วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้า

กราบขอบพระคุณ และอนุโมทนา ท่านอาจารย์ มากครับที่กรุณา ให้โอกาส

บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น.
ผู้สละโลกและพระอานนท์พระพุทธอนุชาเป็นผลของของท่านอาจารย์ วศิน อินทสระ
https://www.youtube.com/watch?v=5dkJb...
พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อปราโมช ปราโมชโช เรื่อง วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตต้องมาเจริญสติปัฏฐาน สติปัฏฐานเป็นทางสายเอกทางสายเดียว ต้องมาทำวิปัสสนากรรมฐาน ไม่ใช่มาทำสมาธิแล้วก็หลุดพ้นไป สมาธิไม่ได้ทำให้หลุดพ้นนะ สมาธิเป็นเครื่องมือนะ เป็นเครื่องมือเป็นตัวทำให้จิตมีพลังทีนี้­สมาธิมี ๒ แบบ สมาธิที่คนทั้งหลายฝึกกันนะเป็นสมาธิเพื่อ­­จะสงบ สงบสบายนะแล้วเกิดนิมิตเห็นโน่นเห็นนี่ไป ก็นึกว่าเห็นพระพุทธเจ้าขึ้นมา
สมาธิอีกชนิดหนึ่งก็คือ จิตที่ตั้งมั่นก็คือ จิตที่ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบา­­น เนี่ยสมาธิชนิดนี้ต้องฝึก คนส่วนใหญ่ไม่คุ้นเคยหรอก คุ้นเคยแต่สมาธิสงบ ไม่คุ้นเคยสมาธิตั้งมั่น'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน
ปาฏิหาริย์เกิดขึ้นในทุกวัน ทุกนาที คือ ปาฏิหาริย์ของการเกิดมา รับรู้ และมีสติ ซึ่งเป็นสิ่งมหัศจรรย์ยิ่ง การรู้เท่าทันจิตของตัวเอง
http://www.youtube.com/watch?v=kTlZEw... สมาธิอบรมปัญญา
ปัญญาอบรมจิต พระธรรมเทศนาโดย หลวงพ่อพุท ฐานิโย
https://www.youtube.com/watch?v=soxGT...
ท่ามกลางความสับสนอลหม่านในจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของส­ังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่นวาย เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุ­ทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่­างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ใ­นชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป..เราภาวนาจนเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลาย
ชั่วคราวทั้งหมด ตรงนี้แหละ ใจจะเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง
ตัวนี้แหละคือสิ่งเรียกว่า สังขารุเบกขาญาน จิตมีปัญญานะ
เป็นกลางกับความปรุงแต่งทั้งหลาย สุข ทุกข์ ดี ชั่วทั้งหลายนี่
จิตเป็นกลางหมดเลย เพราะอะไร เพราะปัญญา
ไม่ใช่กลางเพราะการเพ่ง ไม่ใช่เป็นกลางเพราะกำหนดนะ
กำหนดแล้วเป็นกลางนี่ยังไม่ใช่ ตัวนี้ต้องเป็นกลางเพราะปัญญา
ถ้าเราตามรู้จิตใจของเราทุกวันๆ เราจะเห็นเลย
ความสุขอยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย ความทุกข์อยู่ชั่วคราวแล้วก็หาย
โลภ โกรธ หลง อยู่ชั่วคราว แล้วก็หาย กุศลอยู่ชั่วคราวแล้วก็หายไป
ถ้าตามดูอย่างนี้นานๆไปนะ จิตมันยอมรับความจริงว่า
สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง
ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล
พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ
อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น
อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ
ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ
มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ
ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ
สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์
ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก
พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์
ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ
ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์
แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

พลังของจิต

เราจะต้องฝึกจิตของเรา จะต้องฝึกจนมันตั้งมั่น มีเอโกทิภาวะอยู่

มีความตั้งมั่น ฉะนั้นพอมันวางอารมณ์รูปนามนี้ปุ๊บ มันจะหนีไปหาอารมณ์บัญญัติแทน
ฉะนั้นใจเราต้องฝึกจนมีเอโกทิภาวะ พอมันรู้จนไม่รู้จะรู้อะไร มันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้อัตโนมัติ เพราะถ้าเจือด้วยความจงใจแม้แต่นิดเดียว มรรคผลจะเกิดไม่ได้ ตรงที่มันดับกระแสของโลกิยะลงไป อนุโลมญาณดับกระแสของโลกิยะลงไปแล้ว มันจะทวนเข้าหาธาตุรู้เอง ไม่จับโลกียะ
แต่ยังไม่เข้าถึงโลกุตตระเป็นโคตรภูญาณ มีจิตทำหน้าที่ตรงนี้อยู่ดวงหนึ่ง

