๑๕ พฤศจิกายน  พ.ศ. ๒๕๒๓
จากหนังสือ  เทสกานุสรณ์  หน้า ๑๕๙
         ตั้งใจกำหนดจิตให้ดี  เราปฏิบัติภาวนาต้องอาศัยสติเป็นของสำคัญ  ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  กำหนดไว้ที่จิต    ครั้นเห็นจิตของตนแล้ว  กำหนดจิตของตนไว้จึงจะรู้เรื่องในการเทศน์  จิตเท่านั้นแหละที่เราจะต้องรักษา  นอกจากจิตแล้วไม่มีอะไรหรอก  อวัยวะทั้งหมดทุกชิ้นส่วนของร่างกายนี้  มีจิตเป็นใหญ่    จิตนี้แหละพาวิ่งพาว่อนพาท่องเที่ยวไปมา  พาให้เดือดร้อนเป็นทุกข์  ก็เพราะจิตนั่นแหละ   ถ้าเรารักษาสำรวมจิต  เห็นว่าเป็นทุกข์เดือดร้อนวุ่นวายแล้วก็หยุดเสีย  มันก็ได้ความสุขเท่านั้นเอง
         ที่เราไม่รู้จักเรื่องจิต  เราไม่มีสติรักษา  มันจึงส่งส่ายหาเรื่องทุกข์ต่างๆ  จนกระทั่งมันทุกข์แล้วจึงค่อยรู้เรื่อง  มันสุขแล้วจึงค่อยรู้เรื่องของจิต  ในเวลาที่มันส่งส่ายอยู่นั้นไม่รู้เรื่องของมันเลย  จึงว่าจิตอันเดียวเท่านั้นที่ต้องรักษา    การภาวนาทั้งหมดก็มารวมที่จิตนี้แห่งเดียว  รักษาอันเดียวเท่านั้นแหละ  ให้รักษาจริงๆจังๆ    ในเวลานี้เราจะนั่งสมาธิหรือฟังเทศน์  เราจะสำรวมจิตให้อยู่ในขอบข่ายของสติ  สติเป็นคนคุม  เมื่ออยู่ในขอบข่ายของสติแล้วก็หมดเรื่องกัน
         สติ คือ ผู้ระลึกถึงจิตอยู่เสมอๆ  นั่นเรียกว่าสติความระลึกได้    จิต คือ ผู้คิด ผู้นึก ผู้ส่งส่าย,   อาการเป็นอย่างนั้นเรียกว่าสติ    ถ้าไม่มีจิตมันก็ไม่มีสติ  ถ้าไม่มีสติมันก็ไม่มีจิต  แท้ที่จริงก็อันเดียวกันนั่นแหละ  แต่มันเป็นอาการ(ของจิต)คนละอย่างกัน(เจตสิก ๕๒)  หน้าที่คนละอันกัน
         สติเหมือนกับพี่เลี้อง  จิตเหมือนกับลูกอ่อน  ควบคุมรักษากันอยู่ตลอดเวลา  ลูกอ่อนที่มันซุกซน  พี่เลี้องต้องระวังอย่างเข้มแข็ง  ถ้าไม่อย่างนั้นก็จะหลุดพลัดโผไปตกถูกของแข็ง  หรือตกไปในที่ลุ่มทำให้เจ็บได้    ถึงอย่างไรก็ต้องรักษาสติตัวเดียวเท่านั้นแหละ  พี่เลี้องต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา    กว่าจะพ้นอันตรายได้  มันใช้เวลาหน่อย  เลี้ยงเด็กมันก็หลายปีกว่าจะเติบโตขึ้นมาได้  ถึงเติบโตขึ้นมาแล้วก็ต้องระมัดระวังสิ่งอื่น เช่นมันซุกซน วิ่งเล่นอะไรต่างๆ ต้องระมัดระวัง  แต่จำเป็นเพราะมันยังเป็นเด็กอยู่    ระวังจนใหญ่โตเป็นหนุ่มเป็นสาวขึ้น  ก็ยังต้องระวังอยู่ตลอดเวลา  เมื่อทำชั่วประพฤติผิด  สติตัวนี้ใช้อยู่ตลอดเวลา  ใช้ตั้งแต่เด็กจนกระทั่งเติบโต  ใช้ตั้งแต่สติผู้คิดผู้นึกทีแรกโน่น  