วันศุกร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2558
วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง. ดูกรภิกษุทั้งหลายสมัยใด เมื่อภิกษุหายใจ ออกยาว ก็รู้ชัดว่า หายใจออกยาว หรือเมื่อหายใจเข้ายาว ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้ายาว เมื่อหาย ใจออกสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจออกสั้นหรือเมื่อหายใจเข้าสั้น ก็รู้ชัดว่า หายใจเข้าสั้น สำเหนียก อยู่ ว่าเราจักเป็นผู้ กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจออก ว่าเราจักเป็นผู้กำหนดรู้กองลมทั้งปวง หายใจเข้า สำเหนียกอยู่ ว่าเราจักระงับกายสังขาร หายใจออก ว่าเราจักระงับกายสังขาร หาย ใจเข้า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในสมัยนั้น ภิกษุชื่อว่าพิจารณาเห็นกายในกาย มีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ดูกร ภิกษุทั้งหลาย เรากล่าวลมหายใจออก ลมหายใจเข้านี้ ว่าเป็นกายชนิดหนึ่งในพวกกาย เพราะฉะนั้นแล ในสมัยนั้น ภิกษุจึงชื่อว่า พิจารณาเห็นกายในกายมีความเพียร รู้สึกตัว มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสียได้อยู่ ฯ [3] ตั้งแต่ข้อ 1-4 จัดเรียกว่ากายานุปัสสนาสติปัฏฐาน 1.หายใจเข้า-ออกยาวรู้ การกำหนดลมหายใจที่ปลายจมูกและริมฝีปากบน[4] 2.หายใจเข้า-ออกสั้นรู้ ชัดแจ้งในลักษณะของลมหายใจว่าบ้างสั้น บ้างยาว บ้างเบา บ้างหนัก (ด้วยอำนาจของสติสัมโพชฌงค์ คือสติที่สมบูรณ์ด้วยสัมปชัญญะ ทั้งสี่) 3.หายใจเข้า-ออก กำหนดกองลมที่กระทบในกายทั้งปวง เห็นอาการกระทบของลมหายใจกับกาย (สติพิจารณาอาการเป็นเป็นไปสกลกายทั้งหมดด้วยอำนาจของ ธัมมวิจยสัมโพชฌงค์ การเลือกเฟ้นพิจารณาในธรรม เพราะศรัทธาพละและปัญญาพละสมดุลกัน จนเห็นรูปนามเป็นเพียงสักแต่ว่าเป็นธาตุตามธรรมชาติไม่ใช่สัตว์บุคลตัวตนเราเขา) 4.หายใจเข้า-ออก เห็นกองลมทั้งปวงสงบก็รู้ (จับลมหายใจไม่ได้เหมือนลมหายใจหายไป จิตเห็นรูปไปหายเหลือแต่นาม เห็นกองลมสงบด้วยอำนาจของวิริยะสัมโพชฌงค์ หรือการมีวิริยะที่สมดุล เพราะวิริยะพละและสมาธิพละสมดุลกัน จนจิตปราศจากนิวรณ์) เวทนานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 5 - 8 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่ความรู้สึกได้ชัดเจน จัดเรียกว่า เวทนานุปัสสนา จนสามารถแยกรูปนามออกจากกันได้ชัดเจน หรือ นามรูปปริทเฉทญาณ 5.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกปีติ ( ปีติอันเกิดขึ้นด้วยอำนาจ ปีติสัมโพชฌงค์) 6.หายใจเข้า-ออก กำหนดในความรู้สึกสุข (ทั้งกายิกสุข สุขทางกายและเจตสิกสุข สุขทางใจ) 7.หายใจเข้า-ออก กำหนดรู้สึกตัวในจิตสังขาร รู้สึกตัวในอุเบกขาเวทนา (จิตสังขารคือเจตสิก ที่จรเข้ามาปรุงแต่งจิต มีเวทนาและสัญญาทั้งปวง) 8.หายใจเข้า-ออก จักระงับจิตตสังขาร (จิตตสังขารระงับด้วยอำนาจของ ปัสสัทธิสัมโพชฌงค์ ) จิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 9 - 12 สติเริ่มละเอียดจะจับชัดที่การรู้หรือที่อายตนะได้ดี อันเป็นวิญญาณขันธ์ได้ชัดเจน จัดเรียกว่า จิตตานุปัสสนา จนสามารถเท่าทันในเหตุปัจจัยของรูปนามได้ชัดเจน หรือ นามรูปปัจจยปริคคหญาณ 9.หายใจเข้า-ออก พิจารณาจิต 10.หายใจเข้า-ออกจิตบันเทิงร่าเริง 11.หายใจเข้า-ออก จิตตั้งมั่น (จิตมีสัมมาสมาธิ(จิตตั้งมั่นมีสมาธิด้วยอำนาจของ สมาธิสัมโพชฌงค์ ) 12.หายใจเข้า-ออก จักเปลื้องจิต ก็รู้ (จิตปลดเปลื้องในจากกิเลสอารมณ์ต่างๆมี อภิชฌาและปฏิฆะ เป็นต้น จิตเป็นอุเบกขา ด้วยอำนาจของ อุเบกขาสัมโพชฌงค์) ธัมมานุปัสสนาสติปัฏฐาน[แก้] ตั้งแต่ข้อ 13 - 16 สติละเอียดมากจนพิจารณารูปนามเพราะปรากฏชัดอยู่ในธัมมารมณ์(สิ่งที่เกิดขึ้นในใจหรือมนายตนะ มี 3 อย่าง คือ เวทนา สัญญา สังขาร ธรรมในความหมายนี้หมายเอาความนึกคิดซึ่งก็คือการพิจารณานั้นเอง) จัดเรียกว่า ธัมมานุปัสสนา พิจารณาเห็นว่ารูปนามเป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ 13.