พอทวนเข้าถึงอริยมรรค ตัวมรรคนี้เป็นชาติกุศล แต่ตัวผลเป็นชาติวิบาก
พอมันทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้ อริยมรรคจะแหวกสิ่งที่ห่อหุ้มจิตอยู่ จะแหวกแวบออกไป ขาดวาบออกไปอย่างเนียนๆ จิตที่ไม่มีอะไรห่อหุ้มจะเป็นอิสระขึ้นมาชั่วคราว สองสามขณะ ความไม่มีอะไร
มีแต่ความสุขล้วนๆ แต่พอเห็นครั้งหนึ่งสองครั้งสามครั้งยังจำไม่ได้ จำไม่แม่น
เห็นสี่ครั้งแล้วมันจะมีปัจจเวกฯทวนไปถึงนิพพาน
ตอนครั้งที่หนึ่งสองสามนี่ปัจจเวกฯมันไม่ไปดูนิพพาน มันจะไปดูกิเลส กิเลสอะไรละแล้ว
กิเลสอะไรยังเหลือ มันยังมีงานต้องทำ ครั้งสุดท้ายไม่มีงานทำ มันจะไปดูนิพพาน

ตอนที่จิตแท้ๆซึ่งหลุดพ้นออกมาจากอาสวะปรากฏขึ้นมาแบบไร้ร่องรอยให้รู้ เป็นความว่างที่แท้จริง
ถัดจากนั้นแสงสว่างจะปรากฏขึ้น ถัดจากแสงสว่างที่เกิดขึ้น
จิตซึ่งเป็นอิสระแล้วเขาจะแสดงความมีอยู่ของเขาโดยการแสดงความเบิกบานออกมา
บางคนเห็นสองขณะว่างแล้วก็สว่างขึ้นมา บางคนเห็นสามขณะ แสดงความเบิกบานขึ้นมาได้ด้วย

ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมาสู่โลกภายนอก แล้วมันจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณา
ตรงขณะที่สองหรือขณะที่สามที่ผ่านไปแล้ว อาสวกิเลสจะเข้ามาปกปิดจิตอย่างเดิมอีก
สำหรับผู้ที่ผ่านมรรคครั้งที่หนึ่งสองสาม อาสวะที่แหวกออกไปจะกลับเข้ามาห่อหุ้มปกคลุมจิต
อย่างฉับพลัน เวลาเข้ามาปิดก็ปิดเนียนๆ จนครั้งที่สี่จิตจึงหลุดจากอาสวะ

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ...

เจริญเมตตาไป นึกไปเรื่อยๆ เบื้องต้นนึกเอาก่อน

สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขเป็นสุขเถิด
นึกๆ ไปแค่นี้ ต่อไปใจจะค่อยๆ น้อมไป
แล้วถ้าเมื่อไหร่ใจเห็นสัตว์ทั้งหลายน่าสงสาร
ความเมตตาจะมหาศาล
จะเห็นสัตว์ทั้งหลายมนุษย์ทั้งหลายเต็มไปด้วยความทุกข์
คือทุกคนที่ไม่รู้จักเมตตาคนอื่นนะ
เห็นแต่ตัวเองทุกข์ ไม่เห็นคนอื่นเขาก็ทุกข์
ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าคนอื่นเขาก็ทุกข์
ทุกข์น่าสงสารมาก
เมตตาจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ
จากธรรมเทศนา พระอาจารย์ปราโมทย์
คนทั้งหลาย ล้วนแต่เอาตนเองเป็นศูนย์กลางของโลก
เราก็คอยรู้สึกนะ หันกลับมาคอยรู้สึกอยู่ในกายในใจของเรา ในกายก็ประกอบด้วยตาหูจมูกลิ้นกาย ในใจก็คือความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ตัวความรับรู้ทั้งหลาย สิ่งที่เรียกว่าใจในที่นี้จะครอบคลุมไปถึง ตัวเวทนาหรือความรู้สึกสุขทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ ตัวสัญญาความจำได้-หมายรู้ จำได้อันหนึ่งนะ หมายรู้อันหนึ่งนะ แล้วก็ตัวปรุงดีปรุงชั่ว แล้วก็ตัวจิตที่เกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเรียกว่าวิญญาณ วิญญาณจิต

