วันศุกร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
บารมี 10 ทัศและวิปัสสนาญาณ 9 บารมี 10 01 บารมี 10 หลวงพ่อฤาษีลิงดำเมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทเริ่มปฏิบัติ อาตมาก็คิดในใจว่าร่างกายไม่ดีแบบนี้เราจะทนมันอยู่ทำไม ไปเสียจากร่างกายดีกว่า ปล่อยให้มันนั่งอยู่ตรงนี้ พอสัญญาณบอกเวลาปรากฏเราจึงจะกลับมา ฉะนั้นจึงได้ไปเสียจากกาย ไปไหว้พระ จะไปแบบไหนอันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาไม่บอก บอกไม่ได้ ไปอย่างไร ไปโดยวิธีไหน อยากจะรู้ก็ปฏิบัติกันเอาเอง แต่ความจริงมันก็ไม่ใช่ของดีของเด่นอะไรนัก การไปได้มาได้ถ้าใจเหลิงเกินไปก็ยังลงนรกได้ ไม่ใช่ของพิเศษ เมื่อออกไปแล้วก็พบองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ นี่ขวางกับชาวบ้านเขาแล้ว เขาบอกว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว จะพบกันได้ยังไง นั่นมันเรื่องของเขาบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย นี่มันเรื่องของอาตมา อาตมาพบกันได้ก็แล้วกัน เมื่อพบแล้วก็เข้าไปนมัสการองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พอเงยหน้าขึ้นมาพระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า "สัมพเกษี วันนี้เธอสอนบารมี ๑๐ ทัศใช่ไหม ...?" ก็กราบทูลพระองค์ว่า "ใช่พระพุทธเจ้าข้า" พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า "สัมพเกษี บารมีแปลว่าอะไร...?" ตอนนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายขอได้โปรดทราบว่า ถ้าอาตมาสอนถูกพระองค์จะไม่ทรงตรัสแบบนั้น อาตมารู้ทันรู้เท่าเข้าใจทันทีว่า การสอนวันนี้ผิดพุทธพจน์บทพระบาลี นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทการสอนนี้ไม่ใช่ว่ามันจะถูกเสมอไป มันก็ผิดได้เหมือนกัน เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรมีพระพุทธฎีกาตรัสถามแบบนั้นอาตมาก็ทราบ จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่แน่ใจนักพระพุทธเจ้าข้า แต่ที่เรียนกันมา ครูสอนว่าบารมีแปลว่าเต็ม" พระองค์จึงทรงตรัสถามว่า "อะไรมันเต็ม และมันเต็มแบบไหน สมมุติว่าเธอจะปฏิบัติในทานบารมี ทำยังไงทานบารมีมันถึงจะเต็ม ถ้าหากว่าจะนำของมาให้เต็มโลก เธอจะไปขนมาจากไหน ถ้าเราจะไม่นำของมาให้ ทำยังไงทานบารมีมันจึงจะเต็ม...?" แบบนี้มันก็อยู่ด้วยกันทั้งนั้นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าคนอย่างอาตมา ถ้าหากว่าท่านที่เป็นนักปราชญ์ดีกว่าอาตมาก็ไม่เป็นไร ท่านไปได้ เพราะท่านมีความเข้าใจ ท่านมีความฉลาด อาตมาบอกแล้วนี่ว่าอาตมามีความรู้ไม่เท่าหางอึ่ง คือยาวไม่เท่าหางอึ่งหรือไม่แค่หางอึ่งเพราะความโง่มันมาก เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแบบนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจในบารมีพระพุทธเจ้าข้า" พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "สัมพเกษี เธอเข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ว่าเธอดีแต่เฉพาะบริโภคเองเท่านั้น แต่การที่จะแบ่งปันให้บุคคลอื่นน่ะ เธอไม่มีความฉลาด การที่เธอตั้งกำลังใจในด้านบารมี ๑๐ ทัศ เป็น ๓๐ ทัศ ด้วยกัน ๓ ชั้น เธอทำได้ แต่ว่าวันนี้เธอสอนบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เธอทำไม่ถูก เธอจงมีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่าบารมีนี้มันแปลว่าเต็ม แต่อะไรมันเต็มตถาคตจะบอกให้ว่า บารมีนี่ควรจะแปลว่ากำลังใจเต็ม " นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จำไว้ให้ดีว่า คำว่าบารมีก็คือกำลังใจ ทำกำลังใจให้เต็ม ตอนนี้ซิชักจะฉลาดขึ้นมาทันที มานึกในใจว่าเรานี่มันแสนจะโง่เสียมาก กำลังใจเต็มตอนไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านก็ทรงให้ทวนเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ ว่ามีอะไรบ้าง อาตมาก็ถวายคำตอบแก่พระองค์ว่า ๑. ทานบารมี ๒. ศีลบารมี ๓. เนกขัมมบารมี ๔. ปัญญาบารมี ๕. วิริยบารมี ๖. ขันติบารมี ๗. สัจจบารมี ๘. อธิษฐานบารมี ๙. เมตตาบารมี ๑๐. อุเบกขาบารมี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สัมพเกษี ถูกแล้ว บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ ๑. จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ ๒. จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป ๓. จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น ๔. จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป ๕. วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ ๖. ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ ๗. สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ ๙. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น ๑๐. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า วันนี้ยังไม่สอนอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท เรามาคุยกันในคำว่า บารมีทั้งหลาย ได้ทราบชัดว่า บารมีที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ให้เราสร้างให้มันเต็มนั้น ก็คือสร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจ ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ ไม่ ใช่ว่าเราจะมานั่งคิด เราจะมานอนคิด เราจะมาทรงจิตว่า เอ๊...บารมีของเรามันไม่มีนี่ ชาติก่อนบารมีของเรามันไม่พอ บารมีของเรายังไม่เต็ม เราจะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ยังไงได้ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย มีความเข้าใจตามนี้ พอยังจะรู้รึยังว่าเราสามารถจะสร้างบารมีได้ด้วยอาศัยกำลังใจ ความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทมี กำลังใจอย่างเดียวเท่านั้นที่เราจะทำให้มันดีหรือไม่ดี อันนี้ก็ตรงกับพระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในเรื่อง พระจักขุบาล ว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ นี่ความจริงเรื่องนี้ก็เรียนกันมาแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่เวลาปฏิบัติจริง ๆ มันทำไมถึงลืมก็ไม่ทราบ เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคงจะเข้าใจคำว่า บารมี แล้วอย่าลืม บารมีแปลว่าเต็ม แต่ส่วนที่เราจะทำให้เต็มนั้นก็คือกำลังใจ ให้กำลังใจมันพร้อม พร้อมที่จะทรงความดีในด้านบารมีไว้ ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย ที่นำบารมีทั้ง ๑๐ ประการมากล่าวในตอนนี้ก็เพราะว่า ในตอนต้นพูดเรื่องพระโสดาบันเข้าไว้ เห็นว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะคิดว่า แหม...มันยากเกินไป ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบันมันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ ศีล เราก็ตัดความโกรธ เนกขัมมะ ตัดอารมณ์ของกามคุณ ปัญญา ตัดความโง่ วิริยะ ตัดความขี้เกียจ ขันติ ตัดความไม่รู้จักการอดทน สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเราไม่ปรารภ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทสมบูรณ์เพียงใด คำว่า พระโสดาบัน นั้นบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะรู้สึกว่าง่ายเกินไปสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ มีกำลังใจเต็มทุกอย่างใน ๑๐ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เรียกว่าพระโสดาบัน แล้วท่านเรียกว่าอะไร ท่านเรียกว่า พระขีณาสพ แปลว่า ผู้มีอาสวะอันสิ้นไปแล้ว หรือเรียกว่า พระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาอันดับสูงสุดเข้าถึงซึ่ง พระนิพพาน ได้ เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี
บารมี10 หลวงพ่อฤาษีลิงดำเมื่อบรรดาท่านพุทธบริษัทเริ่มปฏิบัติ อาตมาก็คิดในใจว่าร่างกายไม่ดีแบบนี้เราจะทนมันอยู่ทำไม ไปเสียจากร่างกายดีกว่า ปล่อยให้มันนั่งอยู่ตรงนี้ พอสัญญาณบอกเวลาปรากฏเราจึงจะกลับมา ฉะนั้นจึงได้ไปเสียจากกาย ไปไหว้พระ จะไปแบบไหนอันนี้บรรดาท่านพุทธบริษัท อาตมาไม่บอก บอกไม่ได้ ไปอย่างไร ไปโดยวิธีไหน อยากจะรู้ก็ปฏิบัติกันเอาเอง แต่ความจริงมันก็ไม่ใช่ของดีของเด่นอะไรนัก การไปได้มาได้ถ้าใจเหลิงเกินไปก็ยังลงนรกได้ ไม่ใช่ของพิเศษ เมื่อออกไปแล้วก็พบองค์สมเด็จพระบรมโลกเชษฐ์ นี่ขวางกับชาวบ้านเขาแล้ว เขาบอกว่าพระพุทธเจ้านิพพานไปแล้ว จะพบกันได้ยังไง นั่นมันเรื่องของเขาบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย นี่มันเรื่องของอาตมา อาตมาพบกันได้ก็แล้วกัน เมื่อพบแล้วก็เข้าไปนมัสการองค์สมเด็จพระประทีปแก้ว พอเงยหน้าขึ้นมาพระองค์ก็ทรงตรัสถามว่า "สัมพเกษี วันนี้เธอสอนบารมี ๑๐ ทัศใช่ไหม ...?" ก็กราบทูลพระองค์ว่า "ใช่พระพุทธเจ้าข้า" พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสถามว่า "สัมพเกษี บารมีแปลว่าอะไร...?" ตอนนี้บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายขอได้โปรดทราบว่า ถ้าอาตมาสอนถูกพระองค์จะไม่ทรงตรัสแบบนั้น อาตมารู้ทันรู้เท่าเข้าใจทันทีว่า การสอนวันนี้ผิดพุทธพจน์บทพระบาลี นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัทการสอนนี้ไม่ใช่ว่ามันจะถูกเสมอไป มันก็ผิดได้เหมือนกัน เมื่อองค์สมเด็จพระจอมไตรมีพระพุทธฎีกาตรัสถามแบบนั้นอาตมาก็ทราบ จึงได้กราบทูลพระพุทธองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่แน่ใจนักพระพุทธเจ้าข้า แต่ที่เรียนกันมา ครูสอนว่าบารมีแปลว่าเต็ม" พระองค์จึงทรงตรัสถามว่า "อะไรมันเต็ม และมันเต็มแบบไหน สมมุติว่าเธอจะปฏิบัติในทานบารมี ทำยังไงทานบารมีมันถึงจะเต็ม ถ้าหากว่าจะนำของมาให้เต็มโลก เธอจะไปขนมาจากไหน ถ้าเราจะไม่นำของมาให้ ทำยังไงทานบารมีมันจึงจะเต็ม...?" แบบนี้มันก็อยู่ด้วยกันทั้งนั้นแหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้าคนอย่างอาตมา ถ้าหากว่าท่านที่เป็นนักปราชญ์ดีกว่าอาตมาก็ไม่เป็นไร ท่านไปได้ เพราะท่านมีความเข้าใจ ท่านมีความฉลาด อาตมาบอกแล้วนี่ว่าอาตมามีความรู้ไม่เท่าหางอึ่ง คือยาวไม่เท่าหางอึ่งหรือไม่แค่หางอึ่งเพราะความโง่มันมาก เมื่อองค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคทรงตรัสแบบนั้นก็ทูลถามพระองค์ว่า "ข้าพระพุทธเจ้าไม่เข้าใจในบารมีพระพุทธเจ้าข้า" พระองค์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า "สัมพเกษี เธอเข้าใจ ไม่ใช่ไม่เข้าใจ แต่ว่าเธอดีแต่เฉพาะบริโภคเองเท่านั้น แต่การที่จะแบ่งปันให้บุคคลอื่นน่ะ เธอไม่มีความฉลาด การที่เธอตั้งกำลังใจในด้านบารมี ๑๐ ทัศ เป็น ๓๐ ทัศ ด้วยกัน ๓ ชั้น เธอทำได้ แต่ว่าวันนี้เธอสอนบรรดาพุทธบริษัททั้งหลาย เธอทำไม่ถูก เธอจงมีความเข้าใจเสียใหม่ว่า คำว่าบารมีนี้มันแปลว่าเต็ม แต่อะไรมันเต็มตถาคตจะบอกให้ว่า บารมีนี่ควรจะแปลว่ากำลังใจเต็ม " นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท จำไว้ให้ดีว่า คำว่าบารมีก็คือกำลังใจ ทำกำลังใจให้เต็ม ตอนนี้ซิชักจะฉลาดขึ้นมาทันที มานึกในใจว่าเรานี่มันแสนจะโง่เสียมาก กำลังใจเต็มตอนไหนบรรดาท่านพุทธบริษัท ท่านก็ทรงให้ทวนเรื่องบารมี ๑๐ ทัศ ว่ามีอะไรบ้าง อาตมาก็ถวายคำตอบแก่พระองค์ว่า ๑. ทานบารมี ๒. ศีลบารมี ๓. เนกขัมมบารมี ๔. ปัญญาบารมี ๕. วิริยบารมี ๖. ขันติบารมี ๗. สัจจบารมี ๘. อธิษฐานบารมี ๙. เมตตาบารมี ๑๐. อุเบกขาบารมี องค์สมเด็จพระชินสีห์จึงได้มีพระพุทธฎีกาตรัสว่า สัมพเกษี ถูกแล้ว บารมีทั้งหมดนี้ให้ใช้กำลังใจ สร้างกำลังใจให้มันทรงอยู่ในใจทั้งหมด ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ไม่มีอะไรบกพร่อง คือ ๑. จิตของเราพร้อมที่จะให้ทานเป็นปกติ ๒. จิตพร้อมในการทรงศีล นี่ซิบรรดาพุทธบริษัท พร้อมในการทรงศีลเป็นปกติ ไม่ใช่ปล่อยให้ศีลมันหล่นไป ๓. จิตพร้อมในการทรงเนกขัมมะเป็นปกติ เนกขัมมะก็แปลว่าการถือบวช บวชผมยาว บวชผมสั้น บวชโกนหัว ไม่โกนหัว ได้ทั้งนั้น ๔. จิตพร้อมที่จะใช้ปัญญาเป็นเครื่องประหัตประหารอุปาทานให้พินาศไป ๕. วิริยะ มีความเพียรทุกขณะ ควบคุมใจไว้เสมอ ๖. ขันติ มีทั้งอดทั้งทน อดกลั้นต่อสิ่งที่เป็นปฏิปักษ์ ๗. สัจจะ ทรงตัวไว้ตลอดเวลาว่าเราจะจริงทุกอย่าง ไม่มีอะไรในคำว่าไม่จริงสำหรับใจเรา ในด้านของการทำความดี ๘. อธิษฐานบารมี ตั้งใจไว้ให้ตรงโดยเฉพาะ ๙. เมตตาบารมี สร้างอารมณ์ความดีไม่เป็นศัตรูกับใคร มีความรักตนเสมอด้วยบุคคลอื่น ๑๐. อุเบกขาบารมี วางเฉยเข้าไว้ ในเมื่อร่างกายมันไม่ทรงตัว อย่างที่เธอเป็นวันนี้ อุเบกขาบารมีตัวนี้ พระองค์ทรงตรัสว่า ตรงกับภาษาไทยที่ใช้กันเป็นปกติว่า ช่างมัน ขันติบารมีนี่ก็เหมือนกันใช้คำว่าช่างมัน ตรงตัวดี นี่แหละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายโดยถ้วนหน้า วันนี้ยังไม่สอนอะไรบรรดาท่านพุทธบริษัท เรามาคุยกันในคำว่า บารมีทั้งหลาย ได้ทราบชัดว่า บารมีที่องค์สมเด็จพระทรงสวัสดิโสภาคย์ให้เราสร้างให้มันเต็มนั้น ก็คือสร้างกำลังใจปลูกฝังกำลังใจ ให้มันเต็มครบถ้วนบริบูรณ์สมบูรณ์ ไม่ ใช่ว่าเราจะมานั่งคิด เราจะมานอนคิด เราจะมาทรงจิตว่า เอ๊...บารมีของเรามันไม่มีนี่ ชาติก่อนบารมีของเรามันไม่พอ บารมีของเรายังไม่เต็ม เราจะเป็นพระโสดาบัน สกิทาคา อนาคา อรหันต์ ยังไงได้ ถ้าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย มีความเข้าใจตามนี้ พอยังจะรู้รึยังว่าเราสามารถจะสร้างบารมีได้ด้วยอาศัยกำลังใจ ความดีของบรรดาท่านพุทธบริษัทมี กำลังใจอย่างเดียวเท่านั้นที่เราจะทำให้มันดีหรือไม่ดี อันนี้ก็ตรงกับพระบาลีที่องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงตรัสไว้ในเรื่อง พระจักขุบาล ว่า มโนปุพพังคมา ธัมมา มโนเสฎฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจเป็นหัวหน้า มีใจประเสริฐสุด สำเร็จด้วยใจ นี่ความจริงเรื่องนี้ก็เรียนกันมาแล้วบรรดาท่านพุทธบริษัท แต่เวลาปฏิบัติจริง ๆ มันทำไมถึงลืมก็ไม่ทราบ เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย หวังว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านคงจะเข้าใจคำว่า บารมี แล้วอย่าลืม บารมีแปลว่าเต็ม แต่ส่วนที่เราจะทำให้เต็มนั้นก็คือกำลังใจ ให้กำลังใจมันพร้อม พร้อมที่จะทรงความดีในด้านบารมีไว้ ถ้ากำลังใจของเราพร้อมทรงบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ครบถ้วนเพียงใด บรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย ความเป็นพระอริยเจ้าเป็นของง่าย ที่นำบารมีทั้ง ๑๐ ประการมากล่าวในตอนนี้ก็เพราะว่า ในตอนต้นพูดเรื่องพระโสดาบันเข้าไว้ เห็นว่าบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายอาจจะคิดว่า แหม...มันยากเกินไป ถ้ากำลังใจในการสร้างตนเป็นพระโสดาบันมันยังครบถ้วนไม่ได้ ก็หันมาจัดการกับบารมีทั้ง ๑๐ ประการ ให้มันครบถ้วนบริบูรณ์ ทาน การให้ เป็นการตัดความโลภ ศีล เราก็ตัดความโกรธ เนกขัมมะ ตัดอารมณ์ของกามคุณ ปัญญา ตัดความโง่ วิริยะ ตัดความขี้เกียจ ขันติ ตัดความไม่รู้จักการอดทน สัจจะ ตัดความไม่จริงใจ มีอารมณ์ใจกลับกลอก อธิษฐาน ทรงกำลังไว้ให้สมบูรณ์บริบูรณ์ เมตตา สร้างความเยือกเย็นของใจ อุเบกขา วางเฉยเข้าไว้ในเรื่องของกายเราไม่ปรารภ เท่านี้แหละบรรดาท่านพุทธบริษัท ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัทสมบูรณ์เพียงใด คำว่า พระโสดาบัน นั้นบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย จะรู้สึกว่าง่ายเกินไปสำหรับบรรดาท่านพุทธบริษัท ทำไมจึงว่าอย่างนั้น ก็เพราะว่าคนที่มีบารมีเต็มครบถ้วนบริบูรณ์ มีกำลังใจเต็มทุกอย่างใน ๑๐ ประการนี้ องค์สมเด็จพระชินสีห์บรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ไม่เรียกว่าพระโสดาบัน แล้วท่านเรียกว่าอะไร ท่านเรียกว่า พระขีณาสพ แปลว่า ผู้มีอาสวะอันสิ้นไปแล้ว หรือเรียกว่า พระอรหัตผล เป็นพระอริยบุคคลในพระพุทธศาสนาอันดับสูงสุดเข้าถึงซึ่ง พระนิพพาน ได้ เอาละบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลาย วันนี้ก็ขอยุติไว้แต่เพียงเท่านี้ ขอความสุขสวัสดิ์พิพัฒนมงคลสมบูรณ์พูนผล จงมีแด่บรรดาท่านพุทธศาสนิกชนทุกท่าน สวัสดี
กามชาดกอรรถกถา กามชาดก ว่าด้วย กามและโทษของกาม พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามยมานสฺส ดังนี้. เรื่องมีว่า พราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่งหักร้างป่าเพื่อต้องการทำเป็นไร่. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ทรงแวะลงจากทาง กระทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสว่า เธอทำอะไรเล่าพราหมณ์. ครั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์หักร้างที่ไร่ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดีละพราหมณ์ กระทำการงานไปเถิด แล้วเสด็จเลยไป พระองค์ได้เสด็จไปทำปฏิสันถารกับเขาบ่อยๆ คือในเวลาที่เขาขนต้นไม้ที่ตัดแล้วและชำระที่ไร่ ในเวลาก่อคัน ในเวลาหว่าน โดยอุบายอย่างนี้นั้นแล. วันรุ่งขึ้นพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นมงคลในการหว่านข้าวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขในเมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว พระศาสดาทรงรับด้วยทรงดุษณีภาพ เสด็จหลีกไป. รุ่งขึ้นวันหนึ่งพราหมณ์ยืนดูข้าวกล้าอยู่ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอกำลังทำอะไรอยู่ตรงนั้น เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์กำลังดูข้าวกล้า ตรัสว่า ดีพราหมณ์ แล้วเสด็จหลีกไป. ในครั้งนั้น พราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมมาเนืองๆ คงมีความต้องการภัตรอย่างไม่ต้องสงสัย เราจักถวายภัตรแก่ท่าน ในวันที่พราหมณ์คิดอย่างนี้แล้วไปสู่เรือน ถึงพระศาสดาก็ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ครั้งนั้นความพิศวาสเกิดขึ้นแก่พราหมณ์ล้นเหลือ. ต่อมาครั้นข้าวกล้าแก่แล้ว เมื่อพราหมณ์ตกลงใจว่า พรุ่งนี้เราจักเกี่ยวไร่แล้วนอน ฝนลูกเห็บตกตลอดคืน ทางเหนือของแม่น้ำอจิรวดี ห้วงน้ำใหญ่ไหลมาพัดเอาข้าวกล้าทั้งหมดเข้าไปสู่ทะเล ไม่เหลือไว้ให้ แม้มาตรว่าทะนานเดียว เมื่อห้วงน้ำเหือดแห้งลงแล้ว พราหมณ์มองดูความย่อยยับแห่งข้าวแล้ว ไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ถูกความเสียใจอย่างแรงครอบงำ ยกมือตีอกคร่ำครวญไปถึงเรือน แล้วลงนอนบ่นพร่ำ. ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ถูกความเสียใจครอบงำ ทรงดำริว่า เราต้องเป็นที่พึ่งของพราหมณ์ รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ภายหลังจากเสวยเสร็จเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงส่งพวกภิกษุไปสู่พระวิหาร เสด็จไปสู่ประตูเรือนของเขากับด้วยสมณะติดตาม พราหมณ์ได้ยินความที่พระศาสดาเสด็จมา กล่าวว่า สหายของเราคงมาเยี่ยมเยียนค่อยได้ความโปร่งใจ จัดแจงอาสนะไว้ พระศาสดาเสด็จเข้าไป ประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้. ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ เหตุไรจึงเศร้าหมองไปล่ะ ท่านไม่สบายอะไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบการงานที่ข้าพระองค์กระทำ จำเดิมแต่ตัดต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ข้าพระองค์เคยกราบทูลไว้ว่า เมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว ข้าพระองค์จักถวายทานแด่พระองค์ บัดนี้ห้วงน้ำใหญ่พัดข้าวกล้าของข้าพระองค์ไปสู่ทะเลเสียหมดเกลี้ยงทีเดียว ข้าวกล้าไม่มีเหลือสักหน่อย ข้าวเปลือกประมาณ ๑๐๐ เกวียนเสียหายหมด เหตุนั้นความโศกอย่างใหญ่โตจึงเกิดแก่ข้าพระองค์. ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็เมื่อท่านเศร้าโศกอยู่ สิ่งที่เสียหายไปแล้วจะกลับคืนมาได้หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้แน่นอน พระเจ้าข้า. ตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านเศร้าโศกเพราะเหตุไร ขึ้นชื่อว่าทรัพย์และข้าวเปลือกของสัตว์เหล่านี้ ถึงคราวเกิดก็บังเกิด ถึงคราวเสียหายก็เสียหาย สิ่งไรๆ ที่ถึงการปรุงแต่ง จะชื่อว่าไม่มีความเสียหายเป็นธรรมดาน่ะ ไม่มีดอก ท่านอย่าคิดไปเลย. พระศาสดาทรงปลอบเขาด้วยประการฉะนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมอันเป็นที่สบายแก่เขา ตรัสกามสูตร เมื่อพระสูตรถึงปริโยสาน พราหมณ์ดำรงในโสดาปัตติผล พระศาสดาทรงทำให้เขาสร่างโศก เสด็จลุกจากอาสนะไปสู่พระวิหาร. ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ทั่วกันว่า พระศาสดาทรงกระทำพราหมณ์ผู้โน้นผู้เพียบแปล้ด้วยโศกศัลย์ให้สร่างโศก ให้ดำรงในโสดาปัตติผลได้ พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระทศพลทรงทำไมตรีกับพราหมณ์จนคุ้นเคยกัน ทรงแสดงธรรมแก่เขาผู้เพียบแปล้ไปด้วยความโศกด้วยอุบายครั้งเดียว ทรงทำให้เขาสร่างโศกได้ ให้ประดิษฐานในโสดาปัตติผลได้. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า เมื่อกี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้กระทำให้พราหมณ์นี้สร่างโศกแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต ณ พระนครพาราณสี มีพระโอรส ๒ พระองค์ ท้าวเธอประทานที่อุปราชแก่พระโอรสองค์ใหญ่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระโอรสองค์เล็ก ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์ พวกอำมาตย์พากันตั้งการอภิเษกแก่พระองค์ใหญ่ ท้าวเธอตรัสว่า ฉันไม่ต้องการครองราชสมบัติ พวกท่านจงพากันให้แก่น้องชายของฉันเถิด แม้ได้รับคำทูลวิงวอนบ่อยๆ ก็ทรงห้ามเสีย ครั้นพวกอำมาตย์ทำการอภิเษกถวายพระเจ้าน้องแล้ว ทรงดำริว่า เราไม่ต้องการความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ไม่ทรงปรารถนา แม้แต่ตำแหน่งอุปราชเป็นอาทิ. ถึงเมื่อพระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญเสวยโภชนะที่มีรสดีๆ ประทับอยู่ในพระนครนี้เถิด ตรัสว่า ฉันไม่มีเรื่องที่ต้องกระทำในพระนครนี้ เสด็จออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่ชนบทปลายแดน อาศัยสกุลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ทรงกระทำการงานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประทับอยู่. ครั้นกาลต่อมา พวกเหล่านั้นรู้ความที่ท้าวเธอเป็นพระราชกุมาร ก็พากันไม่ยอมให้ทำการงาน พากันห้อมล้อมท้าวเธอด้วยการบริหารในฐานเป็นพระราชกุมารทีเดียว จำเนียรกาลนานมา พวกข้าราชการพากันไปสู่ชนบทปลายแดน ได้ไปถึงบ้านนั้นเพื่อรังวัดเขต ท่านเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระราชกุมาร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้านาย พวกข้าพระองค์พากันบำรุงเลี้ยงพระองค์ ขอพระองค์ทรงส่งหนังสือถึงพระเจ้าน้องให้ทรงลดส่วยแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงรับว่า ได้ซี ทรงส่งหนังสือไปว่า ฉันอาศัยสกุลเศรษฐีชื่อโน้นพำนักอยู่ โปรดเห็นแก่ฉันยกเว้นส่วยแก่พวกเหล่านั้นเถิด. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทรงโปรดให้กระทำอย่างนั้น. ครั้งนั้น พวกชาวบ้านทั้งหมดบ้าง ชาวชนบทบ้าง ชาวบ้านอื่นๆ บ้าง พากันเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลว่า พวกข้าพระองค์จักถวายส่วยแด่พระองค์เท่านั้น โปรดให้พระราชาทรงยกเว้นแก่พวกข้าพระองค์บ้างเถิด ท้าวเธอทรงส่งหนังสือไปเพื่อช่วยเหลือพวกเหล่านั้น ให้พระราชาทรงยกเว้นส่วยให้ ตั้งแต่บัดนั้น พวกเหล่านั้นก็พากันถวายส่วยแก่ท้าวเธอ จึงบังเกิดลาภสักการะใหญ่แก่ท้าวเธอ ด้วยเหตุนั้น ความอยากของท้าวเธอก็พลอยเติบใหญ่ไปด้วย กาลต่อมา ท้าวเธอทูลขอชนบทนั้นแม้ทั้งหมด แล้วทูลขอราชสมบัติกึ่งหนึ่ง แม้พระเจ้าน้องก็ได้ประทานแก่ท้าวเธอทั้งนั้น ท้าวเธอเมื่อความอยากพอกพูน ไม่ทรงพอพระทัยด้วยราชสมบัติเพียงกึ่งนั้น ทรงดำริจะยึดราชสมบัติแวดล้อมด้วยชาวชนบท เสด็จไปสู่พระนครนั้น หยุดทัพอยู่ภายนอกพระนคร ทรงส่งหนังสือแก่พระเจ้าน้องว่า จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจะรบกันก็ได้. พระเจ้าน้องทรงดำริว่า พระพี่นี้เป็นพาล เมื่อก่อนทรงห้ามราชสมบัติ แม้กระทั่งตำแหน่งอุปราชก็ทรงห้าม คราวนี้ตรัสว่า จักยึดเอาด้วยการรบ ก็ถ้าว่าเราจักฆ่าพระพี่นี้ให้ตายด้วยการรบ ความครหาจักมีแก่เราได้ เราจะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ จึงทรงส่งสาส์นแด่ท้าวเธอว่า ไม่ต้องรบดอก เชิญทรงครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงครองราชสมบัติประทานที่อุปราชแก่พระเจ้าน้อง จำเดิมแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติ ทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา มิได้ทรงพอพระหทัยด้วยราชสมบัติพระนครเดียว ทรงปรารถนาราชสมบัติ ๒-๓ นคร ไม่ทรงเห็นที่สุดแห่งความอยากเลย ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดูว่า ในโลกชนเหล่าไหนบ้างล่ะที่บำรุงมารดาบิดา เหล่าไหนทำบุญต่างๆ มีให้ทานเป็นต้น เหล่าไหนตกอยู่ในอำนาจตัณหา ทรงทราบความที่ท้าวเธอเป็นไปในอำนาจตัณหา ทรงดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นพาล ไม่ทรงพอพระหทัยแม้ด้วยราชสมบัติในพระนครพาราณสี เราต้องให้ท้าวเธอศึกษาบ้าง จำแลงเพศเป็นมาณพ ประทับยืนที่พระทวารหลวง. ให้กราบทูลว่า มาณพผู้ฉลาดในอุบายผู้หนึ่ง ยืนอยู่ที่พระทวารหลวง ครั้นรับสั่งว่า เข้ามาเถิด ก็เสด็จเข้าไปกราบทูลถวายชัยพระราชา เมื่อตรัสว่า เจ้ามาด้วยเหตุไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้อที่ข้าพระองค์กราบทูลมีอยู่หน่อย ข้าพระองค์ต้องการที่รโหฐานพระเจ้าข้า ด้วยอานุภาพท้าวสักกะ ฝูงคนพากันหลบไปหมด ทันใดนั้นเอง ครั้งนั้นมาณพกราบทูลท้าวเธอว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระองค์เห็นพระนคร ๓ แห่ง มั่งคั่งมีฝูงคนแออัด สมบูรณ์ด้วยพลและพาหนะ ข้าพระองค์จักยึดราชสมบัติทั้งสามด้วยอานุภาพของตนถวายแด่พระองค์ ควรที่พระองค์จะไม่ทรงชักช้า รีบเสด็จไปเถอะ พระเจ้าข้า. พระราชานั้นทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ทรงรับว่า ดีละ แต่ด้วยอานุภาพแห่งท้าวสักกะ มิได้ทรงถามว่า เจ้าเป็นใคร หรือเจ้ามาจากไหน หรือว่าควรที่เจ้าจะได้สิ่งไร ท้าวสักกะนั้นเล่าตรัสเพียงเท่านี้แล้ว ก็ได้เสด็จไปดาวดึงส์พิภพทีเดียว. พระราชาตรัสให้พวกอำมาตย์มาเฝ้า ตรัสว่า มาณพผู้หนึ่งกล่าวว่าจักยึดราชสมบัติ ๓ นครให้พวกเรา พวกเธอจงเรียกมาณพนั้นมาทีเถิด จงนำกลองไปเที่ยวตีประกาศในพระนคร เรียกประชุมพลกาย พวกเราต้องยึดครองราชสมบัติ ๓ นคร ไม่ต้องชักช้า. เมื่อพวกอำมาตย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระองค์ทรงกระทำสักการะแก่มาณพนั้นอย่างไร หรือทรงถามที่อยู่อาศัยของมาณพนั้นไว้อย่างไร. ตรัสว่า เราไม่ได้ทำสักการะเลย ไม่ได้ถามที่พักอาศัยไว้เลย พวกเธอจงพากันไปค้นหาเขาเถิด พวกอำมาตย์พากันค้น ไม่เห็นเขา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่เห็นมาณพนั้นทั่วพระนคร พระเจ้าข้า ทรงสดับคำนั้นแล้ว พระราชาทรงเกิดโทมนัส ทรงพระดำริเรื่อยๆ ว่า ราชสมบัติในพระนครทั้ง ๓ เสื่อมหายแล้ว เราเสื่อมเสียจากยศอันใหญ่ มาณพคงโกรธเราว่า ไม่ให้เสบียงแก่เรา แล้วก็ไม่ให้ที่อยู่อาศัยด้วย เลยไม่มา. ครั้งนั้นความร้อนบังเกิดขึ้นในพระกายแห่งพระองค์ผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหา เมื่อสรีระทุกส่วนเร่าร้อนอยู่ กริยาที่วิ่งพล่านแห่งโลหิตก็ทำท้องให้กำเริบแล้วพลุ่งขึ้น ภาชนะอันหนึ่งเข้าอันหนึ่งออก พวกแพทย์สุดฝีมือที่จะถวายการรักษาได้. ครั้งนั้น การที่ท้าวเธอถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนได้เลื่องลือไปทั้งพระนคร. กาลนั้นพระโพธิสัตว์เรียนศิลปะสำเร็จจากเมืองตักกสิลา มาสู่สำนักบิดามารดา ในพระนครพาราณสี ฟังเรื่องของพระราชานั้น คิดว่าเราต้องถวายการรักษา ไปสู่พระราชทวาร ให้กราบทูลว่า ได้ยินว่า มาณพผู้หนึ่งมาจะถวายการรักษาพระองค์. พระราชาตรัสว่า แม้ถึงพวกแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ ยังไม่สามารถรักษาเราได้ มาณพหนุ่มจักสามารถได้อย่างไร พวกท่านพากันให้เสบียง แล้วปล่อยเขาไปเสียเถิด. มาณพฟังพระดำรัสนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่ต้องทำด้วยค่ากำนัลหมอเลย ข้าพเจ้าจักขอถวายการรักษา โปรดให้เพียงค่ายาเท่านั้นแหละ. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ลองดูที รับสั่งให้เรียก. มาณพตรวจดูพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักถวายการรักษา ก็แต่ว่าพระองค์ทรงโปรดบอกสมุฏฐานแห่งโรคแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพอพระหทัยตรัสว่า เจ้าจักเอาสมุฏฐานไปทำไม จงบอกยาเท่านั้นเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาหมอทราบว่า ความเจ็บนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุนี้ ย่อมกระทำยาให้ถูกต้องกับความเจ็บนั้นได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถูกต้องละพ่อ เมื่อตรัสสมุฏฐานได้ตรัสเรื่องทั้งหมด ตั้งต้นแต่ที่มาณพคนหนึ่งมาบอกว่าจักเอาราชสมบัติในสามพระนครมาให้ แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เราเจ็บคราวนี้เพราะตัณหา ถ้าเจ้าพอจะรักษาได้ ก็จงรักษาเถิด. มาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อาจได้พระนครเหล่านั้น ด้วยการเศร้าโศกหรือ? ตรัสว่า ไม่อาจดอกพ่อ. กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกพระเจ้าข้า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตนเป็นต้น ตลอดถึงสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้พระองค์จะยึดครองราชสมบัติในพระนครทั้งสี่ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในสุวรรณภาชนะทั้งสี่ บรรทมเหนือพระที่ทั้งสี่ ทรงเครื่องประดับทั้งสี่พร้อมกันคราวเดียวไม่ได้ พระองค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้ เมื่อเจริญขึ้นย่อมไม่ปล่อยให้พ้นจากอบายทั้งสี่ไปได้. พระมหาสัตว์ ครั้นถวายโอวาทพระราชาดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้. เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น. ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาล มีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือนเขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น. แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนคนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ. พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก. เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม. บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้. ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย. ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดีๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กามยมานสฺส แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ ความว่า สิ่งที่เขาปรารถนาย่อมสำเร็จ และย่อมเผล็ดผลแก่บุคคลนั้น. บทว่า นํ ในคำว่า ตโต นํ อปรํ กาเม นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปรํ เป็นบทแสดงส่วนอื่น. บทว่า กาเม เป็นพหุวจนะ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ถ้าเมื่อเขาปรารถนากาม สิ่งที่เขาปรารถนานั้นย่อมสำเร็จแก่เขาสมประสงค์ เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก บุคคลนั้นเมื่อปรารถนาอยู่ ย่อมประสบคือได้รับกามกล่าวคือตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความอยากคือได้รับความกระหายน้ำฉะนั้น. ตัณหามีรูปตัณหาเป็นต้นย่อมเจริญแก่บุคคลนั่นแล. บทว่า ควํว แปลว่า เหมือนรูปโค. บทว่า สิงคิโน ได้แก่ เขาสัตว์ที่ผ่ายอดแล้วยกขึ้น. บทว่า มนฺทสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า พาลสฺส ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพาลธรรม. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เขาโคย่อมเติบโตพร้อมกับร่างของลูกโคตัวกำลังเติบโต ฉันใด กามตัณหาที่ยังไม่มาถึงก็ดี ความกระหายในกามที่มาถึงแล้วก็ดี ย่อมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปสำหรับอันธพาลชน. บทว่า สาลิยวกํ ได้แก่ นาข้าวสาลี และนาข้าวเหนียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงธัญชาติหมด มีข้าวสาลีและข้าวเหนียวเป็นต้น. ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้า. หรือด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่มีวิญญาณทั้งหมด ด้วยบทนอกนี้ ท่านแสดงถึงสิ่งที่มีวิญญาณทั้งสิ้น. บทว่า ทตฺวาปิ แปลว่า แม้ให้แล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า อาณาจักรทั้ง ๓ จงยกไว้ ถ้าว่า มาณพนั้นให้สิ่งอื่นๆ หรือแผ่นดินทั้งสิ้นที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งรัตนบุรีแก่ใครแล้วไป สิ่งแม้มีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่สิ้นสุดแก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น นี้ชื่อว่าตัณหาให้เต็มได้โดยยากด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ วิทฺธา สมํ จเร ความว่า บุรุษเมื่อรู้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา บำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์ พึงประพฤติให้สม่ำเสมอ. บทว่า โอรํ ได้แก่ ถึงส่วนอันมีในภายใน. ด้วยบทนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่อิ่ม พึงปรารถนาแม้ฝั่งแห่งสมุทรอีกด้วยอาการอย่างนี้ ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เป็นอันเต็มได้โดยยาก. บทว่า ยาว เป็นบทกำหนดนับตามอนิยม. บทว่า อนุสฺสรํ แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า นาชฺฌคา แปลว่า ย่อมไม่ประสบ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษมีใจระลึกถึงกามทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความอิ่ม ปรารถนาจะบรรลุถึงอยู่นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัณหาในกามทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. บทว่า ตโต นิวตฺตา ความว่า บุคคลเหล่าใดมีจิตและกายกลับจากวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยญาณนั่นแล อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคลเหล่านั้นแลชื่อว่าย่อมอิ่ม. บทว่า ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ คือความอิ่มด้วยปัญญานี้ ย่อมเป็นของประเสริฐเต็มที่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น โส กาเมหิ ตปฺปติ นี้ บาลีว่า ย่อมไม่ถูกกามทั้งหลายแผดเผา. อธิบายว่า เพราะเหตุที่บุรุษผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่ถูกกามแผดเผา. บทว่า น กุรุเต วสํ ความว่า เพราะตัณหาไม่อาจยังบุรุษเช่นนั้นให้อยู่ในอำนาจได้ ก็บุรุษนั้นนั่นแลเห็นโทษแห่งตัณหาแล้ว ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เหมือนวังวนแห่งสายน้ำ และเหมือนพระราชอัฑฒมาสก. บทว่า อปจิเนเถว แปลว่า พึงกำจัดเสียเลย. บทว่า สมุทฺทมตฺโต คือมีประมาณสมุทร เพราะประกอบด้วยปัญญาอันใหญ่. บุรุษนั้นย่อมไม่เดือดร้อน คือไม่รุ่มร้อนด้วยกิเลสกามทั้งหลาย เหมือนสมุทรไม่ร้อนแม้เพราะไฟใหญ่ฉะนั้น. บทว่า รถกาโร แปลว่า ช่างหนัง. บทว่า ปริกนฺตํ แปลว่า ตัดแล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ช่างหนังตัดรองเท้า เว้นที่ที่หนังไม่เข้าลักษณะที่ถือเอาได้ ทำให้เป็นรองเท้า ได้ค่ารองเท้า ย่อมได้รับความสุขฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาอันเสมือนกับศาสตราของช่างรองเท้า พึงถึงความสุขทางกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมนั้น ที่เว้นจากแดนแห่งกาม อันเป็นเหตุให้ตนละแดนกาม ปรารถนาเฉพาะสุขมีกายกรรมเป็นต้นทุกอย่างที่ปราศจากความเร่าร้อน พึงเจริญกสิณยังฌานให้เกิดละกามทั้งปวงเสีย. ก็เมื่อพระมหาสัตว์กำลังกล่าวคาถานี้อยู่ ได้เกิดฌานมีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ เพราะหน่วงเอาพระเศวตฉัตรของพระราชาเป็นอารมณ์. แม้พระราชาก็ทรงหายจากโรค พระองค์ทรงมีความยินดี เสด็จลุกจากพระที่บรรทม มีพระดำรัสว่า พวกแพทย์เท่านี้ยังไม่อาจรักษาได้ แต่มาณพผู้เป็นบัณฑิตได้ทำเราให้ปราศจากโรคด้วยญาณวิสัยของตนได้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระโพธิสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า คาถาทั้งหมด ๘ คาถาที่ท่านกล่าวแล้ว ขอท่านจงรับเอาทรัพย์ทั้ง ๘,๐๐๐ นี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐ ได้แก่ คาถา ๘ คาถาที่ประกอบด้วยโทษแห่งกาม ตั้งต้นแต่คาถาที่ ๒ ไป. บทว่า สหสฺสิยา แปลว่า ควรแก่ ๑,๐๐๐. บทว่า ปฏิคฺคณฺห ความว่า จงรับเอาทรัพย์ ๘,๐๐๐. บทว่า สาเธตํ ตว ภาสิตํ ความว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อยทรัพย์พันหรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉิมํ นี้เป็นคาถาสุดท้ายว่า รถกาโรว จมฺมสฺส. บทว่า กาเม เม นิรโต มโน ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์กำลังกล่าวคาถาอยู่นั่นแล ใจไม่ยินดีทั้งในวัตถุกามทั้งกิเลสกาม เพราะข้าพเจ้านั้นเมื่อกล่าวคาถายังฌานให้บังเกิดด้วยธรรมเทศนาของตนแล. พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือประมาณ ในเมื่อจะทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็นคนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขชนนึ ได้แก่ ยังทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นให้เกิด. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้แล้ว คือกำหนดตัด ตัดขาดนำออกไป เมื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์จึงได้ตรัสอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรมเถิด แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี เจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชนมายุ แล้วไปเกิดในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทำให้พราหมณ์นี้คลายความเศร้าโศกด้วยประการดังนี้. แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพราหมณ์นี้ ส่วนมาณพผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็น เราตถาคต แล. จบอรรถกถากามชาดกที่ ๔
