วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

เมื่อปล่อยวางจิตจิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ถึงโคตรภูญาณแล้วอริยมรรคก็จะเก...พระธรรมวินัย ( ปล่อยวางซึ่งสุขในโลกธรรม ๘ ) โลกมีที่สุดเพียงใด พระนิพพานก็ตั้งอยู่ในที่สุดนั้น ว่าด้วย" กิน กาม เกียรติ โดยปัญญานั้น มีคุณมาก คือการหยั่งรู้ ซึ่งการวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย โดยนัยที่พระตถาคตทรงตรัสไว้ดีแล้วว่า...ข้าไม่ใช่แค่ตาคู่นี้ ข้าไม่ใช่แค่หูคู่นี้ ข้าไม่ใช่แค่ลิ้นลิ้นนี้ ข้าไม่ใช่แค่ร่างกายนี้ ข้าไม่ใช่แค่สตินี้ ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าเห็น ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าได้ยิน ข้าไม่ใช่อย่างที่ข้าได้กลิ่น ข้าไม่ใช่รสสัมผัส ไม่ใช่ความคิดและสิ่งกระตุ้นเร้า ข้าไม่ใช่ภาพนี้ ไม่ใช่เสียงนี้ ข้าไม่ใช่กลิ่นนี้ ไม่ใช่ความคิดนี้ ไม่ใช่รสนี้ ไม่ใช่สตินี้ ข้าไม่ใช่ธาตุของโลกนี้ ข้าไม่ใช่ท้องฟ้า ข้าไม่ใช่อากาศ ข้าไม่ใช่น้ำ ข้าไม่ใช่สติของข้าเช่นกัน ไม่มีธาตุใดรั้งข้าไว้ได้ ชีวิตและความตายจับข้าไม่ได้ ที่ข้ายิ้มนั้น เพราะข้าไม่ได้เกิดและข้าไม่ได้ตาย ชีวิตไม่ได้ให้กำเนิดข้า และความตายก็พรากชีวิตข้าไปไม่ได้ ตัวตนของข้าไม่พึ่งพาชีวิตและความตาย ไม่มีทางเป็นไปได้... พระธรรมวินัย ( วางซึ่งสุขในโลกธรรม ๘ )ว่าด้วย" กิน กาม เกียรติ ๑.วางลาภ ตัดความกังวลในปัจจัย๔ (ปลิโพธ) ให้มักน้อยในปัจจัย คือให้ละความโลเลในปัจจัย คือ เมื่อได้อย่างดี อย่างปราณีต ก็ให้บริโภค อย่างดีอย่างปราณีต ได้อย่างเลวทรามต่ำช้า ก็ให้บริโภคอย่างเลวทรามต่ำช้า ตามมีตามได้ ไม่ให้ใจขุ่นมัวด้วย ซึ่งพระภิกษุมีค่าตัวเพียงบาทเดียว ขโมยเงินแม้แต่บาทเดียวก็หมดจากความเป็นพระ แต่พระสังฆาธิการ ตอนนี้มีเงินไม่รู้กี่ล้านต่อกี่ล้าน เพราะฉะนั้นหากตรวจสอบพระสังฆาธิการไม่ได้ ทุกอย่างก็เหลวหมด ๒.วางยศ พระมียศถาบรรดาศักดิ์และมีสมณศักดิ์ จนต้องซื้อขายตำแหน่งกันในมูลค่ามหาศาล ในสมัยพุทธกาล พระทุกรูปเสมอภาคกันหมด ไม่ว่าพระที่เป็นลูกพระเจ้าแผ่นดิน หรือพระที่เป็นลูกจัณฑาล ลูกหญิงโสเภณี มันต้องเสมอภาคกันหมด ไม่มีแบ่งแยก ไม่มีแตกแยก ตามแนวทาง สาราณียธรรม ๖ แต่ในปัจจุบันมีแต่ยึดมั่นถือมั่นในตัวตนเพิ่มมากขึ้น แล้วจะพ้นทุกข์ได้อย่างไร มีทั้งสมเด็จบ้าง มีเจ้าคุณบ้าง ถ้าถามว่า บริหารเพื่อใคร ถ้าเพื่อตัวเอง ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของการดับทุกข์โดยส่วนรวม ก็รู้ไปเปล่าๆ แล้วพระสมเด็จบางองค์ ท่านอายุน้อย ยึดในตัวตน ก็เลิกเคารพท่านเจ้าคุณที่อาวุโสกว่าไปเลย ทั้งที่หลักอาวุโสของพระภิกษุสงฆ์ มีความสำคัญมาก ๓.