จิตกับวิญญาณนั้นอันเดียวกัน ถ้าทำหน้าที่ไปรับรู้อารมณ์ทางอายตนะ ก็เรียกว่าวิญญาณ ถ้าทำหน้าที่อื่นๆ ไปเสพอารมณ์อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิต มีคำว่าใจอีกคำหนึ่ง ใจเป็นตัวรู้ธรรมารมณ์นะ รู้อารมณ์ทางใจ เรียกว่าใจ จิต วิญญาณ ใจ อันเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์

ทีนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้นะ เรียนรู้อยู่ในกายในใจของเรา ทีนี้จะมาเรียนรู้ทั้งกายทั้งใจเนี่ย เรียนรู้เพื่ออะไร เรียนรู้เพื่อให้เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นการเรียนรู้ในเบื้องต้น ปัญญาเบื้องต้นจะเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ความทุกข์มีอยู่ การกระทำมีอยู่ มีการกระทำ มีความทุกข์ แต่ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีผู้เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นมีการกระทำนะแต่ไม่มีผู้กระทำ ใครเป็นคนทำ ก็ขันธ์มันทำ ไม่ใช่เราทำ

เบื้องต้นปัญญาเบื้องต้นก็จะเห็นว่าไม่มีเรา ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า สิ่งที่มีอยู่นั้นมีแต่ทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ความเพลิดเพลินพอใจในโลกในอะไรเหล่านี้จะสิ้นสุดลง เพราะโลกนี้มีอะไรเป็นศูนย์กลาง ก็มันมีตัวเราเป็นศูนย์กลางของโลก ทุกคนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกกันทั้งหมดเลย แม้กระทั่งศูนย์กลางของโลกคือกายนี้ใจนี้ เรายังเห็นความจริงเลยว่า หาสาระไม่ได้เลย จะเกิดขึ้นมาแต่ตัวทุกข์ หาตัวดีไม่ได้เลย ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่าพอใจ เมื่อปล่อยศูนย์กลางของโลกได้แล้วนะ โลกนี้ไม่ใช่เรื่องที่หนักหนาสาหัสอะไรเลย จิตจะปล่อยอัตโนมัติเลย

เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาฝึกปฏิบัติ ฝึกเรียนรู้ความจริง ให้เรียนรู้เข้ามาถึงกายถึงใจ ซึ่งมันถูกสำคัญมั่นหมายว่าเป็นศูนย์กลางของโลกศูนย์กลางของจักรวาล พอปล่อยวางตัวนี้ได้เพราะเห็นความจริงว่าเป็นตัวทุกข์แท้ๆเลย จะปล่อยทั้งตัวเองและปล่อยทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย มันจะเสมอไปหมดเลย ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­­ว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวน­­าได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

จักษุเกิดขึ้นแล้ว ญาณเกิดขึ้นแล้ว ปัญญาเกิดขึ้น แล้ว วิชชาเกิดขึ้นแล้ว ...

เจริญเมตตาไป นึกไปเรื่อยๆ เบื้องต้นนึกเอาก่อน

สัตว์ทั้งหลายเป็นสุขเป็นสุขเถิด
นึกๆ ไปแค่นี้ ต่อไปใจจะค่อยๆ น้อมไป
แล้วถ้าเมื่อไหร่ใจเห็นสัตว์ทั้งหลายน่าสงสาร
ความเมตตาจะมหาศาล
จะเห็นสัตว์ทั้งหลายมนุษย์ทั้งหลายเต็มไปด้วยความทุกข์
คือทุกคนที่ไม่รู้จักเมตตาคนอื่นนะ
เห็นแต่ตัวเองทุกข์ ไม่เห็นคนอื่นเขาก็ทุกข์
ถ้าเมื่อไหร่เราเห็นว่าคนอื่นเขาก็ทุกข์
ทุกข์น่าสงสารมาก
เมตตาจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ
จากธรรมเทศนา พระอาจารย์ปราโมทย์
คนทั้งหลาย ล้วนแต่เอาตนเองเป็นศูนย์กลางของโลก
เราก็คอยรู้สึกนะ หันกลับมาคอยรู้สึกอยู่ในกายในใจของเรา ในกายก็ประกอบด้วยตาหูจมูกลิ้นกาย ในใจก็คือความรู้สึกนึกคิดทั้งหลาย ตัวความรับรู้ทั้งหลาย สิ่งที่เรียกว่าใจในที่นี้จะครอบคลุมไปถึง ตัวเวทนาหรือความรู้สึกสุขทุกข์ ความรู้สึกเฉยๆไม่สุขไม่ทุกข์ ตัวสัญญาความจำได้-หมายรู้ จำได้อันหนึ่งนะ หมายรู้อันหนึ่งนะ แล้วก็ตัวปรุงดีปรุงชั่ว แล้วก็ตัวจิตที่เกิดทางตาหูจมูกลิ้นกายใจเรียกว่าวิญญาณ วิญญาณจิต