ทุกชีวิตที่เกิดมาแต่ละภพแต่ละชาติไม่แน่นอนเลยอรรถกถา กามชาดก ว่าด้วย กามและโทษของกาม พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามยมานสฺส ดังนี้. เรื่องมีว่า พราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่งหักร้างป่าเพื่อต้องการทำเป็นไร่. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ทรงแวะลงจากทาง กระทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสว่า เธอทำอะไรเล่าพราหมณ์. ครั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์หักร้างที่ไร่ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดีละพราหมณ์ กระทำการงานไปเถิด แล้วเสด็จเลยไป พระองค์ได้เสด็จไปทำปฏิสันถารกับเขาบ่อยๆ คือในเวลาที่เขาขนต้นไม้ที่ตัดแล้วและชำระที่ไร่ ในเวลาก่อคัน ในเวลาหว่าน โดยอุบายอย่างนี้นั้นแล. วันรุ่งขึ้นพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นมงคลในการหว่านข้าวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขในเมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว พระศาสดาทรงรับด้วยทรงดุษณีภาพ เสด็จหลีกไป. รุ่งขึ้นวันหนึ่งพราหมณ์ยืนดูข้าวกล้าอยู่ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอกำลังทำอะไรอยู่ตรงนั้น เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์กำลังดูข้าวกล้า ตรัสว่า ดีพราหมณ์ แล้วเสด็จหลีกไป. ในครั้งนั้น พราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมมาเนืองๆ คงมีความต้องการภัตรอย่างไม่ต้องสงสัย เราจักถวายภัตรแก่ท่าน ในวันที่พราหมณ์คิดอย่างนี้แล้วไปสู่เรือน ถึงพระศาสดาก็ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ครั้งนั้นความพิศวาสเกิดขึ้นแก่พราหมณ์ล้นเหลือ. ต่อมาครั้นข้าวกล้าแก่แล้ว เมื่อพราหมณ์ตกลงใจว่า พรุ่งนี้เราจักเกี่ยวไร่แล้วนอน ฝนลูกเห็บตกตลอดคืน ทางเหนือของแม่น้ำอจิรวดี ห้วงน้ำใหญ่ไหลมาพัดเอาข้าวกล้าทั้งหมดเข้าไปสู่ทะเล ไม่เหลือไว้ให้ แม้มาตรว่าทะนานเดียว เมื่อห้วงน้ำเหือดแห้งลงแล้ว พราหมณ์มองดูความย่อยยับแห่งข้าวแล้ว ไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ถูกความเสียใจอย่างแรงครอบงำ ยกมือตีอกคร่ำครวญไปถึงเรือน แล้วลงนอนบ่นพร่ำ. ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ถูกความเสียใจครอบงำ ทรงดำริว่า เราต้องเป็นที่พึ่งของพราหมณ์ รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ภายหลังจากเสวยเสร็จเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงส่งพวกภิกษุไปสู่พระวิหาร เสด็จไปสู่ประตูเรือนของเขากับด้วยสมณะติดตาม พราหมณ์ได้ยินความที่พระศาสดาเสด็จมา กล่าวว่า สหายของเราคงมาเยี่ยมเยียนค่อยได้ความโปร่งใจ จัดแจงอาสนะไว้ พระศาสดาเสด็จเข้าไป ประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้. ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ เหตุไรจึงเศร้าหมองไปล่ะ ท่านไม่สบายอะไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบการงานที่ข้าพระองค์กระทำ จำเดิมแต่ตัดต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ข้าพระองค์เคยกราบทูลไว้ว่า เมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว ข้าพระองค์จักถวายทานแด่พระองค์ บัดนี้ห้วงน้ำใหญ่พัดข้าวกล้าของข้าพระองค์ไปสู่ทะเลเสียหมดเกลี้ยงทีเดียว ข้าวกล้าไม่มีเหลือสักหน่อย ข้าวเปลือกประมาณ ๑๐๐ เกวียนเสียหายหมด เหตุนั้นความโศกอย่างใหญ่โตจึงเกิดแก่ข้าพระองค์. ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็เมื่อท่านเศร้าโศกอยู่ สิ่งที่เสียหายไปแล้วจะกลับคืนมาได้หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้แน่นอน พระเจ้าข้า. ตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านเศร้าโศกเพราะเหตุไร ขึ้นชื่อว่าทรัพย์และข้าวเปลือกของสัตว์เหล่านี้ ถึงคราวเกิดก็บังเกิด ถึงคราวเสียหายก็เสียหาย สิ่งไรๆ ที่ถึงการปรุงแต่ง จะชื่อว่าไม่มีความเสียหายเป็นธรรมดาน่ะ ไม่มีดอก ท่านอย่าคิดไปเลย. พระศาสดาทรงปลอบเขาด้วยประการฉะนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมอันเป็นที่สบายแก่เขา ตรัสกามสูตร เมื่อพระสูตรถึงปริโยสาน พราหมณ์ดำรงในโสดาปัตติผล พระศาสดาทรงทำให้เขาสร่างโศก เสด็จลุกจากอาสนะไปสู่พระวิหาร. ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ทั่วกันว่า พระศาสดาทรงกระทำพราหมณ์ผู้โน้นผู้เพียบแปล้ด้วยโศกศัลย์ให้สร่างโศก ให้ดำรงในโสดาปัตติผลได้ พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระทศพลทรงทำไมตรีกับพราหมณ์จนคุ้นเคยกัน ทรงแสดงธรรมแก่เขาผู้เพียบแปล้ไปด้วยความโศกด้วยอุบายครั้งเดียว ทรงทำให้เขาสร่างโศกได้ ให้ประดิษฐานในโสดาปัตติผลได้. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า เมื่อกี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้กระทำให้พราหมณ์นี้สร่างโศกแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต ณ พระนครพาราณสี มีพระโอรส ๒ พระองค์ ท้าวเธอประทานที่อุปราชแก่พระโอรสองค์ใหญ่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระโอรสองค์เล็ก ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์ พวกอำมาตย์พากันตั้งการอภิเษกแก่พระองค์ใหญ่ ท้าวเธอตรัสว่า ฉันไม่ต้องการครองราชสมบัติ พวกท่านจงพากันให้แก่น้องชายของฉันเถิด แม้ได้รับคำทูลวิงวอนบ่อยๆ ก็ทรงห้ามเสีย ครั้นพวกอำมาตย์ทำการอภิเษกถวายพระเจ้าน้องแล้ว ทรงดำริว่า เราไม่ต้องการความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ไม่ทรงปรารถนา แม้แต่ตำแหน่งอุปราชเป็นอาทิ. ถึงเมื่อพระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญเสวยโภชนะที่มีรสดีๆ ประทับอยู่ในพระนครนี้เถิด ตรัสว่า ฉันไม่มีเรื่องที่ต้องกระทำในพระนครนี้ เสด็จออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่ชนบทปลายแดน อาศัยสกุลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ทรงกระทำการงานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประทับอยู่. ครั้นกาลต่อมา พวกเหล่านั้นรู้ความที่ท้าวเธอเป็นพระราชกุมาร ก็พากันไม่ยอมให้ทำการงาน พากันห้อมล้อมท้าวเธอด้วยการบริหารในฐานเป็นพระราชกุมารทีเดียว จำเนียรกาลนานมา พวกข้าราชการพากันไปสู่ชนบทปลายแดน ได้ไปถึงบ้านนั้นเพื่อรังวัดเขต ท่านเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระราชกุมาร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้านาย พวกข้าพระองค์พากันบำรุงเลี้ยงพระองค์ ขอพระองค์ทรงส่งหนังสือถึงพระเจ้าน้องให้ทรงลดส่วยแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงรับว่า ได้ซี ทรงส่งหนังสือไปว่า ฉันอาศัยสกุลเศรษฐีชื่อโน้นพำนักอยู่ โปรดเห็นแก่ฉันยกเว้นส่วยแก่พวกเหล่านั้นเถิด. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทรงโปรดให้กระทำอย่างนั้น. ครั้งนั้น พวกชาวบ้านทั้งหมดบ้าง ชาวชนบทบ้าง ชาวบ้านอื่นๆ บ้าง พากันเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลว่า พวกข้าพระองค์จักถวายส่วยแด่พระองค์เท่านั้น โปรดให้พระราชาทรงยกเว้นแก่พวกข้าพระองค์บ้างเถิด ท้าวเธอทรงส่งหนังสือไปเพื่อช่วยเหลือพวกเหล่านั้น ให้พระราชาทรงยกเว้นส่วยให้ ตั้งแต่บัดนั้น พวกเหล่านั้นก็พากันถวายส่วยแก่ท้าวเธอ จึงบังเกิดลาภสักการะใหญ่แก่ท้าวเธอ ด้วยเหตุนั้น ความอยากของท้าวเธอก็พลอยเติบใหญ่ไปด้วย กาลต่อมา ท้าวเธอทูลขอชนบทนั้นแม้ทั้งหมด แล้วทูลขอราชสมบัติกึ่งหนึ่ง แม้พระเจ้าน้องก็ได้ประทานแก่ท้าวเธอทั้งนั้น ท้าวเธอเมื่อความอยากพอกพูน ไม่ทรงพอพระทัยด้วยราชสมบัติเพียงกึ่งนั้น ทรงดำริจะยึดราชสมบัติแวดล้อมด้วยชาวชนบท เสด็จไปสู่พระนครนั้น หยุดทัพอยู่ภายนอกพระนคร ทรงส่งหนังสือแก่พระเจ้าน้องว่า จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจะรบกันก็ได้. พระเจ้าน้องทรงดำริว่า พระพี่นี้เป็นพาล เมื่อก่อนทรงห้ามราชสมบัติ แม้กระทั่งตำแหน่งอุปราชก็ทรงห้าม คราวนี้ตรัสว่า จักยึดเอาด้วยการรบ ก็ถ้าว่าเราจักฆ่าพระพี่นี้ให้ตายด้วยการรบ ความครหาจักมีแก่เราได้ เราจะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ จึงทรงส่งสาส์นแด่ท้าวเธอว่า ไม่ต้องรบดอก เชิญทรงครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงครองราชสมบัติประทานที่อุปราชแก่พระเจ้าน้อง จำเดิมแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติ ทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา มิได้ทรงพอพระหทัยด้วยราชสมบัติพระนครเดียว ทรงปรารถนาราชสมบัติ ๒-๓ นคร ไม่ทรงเห็นที่สุดแห่งความอยากเลย ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดูว่า ในโลกชนเหล่าไหนบ้างล่ะที่บำรุงมารดาบิดา เหล่าไหนทำบุญต่างๆ มีให้ทานเป็นต้น เหล่าไหนตกอยู่ในอำนาจตัณหา ทรงทราบความที่ท้าวเธอเป็นไปในอำนาจตัณหา ทรงดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นพาล ไม่ทรงพอพระหทัยแม้ด้วยราชสมบัติในพระนครพาราณสี เราต้องให้ท้าวเธอศึกษาบ้าง จำแลงเพศเป็นมาณพ ประทับยืนที่พระทวารหลวง. ให้กราบทูลว่า มาณพผู้ฉลาดในอุบายผู้หนึ่ง ยืนอยู่ที่พระทวารหลวง ครั้นรับสั่งว่า เข้ามาเถิด ก็เสด็จเข้าไปกราบทูลถวายชัยพระราชา เมื่อตรัสว่า เจ้ามาด้วยเหตุไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้อที่ข้าพระองค์กราบทูลมีอยู่หน่อย ข้าพระองค์ต้องการที่รโหฐานพระเจ้าข้า ด้วยอานุภาพท้าวสักกะ ฝูงคนพากันหลบไปหมด ทันใดนั้นเอง ครั้งนั้นมาณพกราบทูลท้าวเธอว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระองค์เห็นพระนคร ๓ แห่ง มั่งคั่งมีฝูงคนแออัด สมบูรณ์ด้วยพลและพาหนะ ข้าพระองค์จักยึดราชสมบัติทั้งสามด้วยอานุภาพของตนถวายแด่พระองค์ ควรที่พระองค์จะไม่ทรงชักช้า รีบเสด็จไปเถอะ พระเจ้าข้า. พระราชานั้นทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ทรงรับว่า ดีละ แต่ด้วยอานุภาพแห่งท้าวสักกะ มิได้ทรงถามว่า เจ้าเป็นใคร หรือเจ้ามาจากไหน หรือว่าควรที่เจ้าจะได้สิ่งไร ท้าวสักกะนั้นเล่าตรัสเพียงเท่านี้แล้ว ก็ได้เสด็จไปดาวดึงส์พิภพทีเดียว. พระราชาตรัสให้พวกอำมาตย์มาเฝ้า ตรัสว่า มาณพผู้หนึ่งกล่าวว่าจักยึดราชสมบัติ ๓ นครให้พวกเรา พวกเธอจงเรียกมาณพนั้นมาทีเถิด จงนำกลองไปเที่ยวตีประกาศในพระนคร เรียกประชุมพลกาย พวกเราต้องยึดครองราชสมบัติ ๓ นคร ไม่ต้องชักช้า. เมื่อพวกอำมาตย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระองค์ทรงกระทำสักการะแก่มาณพนั้นอย่างไร หรือทรงถามที่อยู่อาศัยของมาณพนั้นไว้อย่างไร. ตรัสว่า เราไม่ได้ทำสักการะเลย ไม่ได้ถามที่พักอาศัยไว้เลย พวกเธอจงพากันไปค้นหาเขาเถิด พวกอำมาตย์พากันค้น ไม่เห็นเขา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่เห็นมาณพนั้นทั่วพระนคร พระเจ้าข้า ทรงสดับคำนั้นแล้ว พระราชาทรงเกิดโทมนัส ทรงพระดำริเรื่อยๆ ว่า ราชสมบัติในพระนครทั้ง ๓ เสื่อมหายแล้ว เราเสื่อมเสียจากยศอันใหญ่ มาณพคงโกรธเราว่า ไม่ให้เสบียงแก่เรา แล้วก็ไม่ให้ที่อยู่อาศัยด้วย เลยไม่มา. ครั้งนั้นความร้อนบังเกิดขึ้นในพระกายแห่งพระองค์ผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหา เมื่อสรีระทุกส่วนเร่าร้อนอยู่ กริยาที่วิ่งพล่านแห่งโลหิตก็ทำท้องให้กำเริบแล้วพลุ่งขึ้น ภาชนะอันหนึ่งเข้าอันหนึ่งออก พวกแพทย์สุดฝีมือที่จะถวายการรักษาได้. ครั้งนั้น การที่ท้าวเธอถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนได้เลื่องลือไปทั้งพระนคร. กาลนั้นพระโพธิสัตว์เรียนศิลปะสำเร็จจากเมืองตักกสิลา มาสู่สำนักบิดามารดา ในพระนครพาราณสี ฟังเรื่องของพระราชานั้น คิดว่าเราต้องถวายการรักษา ไปสู่พระราชทวาร ให้กราบทูลว่า ได้ยินว่า มาณพผู้หนึ่งมาจะถวายการรักษาพระองค์. พระราชาตรัสว่า แม้ถึงพวกแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ ยังไม่สามารถรักษาเราได้ มาณพหนุ่มจักสามารถได้อย่างไร พวกท่านพากันให้เสบียง แล้วปล่อยเขาไปเสียเถิด. มาณพฟังพระดำรัสนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่ต้องทำด้วยค่ากำนัลหมอเลย ข้าพเจ้าจักขอถวายการรักษา โปรดให้เพียงค่ายาเท่านั้นแหละ. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ลองดูที รับสั่งให้เรียก. มาณพตรวจดูพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักถวายการรักษา ก็แต่ว่าพระองค์ทรงโปรดบอกสมุฏฐานแห่งโรคแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพอพระหทัยตรัสว่า เจ้าจักเอาสมุฏฐานไปทำไม จงบอกยาเท่านั้นเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาหมอทราบว่า ความเจ็บนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุนี้ ย่อมกระทำยาให้ถูกต้องกับความเจ็บนั้นได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถูกต้องละพ่อ เมื่อตรัสสมุฏฐานได้ตรัสเรื่องทั้งหมด ตั้งต้นแต่ที่มาณพคนหนึ่งมาบอกว่าจักเอาราชสมบัติในสามพระนครมาให้ แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เราเจ็บคราวนี้เพราะตัณหา ถ้าเจ้าพอจะรักษาได้ ก็จงรักษาเถิด. มาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อาจได้พระนครเหล่านั้น ด้วยการเศร้าโศกหรือ? ตรัสว่า ไม่อาจดอกพ่อ. กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกพระเจ้าข้า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตนเป็นต้น ตลอดถึงสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้พระองค์จะยึดครองราชสมบัติในพระนครทั้งสี่ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในสุวรรณภาชนะทั้งสี่ บรรทมเหนือพระที่ทั้งสี่ ทรงเครื่องประดับทั้งสี่พร้อมกันคราวเดียวไม่ได้ พระองค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้ เมื่อเจริญขึ้นย่อมไม่ปล่อยให้พ้นจากอบายทั้งสี่ไปได้. พระมหาสัตว์ ครั้นถวายโอวาทพระราชาดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้. เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น. ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาล มีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือนเขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น. แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนคนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ. พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก. เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม. บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้. ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย. ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดีๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กามยมานสฺส แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ ความว่า สิ่งที่เขาปรารถนาย่อมสำเร็จ และย่อมเผล็ดผลแก่บุคคลนั้น. บทว่า นํ ในคำว่า ตโต นํ อปรํ กาเม นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปรํ เป็นบทแสดงส่วนอื่น. บทว่า กาเม เป็นพหุวจนะ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ถ้าเมื่อเขาปรารถนากาม สิ่งที่เขาปรารถนานั้นย่อมสำเร็จแก่เขาสมประสงค์ เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก บุคคลนั้นเมื่อปรารถนาอยู่ ย่อมประสบคือได้รับกามกล่าวคือตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความอยากคือได้รับความกระหายน้ำฉะนั้น. ตัณหามีรูปตัณหาเป็นต้นย่อมเจริญแก่บุคคลนั่นแล. บทว่า ควํว แปลว่า เหมือนรูปโค. บทว่า สิงคิโน ได้แก่ เขาสัตว์ที่ผ่ายอดแล้วยกขึ้น. บทว่า มนฺทสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า พาลสฺส ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพาลธรรม. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เขาโคย่อมเติบโตพร้อมกับร่างของลูกโคตัวกำลังเติบโต ฉันใด กามตัณหาที่ยังไม่มาถึงก็ดี ความกระหายในกามที่มาถึงแล้วก็ดี ย่อมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปสำหรับอันธพาลชน. บทว่า สาลิยวกํ ได้แก่ นาข้าวสาลี และนาข้าวเหนียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงธัญชาติหมด มีข้าวสาลีและข้าวเหนียวเป็นต้น. ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้า. หรือด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่มีวิญญาณทั้งหมด ด้วยบทนอกนี้ ท่านแสดงถึงสิ่งที่มีวิญญาณทั้งสิ้น. บทว่า ทตฺวาปิ แปลว่า แม้ให้แล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า อาณาจักรทั้ง ๓ จงยกไว้ ถ้าว่า มาณพนั้นให้สิ่งอื่นๆ หรือแผ่นดินทั้งสิ้นที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งรัตนบุรีแก่ใครแล้วไป สิ่งแม้มีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่สิ้นสุดแก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น นี้ชื่อว่าตัณหาให้เต็มได้โดยยากด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ วิทฺธา สมํ จเร ความว่า บุรุษเมื่อรู้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา บำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์ พึงประพฤติให้สม่ำเสมอ. บทว่า โอรํ ได้แก่ ถึงส่วนอันมีในภายใน. ด้วยบทนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่อิ่ม พึงปรารถนาแม้ฝั่งแห่งสมุทรอีกด้วยอาการอย่างนี้ ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เป็นอันเต็มได้โดยยาก. บทว่า ยาว เป็นบทกำหนดนับตามอนิยม. บทว่า อนุสฺสรํ แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า นาชฺฌคา แปลว่า ย่อมไม่ประสบ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษมีใจระลึกถึงกามทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความอิ่ม ปรารถนาจะบรรลุถึงอยู่นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัณหาในกามทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. บทว่า ตโต นิวตฺตา ความว่า บุคคลเหล่าใดมีจิตและกายกลับจากวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยญาณนั่นแล อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคลเหล่านั้นแลชื่อว่าย่อมอิ่ม. บทว่า ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ คือความอิ่มด้วยปัญญานี้ ย่อมเป็นของประเสริฐเต็มที่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น โส กาเมหิ ตปฺปติ นี้ บาลีว่า ย่อมไม่ถูกกามทั้งหลายแผดเผา. อธิบายว่า เพราะเหตุที่บุรุษผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่ถูกกามแผดเผา. บทว่า น กุรุเต วสํ ความว่า เพราะตัณหาไม่อาจยังบุรุษเช่นนั้นให้อยู่ในอำนาจได้ ก็บุรุษนั้นนั่นแลเห็นโทษแห่งตัณหาแล้ว ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เหมือนวังวนแห่งสายน้ำ และเหมือนพระราชอัฑฒมาสก. บทว่า อปจิเนเถว แปลว่า พึงกำจัดเสียเลย. บทว่า สมุทฺทมตฺโต คือมีประมาณสมุทร เพราะประกอบด้วยปัญญาอันใหญ่. บุรุษนั้นย่อมไม่เดือดร้อน คือไม่รุ่มร้อนด้วยกิเลสกามทั้งหลาย เหมือนสมุทรไม่ร้อนแม้เพราะไฟใหญ่ฉะนั้น. บทว่า รถกาโร แปลว่า ช่างหนัง. บทว่า ปริกนฺตํ แปลว่า ตัดแล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ช่างหนังตัดรองเท้า เว้นที่ที่หนังไม่เข้าลักษณะที่ถือเอาได้ ทำให้เป็นรองเท้า ได้ค่ารองเท้า ย่อมได้รับความสุขฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาอันเสมือนกับศาสตราของช่างรองเท้า พึงถึงความสุขทางกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมนั้น ที่เว้นจากแดนแห่งกาม อันเป็นเหตุให้ตนละแดนกาม ปรารถนาเฉพาะสุขมีกายกรรมเป็นต้นทุกอย่างที่ปราศจากความเร่าร้อน พึงเจริญกสิณยังฌานให้เกิดละกามทั้งปวงเสีย. ก็เมื่อพระมหาสัตว์กำลังกล่าวคาถานี้อยู่ ได้เกิดฌานมีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ เพราะหน่วงเอาพระเศวตฉัตรของพระราชาเป็นอารมณ์. แม้พระราชาก็ทรงหายจากโรค พระองค์ทรงมีความยินดี เสด็จลุกจากพระที่บรรทม มีพระดำรัสว่า พวกแพทย์เท่านี้ยังไม่อาจรักษาได้ แต่มาณพผู้เป็นบัณฑิตได้ทำเราให้ปราศจากโรคด้วยญาณวิสัยของตนได้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระโพธิสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า คาถาทั้งหมด ๘ คาถาที่ท่านกล่าวแล้ว ขอท่านจงรับเอาทรัพย์ทั้ง ๘,๐๐๐ นี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐ ได้แก่ คาถา ๘ คาถาที่ประกอบด้วยโทษแห่งกาม ตั้งต้นแต่คาถาที่ ๒ ไป. บทว่า สหสฺสิยา แปลว่า ควรแก่ ๑,๐๐๐. บทว่า ปฏิคฺคณฺห ความว่า จงรับเอาทรัพย์ ๘,๐๐๐. บทว่า สาเธตํ ตว ภาสิตํ ความว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อยทรัพย์พันหรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉิมํ นี้เป็นคาถาสุดท้ายว่า รถกาโรว จมฺมสฺส. บทว่า กาเม เม นิรโต มโน ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์กำลังกล่าวคาถาอยู่นั่นแล ใจไม่ยินดีทั้งในวัตถุกามทั้งกิเลสกาม เพราะข้าพเจ้านั้นเมื่อกล่าวคาถายังฌานให้บังเกิดด้วยธรรมเทศนาของตนแล. พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือประมาณ ในเมื่อจะทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็นคนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขชนนึ ได้แก่ ยังทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นให้เกิด. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้แล้ว คือกำหนดตัด ตัดขาดนำออกไป เมื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์จึงได้ตรัสอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรมเถิด แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี เจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชนมายุ แล้วไปเกิดในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทำให้พราหมณ์นี้คลายความเศร้าโศกด้วยประการดังนี้. แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพราหมณ์นี้ ส่วนมาณพผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็น เราตถาคต แล. จบอรรถกถากามชาดกที่ ๔
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอ...
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลสตรัสรู้ชอ...
เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว
ละกามราคะไปนิพพานปุถุชนเหล่าใดมีจิตกำหนัดเข้าไปส้องเสพหญิงเหล่านั้น ปุถุชนเหล่านั้นย่อมยังสงสาร อันน่ากลัวให้เจริญ ย่อมก่อภพใหม่ขึ้นอีก เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวง เราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว .เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราถึงความสิ้นอาสวะแล้วบัดนี้ภพใหม่ไม่มี
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช-พาหัดดูสภาวะธรรมจิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน. ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,
AC DRIVE Motor inverter ปรับรอบมอเตอร์สามเฟสจำหน่าย PS21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR ราคาตัวละ 300 บาท 6 D I 15 S-050C 6DI15S-050D MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท TM 51 พร้อมขดลวด ชุดละ 500 บาท 5 ตัว ขึ้นไป ราคาตัวละ 400 บาท
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับจำหน่าย PS21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR ราคาตัวละ 300 บาท 6 D I 15 S-050C 6DI15S-050D MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท TM 51 พร้อมขดลวด ชุดละ 500 บาท 5 ตัว ขึ้นไป ราคาตัวละ 400 บาท
จำหน่าย power module แอร์ตู้เย็นเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่จำหน่าย PS21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR ราคาตัวละ 300 บาท 6 D I 15 S-050C 6DI15S-050D MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท TM 51 พร้อมขดลวด ชุดละ 500 บาท 5 ตัว ขึ้นไป ราคาตัวละ 400 บาท
จำหน่าย power module แอร์ตู้เย็นเครื่องซักผ้ารุ่นใหม่จำหน่าย PS21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR ราคาตัวละ 300 บาท 6 D I 15 S-050C 6DI15S-050D MP6501A ราคาตัวละ 300 บาท TM 51 พร้อมขดลวด ชุดละ 500 บาท 5 ตัว ขึ้นไป ราคาตัวละ 400 บาท
84000 พระธรรมขันธ์ เพื่อความไม่ประมาทในการทำความดีเผยแพร่เมื่อ 28 ม.ค. 2015 "อานันทะ ดูก่อนอานนท์" "ที่เราสอนพวกเธอมา 84000 พระธรรมขันธ์ สิ้นเวลา 45 ปี นี่เรา...มีความต้องการอย่างเดียว คือ ความไม่ประมาท ในการกระทำความดีเท่านั้น" นี่เป็นอันว่า...พระพุทธเจ้าสอนมาทั้งหมด ล้วนอยู่ในคำว่าไม่ประมาท กรรมใดที่เป็นกุศลให้ผล คือ ความสุข จะน้อยหรือจะมากก็ตาม เราก็ไม่ประมาทในคุณธรรมนั้น โอกาสใดที่จะพึ่งได้ เอาให้หมด ไม่ว่าธรรมเล็ก หรือว่าธรรมใหญ่ ธรรมหนัก หรือว่าธรรมเบา ธรรมชั้นไหน เอาให้หมด อย่าไปเลือกว่า...นี่เป็นส่วนของกามาวจรสวรรค์...ไม่ดี นี่คือส่วนของพรหมโลก...ไม่ดี เราไม่เอา! "ต้องการนิพพานอย่างเดียว" อย่างนี้ก็โง่..เกินไป เพราะว่า...คนเราถ้าจะรวยได้นั้น ไม่ใช่ว่าหาเงินมาทีเดียวเป็นล้านๆ พ่อค้าแม่ค้า...ไม่ใช่กำไรของชิ้นละแสน-สองแสน ก๋วยเตียวชามนึง ที่เค้าเคยบอกว่าราคา 5สตางค์ (สมัยก่อน) เค้าต้องการกำไรเพียงครึ่งสตางค์ เท่านั้น มีการสะสมผลเล็กๆ น้อยๆ สะสมไม่หยุดหย่อน ไม่ช้ามันก็มาก ข้อนี้มีอุปมาฉันใด ขึ้นชื่อว่าพระธรรมคำสั่งสอนขององค์สมเด็จพระจอมไตร จะเล็กจะใหญ่ จะหนักจะเบา เอาให้หมด เมื่อมีโอกาสแล้วทำทันที
สัมมาทิฏฐิพราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่ เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่ เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี
วันพฤหัสบดีที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลคำที่ว่า รูปดับนามก็ดับนี่ ไอ้นามดับ หลวงปู่ : ไปพร้อมกัน นามก็คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ รูปก็คือรูปนี่แหละ พอมันดับแล้วมันดับพร้อมกัน ไอ้เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ มันดับพร้อมกัน ลูกศิษย์ : ไอ้นามดับตัวนี้ มันมีความหมายคล้ายๆกับ ไอ้สังขาร มั้ยครับ คือหมายความว่า สังขารดับ คือไม่ปรุงแต่ง เหมือนกันมั้ยครับ หลวงปู่ : หมดสังขาร ลูกศิษย์ : หมดสังขาร หลวงปู่ : เวทนาสัญญาสังขาร หมดสังขาร มันก็หมด หมดความคิด ลูกศิษย์ : หมดความคิดนึก การปรุงแต่งไม่มี หลวงปู่ : หมดความปรุงแต่งไม่มี หมดสังขารหมดสัญญาอันเดียว มันหมด หมดไปแล้วทั้งอาการ มันหมดไปแล้ว ลูกศิษย์ : อันนี้เรียกว่าอะไร นามดับ หลวงปู่ : นามดับ ลูกศิษย์ : คือนามดับนี่หมายความว่า หลวงปู่ : คือไม่คิด หยุดคิด นามดับ หยุดคิดแล้วหมดทั้งรูปทั้งนาม หยุดแล้วก็หมดทั้งรูปทั้งนาม เหลือแต่ว่าง
ข้ามทะเลทั้งสี่แล้วจะถึงจิตหนึ่งเวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป
ข้ามทะเลทั้งสี่แล้วจะถึงจิตหนึ่งเวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป
เสียงที่ทำให้จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะคนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะคนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เองคนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
ประตูสู่การบรรลุมรรคผลกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้ากิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
อย่าประมาทกิเลสเล็กๆน้อยๆ ผิดศีลได้เริ่มจากกิเลสเล็กน้อยนี่เองกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ สันตินันท์ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช) Share __________________ ขอเชิญดาวน์โหลดไฟล์หนังสือธรรมและ mp3 เพื่อการเจริญสติและการทำสมาธิที่ถูกทางได้ที่ http://wimutti.net/pramote/#preac
ข้ามทะเลทั้งสี่แล้วจะถึงจิตหนึ่งกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ สันตินันท์ (พระปราโมทย์ ปาโมชฺโช) Share __________________ ขอเชิญดาวน์โหลดไฟล์หนังสือธรรมและ mp3 เพื่อการเจริญสติและการทำสมาธิที่ถูกทางได้ที่ http://wimutti.net/pramote/#preac
กุศโลบายสอนจิตด้วยปัญญาทุกครั้งที่เราพูดกับคนอื่น เราเสียพลังงานนะ พลังของจิตจะเสียไป เพราะฉะนั้นพูดน้อยๆนะ ดี คนที่มีฤทธิ์ทางใจ สังเกตให้ดีเถอะ เงียบๆ พวกที่มีฤทธิ์มากๆนะ มีอภิญญามากๆ ไม่ค่อยพูดอะไรหรอก เงียบๆ เพราะพูดมาก เสียพลัง พลังฝึกปรือเสื่อม ยิ่งไปคลุกคลีกับคนยิ่งไปคบคนฟุ้งซ่านนะ ยิ่งหมดพลังฝึกปรือเลย แล้วไปคบกับพวกพูดธรรมะด้วยกันนะ วันๆนั่งพูดธรรมะเรื่อยๆนะก็หมดพลังนะ กระทั่งพูดธรรมะก็หมดพลังนะ ไม่ใช่ไม่หมดพลัง พูดเท่าที่จำเป็น
วันที่พบพระพุทธเจ้าการที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
พระนิพพานคืออะไรผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริงเมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
พระนิพพานคืออะไรผู้รู้น่ะจริง แต่สิ่งที่รู้ทั้งหลายนั้นไม่จริงเมื่อจิตว่างจาก "พฤติ" ต่างๆ แล้ว จิตก็จะถึง ความว่างที่แท้จริง ไม่มีอะไรให้สังเกตได้อีกต่อไป จึงทราบได้ว่าแท้ที่จริงแล้ว จิตนั้นไม่มีรูปร่าง มันรวมอยู่กับความว่าง ในความว่างนั้น ไม่มีขอบเขต ไม่มีประมาณ ซาบซึมอยู่ในสิ่งทุกๆ สิ่ง และจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน เมื่อจิตกับผู้รู้เป็นสิ่งเดียวกัน และเป็นความว่าง ก็ย่อมไม่มีอะไรที่จะให้อะไรหรือให้ใครรู้ถึง ไม่มีความเป็นอะไรจะไปรู้สภาวะของอะไร ไม่มีสภาวะของใครจะไปรู้ความมีความเป็นของอะไร เมื่อเจริญจิตจนเข้าถึงสภาวะเดิมแท้ของมันได้ดังนี้แล้ว "จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง" จิตก็จะอยู่เหนือสภาวะสมมุติบัญญัติทั้งปวง เหนือความมีความเป็นทั้งปวง มันอยู่เหนือคำพูด และพ้นไปจากการกล่าวอ้างใดๆ ทั้งสิ้น เป็นธรรมชาติอันบริสุทธิ์และสว่าง รวมกันเข้ากับความว่างอันบริสุทธิ์และสว่างของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า "นิพพาน"
วิธีออกจากสังสารวัฎวิธีทำลายกิเลสอวิชชาทำลายตัณหาอุปาทาน“ธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิดการปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็คือการศึกษาธรรมะนั่นเอง ธรรมะก็คือกายกับใจ กายเรียกว่ารูปธรรม ใจเรียกว่านามธรรม ให้เราศึกษากาย ศึกษาใจ ศึกษาไปเรื่อย ตามดูว่าความเป็นจริงของกายเป็นยังไง ความเป็นจริงของใจเป็นยังไง ตัวความเป็นจริงนั่นแหละ ตัวธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ก็คือเข้าถึงธรรมะ … ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี
ทางนิพพาน“ธรรมะจริงๆ ง่ายมากเลย ง่ายเแบบเป็นเรื่องธรรมดาที่สุดเลย เป็นเรื่องใกล้ตัวที่สุด คือเรื่องของตัวเราเองนี่เอง เรื่องของกายเรื่องของใจนี่เอง ทีนี้เราไปวาดภาพธรรมะเอาไว้จนยุ่งเหยิง เราคิดว่าการปฏิบัติธรรมนั้นต้องทำอะไรที่เหนือธรรมดา แล้ววันหนึ่งจะได้สิ่งที่เหนือธรรมดา อันนั้นเข้าใจผิดการปฏิบัติธรรมจริงๆ ก็คือการศึกษาธรรมะนั่นเอง ธรรมะก็คือกายกับใจ กายเรียกว่ารูปธรรม ใจเรียกว่านามธรรม ให้เราศึกษากาย ศึกษาใจ ศึกษาไปเรื่อย ตามดูว่าความเป็นจริงของกายเป็นยังไง ความเป็นจริงของใจเป็นยังไง ตัวความเป็นจริงนั่นแหละ ตัวธรรมะ ถ้าเข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ก็คือเข้าถึงธรรมะ … ถ้าวันใดเข้าใจธรรมะแล้ว เห็นว่ากายกับใจไม่ใช่ตัวเรา อันนี้แหละที่เรียกว่ามีดวงตาเห็นธรรม พระโสดาบันมีดวงตาเห็นธรรม คือได้เห็นความจริงว่ากายกับใจไม่ใช่เรา ตัวเราไม่มี
วันพุธที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หลวงปู่สิม020 พุทโธ ใจเป็นใหญ่ 8 มิ ย 26 ทุกข์ไม่ต้องบ่นให้อดทนเอา
โทษของกามและกรรมที่ไม่เจตนา หลวงปู่จันทา ถาวโรเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล
พุทธวจน คู่มือโสดาบันสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ (สวด) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ ! ก็เธอสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ ได้หรือ ?” ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ! เพราะฉะนั้นแล เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใดเธอจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และจักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อเธอนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เธอนั้นจักไม่กระทำกรรมอันเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป” ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา และทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ และ โมหะเสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
คำสอนจากปากพระพุทธเจ้าโดยตรงสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ (สวด) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ ! ก็เธอสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ ได้หรือ ?” ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ! เพราะฉะนั้นแล เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใดเธอจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และจักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อเธอนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เธอนั้นจักไม่กระทำกรรมอันเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป” ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา และทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ และ โมหะเสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
คำสอนจากปากพระพุทธเจ้าโดยตรงสมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคประทับอยู่ ณ กูฎาคารศาลา ป่ามหาวัน ใกล้เมืองเวสาลี ครั้งนั้นแล ภิกษุวัชชีบุตรรูปหนึ่งเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ครั้นแล้วจึงกราบทูลว่า “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้ ย่อมมาสู่อุเทศ (สวด) ทุกกึ่งเดือน ข้าพระองค์ไม่สามารถที่จะศึกษาในสิกขาบทเหล่านี้ พระเจ้าข้า” พระผู้มีพระภาคตรัสถามว่า “ดูก่อนภิกษุ ! ก็เธอสามารถจะศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ ได้หรือ ?” ภิกษุวัชชีบุตรกราบทูลว่า “ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์สามารถจะศึกษาได้ในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ พระเจ้าข้า พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ดูก่อนภิกษุ ! เพราะฉะนั้นแล เธอจงศึกษาในสิกขา ๓ คือ อธิศีลสิกขา ๑ อธิจิตตสิกขา ๑ และอธิปัญญาสิกขา ๑ เมื่อใดเธอจักศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี จักศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และจักศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี เมื่อนั้น เมื่อเธอนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาอยู่ก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาอยู่ก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาอยู่ก็ดี จักละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เพราะละราคะ โทสะ และโมหะเสียได้ เธอนั้นจักไม่กระทำกรรมอันเป็นอกุศล จักไม่เสพกรรมที่เป็นบาป” ครั้นสมัยต่อมา ภิกษุนั้นศึกษาแล้ว ทั้งอธิศีลสิกขา ทั้งอธิจิตตสิกขา และทั้งอธิปัญญาสิกขา เมื่อภิกษุนั้นศึกษาอธิศีลสิกขาก็ดี ศึกษาอธิจิตตสิกขาก็ดี และศึกษาอธิปัญญาสิกขาก็ดี ย่อมละราคะ โทสะ และโมหะได้แล้ว เพราะละราคะ โทสะ และ โมหะเสียได้ เธอมิได้ทำกรรมที่เป็นอกุศล มิได้เสพกรรมที่เป็นบาป ฯ
ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานบางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
ดูพฤติกรรมของจิตเห็นสัจจธรรมรู้การทำงานของจิตเห็นนิพพานบางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจการเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง
แก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุงการเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง
แก้อารมณ์ฟุ้งซ่าน พระราชพรหมยาน (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุงการเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง
หลวงพ่อฤาษีสอนกรรมฐาน1การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง
การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษี พระราชพรหมยานเถระ วัดท่าซุง
ความรู้สึกที่บอกไม่ถูก “ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โลกนี้ก็ดี โลกอื่นก็ดี พรหมโลกกับทั้งเทวโลกก็ดีย่อมไม่ทราบความเห็นของพระองค์ เหตุดังนี้ จึงมีปัญหามาถึงพระองค์ ผู้มีปรีชาญาณเห็นล่วงสามัญชนทั้งปวงอย่างนี้ ข้าพระพุทธเจ้า จะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือจักไม่ตามทัน พระเจ้าข้า ” ( ใจความของปัญหาข้อนี้ ก็คือจะพิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราชคือความตายจึงจะไม่แลเห็น คือตามไม่ทัน ) พระบรมศาสดา ตรัสพยากรณ์ว่า “ ดูก่อนโมฆราช ท่านจงมีสติพิจารณาดูโลกโดยเป็นของว่างเปล่า ถอนความเห็นว่าตัวของเราเสียทุกเมื่อเถิด ท่านจะข้ามล่วงมัจจุราชเสียได้ด้วยอุบายนี้ ท่านพิจารณาเห็นโลกอย่างนี้แล้ว มัจจุราชคือความตายจักไม่แลเห็น ” เมื่อพระบรมศาสดา ตรัสพยาการณ์ปัญหาของโมฆราชมาณพจบลงแล้วโมฆราชมาพพร้อมทั้งด้วยชฎิลทั้งหมดได้บรรลุพระอรหัตผลสิ้นอาสาวกิเลสทุกคนเว้นแต่ปิงคิยมาณพผู้เดียว เพราะมัวแต่คิดถึงอาจารย์พราหมณ์พาวรีผู้เป็นลุง จึงได้เพียงญาณหยั่งเห็นในธรรมเท่านั้น มาณพทั้ง ๑๖ คน กราทูลขออุปสมบท พระพุทธองค์ประทานด้วยวิธีเอหิภิกขุอุปสัมปทา ได้เป็นพระภิกษุในพระพุทธศาสนา พร้อมบาตรและจีวรอันสำเร็จด้วยบุญฤทธิ์ ส่วนพระปิงคิยเถระกราบทูลลากลับไปแจ้งข่าวแก่พราหมณ์พาวรี ให้บรรลุธรรมาพิสมัยชั้นแสขภูมิ พระโมฆราชนั้น เมื่ออุปสมบทแล้วแล้วปรากฏว่าท่านเป็นผู้มักน้อยสันโดษ ยินดีเฉพาะการใช่สอยจีวรที่เศร้าหมอง ๓ ประการ คือ ๑. ผ้าเศร้าหมอง ๒. ด้ายเย็บผ้าเศร้าหมอง ๓. น้ำย้อมผ้าเศร้าหมอง ด้วยเหตุนี้ พระพุทธองค์จึงทรงยกย่องท่านในตำแหน่งเอตทัคคะ เป็นผู้เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายในทาง ผู้ยินดีในจีวรเศร้าหมอง ท่านพระโมฆราชเถระ ดำรงอายุสังขารโดยสมควรแก่กาลเวลาแล้วก็ดับขันธปรินิพพาน...
โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกกิเลสที่เราต้องข้ามให้ได้ เค้าเรียกว่าโอฆะ จะเรียกอาสวะก็ได้ มีอยู่ ๔ ตัว โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ หมายถึงกิเลสที่เหมือนเราหล่นลงไปแล้วจมน้ำตายอยู่ในนั้นเลย พาให้เราจมตายอยู่ในสังสารวัฏ เวียนตายเวียนเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกนั่นเอง อาสวะเป็นกิเลสที่ยั่วย้อมใจทำให้กิเลสอย่างอื่นเข้ามาครอบงำจิตใจได้ องค์ธรรมของโอฆะหรือองค์ธรรมของอาสวะเป็นอันเดียวกัน คือมีกาม มีทิฏฐิ มีภพ มีอวิชชา มี ๔ อย่างนี้ มันเหมือนทะเลใหญ่ ๔ ทะเล เราจะต้องข้ามให้ได้ถ้าจะข้ามสังสารวัฏนะ ข้ามห้วงมหรรณพอันใหญ่ ในทะเลใหญ่นี้มีทะเลย่อยๆอยู่ ๔ อัน ต้องข้ามให้ได้ แต่ละอันข้ามยากมากเลย ทะเลอันที่ ๑ ชื่อว่าทิฏฐิ โอฆะอันที่ ๑ ชื่อ ทิฏฐิ ทิฏฐิคือความเห็นผิด เช่น เราเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ พอร่างกายนี้ตายไป จิตใจที่ไปเกิดใหม่ ยังเป็นจิตใจคนเก่าอยู่ จิตใจดวงเดิมไปเกิดใหม่ อันนี้เป็นมิจฉาทิฏฐินะ ชื่อสัสสตทิฏฐิ แท้จริงจิตไม่ได้ไปเกิดใหม่ จิตเกิดขึ้นตรงนี้ก็ดับตรงนี้ เกิดตรงตาก็ดับที่ตา เกิดที่หูก็ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจนั่นเอง จิตเกิดดับอยู่อย่างนี้ตลอด เหมือนเวลาที่เราตาย จิตดวงสุดท้ายในชีวิตนี้เรียกว่าจุติจิตดับลงไปปั๊บ มันเกิดจิตดวงใหม่ในชีวิตใหม่ เรียกว่า ปฏิสนธิจิต มันเกิดสืบเนื่องไปเรื่อยๆ มันไม่ใข่จิตดวงเก่า ไม่ใช่ตัวนี้ถอดออกจากร่างนะ ส่วนใหญ่ชอบคิดว่า วิญญาณเราออกจากร่างไปหาที่เกิดใหม่ อันนั้นเป็นมิจฉาทิฏฐิ ถ้าเราหัดภาวนาก็จะเห็นว่าจิตเกิดดับตลอดเวลา ไม่มีหรอกจิตที่อยู่นานๆ ถึงขนาดถอดออกจากร่างไปเกิดใหม่ได้ ไม่มี มิจฉาทิฏฐิอีกอย่างนึงคือคิดว่าถ้าตายแล้วสูญไปเลย พวกนี้เชื่อทางวัตถุ คิดว่าตายแล้วสูญไปเลย มองไม่เห็นความสืบต่อของจิต ถ้าเราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิพวกนี้ได้ต้องมาดูที่กายที่ใจของเรา จนเห็นความจริงของกายของใจนี้ จึงจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามความเห็นผิดได้ มิจฉาทิฏฐิมีเยอะนะ เช่น ไม่เชื่อเรื่องกรรมกับผลของกรรม ไม่เชื่อเรื่องการกระทำกับผลของการกระทำ ไม่เชื่อเรื่อง action กับ reaction พวกหนึ่งก็เชื่อว่าสัตว์มีเฉพาะที่เรามองเห็น เทวดา สัตว์นรก เปรต อสุรกาย พวกนี้ไม่มี เพราะตัวเองไม่เห็นก็ว่ามันไม่มี พวกนี้เป็นมิจฉาทิฏฐิทั้งนั้นเลย มันไม่เชื่อในปัญญาตรัสรู้ของพระพุทธเจ้านะ มันเป็นพวกมิจฉาทิฏฐิ ทีนี้เราจะข้ามมิจฉาทิฏฐิได้ยังไง มิจฉาทิฏฐิเป็นทะเลที่กว้างที่สุด ลักษณะของทะเลมิจฉาทิฏฐิคือทะเลที่กว้างมากเลย ไม่เห็นฝั่ง คนทั้งหลายที่ตกอยู่ในมิจฉาทิฏฐิจะเวียนว่ายตายเกิดซ้ำแล้วซ้ำอีกอยู่อย่างนั้นเอง เพราะไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ตรงไหน ขึ้นฝั่งไม่ได้ พระพุทธเจ้าท่านถึงสอนบอกว่าเราตถาคตไม่เห็นว่าอะไรจะมีโทษเท่ากับมิจฉาทิฏฐิเลย มิจฉาทิฏฐิมีโทษมากที่สุด ตัวศาสนาพุทธแท้ๆ นั่นแหละคือตัวสัมมาทิฏฐิ แล้วเราจะข้ามทะเลที่กว้างนี้นั้น เราไม่มีปัญญาจะข้ามด้วยตนเองเพราะเราไม่ใช่พระพุทธเจ้า อาศัยพระพุทธเจ้าท่านบอกทางให้ เหมือนท่านอยู่บนบกนะ ท่านตั้งประภาคารขึ้นมา เราเห็นแสงไฟแล้ว เรารู้ทิศทางแล้วว่าต้องเข้ามาทางนี้นะ ถึงจะเข้าฝั่งได้ ผู้ที่ข้ามทะเลทิฏฐิที่กว้างขวางอันนี้ได้คือพระโสดาบันเท่านั้น จะเป็นโสดาบันได้จะต้องเห็นความจริงของกายของใจ ถ้าเห็นความจริงก็จะล้างความเห็นผิดได้ เห็นความจริงของกายของใจ มันไม่เที่ยง มันเป็นทุกข์ มันเป็นอนัตตานะ มันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น ตั้งอยู่ แล้วก็ดับไป มันเป็นสิ่งที่ถ้ามีเหตุมันก็เกิดอีก ถ้าไม่มีเหตุมันก็ไม่เกิดอีก มันจะเห็นอย่างนี้ เพราะฉะนั้นมันจะไม่มีตายแล้วเกิดหรือตายแล้วสูญหรอก มันมีแต่ว่ามันสืบเนื่องไปเรื่อยๆ ถ้ามันมีเหตุ ถ้าไม่มีเหตุ คือไม่มีกิเลสแล้ว มันจะไม่สืบเนื่องไป แต่ก็ไม่ได้แปลว่าสูญนะ อย่าไปแปลว่าสูญนะ มันมีธรรมชาติอย่างหนึ่งซึ่งมีแต่ไม่มี หรือไม่มีความมี เป็นธรรมะอีกชนิดนึงซึ่งเรายังไม่รู้จัก มันไม่ใช่สาบสูญไปเลย เพราะฉะนั้นให้คอยมาดูกายมาดูใจมากๆ วันนึงละความเห็นผิดได้ ได้โสดาบัน ข้ามทะเลอันที่หนึ่งได้แล้ว คือทะเลของทิฏฐิ ทะเลตัวที่สองคือทะเลกาม ถ้าบอกว่าทะเลทิฏฐิคือทะเลที่กว้างหาขอบเขตไม่เจอนะ ทะเลกามนี้มีขอบมีเขต ขอบเขตของกามอยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ นี้เอง อยู่ที่ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ แต่ทะเลกามเป็นทะเลน้ำวนนะ จิตเราจะวนเที่ยวแสวงหาอารมณ์อยู่ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ อยู่ตลอดเวลา มันหิวตลอด มันหิวอารมณ์ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ จะหมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว อยู่ทั้งวัน เดี๋ยวก็อยากได้อารมณ์ทางตา เดี๋ยวอยากทางหู เดี๋ยวอยากทางลิ้น ทางจมูก ทางกาย ทางใจ จะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ อยู่ทั้งวันทั้งคืน เป็นทะเลตัณหานั่นเอง ทะเลของกาม หมุนติ้ว ติ้ว ติ้ว ไม่หยุด คนที่จะข้ามทะเลกามได้หรือทะเลน้ำวนนี้ได้ ต้องเห็นความจริงลงมาในกายนี้ได้ เห็นถ่องแท้เลย ตา หู จมูก ลิ้น กาย รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ที่เนื่องด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย ล้วนเป็นของไม่เที่ยง ล้วนเป็นของเป็นทุกข์ ล้วนเป็นของไม่ใช่ตัวเรา ถ้าเห็นอย่างนี้แจ่มแจ้ง เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆได้นะ ปล่อยวางความยึดถือกายได้ก็จะข้ามกามได้ แต่คำว่ากามนี้ ในตำรานะ ตำราชั้นหลังๆ อธิบายมากกว่านี้ กามไม่ใช่แค่กามราคะ ถ้ากามราคะนี่ แค่พระอนาคามีละได้ ถ้าไปถือเอารูปราคะ อรูปราคะเป็นกามด้วย ก็จะมีแต่พระอรหันต์ถึงจะละได้เด็ดขาด ทีนี้พวกเราเข้าใจยากอย่างนี้ ก็จะพูดแค่กามที่พวกเรารู้จักก็แล้วกัน พระอนาคาก็ละได้แล้ว เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนนี้ข้ามยากนะ ถูกดูด เห็นมั้ยมันดึงดูดใจเรา กามมันดึงดูดนะ ใครเคยได้ยินชื่อเจ้าคุณนรฯ บ้างมั้ย เจ้าคุณนรฯ แต่งกลอนไว้อันนึงนะ แต่งไว้เจ็บๆ แสบๆ นะ เออ..คนสมัยนี้อาจจะว่าไม่ค่อยสุภาพ ท่านบอกว่า บ่อน้อยเท่ารอยโค รอยโค คือบ่อน้อยเนี่ยเท่าตีนวัวเท่านั้นแหละ เท่ารอยตีนวัว บ่อน้อยเท่ารอยโค หรือจะโผข้ามพ้น หมายถึงข้ามยาก เป็นมหาเปรียญก็ยังเวียนไปหาก้น ท่านบอกอย่างนี้ ท่านว่าแสบนะ กามไม่ใช่ของสู้ได้ง่ายนะ ถ้าใจไม่ถึงจริงๆ สติปัญญาไม่แก่รอบจริงๆ รู้ลงมาไม่เห็นความจริงของกายนี้ มันยังรักกาย ยังหวงแหนกายอยู่ มันจะรักรูป รส กลิ่น เสียง โผฏฐัพพะ ไปด้วย ถ้าเราเห็นกายเรา มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ มันจะไม่รักรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ยกตัวอย่าง อย่างเราชอบอะไรที่นุ่มๆ ใช่มั้ย อย่างหนุ่มๆ นี่ ชอบสาวๆ ตัวนุ่มๆ ถ้าตัวเราเป็นแผลนะ เป็นแผลเหวอะหวะ ทั้งตัวเลย ใครมาถูกเรา เราก็เจ็บก็แสบ เราจะไม่อยากสัมผัสทางกายแล้ว ถ้าสติปัญญาเราแก่รอบจริงๆ เห็นกายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ เลยนะ มันจะไม่เอากาม มันจะไม่เอากาม เพราะฉะนั้นทะเลน้ำวนมันจะดูดเราไม่ได้ เพราะเรารู้แล้วว่ามันทุกข์นะ มันทุกข์ ทะเลที่สามนะมีชื่อว่าภพ ภวโอฆะ ภพก็คือ การทำงานของจิต มันก็เนื่องมาจากตัณหานั่นแหละ จิตของเรามันทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักเลย ปรุงแต่ง คิดนึกปรุงแต่ง ปรุงดี ปรุงชั่ว ปรุงสุข ปรุงทุกข์ มันปรุงทั้งวันทั้งคืน ทันทีที่จิตปรุงแต่งอะไรขึ้นมา จิตก็มีความทุกข์ขึ้นมาทุกที ทะเลภพนี้เป็นทะเลที่ไม่ใช่หมุนวนแล้ว มีลักษณะอีกชนิดหนึ่ง เป็นทะเลที่น้ำเชี่ยว มันพัดพาเราจากภพหนึ่งไปสู่อีกภพหนึ่งตลอดเวลาเลย จิตเราจะเปลี่ยนภพตลอดเวลานะ จากภพอันนึงไปสู่ภพอีกอันนึง จากภพหนึ่งไปสู่ภพอีกอันหนึ่ง เราจะเวียนตายเวียนเกิดไม่มีเงื่อนต้นเงื่อนปลายใดๆในสังสารวัฏนี้ แม้กระทั่งในชีวิตเดียวของเราขณะนี้ จิตของเราก็เปลี่ยนภพย่อยๆ อยู่ในใจตลอดเวลา เดี๋ยวเราก็เป็นคนดี เดี๋ยวเราก็เป็นคนร้าย เดี๋ยวเราเป็นนักปฏิบัติ เดี๋ยวเราเป็นจอมเจ้าเล่ห์แสนกล เดี๋ยวเราเป็นคนเมตตา เดี๋ยวเราเป็นคนขี้โมโห จิตใจเราเปลี่ยนภพอยู่ตลอดเวลา เวลาเราโมโหทีนะ เราก็เป็นสัตว์นรกที เพราะมันเป็นโทสะ เวลาเราโลภขึ้นมาทีนะ เราก็เป็นเปรตทีนึง เวลาเรายึดถือในความคิดความเห็น เราก็ไปอยู่ในภพของอสุรกายทีนึง เวลาเราใจลอยไป เผลอไป เหม่อไป เราไปภพของเดรัจฉาน ถ้าเราเป็นคนมีศีลมีธรรมนะ เราก็ไปภพมนุษย์ ถ้าเราเป็นคนที่มีหิริโอตตัปปะ ละอายบาป กลัวผลของบาป เราก็ไปภพของเทวดา ถ้าเรามีใจสงบ มีใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์อันเดียว เราก็ไปภพของพรหม จิตใจของเราหมุนเวียนอยู่ตามภพต่างๆ ภพทั้งหมดเป็นทุกข์ทั้งหมดนะ ไม่มีนะภพที่ไม่ทุกข์ ถึงเป็นพรหมเป็นเทวดาก็มีความทุกข์ ทุกข์แบบเทวดา ทุกข์แบบพรหม ไม่ว่าภพอะไรก็ลำบากหมดเลย มีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย นี่ถ้าสติปัญญาของเราแก่กล้าไม่พอ เราจะมองไม่ออก การจะข้ามทะเลน้ำเชี่ยวอันนี้ได้ มีทางเดียว ต้องละอวิชชาได้ เพราะฉะนั้นการข้ามภพ กับการละอวิชชานี้จะควบกันไป เป็นเรื่องของพระอรหันต์ที่จะเห็น ทะเลของอวิชชานี้ไม่เหมือนทะเลของทิฏฐิที่เป็นทะเลกว้างไม่มีขอบมีเขต หาฝั่งไม่เจอ ไม่เหมือนทะเลกามที่เป็นทะเลน้ำวน ไม่เหมือนทะเลภพที่เป็นทะเลน้ำเชี่ยว ทะเลของอวิชชาเป็นทะเลน้ำตื้น คลื่นลมสงบ แต่หมอกลง เป็นทะเลหมอกนะ เพราะฉะนั้นเราว่ายน้ำมาจนถึงริมฝั่งแล้ว ขึ้นฝั่งไม่ได้หรอก ว่ายไปว่ายมานะมันหลุดออกไปทะเลลึกได้อีกนะ เพราะฉะนั้นอย่างปุถุชนหลายคนนะ ที่คิดจะสู้อวิชชา ไม่ได้กินหรอก แป๊ปเดียวก็กลับไปมีทิฏฐิอย่างเดิม อย่างถ้าเราไม่ใช่พระอนาคานะ จะมาริหาญสู้อวิชชา มวยคนละชั้นนะ แป๊ปเดียวก็หลงกามไปอีกแล้ว หลงในกาม หลงในทิฏฐิอีกแล้ว ถ้าไม่ใช่พระอนาคานะ ทีนี้เราจะละอวิชชา ทะเลน้ำตื้นหรือทะเลหมอกนี้ได้ต้องมีวิชชา คือรู้แจ้งอริยสัจจ์ก่อน การรู้แจ้งอริยสัจจ์นี้ทำให้เราขึ้นฝั่งได้ ถ้ายังไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ได้นะ จะขึ้นฝั่งไม่ได้ พระไตรปิฎกสอนไว้ว่า ตราบใดที่ไม่รู้แจ้งอริยสัจจ์ ยังข้ามภพไม่ได้ ยังวนเวียนอยู่ในสังสารวัฏ เพราะฉะนั้นการเรียนธรรมะนะ ต้องรู้แจ้งอริยสัจจ์ถึงจะข้ามภพข้ามชาติได้ ข้ามทุกข์ได้ ถ้ารู้แจ้งอริยสัจจ์ซะอย่างเดียว ทิฏฐิก็ไม่มี กามก็ไม่มีนะ ภพก็ไม่มี อวิชชาก็ไม่มี การรู้แจ้งอริยสัจจ์ตัวที่ ๑ เรียกว่า ทุกขสัจจ์ ทุกขสัจจ์คืออะไร คือกายกับใจนี้เอง เพราะฉะนั้นหน้าที่ของผู้ปฏิบัติ ตั้งแต่เบื้องต้นเลย จนสุดท้ายมีแต่การรู้กายรู้ใจตนเอง รู้ลงมาเรื่อยๆ กายของเราเป็นยังไง รู้สึกไว้ จิตใจของเราเป็นยังไง คอยรู้สึกไว้ อย่าลืมกาย อย่าลืมใจ ถ้าลืมกายลืมใจเรียกว่าขาดสติ แต่ก็ห้ามเพ่งกายเพ่งใจ ให้รู้กายรู้ใจ ไม่ได้ให้เพ่งกายเพ่งใจ ไม่ได้ให้กำหนดกายกำหนดใจ คนละเรื่องเลยนะ รุ่นหลังๆ นี้ชอบกำหนดนะ กำหนดเป็นสมถะ กำหนดลงไป จิตจะไปแน่วไปนิ่งอยู่ในอารมณ์อันเดียว บังคับให้อยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าบังคับไม่เป็น หรือบังคับแบบฝืนใจ ก็จะหนักๆขึ้นมา แน่นๆ แข็งๆ ทื่อๆ เครียดๆ ขึ้นมา ถ้าน้อมใจเก่ง จะสงบ จะสบาย จะโปร่ง โล่ง เบานะ จะเป็นสมาธิไปอีกแบบนึง แต่ส่วนใหญ่ที่พวกเราทำจะเป็นมิจฉาสมาธิแท้ๆ เลย เป็นสมาธิที่หนักๆ แข็งๆ ตัวก็เกร็งๆ กายก็เกร็งๆ ใจก็เกร็งๆ ใช้ไม่ได้จริงนะ เราคอยรู้สึกนะ คอยรู้ รู้ลงมาในกาย รู้ลงมาในใจ ร่างกายของเราเคลื่อนไหวคอยรู้สึก จิตใจของเราเคลื่อนไหวเราคอยรู้สึก แต่อย่าไปเพ่งให้นิ่ง ไม่ใช่คอยบังคับกายให้นิ่ง จะเดินก็เดินไม่เหมือนคนธรรมดา คล้ายๆ ผีดิบนะ เดินต้องตัวทื่อๆ อย่างนั้นใช้ไม่ได้นะ จิตใจก็อย่าไปข่มให้มันซึมกะทือซื่อบื้ออยู่อย่างนั้นทั้งวันทั้งคืน เราต้องการเห็นความจริงของกายของใจ เพราะฉะนั้นอย่าไปบังคับมัน แต่คอยดูมันไป แต่ถ้ามันจะเอากายเอาใจไปทำผิดศีลห้าไม่เอานะ ตรงนี้ต้องฝืนใจ ศีลห้านี้มาตรฐานปราการขั้นสุดท้ายแล้ว มาตรฐานของเราเลย ถ้าขาดศีลห้าเราไม่ใช่มนุษย์แล้ว ต้องระมัดระวังนะ ขนาดพระโพธิสัตว์ยังตกนรกได้เลย นับประสาอะไรกับพวกเราจะไม่ตก ยังเชื่อใจตัวเองไม่ได้นะ อย่าประมาทกิเลสนะ
วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิต วันก่อนโน้น หลวงพ่อ ไม่ค่อยได้ฟังธรรมะที่สะใจมานานแล้ว ธรรมะที่สะใจครั้งสุดท้ายที่ได้ยินนะ คือ หลวงพ่อคำเขียน ไปหาท่าน ไปเยี่ยม ท่านไม่สบาย เมื่อเดือนพฤศจิกาฯ ท่านบอกว่า โอ๊ย.. ผมไม่มีอะไรแล้ว ผมอยู่กับความไม่มีไม่เป็นอะไรหรอก อู๊ยสะใจ สะใจจริงๆ จริงๆเราอยู่กับความไม่มีไม่เป็น แต่ความสำคัญมั่นหมายของเราเพราะความเห็นผิดนั่นนะ ไปสำคัญว่ามันมีมันเป็นขึ้นมา มันมีเรามีเขาขึ้นมา กว่าเราจะข้ามทิฎฐิ ที่ว่ามันมีเรามีเขาขึ้นมาได้นี้นะ ข้ามยาก อันนี้เป็นทะเลหรือเป็นมหาสมุทรอันแรกนะ ของผู้ปฎิบัติ เรียกว่าโอฆะ โอฆะแปลว่าห้วงน้ำห้วงมหาสมุทรอะไรอย่างนี้ มหาสมุทรในโลกมันมีกี่อัน จำไม่ได้แล้ว เคยเรียน แต่มหาสมุทรในการปฏิบัตินี้มันมี ๔ อันนะ ต้องข้ามให้ได้ให้หมดเลย มีทะเลอยู่ ๔ ทะเล ถ้าข้ามได้หมดก็จะเอาตัวรอดได้ มหาสมุทรอันแรกเลย คือ ทิฎฐิ ทะเลคือทิฎฐิ คือความเห็นผิดของเรานี้แหละ เราไปเห็นผิดในของที่ไม่มีตัวมีตน ว่ามีตัวมีตนขึ้นมา เวลาเรามองโลกแล้วสะดุดปั๊บขึ้นมาเลย เกิดเราเกิดเขา เกิดสัตว์เกิดคน เกิดต้นไม้ เกิดสิ่งโน้น เกิดสิ่งนี้ โลกนี้ลุ่มๆดอนๆ ในทางมหายานนะเคยมีสูตรอยู่สูตรหนึ่ง พระสารีบุตร ไปบอกพระพุทธเจ้าบอกว่า พระองค์ สร้างบารมีไม่ค่อยดีเท่าไร พุทธเกษตรของ.. หรือโลกของพระองค์ดูลุ่มๆดอนๆ พวกพระโพธิสัตว์ก็เถียง บอกว่าไม่จริงหรอก พุทธเกษตรของพระพุทธเจ้าเนี่ยเรียบเลย ราบเรียบไปหมดเลย ไม่มีความเป็นลุ่มเป็นดอน ไม่มีอะไรสะดุดขึ้นมาเป็นตัวเป็นตนได้เลย มันว่างเปล่า แต่ไม่ใช่ว่างแบบไม่มีอะไร จริงๆนี่ก็แต่งเกินไป พระสารีบุตรไม่ได้โง่ขนาดนั้นหรอก สาวกรุ่นหลังๆ ภาวนาไปยังเห็นโลกว่างได้เลย ทำไมพระสารีบุตรท่านจะไม่เห็น มิจฉาทิฎฐิ เป็นสิ่งแรกที่พวกเราต้องภาวนา แล้วก็ข้ามมันให้ได้ คือเราสำคัญมั่นหมายว่ากายนี้ใจนี้คือตัวเรา เราไปแบ่งแยกสมบัติของโลกส่วนหนึ่งออกมาเป็นตัวเราขึ้นมา ส่วนที่เหลือมันก็เป็นคนอื่น เป็นสิ่งอื่นๆ เป็นสิ่งที่แวดล้อมอยู่ ไปแบ่งตัวเองออกมา สำคัญมั่นหมายว่ามี ว่าเป็น เป็นโน่นเป็นนี่ด้วยนะ เป็นใหญ่เป็นโต เป็นคนดีเป็นคนเลว เป็นพวกทุศีลเป็นพวกมีศีล แบ่งตัวเองออกไปจากธรรมชาติ ซึ่งไม่มีอะไรอยู่แล้ว เสมอภาคกันทั้งหมด พอมีตัวเราขึ้นมาก็มีมิจฉาทิฎฐิต่อไปอีก ถ้าตัวเราตายไป เราไปเกิดอีก ตัวเราเที่ยง จิตเรานี้เที่ยง ร่างกายแตกสลายไป จิตนี้ยังไม่เกิดได้อีก นี่ก็มิจฉาทิฎฐิแขนงหนึ่ง เรียกว่า สัสตทิฎฐิ อีกพวกหนึ่งเห็นว่าตัวเรามีอยู่ แล้วตายไปก็หายไปเลย นี่ก็เป็นมิจฉาทิฎฐิอีก เรียกว่า อุจเฉทิกทิฎฐิ รากเหง้าของมันก็เริ่มมาจากความมีตัวเรานี่แหละ มีตัวเราแล้วก็มีตัวเราอย่างเที่ยงแท้ถาวร หรือมีตัวเราชั่วครั้งชั่วคราวแล้วก็หายสาบสูญไป ทะเลทิฎฐินี้จะข้ามได้ต้องเป็นพระโสดาบัน เพราะฉะนั้น ๔ ทะเลนี้ พวกเรายังข้ามไม่ได้สักทะเลหนึ่งเลยนะ ข้ามได้แค่ริมทะเลอะไรอย่างนี้ เที่ยวๆไปอย่างนี้ จะข้ามทิฎฐิตัวนี้ได้ต้องมีสติ มีปัญญา มีสัมมาสมาธิ มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี่ มีใจที่ตั้งมั่นเป็นสัมมาสมาธิ สักว่ารู้ สักว่าดู เวลาดูกายจะรู้สึกเหมือนว่ากายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง เวลาดูเวทนาคือความรู้สึกสุขรู้สึกทุกข์ มันจะรู้สึกว่าเวทนาอยู่ส่วนหนึ่งจิตก็อยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างนะ ไม่ ไม่เป็นอันเดียวกัน มีช่องว่างมาคั่น เวลาดูจิตที่เป็นกุศล อกุศล จะเห็นเลย อกุศลหรือกุศลทั้งหลายนะ กับจิตเนี่ยคนละอันกัน มีช่องว่างมาคั่น พวกเราดูออกแล้วใช่มั้ย เนี่ยเราดูไปเรื่อยนะ ใจเราตั้งมั่นจะสักว่ารู้สักว่าดูได้ เสร็จแล้วปัญญามันถึงจะเกิด มันจะเห็นเลย ทุกสิ่ง ทุกสิ่งทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้าล้วนแต่มีเหตุก็เกิด หมดเหตุก็ดับไป บังคับไม่ได้สักอันเดียว ดูมาจนกระทั่งถึงจิตที่เป็นผู้รู้ผู้ดูนี่เอง ก็เห็นมันเกิดดับ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง เป็นผู้รู้บ้าง เป็นผู้หลงบ้าง ดูไปดูมาในขันธ์ ๕ นี้ ไม่มีตัวตนที่แท้จริง ไม่มีตัวเราที่แท้จริง ให้มีสติรู้ลงมาในกายในใจนี้นะ ถึงจะละมิจฉาทิฏฐิได้ ข้ามทะเลตัวแรกได้ เหลืออีก ๓ ทะเล ข้ามยากนะ ทะเลหรือโอฆะตัวต่อไปคือกาม ข้ามยาก พวกเรา เห็นแต่กามคุณ เราไม่เห็นกามโทษ ทำให้เราข้ามไม่ได้ กามคืออะไร กามก็คืออารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ อย่างเราเห็นรูปที่สวยๆอย่างนี้ รูปนั้นเรียกว่ากาม หูเราได้ยินเสียงที่เพราะๆ ถูกอกถูกใจ เรียกว่ากาม กลิ่นหอมๆ ถูกอกถูกใจ นี่เขาเรียกว่ากาม รสอร่อยๆก็เรียกว่ากาม สัมผัสที่นุ่มนวล อบอุ่น สบาย อะไรอย่างนี้ ก็เรียกว่ากาม การคิดคำนึงถึงอารมณ์เหล่านี้ เป็นกามทางใจ เรียกว่า กามธรรม พวกเราเกิดมา เราก็แสวงหาแต่อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจมาตลอดชีวิต เราเห็นว่าถ้าได้อารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจได้แล้วเราจะมีความสุข งั้นเราเห็นว่ากามเนี่ยนำความสุขมาให้ ยากนักยากหนานะจะกล้าข้ามพ้นอำนาจของกามได้ ถ้าไม่ใช่พระอนาคามีข้ามไม่ได้ ทีนี้ทำอย่างไรถึงจะข้ามพ้นทะเลอันที่สองคือทะเลกาม เคยได้ยินใช่มั้ย คนชอบพูดทะเลกาม แต่ไม่มีคนพูดทะเลทิฎฐิใช่มั้ย เพราะอะไร เพราะคนพูดเนี่ยยังมีทิฎฐิอยู่ ก็พูดไปอย่างนั้นแหละ ทะเลกาม ข้ามยาก ข้ามยาก ต้องรู้ลงมาอีก รู้ลงมาในกายในใจนี้น่ะนะมากๆ จนวันใดเห็นนะว่ากายนี้เป็นทุกข์ล้วนๆ ตา หู จมูก ลิ้น กาย เป็นทุกข์ล้วนๆ เห็นอย่างนี้ มันจะหมดความเพลิดเพลินยินดีพอใจในรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลาย หมดความติดอกติดใจในกามคุณทั้งหลาย มันหมดของมันเองนะ ถ้ามันเห็นตัวนี้.. อย่างสังเกตมั้ย คนไหนเจ้าชู้มากๆนะ เกิดเจ็บหนักใกล้จะตายนะ หรือตัวเป็นแผลทั้งตัวแล้ว อะไรมาถูกนิดนึงก็แสบก็ปวดเนี่ย ให้มันไปกอดนางงามจักรวาลมันก็ไม่เอานะ เพราะมันไม่มีความสุขแล้ว ถ้าเมื่อไรเราเห็นกายนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ มันจะไม่สนใจกามแล้ว จะไม่สนใจกามแล้ว ตาเห็นรูปจะสักว่าเห็นเลย ไม่ยินดีไม่ยินร้ายกับมันแล้ว หูได้ยินเสียง จมูกได้กลิ่น ลิ้นได้รส กายสัมผัส นะ จิตใจจะไม่ยินดียินร้าย มันไม่รักกายก็จะไม่รักกาม ทะเลทิฏฐิเหมือนทะเลที่กว้างนะ ถ้าเทียบ เหมือนทะเลที่กว้างขวางไร้ขอบไร้เขต หลงเข้าไปแล้วไม่รู้จะไปทางไหนเลย ไม่รู้เหนือรู้ใต้ เพราะฉะนั้นปุถุชนทั้งหลาย หลงอยู่ในทะเลที่ไม่รู้ว่าฝั่งอยู่ทางไหน มีพระพุทธเจ้ามาบอกทาง ทางนี้.. ทางนี้.. นะ คนที่รู้ทางเรียกว่าพระโสดาบัน