หายใจเข้า-ออก พิจารณาเห็นความไม่เที่ยง (อนิจจัง) ในขันธ์ทั้ง 5 มีลมหายใจเป็นตัวแทนรูปขันธ์ จะพบเห็นสังขตลักษณะ(ความเกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป )ในขันธ์ทั้งห้า (สมมสนญาณ อุทธยัพพยญาณ ภังคญาณ) 14.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยความคลายกำหนัดในรูปนาม เห็นรูปนามเป็นสิ่งไร้ค่า (ภยญาณ อาทีนวญาณ นิพพิทาญาณ) 15.หายใจเข้า-ออก พิจารณาโดยไม่ยึดติดถือมั่นในรูปนามขันธ์ห้าว่าไม่ใช่ตัวตน เพราะเห็นความดับไปแห่งปฏิจจสมุปบาท (มุญจิตุกัมยตาญาณ ปฏิสังขาญาณ สังขารุเปกขาญาณ) 16.หายใจเข้า-ออก พิจารณาสละคืน (ตั้งแต่สัจจานุโลมมิกญาณ โคตรภูญาณ มัคคญาณ ผลญาณ ปัจจเวกขณญาณ) ศึกษาคำอธิบายอานาปานสติ 16 ฐานอย่างละเอียดจากพระไตรปิฎกโดยตรงที่พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค อานาปาณกถา [๔๐๑]- [๔๒๒] อานาปานะสติแบ่งตามกรรมฐาน ข้อ 1-2 จัดว่าเป็นสมถกัมมัฏฐาน (อานาปานะสติท่านกล่าวว่าเป็นสมถกรรมฐานที่เป็นรากฐานของวิปัสสนากัมมฐานดีที่สุด เพราะมีอารมณ์เป็นไปกับด้วยปัจจุบันขณะและมีบัญญัติเป็นปรมัตถ์) ข้อ 3 - 16 จัดว่าเป็นวิปัสสนากัมมัฏฐาน ท่านกล่าวว่าถ้าดูที่ลมหายใจ ก็ยังจัดว่าเป็นสมถะอยู่ แต่เมื่อยกสติพิจารณารูปนามแล้ว มีกายเป็นต้นจึงชื่อเป็นวิปัสสนาแท้ อานาปานะสติแบ่งตามขันธ์ห้า ข้อ3-4เป็นรูปขันธ์ ข้อ5-6เป็นเวทนาขันธ์ (มีเพียงปีติและสุข) ข้อ7-8เป็นสังขารขันธ์ (เฉพาะจิตตสังขาร) ข้อ9-10เป็นวิญญาณขันธ์ ข้อ11-16เป็นสัญญาขันธ์และสังขารขันธ์(ทั้งกายสังขาร วจีสังขาร จิตตสังขาร) อ้างอิง[แก้] สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๔ มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ สติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๒๒ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๔ อังคุตตรนิกาย ปัญจก-ฉักกนิบาต สติปัฏฐานสูตร สังยุตตนิกาย อรรถกถา ทีฆนิกาย มหาวรรค มหาสติปัฏฐานสูตร. อรถกถาพระไตรปิฎก. มหาสติปัฏฐานสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๐ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒ ทีฆนิกาย มหาวรรค สูตรที่ ๔ ผลสูตรที่ ๑ พระไตรปิฎกเล่ม ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค อานาปานสังยุต อวิชชาสูตร ๑๙/๑ คิริมานนทสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๖ มัชฌิมนิกาย อุปริปัณณาสก์๘. อานาปานสติสูตร (๑๑๘) อานาปานสติสูตร ที่ ๘ อานาปานสติสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๔ (ม.อุ. มหาราหุโลวาทสูตร ที่ ๒. ทีปสูตร พระไตรปิฎก เล่มที่ ๑๙ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๑๑ สังยุตตนิกาย มหาวารวรรค มหาวรรค อานาปาณกถา พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [๓๖๒] -[๔๒๑] ปฏิสัมภิทามัคค์ (ขุ.ปฏิ.31/362/244: 387/260 คัมภีร์ ปรมัตถมัญชุสา มหาฎีกาแห่งวิสุทธิมัคคฺ (วิสุทฺธิ.ฏีกา 2/34) วิสุทธิมัคค์ (วิสุทฺธิ. 25/52-82 พระไตรปิฎก เล่มที่ ๓๑ พระสุตตันตปิฎก เล่มที่ ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค อานาปาณกถา พระสุตตันตปิฎก เล่ม ๒๓ ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค มหาวรรค พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค เล่ม ๗ ภาค ๒ หน้าที่ 85 - 196
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น