ตลอดจนมันส่งส่ายไปสารพัดทุกเรื่องทุกอย่าง  สติต้องรักษาอยู่ตลอดเวลา  ส่วนเด็กนั้นเรียกว่าเป็นของมีตนมีตัว มันของยากหน่อย  แต่เมื่อเราคุมอยู่แล้ว จิตกลายเป็น(หมายถึงราวกับว่าเป็น - webmaster)ของมีตัว ปรากฎเห็นชัดเลย  จิตอยู่หรือจิตไม่อยู่  จิตวิ่งว่อนเที่ยวไปในที่ต่างๆ  เห็นชัดเลยทีเดียว  เป็นตัวเป็นตนแท้ทีเดียว
         ครั้นเรารักษาจิตได้แล้ว  ควบคุมจิตได้แล้ว  สติตัวนั้นตั้งมั่นแล้วมันจะรวมเข้ามาเป็นใจ  คือตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีสถานที่หรอก  กลางตรงไหน ก็อันนั้นเป็นใจ ตรงนั้นแหละ  ไม่ใช่อยู่นอกอยู่ใน ข้างบนข้างล่าง   ใจเป็นกลางๆ อยู่ตรงไหนก็นั่นแหละ  ตัวใจตรงนั้นแหละ  หัดสติควบคุมจิตให้เข้าถึงกลางอยู่เสมอๆ  มันค่อยมีพลังสามารถที่จะคิดค้นในสิ่งต่างๆ  สามารถที่จะระงับดับทุกข์ทั้งปวง  มันเดือดร้อน จะได้ทิ้งได้  เดี๋ยวนี้เราไม่เข้าถึงตรงกลาง จึงละทุกข์ไม่ได้    สิ่งที่ทุกข์ ก็เดือดร้อนวุ่นวาย  สิ่งที่เป็นสุข ก็เพลิดเพลินลุ่มหลง  ไม่เป็นกลางลงไปได้สักที
         ถ้าถึงตรงกลางแล้วนั้น   มันเป็นทุกข์ก็รู้จักทุกข์  ก็ปล่อยวางทุกข์ได้   มันสุขสบายก็ไม่หลงเพลิดเพลินมัวเมา    มันก็เป็นกลางอยู่อย่างนั้น  มันไม่สุขไม่เดือดร้อนวุ่นวาย  ไม่เป็นทุกข์  สติตัวหนึ่ง  จิตตัวหนึ่ง  สติควบคุมจิต    เมื่อควบคุมได้แล้วมันเข้ามาเป็นใจตัวเดียว   ตัวใจเป็นของสำคัญที่สุด  จิตมันออกจากใจ  ถ้าไม่มีใจมันก็ไม่มีจิต  จิตอันใดใจอันนั้น  ใจอันใดจิตอันนั้น  ท่านก็เทศนาอยู่  แต่จิตก็หมายความถึงอันเดียวกันนั่นแหละ
         แต่ทำไมท่านจึงเรียกว่าใจ  ทำไมจึงเรียกว่าจิต   อธิบายให้ฟังว่าใจคือตรงกลางไม่มีส่งส่าย  ไม่มีคิดไปหาบาปอกุศล  ไม่คิดถึงบุญ  หรืออะไรทั้งหมด  ใจที่ตรงกลางๆนั่นแหละ  ไม่มีอะไรหรอก  ไม่คิด  ไม่นึก  ไม่ปรุง  ไม่แต่ง  แล้วก็ไม่เกิดปัญญา    ตรงนั้นไว้เสียก่อน  ให้มันอยู่ตรงกลางเสียก่อน  ปัญญาเกิดหรือไม่เกิดก็ช่างมัน    ที่จะถึงตรงกลางได้มันใช้ปัญญาไม่ใช่น้อย  คิดค้นต่างๆทุกอย่างทุกเรื่อง  คิดค้นมาพอแรงแล้ว ตัวปัญญาใช้มามากแล้ว  คราวนี้เมื่อใช้มันหมดทางไม่มีที่ไปแล้ว  มันจึงเข้ามาเป็นกลาง  ตัวกลางๆนั้น  แต่คนไม่เข้าใจว่ามีปัญญา    แท้ที่จริงปัญญาใช้มามากแล้ว  เข้าถึงตรงกลางแล้วก็เฉยอยู่นั้น