รู้แล้ว ไปทางนี้แหละ ปลอดภัย งั้นจะข้ามทะเลทิฏฐิได้นะ ยาก เป็นทะเลที่กว้าง ไร้ขอบไร้เขต ดูอะไรดูไม่ออกหรอก ดูยาก แต่ข้ามได้ด้วยการที่เห็นลงมาในกายในใจว่าไม่ใช่เรา ทะเลกามนี้จะข้ามได้ เมื่อหมดความยึดถือกาย หมดความยึดถือในกาย ถัดจากนั้นเหลืออีกสองทะเลนะ คือทะเลของภพ และทะเลของอวิชา เรียกว่า ภวะโอฆะ กับ อวิชาโอฆะ โอฆะคือภพ โอฆะคืออวิชา ห้วงน้ำ ภพคืออะไร ภพคือการทำงานของจิต สังเกตมั้ยพวกเราภาวนา เห็นมั้ย จิตทำงานทั้งวันทั้งคืน หมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืน เห็นมั้ยจิตเดี๋ยวก็วิ่งพล่านๆไปทางตา เดี๋ยววิ่งพล่านๆไปทางหู วิ่งพล่าน ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ ทำงานทั้งวันทั้งคืน ไม่เคยหยุดพักนะ จิตนี้สร้างภพสร้างชาติหมุนติ้วๆอยู่ภายในตลอดวันตลอดคืน จะข้ามมันไม่ใช่ง่ายนะ แค่เห็นมันยังยากเลย ภาวนากว่าจะเห็นจิตเข้าไปทำงานตรงนี้ยังยากแสนเข็ญเลย รู้สึกมั้ย นะ จะข้ามทะเลของภพได้นะ ภพนี้เหมือนทะเลที่น้ำเชี่ยว เพราะหมุนจี๋ จี๋ จี๋ ทั้งวันทั้งคืนนะ เดี๋ยวซัดไปทางโน้นซัดไปทางนี้ นะ กระแสน้ำนี้รุนแรง กระแสน้ำที่ซัดจิตใจเราวิ่งไปวิ่งมา พล่านๆทำงานไปในภพก็คือ ตัณหา นั่นเอง ตัณหาเป็นเหมือนคลื่นลูกใหญ่เลย เหมือนกระแสน้ำเชี่ยวที่ซัดเราไป ซัดไปไม่รู้ทิศทางเลยนะ สร้างภพไปเรื่อย เดี๋ยวไปเกิดที่ตา เกิดที่หู เกิดที่จมูก ที่ลิ้น ที่กาย ที่ใจ จะข้ามภพข้ามชาติได้ ก็ต้องละตัณหาได้ ทีนี้ตัณหาเกิดจากอะไร ตัณหาเกิดจากอวิชา นี้ ทะเลตัวสุดท้ายนี้ ข้ามยากที่สุด ถ้าข้ามตัวนี้ได้นะ จะหลุดจากน้ำเชี่ยวนี้ได้ด้วย อวิชาเหมือนทะเลหมอก น้ำสงบนะ ไม่มีคลื่น ไม่มีลม สบายๆ แต่เหมือนมีหมอกปกคลุมจนไม่รู้อะไรเลย บางทีเราอยู่ห่างฝั่งใช่มั้ย ถูกคลื่นซัดตูมตาม ตูมตาม กระเสือกกระสนเข้ามา จนจะถึงฝั่งอยู่แล้ว เกือบถึงฝั่งแล้วนะ มันมีหมอกลง มันมองไม่เห็น ว่ายไปว่ายมา ว่ายออกทะเลลึกไปอีกแล้ว เพราะฉะนั้นข้ามอวิชานี้ยากที่สุดเลย ทะเลตัวนี้จะข้ามได้ต้องเห็นอริยสัจจ์ เห็นไม่เหมือนกันนะ เห็นมั้ย เห็นอริยสัจจ์ เห็นแจ้งอริยสัจจ์ อริยสัจจ์ที่ตัวลึกซึ้งที่สุดเลย คือการเห็นว่าจิตเป็นทุกข์นี่เอง นะ เราภาวนาไปนาน เราเห็นแต่จิตเป็นสุข เพราะจิตเริ่มสงบแล้ว ใช่มั้ย ข้ามทะเลโน้นทะเลนี้มาถึงภพที่สงบ ภพที่ไม่มีคลื่นมีลมแล้ว จิตใจก็พอใจ รักใคร่พอใจอยู่แค่นี้แหละ สบายใจแล้ว เสร็จแล้วก็ว่ายกลับไปกลับมาแล้ว ถูกคลื่นซัดออกไปอีกแล้ว ถ้าเป็นปุถุชนเนี่ย ซัดไปหาทิฎฐิเลย เกิดมิจฉาทิฎฐิได้เรื่อยๆนะ ถ้าไม่ใช่พระอนาคาฯ ก็หลงไปในกามได้อีก เพราะฉะนั้นมันพร้อมจะถอยหลังได้ ทีนี้จะละอวิชาได้นะ ต้องรู้อริยสัจจ์ รู้ลงมานะ กายนี้ใจนี้เป็นทุกข์ล้วนๆเลย พวกเรามีแต่อวิชา เราเห็นว่ากายนี้ใจนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง นี่อวิชานะ อวิชาพาให้เห็น ไหนสารภาพมา มีใครรู้สึกมั้ย กายนี้ เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง มีมั้ย สารภาพ มีผู้ร้ายปากแข็งครึ่งห้อง นะ ไม่ยอมสารภาพ นะ พวกเรารู้สึกมั้ย จิตนี้เป็นทุกข์บ้างเป็นสุขบ้าง เห็นอย่างนี้แหละ อวิชา ถ้าเห็นอย่างมีวิชา ก็จะเห็นว่า ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ทุกข์บ้างสุขบ้าง เห็นยากนะ ถ้าสติ สมาธิ ปัญญา ไม่แก่กล้าพอ มันไม่เห็นขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ โดยเฉพาะจิตเนี่ย จิตผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ผู้สงบ สะอาด สว่าง แหมฟังแล้วดีทั้งนั้นเลย ใช่มั้ย จะให้เห็นว่าเป็นทุกข์ล้วนๆ ไม่ใช่ง่ายนะ ปฎิบัติกันปางตายเลยล่ะ เหมือนเอาชีวิตเข้าแลกเลยนะ ถึงจะเห็น เพราะฉะนั้นทะเลตัวนี้ ทะเลอวิชา เป็นทะเลที่เรียบๆนะ แต่ยากสุดๆเลย ยากมากเลย จับต้นจับปลายไม่ถูก นะ มีแต่เรียนรู้นะ มาตามลำดับๆ รู้กาย รู้ใจมาตามลำดับ พอรู้กายถูกต้องแจ่มแจ้งได้พระอนาคาฯ จิตใจก็จะสบายขึ้นเยอะเลย จะไม่แส่ส่ายไปทาง ตา หู จมูก ลิ้น กาย จะเหลือแต่ความสงบสุขอยู่ภายใน เพลิดเพลินอยู่กับความสงบสุขภายในจิตในใจของเราเอง นี่เอง ต่อมาสติปัญญาแก่รอบลงมาอีก เห็นเลย ตัวจิตตัวใจที่ว่าสุขว่าสงบเนี่ย เอาเข้าจริงก็เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ ตัวนี้ไม่รู้ว่าจะพูดภาษามนุษย์ยังไงนะ ฟังเอาไว้ก็แล้วกัน มันเห็นเป็นทุกข์ล้วนๆเมื่อไหร่นะ มันจะทิ้งแล้ว จะวาง แต่ถ้ายังเห็นทุกข์บ้างสุขบ้าง มันไม่วางหรอก มันทุกข์ล้วนๆ โอ้ ขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ล้วนๆ ตัณหาจะดับทันทีเลย เมื่อมันเป็นทุกข์ล้วนๆแล้วจะอยากให้มันสุขได้อย่างไร นะ ของเรามีตัณหาขึ้นมาเพราะอยากให้ขันธ์ ๕ มีความสุข รู้สึกมั้ย อยากให้ขันธ์ ๕ พ้นทุกข์ แต่วันหนึ่งเรียนจนกระทั่งรู้ชัดเลย ขันธ์ ๕ นี่ทุกข์ล้วนๆน่ะ ไม่มีทางอยากให้มันมีความสุข ไม่มีทางอยากให้มันพ้นทุกข์อีกต่อไปแล้ว มันไม่สมหวัง มันทุกข์ล้วนๆ เนี่ย ใจเข้าถึงตรงนี้ ใจยอมรับตรงนี้จริงๆแล้วจะสลัดคืนเลย จะหมดตัณหาแล้วก็สลัดคืนความยึดถือกายความยึดถือใจให้โลก คืนเจ้าของเดิมนั้นเอง จิตใจก็จะเข้าถึงความสงบ สันติ ที่แท้จริง คือ นิโรธ หรือ นิพพาน บางทีก็มีหลายชื่อนะ อุปสมะ ก็ได้ นะ มีหลายชื่อเยอะแยะเลย ชื่อ ความจริงก็คือ ความสงบ สันติ ซึ่งมันพ้นทุกข์ พ้นกิเลส พ้นความยึดถือในธาตุในขันธ์ ในกาย ในใจ นี้เอง พอพ้นปั๊บเราจะเห็นโลกนี้ มี แต่ไม่มีอะไร โลกนี้มีอยู่ แต่ไม่มีอะไรเลย ว่างเปล่า ว่างเปล่าไม่ใช่แปลว่า ไม่มีอะไรเลย มันว่างเปล่าจากความเป็นตัวเป็นตน ว่างเปล่าจากกิเลส ว่างเปล่าจากขันธ์ ว่างเปล่าจากทุกข์ มันมีอยู่ของมันตามสภาพของมัน มันเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไปตามสภาพของมัน แต่จิตใจที่ฝึกฝนอบรมจนกระทั่งไม่ยึดถือในจิตแล้วเนี่ย จะไม่ยึดถืออะไรในโลกอีก เห็นโลกนี้มีแต่ไม่มี ว่างเปล่าอยู่อย่างนั้นเอง จิตใจมีแต่ความสุขล้วนๆ สุขแบบนึกไม่ถึงนะ สุข สุขที่สุดเลย มีความสุขมาก ไม่รู้จะใช้ภาษาอะไร พระพุทธเจ้าท่านก็เลยใช้เอาง่ายๆ “นิพพานัง ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย ไม่รู้จะใช้คำอะไรแล้ว ท่านใช้คำว่า “ปรมัง สุขัง” บรมสุขเลย ความสุขของโลกๆที่พวกเรารู้สึกน่ะนะ รู้จักกันนะ ความสุขลุ่มๆดอนๆ สุกๆดิบๆ เป็นความสุขร้อนๆ สุกๆ เผ็ดๆ นะ เผ็ดร้อนรุนแรง สุขชั่วครั้งชั่วคราวได้มาแล้วก็เสียไป ตะกายหาอีก จับได้ปั๊บหลุดมือไปอีกแล้ว อย่างนี้ตลอดชีวิตเลย เดินทางในสังสารวัฏฏ์นะ ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ ข้ามมหาสมุทรสี่อันนี้ไม่ได้ ก็ข้ามภพข้ามชาติไม่ได้ เพราะฉะนั้นตั้งอกตั้งใจนะ อันแรก ต่อสู้กับมิจฉาทิฎฐิของตัวเองก่อน ทะเลอันที่หนึ่ง มิจฉาทิฎฐิ คือ ความเห็นผิดว่าตัวเรามีอยู่จริงๆ วิธีจะดูให้เห็นว่าตัวเราไม่มีนะ ไม่ใช่ไปนั่งคิดเอาว่าตัวเราไม่มี คิดยังไงมันก็เชื่อว่า “ฉันมี” แต่ฉันแกล้งไม่มี นะ มันจะแกล้งทำ ให้เรารู้ลงในกาย รู้ลงในใจ อะไรก็ได้ เริ่มจากกายก็ได้ ถ้าเริ่มจากกายถูกต้องก็จะรู้ใจ หรือจะเริ่มจากใจก่อนก็ได้ ถ้าเริ่มรู้ใจถูกต้องก็จะรู้กายด้วย นะ จะรู้สองอัน ไม่รู้อันเดียว ถ้าคนไหนภาวนาแล้วรู้อันเดียว ทำผิดแน่นอนนะ เพราะจริงๆมันมีสองอัน จะมารู้อันเดียว เลือกรู้อันเดียว ทำผิดแล้ว เช่นบางคนจะดูแต่ลมหายใจอย่างเดียว ให้ลืมโลกไปเลย โลกนี้เหลือแต่ลมหายใจ เนี่ยสะสมมิจฉาทิฎฐินะ แทนที่จะละมิจฉาทิฎฐิ จะรู้สึก “กูเก่งๆ” “กูบังคับจิตให้อยู่กับลมได้” หรือ “กูบังคับจิตให้อยู่กับท้องพองยุบได้” จิตไม่หนีไปที่อื่นเลย “กูเก่งๆ” ความจริงต้องรู้ ตามที่เขาเป็น ตามความเป็นจริง ของเราก็คือมันมีทั้งกายมีทั้งใจนะ เดี๋ยวก็รู้กาย เดี๋ยวก็รู้ใจไป ถ้าจะรู้กาย เราก็เห็นร่างกายนี้ มันยืน มันเดิน มันนั่ง มันนอนไป ใจเป็นแค่คนรู้มัน ถ้าจะรู้จิตใจเราก็เห็นจิตใจเคลื่อนไหว ทำงานไป พอมีการเคลื่อนไหวทางกาย เช่น ตามองเห็น จิตใจก็เคลื่อนไหวตาม หู ได้ยินเสียง เช่น เขาด่ามา ใจก็เคลื่อนไหว คือ โทสะเกิดขึ้น นะ มันเนื่องกัน ทั้งกายทั้งใจ ไม่ใช่รู้อันเดียวนะ ถ้าจงใจไปรู้อันเดียวเป็นสมถะ เป็นสมถกรรมฐาน ถ้ารู้ถูกต้อง มันรู้ทั้งกายรู้ทั้งใจ เห็นกายนี้ ยืน เดิน นั่ง นอน ใจเป็นคนดูไป ถ้าทำอย่างนี้ได้ก็จะเห็นเลย กายนี้ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้าเท่านั้นเอง เป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุ มันไม่บรรยายอย่างที่หลวงพ่อพูดนะ มันจะรู้สึกแค่ว่ามันไม่ใช่เราหรอก ไม่ใช่ว่าต้องมาพร่ำรำพัน เป็นของไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นธาตุ เป็นขันธ์ มันไม่พูดนะ เป็นความรู้สึกเท่านั้นแหละ รู้สึกถึงความไม่ใช่ตัวเรา ดูลงมาในเวทนา ในความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ เราจะเห็นเลย ความรู้สึกสุข รู้สึกทุกข์ ก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า จะเห็นอย่างนี้ นะ กุศล อกุศลทั้งหลาย นะ ที่เรียกว่าสังขาร กุศล อกุศลทั้งหลาย โลภ โกรธ หลง ทั้งหลายก็เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ไม่ใช่เราอีก ดูไปอย่างนี้ ตัวจิตเองล่ะ จิตเดี๋ยวก็เกิดที่ตา ดับที่ตา เกิดที่หู ดับที่หู เกิดที่ใจก็ดับที่ใจ จิตเกิดที่ไหนก็ดับที่นั่น นะ ไม่ใช่มีจิตดวงเดียววิ่งไปวิ่งมา ถ้าเห็นว่าจิตมีดวงเดียววิ่งไปวิ่งมาเป็นมิจฉาทิฏฐินะ หลวงปู่หล้า ภูจ้อก้อ ท่านสอนดี ท่านบอกว่า ถ้าใครเห็นว่า จิตผู้รู้เที่ยง เป็นมิจฉาทิฎฐิ ตัวผู้รู้เองก็ไม่เที่ยง เป็นผู้รู้แล้วก็เป็นผู้หลง เดี๋ยวก็หลงไปทางตา หลงไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ เนี่ยดูลงมาในกายในใจบ่อยๆ ดูจนเห็นความจริงเลย มันไม่ใช่ตัวเราสักอันเดียวเลยนะ ร่างกายมันก็เป็นแค่วัตถุ พวกเราลองทดสอบนะ เอ้า แก้ง่วงไปด้วย เอามือของตัวเองมา แล้วลองลูบดู ลองสัมผัสดูไปรู้สึกมั้ย มันเป็นท่อนๆแข็งๆรู้สึกมั้ย เนี่ย รู้สึกนะ รู้สึกไว้ แล้วลองตั้งใจฟังมันบอกมั้ยว่ามันเป็นตัวเรา มันเงียบๆ รู้สึกมั้ย มันไม่พูดหรอก จริงๆเราไปขี้ตู่ว่ามันเป็นตัวเรานะ จริงๆ เนี่ย ลองจับลงไปสิ เป็นก้อนแข็งๆอะไรก้อนหนึ่ง ถ้าเราจับไปนะเราจะรู้สึก มันไม่มีตัวเราในก้อนนี้แล้ว เวลาความสุขความทุกข์เกิดขึ้นเราก็รู้ไปตรงๆ เหมือนที่เรารู้สัมผัสมืออย่างนี้ กุศล อกุศล เกิดขึ้นก็รู้มันเข้าไปตรงๆนั้นแหละ แล้วมันจะบอกเรามั้ยว่าเป็นตัวเรา ไม่มีพูดสักคำหนึ่ง ความเป็นตัวเราจริงๆไม่มี ความเป็นตัวเราเกิดจากความคิดล้วนๆเลย คิดเอาเองว่าเป็นเรา ถ้าไม่ไปหลงอยู่ในโลกของความคิดนะ กายนี้ใจนี้ก็ไม่ใช่ตัวเรา เนี่ย พอเราเห็นซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ นะ ถึงจุดหนึ่งจิตมันจะรวมเข้ามา มันจะเข้าสมาธิ รวมเอง ตั้งแต่ปฐมฌานขึ้นไป จิตมี ปีติ สุข เอกัคคตา มีวิตกวิจารณ์คือการตรึกถึงอารมณ์ การตรองเคล้าเคลียอยู่ในอารมณ์นั้น อารมณ์อะไร อารมณ์นิพพาน จิตจะรวมเข้ามานะ ขั้นแรกพอรวมเข้ามาปั๊บ มันจะเห็นสภาวธรรม อะไรก็ไม่รู้ นะ ไม่รู้ว่าคืออะไร นะ ถ้ายังรู้ว่าคืออะไรนี่ยังเจือด้วยสมมุติบัญญัติ ไม่ใช่ของจริง จิตจะเห็นสภาวธรรมบางอย่าง เกิดดับ เกิดดับ เกิดดับ ขึ้นมา บางคนเห็นสองครั้ง บางคนเห็นสามครั้ง เห็นสองทีเนี่ย จิตก็วางการรับรู้อารมณ์นั้นแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ทวนกระแสเข้ากลับมาหาธาตุรู้ จากนั้นสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังธาตุรู้ไว้ จะถูกแหวกถูกทำลายออกชั่วขณะ จะแหวกออก จิตที่เป็นอิสระล้วนๆเลยที่สัมผัสกับธรรมะคือนิพพานล้วนๆเลยจะปรากฎขึ้นมา เสร็จแล้วจิตจะถอยออกมานะ ตรงนี้ไม่มีคำพูดนะ แว้บเดียวเอง แต่มีสติ มีสมาธิ มีปัญญา พร้อมอยู่ตรงนี้เลย พอถอยออกมากลับมาสู่โลกภายนอก จิตจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่า อ้อ..เมื่อตะกี้นี้เกิดอริยมรรคขึ้นแล้ว สังโยชน์เบื้องต้นถูกละไปแล้ว ความเห็นผิดถูกละไปแล้ว กายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ดูยังไงก็ไม่เป็นเราอีกต่อไปแล้ว จะละความเห็นผิดได้ จะหมดความลังเลสงสัยในคำสอนของพระพุทธเจ้า พวกเรายังลังเล รู้สึกมั้ย ฝึกๆไปช่วงหนึ่งก็รู้สึก เอ้อ.. จริง ไม่จริงว้า.. จริง ไม่จริงว้า.. อั้นนั้นเป็นธรรมชาตินะ ต้องมี ไม่ต้องแกล้งทำเป็นไม่มี หรือเราเคยงมงาย เห็นว่าต้องปฎิบัติอย่างนี้แล้วจะดี ปฏิบัติแล้วจะดี ต้องทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี จะหมดความงมงายอย่างนี้เลย รู้แต่ว่ามีแต่การเจริญสติรู้กายรู้ใจทางสายเดียว ทางสายเอก มีอันนี้อันเดียว ไม่มีอันอื่นอีกแล้ว เนี่ย พระโสดาบันละสิ่งเหล่านี้ได้ ละความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ละความลังเลสงสัยในพระรัตนตรัยได้ ละการถือศีลบำเพ็ญพรตแบบงมงาย ลูบๆคลำๆ ว่าทำอย่างนั้นดี ทำอย่างนี้ดี รู้แล้วว่าไม่มีทางอื่นเลยนอกจากการมีสติรู้กายรู้ใจ หรือสติปัฏฐานนั่นเอง เพราะฉะนั้นเวลาที่บรรลุพระโสดาบันไม่ใช่จิตดับนะ ทุกวันนี้มีคำสอนเรื่องจิตดับมากมาย คิดว่าภาวนาไปเรื่อย กำหนดไปเรื่อยนะ อย่างจะหยิบอะไรสักอันหนึ่ง กำหนดไปเรื่อยให้จิตมันแนบอยู่ที่มือเนี่ย เพ่งมากๆนะ จิตจะดับลงไป จิตดับแล้วสำคัญมั่นหมายว่าบรรลุธรรมแล้ว ดับ ๔ หน ก็เป็นพระอรหันต์นะ ออกมาจากพระอรหันต์ก็มาทะเลาะกับเมียเหมือนเดิมแหละ นะ ละกิเลสไม่ได้จริง ในขณะที่บรรลุ มรรค ผล นิพพาน มีจิตนะ ไม่ใช่ไม่มีจิต ขณะที่บรรลุอริยมรรค นะ ก็มี มรรคจิต ขณะที่บรรลุอริยผล มีผลจิต มรรคจิตมี ๔ ดวง ผลจิตอีก ๔ ดวง นี่เรียก มรรค ๔ ผล ๔ นิพพาน ๑ คนโบราณชอบพูด ถ้าพูดอย่างละเอียด ก็มี ๒๐ อย่างละ ๒๐ เพราะว่ามันเจือด้วยฌานเข้าไปในแต่ละชนิด ฌานมันไม่เท่ากัน มีฌาน ๕ อย่าง เพราะฉะนั้นจิตที่บรรลุมรรคผลเนี่ย รวมแล้วมีจิตตั้ง ๔๐ ดวงแหน่ะ ทีนี้พวกเรารุ่นหลังๆนะ เชื่อคำสอนของอาจารย์มากไป เลยคิดว่าเวลาบรรลุมรรคผลนิพพาน จิตดับวูบลงไปหมดสติ พอรู้สึกตัวขึ้นใหม่ บอกบรรลุไปแล้ว ตรงที่จิตดับลงไปนั้น คือ อสัญญสัตตาภูมิ คือ พรหมลูกฟักนะ มีองค์หนึ่งท่านเล่น เมื่อไม่กี่วันมานี้ ท่านอนุสรณ์ เนี่ย ท่านลองเล่นๆของท่านนะ ดับปั๊บเลย และท่านรู้ว่าไม่ใช่ ไม่ใช่ เพราะมันขาดสติ ออกมาแล้วไม่เห็นจะละกิเลสอะไรเลย ดับไปเฉยๆ ฝึกไม่กี่วันก็เป็นแล้ว นี่คือการเพ่งกาย เพ่งกายแล้วลืมจิต จนจิตดับลงไป เหลือแต่กายอันเดียวล้วนๆ เพราะฉะนั้นเวลาบรรลุมรรคผลนิพพานมีจิต ไม่ใช่ไม่มี ถ้าไม่มีจิตแล้วใครจะรู้นิพพาน นิพพานเป็นอารมณ์นะ มีอารมณ์ต้องมีจิต เป็นกฎนะ กฏของธรรมะ ชื่อภาษาแขกเพราะๆเรียกว่า “ธรรมนิยาม” กฎของธรรมะ ทีนี้พอได้โสดาบันแล้ว การภาวนาก็ยังทำอย่างเก่านั้นแหละ นะ การทำภาวนาอย่างเก่า รู้กายไปรู้ใจไป มีสติ รู้กายรู้ใจลงเป็นปัจจุบัน ทีละขณะ ทีละขณะ คำว่าปัจจุบันก็คือ ๑ ขณะจิตต่อหน้าเรานี่แหละ รู้ลงทีละขณะ ทีละขณะ นิดเดียว เล็กนิดเดียว ๑ ขณะ สำคัญนะ ในทางศาสนาพุทธ อะไรหนึ่ง หนึ่ง เนี่ย สำคัญทั้งนั้นเลย นะ เราภาวนาไปจนถึงจุดสุดท้ายนะ จิตเป็นหนึ่งนะ จิตเป็นหนึ่ง อารมณ์ก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง ครูบาอาจารย์บางองค์เรียกว่า เอกจิต เอกธรรม หรือจิตหนึ่ง ธรรมหนึ่ง บางองค์เรียก ฐีติจิต ฐีติธรรม แล้วแต่จะเรียก เป็นหนึ่งทั้งหมดเลย หนึ่งเดียวรวด เพราะฉะนั้นภาวนาอยู่กับหนึ่งขณะจิตต่อหน้านี้ ไม่มีตัวมีตน คอยรู้ไปๆนะ ถึงจุดหนึ่ง จิตของเราก็จะเป็นหนึ่งอยู่อย่างนั้น หมายถึง ไม่มีอะไรเข้ามาปรุงแต่งให้เป็นสองได้อีกแล้ว จิตที่มันเป็นสองได้ เป็นสามได้ เพราะว่ามันถูกปรุงแต่ง เหมือนอย่างน้ำที่บริสุทธิ์นี้มีอยู่หนึ่งเดียว ใช่มั้ย น้ำเขียว น้ำแดง น้ำซ่าๆ น้ำเน่า น้ำเหม็น น้ำหอมอะไรนี่ เพราะมันมีของอื่นไปปรุงแต่งเอา พอมันกลั่นตัวของมันจนบริสุทธิ์เต็มที่แล้ว ก็เป็นสภาวะอันเดียวล้วนๆเลย ก็เป็นความบริสุทธิ์ล้วนๆ ของจิตของใจ เวลามีจิตใจเข้าถึงความบริสุทธิ์แล้ว มาดูโลก ดูสรรพสัตว์ ดูตัวเอง ดูอะไรต่ออะไรทั้งหมดเนี่ย ก็จะเห็นเป็นหนึ่งเหมือนกัน คือว่างเปล่าจากความเป็นตัวตนเสมอกันหมดเลย ภาวนานะ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงจิตก็เป็นหนึ่ง ธรรมก็เป็นหนึ่ง อยู่กับความเป็นหนึ่งนั้นแหละ อยู่กับความไม่มี อยู่กับความไม่เป็นอะไร นี่ ฟังของหลวงพ่อคำเขียนท่านพูด ท่านอยู่กับความไม่มีไม่เป็นแล้วสะใจ ถ้าคนมาเล่าว่าเนี่ย จิตเป็นอย่างนี้ แล้วไปอยู่ตรงนี้นะ ฟังแล้วไม่สะใจ ฟังแล้วเอียนๆ นะ ฝึกเอานะ ศาสนายังไม่ใช่สูญหายไป แต่เรียนให้ดี เรียนคำสอนของพระพุทธเจ้าให้ดี อย่าเชื่ออาจารย์มากเกินไป สติปัฏฐานสำคัญนะ ต้องเรียน อริยสัจจ์ ๔ ต้องเรียน เรียนปริยัติไปก่อน ถ้าเราไม่รู้จักสติปัฏฐาน ไม่รู้จักอริยสัจจ์ ไม่รู้จักไตรลักษณ์ อะไรอย่างนี้นะ ไม่ไหว ภาวนาไม่ไหว พวกนี้เป็นความรู้พื้นฐาน เพราะฉะนั้นจะเรียนพวกนี้นะ หลวงพ่อเขียนไว้ให้อ่านแล้วนะ เยอะแยะเลย นะ ไปอ่านเอาเอง ช่วยตัวเอง หลวงพ่อช่วยไม่ไหวแล้ว นะ เรือหลวงพ่อลำเล็กนะ หลวงพ่อเป็นเรือบด ลำเล็กๆเอาตัวรอดเท่านั้นแหละ พายตุ๊บป่อง ตุ๊บป่อง ข้ามทะเลของหลวงพ่อเอาเอง พวกเราก็ต้องหาเรือของเราเองนะ สิ่งที่จะเป็นเรือให้กับพวกเราคือธรรมนั่นแหละ ทำอะไรบ้างล่ะ สติ สมาธิ ปัญญา นั่นแหละ สติ สัมมาสมาธิ ปัญญา หรือ สัมมาสติ สัมมาสมาธิ สัมมาทิฎฐิ สิ่งเหล่านี้ต้องพัฒนาขึ้นมา
วิธีทรงอารมณ์สมาธีให้ได้เร็วๆพระราชพรหมยานเถระ..หลวงพ่อฤๅษี..การทรงฌาน..ด้วย..ลมหายใจ..และพุทโธ....
พระอริยะบุคคล พระอนาคามีได้ยินว่า ชนที่ สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ ๗ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลก แล้ว หลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว ข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้าม เปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสน ยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะ ของมนุษย์ แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์. ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปล- คัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑ ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑ ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้.
พระอริยะบุคคล พระอนาคามีได้ยินว่า ชนที่ สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต สมจริง ดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ ๗ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลก แล้ว หลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว ข้ามตัณหาในโลก และท่านเหล่านั้น ข้าม เปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสน ยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะ ของมนุษย์ แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์. ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปล- คัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑ ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑ ท่านเหล่านั้น ละโยคะของมนุษย์แล้ว เข้าถึงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้.