จิตกับวิญญาณนั้นอันเดียวกัน ถ้าทำหน้าที่ไปรับรู้อารมณ์ทางอายตนะ ก็เรียกว่าวิญญาณ ถ้าทำหน้าที่อื่นๆ ไปเสพอารมณ์อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิต มีคำว่าใจอีกคำหนึ่ง ใจเป็นตัวรู้ธรรมารมณ์นะ รู้อารมณ์ทางใจ เรียกว่าใจ จิต วิญญาณ ใจ อันเดียวกัน คือธรรมชาติที่รู้อารมณ์

ทีนี้เราจะมาเรียนรู้สิ่งเหล่านี้นะ เรียนรู้อยู่ในกายในใจของเรา ทีนี้จะมาเรียนรู้ทั้งกายทั้งใจเนี่ย เรียนรู้เพื่ออะไร เรียนรู้เพื่อให้เห็นความจริงว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นการเรียนรู้ในเบื้องต้น ปัญญาเบื้องต้นจะเห็นว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ความทุกข์มีอยู่ การกระทำมีอยู่ มีการกระทำ มีความทุกข์ แต่ไม่มีผู้กระทำ ไม่มีผู้เป็นทุกข์ เพราะฉะนั้นมีการกระทำนะแต่ไม่มีผู้กระทำ ใครเป็นคนทำ ก็ขันธ์มันทำ ไม่ใช่เราทำ

เบื้องต้นปัญญาเบื้องต้นก็จะเห็นว่าไม่มีเรา ปัญญาเบื้องปลายจะเห็นว่า สิ่งที่มีอยู่นั้นมีแต่ทุกข์ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเห็นอย่างนี้นะ ความเพลิดเพลินพอใจในโลกในอะไรเหล่านี้จะสิ้นสุดลง เพราะโลกนี้มีอะไรเป็นศูนย์กลาง ก็มันมีตัวเราเป็นศูนย์กลางของโลก ทุกคนเอาตัวเองเป็นศูนย์กลางของโลกกันทั้งหมดเลย แม้กระทั่งศูนย์กลางของโลกคือกายนี้ใจนี้ เรายังเห็นความจริงเลยว่า หาสาระไม่ได้เลย จะเกิดขึ้นมาแต่ตัวทุกข์ หาตัวดีไม่ได้เลย ไม่น่าเพลิดเพลิน ไม่น่าพอใจ เมื่อปล่อยศูนย์กลางของโลกได้แล้วนะ โลกนี้ไม่ใช่เรื่องที่หนักหนาสาหัสอะไรเลย จิตจะปล่อยอัตโนมัติเลย

เพราะฉะนั้นเมื่อเรามาฝึกปฏิบัติ ฝึกเรียนรู้ความจริง ให้เรียนรู้เข้ามาถึงกายถึงใจ ซึ่งมันถูกสำคัญมั่นหมายว่าเป็นศูนย์กลางของโลกศูนย์กลางของจักรวาล พอปล่อยวางตัวนี้ได้เพราะเห็นความจริงว่าเป็นตัวทุกข์แท้ๆเลย จะปล่อยทั้งตัวเองและปล่อยทั้งสิ่งแวดล้อมภายนอกด้วย มันจะเสมอไปหมดเลย ตรงที่จิตเข้าสู่ความเป็นกลางต่อความปรุงแ­­ต่งทั้งปวง สุขกับทุกข์ก็เสมอกัน ดีกับชั่วก็เสมอกัน เข้าไปถึงความเป็นกลางด้วยปัญญาเห็นว่าทุก­­สิ่งชั่วคราว ถ้าเป็นกลางแบบนี้เรียกว่ามีปัญญาที่เรียก­­ว่า สังขารุเบกขาญาณ จิตจะเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่างสุขกับทุก­­ข์ ดีกับชั่วจะเสมอภาคกัน ไม่ใช่รักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่ง พวกเรารู้สึกไหม ใจเรายังรักอันหนึ่ง เกลียดอันหนึ่งอยู่ตลอดเวลา นั่นละ ปัญญายังไม่พอ ให้รู้ลงไปอีก จนกระทั่งเห็นว่าทุกอย่างก็ชั่วคราวทั้งหม­­ดเลย ทั้งสิ่งที่เรารัก สิ่งที่เราเกลียด พอเห็นซ้ำลงไปจนทุกอย่างชั่วคราวหมด จิตจะเป็นกลาง เมื่อจิตเป็นกลางคือจุดสูงสุดที่เราจะภาวน­­าได้ละ คือจุดสุดท้ายถัดจากนี้ก็คือ มรรคผลจะเกิดขึ้น แต่บางคนจะไม่เกิดมรรคผล บางคนเมื่อภาวนาไป จนเป็นกลางต่อสรรพสิ่งนั้น จิตใจน้อมไปสู่มหากรุณา เห็นอกเห็นใจสรรพสัตว์ทั้งหลาย อยากช่วยสรรพสัตว์ทั้งหลาย จิตจะน้อมไปสู่พุทธภูมิ

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

ลูกพระพุทธเจ้า ความเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง ทางสายเอก ทางสายเดียว เพื่อควา...

เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า กายนี้ใจนี้ทุกข์ล้วนล้วนถึงจุดหนึ่งที่ปั­­ญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไป­­­ทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิต



ปัญญา - วิกิพีเดีย

https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญา
Translate this page
... เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย. ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา); โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา); โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา). ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 ...

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิต - YouTube

https://www.youtube.com/watch?v=5ncctXPq0W8
Jan 18, 2015 - Uploaded by สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง ..

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิต



ปัญญา - วิกิพีเดีย

https://th.wikipedia.org/wiki/ปัญญา
Translate this page
... เป็นต้น เป็นธรรมที่คอยกำกับศรัทธา เพื่อให้เชื่อประกอบด้วยเหตุผล ไม่ให้หลงเชื่ออย่างงมงาย. ปัญญา ทำให้เกิดได้ 3 วิธี คือ. โดยการสดับตรับฟัง การศึกษาเล่าเรียน (สุตมยปัญญา); โดยการคิดค้น การตรึกตรอง (จินตามยปัญญา); โดยการอบรมจิต การเจริญภาวนา (ภาวนามยปัญญา). ปัญญา ที่เป็นระดับ อธิปัญญา คือปัญญาอย่างสูง จัดเป็นสิกขาข้อหนึ่งใน สิกขา 3 ...

ปัญญาสูงสุดคือจิตเห็นจิต - YouTube

https://www.youtube.com/watch?v=5ncctXPq0W8
Jan 18, 2015 - Uploaded by สมพงศ์ อินดัสเตรียล อิเล็กทรอนิคส์
เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง ..