         เราอยากจะรู้จักตรงกลางคืออะไร  หัดอย่างนี้ก็ได้  ทดสอบทดลองดู  กลั้นลมหายใจสักพักหนึ่ง  ไม่มีอะไรหรอก  มีเฉยๆ รู้เฉยๆ ไม่คิดไม่นึก  แต่รู้สึกว่ามันไม่คิดไม่นึก  ไม่ส่งส่ายไปมาหน้าหลัง  ไม่คิดถึงเป็นบาปเป็นบุญอะไรทั้งหมด  ผู้รู้สึกว่าเฉยๆนั่นแหละ  ตัวนั้นแหละตัวกลางตัวใจ (webmaster-ภาวะนี้เกิดจากมีสติ ในการกลั้นลมหายใจอันทำงานอยู่ตลอดเวลาและจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีวิตให้คงอยู่  จิตจึงต้องมีสติที่ตั้งมั่นแน่วแน่ในการระงับลมนั้น  จึงไม่ส่งส่ายไปปรุง ไปแต่ง  ตั้งมั่นอยู่ในการระงับลมนั้นเป็นเอก)  แต่มันได้ชั่วขณะเดียวในเมื่อเรากลั้นลมหายใจ พอจับตัวมันได้ว่า  ตัวใจมันตัวนี้  คราวนี้มันส่งออกไป  ถ้ามันส่งส่ายเป็นจิต  คิดนึก  สติควบคุมดูแลรักษา  ต้องชำระสะสางสิ่งที่เป็นบาป  ละอกุศล  ปล่อยวางลงไป  สิ่งที่เป็นบุญเป็นกุศลอันนั้นก็ทิ้งวาง ปล่อยวางลงไป ไม่เอา   บุญก็ไม่เอา บาปก็ไม่เอา  มันถึงเข้าถึงกลางได้  เอาบุญก็ไม่เข้าถึงกลาง เอาบาปก็ไม่เข้าถึงกลาง  เมื่อละทั้งสองอย่างแล้วจึงเป็นกลางได้   นั่นแหละใช้ปัญญาอุบายมากมาย  จนกระทั่งมาเป็นใจ
         ธรรมดาจิตกับใจนี้มันเกี่ยวเนื่องกันอยู่  เข้ามาเป็นใจพักหนึ่งแล้วมันก็อยู่ไม่นาน  มันก็ออกไปอีก  วิ่งว่อนไปตามเรื่องของมัน  แต่เราตั้งสติกำหนดรู้ใจรู้จิตของมัน เรื่องมันวิ่งว่อนไปด้วยประการต่างๆ  มันซุกซน  รู้เรื่องของมัน    คำว่ารู้นั้น หมายความว่า  ละทิ้งในสิ่งที่มันไม่ดี  เมื่อละไปหมดแล้ว  มันก็กลับมาช่องกลางนั้นอีก  การหัดสมาธิภาวนา  ถ้าหัดอย่างนี้ได้บ่อยๆเสมอๆ  ไม่เตลิดเปิดเปิงหลงไปตามจิต  ไม่มีสถานี  ไม่หยุด ไม่หย่อน อันนั้นใช้ไม่ได้   พิจารณาจนหมดเรื่องแล้ว  ถ้ามันถูก มันกลับมาอีกหรอก มาเป็นใจ    ถ้าไม่ถูกก็เลยเตลิดเปิดเปิงไปใหญ่โตมโหฬาร
         ถึงอย่างไรก็ขอให้ทำให้เข้าใจถึงใจอยู่เสมอๆ  ความสงบที่เข้าถึงใจที่เป็นหนึ่งนั้นเป็นการดีมาก   ถึงไม่ได้ปัญญาก็เอาเถอะ  เอาเพียงเท่านี้ก็เอาเสียก่อน  เอาที่ความสงบนั่นแหละ  ให้มั่นคงถาวรแล้วมันถึงเกิดเองหรอก  อย่ากลัวเลย  กลัวว่าจิตจะไม่คิดไม่นึก ไม่ปรุงไม่แต่ง  มันคิดมันนึกมันปรุงมันแต่ง  ก็รู้เท่ารู้เรื่องมันอยู่ถ้าหากมันเข้าถึงใจแล้ว  นี่การภาวนาต้องหัดอย่างนี้  หัดพิจารณาอานาปานสติก็ดี  มรณานุสติก็ดี  พุทโธ อะไรต่างๆหมด  ก็เพื่อให้เข้าถึงใจ  เพื่อให้คุมสติได้    ถ้าหากว่าคุมใจไม่ได้  คุมใจไม่อยู่  อะไรก็เอาเถิด ไม่เป็นผลประโยชน์อะไรเลย