กายคตาสติกรรมฐานการพิจารณาร่างกาย จงอย่าลืมเพราะมันเป็นความจริง ไม่ว่าร่างกายของชายหรือหญิงมันเต็มไปด้วยความสกปรก สกปรกและก็เสื่อมลงทุกวัน มีอาการเต็มไปด้วยความทุกข์ ด้วยการบริหารร่างกาย " มีความเหน็ดเหนื่อย เพราะต้องเลี้ยงร่างกายด้วยทรัพย์สิน จะกินก็ไม่สะดวก จะนอนก็ไม่สะดวก การแสวงหาทรัพย์ไม่ใช่ของง่าย กว่าจะได้มาต้องพบกับอุปสรรคทุกประการ เราทำงานกับผู้บังคับบัญชา ผู้บังคับบัญชาไม่ดีเราก็กลุ้ม หรือบางทีผู้บังคับบัญชาดี เพื่อนร่วมงานด้วยกันไม่ดีเราก็กลุ้ม เวลาป่วยไข้ไม่สบายจะพักจะผ่อนบ้าง ถ้าวันลาหรือไปลาผู้บังคับบัญชาเขาไม่ยอมให้ลา เราก็ลำบากกายลำบากใจ เป็นอันว่าเราเกิดมาเป็นคนที่มันมีทุกข์ ถ้ายิ่งเราจะแสวงหาความสุขจากการแต่งงานแทนที่มันจะคลายความทุกข์ มันจะเพิ่มความทุกข์มากขึ้น ก็เป็นอันว่า เราไม่พบกับความสุข เราพบกับความทุกข์ แล้วก็มานั่งคิดในใจว่า เราเป็นคนมีเมตตา ความรัก เราเป็นคนมีความกรุณา ความสงสาร เราควรจะสงสารตัวเราไหม ถ้าเราคิดว่าเราจะรักใครสักคนหนึ่ง หวังผลในการแต่งงาน ถ้าแต่งงานแล้วมันเป็นความทุกข์ นี่เราควรจะแต่งงานหรือว่าไม่ควรจะแต่ง ถ้าหากว่าเราคิดว่ามันเป็นความสุข เราก็ควรแต่ง ถ้าคิดว่ามันเป็นความทุกข์เราก็ต้องสงสารตัวเราเองว่า แค่ตัวเราเองนี้เรายังแบกเกือบไม่ไหว และไม่สามารถทรงกำลังกายให้มันเป็นสุขอยู่ได้ ถ้าเราไปแบกอีกคนหนึ่งเข้ามาแล้ว วันต่อมาอีกหลายคน คือ ลูกสาว ลูกชาย ความทุกข์ใหญ่มันก็เกิด เราก็หันกลับมามีเมตตา ความรักตัวเอง กรุณา ความสงสารตัวเองว่า " โอหนอ เราอยากโง่ไปทำไม ร่างกายของเราก็สกปรก ถ้าเราต้องการมีคู่ครอง ร่างกายของคู่ครองก็สกปรก เราคนเดียวแบกหนึ่งทุกข์ ทุกข์เท่านี้ คือ ขันธ์ ๕ ไปมีคู่ครองเข้า อีกคนหนึ่งก็แบกมาอีก ๕ ขันธ์ กลายเป็น ๑๐ ถ้ามีลูก มีหลาน มีเหลนออกมาไปกันใหญ่ " องค์สมเด็จพระจอมบรมไตรโลกศาสดาทรงตรัสว่า " ภารา หเว ปัญจขันธา " : " ขันธ์ ๕ ทั้งหลาย เป็นภาระอันหนัก " คือ เราคนเดียวมี ๕ ขันธ์ หนักแค่นี้ ถ้าเพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๑๐ เพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๑๕ เพิ่มอีกคนเป็นขันธ์ ๒๐ มันจะหนักปานไหน ตอนนี้เราก็เริ่มรัก เริ่มสงสารตัว ขอตัดกำลังใจว่าจะไม่คิดพึงหาคู่ครอง เห็นโทษจากความรัก ในความปรารถนาที่มีคู่ครอง เพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ มันหาความสุขไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคู่ครองก็ดี เราก็ดี ย่อมทรุดโทรมลงไปทุกวัน ไม่ช้าก็จากกันด้วยความตาย ถ้าเรายังมีความหลงใหลใฝ่ฝันด้วยอำนาจตัณหาแบบนี้อีก เราก็ต้องเกิดอีก มันจะหาความสุขอะไรไม่ได้ ควรจะตัดสินใจแล้วก็จำพระบาลีของค์สมเด็จพระจอมไตรบรมศาสดาไว้ว่า " ปิยโต ชายเต โสโก ปิยโต ชายเต ภยัง " : " ความเศร้าโศกเสียใจเกิดจากความรัก ภัยอันตรายเกิดจากความรัก " และสิ่งที่เรารัก มันจะอยู่กับเราตลอดกาลตลอดสมัยหรือไม่ สมบัติของโลกมีความเกิดขึ้นในเบื้อต้น มีความเสื่อมไปในท่ามกลาง แล้วก็สลายทั้งหมด องค์สมเด็จพระบรมสุคตเห็นโทษอย่างนั้นสมเด็จพระมหามุนีจึงได้หนีพระนางพิมพากับพระราหุล ออกสู่มหาภิเนษกรมณ์บำเพ็ญตนเป็นพระอรหันต์หมดความทุกข์ มีแต่อารมณ์ความสุขฉันใด เราก็ขอตัดกำลังใจ คือ จะรักเรา และสงสารตัวเราเข้าไปว่า กรรมใดที่เนื่องจากกามารมณ์ เป็นปัจจัยของความทุกข์ นับตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปเราไม่ต้องการ เราจะแสวงหาความสุข คือ อยู่แต่ผู้เดียวตามที่พระองค์ทรงตรัสไว้ว่า " เอกายโน อยัง ภิกขเว มัคโค สัตตานัง วิสุทธิยา " เป็นต้น แปลว่า " ทางของบุคคลผู้เดียวเป็นทางเอก เป็นทางนำมาซึ่งความสุข " เราก็พยายามจับเอากายคตานุสสติกรรมฐานกับอสุภกรรมฐานพร้อมกับสักกายทิฏฐิมาบวกกันเข้าว่าร่างกายนี่เป็นเพียงธาตุ ๔ มีสภาพสกปรก มันไม่ใช่เราไม่ใช่ของเรา เป็นเรือนร่างที่อาศัยชั่วคราว ทำไมเราจึงไปรักร่างกายเขาเพื่อประโยน์อะไร เพราะมันเป็นปัจจัยของความทุกข์ หาความสุขไม่ได้ ถ้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททั้งหลายมีความรักตัว สงสารตัว คิดอย่างนี้เป็นปกติ ไม่ช้ากำลังใจของบรรดาท่านพุทธบริษัททุกท่านก็จะชนะอำนาจกามกิเลสเสียได้ จัดว่าเป็นครึ่งหนึ่งของพระอนาคามี ยังไม่หมดแต่เวลามันหมด ต่อแต่นี้ไป ขอบรรดาสาวกขององค์สมเด็จพระบรมสุคตจงพยายามตั้งกายให้ตรง ดำรงจิตให้มั่น อยู่ในอิริยาบถที่เห็นว่าสมควร ใช้คำภาวนาและพิจารณาตามอัธยาศัย จนกว่าจะถึงเวลาที่ท่านเห็นว่าสมควรว่าควรจะเลิก
วันอังคารที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การสร้างความดี ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น บทนำ พระวินัยปิฎก พระสุตตันตปิฎก พระอภิธรรมปิฎก ค้นพระไตรปิฎก ชาดก หนังสือธรรมะ อ่านชาดก 270000อ่านชาดก 271625อรรถกถาชาดก 271637 เล่มที่ 27 ข้อ 1637อ่านชาดก 271649อ่านชาดก 272519 อรรถกถา กามชาดก ว่าด้วย กามและโทษของกาม พระศาสดา เมื่อเสด็จประทับอยู่ ณ พระเชตวันมหาวิหาร ทรงพระปรารภพราหมณ์ผู้ใดผู้หนึ่ง ตรัสเรื่องนี้ มีคำเริ่มต้นว่า กามํ กามยมานสฺส ดังนี้. เรื่องมีว่า พราหมณ์ชาวเมืองสาวัตถีผู้หนึ่งหักร้างป่าเพื่อต้องการทำเป็นไร่. พระศาสดาทรงเห็นอุปนิสัยของเขา เมื่อเสด็จเข้าไปโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ทรงแวะลงจากทาง กระทำปฏิสันถารกับเขา ตรัสว่า เธอทำอะไรเล่าพราหมณ์. ครั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์หักร้างที่ไร่ พระเจ้าข้า. ตรัสว่า ดีละพราหมณ์ กระทำการงานไปเถิด แล้วเสด็จเลยไป พระองค์ได้เสด็จไปทำปฏิสันถารกับเขาบ่อยๆ คือในเวลาที่เขาขนต้นไม้ที่ตัดแล้วและชำระที่ไร่ ในเวลาก่อคัน ในเวลาหว่าน โดยอุบายอย่างนี้นั้นแล. วันรุ่งขึ้นพราหมณ์นั้นกราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ วันนี้เป็นมงคลในการหว่านข้าวของข้าพระองค์ ข้าพระองค์จักถวายมหาทานแก่ภิกษุสงฆ์มีพระพุทธองค์เป็นประมุขในเมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว พระศาสดาทรงรับด้วยทรงดุษณีภาพ เสด็จหลีกไป. รุ่งขึ้นวันหนึ่งพราหมณ์ยืนดูข้าวกล้าอยู่ พระศาสดาเสด็จมาตรัสถามว่า พราหมณ์ เธอกำลังทำอะไรอยู่ตรงนั้น เมื่อเขากราบทูลว่า ข้าแต่พระสมณโคดมผู้เจริญ ข้าพระองค์กำลังดูข้าวกล้า ตรัสว่า ดีพราหมณ์ แล้วเสด็จหลีกไป. ในครั้งนั้น พราหมณ์คิดว่า พระสมณโคดมมาเนืองๆ คงมีความต้องการภัตรอย่างไม่ต้องสงสัย เราจักถวายภัตรแก่ท่าน ในวันที่พราหมณ์คิดอย่างนี้แล้วไปสู่เรือน ถึงพระศาสดาก็ได้เสด็จไป ณ ที่นั้น ครั้งนั้นความพิศวาสเกิดขึ้นแก่พราหมณ์ล้นเหลือ. ต่อมาครั้นข้าวกล้าแก่แล้ว เมื่อพราหมณ์ตกลงใจว่า พรุ่งนี้เราจักเกี่ยวไร่แล้วนอน ฝนลูกเห็บตกตลอดคืน ทางเหนือของแม่น้ำอจิรวดี ห้วงน้ำใหญ่ไหลมาพัดเอาข้าวกล้าทั้งหมดเข้าไปสู่ทะเล ไม่เหลือไว้ให้ แม้มาตรว่าทะนานเดียว เมื่อห้วงน้ำเหือดแห้งลงแล้ว พราหมณ์มองดูความย่อยยับแห่งข้าวแล้ว ไม่สามารถจะดำรงอยู่โดยภาวะของตนได้ ถูกความเสียใจอย่างแรงครอบงำ ยกมือตีอกคร่ำครวญไปถึงเรือน แล้วลงนอนบ่นพร่ำ. ในเวลาใกล้รุ่ง พระศาสดาทอดพระเนตรเห็นพราหมณ์ถูกความเสียใจครอบงำ ทรงดำริว่า เราต้องเป็นที่พึ่งของพราหมณ์ รุ่งขึ้นเสด็จเที่ยวโปรดสัตว์ในพระนครสาวัตถี ภายหลังจากเสวยเสร็จเสด็จกลับจากบิณฑบาต ทรงส่งพวกภิกษุไปสู่พระวิหาร เสด็จไปสู่ประตูเรือนของเขากับด้วยสมณะติดตาม พราหมณ์ได้ยินความที่พระศาสดาเสด็จมา กล่าวว่า สหายของเราคงมาเยี่ยมเยียนค่อยได้ความโปร่งใจ จัดแจงอาสนะไว้ พระศาสดาเสด็จเข้าไป ประทับนั่งเหนืออาสนะที่จัดไว้. ตรัสถามว่า ดูก่อนพราหมณ์ เหตุไรจึงเศร้าหมองไปล่ะ ท่านไม่สบายอะไรเล่า. กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ พระองค์ย่อมทรงทราบการงานที่ข้าพระองค์กระทำ จำเดิมแต่ตัดต้นไม้ที่ฝั่งแม่น้ำอจิรวดี ข้าพระองค์เคยกราบทูลไว้ว่า เมื่อข้าวกล้านี้สำเร็จแล้ว ข้าพระองค์จักถวายทานแด่พระองค์ บัดนี้ห้วงน้ำใหญ่พัดข้าวกล้าของข้าพระองค์ไปสู่ทะเลเสียหมดเกลี้ยงทีเดียว ข้าวกล้าไม่มีเหลือสักหน่อย ข้าวเปลือกประมาณ ๑๐๐ เกวียนเสียหายหมด เหตุนั้นความโศกอย่างใหญ่โตจึงเกิดแก่ข้าพระองค์. ตรัสว่า ดูก่อนพราหมณ์ ก็เมื่อท่านเศร้าโศกอยู่ สิ่งที่เสียหายไปแล้วจะกลับคืนมาได้หรือ กราบทูลว่า ข้าแต่พระโคดมผู้เจริญ ข้อนั้นเป็นไปไม่ได้แน่นอน พระเจ้าข้า. ตรัสว่า แม้เมื่อเป็นอย่างนี้ ท่านเศร้าโศกเพราะเหตุไร ขึ้นชื่อว่าทรัพย์และข้าวเปลือกของสัตว์เหล่านี้ ถึงคราวเกิดก็บังเกิด ถึงคราวเสียหายก็เสียหาย สิ่งไรๆ ที่ถึงการปรุงแต่ง จะชื่อว่าไม่มีความเสียหายเป็นธรรมดาน่ะ ไม่มีดอก ท่านอย่าคิดไปเลย. พระศาสดาทรงปลอบเขาด้วยประการฉะนี้ เมื่อทรงแสดงธรรมอันเป็นที่สบายแก่เขา ตรัสกามสูตร เมื่อพระสูตรถึงปริโยสาน พราหมณ์ดำรงในโสดาปัตติผล พระศาสดาทรงทำให้เขาสร่างโศก เสด็จลุกจากอาสนะไปสู่พระวิหาร. ชาวพระนครทั้งสิ้นรู้ทั่วกันว่า พระศาสดาทรงกระทำพราหมณ์ผู้โน้นผู้เพียบแปล้ด้วยโศกศัลย์ให้สร่างโศก ให้ดำรงในโสดาปัตติผลได้ พวกภิกษุพากันยกเรื่องขึ้นสนทนากันในธรรมสภาว่า ผู้มีอายุทั้งหลาย พระทศพลทรงทำไมตรีกับพราหมณ์จนคุ้นเคยกัน ทรงแสดงธรรมแก่เขาผู้เพียบแปล้ไปด้วยความโศกด้วยอุบายครั้งเดียว ทรงทำให้เขาสร่างโศกได้ ให้ประดิษฐานในโสดาปัตติผลได้. พระศาสดาเสด็จมา ตรัสถามว่า เมื่อกี้พวกเธอกำลังสนทนากันด้วยเรื่องอะไร เมื่อพากันกราบทูลให้ทรงทราบแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย มิใช่แต่ในบัดนี้เท่านั้น แม้ในกาลก่อน เราก็ได้กระทำให้พราหมณ์นี้สร่างโศกแล้วเหมือนกัน ทรงนำอดีตนิทานมา ดังต่อไปนี้. ในอดีตกาล พระเจ้าพรหมทัต ณ พระนครพาราณสี มีพระโอรส ๒ พระองค์ ท้าวเธอประทานที่อุปราชแก่พระโอรสองค์ใหญ่ พระราชทานตำแหน่งเสนาบดีแก่พระโอรสองค์เล็ก ครั้นต่อมาพระเจ้าพรหมทัตสิ้นพระชนม์ พวกอำมาตย์พากันตั้งการอภิเษกแก่พระองค์ใหญ่ ท้าวเธอตรัสว่า ฉันไม่ต้องการครองราชสมบัติ พวกท่านจงพากันให้แก่น้องชายของฉันเถิด แม้ได้รับคำทูลวิงวอนบ่อยๆ ก็ทรงห้ามเสีย ครั้นพวกอำมาตย์ทำการอภิเษกถวายพระเจ้าน้องแล้ว ทรงดำริว่า เราไม่ต้องการความเป็นเจ้าเป็นใหญ่ ไม่ทรงปรารถนา แม้แต่ตำแหน่งอุปราชเป็นอาทิ. ถึงเมื่อพระราชาตรัสว่า ถ้าเช่นนั้น เชิญเสวยโภชนะที่มีรสดีๆ ประทับอยู่ในพระนครนี้เถิด ตรัสว่า ฉันไม่มีเรื่องที่ต้องกระทำในพระนครนี้ เสด็จออกจากพระนครพาราณสี ไปสู่ชนบทปลายแดน อาศัยสกุลเศรษฐีตระกูลหนึ่ง ทรงกระทำการงานด้วยพระหัตถ์ของพระองค์เอง ประทับอยู่. ครั้นกาลต่อมา พวกเหล่านั้นรู้ความที่ท้าวเธอเป็นพระราชกุมาร ก็พากันไม่ยอมให้ทำการงาน พากันห้อมล้อมท้าวเธอด้วยการบริหารในฐานเป็นพระราชกุมารทีเดียว จำเนียรกาลนานมา พวกข้าราชการพากันไปสู่ชนบทปลายแดน ได้ไปถึงบ้านนั้นเพื่อรังวัดเขต ท่านเศรษฐีเข้าไปเฝ้าพระราชกุมาร กราบทูลว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้านาย พวกข้าพระองค์พากันบำรุงเลี้ยงพระองค์ ขอพระองค์ทรงส่งหนังสือถึงพระเจ้าน้องให้ทรงลดส่วยแก่พวกข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงรับว่า ได้ซี ทรงส่งหนังสือไปว่า ฉันอาศัยสกุลเศรษฐีชื่อโน้นพำนักอยู่ โปรดเห็นแก่ฉันยกเว้นส่วยแก่พวกเหล่านั้นเถิด. พระราชารับสั่งว่า ดีแล้ว ทรงโปรดให้กระทำอย่างนั้น. ครั้งนั้น พวกชาวบ้านทั้งหมดบ้าง ชาวชนบทบ้าง ชาวบ้านอื่นๆ บ้าง พากันเข้าไปเฝ้าท้าวเธอ ทูลว่า พวกข้าพระองค์จักถวายส่วยแด่พระองค์เท่านั้น โปรดให้พระราชาทรงยกเว้นแก่พวกข้าพระองค์บ้างเถิด ท้าวเธอทรงส่งหนังสือไปเพื่อช่วยเหลือพวกเหล่านั้น ให้พระราชาทรงยกเว้นส่วยให้ ตั้งแต่บัดนั้น พวกเหล่านั้นก็พากันถวายส่วยแก่ท้าวเธอ จึงบังเกิดลาภสักการะใหญ่แก่ท้าวเธอ ด้วยเหตุนั้น ความอยากของท้าวเธอก็พลอยเติบใหญ่ไปด้วย กาลต่อมา ท้าวเธอทูลขอชนบทนั้นแม้ทั้งหมด แล้วทูลขอราชสมบัติกึ่งหนึ่ง แม้พระเจ้าน้องก็ได้ประทานแก่ท้าวเธอทั้งนั้น ท้าวเธอเมื่อความอยากพอกพูน ไม่ทรงพอพระทัยด้วยราชสมบัติเพียงกึ่งนั้น ทรงดำริจะยึดราชสมบัติแวดล้อมด้วยชาวชนบท เสด็จไปสู่พระนครนั้น หยุดทัพอยู่ภายนอกพระนคร ทรงส่งหนังสือแก่พระเจ้าน้องว่า จงให้ราชสมบัติแก่เรา หรือจะรบกันก็ได้. พระเจ้าน้องทรงดำริว่า พระพี่นี้เป็นพาล เมื่อก่อนทรงห้ามราชสมบัติ แม้กระทั่งตำแหน่งอุปราชก็ทรงห้าม คราวนี้ตรัสว่า จักยึดเอาด้วยการรบ ก็ถ้าว่าเราจักฆ่าพระพี่นี้ให้ตายด้วยการรบ ความครหาจักมีแก่เราได้ เราจะต้องการอะไรด้วยราชสมบัติ จึงทรงส่งสาส์นแด่ท้าวเธอว่า ไม่ต้องรบดอก เชิญทรงครองราชสมบัติเถิดพระเจ้าข้า. ท้าวเธอทรงครองราชสมบัติประทานที่อุปราชแก่พระเจ้าน้อง จำเดิมแต่นั้น ทรงครองราชสมบัติ ทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งตัณหา มิได้ทรงพอพระหทัยด้วยราชสมบัติพระนครเดียว ทรงปรารถนาราชสมบัติ ๒-๓ นคร ไม่ทรงเห็นที่สุดแห่งความอยากเลย ครั้งนั้น ท้าวสักกเทวราชทรงตรวจดูว่า ในโลกชนเหล่าไหนบ้างล่ะที่บำรุงมารดาบิดา เหล่าไหนทำบุญต่างๆ มีให้ทานเป็นต้น เหล่าไหนตกอยู่ในอำนาจตัณหา ทรงทราบความที่ท้าวเธอเป็นไปในอำนาจตัณหา ทรงดำริว่า พระราชาองค์นี้เป็นพาล ไม่ทรงพอพระหทัยแม้ด้วยราชสมบัติในพระนครพาราณสี เราต้องให้ท้าวเธอศึกษาบ้าง จำแลงเพศเป็นมาณพ ประทับยืนที่พระทวารหลวง. ให้กราบทูลว่า มาณพผู้ฉลาดในอุบายผู้หนึ่ง ยืนอยู่ที่พระทวารหลวง ครั้นรับสั่งว่า เข้ามาเถิด ก็เสด็จเข้าไปกราบทูลถวายชัยพระราชา เมื่อตรัสว่า เจ้ามาด้วยเหตุไร กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ข้อที่ข้าพระองค์กราบทูลมีอยู่หน่อย ข้าพระองค์ต้องการที่รโหฐานพระเจ้าข้า ด้วยอานุภาพท้าวสักกะ ฝูงคนพากันหลบไปหมด ทันใดนั้นเอง ครั้งนั้นมาณพกราบทูลท้าวเธอว่า ข้าแต่พระมหาราช ข้าพระองค์เห็นพระนคร ๓ แห่ง มั่งคั่งมีฝูงคนแออัด สมบูรณ์ด้วยพลและพาหนะ ข้าพระองค์จักยึดราชสมบัติทั้งสามด้วยอานุภาพของตนถวายแด่พระองค์ ควรที่พระองค์จะไม่ทรงชักช้า รีบเสด็จไปเถอะ พระเจ้าข้า. พระราชานั้นทรงตกอยู่ในอำนาจแห่งความโลภ ทรงรับว่า ดีละ แต่ด้วยอานุภาพแห่งท้าวสักกะ มิได้ทรงถามว่า เจ้าเป็นใคร หรือเจ้ามาจากไหน หรือว่าควรที่เจ้าจะได้สิ่งไร ท้าวสักกะนั้นเล่าตรัสเพียงเท่านี้แล้ว ก็ได้เสด็จไปดาวดึงส์พิภพทีเดียว. พระราชาตรัสให้พวกอำมาตย์มาเฝ้า ตรัสว่า มาณพผู้หนึ่งกล่าวว่าจักยึดราชสมบัติ ๓ นครให้พวกเรา พวกเธอจงเรียกมาณพนั้นมาทีเถิด จงนำกลองไปเที่ยวตีประกาศในพระนคร เรียกประชุมพลกาย พวกเราต้องยึดครองราชสมบัติ ๓ นคร ไม่ต้องชักช้า. เมื่อพวกอำมาตย์พากันกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า ก็พระองค์ทรงกระทำสักการะแก่มาณพนั้นอย่างไร หรือทรงถามที่อยู่อาศัยของมาณพนั้นไว้อย่างไร. ตรัสว่า เราไม่ได้ทำสักการะเลย ไม่ได้ถามที่พักอาศัยไว้เลย พวกเธอจงพากันไปค้นหาเขาเถิด พวกอำมาตย์พากันค้น ไม่เห็นเขา กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พวกข้าพระองค์ไม่เห็นมาณพนั้นทั่วพระนคร พระเจ้าข้า ทรงสดับคำนั้นแล้ว พระราชาทรงเกิดโทมนัส ทรงพระดำริเรื่อยๆ ว่า ราชสมบัติในพระนครทั้ง ๓ เสื่อมหายแล้ว เราเสื่อมเสียจากยศอันใหญ่ มาณพคงโกรธเราว่า ไม่ให้เสบียงแก่เรา แล้วก็ไม่ให้ที่อยู่อาศัยด้วย เลยไม่มา. ครั้งนั้นความร้อนบังเกิดขึ้นในพระกายแห่งพระองค์ผู้ทรงตกอยู่ในอำนาจตัณหา เมื่อสรีระทุกส่วนเร่าร้อนอยู่ กริยาที่วิ่งพล่านแห่งโลหิตก็ทำท้องให้กำเริบแล้วพลุ่งขึ้น ภาชนะอันหนึ่งเข้าอันหนึ่งออก พวกแพทย์สุดฝีมือที่จะถวายการรักษาได้. ครั้งนั้น การที่ท้าวเธอถูกความเจ็บป่วยเบียดเบียนได้เลื่องลือไปทั้งพระนคร. กาลนั้นพระโพธิสัตว์เรียนศิลปะสำเร็จจากเมืองตักกสิลา มาสู่สำนักบิดามารดา ในพระนครพาราณสี ฟังเรื่องของพระราชานั้น คิดว่าเราต้องถวายการรักษา ไปสู่พระราชทวาร ให้กราบทูลว่า ได้ยินว่า มาณพผู้หนึ่งมาจะถวายการรักษาพระองค์. พระราชาตรัสว่า แม้ถึงพวกแพทย์ผู้ทิศาปาโมกข์ใหญ่ๆ ยังไม่สามารถรักษาเราได้ มาณพหนุ่มจักสามารถได้อย่างไร พวกท่านพากันให้เสบียง แล้วปล่อยเขาไปเสียเถิด. มาณพฟังพระดำรัสนั้น แล้วกล่าวว่า ข้าพเจ้าไม่มีเรื่องที่ต้องทำด้วยค่ากำนัลหมอเลย ข้าพเจ้าจักขอถวายการรักษา โปรดให้เพียงค่ายาเท่านั้นแหละ. พระราชาทรงสดับคำนั้นแล้วตรัสว่า ลองดูที รับสั่งให้เรียก. มาณพตรวจดูพระราชาแล้วกราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า พระองค์อย่าทรงกลัวเลย ข้าพระองค์จักถวายการรักษา ก็แต่ว่าพระองค์ทรงโปรดบอกสมุฏฐานแห่งโรคแก่ข้าพระองค์เถิด พระเจ้าข้า. พระราชาทรงพอพระหทัยตรัสว่า เจ้าจักเอาสมุฏฐานไปทำไม จงบอกยาเท่านั้นเถิด. กราบทูลว่า ข้าแต่พระมหาราช ธรรมดาหมอทราบว่า ความเจ็บนี้เกิดขึ้นเพราะอาศัยเหตุนี้ ย่อมกระทำยาให้ถูกต้องกับความเจ็บนั้นได้พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสว่า ถูกต้องละพ่อ เมื่อตรัสสมุฏฐานได้ตรัสเรื่องทั้งหมด ตั้งต้นแต่ที่มาณพคนหนึ่งมาบอกว่าจักเอาราชสมบัติในสามพระนครมาให้ แล้วตรัสว่า แน่ะพ่อ เราเจ็บคราวนี้เพราะตัณหา ถ้าเจ้าพอจะรักษาได้ ก็จงรักษาเถิด. มาณพทูลถามว่า ข้าแต่พระมหาราช พระองค์อาจได้พระนครเหล่านั้น ด้วยการเศร้าโศกหรือ? ตรัสว่า ไม่อาจดอกพ่อ. กราบทูลว่า ถ้าเช่นนั้น เหตุไรพระองค์จึงทรงเศร้าโศกพระเจ้าข้า ธรรมดาสัตว์ทั้งหลายย่อมละร่างกายของตนเป็นต้น ตลอดถึงสวิญญาณกทรัพย์และอวิญญาณกทรัพย์ทั้งหมดไป แม้พระองค์จะยึดครองราชสมบัติในพระนครทั้งสี่ได้ พระองค์ก็เสวยพระกระยาหารในสุวรรณภาชนะทั้งสี่ บรรทมเหนือพระที่ทั้งสี่ ทรงเครื่องประดับทั้งสี่พร้อมกันคราวเดียวไม่ได้ พระองค์ไม่ควรตกอยู่ในอำนาจตัณหา เพราะตัณหานี้ เมื่อเจริญขึ้นย่อมไม่ปล่อยให้พ้นจากอบายทั้งสี่ไปได้. พระมหาสัตว์ ครั้นถวายโอวาทพระราชาดังนี้แล้ว เมื่อจะแสดงธรรมแก่พระราชา ได้กล่าวคาถาทั้งหลายว่า เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ สัตว์ปรารถนาสิ่งใดได้สิ่งนั้นแล้ว ย่อมมีใจอิ่มเอิบแท้. เมื่อบุคคลปรารถนากาม ถ้าสิ่งที่ปรารถนาของ บุคคลนั้นย่อมสำเร็จได้ ครั้นสิ่งที่ปรารถนานั้นสำเร็จ บุคคลยังปรารถนาต่อไปอีก ก็ย่อมได้ประสบกาม ตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมจะเกิดความกระหายใคร่จะดื่มน้ำฉะนั้น. ตัณหาก็ดี ความกระหายก็ดี ของคนพาล มีปัญญาน้อย ไม่รู้อะไร ย่อมเจริญยิ่งขึ้นทุกที เหมือนเขาโคย่อมเจริญขึ้นตามตัวฉะนั้น. แม้จะให้สมบัติ ข้าวสาลี ข้าวเหนียว โค ม้า ข้าทาสหญิงชายหมดทั้งแผ่นดิน ก็ยังไม่พอแก่คนคนเดียว รู้อย่างนี้แล้วพึงประพฤติธรรมสม่ำเสมอ. พระราชาทรงปราบชนะทั่วแผ่นดิน ทรงครอบครองแผ่นดินใหญ่มีมหาสมุทรเป็นขอบเขต ทรงครองมหาสมุทรฝั่งนี้แล้ว มีพระทัยไม่อิ่ม ยังปรารถนาแม้มหาสมุทรฝั่งโน้นต่อไปอีก. เมื่อยังระลึกถึงกามอยู่ตราบใด ก็ไม่ได้ความอิ่มด้วยใจตราบนั้น ชนเหล่าใดบริบูรณ์ด้วยปัญญา มีกายและใจหลีกเว้นจากกามทั้งหลาย เห็นโทษด้วยญาณ ชนเหล่านั้นนั่นแลชื่อว่าเป็นผู้อิ่ม. บรรดาความอิ่มทั้งหลาย ความอิ่มด้วยปัญญาประเสริฐ เพราะผู้อิ่มด้วยปัญญานั้น ย่อมไม่เดือดร้อนด้วยกามทั้งหลาย คนผู้อิ่มด้วยปัญญา ตัณหาย่อมกระทำให้อยู่ในอำนาจไม่ได้. ไม่พึงสั่งสมกามทั้งหลาย พึงเป็นผู้มีความปรารถนาน้อย ไม่มีความละโมบ บุรุษผู้มีปัญญาเปรียบด้วยมหาสมุทร ย่อมไม่เดือดร้อนเพราะกามทั้งหลาย. ช่างทำรองเท้าหนังเลี้ยงชีพ เมื่อประกอบรองเท้า ส่วนใดควรเว้นก็เว้น เลือกเอาแต่ส่วนที่ดีๆ มาทำรองเท้าขายได้ราคาแล้วย่อมมีความสุข เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาแล้ว ละทิ้งส่วนแห่งกามเสีย ย่อมถึงความสุข ถ้าพึงปรารถนาความสุขทั้งปวงก็พึงละกามทั้งปวงเสีย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า กามํ ได้แก่ ทั้งวัตถุกาม ทั้งกิเลสกาม. บทว่า กามยมานสฺส แปลว่า ปรารถนาอยู่. บทว่า ตสฺส เจ ตํ สมิชฺฌติ ความว่า สิ่งที่เขาปรารถนาย่อมสำเร็จ และย่อมเผล็ดผลแก่บุคคลนั้น. บทว่า นํ ในคำว่า ตโต นํ อปรํ กาเม นี้เป็นเพียงนิบาต. บทว่า อปรํ เป็นบทแสดงส่วนอื่น. บทว่า กาเม เป็นพหุวจนะ ใช้ในอรรถแห่งทุติยาวิภัตติ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ถ้าเมื่อเขาปรารถนากาม สิ่งที่เขาปรารถนานั้นย่อมสำเร็จแก่เขาสมประสงค์ เมื่อสิ่งนั้นสำเร็จแล้ว เขายังปรารถนาต่อไปอีก บุคคลนั้นเมื่อปรารถนาอยู่ ย่อมประสบคือได้รับกามกล่าวคือตัณหา เหมือนบุคคลที่ถูกลมแดดแผดเผาในฤดูร้อน ย่อมเกิดความอยากคือได้รับความกระหายน้ำฉะนั้น. ตัณหามีรูปตัณหาเป็นต้นย่อมเจริญแก่บุคคลนั่นแล. บทว่า ควํว แปลว่า เหมือนรูปโค. บทว่า สิงคิโน ได้แก่ เขาสัตว์ที่ผ่ายอดแล้วยกขึ้น. บทว่า มนฺทสฺส แปลว่า ผู้มีปัญญาอ่อน. บทว่า พาลสฺส ได้แก่ ผู้ประกอบด้วยพาลธรรม. ท่านกล่าวอธิบายคำนี้ไว้ว่า เขาโคย่อมเติบโตพร้อมกับร่างของลูกโคตัวกำลังเติบโต ฉันใด กามตัณหาที่ยังไม่มาถึงก็ดี ความกระหายในกามที่มาถึงแล้วก็ดี ย่อมเจริญยิ่งๆ ขึ้นไปสำหรับอันธพาลชน. บทว่า สาลิยวกํ ได้แก่ นาข้าวสาลี และนาข้าวเหนียว. ด้วยบทนี้ ท่านแสดงธัญชาติหมด มีข้าวสาลีและข้าวเหนียวเป็นต้น. ด้วยบทที่ ๒ ท่านแสดงถึงสัตว์ ๒ เท้าและสัตว์ ๔ เท้า. หรือด้วยบทที่ ๑ ท่านแสดงถึงสิ่งที่ไม่มีวิญญาณทั้งหมด ด้วยบทนอกนี้ ท่านแสดงถึงสิ่งที่มีวิญญาณทั้งสิ้น. บทว่า ทตฺวาปิ แปลว่า แม้ให้แล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า อาณาจักรทั้ง ๓ จงยกไว้ ถ้าว่า มาณพนั้นให้สิ่งอื่นๆ หรือแผ่นดินทั้งสิ้นที่มีวิญญาณและไม่มีวิญญาณ ทั้งรัตนบุรีแก่ใครแล้วไป สิ่งแม้มีประมาณเท่านี้ ย่อมไม่สิ้นสุดแก่บุคคลคนเดียวเท่านั้น นี้ชื่อว่าตัณหาให้เต็มได้โดยยากด้วยประการฉะนี้. บทว่า อิติ วิทฺธา สมํ จเร ความว่า บุรุษเมื่อรู้อย่างนี้ เป็นผู้ไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา บำเพ็ญกายสุจริตเป็นต้นให้บริบูรณ์ พึงประพฤติให้สม่ำเสมอ. บทว่า โอรํ ได้แก่ ถึงส่วนอันมีในภายใน. ด้วยบทนั้นบุคคลนั้นชื่อว่ายังไม่อิ่ม พึงปรารถนาแม้ฝั่งแห่งสมุทรอีกด้วยอาการอย่างนี้ ท่านแสดงว่า ขึ้นชื่อว่าสัตว์ผู้เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เป็นอันเต็มได้โดยยาก. บทว่า ยาว เป็นบทกำหนดนับตามอนิยม. บทว่า อนุสฺสรํ แปลว่า ระลึกถึงอยู่. บทว่า นาชฺฌคา แปลว่า ย่อมไม่ประสบ. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ข้าแต่มหาราชเจ้า บุรุษมีใจระลึกถึงกามทั้งหลาย แม้อันหาที่สุดไม่ได้ ย่อมไม่ประสบความอิ่ม ปรารถนาจะบรรลุถึงอยู่นั้นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ ตัณหาในกามทั้งหลาย ย่อมเจริญแก่สัตว์ทั้งหลายอยู่นั่นเอง. บทว่า ตโต นิวตฺตา ความว่า บุคคลเหล่าใดมีจิตและกายกลับจากวัตถุกามและกิเลสกามแล้ว เห็นโทษด้วยญาณนั่นแล อิ่มเอิบบริบูรณ์ด้วยปัญญา บุคคลเหล่านั้นแลชื่อว่าย่อมอิ่ม. บทว่า ปญฺญาย ติตฺตีนํ เสฏฺฐํ คือความอิ่มด้วยปัญญานี้ ย่อมเป็นของประเสริฐเต็มที่. อีกอย่างหนึ่ง บาลีก็อย่างนี้เหมือนกัน. บทว่า น โส กาเมหิ ตปฺปติ นี้ บาลีว่า ย่อมไม่ถูกกามทั้งหลายแผดเผา. อธิบายว่า เพราะเหตุที่บุรุษผู้อิ่มด้วยปัญญา ย่อมไม่ถูกกามแผดเผา. บทว่า น กุรุเต วสํ ความว่า เพราะตัณหาไม่อาจยังบุรุษเช่นนั้นให้อยู่ในอำนาจได้ ก็บุรุษนั้นนั่นแลเห็นโทษแห่งตัณหาแล้ว ย่อมไม่เป็นไปในอำนาจแห่งตัณหา เหมือนวังวนแห่งสายน้ำ และเหมือนพระราชอัฑฒมาสก. บทว่า อปจิเนเถว แปลว่า พึงกำจัดเสียเลย. บทว่า สมุทฺทมตฺโต คือมีประมาณสมุทร เพราะประกอบด้วยปัญญาอันใหญ่. บุรุษนั้นย่อมไม่เดือดร้อน คือไม่รุ่มร้อนด้วยกิเลสกามทั้งหลาย เหมือนสมุทรไม่ร้อนแม้เพราะไฟใหญ่ฉะนั้น. บทว่า รถกาโร แปลว่า ช่างหนัง. บทว่า ปริกนฺตํ แปลว่า ตัดแล้ว. ท่านอธิบายคำนี้ไว้ว่า ช่างหนังตัดรองเท้า เว้นที่ที่หนังไม่เข้าลักษณะที่ถือเอาได้ ทำให้เป็นรองเท้า ได้ค่ารองเท้า ย่อมได้รับความสุขฉันใด บัณฑิตก็ฉันนั้นเหมือนกัน พิจารณาด้วยปัญญาอันเสมือนกับศาสตราของช่างรองเท้า พึงถึงความสุขทางกายกรรมวจีกรรมและมโนกรรมนั้น ที่เว้นจากแดนแห่งกาม อันเป็นเหตุให้ตนละแดนกาม ปรารถนาเฉพาะสุขมีกายกรรมเป็นต้นทุกอย่างที่ปราศจากความเร่าร้อน พึงเจริญกสิณยังฌานให้เกิดละกามทั้งปวงเสีย. ก็เมื่อพระมหาสัตว์กำลังกล่าวคาถานี้อยู่ ได้เกิดฌานมีโอทาตกสิณเป็นอารมณ์ เพราะหน่วงเอาพระเศวตฉัตรของพระราชาเป็นอารมณ์. แม้พระราชาก็ทรงหายจากโรค พระองค์ทรงมีความยินดี เสด็จลุกจากพระที่บรรทม มีพระดำรัสว่า พวกแพทย์เท่านี้ยังไม่อาจรักษาได้ แต่มาณพผู้เป็นบัณฑิตได้ทำเราให้ปราศจากโรคด้วยญาณวิสัยของตนได้ เมื่อจะทรงปราศรัยกับพระโพธิสัตว์ ได้ตรัสพระคาถาที่ ๑๐ ว่า คาถาทั้งหมด ๘ คาถาที่ท่านกล่าวแล้ว ขอท่านจงรับเอาทรัพย์ทั้ง ๘,๐๐๐ นี้เถิด คำที่ท่านกล่าวนี้เป็นคำยังประโยชน์ให้สำเร็จ. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อฏฺฐ ได้แก่ คาถา ๘ คาถาที่ประกอบด้วยโทษแห่งกาม ตั้งต้นแต่คาถาที่ ๒ ไป. บทว่า สหสฺสิยา แปลว่า ควรแก่ ๑,๐๐๐. บทว่า ปฏิคฺคณฺห ความว่า จงรับเอาทรัพย์ ๘,๐๐๐. บทว่า สาเธตํ ตว ภาสิตํ ความว่า คำที่ท่านกล่าวนี้ยังประโยชน์ให้สำเร็จ. พระมหาสัตว์ได้สดับดังนั้นแล้ว จึงกล่าวคาถาที่ ๑๑ ว่า ข้าพระบาทไม่ต้องการด้วยทรัพย์ร้อยทรัพย์พันหรือทรัพย์หมื่น เมื่อข้าพระบาทกล่าวคาถาสุดท้าย ใจของข้าพระบาทไม่ยินดีในกาม. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปจฺฉิมํ นี้เป็นคาถาสุดท้ายว่า รถกาโรว จมฺมสฺส. บทว่า กาเม เม นิรโต มโน ความว่า ข้าแต่พระมหาราชเจ้า เมื่อข้าพระองค์กำลังกล่าวคาถาอยู่นั่นแล ใจไม่ยินดีทั้งในวัตถุกามทั้งกิเลสกาม เพราะข้าพเจ้านั้นเมื่อกล่าวคาถายังฌานให้บังเกิดด้วยธรรมเทศนาของตนแล. พระราชาทรงยินดีอย่างเหลือประมาณ ในเมื่อจะทรงสรรเสริญพระมหาสัตว์ ได้ตรัสคาถาสุดท้ายว่า มาณพใดเป็นบัณฑิต กำหนดรู้ตัณหาอันยังความทุกข์ให้เกิดแล้ว นำออกได้ มาณพนี้เป็นคนดี เป็นมุนีผู้รู้แจ้งโลกทั้งปวง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ทุกฺขชนนึ ได้แก่ ยังทุกข์ในวัฏฏะทั้งสิ้นให้เกิด. บทว่า ปริชานาติ ได้แก่ กำหนดรู้แล้ว คือกำหนดตัด ตัดขาดนำออกไป เมื่อสรรเสริญพระโพธิสัตว์จึงได้ตรัสอย่างนี้. พระโพธิสัตว์ถวายโอวาทพระราชาว่า ข้าแต่พระมหาราช ขอพระองค์จงเป็นผู้ไม่ประมาทประพฤติธรรมเถิด แล้วเหาะไปยังหิมวันตประเทศ บวชเป็นฤาษี เจริญพรหมวิหารอยู่จนตลอดชนมายุ แล้วไปเกิดในพรหมโลก. พระศาสดา ครั้นทรงนำพระธรรมเทศนานี้มาแสดงแล้ว ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย แม้ในกาลก่อน เราก็ได้ทำให้พราหมณ์นี้คลายความเศร้าโศกด้วยประการดังนี้. แล้วทรงประชุมชาดกว่า พระราชาในครั้งนั้น ได้มาเป็นพราหมณ์นี้ ส่วนมาณพผู้เป็นบัณฑิต ได้มาเป็น เราตถาคต แล. จบอรรถกถากามชาดกที่ ๔
เสียงที่ทำให้จิตเข้าถึงความบริสุทธิ์หลุดพ้นจากกิเลสอาสวะหมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้วสติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