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

ก่อนจะเกิดอริยมรรต

เราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง

ก่อนจะเกิดอริยมรรต

เราฝึกไปจนกระทั่งใจเข้าสู่ความเป็นกลาง เป็นกลาง และบุญบารมีทั้งหลายเราก็สะสมของเราไป เวลาวัดการปฏิบัตินะ ว่าดีหรือไม่นี่ เราไม่ได้วัดเป็นรายวันเราจะวัด คล้าย คล้าย เกรดเฉลี่ย เกรดเฉลี่ย คือจิตใจของเราจะเติบโตขึ้นไป เรื่อยเรื่อย จิตใจที่เข้มแข็งเติบโตขึ้นมาเนี่ย เมื่อมันมีบารมีมากขึ้นนะ มันสะสมมาจากการสร้างความดีนานาชนิดนะ เป็นพลังของจิต บางคนเจริญสติอย่างเดียวนะ ความดีอื่นไม่เอาเลย เจริญสติเจริญปัญญาอย่างเดียวเรื่องอื่นไม่เอาเลยนะ เรื่องศีลเรื่องอะไรไม่เอาทั้งนั้นเลย พวกนี้จิตไม่มีพลัง อย่างมีสมาธิบางคนก็ทำสมาธิเจริญปัญญา ศีลไม่รักษา จิตจะไม่มีพลัง และพลังของจิตตัวนี้มันเป็นมวลรวม เป็นพลังรวมจากความดีทุกทุกอย่างที่สะสมไว้ เรียกว่าบารมีต่างๆพอสะสมบารมีต่างๆมากพอแล้ว จิตจะเกิดพลังที่จะก้าวกระโดด จะเกิดเปลี่ยนเรียกว่าเปลี่ยนโคตรเปลี่ยนตระกูลได้ พวกเราตอนนี้เรามีอยู่ในตระกูลเดียวกันทั้งหมดนะคือตระกูลปุถุชนเป็นปุถุชน เมื่อจิตมันมีบุญบารมีมากพอ มีพลังมากพอ เจริญสติเจริญปัญญา มากพอมันจะก้าวกระโดดเปลี่ยนตระกูลไป ไปอยู่ในตระกูลของโลกุตตระ ตระกูลของพระอริยะ เราจะรู้สึกเลยว่าเรามีพ่อมีแม่ที่แท้จริงนะพ่อแม่ของเราในชาตินี้ก็จริงนะเป็นพ่อแม่จริงแต่เป็นในชาตินี้แต่พ่อแม่ของเราในสังสารวัฏ นี้ คือ พระพุทธเจ้า เราจะรู้สึกว่า เรารู้แล้วล่ะว่า พ่อแม่ของเราคือใคร พี่น้องของเราคือใคร มันจะรู้สึกอย่างนั้น เรารู้แล้วว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน เพราะเราหลงออกมาจากบ้าน คล้ายคล้ายอย่างนั้นนะ คล้ายคล้ายเด็กหลงทาง เราเป็นเด็กหลงทาง เด็กบางคนหลงทางมานาน จนไม่รู้ว่าตัวเองมีบ้านอยู่ พวกเรานี่คือเด็กที่หลงทางมานาน เราไม่รู้ว่าเรามีบ้านที่แท้จริง เราก็ไม่คิดที่จะกลับ นี้ พระพุทธเจ้าเมตตากรุณา สูงนะ ท่านอุตส่าประกาศธรรมะออกมา ลำบากขันท์มากเลยนะ ในการประกาศธรรมะ คล้าย คล้าย สอนวัว สอนควาย ให้ขึ้นต้นไม้นะ ไม่ใช่ง่ายๆนะ สอนให้คนละกิเลส ดีไม่ดีมันก็แว้งเอานะ มันโกรธเอา ท่านอุตส่าทำ ท่านก็ชี้ทางให้เรา พอเราเริ่มเดินไป เดินไป ถึงจุดที่เรารู้ความจริงแล้วว่าตัวเราไม่มี รูปธรรม นามธรรม มีอยู่ แต่ไม่มีเจ้าของ ไม่ใช่ตัวเรา การกระทำ นะ มีอยู่แต่ไม่มีผู้กระทำ ใจมันอย่างนี้ มันรู้จักความจริงของธรรมะละ มันล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ล้างความเห็นผิดในเรื่องวิธีปฏิบัติ ไม่งมงาย หมดความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัย ใจได้พระโสดา เป็นพระโสดาบัน คล้ายเด็กหลงทาง ที่รู้แล้วว่าบ้านอยู่ที่ไหน แต่ยังกลับไม่ถึงบ้าน เรารู้นะว่าบ้านเราอยู่ที่ไหน รู้แล้วว่าพ่อแม่เราคือใคร รู้ว่าพี่น้องเรามี คือบรรดาพระอริยเจ้าทั้งหลาย แต่ว่าเรายังกลับไม่ถึงบ้าน เราก็จะเกิดความพากเพียรนะมุ่งมั่น ศรัทธาของเราคราวนี้จะแน่นแฟ้นนะ ไม่คลอนแคลน ละ เราก็ขยันภาวนา ไปเรื่อย บางคนก็ใช้เวลานานหน่อย นะอินทรีย์ไม่แก่กล้าใช้เวลา 7 ชาติ 7 ชาติสั้นนิดเดียวนะ เราเวียนตายเวียนเกิดนับชาติไม่ถ้วน บางคนก็สองสามชาติ บางคนก็ชาติเดียว ภาวนาไปเรื่อย เรื่อย สุดท้ายมันก็ถึงบ้าน ถึงบ้านแล้วโฮ้ย หาบ้านแทบตาย บ้านอยู่ที่นี่เอง หาซะรอบจักรวาล อยู่ที่จิตที่ใจที่บริสุทธิ์ขึ้นมานี่เอง จะพบพระพุทธเจ้าตัวจริงนะ เราจะพบว่าพระพุทธเจ้ามีจริงจริง แต่ว่าไม่ใช่เป็นพุทธเจ้าที่ไปนั่งเข้าแถว นั่งสมาธิอะไรอย่างนั้นนะ หรือบางสํานักก็นั่งเก้าอี้ พุทธเจ้านั่ง บางสำนักก็นั่งสมาธิ กระดุกกระดิกไม่ได้ด้วย เหมือนรูปปั้น ไม่ใช่หรอก อะไรที่ยังเป็นรูปเป็นนามอยู่ไม่ใช่นิพพานนะ เป็นรูปเป็นนามไม่ใช่นิพพาน นิพพานเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นทุกข์สิ้นขันท์ แต่ว่ามีไหมสภาวะนั้น มี ก็สภาวะที่สิ้นทุกข์สิ้นขันท์สิ้นตัญหา นั้นแหละ นะ เวลาที่ตายธาตุขันท์นี้แตก พลังงานที่มีอยู่ทิ้งไว้ในโลกนะ ส่วนอมตะธาตุ อมตะธรรมรวมเข้ากับพระนิพพานไป พระนิพพานไม่เพิ่มขึ้นไม่ลดลง