         ตัวของเราทั้งหมดมีจิตอันเดียวเป็นของสำคัญอยู่ในตัวของเรา  คนมากมายหมดทั้งโลกนี้ก็จิตตัวเดียว  จิตคนละดวงๆเท่านั้นแหละ  มันวุ่นวายอยู่นี่แหละ  แต่ละคนๆ รักษาจิตของเราไว้ได้แล้ว  มันจะวุ่นอะไร  มันก็สงบหมดเท่านั้น  ต่างคนต่างรักษาใจของตน    ต่างคนมีสติรักษาใจเท่านั้นก็เป็นพอ    ที่มันยุ่งมันวุ่นก็เพราะเหตุที่ไม่รู้ใจของตน  รักษาใจของตนไว้ไม่ได้  มีโลภโมโทสันสารพัดทุกอย่าง  วุ่นวี่วุ่นวายเกิดแต่ใจนี่ทั้งนั้น   แล้วใจมันได้อะไรล่ะ   โลภมันได้อะไรไปใส่ใจ  โลภมันไปกองอยู่ที่ใจมันได้อะไร  โทสะเอาไปไว้ที่ไหนล่ะ  ไปไว้ที่ใจมีไหมล่ะ    โมหะ ความหลงไปไว้ที่ใจมีไหม   ใจไม่เห็นมียุ้งมีฉางใส่  ใจไม่เห็นมีตนมีตัว  มันได้อะไร  มีแต่ความว่างเปล่า ไม่มีอะไรเลย    ผู้ที่ว่าได้ว่าดีนั้น มันดีตรงไหน  โลภโมโทสันได้มาแล้วว่าดีนั้น   โกรธ  โลภ หลง  คนนั้นคนนี้    เห็นตนว่าวิเศษวิโส  ว่าตนดี  มันดีอะไร  วิเศษอะไร  มีแต่ความเดือดร้อนวุ่นวาย
         อย่างว่า เราได้ของเขามาอย่างนี้  เราโลภอยากได้ของเขา  ได้มามันมีอะไรในที่นั้น   ได้มาอยู่มากิน  ได้มาบริโภคใช้สอย  ใช้อะไรก็ตัวนี้ละใช้  มันใหญ่มันโตมันอ้วนมันพีขึ้นไหมล่ะตัวนี้  มันก็ไม่เห็นมีอะไร  มีแต่แก่เฒ่าชำรุดทรุดโทรมไปทุกวัน   อย่างว่า โทสะ มานะ ทิฏฐิเกิดขึ้นมา  ถือตนถือตัว  ถือเราถือเขา    มานะทิฏฐิเกิดขึ้นมาไม่ยอม  กระด้างถือตัว  มันได้อะไรกัน  ไม่เห็นมีอะไร    ตัวมันพองขึ้นโตขึ้นไหม  ตัวนั้นมันดีวิเศษขึ้นกว่าเก่าหรือ   มันเป็นคนสดคนสวยขึ้นกว่าแต่เก่าหรือ  หรือว่าเป็นอะไรไม่เห็นสดสวยอะไร  มีแต่หน้าบึ้งหน้าเบี้ยวหน้ายักษ์หน้ามาร  อยู่ดีๆจะไม่ดีกว่าหรือ    โมหะความลุ่มหลงก็เช่นกัน  มันจะเกิดความโลภ ความหลง  ก็โมหะมาก่อน   มีโมหะแล้วเกิด  โลภ  โกรธ  หลงขึ้นมา    ให้พิจารณาเห็นอย่างนี้แล้ว  มันหมดเรื่องกัน  จะไปเกิดโมหะ  โทสะ  มานะทิฏฐิไม่มีเลย   เป็นของว่างเปล่าหมดทุกสิ่งทุกอย่าง   เราอยู่เฉยๆจะไม่ดีกว่าหรือ   ทำให้เข้าถึงใจตัวกลางตัวนั้น  จะเบิกบาน  สุขภาพก็ดี  แล้วก็ไม่มีเวรภัย  ไปไหนก็ไม่คับแคบ  ไม่รกโลกของเขา   คนโทสะ  มานะทิฏฐิจะไปไหนมันรกหมด  ไม่ยอมตนยอมตัวไปอยู่ที่ไหนมันคับบ้านคับเมืองหมด  ให้พิจารณาอย่างนี้แหละ  ครั้นถ้าพิจารณาอย่างนี้ถูกทางแล้ว  มันจะรวมเข้าเป็นใจ  เอาละ  พิจารณาเท่านั้นละ
Sompong Tungmepol 
พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงจิตถึงใจอันเดียว กิเลสทั้งหลายเกิดจากจิต จิตเป็นผู้ยึดเอากิเลสมาไว้ที่จิต จิตจึงเศร้าหมอง เมื่อจิตเห็นโทษของกิเลสแล้ว สละถอนกิเลสออกจากจิตได้แล้ว จิตก็ผ่องใสบริสุทธิ์นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้มิใช่หรือ