จิตของเราคือหลักธรรมคติธรรม จิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนาเป็นเหตุ เป็นสมุทัยเหตุแห่งทุกข์ ผลของจิตมีตัณหาปรุงแต่งเวทนา เป็นทุกข์อุปาทาน สติเห็นกาย,เวทนา,จิตสังขารหรือธรรม เป็นมรรคปฏิบัติ ผลของสติเห็นกาย,เวทนา,จิต,ธรรม เป็นนิโรธอันพ้นทุกข์ พนมพร คูภิรมย์ กล่าวคือ จิต,อีกทั้งทวารทั้ง๕ ที่ส่งออกไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง ย่อมเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการผัสสะ ย่อมยังให้เกิดเวทนาต่างๆขึ้น เป็นธรรมดา อันเวทนาที่ย่อมเกิดขึ้นเหล่านี้นั่นแล อาจเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาขึ้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปปาทานอันแสนเร่าร้อนเผาลนกระวนกระวายยิ่งกว่าทุกข์โดยธรรมชาติ อีกทั้งยังประกอบด้วยการวนเวียนปรุงแต่งเป็นระยะโดยที่ไม่สามารถหยุดได้อีกเสียด้วย คติธรรมนี้รวบรวมแก่นธรรมอันสําคัญยิ่งทางพุทธศาสนา อันเมื่อบริกรรม ท่องบ่น เพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ เครื่องพิจารณา อันพึงมีความเข้าใจในความหมายของธรรมเหล่านี้ด้วย จึงจักยังผลอันยิ่งใหญ่ อันมี อิทัปปัจจยตา แสดงหลักธรรมอิทัปปัจจยตาที่มีใจความอันสำคัญยิ่ง อีกทั้งเป็นจริงทุกกาลสมัยว่า เพราะเหตุนี้มี ผลเหล่านี้จึงเกิดขึ้น เพราะเหตุนี้ดับ ผลนี้จึงดับ ปฏิจจสมุปบาท : เวทนาเป็นปัจจัยจึงมีตัณหา หมายถึงเมื่อเกิดเวทนาขึ้นแล้ว อาจเกิดตัณหาชนิดความทะยานอยาก(ภวตัณหา) หรือความไม่อยาก(วิภวตัณหา)ต่อเวทนาต่างๆที่เกิดขึ้นเหล่านั้น เป็นเหตุปัจจัยให้เกิดความทุกข์ชนิดประกอบด้วยอุปาทานอันแสนเร่าร้อน เผาลน กระวนกระวายขึ้น สังขาร อันเกิดจาก อาสวะกิเลส เป็นเหตุปัจจัยร่วมกับ อวิชชา เป็นปัจจัยให้เกิด ทุกข์อุปาทาน (รายละเอียดใน ปฏิจจสมุปบาท) อริยสัจ ๔ ทุกข์อันมี ทุกขอริยสัจ และทุกข์อุปาทานอันเป็นทุกข์ สมุทัยคือเหตุแห่งทุกข์ นิโรธคือการพ้นทุกข์ มรรคคือทางปฏิบัติให้พ้นไปจากทุกข์ สติปัฏฐาน๔ : ทางสายเอกในการปฏิบัติ อันควรปฏิบัติในการดำเนินชีวิตประจำวัน กล่าวคือ เห็นธรรมใดคือสติระลึกรู้เท่าทันในธรรมคือในกาย หรือ เวทนา หรือจิต หรือธรรมใดก่อน ก็ปฏิบัติไปตามธรรมนั้นๆ อันมี สติเห็นเวทนา หรือ เวทนานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในเวทนา) ในสติปัฏฐาน ๔, อันคือมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในเวทนา สติเห็นจิตคือจิตตสังขาร(คิด,โทสะ ฯ.) หรือ จิตตานุปัสสนา (สติระลึกรู้เท่าทันในจิตตสังขาร) ในสติปัฏฐาน๔ อันคือสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจในจิตที่หมายถึงจิตตสังขาร(ราคะ, โทสะ, ฟุ้งซ่าน, หดหู่ ฯลฯ หรือความคิด, ความนึก) สติเห็นกาย หรือ กายานุปัสสนา (สติระลึกรู้เท่าทันในกาย) ในสติปัฏาน๔ อันคือฝึกสติและมีสติรู้เท่าทันอย่างเข้าใจใน กายหรือกายสังขาร เช่น สักว่าธาตุ๔ ฯลฯ. สติเห็นธรรม ดังเช่น ธรรมานุปัสสนา(สติระลึกรู้เท่าทันในธรรม) ในสติปัฏฐาน๔ หรือสติเห็นปฏิจจสมุปบาท สติเห็นคือรู้เท่าทันและเข้าใจในธรรมดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ อีกเพื่อให้เกิดปัญญาญาณ(สัมมาญาณ) อันสําคัญยิ่งในการปฏิบัติเพื่อการดับไปแห่งทุกข์ เมื่อมีสติรู้เท่าทันในธรรมทั้ง๔ คือกาย หรือเวทนา หรือจิต หรือธรรม กล่าวคือสิ่งใดสิ่งหนึ่งในธรรมทั้ง๔ นี้ที่บังเกิดขึ้นนั้นๆแล้ว ก็ให้ไม่ยึดมั่น หมายมั่นในสิ่งนั้นๆดังปรากฏในสติปัฏฐาน๔ ด้วยอาการของการเป็นกลางวางทีเฉย(อุเบกขา) โดยการปฏิบัติก็คือ การไม่เอนเอียงไปแทรกแซงคิดนึกปรุงแต่งในเรื่องหรือกิจที่สติเท่าทันนั้นๆ แม้ทั้งทางดีหรือชั่ว อันหมายถึงไม่ยึดมั่นถือมั่นใดๆ กล่าวคือไม่ไปยึดแม้ทั้งในด้านดี(กุศล)หรือด้านร้าย(อกุศล)ในเรื่องนั้นๆ เพราะต่างล้วนเป็นเหตุเป็นปัจจัยกันให้เกิดการปรุงแต่งจนๆเกิดเวทนาต่างๆขึ้น อันอาจเป็นเหตุเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหา อันยังให้เกิดทุกข์อุปาทานอันเร่าร้อนเผาลนขึ้นในที่สุดโดยไม่รู้ตัว อันดำเนินเป็นไปตามหลักปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง หลักปฏิบัติอันสำคัญยิ่งอย่างหนึ่ง และมักเป็นไปกันโดยไม่รู้ตัว คือ อย่าจิตส่งใน ไปแช่นิ่งหรือเสพรส และอย่าส่งจิตออกนอก ไปฟุ้งซ่านปรุงแต่ง (เพราะย่อมเกิดการผัสสะ ให้เกิดเวทนาต่างๆนาๆ อันเวทนาเหล่านั้นอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์อุปาทานขึ้น อันย่อมต้องเป็นไปตามปฏิจจสมุปบันธรรม) ปฏิจจสมุปบาท กระบวนธรรมของการเกิดขึ้นและดับไปแห่งทุกข์ หาอ่านและปรับปรุงข้อธรรมที่เกิดขึ้นได้ใน http://www.nkgen.com http://nkgen.com me Anti Spam แจ้ง Email เมื่อหน้านี้มีการเปลี่ยนแปลง it's private by ChangeDetection สนับสนุน โดย เอ็น.เค.จี. เอ็นจิเนียริ่ง คลิกที่นี่ เพื่อเพิ่มหน้านี้ในแฟ้ม Favorites เพื่อความสะดวกในการเปิดครั้งต่อไป คลิกที่นี่ เพื่อตั้ง ปฏิจจสมุปบาท เป็นหน้าแรกที่เข้า Internet(Home Page) คลิกที่นี่ เพื่อแจ้งข้อบกพร่อง ข้อผิดพลาด เพื่อการแก้ไข คลิกที่นี่ เพื่อ Code ในการ Link มาที่นี่ Anti Spam ยินดีให้เผยแพร่ ส่วนหนึ่งส่วนใด ข้อเขียน ข้อความ ทั้งหลายทั้งปวง ในรูปแบบต่างๆได้ โดยไม่สงวนสิทธิใดๆทั้งสิ้น เพราะย่อมยังประโยชน์แก่ผู้อ่าน โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ปฏิบัติ พระพุทธศาสนา และโลกเป็นที่สุด สารบัญ
จิตของเราคือหลักธรรม ธรรมข้อคิด บางประการของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จากหนังสือ "อตุโล ไม่มีใดเทียม" บันทึกโดย พระโพธินันทะมุนี (สมศักดิ์ ปฺณฑิโต) รวบรวมและเรียบเรียงเป็นเล่มโดย รศ. ดร.ปฐม นิคมานนท์ ผู้เขียน(webmaster) ขอกราบอารธนาธรรมคำสอนของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ด้วยเล็งเห็นว่าธรรมข้อคิดต่างๆของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล พระอริยสงฆ์ แฝงไว้ด้วยแก่นธรรมที่ลึกซึ้ง โดยเฉพาะปฏิจจสมุปบาท, อริยสัจ และขันธ์๕ แต่เป็นไปในลักษณะปริศนาธรรม สั้น กระชับ มีคุณประโยชน์มากแก่ผู้ที่มีพื้นฐานทางธรรมอย่างแท้จริง แต่ยากเกินเข้าใจสําหรับผู้ที่ไม่มีพื้นฐานในธรรม จึงได้พยายามอธิบายความหมายตามความเห็นตามความเข้าใจของผู้เขียน เพื่อยังประโยชน์แก่ผู้ปฏิบัติทั้งหลาย อันอาจมีข้อผิดพลาดสื่อผิดจุดมุ่งหมายบางประการ ก็ต้องกราบขออภัยต่อท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล, ท่านผู้บันทึก และท่านผู้รวบรวมและเรียบเรียงหนังสือนี้ด้วย, เพราะผู้เขียนกระทําด้วยกุศลจิต และท่านนักปฏิบัติทั้งหลายต้องโยนิโสมนสิการด้วยตัวเองอีก จึงจักเกิดประโยชน์บริบูรณ์ ในคําสอนของท่านที่ได้บันทึกไว้เพื่อประโยชน์แก่อนุชนรุ่นหลัง วิธีเจริญจิตภาวนา หลวงปู่ฝากไว้ อเหตุกจิต ประวัติ และปฏิปทา ข้อธรรม คำสอน ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล (ขยายความโดยwebmaster คลิกที่ คลิก ข้างหน้า) คลิก อย่าส่งจิตออกนอกไปเสวยอารมณ์ (webmaster - เสวยอารมณ์ หมายถึงเวทนา) คลิก คิดเท่าไรๆก็ไม่รู้ ต่อเมื่อหยุดคิดได้จึงรู้ แต่ต้องอาศัยความคิดนั่นแหละจึงรู้ (น.๔๕๖) คลิก เกี่ยวกับนิมิต "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" (น.๔๕๔) คลิก "ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล" (น.๕๐๖) คลิก "เวทนากับร่างกายนั้นมีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย" (น.๕๐๔) คลิก เมื่อถึงปรมัตถ์แล้วไม่ต้องการ .........มีผู้กราบเรียนหลวงปู่ว่า หลวงปู่สร้างโบสถ์ ศาลาได้ใหญ่โตสวยงามอย่างนี้ คงจะได้บุญได้กุศลอย่างใหญ่โตทีเดียว ฯ. หลวงปู่กล่าวว่า "ที่เราสร้างนี่ก็สร้างเพื่อประโยชน์ส่วนรวม ประโยชน์สำหรับโลก สำหรับวัดวาศาสนาเท่านั้น ถ้าพูดถึงเอาบุญ เราจะมาเอาบุญอะไรอย่างนี้" (น.๔๕๗) "การฝึกจิต การพิจารณาจิตเป็นวิธีลัดที่สุด" (น.๕๐๕) คลิก มีผู้เรียนถามหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ว่า "ท่านยังมีโกรธอยู่ไหม?" หลวงปู่ตอบสั้นๆว่า "มี แต่ไม่เอา" (น.๔๖๑) คลิก อีกครั้งหนึ่ง มีผู้เรียนถามหลวงปู่เรื่องการละกิเลส "หลวงปู่ครับทําอย่างไรจึงจะตัดความโกรธให้ขาดได้" หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีใครตัดให้ขาดได้หรอก มีแต่รู้ทัน... เมื่อรู้ทันมันก็ดับไปเอง." (น.๔๖๒) อย่างที่พูดในหลักวิชาการเรียนทางศาสนาว่า ศีล สมาธิ ปัญญา ที่ว่าศีลทําให้เกิดอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ฉนั้น พลังจิตที่เกิดประโยชน์อย่างแท้จริงหลังจากเกิดสมาธินั้น หมายถึงว่า จิตนั้นจะยกสภาวะธรรมขึ้นมาพิจารณาไตร่ตรองให้เกิดวิปัสสนาญาณ เกิดปัญญาแล้ว ปัญญานั้นก็จะแจ่มแจ้งดีกว่าจิตที่ไม่เกิดสมาธิ หรือจิตที่ไม่มีสมาธิ (น.๒๒๒) คลิก มีผู้กราบเรียนถามหลวงปู่เรื่องการไว้ทุกข์ หลวงปู่ตอบว่า "ทุกข์ ต้องกําหนดรู้ เมื่อรู้แล้วให้ละเสีย ไปไว้มันทําไม" (น.๔๖๔) คลิก มีผู้อวดอ้างของวิเศษจากสัตว์ต่างๆนาๆ แล้วเรียนถามหลวงปู่ว่าอันไหนวิเศษกว่ากัน หลวงปู่ตอบว่า "ไม่มีดี ไม่มีวิเศษอะไรหรอก เป็นของสัตว์เดียรัจฉานเหมือนกัน" (น.๔๖๕) คลิก "เมื่อตาเห็นรูปแล้ว รู้ว่าสวยงาม หรือน่ารังเกียจอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อหูได้ยินเสียง รู้ว่าไพเราะ หรือน่ารําคาญอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อลิ้นได้ลิ้มรส รู้ว่าอร่อย หรือไม่อร่อย เปรี้ยวหวานมันเค็มอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อจมูกได้กลิ่น หอมหรือเหม็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้ เมื่อกายสัมผัสโผฎฐัพพะ รู้ว่าอ่อนแข็งเป็นอย่างไรแล้ว ก็หยุดเพียงเท่านี้" (น.๒๑๘) คลิก หลักธรรมที่หลวงปู่ใช้พิจารณาคือ "สัพเพสังขารา สัพพะสัญญา อนัตตา" ซึ่งมีคําขยายความในหนังสือหน้า๔๔ ดังนี้ "เมื่อสังขารขันธ์ดับไปแล้ว ความเป็นตัวตนจักไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง ครั้นเมื่อความปรุงแต่งขาดไป สภาพแห่งการเป็นตัวตนไม่มี ความทุกข์จะเกิดขึ้นแก่ใครได้อย่างไร" (น.๔๓) คลิก มีผู้เรียนถามหลวงปู่ "พระอรหันต์ท่านเคยนอนหลับฝันเหมือนคนธรรมดาด้วยหรือเปล่าครับ" ท่านตอบว่า "การหลับแล้วเกิดฝัน เป็นเรื่องของสังขารขันธ์ไม่ใช่หรือ" (น.๕๐๒) คลิก "เรื่องพิธีกรรม หรือบุญกริยาวัตถุต่างๆทั้งหลาย ก็ถือว่าเป็นเรื่องที่ยังให้เกิดกุศลได้อยู่ หากแต่ว่าสําหรับนักปฏิบัติแล้ว อาจถือ ได้ว่าเป็นไปเพื่อกุศลเพียงนิดหน่อยเท่านั้นเอง. (น.๕๐๐) คลิก หลวงปู่อาพาธหนักอยู่ที่โรงพยาบาลจุฬาฯ มีผู้เข้าเยี่ยมแล้วเรียนถามหลวงปู่ "หลวงปู่ยังมีเวทนาอยู่หรือ" หลวงปู่ตอบว่า "เวทนากับร่างกาย มีอยู่ตามธรรมชาติของมัน แต่ไม่ได้เสวยเวทนานั้นเลย" (น.๕๐๔) คลิก เมื่อจิตกระทบเข้ากับอารมณ์ภายนอกอย่างไร ก็ให้หยุดอยู่แค่นั้น, อย่าไปทะเลาะวิวาทโต้แย้ง, อย่าไปเอออวยเห็นดีเห็นงามให้ จิตได้โอกาสก่อรูปก่อร่างเป็นตุเป็นตะเป็นเรื่องเป็นราวยืดยาวออกไป อย่าไปวิพากษ์วิจารณ์ต่อไป อย่าไปใส่ใจอีกต่อไป พอกันเพียงรู้อารมณ์เท่านี้เอง หยุดกันเพียงเท่านี้" (น.๒๒๐) คลิก จิตปรุงกิเลส คือ การที่จิตบังคับให้กาย วาจา ใจ กระทําสิ่งภายนอก ให้มี ให้เป็น ให้เลว ให้เกิดวิบากได้ แล้วยึดติดอยู่ว่า นั่นเป็นตัว นั่นเป็นตน ของเรา ของเขา, กิเลสปรุงจิต คือการที่สิ่งภายนอกเข้ามาทําให้จิตเป็นไปตามอํานาจของมัน แล้วยึดว่ามีตัว มีตนอยู่ สําคัญผิดจากความเป็นจริงอยู่รํ่าไป (น. ๔๘๒) คลิก .......แท้จริงแล้วความทุกข์ร้อนวุ่นวายใจ มักเกิดจากสิ่งภายในใจเราทั้งสิ้น คือ กิเลส ตัณหา อุปาทาน มันก่อขึ้นภายในใจ จนต้องดิ้นรนอย่างน่าเวทนายิ่ง (น.๕๖) คลิก มีไฟไหม้ใหญ่ในจังหวัดสุรินทร์ ผลคือความทุกข์ยากสูญเสีย บางคนเสียใจจนเสียสติ บางรายก็มาลําเลิกให้หลวงปู่ฟังว่า อุตส่าห์ทําบุญเข้าวัด ปฏิบัติธรรมมาตั้งแต่ปู่ย่าตายาย ทําไมบุญกุศลจึงไม่ช่วยคุ้มครอง และหลายรายเลิกเข้าวัดทําบุญ เพราะธรรมะไม่ช่วยให้เขาพ้นจากไฟไหม้ หลวงปู่ได้กล่าวว่า"ไฟมันทําตามหน้าที่ของมัน ธรรมะไม่ได้ช่วยใครในลักษณะนั้น หมายความว่า ความอันตรธาน ความวิบัติ ความเสื่อมสลาย ความพลัดพรากจากกัน สิ่งเหล่านี้มันมีประจําโลกอยู่แล้ว ทีนี้ผู้มีธรรมะ ผู้ปฏิบัติธรรมะเมื่อประสบกับภาวะเช่นนั้นแล้ว จะวางใจอย่างไรจึงไม่เป็นทุกข์ อย่างนี้ต่างหาก ไม่ใช่ธรรมะช่วยไม่ให้แก่ ไม่ให้ตาย ไม่ให้หิว ไม่ให้ไฟไหม้ ไม่ใช่อย่างนั้น." (น.๔๙๘) คลิก ส่วนผู้ที่ประสบภัยพิบัติ หรือผู้ที่ตกในสภาวะอับจน ก็ไม่ควรหมดอาลัยตายอยากควรทําจิตใจให้สงบระงับตั้งมั่นอยู่ ก็จะค่อยๆหาทางออกให้แก่ตนได้ เพราะปัญหาทุกอย่างที่ไม่มีทางออกทางแก้ย่อมไม่มีในโลก ดูเอาเถอะว่า แม้แต่ปัญหาเรื่องความทุกข์ อันเกิดจากความเกิด แก่ เจ็บ ตาย พระพุทธองค์ก็ยังหาคําตอบไว้ให้ได้ สําหรับปัญหาอื่นๆ อันเล็กน้อยจะไม่มีคําตอบได้อย่างไร (น.๑๔๑) คลิก ในทางปฏิบัติที่ว่า ปฏิบัติจิต ปฏิบัติใจ โดยให้ใจอยู่กับใจนี้ ก็คือให้มีสติกํากับใจให้เป็นสติถาวร ไม่ใช่เป็นสติคล้ายๆ หลอดไฟที่จวนจะขาด เดี๋ยวก็สว่างวาบ เดี๋ยวก็ดับ เดี๋ยวก็สว่าง แต่ให้มันสว่างติดต่อกันไปตลอดเวลา เมื่อสติมันติดต่อกัน(webmaster- เป็น สัมมาสมาธิ คือประกอบด้วยความตั้งมั่น)ไปอย่างนี้แล้ว ใจมันก็มีสติควบคุมอยู่ตลอดเวลา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "อยู่กับตัวรู้ตลอดเวลา" ตัวรู้ก็คือ "สติ" นั่นเอง หรือจะเรียกว่า "พุทโธ" ก็ได้ พุทโธที่ว่า รู้ ตื่น เบิกบาน ก็คือตัวสตินั่นแหละ (น.๔๖๙) มีผู้ไปกราบเรียนกับหลวงปู่เรื่องงานที่มีการจัดกันบ่อยๆใกล้วัดว่ารบกวนการปฏิบัติ ท่านได้ตอบดังนี้"มัวสนใจอะไรกับสิ่งเหล่านั้น ธรรมดาแสงย่อมสว่าง ธรรมดาเสียงย่อมดัง หน้าที่ของมันเป็นเช่นนั้นเอง เราไม่ใส่ใจฟังเสียก็หมดเรื่อง จงทําตัวเราไม่ให้เป็นปฏิปักษ์กับสิ่งแวดล้อม เพราะมันมีอยู่อย่างนี้ เป็นอยู่อย่างนี้เอง เพียงแต่ทําความเข้าใจกับมันให้ถ่องแท้ด้วยปัญญาอันลึกซึ้งเท่านั้นเอง" (น. ๔๙๓) คลิก "คําสอนทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั่น เป็นเพียงอุบายให้คนทั้งหลายหันมาดูจิตนั่นเอง คําสอนของพระพุทธองค์มีมากมายก็เพราะกิเลสมีมากมาย แต่ทางที่ดับทุกข์ได้มีทางเดียว พระนิพพาน การที่เรามีโอกาสปฏิบัติธรรมที่ถูกทางเช่นนี้มีน้อยนัก หากปล่อยโอกาสให้ผ่านไปเราจักหมดโอกาสพ้นทุกข์ได้ทันในชาตินี้ แล้วเราจะหลงอยู่ในความเห็นผิดอีกนานแสนนาน เพื่อที่จะพบธรรมอันเดียวกันนี้ ดังนั้น เมื่อเราเกิดมาพบพระพุทธศาสสนาแล้ว รีบปฏิบัติให้พ้นทุกข์เสีย มิฉนั้นจะเสียโอกาสอันดีนี้ไป เพราะว่าเมื่อสัจจธรรมถูกลืม ความมืดมนย่อมครอบงําปวงสัตว์ให้อยู่ในกองทุกข์สิ้นกาลนาน" (น.๔๗๙) มีผู้ไปกราบเรียนหลวงปู่เรื่องสมาธิว่าปฏิบัติได้ดีอย่างยิ่ง เหลือแต่ความสุข สุขอย่างยิ่ง เย็นสบาย แม้จะให้อยู่อย่างนี้นานเท่าไรก็ได้ หลวงปู่ยิ้มแล้วพูด "เออ ก็ดีแล้วที่ได้ผล พูดถึงความสุขในสมาธิมันก็สุขจริงๆ จะเอาอะไรมาเปรียบเทียบมิได้ แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้น มันก็ได้แค่นั้นแหละยังไม่เกิดปัญญาอริยมรรค ที่จะตัด ภพ ชาติ ตัณหา อุปาทาน ให้ละสุขนั้นเสียก่อน แล้วพิจารณาขันธ์๕ให้แจ่มแจ้งต่อไป" (น. ๔๙๕) คลิก มีผู้เรียนถามถึงเรื่องหยุดคิด หยุดนึก หลวงปู่บอกว่า "ก็แสดงถึงความผิดพลาดอยู่แล้ว เพราะบอกให้หยุดคิดหยุดนึก ก็กลับไปคิดที่จะหยุดคิดนั่นเสียอีกเล่า แล้วอาการหยุดจักอุบัติขึ้นได้อย่างไร จงกําจัดอวิชชาแห่งการหยุดคิดหยุดนึกเสียให้สิ้นเลิกล้มความคิดที่จะหยุดคิดเสียก็สิ้นเรื่อง" (น. ๔๘๘) "พระธรรมทั้ง ๘๔๐๐๐ พระธรรมขันธ์นั้น ออกไปจากจิตของพระพุทธเจ้าทั้งหมด ทุกสิ่งทุกอย่างออกจากจิต อยากรู้อะไรค้นได้ที่จิต (ของเราเอง)" (น. ๔๘๙) "การปฏิบัติ ให้มุ่งปฏิบัติเพื่อสํารวม เพื่อความละ เพื่อคลายความกําหนัดยินดี เพื่อความดับทุกข์ ไม่ใช่เพื่อเห็นสวรรค์วิมาน หรือแม้พระนิพพานก็ไม่ต้องตั้งเป้าเพื่อจะเห็นทั้งนั้น ให้ปฏิบัติไปเรื่อยๆไม่ต้องอยากเห็นอะไร เพราะนิพพานมันเป็นของว่างไม่มีตัวไม่มีตน หาที่ตั้งไม่มี หาที่เปรียบไม่ได้ ปฏิบัติไปจึงรู้เอง" (น. ๔๙๔) "........การฟังจากคนอื่น การค้นคว้าจากตํารานั้น ไม่อาจแก้ข้อสงสัยได้ ต้องเพียรปฏิบัติทําวิปัสสนาญาณให้แจ้ง ความสงสัยก็หมดไปโดยสิ้นเชิง" (น. ๔๙๙) มีผู้อยากฟังความคิดความเห็นเรื่องการเวียนว่ายตายเกิดของหลวงปู่ และยกบุคคลมาอ้างว่าท่านผู้นั้น ท่านผู้นี้ระลึกชาติย้อนหลังได้หลายชาติ หลวงปู่ว่า "เราไม่เคยสนใจเรื่องอย่างนี้ แค่อุปจารสมาธิก็เป็นไปได้แล้วทุกอย่างมันออกไปจากจิตทั้งหมด อยากรู้อยากเห็นอะไร จิตมันบันดาลให้รู้ให้เห็นได้ทั้งนั้น และรู้ได้เร็วเสียด้วย หากพอใจเพียงแค่นี้ ผลที่ได้ก็คือ ทําให้กลัวการเวียนว่ายตายเกิดในภพที่ตํ่า แล้วก็ตั้งใจทําดี บริจาคทาน รักษาศีล แล้วก็ไม่เบียดเบียนกัน พากันกระหยิ่มยิ้มย่องในผลบุญของตัว, ส่วนการที่จะขจัดกิเลสเพื่อทําลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน เข้าถึงความพ้นทุกข์อย่างสิ้นเชิงนั้น อีกอย่างหนึ่งต่างหาก" (น.๔๙๙) "ถึงจิตไม่สงบก็ไม่ควรปล่อยให้มันออกไปไกล ใช้สติระลึกไปแต่ในกายนี้ ดูให้เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา อสุภสัญญา หาสาระแก่นสารไม่ได้ เมื่อจิตมองเห็นชัดแล้ว จิตก็เกิดความสลดสังเวช เกิดนิพพิทา ความหน่าย คลายกําหนัด ย่อมตัดอุปาทานขันธ์ได้เช่นเดียวกัน" (น. ๔๗๖) คติธรรมคําสอน ของหลวงปู่ดูลย์ อตุโล จิตที่ส่งออกนอกเพื่อรับสนองอารมณ์ ทั้งสิ้น เป็นสมุทัย (สนองอารมณ์-เวทนา) ผลอันเกิดจากจิตส่งออกนอกแล้วหวั่นไหว เป็นทุกข์ (หวั่นไหว-คิดปรุงแต่ง,ตัณหา) จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นมรรค (สติเห็นจิตสังขารในขันธ์๕) ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้ง เป็นนิโรธ หลวงปู่ ดูลย์ อตุโล Webmaster - จิตส่งออกนอก-ส่งจิตไปคิดนึกปรุงแต่งต่างๆให้เกิดเวทนา รับสนองอารมณ์-เสวยอารมณ์, เวทนา หวั่นไหว-คิดนึกปรุงแต่งแล้วเกิดตัณหา จิตเห็นจิต-สติเห็นทั้งเวทนาและจิตสังขาร หรือ เวทนานุปัสสนา และ จิตตานุปัสสนา คติธรรม คําสอนของท่านหลวงปู่ดูลย์ อตุโล ข้อนี้ในความเห็นของผู้เขียน ล้วนแฝงไว้ด้วยแก่นธรรมอันสําคัญยิ่ง อันน่าจดจําเป็นเครื่องเตือนสติ มีหลักธรรม ๑. อริยสัจ๔ อันแสดงทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ๒. ปฏิจจสมุปบาท อันแสดงให้เห็นถึงกระบวนการเกิดของทุกข์ อันเนื่องจากเวทนาหรือเสวยอารมณ์ ๓. สติปัฏฐาน๔ อันแสดงถึงจิตตานุปัสสนาให้ เห็นจิตในจิต หรือจิตเห็นจิต หรือจิตเห็นจิตสังขาร หรือสติเห็นคิดในขันธ์๕ นั่นเองเช่นโลภะ โทสะ โมหะ หดหู่ ฟุ้งซ่าน ฯล
หลวงปู่สิม-จิตรู้แจ้งที่ปัจจุบันสงบกายนี้สงบได้ง่าย คือ รูปร่างกายของเราทุกคน ถ้าเรานั่งสมาธิเพชร นั่งภาวนาแล้วก็เป็นอันว่ารูปกายก็สงบ สงบเต็มที่ วาจาคำพูดก็เรียกว่าสงบ แต่การสงบจิตนั้นจะต้องภาวนา ถ้าไม่ภาวนาไม่ดูจิตใจ เราสงบไม่ได้ คือจิตมันมีอารมณ์เก่าแก่ที่ผ่านมาในอดีตชาติบ้าง ก็มาเป็นอารมณ์ในเวลาปัจจุบัน แล้วยังจะมีอารมณ์อนาคตกาลข้างหน้าด้วย ก็มาเป็นอารมณ์ในปัจจุบันนี้ เมื่อภาวนาแล้วต้องระงับดับหมด อดีตสิ่งใดที่มันล่วงเลยมาแล้วก็ไม่ต้องนึกคิด คิดถึง ตัดให้มันอยู่ในอดีตล่วงแล้ว อารมณ์ถึง จงนึกจงน้อมภาวนาพุทโธ ในขณะปัจจุบัน ในขณะนี้ เดี๋ยวนี้ ส่วนจิตนั้นเมื่อย่นย่อเข้ามามี 2 อาการ อาการหนึ่งคือจิตใจดวงผู้รู้ อยู่ในตัวคนเราทุกคน มีจิตใจดวงผู้รู้ครองในสังขารแต่ละบุคคล จิตใจดวงนี้นั้นเรียกว่าเป็นดวงจิตที่รู้อยู่ มีความรู้สึกอยู่ในตัวในกาย ในจิตในกายนี้ ไม่ว่าเราจะเอามือไปแตะต้องที่ไหนจนปลายผมก็ตาม ก็มีความรู้สึกเข้าไปถึงจิตใจดวงผู้รู้นี้ นั่นแหละให้สังเกตเข้าไป สู่ดวงจิตที่รู้อยู่ ส่วนต่อจากดวงจิตผู้รู้ออกมาภายนอกท่านให้ชื่อว่า สังขารจิต จิตปรุง จิตแต่ง จิตคิด จิตนึก คือมันเป็นเงาเป็นกิริยาอาการของจิต มันต่อออกมาอีก มันงอกออกมา มันรั่วไหลออกมา อันนี้ท่านให้ละทิ้งคือไม่ให้ตามออกมา มันเข้ามันออกก็ยังมีจิตใจดวงผู้รู้ รู้ว่าจิตเราคิดออกไป เผลอไปลืมไป ไม่ต้องตามไป ละเสียวางเสีย ให้ทวนกระแสมาอยู่กับดวงจิตที่รู้อยู่ จิตผู้รู้คือว่ามันมีอยู่ตลอดเวลา กายสบายมันก็รู้ ร่างกายเราสบายวันนี้ เมื่อร่างกายมันไม่สบายมันก็รู้ รู้ว่ากายไม่สบาย เมื่อจิตมันสบายก็รู้ จิตไม่สบายก็รู้ จิตร้อนก็รู้ จิตหนาวก็รู้ นี่แหละท่านให้รวมจิตใจเข้ามาอยู่ภายในนี้ ไม่ต้องตามไปภายนอก ตามไปภายนอกนั้นไม่มีที่หยุด เหมือนเราเดินไป เดินไปทั่วโลกในพื้นแผ่นดินนี้ไม่ได้ ตายตายก่อนก็ไม่ทั่วจิตภาวนานี้ ท่านก็ไม่ให้ตามออกไป ท่านให้ทวนกระแสเข้ามาว่าจิตใจดวงผู้รู้ฟังอยู่ ได้ยินเสียงตรงไหนเราก็รู้ว่าอยู่ไหน สติระลึกได้ที่นั่น สมาธิจิตตั้งมั่นก็ตั้งลงไปที่นี่ ปัญญาความรอบรู้ในกองสังขารก็รอบรู้อยู่ที่นี่ สงบตั้งมั่นอยู่ในตัว ในกาย ในจิต ตรงที่จิตดวงผู้รู้อยู่ที่ไหนก็ที่นั่นแหละ จนจิตใจดวงนี้สงบระงับ รู้แจ้งเห็นจริงว่า นอกจากจิตใจดวงผู้รู้ภายใน นอกนั้นออกไป ไม่เที่ยงแท้แน่นอนเป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ขึ้นชื่อว่าสังขารทั้งหลาย มีความไม่เที่ยงอย่างนี้ จิตผู้รู้ให้รู้ รู้แล้วอย่าได้หลงใหลไปกับอารมณ์กิเลส ให้รวมจิตใจเข้าไปที่ตรงนี้ มันจะคิดไปไหน ใกล้ไกลไม่ต้องไปตามมันไป ตามรู้อยู่กับที่จิตรู้อยู่ จิตรู้ไปไม่เอาละทิ้ง เอาจิตที่รู้อยู่ คำว่าเอาจิตที่รู้อยู่นั้นคือว่ามันมีอยู่แล้ว ความจริงจิตของคนเราจริง ๆ มันไม่ได้ไปไหน คิดไปปรุงไปอันนั้นเป็นเรื่องสังขาร มันปรุงมันแต่งไปเอง เป็นเรื่องสังขาร เป็นเรื่องสัญญาอารมณ์ เป็นเรื่องกิเลสที่มันดิ้นรนวุ่นวาย กามตัณหามันไป เมื่อจิตใจผู้ภาวนาไม่หลงไปตามไป มันก็ดับไปเอง ไม่มีใครส่งเสริมต่อเติมมันก็ดับ แต่จิตผู้ใดหลงไป ส่งเสริมต่อเติมให้มันก็ไม่มีที่จบที่สิ้น เป็นกามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่มีที่จบที่สิ้น ละวางเสีย หยุดเสีย สงบเสียได้ ขณะนี้เวลานี้มันก็มีเท่านี้ นั่งอยู่ก็พุทโธจิตใจดวงผู้รู้อยู่อย่างนี้ ยืนอยู่ก็พุทโธจิตดวงผู้รู้นี้ เดินไปมาก็จิตดวงนี้ มานั่งมานอนก็จิตดวงนี้แหละ ก็ไม่ต้องหาที่ไหนแล้ว รวมกำลังตั้งมั่นรวมไปในจิตใจดวงผู้รู้อยู่ตลอดเวลา
ฝึกหัดเปลี่ยนนิสัย ; หลวงปู่ชา สุภัทโทฝึกหัดเปลี่ยนนิสัย ; หลวงปู่ชา สุภัทโท
การค้นหาจิตเราจะต้องทำภาวนาพุทโธ ทำให้จิตรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันจึงจะ..สมาธิ โดยบริกรรมพุทโธ พระราชนิโรธรังสี คัมภีรปัญญาวิศิษฏ์ หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง อำเภอศรีเชียงใหม่ จังหวัดหนองคาย คำนำ ในหนังสือเล่มนี้ ผู้เขียนขอวิงวอน และร้องขอเชิญชวน ผู้ที่สอนภาวนากัมมัฏฐานทั้งหลาย ที่สอนภาวนากัมมัฏฐานในพุทธศาสนา จงสอนให้ยึดมั่นแนวเดียวกัน อย่าสอนไปคนละแบบต่างๆกัน จะเป็นทางหายนะแก่พระพุทธศาสนา จงสงสารผู้หวังดีกับพระพุทธศาสนาที่ตั้งใจเข้ามาปฏิบัติ เมื่อมาเห็นเช่นนั้นเข้าแล้วเลยท้อแท้ใจ อนึ่ง คนภายนอกพระพุทธศาสนาเขาจะเห็นไปว่า พระพุทธศาสนานี้สอนมีหลายทางหลายแบบ ไม่เป็นอันเดียวกัน ท่านทั้งหลายคงได้ดูตำรับตำราทางพระพุทธศาสนามากแล้วมิใช่หรือ พระพุทธศาสนาสอนให้เข้าถึงจิตถึงใจอันเดียว กิเลสทั้งหลายเกิดจากจิต จิตเป็นผู้ยึดเอากิเลสมาไว้ที่จิต จิตจึงเศร้าหมอง เมื่อจิตเห็นโทษของกิเลสแล้ว สละถอนกิเลสออกจากจิตได้แล้ว จิตก็ผ่องใสบริสุทธิ์ นี่เป็นหลักพระพุทธศาสนา พระพุทธเจ้าสอนอย่างนี้มิใช่หรือ.
จิตคือพุทธะดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน 5 กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ 5 กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น
เราเป็นใครจิตของเรามาจากไหนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน 5 กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ 5 กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น
เราเป็นใครจิตของเรามาจากไหนดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน 5 กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ 5 กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น
ผู้รู้อยู่ตรงไหนจิตก็ตั้งอยู่ตรงนั้นดวงดาวนับไม่ถ้วน เพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่างๆ เป็นเหตุให้เกิด รูปนามพืช รูปนามพืชเป็นเหตุให้เกิด รูปนามสัตว์ เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนามจะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุเป็นผลให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาล และ(เกิด) การเปลี่ยนแปลง บางอย่างเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืชเปลี่ยนมาเป็นรูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิตของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรกมีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ(มี)ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส 5 อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น สุขุมรูป แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้นไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิดอีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็น เหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมียเกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน 5 กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป 5 กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น รูปปรมาณูกลม คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า รูปวิญญาณ หรือจะเรียกว่า รูปถอด ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้ นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย 5 กองนั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ 5 กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอก ซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหนๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา สุขุมรูป รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้นๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้นๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่างๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฏฏะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว-เหตุเกิด จะหมดไป ชีวิตแท้-รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม-รูปวิญญาณ ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไป ส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณ มันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุกๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของจักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียกว่า นิพพาน เมื่อสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างชีวิตพระพุทธศาสนา ให้ก่อเกิดอย่างบริบูรณ์ดังพระประสงค์แล้ว พระพุทธองค์จึงได้ทรงเสด็จสู่อนุปาทิเสสนิพพาน (นิพพานไม่มีอุปาทิเหลือ, ดับกิเลสไม่มีเบญจขันธ์เหลือ คือสิ้นทั้งกิเลสและชีวิต) เป็นผู้หมดสิ้นทุกตัณหา เป็นผู้ดับรอบโดยลักษณาการแห่งอนุปาทิเสสนิพพานของพระพุทธองค์ก็คือ ลำดับแรก ก็เจริญฌานดิ่งสนิทเข้าไปจนถึงสัญญาเวทยิตนิโรธ หมายความว่า เข้าไปดับลึกสุดอยู่เหนือ อรูปฌาน ในวาระแรกนั้น พระองค์ยังไม่ได้ดับขันธ์ต่างๆ ให้สิ้นสนิทเป็นเด็ดขาดแต่อย่างใด ยังเพียงเข้าไปเพื่อทรงกระบวนการแห่งการสู่นิพพาน หรือนิโรธ เป็นครั้งสุดท้ายแห่งชีวิต พูดง่ายๆ ก็คือสู่สิ่งที่พระองค์ได้ทรงสร้าง ได้ทรงพากเพียรก่อเป็นทาง เป็นแบบอย่างไว้ เป็นครั้งสุดท้ายเสียหน่อย ซึ่งเรียกได้ว่าสิ่งอันเกิดจากที่พระองค์ได้ยอมอยู่กับธุลีทุกข์ อันเป็นธุลีทุกข์ที่มนุษย์ธรรมดา (เป็น) ผู้ที่มีจิตหยาบเกินกว่าจะสัมผัสว่า มันเป็นทุกข์ นี่แหละ กระบวนการกระทำจิตตน ให้ถึงซึ่งสัญญาเวทยิตนิโรธนั้น เป็นกระบวนการที่พระอนุตตรสัมมาสัมพุทธเจ้า พระผู้เป็นยอดแห่งศาสดาในโลกเท่านั้นที่ทรงค้นพบ ทรงนำมาตีแผ่เผย แจ้งออกสู่สัตว์โลกให้พึงปฏิบัติตาม เมื่อทรงสิ่งซึ่งสุดท้ายนี้แล้ว จึงได้ถอยกลับมาสู่สภาวะต้น คือ ปฐมฌาน แล้วจึงได้ตัดสินพระทัยสุดท้าย เสด็จดับขันธ์ต่างๆ ไปทีละขันธ์ วิญญาณขันธ์แห่งชีวิต และร่างกายนั้น เพราะต้องดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรมชั้นแรกเสียก่อน วิญญาณขันธ์จึงได้ดับ ดังนั้น จึงไม่มีเชื้อใดเหลืออยู่แห่งวิญญาณขันธ์ที่หยาบนั้น พระองค์เริ่มดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที อันจะส่งผลให้ก่อ วิภวตัณหา ได้ชั้นหนึ่งเสียก่อน แล้วจึงได้เลื่อนเข้าสู่ ทุติยฌาน แล้วจึงดับ สัญญาขันธ์ เลื่อนเข้าสู่ ตติยฌาน เมื่อ พระองค์ดับสังขารขันธ์ หรือสังขารธรรม ชั้นในสุดอีกที ก็เป็นอันเลื่อนเข้าสู่ จตุตถฌาน คงมีแต่ เวทนาขันธ์ สุดท้ายแห่งชีวิต นั้นแล คือลักษณาการแห่งขั้นสุดท้ายของการจะดับสิ้นไม่เหลือ เมื่อพระองค์ดับ สังขารขันธ์ หรือ สังขารธรรม ใหญ่สุดท้ายที่มีทั้งสิ้นแล้ว แล้วก็มาดับ เวทนาขันธ์ อันเป็น จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ ที่ในจิตส่วนในคือ ภวังคจิต เสียก่อน แล้วจึงได้ออกจาก จตุตถฌาน พร้อมกับมาดับ จิตขันธ์ หรือ นามขันธ์ สุดท้ายจริงๆ ของพระองค์เสียลงเพียงนั้น
เดินสมาธิ จิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทันที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้าถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังมากที่สุดในรอบ 1 เดือน .หรือ..ให้ดู..ร่างกาย จิตใจ ของเราเองตอน ตีสาม ที่เราเริ่มฝัน ให้ดูตรงที่มันเริ่มเรื่องใหม่ ในความฝัน เพราะสติปัญญาของเรามีน้อยถ้าไม่เข้าใจให้กลับมาเริ่มต้น ที่ลมหายใจของเราเอง หายใจเข้ารู้ว่าหายใจเข้า หายใจออก รู้ว่าหายใจออก ตามรู้ที่ลมหายใจของเราเอง ขอให้โชคดีมีความสุขกับการเรียนรู้วิชาของพระพุทธเจ้าครับ จิตเกิดความอยาก จิตจะทุกข์ สังเกตุ ตอนนอนจะมีอาการลูกตากลอกไปมา ตาจะไม่นิ่งตอนหลับ..จิตจะยืมสภาวะธรรมต่าง..ต่าง..แล้วจะสร้างภพ..อย่าเชื่อมันความคิดคือความฝันในตอนกลางวัน..ความฝัน.คือความคิดในตอนหลับ...พอ..จะหลับ...ลุกขึ้นเดิน...จะผ่านด่านแรก ....เรียกว่าฝ่าความง่วง....