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา

เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย
พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”
เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป
ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป
ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ
ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา

เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย
พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”
เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป
ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป
ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ
ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ

อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธ

เราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง

ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว
ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง
เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา
เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย
พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”
เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป
ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป
ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ
ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ
เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว

นิพพานมีจริงๆ นิพพานไม่ใช่โลกอุดมคติ

สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง

ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล 
พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ 
อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น
อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ 
ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ 
มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ 
ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ 
สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์
ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก 
พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์ 
ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ 
ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์
แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้ 

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ 
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ 
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔ 
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค 
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ 
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ 
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ 
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ 
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น 
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง 
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่ 
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย 
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย 
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ 
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง 
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส 
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง 
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

ธรรมพ้นโลก

สิ่งใดเกิดขึ้นสิ่งนั้นดับไป ความสุขเกิดขึ้นจิตไม่หลงระเริง

ความทุกข์เกิดขึ้นจิตไม่กลุ้มใจ จิตมันจะเป็นกลาง
ต่อทุกสิ่งทุกอย่างที่มันไปรู้เข้า จิตที่มันเป็นกลางต่อทุกสิ่งทุกอย่าง
นี่นะ ตัวนี้เป็นตัวสำคัญ นี่เป็นคือประตูแห่งการบรรลุมรรคผล
พอมันเป็นกลางกับทุกสิ่งทุกอย่าง มันจะไม่ปรุงแต่งต่อ
อย่างถ้ามันไม่เป็นกลาง มันจะปรุงแต่งต่อ เช่น ความโกรธเกิดขึ้น
อยากให้หาย ก็ต้องหาทางทำให้หาย เห็นมั้ยปรุงแต่งต่อล่ะ
ความสุขเกิดขึ้นอยากให้อยู่นานๆ ต้องหาทางรักษา นี่ปรุงแต่งต่อ
มีการทำงาน แต่ถ้ามันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับๆ
ไม่ปรุงแต่งต่อ จิตจะพ้นจากความปรุงแต่ง ตามรู้ตามดูจนมันพอ
สติ สมาธิ ปัญญาแก่รอบ จิตใจยอมรับความจริง ยอมรับไตรลักษณ์
ว่าทุกอย่างเกิดแล้วก็ดับ ถึงจุดนี้เนี่ย มันจะเป็นรอยแยก
พวกที่หวังพุทธภูมินะ ก็มีโอกาสจะเป็นพระโพธิสัตว์
ที่ได้รับคำพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า ไม่ใช่พยากรณ์จากหมอดูนะ
ต้องพยากรณ์จากพระพุทธเจ้า พวกที่ไม่ได้หวังจะเป็นพระโพธิสัตว์
แต่หวังความพ้นทุกข์นะ จิตมีโอกาสที่จะเกิดมรรคผลได้

เวลาที่จิตจะเกิดมรรคผลนั้น จิตจะรวมเข้าอัปนาสมาธิ
เพราะฉะนั้นเวลาท่านพูดถึงองค์มรรคเนี่ย สัมมาสมาธิ
ท่านจะพูดด้วยอัปนาสมาธิ ด้วยฌาน ๔
พวกเราตอนที่เจริญสติอยู่นี่เรียกว่า เจริญบุพพภาคมรรค
เบื้องต้นแห่งมรรคยังไม่เป็นฌานนะ
เราหัดเจริญสติอยู่ในชีวิตประจำวันอย่างนี้ ถึงวันที่อริยมรรคจะเกิด
จิตจะรวมเข้าฌานโดยอัตโนมัตินะ จิตเวลาที่เกิดมรรคเกิดผล
จะไม่เกิดในจิตของคนธรรมดา นี่เรียกว่ากามาวจรจิต กามาวจรภูมิ
ไม่เป็นอย่างนั้น จะต้องเข้าฌานนะ เมื่อมันรวมเข้าไปแล้วมันจะเห็น
สภาวะธรรมนี่เกิดดับสองขณะหรือสามขณะ แต่ละคนไม่เท่ากันนะ
ถัดจากนั้นจิตจะวางการรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้
สิ่งที่ห่อหุ้มปกคลุมธาตุรู้อยู่นี่ ถูกอริยมรรคแหวกออกไป
แล้วก็มันจะไปเห็นนิพพานนะ นิพพานไม่ใช่ว่างเปล่า
นิพพานไม่ใช่โลกๆหนึ่ง พวกเรายังไม่เคยเห็น
เราก็วาดภาพสุดโต่งไปสองข้าง ข้างหนึ่งก็นิพพานเป็นโลกๆหนึ่ง
พวกนี้พวกสัสตะทิฐิ มีของที่เที่ยงคงที่
อีกพวกหนึ่งคิดว่านิพพานสูญไปเลย ขณะนั้นไม่มีอะไรเหลือเลย
กระทั่งสติ พวกนี้หลงไปล่ะ คิดว่านิพพานไม่มีอะไรเลย
นี่พวกอุจเฉททิฐินะ นิพพานมีนะ นิพพานมีสภาวะรองรับ
สภาวะของนิพพานคือสันติ คือความสงบนั่นเอง
สงบจากอะไร สงบจากกิเลส
สงบจากอะไร สงบจากความปรุงแต่ง
สงบจากอะไร สงบจากการแบกหามขันธ์นะ ดังนั้นเราภาวนานะ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