ถึงผู้จะเข้าสู่อริยภูมิ ก็ต้องเข้าถึงจิตเป็นหนึ่ง เรียกว่า มัคคสมังคี จิตรวมศีลสมาธิปัญญา เข้ามาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน จึงจะเข้าถึงอริยภูมิได้ปัญญาค้นคว้าหาเหตุผลของกิเลสนั้นๆ จนรู้ชัดเจนแจ่มแจ้งด้วยตนเองแล้ว นั่งอยู่ในที่เดียวนั้นก็เว้นจากความชั่วนั้นๆ ได้หมดจดสิ้นเชิง แล้วจิตก็แน่วแน่นลงเป็นสมาธิไม่ง่อนแง่นคลอนแคลนไปไหนหมดจากโทษนั้นๆ ก็จิตดวงนั้น ปัญญาความรู้เห็นโทษในกิเลสนั้นๆ ก็จิตดวงนั้น แล้วรวมลงแน่วแน่นลงสู่ในที่เดียว ก็จิตดวงนั้น แลต้องตามไปละถอนในที่ต่างๆ อยู่เฉพาะในที่เดียวในขณะจิตเดียว จิตของพระอริยเจ้าแต่ละขั้นจะเข้าถึงมัคคสมังคี รวมเป็นศีลสมาธิปัญญา เข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันดังนี้แล้วจิตนั้น ก็ไม่ได้กลับเป็นอย่างนั้นอีก เมื่อถอนออกมาก็จะวิ่งไปตาม กามาพจรญาณสัมปยุต รู้เห็นตามวิสัยของกามาพจรทุกประการ แต่มีญาณ เป็นเครื่องรู้ตามเป็นจริง มิได้หลงไปตามอารมณ์นั้นๆ อย่างปุถุชนธรรมดา
จงพากันมาทำความถูกต้องตามพุทธวจนะของพระองค์ อย่าพากันถือเอาคนนิยมมากเป็นประมาณ จงถือความถูกต้องเป็นหลักเกณฑ์ ครั้งพุทธกาล ครูทั้งหกมีสัญชัยปริพาชก เป็นต้น ก็มีคนนับถือมากมิใช่น้อย ในปัจจุบันนี้ ไสบาบา ดั่งเราเห็นอยู่ ซึ่งสอนให้สะสมกิเลส แต่คนก็ยังนับถือมาก
ฉะนั้น ขอเชิญชวนท่านที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานทั้งหลาย พึงพิจารณาตนเองว่า
เราปฏิบัติอยู่ในแนวใด ถูกต้องตามคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้วหรือยัง ถ้าไม่ถูกจงรีบแก้ไขให้ถูกต้องเสีย ก่อนจะสายเกินไปเราถือพระพุทธศาสนา เพื่อเทิดทูนบำรุงให้ศาสนารุ่งเรือง ได้มาปฏิบัติทำกัมมัฏฐานนี้ เป็นทางตรงต่อมรรคผลนิพพานโดยแท้ โดยเฉพาะพระภิกษุเราผู้เผยแพร่พระพุทธศาสนาควรสังวรระวังอย่างยิ่งผู้เขียนไม่มีความสามารถที่จะชี้แจงให้ท่านทั้งหลายเข้าใจลึกซึ้งกว่านี้ ถ้าท่านผู้ใดมีความสามารถชี้แจงให้เข้าใจได้แจ่มแจ้งกว่านี้ได้แล้ว ขอเชิญเถิด ผู้เขียนขออนุโมทนาด้วยอย่างยิ่ง ทุกๆคนคงมีความปรารถนา ที่จะให้พระพุทธศาสนาดำรงถาวรสืบต่อไปพระนิโรธรังสี
Sompong Tungmepol 