หลวงปู่สิม-พุทโธฝึกสติ..พุทโธ ฝึกสติ - พระธรรมเทศนาหลวงปู่สิม พุทธาจาโร สำนักสงฆ์ถ้ำผาปล่อง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
จิตหมดแรงดิ้นสุดท้าย พากเพียรแทบล้มแทบตายก็พบว่าดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้ จิตก็หมดแรงดิ้นนะ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก นี่จิตจะหยุดแรงดิ้น หมดแรงดิ้น จิตที่แรงดิ้นเพราะว่าดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้..รู้..รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่นเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว๊บๆ ก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไงนะ มันจนมุมไปหมดเลย คือ สติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิก็ทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนี่ยจิตถ้าภาวนามาสุดขีดนะมันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุม มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาจนสุดฤทธิ์สุดเดชแล้ว ก็ไม่รู้จะทำยังไง ทำไม่ได้สักที พอจิตหมดแรงดิ้นนะ จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา อย่างที่พวกเราพูดว่าสักว่ารู้ว่าเห็น ไม่จริงหรอก ไม่ยอมสักว่ารู้ว่าเห็นหรอก มีแต่ว่าทำยังไงจะดีกว่านี้อีก ทำยังไงดี ทำยังไงจะดี ทำยังไงจะถูก รู้สึกไหมแต่ละวัน นักปฏิบัติตื่นนอนก็คิดวันนี้จะทำยังไงดี คิดอย่างนี้แหละนะ จนกระทั่งมันสุดสติสุดปัญญา ทำยังไงมันก็ดีกว่านี้ไปไม่ได้แล้ว ยอมรับสภาพมัน จิตหมดแรงดิ้น จิตหมดความปรุงแต่ง หมดแรงดิ้นรน พอจิตไม่มีความปรุงแต่ง ไม่มีความดิ้นรน อยู่ตรงนี้ช่วงหนึ่งนะ พอจิตหมดแรงดิ้นก็ไม่ปรุง อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ อะไรเกิดขึ้นก็แค่รู้ ไม่ปรุงต่อ จิตก็เรียกว่าจิตเข้าถึงความเป็นอนุโลม อนุโลมญาณ หมายถึงว่าอะไรเกิดขึ้นก็คล้อยตามมันไป คล้อยตามนี่ไม่ใชหลงตามมันไป ก็แค่เห็นนะ เออ ก็มีขึ้นมา เออ หายไป ก็แค่นั้นเองนะ ไม่ต่อต้าน ไม่หลงตามไป ยอมรับ มันมาก็มา มันไปก็ไป นี่จิตมีอุเบกขาอย่างแท้จริงเลยนะ คล้อยตามทุกสิ่งทุกอย่าง ก็เห็นแต่ความจริง ทุกอย่างมาแล้วก็ไปมาแล้วก็ไป นี่จิตเห็นอยู่แค่นี้เอง นี่ถ้าจิต สติ สมาธิ ปัญญา ศีล สมาธิ ปัญญา บุญบารมีอะไรแก่รอบแล้วนะ จิตหยุดความปรุงแต่งแล้วมันจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมเอง ทำไมมันรวมเข้าอัปปนาสมาธิได้เอง เพราะว่าจิตไม่ไหลไปตามกาม ฌานมันจะเกิดเอง โดยธรรมชาติของจิตนี่ต้องเวียนอยู่ในภพ ภพที่จิตเวียนอยู่ได้มี ๓ ภพเท่านั้น หนึ่ง กามาวจรภพ ภพที่เวียนไปในกาม คือหาอารมณ์เพลิดเพลินไปทางตา หู จมูก ลิ้น กาย เพลินไปเรื่อย พวกเราจิตหมุนอยู่ติ้วๆ ทางตาหูจมูกลิ้นกาย นึกออกไหม อันนี้แหละเรียกว่ากามภพ เรียกให้เต็มยศนะเรียก กามาวจรภูมิ ใจก็ไปเวียนอย่างนี้ ถ้าหลุดออกจากกามภพนะ ก็เข้าไป รูปภพ หรือว่า รูปภูมิ ก็คือเข้าไปสงบอยู่กับการรู้รูป เช่นรู้ลมหายใจ แล้วจิตไม่เอาแล้วโลกข้างนอก อารมณ์ทางตาหูจมูกลิ้นกาย ไม่เห็นจะมีสาระอะไร จิตมารวมลงที่อารมณ์ภายในอันเดียว อาจจะมารู้ลมหายใจอยู่อันเดียว รู้ร่างกายอยู่อันเดียว มาเพ่งรูปอยู่อันเดียว เพ่งดวงกสิณ ดวงนิมิตอยู่อันเดียว จิตเพ่งรูปอยู่เรียกว่ารูปภูมิ ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้า อรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม เช่นไปอยู่กับความว่าง จิตอยู่ในความว่าง อยู่กับความไม่มีอะไรเลยเพราะงั้นที่เค้าสอนภาวนา บางคนสอนภาวนาให้ไปอยู่ในความว่าง อันนั้นเพี้ยนนะ ไม่ใช่ทางของพระพุทธเจ้า มันก็เป็นอรูปภูมิ เป็นภูมิอีกภูมิหนึ่ง เป็นภพอีกภพหนึ่งเท่านั้นเอง งั้นถ้าสติปัญญาเราพอนะ เรารู้เลยจิตมันแส่ส่ายออกทางตาหูจมูกลิ้นกายมีแต่ทุกข์ จิตไม่แส่ส่าย พอจิตไม่แส่ส่ายจิตก็หลุดออกจากกามภูมิ เข้ารูปภูมิหรืออรูปภูมิ เข้าเองเลย เพราะงั้นพวกเราหัดเจริญสติไปเรื่อย พอศีลสมาธิปัญญา สติสมาธิปัญญาแก่รอบนะ จิตจะหมดความหลงไหลรูปเสียงกลิ่นรสโผฏฐัพพะทั้งหลายมาดึงดูดจิตไหลไปไม่ได้แล้ว อย่างน้อยก็ชั่วขณะ ชั่วขณะเท่านั้นแหละ ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์จากการที่เราอดทนภาวนากันนะ
ผู้ไม่มีร่องรอยกิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า
สังโยชน์ 5 (สักกายทิฏฐิ, วิจิกิจฉา, สีลัพพตปรามาส, กามฉันทะ, พยาบาท)เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล
กามารมย์ การสมรส การสืบพันธ์ ฯ พุทธทาสภิกขุ.เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล
โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก..เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก บุรุษผู้มีจักษุ คือปัญญา ปรารถนา ความสุขแก่ตน พึงเว้นหญิงเสียเหมือนกับบ่วงและข่ายที่ดักไว้ในสกุล ในถนนสายหนึ่ง ในราชธานี หรือในนิคม ผู้ใดสละเสียแล้วซึ่งตบะคุณ อันเป็นกุศล ประพฤติจริตอันมิใช่ของพระอริยะ ผู้นั้นต้องกลับจาก เทวโลกไปคลุกเคล้าอยู่กับนรก เหมือนพ่อค้าซื้อหม้อแตก ฉะนั้น บุรุษ ผู้ตกอยู่ในอำนาจของหญิง ย่อมถูกติเตียนทั้งในโลกนี้และโลกหน้า กรรมของตนกระทบแล้ว เป็นคนโง่เขลา ย่อมไปพลั้งๆ พลาดๆ โดย ไม่แน่นอน เหมือนรถที่เทียมด้วยลาโกง ย่อมไปผิดทาง ฉะนั้น ผู้ตกอยู่ ในอำนาจของหญิง ย่อมเข้าถึงนรกเป็นที่เผาสัตว์ให้รุ่มร้อน และนรกอัน มีป่าไม้งิ้ว มีหนามแหลมดังหอกเหล็ก แล้วมาในกำเนิดสัตว์ ดิรัจฉาน ย่อมไม่พ้นจากวิสัยเปรตและอสุรกาย หญิงย่อมทำลายความ เล่นหัว ความยินดี ความเพลิดเพลินอันเป็นทิพย์ และจักรพรรดิสมบัติ ในมนุษย์ของชายผู้ประมาทให้พินาศ และยังทำชายนั้นให้ถึงทุคติอีกด้วย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้ การเล่นหัว ความยินดีอันเป็นทิพย์ จักรพรรดิสมบัติในมนุษย์ และนาง เทพอัปสรอันอยู่ในวิมานทอง โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการ หญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชายเหล่านั้นพึงได้คติที่ก้าวล่วงเสียซึ่ง กามธาตุ รูปธาตุ สมภพ และคติที่เข้าถึงวิสัยความปราศจากราคะ โดยไม่ยากเลย ชายเหล่าใดไม่ต้องการหญิง ประพฤติพรหมจรรย์ ชาย เหล่านั้นเป็นผู้ดับแล้ว สะอาด พึงได้นิพพานอันเกษม อันก้าวล่วงเสีย ซึ่งทุกข์ทั้งปวง ล่วงส่วน ไม่หวั่นไหว ไม่มีอะไรปรุงแต่ง โดยไม่ยาก เลย. พญานกกุณาละในครั้งนั้นเป็นเรา พญานกดุเหว่าขาวเป็นพระอุทายี พญา แร้งเป็นพระอานนท์ นารทฤาษีเป็นพระสารีบุตร บริษัททั้งหลายเป็น พุทธบริษัท เธอทั้งหลายจงทรงจำกุณาลชาดกไว้อย่างนี้แล
ตัดกามฉันทะตัวเดียวถึงพระนิพพาน - หลวงพ่อฤาษีลิงดําดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
โทษของกามราคะ วิธีการละกามราคะดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้วดูกรมหานาม ถ้าแม้ว่า อริยสาวกเล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบตามเป็นจริงว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ แต่อริยสาวก นั้นเว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ยังไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เธอจะ ยังเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามไม่ได้ก่อน แต่เมื่อใด อริยสาวกได้เล็งเห็นด้วยปัญญาโดยชอบ ตาม ความเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเธอก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข หรือกุศลธรรมอื่นที่สงบกว่า นั้น เมื่อนั้น เธอย่อมเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามเป็นแท้. ดูกรมหานาม แม้เราเมื่อเป็นโพธิสัตว์ ยังมิได้ตรัสรู้ ก่อนตรัสรู้ทีเดียว ก็เล็งเห็นด้วย ปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้นมาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม ไม่บรรลุปีติและสุข หรือกุศล ธรรมอื่นที่สงบกว่านั้น เราจึงปฏิญาณว่าเป็นผู้ไม่เวียนมาในกามมิได้ก่อน แต่เมื่อใด เราเล็งเห็น ด้วยปัญญาโดยชอบ ตามเป็นจริงอย่างนี้ว่า กามให้ความยินดีน้อย มีทุกข์มาก มีความคับแค้น มาก โทษในกามนี้ยิ่ง ดังนี้ และเราก็เว้นจากกาม เว้นจากอกุศลธรรม บรรลุปีติและสุข และ กุศลอื่นที่สงบกว่านั้น เมื่อนั้น เราจึงปฏิญาณได้ว่า เป็นผู้ไม่เวียนมาในกาม.
Buddham Saranam Gachcahmi Angulimal SOBEBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
Buddham Saranam Gachcahmi Angulimal SOBEBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
Buddham Saranam Gachcahmi Angulimal SOBEBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
Gautama BuddhaBUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI GHABADAE JAB MAN-ANAMOL HRIDYA HO UTHE ḌAṆVAḌOL. GHABADAE JAB MAN-ANAMOL AUR HRIDYA UTHE HO ḌAṆVAḌOL. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI JAB AṢANTIKÃ RAG UTHE LÃLLAHUKÃ̃ PHAG UTHE. HINSÃ KI TO ÃG UTHE MÃNAV MEṆ PAṢU JAG̣ UTHE. UPARASE MUSAKÃ TE NAN BHITÃR DAHAKA RAHE TO HO. HO TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. (BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI) JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE. JAB DUNIYÃN SE PYAR UTHE . NAPHARAT KĨ DĨVÃR UTHE. MÃN KI MAMATÃ PAR USKĨ BEṬEKI TALAVÃR UTHE. DHARATĨ KĨ KÃYÃKÃPE AMBAR DAGMAG UTHE DOL . HO TAB MÃNAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HĨ TAB MANAV TO MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. DŨR KIYÃ JISANE JANAJANAKE VYÃKULMANAKÃ ANDHIYÃRÃ JISAKI EKA KIRNAKO CHŨKAR CAMAK UTHÃ YE JAGA SÃRÃ.. DĨPA SATYAKÃ SADÃ JALE. DAYÃ AHIṂSA SADÃ PALE. SUKHAṢANTI KĨ CHAYAM MEṆ JAN GAṆA MANAKÃ PREM PALE. PHÃRAT KE BHAGAVAN BUDDHAKÃ GŨÑJE GHARGHAR MANTRA AMOL. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. HE MÃNAV NITA MUKHASE BOL. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. BUDDHAM SARANAM GACCHÃMI. DHAMMAM SARANAM GACCHÃMI. SANGG̣HAM SARANAM GACCHÃMI. เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เม เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
Gautama Buddhaเมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เม เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ”
Mahabodhi Temple Complex at Bodh Gaya (UNESCO/NHK)Buddan Saranan Gachchami
วันจันทร์ที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
นิสสรณะ วิมุติวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
ไม่มีใครทำให้จิตบรรลุมรรคผลหรือหลุดพ้นได้.การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู ถ้าจิตไม่อยู่ในกามภูมิ ไม่อยู่ในรูปภูมิ จิตก็ต้องเข้าอรูปภูมิ ทิ้งรูปไปแล้วไปอยู่กับนามธรรม ... ที่จะเกิดอริยมรรค อริยผล ในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรค จนถึงอรหัตตมรรค .. เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์ เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป ก็มีความเพียรนะ มีสติแล้วก็มีความเพียรไป พอมีสติแล้ว ศรัทธาก็เพิ่มขึ้น มีสติแล้วใจก็จะตั้งมั่น ที่ใจเรานั่งภาวนาแล้วเคลิ้มง็อกแง็ก ง็อกแง็ก เป็นเพราะขาดสติ สติจำเป็นในที่ทุกสถานในกาลทุกเมื่อ ต้องมีสติ จะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน รู้สึกตัว แต่รู้สึกตัวไม่ใช่เพ่งตัว ไม่ใช่เพ่งกาย ไม่ใช่เพ่งใจ ไม่ใช่เพ่งลมหายใจ ไม่ใช่เพ่งท้องพองยุบ ไม่ใช่เพ่งเท้าเพ่งมือ ไม่ใช่เพ่งร่างกายทั้งกาย ไม่ใช่เพ่งจิต ไม่ใช่เพ่งเวทนา ไม่ได้เพ่งอะไรเลย แค่รู้สึกตัวขึ้นมาแล้วก็รู้ถึงความมีอยู่ของกาย รู้ถึงความมีอยู่ของใจ พอรู้ไปใจมันตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูอยู่นะ ไม่ขาดสตินะใจมันตั้งมั่นเป็นคนดู ตรงที่ใจตั้งมั่นเป็นคนดูเราจะเห็นเลย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งใจอยู่ส่วนหนึ่งมีช่องว่างมาคั่น เวทนา ความสุขความทุกข์อยู่ส่วนหนึ่งจิตใจอยู่ส่วนหนึ่ง มีช่องว่างมาคั่น เราจะเห็นเวทนาอยู่นอกๆ ใจอยู่ต่างหาก สัญญา สังขารก็เหมือนกันนะ กุศล อกุศล ทั้งหลายเป็นสังขาร เราเห็นมันอยู่นอกๆ มันไม่ใช่จิตหรอก มันอยู่นอกๆ มีช่องว่างมาคั่นระหว่างจิตกับกิเลสเนี่ย ไม่สัมผัสกัน อย่างนี้เรียกว่าใจของเราตั้งมั่นอยู่ ทีนี้อะไรๆเกิดขึ้นในกายในใจ เราก็เห็นว่า ทั้งกายทั้งใจเขาทำงานของเขาไปเรื่อย ใจมันอยู่ต่างหาก ใจมันตั้งมั่น ตัวนี้เรียกว่ามีสัมมาสมาธิ ใจมันตั้งมั่นอยู่ ถ้าใจไม่ตั้งมั่นใจก็ไหล ไหลเข้าไปไหน ไหลเข้าไปรวมอยู่กับกาย ไหลไปรวมอยู่กับเวทนา ไหลไปรวมอยู่กับสังขาร จิตตสังขารในใจเรา ไหลไปรวมกับความว่างๆ หรือบางทีก็ไหลออกนอก ไหลไปคิดไปนึกไปปรุงไปแต่ง นี้เรียกว่าใจมันไม่ตั้งมั่น ใจเราจะแฉลบซ้ายแฉลบขวาอยู่ทั้งวันนะ ค่อยฝึกนะ ฝึกไปช่วงหนึ่งจะมองเห็น ใจจะแฉลบไปแฉลบมาอยู่ตลอดเวลา เนี่ยในห้องเนี่ย รู้สึกมั้ย ใจจะแฉลบอยู่ตลอดเวลา เดี๋ยวแฉลบไปดู เดี๋ยวแฉลบไปฟัง เดี๋ยวแฉลบไปคิด เดี๋ยวแฉลบไปเพ่ง มีสารพัดรูปแบบ เนี่ยใจมันไม่มีสัมมาสมาธิ ถ้ามันมีสตินะ ใจหลงไปคิด รู้ทันว่าใจมันหลงไปคิด ใจจะตั้งมั่นขึ้นมา ตั้งขึ้นได้แว้บเดียวนะ เดี๋ยวก็ไหลอีก นี่พอเราไหลไปแล้วรู้ เราไหลไปรู้ จะตั้งได้นาน มันจะเหมือนตั้งได้ต่อเนื่อง ความจริงไม่ได้ต่อเนื่องหรอก จิตที่ตั้งมั่นก็เกิดดับทีละขณะเหมือนกับจิตชนิดอื่นนั่นแหละ แต่มันเกิดบ่อย เกิดบ่อยจนรู้สึกเหมือนอยู่ได้นานๆ พออยู่ได้อย่างนี้เรื่อยๆนะ ก็ บางทีสติไประลึกรู้กายเข้า บางทีสติไประลึกรู้จิตเข้า จงใจระลึกไม่ได้ ระลึกของมันเอง เดี๋ยวก็รู้กายเดี๋ยวก็รู้จิต รู้มากๆมันจะเห็นความจริง เอ๊ะกายตะกี้นี้อย่างนี้ กายตอนนี้อย่างนี้ จิตตะกี้นี้อย่างนี้จิตเดี๋ยวนี้อย่างนี้ เห็นว่าไม่เหมือนกัน หรือเห็นว่ากายในปัจจุบันนี้ ที่เรามองอยู่นี้มันของถูกรู้ถูกดู จิตที่เราตามรู้ตามดูก็ของถูกรู้ถูกดู ไม่มีตัวเราเลย ไม่ใช่ตัวเราเลย เป็นของถูกรู้ถูกดูทั้งหมด การที่เห็นกายเห็นใจไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ไม่ใช่ตัวเรา เป็นของถูกรู้ถูกดูบ้าง เป็นของอยู่นอกๆบ้าง เป็นของเกิดดับบ้าง เป็นของที่ถูกความทุกข์บีบคั้นบ้าง เห็นอย่างนี้เรียกว่าเห็นความจริง การเห็นความจริงนี้เรียกว่าปัญญา เพราะฉะนั้นอาศัยการมีสติเนี่ย เราก็เลยเกิดศรัทธา เกิดวิริยะ เกิดสมาธิ เกิดปัญญาขึ้นมา ไม่ใช่ว่าต้องทำแยกเป็นตัวๆนะ ยกเว้นสมาธิน่ะ สมาธิบางทีเราเจริญสตินานๆไปนะ สมาธิมันตกได้เหมือนกัน อย่างนั้นต้องพักผ่อนจิตใจบ้าง ทำสมถะได้ก็ทำ ถ้าทำสมถะไม่เป็นก็ให้รู้ทันเอาว่าจิตมันไหลไปข้างนอกแล้ว ไปแช่อยู่ข้างนอกนิ่งๆละ ถ้าจิตยังมีแรงอยู่นะ มันจะไหลแว้บไป กลับไปกลับมา กลับไปกลับมา นี่ยังมีแรงอยู่ ถ้าไหลไปแว้บ..ออกไป แล้วก็ไปนอนนิ่งๆอยู่ข้างนอกนะ ส่วนใหญ่ไปนอนแช่อยู่ข้างหน้าเนี่ย นั่นน่ะมันหมดแรงแล้ว นั่นหมดแรงอย่างหนึ่งนะ อีกอย่างหนึ่งก็คือ ไปหลงเพลินในความสุขเสียแล้ว นะ มีสองแบบนะ ที่ไหลไปแช่อยู่ข้างหน้า อันหนึ่งเพราะว่าหมดเรี่ยวหมดแรงที่จะรู้สึกตัวละ ใจไม่มีแรงที่จะตั้งมั่น นะ อีกอันหนึ่งก็มันไปเพลินในความสุข ไปนอนแช่นิ่งๆอยู่ ทีแรกก็ใจมันไม่มีแรงก่อนนะ มันก็เลยไหลไปอยู่ข้างหน้าไปนอนนิ่งๆ พอนอนนิ่งๆแล้วรู้สึกเอ๊ะสบายดี..เลยชอบเลยคราวนี้เลยติดอยู่ข้างหน้า กลับบ้านไม่ได้แล้วไปนอนอยู่หน้าบ้าน คล้ายๆนอนอยู่ในบ้านนานแล้ว เบื่อแล้ว ออกไปนอนเล่นหน้าบ้านนะ ดูเอ๊..ท้องฟ้าปลอดโปร่ง ดาวสวย อะไรอย่างนี้ นอนไปนอนมาเพลินเลยไม่เข้าบ้านเลย กลายเป็นพวกเร่ร่อนจรจัดไปแล้ว เนี่ยใจมันไม่ตั้งมั่น ค่อยสังเกตเอา
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันการที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
การนั่งสมาธิให้จิตนิ่ง กับการบรรลุธรรม เป็นคนละเรื่องกันการที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
วันอาทิตย์ที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌาน..คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร
ศาสนาพุทธไม่ใช่ศาสนาแห่งการขอบทเรียนที่หนึ่งชื่อว่า ศีลสิกขา บทเรียนที่สอง จิตสิกขา อาภัพไม่มีคนเรียน ถ้าเรียนจิตสิกขา สำเร็จหลักสูตรจิตสิกขา เราจะได้จิต ซึ่งเหมาะกับการทำวิปัสนา แต่ถ้าไม่เรียนนะ เราจะมีจิตที่เหมาะกับการทำสมถะ เช่นเราไปคิดเรื่องกายไปเพ่งกาย ไปคิดเรื่องเวทนา ไปเพ่งเวทนา ไปคิด เรื่องจิตไปเพ่งจิต เพ่งจิตก็ไม่ใช่วิปัสนา เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ เรียนนะ ค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราเริ่มตื่นขึ้นมาอย่างแท้จริง แล้วเราจะทำวิปัสนาอย่างจริงๆ ได้ เอาเท่านี้ก่อนนะ สรุป ถ้า มีสติก็มีศีล มีสติก็มีสมาธิ มีสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นสติรับรู้อะไรปั๊ป จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจมากเข้าๆ จะเกิดปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจ เกิดมรรคผล นิพพานขึ้นนะ
เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรงhttp://www.youtube.com/user/MrSompongt/featured http://www.youtube.com/watch?v=_zt1O0mfmew http://www.youtube.com/watch?v=35AA4IP0_0U http://www.youtube.com/watch?v=DMCSAUKl6Hk http://www.youtube.com/watch?v=wxPVFYizJ0M http://www.youtube.com/watch?v=kMvOS5FTKhE http://www.youtube.com/watch?v=bCfqUWItVm0 http://www.youtube.com/watch?v=VQZMdARwscg http://www.youtube.com/watch?v=abqrLKoLNsc http://www.youtube.com/watch?v=cXU3N1R9jZg http://www.youtube.com/watch?v=pyXrLOJzIOo http://www.youtube.com/watch?v=z_qdTnBuUKY http://www.youtube.com/watch?v=YrSDqbWSArc http://www.youtube.com/watch?v=-6F-Hj92w6A http://www.youtube.com/watch?v=XuThYLw1pIg http://www.youtube.com/watch?v=go3qKeRgMwc http://www.youtube.com/watch?v=IU-2nXZQG3M http://www.youtube.com/watch?v=cNeXJn2GzgE http://www.youtube.com/watch?v=jryLXkvK9nA http://www.youtube.com/watch?v=IuMOeAVq2P8 http://www.youtube.com/watch?v=kElglwzdyW4 http://www.youtube.com/watch?v=Wt9RjhKJNOU http://www.youtube.com/watch?v=2s-tXCj0UPY http://www.youtube.com/watch?v=IuS6KKuh_8w http://www.youtube.com/watch?v=_ZznWVylw5I http://www.youtube.com/watch?v=twkvQQ7c3qc http://www.youtube.com/watch?v=nse37ZeifwY http://www.youtube.com/watch?v=GGZgiUVukd4 http://www.youtube.com/watch?v=YeCJuUyvpAU http://www.youtube.com/watch?v=lsOLNshDQSw http://www.youtube.com/watch?v=TrC1qe5UntU http://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw http://www.youtube.com/watch?v=dfjbGcMJxpU http://www.youtube.com/watch?v=P3WDJJxTb64 http://www.youtube.com/watch?v=L8kTdxN2s4o http://www.youtube.com/watch?v=VKDcA13WWFE http://www.youtube.com/watch?v=fddoE6RFDtc http://www.youtube.com/watch?v=qdsDOm6L7Vs http://www.youtube.com/watch?v=Cb3yJW1M3ro http://www.youtube.com/watch?v=ow8OmeUU0cw http://www.youtube.com/watch?v=jFMX1WeqkAM http://www.youtube.com/watch?v=eX5unrmGnPc http://www.youtube.com/watch?v=iImuzuFDgKU http://www.youtube.com/watch?v=avQRpxDpdos http://www.youtube.com/watch?v=YLtIHEKLyQ8 http://www.youtube.com/watch?v=OHj-ptQ9ZyE http://www.youtube.com/watch?v=f3SOLzOUnvw http://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 http://www.youtube.com/watch?v=v6qpsaL0HhE http://www.youtube.com/watch?v=jbqcYAisSwo http://www.youtube.com/watch?v=n5B0VJYvu9U http://www.youtube.com/watch?v=eEv64R6jDMw http://www.youtube.com/watch?v=00WG-HgrVn0 http://www.youtube.com/watch?v=UxZq52trUGg http://www.youtube.com/watch?v=VhCAhtSUiVg http://www.youtube.com/watch?v=hAvZsskUcLg http://www.youtube.com/watch?v=RUtBhIv_xOg http://www.youtube.com/watch?v=PPU3xr1nDv4 http://www.youtube.com/watch?v=_hgE0RUmwOs http://www.youtube.com/watch?v=ChOUGDG5OU0 http://www.youtube.com/watch?v=9yrM81EELx8 http://www.youtube.com/watch?v=kyzT6zvmkDw http://www.youtube.com/watch?v=CX9f6zgZmWI http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=VSgnpBGL1Pg http://www.youtube.com/watch?v=57bJlcdrLqg http://www.youtube.com/watch?v=6Mys6jv1YRk http://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA http://www.youtube.com/watch?v=z1x7NKF_Sy8 http://www.youtube.com/watch?v=WE9riRuQLcs http://www.youtube.com/watch?v=_JNSc2QOdwY http://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg http://www.youtube.com/watch?v=_XPWPI3uJXw http://www.youtube.com/watch?v=ynxSRSOsF8w http://www.youtube.com/watch?v=FPC67MdEZiI http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=tUat2rFQYsM http://www.youtube.com/watch?v=-L_ACmhE4ro http://www.youtube.com/watch?v=djVTbW-sg_Q http://www.youtube.com/watch?v=C-_50YAt3AA http://www.youtube.com/watch?v=3zpTA3pF_ao http://www.youtube.com/watch?v=2Jfv7hEbg88 http://www.youtube.com/watch?v=fX-s0ODbXho http://www.youtube.com/watch?v=xtz1_-1oMsk http://www.youtube.com/watch?v=JboEh5T-VdE http://www.youtube.com/watch?v=nwrjWZ7XicA http://www.youtube.com/watch?v=z8Y_M_4MDqU http://www.youtube.com/watch?v=yWG6RHYU8Rw http://www.youtube.com/watch?v=j-9v856xrl0 http://www.youtube.com/watch?v=UlfpFRHun14 http://www.youtube.com/watch?v=w3MeaL7d-ZE http://www.youtube.com/watch?v=FCXR0ReeBsg http://www.youtube.com/watch?v=CYiiYnBgLdc http://www.youtube.com/watch?v=vUD68rti4Lk http://www.youtube.com/watch?v=GtZcAIPgxxo http://www.youtube.com/watch?v=skqQYQm1grw http://www.youtube.com/watch?v=xSwU4kiRdw8 http://www.youtube.com/watch?v=CzVp_-MP84k http://www.youtube.com/watch?v=0YMr5JhaHoU http://www.youtube.com/watch?v=SnhnNlu9Gi8 http://www.youtube.com/watch?v=MYsdOYikxfM http://www.youtube.com/watch?v=PZzMvTEnl0A http://www.youtube.com/watch?v=7ZFjwbYbaFk http://www.youtube.com/watch?v=VcWYY1Ot83Y http://www.youtube.com/watch?v=fZ6W2K3VAVs http://www.youtube.com/watch?v=XAxWglkvxhc http://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 http://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 http://www.youtube.com/watch?v=ucDsgWDC3lo http://www.youtube.com/watch?v=OY1u0LSMZ9E http://www.youtube.com/watch?v=3VfbBbfMFGU http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=XPhW6LNOVLU http://www.youtube.com/watch?v=9g9TroSM1gI http://www.youtube.com/watch?v=QTUk4a4l6sI http://www.youtube.com/watch?v=0FsWDpTZTJM http://www.youtube.com/watch?v=LHR_jSk5Dag http://www.youtube.com/watch?v=998KKwoPCl0 http://www.youtube.com/watch?v=YERYlMCHpn0 http://www.youtube.com/watch?v=fFZXYPB8w9E http://www.youtube.com/watch?v=AuVMkjmOjxc http://www.youtube.com/watch?v=ZQpVoosUZBM
โซล่าเซลล์ขับมอเตอร์สามเฟสควบคุมด้วย PS21244 MC3PHAChttp://www.youtube.com/user/MrSompongt/featured http://www.youtube.com/watch?v=LPlTdDmECso&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=Jr4PA2yZjFY&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=Z_JSi0kmXMg&list=UU20nBm3_5W2tAtyJOL_qaXw http://www.youtube.com/watch?v=_zt1O0mfmew http://www.youtube.com/watch?v=35AA4IP0_0U http://www.youtube.com/watch?v=DMCSAUKl6Hk http://www.youtube.com/watch?v=wxPVFYizJ0M http://www.youtube.com/watch?v=kMvOS5FTKhE http://www.youtube.com/watch?v=bCfqUWItVm0 http://www.youtube.com/watch?v=VQZMdARwscg http://www.youtube.com/watch?v=abqrLKoLNsc http://www.youtube.com/watch?v=cXU3N1R9jZg http://www.youtube.com/watch?v=pyXrLOJzIOo http://www.youtube.com/watch?v=z_qdTnBuUKY http://www.youtube.com/watch?v=YrSDqbWSArc http://www.youtube.com/watch?v=-6F-Hj92w6A http://www.youtube.com/watch?v=XuThYLw1pIg http://www.youtube.com/watch?v=go3qKeRgMwc http://www.youtube.com/watch?v=IU-2nXZQG3M http://www.youtube.com/watch?v=cNeXJn2GzgE http://www.youtube.com/watch?v=jryLXkvK9nA http://www.youtube.com/watch?v=IuMOeAVq2P8 http://www.youtube.com/watch?v=kElglwzdyW4 http://www.youtube.com/watch?v=Wt9RjhKJNOU http://www.youtube.com/watch?v=2s-tXCj0UPY http://www.youtube.com/watch?v=IuS6KKuh_8w http://www.youtube.com/watch?v=_ZznWVylw5I http://www.youtube.com/watch?v=twkvQQ7c3qc http://www.youtube.com/watch?v=nse37ZeifwY http://www.youtube.com/watch?v=GGZgiUVukd4 http://www.youtube.com/watch?v=YeCJuUyvpAU http://www.youtube.com/watch?v=lsOLNshDQSw http://www.youtube.com/watch?v=TrC1qe5UntU http://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw http://www.youtube.com/watch?v=dfjbGcMJxpU http://www.youtube.com/watch?v=P3WDJJxTb64 http://www.youtube.com/watch?v=L8kTdxN2s4o http://www.youtube.com/watch?v=VKDcA13WWFE http://www.youtube.com/watch?v=fddoE6RFDtc http://www.youtube.com/watch?v=qdsDOm6L7Vs http://www.youtube.com/watch?v=Cb3yJW1M3ro http://www.youtube.com/watch?v=ow8OmeUU0cw http://www.youtube.com/watch?v=jFMX1WeqkAM http://www.youtube.com/watch?v=eX5unrmGnPc http://www.youtube.com/watch?v=iImuzuFDgKU http://www.youtube.com/watch?v=avQRpxDpdos http://www.youtube.com/watch?v=YLtIHEKLyQ8 http://www.youtube.com/watch?v=OHj-ptQ9ZyE http://www.youtube.com/watch?v=f3SOLzOUnvw http://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 http://www.youtube.com/watch?v=v6qpsaL0HhE http://www.youtube.com/watch?v=jbqcYAisSwo http://www.youtube.com/watch?v=n5B0VJYvu9U http://www.youtube.com/watch?v=eEv64R6jDMw http://www.youtube.com/watch?v=00WG-HgrVn0 http://www.youtube.com/watch?v=UxZq52trUGg http://www.youtube.com/watch?v=VhCAhtSUiVg http://www.youtube.com/watch?v=hAvZsskUcLg http://www.youtube.com/watch?v=RUtBhIv_xOg http://www.youtube.com/watch?v=PPU3xr1nDv4 http://www.youtube.com/watch?v=_hgE0RUmwOs http://www.youtube.com/watch?v=ChOUGDG5OU0 http://www.youtube.com/watch?v=9yrM81EELx8 http://www.youtube.com/watch?v=kyzT6zvmkDw http://www.youtube.com/watch?v=CX9f6zgZmWI http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=VSgnpBGL1Pg http://www.youtube.com/watch?v=57bJlcdrLqg http://www.youtube.com/watch?v=6Mys6jv1YRk http://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA http://www.youtube.com/watch?v=z1x7NKF_Sy8 http://www.youtube.com/watch?v=WE9riRuQLcs http://www.youtube.com/watch?v=_JNSc2QOdwY http://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg http://www.youtube.com/watch?v=_XPWPI3uJXw http://www.youtube.com/watch?v=ynxSRSOsF8w http://www.youtube.com/watch?v=FPC67MdEZiI http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=svdDbLp23js http://www.youtube.com/watch?v=tUat2rFQYsM http://www.youtube.com/watch?v=-L_ACmhE4ro http://www.youtube.com/watch?v=djVTbW-sg_Q http://www.youtube.com/watch?v=C-_50YAt3AA http://www.youtube.com/watch?v=3zpTA3pF_ao http://www.youtube.com/watch?v=2Jfv7hEbg88 http://www.youtube.com/watch?v=fX-s0ODbXho http://www.youtube.com/watch?v=xtz1_-1oMsk http://www.youtube.com/watch?v=JboEh5T-VdE http://www.youtube.com/watch?v=nwrjWZ7XicA http://www.youtube.com/watch?v=z8Y_M_4MDqU http://www.youtube.com/watch?v=yWG6RHYU8Rw http://www.youtube.com/watch?v=j-9v856xrl0 http://www.youtube.com/watch?v=UlfpFRHun14 http://www.youtube.com/watch?v=w3MeaL7d-ZE http://www.youtube.com/watch?v=FCXR0ReeBsg http://www.youtube.com/watch?v=CYiiYnBgLdc http://www.youtube.com/watch?v=vUD68rti4Lk http://www.youtube.com/watch?v=GtZcAIPgxxo http://www.youtube.com/watch?v=skqQYQm1grw http://www.youtube.com/watch?v=xSwU4kiRdw8 http://www.youtube.com/watch?v=CzVp_-MP84k http://www.youtube.com/watch?v=0YMr5JhaHoU http://www.youtube.com/watch?v=SnhnNlu9Gi8 http://www.youtube.com/watch?v=MYsdOYikxfM http://www.youtube.com/watch?v=PZzMvTEnl0A http://www.youtube.com/watch?v=7ZFjwbYbaFk http://www.youtube.com/watch?v=VcWYY1Ot83Y http://www.youtube.com/watch?v=fZ6W2K3VAVs http://www.youtube.com/watch?v=XAxWglkvxhc http://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 http://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 http://www.youtube.com/watch?v=ucDsgWDC3lo http://www.youtube.com/watch?v=OY1u0LSMZ9E http://www.youtube.com/watch?v=3VfbBbfMFGU http://www.youtube.com/watch?v=LjH1nxFdJXM http://www.youtube.com/watch?v=XPhW6LNOVLU http://www.youtube.com/watch?v=9g9TroSM1gI http://www.youtube.com/watch?v=QTUk4a4l6sI http://www.youtube.com/watch?v=0FsWDpTZTJM http://www.youtube.com/watch?v=LHR_jSk5Dag http://www.youtube.com/watch?v=998KKwoPCl0 http://www.youtube.com/watch?v=YERYlMCHpn0 http://www.youtube.com/watch?v=fFZXYPB8w9E http://www.youtube.com/watch?v=AuVMkjmOjxc http://www.youtube.com/watch?v=ZQpVoosUZBM
วันเสาร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
จงพากันทำตัวให้เหมือนกับนักรบเมืองโบราณสมัยก่อนต้องทำกำแพงล้อมเมืองให้แน...