การเกิดอริยมรรค

หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ

แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่
จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง
เรียกว่า "สังขารุเบกขาญาณ"
สังขารุเบกขาญาณ
ญาณ แปลว่าปัญญา
มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขา เป็นกลางต่อสังขาร
อะไรที่เรียกว่า สังขาร
ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่าสังขาร
ร่างกายก็เป็นสังขารนะ
ความสุข ความทุกข์ ก็เป็นสังขาร
ความโลภ ความโกรธ ความหลง ก็เป็นสังขาร
อะไรๆ ก็เป็นสังขาร
ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด
ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป
เราจะเห็นเลย ร่างกายที่หายใจออกก็อยู่ชั่วคราว
ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่วคราว
ความสุขก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว
จิตที่เฉยๆ ก็ชั่วคราว
มีใครไม่สุขชั่วคราวไหม มีไหม
สุขถาวรมีไหม ไม่มีหรอก
ใครทุกข์ถาวรมีไหม ใครทุกข์ถาวร ไม่มี
นี่เรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ
เราจะเห็นเลย สุขก็ชั่วคราว ทุกข์ก็ชั่วคราว
โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว
ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามันเกิด
ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
พอเมื่อไหร่ที่จิตมันเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
จิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญาแล้ว
เป็นกลางนี่เกิดได้หลายแบบ
เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้
เช่น ถูกเค้าด่า ก็กัดฟัน ไม่โกรธเลย ไม่โกรธเลยนะ
บอกเป็นกลางเพราะกดข่มเอาไว้
เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก เป็นกลางด้วยมีสติ
เป็นกลางอีกอย่างหนึ่ง เป็นกลางด้วยปัญญา
เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น
เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมา
เราเห็นเลยใจมันโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัตินี่
เราเห็นว่าใจเราโมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา
โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ
ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจเกิดยินร้าย
ไม่ชอบความโกรธ
หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี
อย่างนี้จิตไม่เป็นกลาง
ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน
มันจะเป็นกลางด้วยสติ
แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา
ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่
จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา แล้วมันจะเห็นเลยว่า
ความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว
กุศลก็ชั่วคราวนะ
โลภ โกรธ หลง อะไรต่ออะไรก็ชั่วคราว
ฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว
ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย
ถ้าเมื่อไหร่ จิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว
จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญาขึ้นมา
ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแล้ว
เพราะมันรู้แล้วว่าชั่วคราว
ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย
เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว
ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง
มันไม่หลงระเริงเลยนะ
ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว
เห็นไหมพอมันเห็นว่าทุกอย่าง เป็นของชั่วคราวนี่
ใจจะหมดความดิ้นรน
นี่เรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา
ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่
จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา
ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่
เราจะต้อง หัดเจริญสติ
ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป
จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว
สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว
หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว
ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว
ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย
มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว
นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป
ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ
ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง
จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น
จิตจะหมดความดิ้นรน
จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก
พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข
เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์
จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ
ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข
หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข
จิตดิ้นรนหนีความทุกข์
การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ
คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย
สร้างภพ สร้างชาติ
สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา
พวกเราเห็นไหม
ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา
ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรา
มีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู
เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด
เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น
อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว
ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้
แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ
สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย
ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ
ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่
จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ
รวมของมันเองนะ
แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ
แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส
อริยมรรคเวลาล้างกิเลส
จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ
ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้
อริยมรรค เวลาล้างกิเลส
ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว
ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว
แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ
อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป
อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย
มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา
มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ
ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ
หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป
มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง
ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา
เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา
ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู..."
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช
วันที่ ๖ กันยายน ๒๕๕๒
สาวิกาสิขาลัย เสถียรธรรม