เราพากันมาสำรวมจิตกันเถิด จิตนี้พวกเราเคยปล่อยให้มันเสาะแสวงหาสิ่งที่มันชอบใจมานานแล้ว และสิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้ว แต่จิตมันก็ไม่พอสักทีหาอยู่ร่ำไป เมื่อไรมันจะรู้จักจบจักพอกันสักที คนที่อยู่รอบๆ ตัวของเรานี้ เราก็เห็นตำตาอยู่แล้ว เมื่อตายไปก็ไม่เห็นเอาอะไรไปด้วย แม้แต่ร่างกายอันนี้ ก็ทอดทิ้งถมพื้นแผ่นดินด้วยกันทั้งนั้น แต่จิตที่อยู่นิ่งไม่แส่ส่ายแสวงหาอะไรทั้งหมด ตั้งมั่นอยู่กับพุทโธอันเดียว เรายังไม่เคยได้เลย จงพากันมาภาวนาพุทโธๆ ให้จิตมันหยุดนิ่งอยู่อันเดียว ลองดูซิ บางที จิตที่อยู่กับพุทโธอันเดียว กลับจะได้มากกว่า และเป็นของแปลกประหลาดกว่าที่เป็นมาแล้ว
เวลานั่งภาวนาเพื่อดูใจ จะต้องหาหลักหรือเป้าจับใจให้อยู่กับหลัก หลัก คือ "พุทโธ" เอาสติตั้งไว้ตรงนั้น ... เมื่อตั้งสติกำหนดไว้ที่ "พุทโธ" อย่างเดียวแล้ว ใจจะตั้งมั่นไม่วอกแวกไปมา
เมื่อจิตอยู่นิ่งกับพุทโธอันเดียว สรรพกิเลสทั้งหลายก็ไม่มี แล้วจงใช้สติประคองจิตอันนั้นให้นิ่งอยู่กับพุทโธอันเดียวเสียก่อน อย่าให้ส่งส่ายไปมาทุกอริยาบถทั้งสี่ ทำให้ชำนิชำนาญคล่องแคล่ว จนเราจะให้อยู่ก็ได้ หรือเราจะให้คิดค้นพิจารณาในธรรมต่างๆ ก็ได้ หรือคิดค้นธรรมต่างๆ แล้วจะให้มานิ่งอยู่กับใจก็ได้ เมื่อเข้าใจถึงแล้วพุทโธไม่ต้องบริกรรมก็ได้ 

จิต กับ ใจ มันต่างกัน จิต คือ ผู้คิด ผู้ส่งส่าย ผู้ปรุงแต่ง ใจ คือ ผู้รู้ตัว แล้วนิ่งเฉยไม่คิดไม่นึก เรียกว่าใจดังอธิบายมาข้างต้น 

เมื่อไม่อยากให้กิเลสมารบกวน จงอย่าคิดนึก ทำใจให้เป็นกลางๆ วางเฉยแล้วนิ่งอยู่ กิเลสทั้งปวงก็จะไม่มารบกวนอีกต่อไป
ถ้าจิตไม่ตั้งมั่น ปัญญาย่อมไม่เกิด เมื่อไม่เกิดปัญญา ... จิตใจจะตั้งมั่นอยู่
กับเนื้อกับตัวได้ มีวิธีฝึกอันแรก ฝึกสมถะ ฝึกสมถะไปนะ พุทโธๆไปก็ได้ หายใจไปก็ได้
การภาวนานั้น เราไม่ได้เกี่ยวข้องกับอะไรท่านให้ตั้งอยู่ในองค์พุทโธให้อยู่กับพระพุทธเจ้า ... สติ คือ ความระลึกได้ สัมปชัญญะ ก็คือความรู้ตัว
Sompong Tungmepol 
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก 
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว 
ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง 
อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน 
ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน 
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง 
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน.
ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย 