วางสรรเสริญได้ นินทาก็ไม่ต้อง เกิดตามเห็นตามอีกต่อไป เป็นอันเลิกสนใจไป เห็นเป็นสิ่งไร้แก่นสาร การมาเข้ามาบวชนี้ ก็เพื่อมาละอัตตาตัวตน มาทำตัวให้ต่ำลงมากยิ่งดี เพื่อระงับดับกิเลส ให้จิตใจนั้นเหมือนแผ่นดิน คนที่มีคุณธรรมสูงจะไม่หลงไหลยึดติดกับสมมติต่างๆ เช่น ความสูงต่ำความใหญ่ความโตในฐานะทางโลก แต่จะยึดถือความสูงต่ำในทางธรรม “พระผู้มีพระภาคเจ้าสอนให้ปล่อยให้วางทั้งข้างหน้า ข้างหลัง และท่ามกลาง มิให้ยึดติดในอารมณ์อันเป็นอดีต อนาคต และปัจจุบัน อารมณ์ที่พอใจหรืออารมณ์ที่ไม่พอใจ เมื่อเกิดขึ้น จงปล่อยวางเป็นกอง ๆ ไว้ ณ ที่นั้น อย่านำมาเก็บไว้แบกไว้” เมื่อ“เขาด่าว่าเราบนบก จงกองคำด่าว่านั้นไว้บนบก อย่านำติดไปในน้ำด้วย เขาว่าเราในน้ำ จงกองคำด่าว่านั้นไว้ในน้ำ อย่านำติตตัวขึ้นมาบนบก เขาด่าว่าในเมือง จงกองไว้ในเมือง อย่านำติดตัวมาจนถึงเชตวันนี้ด้วย” ๔.วางสุข ในประสาททั้ง๕ อันมี รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส รวมเรียกว่า กามคุณ ๕ เราเวียนว่ายตายเกิดอยู่นี่ ก็เพราะกามนี้เอง เกิดตายเป็นแสนเป็นล้านชาติ เพราะสุขทุกข์มี การยึดมั่นถือมั่นจึงมี เพราะสุขทุกข์ดับ การยึดมั่นถือมั่นจึงดับ ด้วย"สุขกับทุกข์ ถ้าพิจารณาโดยละเอียดแล้ว เป็นของติดกันอยู่ ครั้นวางสุข ทุกข์ไม่ต้องวาง มันก็หายไปเอง เข้าสู่พระนิพพานด้วยอาการแบบนี้ เมื่อใดมีใจเป็นพระผู้ทรงคุณงามความดีที่มีศีลาจารวัตรอันงดงาม ย่อมพบความสุขที่แท้จริง พระดี...ดูได้ไม่ยาก ( มักน้อย สันโดษไม่สะสม ) พระดี...ดูได้จากการสละ ( ธรรมะชนะการให้ทั้งปวง ) พระดี...ดูได้จากการวาง ( วางสุขในโลกธรรม 8 ) พระดี...ดูได้จากการวางตน ( น่าเคารพ ) พระดี...ดูได้จากศีล ( ไม่เห็นแก่ตัว รักผู้อื่น ) พระดี...ดูได้จากใจ ( กระทำจิตให้บริสุทธิ์ ขาวรอบ ) พระดี..จึงประพฤติอยู่ในพระธรรมวินัย ( กระทำหน้าที่โดยสมบูรณ์ )...ดังนี้ พระพุทธเจ้าฝากพระพุทธศาสนาไว้กับพุทธบริษัท๔ ไม่ได้ฝากไว้กับมหาเถรสมาคม ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชเป็นสิ่งที่ผู้คนทางโลกสมมุติขึ้นมา ในสมัยพุทธกาลก็ไม่มีตำแหน่งนี้ ประมุขแห่งพระพุทธศาสนามีเพียงพระองค์เดียวคือ พระพุทธเจ้า และหลังจากที่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว สิ่งที่ถือเอาเป็นตัวแทนพระองค์พระพุทธเจ้าคือ พระธรรมวินัย ( วางสุขในโลกธรรม๘ )คือการมีธรรมเป็นกาย ที่พระองค์ทรงตรัสไว้ดีแล้ว ย่อมเข้าสู่การเป็นพุทธะ เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พระพุทธเจ้า พระธรรม พระสงฆ์ เมื่อเป็นสงฆ์สายเถรวาท คงต้องห้ามบัญญัติเพิ่ม หรือตัดทอนสิ่งที่พระองค์บัญญัติไว้แล้วอย่างเคร่งครัด ความเจริญก็พึงอยู่ได้ ไม่มีความเสื่อมเลย มหาปเทส ๔ หมวดที่ ๒ เฉพาะในทางพระวินัย ๑. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร ๒. สิ่งใดไม่ได้ทรงห้ามไว้ว่าไม่ควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ไม่ควร (อกัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ควร (กัปปิยะ) สิ่งนั้นไม่ควร ๔. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร แต่เข้ากันกับสิ่งที่ควร(กัปปิยะ) ขัดกับสิ่งที่ไม่ควร(อกัปปิยะ) สิ่งนั้นควร จึงเห็นได้ชัดข้อ ๓. สิ่งใดไม่ได้ทรงอนุญาตไว้ว่าควร เมื่อมาพิจารณาด้วยปัญญาแล้ว พระพุทธเจ้าทรงให้วางยศถาบรรดาศักดิ์ให้หมดสิ้น แต่ปัจจุบันกลับไปเข้ากันโดยใช้ลำดับอาวุโสโดยสมณศักดิ์ ที่ทางฝ่ายอาณาจักรแต่งตั้งขึ้น ซึ่งขัดกันกับลำดับอาวุโสโดยการเกิดและโดยภูมิธรรม สิ่งนั้นจึงไม่ควร ตามพระธรรมวินัยนี้... ดูกร... ภิกษุทั้งหลาย พรหมจรรย์ที่เราประพฤตินั้น มิใช่เพื่อหลอกลวงคน มิใช่ให้คนทั้งหลายมานับถือ มิใช่เพื่อลาภสักการะคำสรรเสริญ มิใช่มุ่งหมายเพื่อเป็นเจ้าลัทธิ หรือแก้ลัทธิอย่างนั้นอย่างนี้ มิใช่เพื่อให้ใครรู้จักว่าเป็นอย่างนั้นอย่างนี้ ที่แท้พรหมจรรย์ที่เราประพฤตินั้น ก็เพื่อความสำรวม ความละ ความคลายกำหนัด ดับยินดีและความดับทุกข์ ดูกร...ภิกษุทั้งหลาย ธรรมที่เราบรรลุนี้ ลึกซึ้ง เห็นได้ยาก รู้ตามได้ยาก สงบ ปราณีต ไม่ใช่วิสัยของตรรกะหรือคิดเอาเองไม่ได้ หรือลงความเห็นว่าการเดา แต่เป็นธรรมที่บัณฑิตพอรู้ได้ ซึ่งจิตที่ฟอกด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวงเป็นไฉน... โดยนัย..ที่จักกล่าวโดยละเอียดพิศดาร อันว่าศีลนั้น คือ การรักษาความเป็นปกติ ของการไม่เห็นแก่ตัว มีเมตตา รักผู้อื่น และสรรพสัตว์ทั้งหลาย ส่วนสมาธินั้นเล่า คือ เพ่งสติระลึกถึงความไม่ใช่ตัวตนอยู่ตลอดทุกลมหายใจเข้าออก ส่วนปัญญานั้นมีคุณมาก คือการหยั่งรู้ โดยวางสุขในโลกธรรม ๘ เหมือนดั่งไม่มีหัวใจ โดยสลัดคืนลมหายใจซึ่งก็คือจิตนี้ ทิ้งให้เจ้าของเดิม คืนให้กับธรรมชาติ ถ้ากำหนดได้ทุกลมหายใจเข้าออกแล้ว ย่อมไม่ยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นตัวเรา หรือเป็นของเราได้เลย ซึ่งเรานั้นย่อมไม่ได้เกิดและก็ไม่ได้ตาย บุคคลทั้งหลายที่มาเป็นศิษย์ของตถาคตนี้ ก็มีความประสงค์ด้วยนิพพาน การที่จะรู้ว่า ดีหรือชั่วกว่ากัน ก็แล้วแต่กิเลสเป็นผู้ตัดสิน ด้วยพระนิพพานเป็นที่ปราศจากกิเลสตัณหา ถ้าผู้ใดเบาบางจากกิเลสตัณหา ก็เป็นผู้ดีกว่าผู้ที่หนาไปด้วยกิเลส ถ้าบุคคลนับถือผู้ที่มีกิเลสมากกว่าผู้ที่ไม่มีกิเลส บุคคลผู้นั้นชื่อว่า "ถือศีล เอาต้นเป็นปลาย เอาปลายเป็นต้น เอาสูงเป็นต่ำ เอาต่ำเป็นสูง ถ้าถืออย่างนี้ ผิดทางพระนิพพานเป็นคนมิจฉาทิฎฐิ พระตถาคตตั้งศาสนาไว้ ไม่ได้หวังให้ผู้หนึ่งผู้ใด บำเพ็ญหาประโยชน์อย่างอื่น ตั้งไว้เพื่อประสงค์ให้บุคคล บำเพ็ญภาวนาเพื่อให้ระงับดับกิเลสเท่านั้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น