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย
เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. 
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. 
และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว 
ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ.
ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้
จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน 
และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด
Sompong Tungmepol 
 การปฏิบัติสมาธิในฝ่ายพระพุทธศาสนา ที่กล่าวกันตามพระไตรปิฎกจึงหมายถึงการฝึกสมถสมาธิเพื่อให้เกิดสัมมาสมาธิ  แต่เพื่อจุดประสงค์อันสำคัญยิ่ง กล่าวคือ นำสัมมาสมาธิของฝ่ายสมถสมาธิที่ฝึกปรือไว้นั่นเอง นำมาเป็นบาทฐาน เป็นกำลังของจิต มาดำเนินในขั้นการเจริญสัมมาสมาธิในการดับทุกข์หรือการวิปัสสนา กล่าวคือ นำมาเป็นเครื่องสนับสนุนสติและปัญญา  ให้สตินั้นเป็นไปได้อย่างตั้งมั่นหรือต่อเนื่องในการปฏิบัติหรือดำเนินชีวิต อย่างมีสติระลึกรู้เท่าทันหรือพิจารณาในธรรม หรือในกาย เวทนา จิต ธรรม ในสติปัฏฐาน๔   และยังทำหน้าที่เป็นกำลังของจิตหรือพลังจิตในการตัดกิเลสตัณหาที่เกิดขึ้นเหล่านั้นในการปฏิบัติช่วงแรกๆที่อาจต้องช่วยให้จิตมีที่อยู่อันควร
Sompong Tungmepol 
เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก 
เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว 
ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว
ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว 
กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี.
ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง 
อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน 
ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน 
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง 
อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน.
ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย 
ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย
ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย
เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. 
เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. 
และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว 
ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ.
ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้
จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน 
และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด 
Sompong Tungmepol 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา )

อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย 

เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง 

เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้
Sompong Tungmepol 
พระพุทธเจ้าทรงสอนไว้ว่า คน (คือ โลกอันนี้) แตกดับสลายไปเป็นธรรมดา แต่ จิต คือ เจ้าของของโลกนั้น เมื่อมีกิเลสอยู่จะต้องกลับมาเกิดอีก ฉะนั้น พระพุทธองค์จึงทรงสอนให้ฝึกหัดสมาธิ อันเป็นเรื่องของจิตโดยเฉพาะ เมื่อฝึกหัดทำสมาธิเข้าแล้ว หากมีอายตนผัสสะจะรู้สึกอยู่แต่ภายใน คือ จิต ผู้เดียว ผู้เห็นผู้ฟังจะไม่เกี่ยวด้วยตาและหู อายตนผัสสะ จะรู้ด้วยจิตอย่างเดียว (ได้ชื่อว่าทำโลกนี้ให้แคบเข้ามา )

อายตนะทั้งหลายเป็นเครื่องวัด จิต ของตนได้อย่างดีที่สุด เมื่ออายตนะผัสสะมากระทบ จิต ของเรา เราหวั่นไหวไหม เมื่อหวั่นไหวมาก ก็แสดงว่ามีสติน้อย มีธรรมเป็นเครื่องอยู่ก็ยังน้อย เมื่อหวั่นไหวน้อยหรือไม่หวั่นไหวเสียเลย ก็แสดงว่าเรามีสติมาก มีธรรมเป็นเครื่องอยู่มาก และรักษาตัวได้เลย 

เปรียบเหมือนกับพระเทวทัตและพระโพธิสัตว์ ย่อมก่อเวรก่อกรรมแก่กันมาโดยตลอด พระโพธิสัตว์ถ้าไม่มีพระเทวทัตก็จะไม่ได้สร้างบารมีให้เต็มเปี่ยม เมื่อบารมีเต็มเปี่ยมแล้วจึงได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ก่อนจะตรัสรู้พระองค์ก็ได้ทรงผจญพญามารอันมีแสนยานุภาพมหึมา เมื่อตรัสรู้แล้วก็มีลูกสาวพญามาราธิราชทั้งสามนางมาทดสอบอีกที เป็นอันว่าชาวโลกซ้องสาธุการว่า พระพุทธเจ้าทรงชนะกิเลสเด็ดขาดในโลกนี้โดยสิ้นเชิง 

เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้
Sompong Tungmepol 
จงทำตัวให้เหมือนกับนักรบโบราณ สมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน่นหนา มีค่ายคูประตูหอรบเสร็จ เพื่อป้องกันข้าศึกอันจะมาราวี นักรบที่ฉลาด เมื่อออกรบกับข้าศึกเห็นว่าจะสู้ข้าศึกไม้ได้แล้ว ก็ล่าทัพกลับสู่พระนคร แล้วรักษาพระนครเอาไว้ไม่ให้ข้าศึกเข้ามาทำลายได้ พร้อมกันนั้นก็สะสมรี้พลอาวุธและอาหารให้พร้อมเพรียง(คือ ทำสมาธิ ให้มั่นคงกล้าหาญ ) แล้วจึงออกรบข้าศึกอีกต่อไป (คือ มวลกิเลสทั้งปวง)
Sompong Tungmepol 
 
เมื่ออายตนะภายในยังมีอยู่ มโนผัสสะก็ยังเป็นอารมณ์อยู่ ฉะนั้น ท่านผู้รู้ทั้งหลายมาเห็นโทษสิ่งทั้งหลายเหล่านั้น จึงยอมถอนออกจากสิ่งเหล่านั้นเสีย ยังคงเหลือแต่ใจ ที่เป็นกลางๆ ๆ ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง แล้วโลกอันนี้มันจะมีมาแต่ที่ไหน พระพุทธเจ้าทรงสอนให้ถึงที่สุดของโลกด้วยประการอย่างนี้
  

รายการถัดไป


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น