คนเล่นฌานบทเรียนที่หนึ่งชื่อว่า ศีลสิกขา บทเรียนที่สอง จิตสิกขา อาภัพไม่มีคนเรียน ถ้าเรียนจิตสิกขาสำเร็จหลักสูตรจิตสิกขา เราจะได้จิต ซึ่งเหมาะกับการทำวิปัสนาแต่ถ้าไม่เรียนนะ เราจะมีจิตที่เหมาะกับการทำสมถะเช่นเราไปคิดเรื่องกายไปเพ่งกาย ไปคิดเรื่องเวทนา ไปเพ่งเวทนา ไปคิด เรื่องจิตไปเพ่งจิต เพ่งจิตก็ไม่ใช่วิปัสนา เพราะฉะนั้นเราต้องค่อยๆ เรียนนะ ค่อยๆ สังเกตจิตใจของเราเริ่มตื่นขึ้นมาอย่างแท้จริง แล้วเราจะทำวิปัสนาอย่างจริงๆ ได้ เอาเท่านี้ก่อนนะ สรุป ถ้ามีสติก็มีศีล มีสติก็มีสมาธิ มีสติรู้ทันจิตที่ไม่ตั้งมั่นจิตจะตั้งมั่นขึ้นมา พอจิตตั้งมั่นสติรับรู้อะไรปั๊ป จะเกิดปัญญาเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจ เห็นไตรลักษณ์ของกายของใจมากเข้าๆ จะเกิดปล่อยวางความยึดถือกายยึดถือใจเกิดมรรคผล นิพพานขึ้นนะ
ไกวัลยธรรม "สิ่งที่มีอยู่ก่อนสิ่งทั้งปวง"ไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ และมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ตามความหมายของไกวัลยธรรม การวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ย่อมไปถึงวาระสุดท้ายคือ "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ หมายถึง การรู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบว่า ความทุกข์ได้หมดสิ้นไปแล้ว ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดย่อมไม่มีอีกต่อไป อย่างนี้เรียก "เบิกบานถึงที่สุด" ซึ่งจัดเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของทุกชีวิต. ความเบิกบานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การมีชีวิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การเข้าถึง "พุทธภาวะ" ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แยกมาจากดวงอาทิตย์ แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นดวงไฟ ครั้นเย็นลง จึงเกิดมีชีวิตขึ้น ลักษณะอย่างนี้ย่อมกล่าวได้ว่า มีชีวิตซ่อนอยู่แล้วในดวงไฟ เมื่อได้โอกาสจึงปรากฏตัวออกมาเป็นชีวิตคน ดังที่ปรากฏอยู่นี้. วิวัฒนาการอย่างนี้ กล่าวตามหลักธรรม ก็ได้แก่ กฏเกณฑ์ของ "อิทัปปัจจยตา" หรือ "สามัญญลักษณะ" มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนเกิดความรู้สึกนึกคิด ความสุขความทุกข์ ทำให้มีการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งพบการดับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ในที่สุด เป็นสภาวะของความเบิกบานถึงที่สุดแห่งความเป็น "พุทธภาวะ". ข้อนี้ เป็นการแสดงว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธภาวะ" ได้มีมาแล้ว ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มิฉะนั้นก็ไม่อาจเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นพุทธภาวะได้ โดยความหมายนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในคนทุกคน ในชีวิตทุกชีวิต รอเวลาที่จะทำให้เจริญเติบโตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถึงที่สุด อันเป็นลักษณะของการเข้าถึง หรือเป็นปรากฏการณ์ของ "พุทธภาวะ" จัดเป็นการเข้าถึง "ความสมบูรณ์" แห่งชีวิต. ไกวัลยธรรม กับความเป็นพุทธะ คำว่า "ไกวัลยตา" หมายถึง "ความที่มันเป็นอย่างนั้น" ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง "สิ่งที่เป็นอย่างนั้น" คือเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด และมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงตลอดเวลา บุคคลจะสามารถเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" ด้วยการทำให้ "พุทธภาวะ" เปิดเผยออกมา จากสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ คือ กิเลส ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของพุทธบริษัท จึงอยู่ที่การเรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนาให้รู้จักธรรมชาติของตัวเองตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ก็จะทำให้เข้าถึง "พุทธภาวะ" โดยความหมายนี้ เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" กับ "พุทธภาวะ" ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันโดยสิ่งแรกเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่สองเป็นปรากฏการณ์ของพุทธะ เรียก "ไกวัลยธรรม" เปรียบได้กับเชื้อแห่งการเกิด และสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนมาจากเชื้อเริ่มแรกที่มองไม่เห็น อันเนื่องมาจากการผสมพันธุ์ของพ่อแม่ แล้วคลอดออกมาเป็นคนในภายหลัง หรือเปรียบอีกนัยหนึ่ง ความเป็นต้นมะม่วง มันย่อมรวมอยู่เสร็จแล้วในเมล็ดมะม่วง ไกวัลยตาเปรียบเมล็ดมะม่วง พุทธภาวะเปรียบต้นมะม่วง นั่นคือ สิ่งทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลต่อกัน หรือจะกล่าวว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้ ถ้าเปรียบด้วยการฟักไข่ จะเห็นชัดยิ่งขึ้น ในไข่ไก่ฟองหนึ่ง ย่อมมีความเป็นตัวไก่อยู่ในนั้น แต่ในฟองไก่ จะไม่ปรากฏความเป็นตัวไก่แต่ประการใด จนกระทั่ง ทำการฟักชั่วเวลาหนึ่ง จึงออกมาเป็นตัวไก่ ข้อนี้หมายความว่า ใน"ความที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" เรามองไม่เห็นด้วยตา แต่ย่อมให้ความมั่นใจว่า "มันต้องเป็นอย่างนั้น" เป็นการแน่นอน นั่นคือ ในทุกชีวิตมีเชื้อแห่งความเป็น"พุทธะ"อยู่แล้ว รอเวลาที่จะมีการฟักออกเป็นตัว พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระองค์เองเหมือนลูกไก่ตัวพี่ ซึ่งฟักออกมาก่อนใคร ข้อนี้เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" เป็นเชื้อแห่ง "ไกวัลยธรรม" เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ ชื่อว่าเข้าถึง"พุทธะ" นั่นคือ "ไกวัลยธรรม" กับ "พุทธะ" ก็คือสิ่งเดียวกัน เชื้อแห่งความเป็นพุทธะ มีอยู่ในทุกสิ่ง คำว่า "ทุกสิ่ง" ในที่นี้ หมายรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีชีวติยังต้องรอการวิวัฒนาการอีกไกล จึงจะปรากฏเป็นความพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภาวะ ผู้ที่มีความพร้อมต่อการที่จะเข้าถึงความเป็น "พุทธะ" ได้แก่ สภาวะแห่งความเป็นคน ดังที่คนโบราณได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้ว่า "เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นลาภอันประเสริฐ" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ลาภอันประเสริฐ" ในที่นี้ ก็คือ โอกาสที่จะเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. ธาตุแห่งความเป็น "พุทธะ" ในตัวคน ได้แก่ "ความรู้สึกนึกคิด" เมื่อมีความรู้สึกนึกคิด ทำให้เกิดปัญญารู้จักตัวเองตามเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางย่อมหลุดพ้นและนิพพาน นั่นคือ ลำดับของการเข้าถึง "พุทธะ" อันเริ่มต้นมาจาก "ความรู้สึกนึกคิด" ฉะนั้น ความเป็นคนจึงจัดเป็นธรรมชาติที่มีความพร้อมต่อการเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. การประสมธาตุอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดชีวิต นักคิดบางพวก มีความเห็นว่า การประสมกันอย่างถูกส่วนระหว่างธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมทำให้เกิดชีวิตได้ แต่ในทางพุทธศาสนาได้เติมเอา อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ เข้าไปด้วย จึงเป็นธาตุ ๖ ความจริง วิญญาณธาตุ มันสิงซึมอยู่ในธาตุ ๔ แต่นักคิดพวกนั้นมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ อากาศธาตุ หมายถึง "ความว่าง" หรือ ที่ว่าง อันเป็นที่ตั้งหรือที่รองรับของธาตุทั้งปวง ถ้าไม่มีที่ว่าง สิ่งทั้งปวงก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้. เป็นอันกล่าวได้ว่า ไม่มีธาตุใดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการประสมปรุงแต่งกันทุกๆ ธาตุ อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" และมีความรู้สึกได้. สิ่งที่ต้องสังเกตและจำไว้เป็นหลัก ก็คือว่า "ถ้ามีชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย" อันหมายรวมถึง คน สัตว์ และพืช ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ คือ มีความรู้สึกได้. เมื่อถือเอาตามความหมายที่ว่า ในทุกธาตุย่อมมีวิญญาณธาตุแฝงอยู่ จักทำให้เข้าใจว่า แม้ในวัตถุธาตุ ก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสิ่งทั้งปวงที่อยู่ในอาณาจักรแห่งไกวัลยธรรม ย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ ฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ การมองเห็นว่า สิ่งทั้งปวงทุกสิ่งย่อมเต็มไปด้วยเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทำให้มีความเคารพรักในสิทธิของสิ่งทั้งปวง แม้เม็ดกรวดเม็ดทราย ไม่ทำให้เกิดการดูถูกว่า เป็นของชั้นต่ำ อันเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ยึดมั่นถือมั่นเป็นเขาเป็นเรา จะมีความเห็นแจ่มแจ้งอยู่ว่า ทุกสิ่งมีสภาพแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน เป็นการเข้าถึงสภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยกเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งของ นั่นคือ มีแต่ธรรมชาติแห่ง "ความเป็นพุทธะ" แม้ในปรมาณูหนึ่งๆ ก็มีค่าสำหรับความเป็นพุทธะ หรือสำหรับความมีชีวิตในอนาคต ถ้าได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมเมื่อไร มันก็แสดงรูปออกมาเป็นความมีชีวิต หรือมีความรู้สึก ซึ่งเป็นเชื้อแห่งความเป็นพุทธะโดยตรง อันจะต้องมีการพัฒนาต่อไป จนเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความพร้อมต่อการที่จะรู้แจ้ง "อริยสัจจ์ ๔" ความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไปสู่ความรู้แจ้ง คือรู้ผิดรู้ถูก แต่ธรรมชาติแห่งความรู้สึก กับเชื้อแห่งความรู้สึก มันอยู่ห่างไกลกันมาก ยกตัวอย่างคนๆ หนึ่ง นับตั้งแต่เกิดในท้องแม่ ย่อมมีความรู้สึกเกิดมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีความนึกคิด และการที่ปรากฏออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ย่อมแสดงว่า มันมีเชื้อแห่งความรู้สึกนึกคิดก่อตัวมาก่อนแล้ว ดังกล่าวแล้วว่า ความรู้แจ้งได้แก่ "การรู้ผิดรู้ถูก" ความรู้นี้จะรุดหน้าต่อไปจนกระทั่ง มีความเบิกบานเต็มที่ถึงที่สุด เรียก "พุทธสภาวะ" การที่มีความรู้แจ้งได้อย่างนี้ แสดงว่า "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในธรรมชาติอันนั้น. ความเป็นพุทธะ รุดหน้าได้ถึงจุดสมบูรณ์ ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมไหลไปสู่นิพพาน ทั้งนี้มีความแตกต่างกัน ตรงที่ธรรมชาติแห่งพุทธะจะเบิกบานได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัย ดูตัวอย่างพระเทวทัต แม้จะทำผิดถึงขั้นอนันตริยกรรม ครั้นรับบาปใช้กรรมใช้เวรหมดแล้ว ในที่สุดก็ยังจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ด้วยเหตุแห่งการสำนึกผิด และน้อมจิตถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อนถูกแผ่นดินสูบ นี่เป็นการแสดงถึง ความถูกต้องที่พัฒนาขึ้นมาจากความผิด การที่พุทธสภาวะ หรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ได้วิวัฒนาการมาถึงระดับความเป็นคน นั้นแสดงว่า มีความพร้อมในการที่จะเข้าถึงพุทธสภาวะได้โดยเร็ว ดังเช่นมีปรากฏว่า สามเณรเด็กๆ ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ข้อนี้ หมายความว่า บุคคลถ้าไม่ปิดประตูตัวเองเสียด้วยอุปาทาน ผู้นั้นจักดำเนินเข้าสู่พุทธสภาวะได้โดยเร็ว เวลานี้มีการกล่าวกันว่า การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งหมดสมัยแล้ว แต่ถ้าเข้าใจว่า ธรรมชาติแห่งพุทธสภาวะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ อย่างเดียวกับไกวัลยธรรม เพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ย่อมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกส่วนของสิ่งที่เกี่ยวกับ "ไกวัลยธรรม" ดังนี้แล้ว ย่อมทำให้พบความจริงว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ จักไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา และสถานที่เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ ถ้ากล่าวตามหลักอริยสัจจ์ ๔ แล้ว จะยืนยันได้ทันทีว่า ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทุกศาสนา มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ และมีสภาพเป็นหนึ่งเดียว แม้จะแยกออกเป็นกี่ส่วน ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน ดังที่กล่าวว่า "หนึ่งสิ่งในทุกสิ่งและทุกสิ่งในสิ่งหนึ่ง" เปรียบด้วยน้ำ แม้จะแยกไปอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมยังสภาพแห่งความเป็นน้ำอย่างเดียวกัน โดยความหมายนี้แสดงว่า ทุกศาสนาย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ฉะนั้น ทุกศาสนาแม้จะต่างกันโดยชื่อหรือรูปแบบ แต่ก็ตั้งอยู่ในกฏแห่งไกวัลยธรรมอย่างเดียวกัน ในเมื่อธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นอันเดียวกับไกวัลยธรรม โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน. กล่าวให้ชัดถึงตัวบุคคล โดยเหตุที่ทุกคนมีเชื้อหรือธรรมชาติแห่งพุทธะและทุกศาสนาก็บัญญัติขึ้นเพื่อคน แล้วจุดหมายปลายทางของทุกคนจักไปสู่ความดับทุกข์ คือ "พุทธภาวะ" ฉะนั้น ทุกศาสนาย่อมบัญญัติขึ้นสอน เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน คือ "ความเป็นพุทธะ" ความหวังต่อการเข้าถึงพุทธภาวะ เมื่อทำความเข้าใจได้ว่า "พุทธภาวะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในไกวัลยธรรม โดยเหตุที่ไกวัลยธรรมเป็นที่รวมของทุกสิ่ง ฉะนั้น ทุกสิ่งย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะในตัวมันเอง เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมทำให้มีความหวัง มีความมั่นใจ มีความแน่ใจ และมีความกล้าหาญต่อการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภาวะในตนเอง พร้อมกันนั้น ก็จะมีความเมตตากรุณา หรือเคารพรักในสิ่งทั้งปวง ในฐานะที่มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน ชาวโลกจะไม่มีทางเบียดเบียนกันด้วยความเข้าใจอันนี้ เพราะการเบียดเบียนผู้อื่นที่แท้ก็คือ การเบียดเบียนตนเอง ในทางตรงกันข้าม การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการช่วยเหลือตัวเอง ในความหมายเดียวกัน การมองเห็นความเป็นพุทธะในสิ่งอื่น ย่อมทำให้ความเป็นพุทธะในตนเองเบิกบานงอกงามขึ้น ชาวธิเบตทำความเคารพผู้อื่น ด้วยการทำความรู้สึกว่าเป็นการเคารพพระพุทธเจ้าในตัวผู้นั้น สรุปความ ตามที่ได้แสดงมาในตอนนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกสิ่ง ในฐานะเป็นไกวัลยธรรม เช่นเดียวกับเชื้อแห่งความมีชีวิต ย่อมมีในทุกสิ่ง และไม่อาจแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่มีชีวิต กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมมีเชื้อแห่งความมีชีวิตพร้อมอยู่ในนั้น แม้สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่มันก็มีเชื้อแห่งความที่จะมีความรู้สึกซ่อนอยู่ในนั้น รอเวลาต่อการที่จะพัฒนาไปสู่ความมีชีวิต และความรู้สึกต่อไป. เป็นอันว่า ความที่จะวิวัฒนาการเป็นบุคคลผู้รู้แจ้งถึงที่สุด นับเป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มีได้แก่ทุกหน่วยของสิ่งที่กำลังถูกสมมติว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เมื่อทำใจให้เปิดกว้างอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสิ่ง เมื่อเมตตาเจริญ ปัญญาก็ย่อมเจริญ แล้วการ "ตรัสรู้" ก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยง่าย แสดงน้อยลง
ภาวะแห่งความตื่นไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ และมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ตามความหมายของไกวัลยธรรม การวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ย่อมไปถึงวาระสุดท้ายคือ "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ หมายถึง การรู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบว่า ความทุกข์ได้หมดสิ้นไปแล้ว ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดย่อมไม่มีอีกต่อไป อย่างนี้เรียก "เบิกบานถึงที่สุด" ซึ่งจัดเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของทุกชีวิต. ความเบิกบานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การมีชีวิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การเข้าถึง "พุทธภาวะ" ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แยกมาจากดวงอาทิตย์ แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นดวงไฟ ครั้นเย็นลง จึงเกิดมีชีวิตขึ้น ลักษณะอย่างนี้ย่อมกล่าวได้ว่า มีชีวิตซ่อนอยู่แล้วในดวงไฟ เมื่อได้โอกาสจึงปรากฏตัวออกมาเป็นชีวิตคน ดังที่ปรากฏอยู่นี้. วิวัฒนาการอย่างนี้ กล่าวตามหลักธรรม ก็ได้แก่ กฏเกณฑ์ของ "อิทัปปัจจยตา" หรือ "สามัญญลักษณะ" มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนเกิดความรู้สึกนึกคิด ความสุขความทุกข์ ทำให้มีการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งพบการดับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ในที่สุด เป็นสภาวะของความเบิกบานถึงที่สุดแห่งความเป็น "พุทธภาวะ". ข้อนี้ เป็นการแสดงว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธภาวะ" ได้มีมาแล้ว ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มิฉะนั้นก็ไม่อาจเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นพุทธภาวะได้ โดยความหมายนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในคนทุกคน ในชีวิตทุกชีวิต รอเวลาที่จะทำให้เจริญเติบโตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถึงที่สุด อันเป็นลักษณะของการเข้าถึง หรือเป็นปรากฏการณ์ของ "พุทธภาวะ" จัดเป็นการเข้าถึง "ความสมบูรณ์" แห่งชีวิต. ไกวัลยธรรม กับความเป็นพุทธะ คำว่า "ไกวัลยตา" หมายถึง "ความที่มันเป็นอย่างนั้น" ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง "สิ่งที่เป็นอย่างนั้น" คือเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด และมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงตลอดเวลา บุคคลจะสามารถเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" ด้วยการทำให้ "พุทธภาวะ" เปิดเผยออกมา จากสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ คือ กิเลส ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของพุทธบริษัท จึงอยู่ที่การเรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนาให้รู้จักธรรมชาติของตัวเองตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ก็จะทำให้เข้าถึง "พุทธภาวะ" โดยความหมายนี้ เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" กับ "พุทธภาวะ" ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันโดยสิ่งแรกเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่สองเป็นปรากฏการณ์ของพุทธะ เรียก "ไกวัลยธรรม" เปรียบได้กับเชื้อแห่งการเกิด และสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนมาจากเชื้อเริ่มแรกที่มองไม่เห็น อันเนื่องมาจากการผสมพันธุ์ของพ่อแม่ แล้วคลอดออกมาเป็นคนในภายหลัง หรือเปรียบอีกนัยหนึ่ง ความเป็นต้นมะม่วง มันย่อมรวมอยู่เสร็จแล้วในเมล็ดมะม่วง ไกวัลยตาเปรียบเมล็ดมะม่วง พุทธภาวะเปรียบต้นมะม่วง นั่นคือ สิ่งทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลต่อกัน หรือจะกล่าวว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้ ถ้าเปรียบด้วยการฟักไข่ จะเห็นชัดยิ่งขึ้น ในไข่ไก่ฟองหนึ่ง ย่อมมีความเป็นตัวไก่อยู่ในนั้น แต่ในฟองไก่ จะไม่ปรากฏความเป็นตัวไก่แต่ประการใด จนกระทั่ง ทำการฟักชั่วเวลาหนึ่ง จึงออกมาเป็นตัวไก่ ข้อนี้หมายความว่า ใน"ความที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" เรามองไม่เห็นด้วยตา แต่ย่อมให้ความมั่นใจว่า "มันต้องเป็นอย่างนั้น" เป็นการแน่นอน นั่นคือ ในทุกชีวิตมีเชื้อแห่งความเป็น"พุทธะ"อยู่แล้ว รอเวลาที่จะมีการฟักออกเป็นตัว พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระองค์เองเหมือนลูกไก่ตัวพี่ ซึ่งฟักออกมาก่อนใคร ข้อนี้เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" เป็นเชื้อแห่ง "ไกวัลยธรรม" เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ ชื่อว่าเข้าถึง"พุทธะ" นั่นคือ "ไกวัลยธรรม" กับ "พุทธะ" ก็คือสิ่งเดียวกัน เชื้อแห่งความเป็นพุทธะ มีอยู่ในทุกสิ่ง คำว่า "ทุกสิ่ง" ในที่นี้ หมายรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีชีวติยังต้องรอการวิวัฒนาการอีกไกล จึงจะปรากฏเป็นความพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภาวะ ผู้ที่มีความพร้อมต่อการที่จะเข้าถึงความเป็น "พุทธะ" ได้แก่ สภาวะแห่งความเป็นคน ดังที่คนโบราณได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้ว่า "เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นลาภอันประเสริฐ" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ลาภอันประเสริฐ" ในที่นี้ ก็คือ โอกาสที่จะเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. ธาตุแห่งความเป็น "พุทธะ" ในตัวคน ได้แก่ "ความรู้สึกนึกคิด" เมื่อมีความรู้สึกนึกคิด ทำให้เกิดปัญญารู้จักตัวเองตามเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางย่อมหลุดพ้นและนิพพาน นั่นคือ ลำดับของการเข้าถึง "พุทธะ" อันเริ่มต้นมาจาก "ความรู้สึกนึกคิด" ฉะนั้น ความเป็นคนจึงจัดเป็นธรรมชาติที่มีความพร้อมต่อการเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. การประสมธาตุอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดชีวิต นักคิดบางพวก มีความเห็นว่า การประสมกันอย่างถูกส่วนระหว่างธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมทำให้เกิดชีวิตได้ แต่ในทางพุทธศาสนาได้เติมเอา อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ เข้าไปด้วย จึงเป็นธาตุ ๖ ความจริง วิญญาณธาตุ มันสิงซึมอยู่ในธาตุ ๔ แต่นักคิดพวกนั้นมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ อากาศธาตุ หมายถึง "ความว่าง" หรือ ที่ว่าง อันเป็นที่ตั้งหรือที่รองรับของธาตุทั้งปวง ถ้าไม่มีที่ว่าง สิ่งทั้งปวงก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้. เป็นอันกล่าวได้ว่า ไม่มีธาตุใดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการประสมปรุงแต่งกันทุกๆ ธาตุ อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" และมีความรู้สึกได้. สิ่งที่ต้องสังเกตและจำไว้เป็นหลัก ก็คือว่า "ถ้ามีชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย" อันหมายรวมถึง คน สัตว์ และพืช ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ คือ มีความรู้สึกได้. เมื่อถือเอาตามความหมายที่ว่า ในทุกธาตุย่อมมีวิญญาณธาตุแฝงอยู่ จักทำให้เข้าใจว่า แม้ในวัตถุธาตุ ก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสิ่งทั้งปวงที่อยู่ในอาณาจักรแห่งไกวัลยธรรม ย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ ฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ การมองเห็นว่า สิ่งทั้งปวงทุกสิ่งย่อมเต็มไปด้วยเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทำให้มีความเคารพรักในสิทธิของสิ่งทั้งปวง แม้เม็ดกรวดเม็ดทราย ไม่ทำให้เกิดการดูถูกว่า เป็นของชั้นต่ำ อันเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ยึดมั่นถือมั่นเป็นเขาเป็นเรา จะมีความเห็นแจ่มแจ้งอยู่ว่า ทุกสิ่งมีสภาพแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน เป็นการเข้าถึงสภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยกเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งของ นั่นคือ มีแต่ธรรมชาติแห่ง "ความเป็นพุทธะ" แม้ในปรมาณูหนึ่งๆ ก็มีค่าสำหรับความเป็นพุทธะ หรือสำหรับความมีชีวิตในอนาคต ถ้าได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมเมื่อไร มันก็แสดงรูปออกมาเป็นความมีชีวิต หรือมีความรู้สึก ซึ่งเป็นเชื้อแห่งความเป็นพุทธะโดยตรง อันจะต้องมีการพัฒนาต่อไป จนเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความพร้อมต่อการที่จะรู้แจ้ง "อริยสัจจ์ ๔" ความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไปสู่ความรู้แจ้ง คือรู้ผิดรู้ถูก แต่ธรรมชาติแห่งความรู้สึก กับเชื้อแห่งความรู้สึก มันอยู่ห่างไกลกันมาก ยกตัวอย่างคนๆ หนึ่ง นับตั้งแต่เกิดในท้องแม่ ย่อมมีความรู้สึกเกิดมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีความนึกคิด และการที่ปรากฏออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ย่อมแสดงว่า มันมีเชื้อแห่งความรู้สึกนึกคิดก่อตัวมาก่อนแล้ว ดังกล่าวแล้วว่า ความรู้แจ้งได้แก่ "การรู้ผิดรู้ถูก" ความรู้นี้จะรุดหน้าต่อไปจนกระทั่ง มีความเบิกบานเต็มที่ถึงที่สุด เรียก "พุทธสภาวะ" การที่มีความรู้แจ้งได้อย่างนี้ แสดงว่า "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในธรรมชาติอันนั้น. ความเป็นพุทธะ รุดหน้าได้ถึงจุดสมบูรณ์ ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมไหลไปสู่นิพพาน ทั้งนี้มีความแตกต่างกัน ตรงที่ธรรมชาติแห่งพุทธะจะเบิกบานได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัย ดูตัวอย่างพระเทวทัต แม้จะทำผิดถึงขั้นอนันตริยกรรม ครั้นรับบาปใช้กรรมใช้เวรหมดแล้ว ในที่สุดก็ยังจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ด้วยเหตุแห่งการสำนึกผิด และน้อมจิตถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อนถูกแผ่นดินสูบ นี่เป็นการแสดงถึง ความถูกต้องที่พัฒนาขึ้นมาจากความผิด การที่พุทธสภาวะ หรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ได้วิวัฒนาการมาถึงระดับความเป็นคน นั้นแสดงว่า มีความพร้อมในการที่จะเข้าถึงพุทธสภาวะได้โดยเร็ว ดังเช่นมีปรากฏว่า สามเณรเด็กๆ ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ข้อนี้ หมายความว่า บุคคลถ้าไม่ปิดประตูตัวเองเสียด้วยอุปาทาน ผู้นั้นจักดำเนินเข้าสู่พุทธสภาวะได้โดยเร็ว เวลานี้มีการกล่าวกันว่า การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งหมดสมัยแล้ว แต่ถ้าเข้าใจว่า ธรรมชาติแห่งพุทธสภาวะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ อย่างเดียวกับไกวัลยธรรม เพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ย่อมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกส่วนของสิ่งที่เกี่ยวกับ "ไกวัลยธรรม" ดังนี้แล้ว ย่อมทำให้พบความจริงว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ จักไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา และสถานที่เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ ถ้ากล่าวตามหลักอริยสัจจ์ ๔ แล้ว จะยืนยันได้ทันทีว่า ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทุกศาสนา มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ และมีสภาพเป็นหนึ่งเดียว แม้จะแยกออกเป็นกี่ส่วน ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน ดังที่กล่าวว่า "หนึ่งสิ่งในทุกสิ่งและทุกสิ่งในสิ่งหนึ่ง" เปรียบด้วยน้ำ แม้จะแยกไปอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมยังสภาพแห่งความเป็นน้ำอย่างเดียวกัน โดยความหมายนี้แสดงว่า ทุกศาสนาย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ฉะนั้น ทุกศาสนาแม้จะต่างกันโดยชื่อหรือรูปแบบ แต่ก็ตั้งอยู่ในกฏแห่งไกวัลยธรรมอย่างเดียวกัน ในเมื่อธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นอันเดียวกับไกวัลยธรรม โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน. กล่าวให้ชัดถึงตัวบุคคล โดยเหตุที่ทุกคนมีเชื้อหรือธรรมชาติแห่งพุทธะและทุกศาสนาก็บัญญัติขึ้นเพื่อคน แล้วจุดหมายปลายทางของทุกคนจักไปสู่ความดับทุกข์ คือ "พุทธภาวะ" ฉะนั้น ทุกศาสนาย่อมบัญญัติขึ้นสอน เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน คือ "ความเป็นพุทธะ" ความหวังต่อการเข้าถึงพุทธภาวะ เมื่อทำความเข้าใจได้ว่า "พุทธภาวะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในไกวัลยธรรม โดยเหตุที่ไกวัลยธรรมเป็นที่รวมของทุกสิ่ง ฉะนั้น ทุกสิ่งย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะในตัวมันเอง เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมทำให้มีความหวัง มีความมั่นใจ มีความแน่ใจ และมีความกล้าหาญต่อการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภาวะในตนเอง พร้อมกันนั้น ก็จะมีความเมตตากรุณา หรือเคารพรักในสิ่งทั้งปวง ในฐานะที่มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน ชาวโลกจะไม่มีทางเบียดเบียนกันด้วยความเข้าใจอันนี้ เพราะการเบียดเบียนผู้อื่นที่แท้ก็คือ การเบียดเบียนตนเอง ในทางตรงกันข้าม การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการช่วยเหลือตัวเอง ในความหมายเดียวกัน การมองเห็นความเป็นพุทธะในสิ่งอื่น ย่อมทำให้ความเป็นพุทธะในตนเองเบิกบานงอกงามขึ้น ชาวธิเบตทำความเคารพผู้อื่น ด้วยการทำความรู้สึกว่าเป็นการเคารพพระพุทธเจ้าในตัวผู้นั้น สรุปความ ตามที่ได้แสดงมาในตอนนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกสิ่ง ในฐานะเป็นไกวัลยธรรม เช่นเดียวกับเชื้อแห่งความมีชีวิต ย่อมมีในทุกสิ่ง และไม่อาจแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่มีชีวิต กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมมีเชื้อแห่งความมีชีวิตพร้อมอยู่ในนั้น แม้สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่มันก็มีเชื้อแห่งความที่จะมีความรู้สึกซ่อนอยู่ในนั้น รอเวลาต่อการที่จะพัฒนาไปสู่ความมีชีวิต และความรู้สึกต่อไป. เป็นอันว่า ความที่จะวิวัฒนาการเป็นบุคคลผู้รู้แจ้งถึงที่สุด นับเป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มีได้แก่ทุกหน่วยของสิ่งที่กำลังถูกสมมติว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เมื่อทำใจให้เปิดกว้างอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสิ่ง เมื่อเมตตาเจริญ ปัญญาก็ย่อมเจริญ แล้วการ "ตรัสรู้" ก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยง่าย
พุทธภาวะพุทธบัญญัติพุทธสัจจะไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ และมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ตามความหมายของไกวัลยธรรม การวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ย่อมไปถึงวาระสุดท้ายคือ "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ หมายถึง การรู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบว่า ความทุกข์ได้หมดสิ้นไปแล้ว ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดย่อมไม่มีอีกต่อไป อย่างนี้เรียก "เบิกบานถึงที่สุด" ซึ่งจัดเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของทุกชีวิต. ความเบิกบานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การมีชีวิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การเข้าถึง "พุทธภาวะ" ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แยกมาจากดวงอาทิตย์ แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นดวงไฟ ครั้นเย็นลง จึงเกิดมีชีวิตขึ้น ลักษณะอย่างนี้ย่อมกล่าวได้ว่า มีชีวิตซ่อนอยู่แล้วในดวงไฟ เมื่อได้โอกาสจึงปรากฏตัวออกมาเป็นชีวิตคน ดังที่ปรากฏอยู่นี้. วิวัฒนาการอย่างนี้ กล่าวตามหลักธรรม ก็ได้แก่ กฏเกณฑ์ของ "อิทัปปัจจยตา" หรือ "สามัญญลักษณะ" มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนเกิดความรู้สึกนึกคิด ความสุขความทุกข์ ทำให้มีการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งพบการดับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ในที่สุด เป็นสภาวะของความเบิกบานถึงที่สุดแห่งความเป็น "พุทธภาวะ". ข้อนี้ เป็นการแสดงว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธภาวะ" ได้มีมาแล้ว ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มิฉะนั้นก็ไม่อาจเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นพุทธภาวะได้ โดยความหมายนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในคนทุกคน ในชีวิตทุกชีวิต รอเวลาที่จะทำให้เจริญเติบโตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถึงที่สุด อันเป็นลักษณะของการเข้าถึง หรือเป็นปรากฏการณ์ของ "พุทธภาวะ" จัดเป็นการเข้าถึง "ความสมบูรณ์" แห่งชีวิต. ไกวัลยธรรม กับความเป็นพุทธะ คำว่า "ไกวัลยตา" หมายถึง "ความที่มันเป็นอย่างนั้น" ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง "สิ่งที่เป็นอย่างนั้น" คือเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด และมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงตลอดเวลา บุคคลจะสามารถเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" ด้วยการทำให้ "พุทธภาวะ" เปิดเผยออกมา จากสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ คือ กิเลส ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของพุทธบริษัท จึงอยู่ที่การเรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนาให้รู้จักธรรมชาติของตัวเองตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ก็จะทำให้เข้าถึง "พุทธภาวะ" โดยความหมายนี้ เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" กับ "พุทธภาวะ" ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันโดยสิ่งแรกเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่สองเป็นปรากฏการณ์ของพุทธะ เรียก "ไกวัลยธรรม" เปรียบได้กับเชื้อแห่งการเกิด และสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนมาจากเชื้อเริ่มแรกที่มองไม่เห็น อันเนื่องมาจากการผสมพันธุ์ของพ่อแม่ แล้วคลอดออกมาเป็นคนในภายหลัง หรือเปรียบอีกนัยหนึ่ง ความเป็นต้นมะม่วง มันย่อมรวมอยู่เสร็จแล้วในเมล็ดมะม่วง ไกวัลยตาเปรียบเมล็ดมะม่วง พุทธภาวะเปรียบต้นมะม่วง นั่นคือ สิ่งทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลต่อกัน หรือจะกล่าวว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้ ถ้าเปรียบด้วยการฟักไข่ จะเห็นชัดยิ่งขึ้น ในไข่ไก่ฟองหนึ่ง ย่อมมีความเป็นตัวไก่อยู่ในนั้น แต่ในฟองไก่ จะไม่ปรากฏความเป็นตัวไก่แต่ประการใด จนกระทั่ง ทำการฟักชั่วเวลาหนึ่ง จึงออกมาเป็นตัวไก่ ข้อนี้หมายความว่า ใน"ความที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" เรามองไม่เห็นด้วยตา แต่ย่อมให้ความมั่นใจว่า "มันต้องเป็นอย่างนั้น" เป็นการแน่นอน นั่นคือ ในทุกชีวิตมีเชื้อแห่งความเป็น"พุทธะ"อยู่แล้ว รอเวลาที่จะมีการฟักออกเป็นตัว พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระองค์เองเหมือนลูกไก่ตัวพี่ ซึ่งฟักออกมาก่อนใคร ข้อนี้เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" เป็นเชื้อแห่ง "ไกวัลยธรรม" เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ ชื่อว่าเข้าถึง"พุทธะ" นั่นคือ "ไกวัลยธรรม" กับ "พุทธะ" ก็คือสิ่งเดียวกัน เชื้อแห่งความเป็นพุทธะ มีอยู่ในทุกสิ่ง คำว่า "ทุกสิ่ง" ในที่นี้ หมายรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีชีวติยังต้องรอการวิวัฒนาการอีกไกล จึงจะปรากฏเป็นความพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภาวะ ผู้ที่มีความพร้อมต่อการที่จะเข้าถึงความเป็น "พุทธะ" ได้แก่ สภาวะแห่งความเป็นคน ดังที่คนโบราณได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้ว่า "เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นลาภอันประเสริฐ" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ลาภอันประเสริฐ" ในที่นี้ ก็คือ โอกาสที่จะเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. ธาตุแห่งความเป็น "พุทธะ" ในตัวคน ได้แก่ "ความรู้สึกนึกคิด" เมื่อมีความรู้สึกนึกคิด ทำให้เกิดปัญญารู้จักตัวเองตามเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางย่อมหลุดพ้นและนิพพาน นั่นคือ ลำดับของการเข้าถึง "พุทธะ" อันเริ่มต้นมาจาก "ความรู้สึกนึกคิด" ฉะนั้น ความเป็นคนจึงจัดเป็นธรรมชาติที่มีความพร้อมต่อการเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. การประสมธาตุอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดชีวิต นักคิดบางพวก มีความเห็นว่า การประสมกันอย่างถูกส่วนระหว่างธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมทำให้เกิดชีวิตได้ แต่ในทางพุทธศาสนาได้เติมเอา อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ เข้าไปด้วย จึงเป็นธาตุ ๖ ความจริง วิญญาณธาตุ มันสิงซึมอยู่ในธาตุ ๔ แต่นักคิดพวกนั้นมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ อากาศธาตุ หมายถึง "ความว่าง" หรือ ที่ว่าง อันเป็นที่ตั้งหรือที่รองรับของธาตุทั้งปวง ถ้าไม่มีที่ว่าง สิ่งทั้งปวงก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้. เป็นอันกล่าวได้ว่า ไม่มีธาตุใดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการประสมปรุงแต่งกันทุกๆ ธาตุ อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" และมีความรู้สึกได้. สิ่งที่ต้องสังเกตและจำไว้เป็นหลัก ก็คือว่า "ถ้ามีชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย" อันหมายรวมถึง คน สัตว์ และพืช ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ คือ มีความรู้สึกได้. เมื่อถือเอาตามความหมายที่ว่า ในทุกธาตุย่อมมีวิญญาณธาตุแฝงอยู่ จักทำให้เข้าใจว่า แม้ในวัตถุธาตุ ก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสิ่งทั้งปวงที่อยู่ในอาณาจักรแห่งไกวัลยธรรม ย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ ฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ การมองเห็นว่า สิ่งทั้งปวงทุกสิ่งย่อมเต็มไปด้วยเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทำให้มีความเคารพรักในสิทธิของสิ่งทั้งปวง แม้เม็ดกรวดเม็ดทราย ไม่ทำให้เกิดการดูถูกว่า เป็นของชั้นต่ำ อันเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ยึดมั่นถือมั่นเป็นเขาเป็นเรา จะมีความเห็นแจ่มแจ้งอยู่ว่า ทุกสิ่งมีสภาพแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน เป็นการเข้าถึงสภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยกเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งของ นั่นคือ มีแต่ธรรมชาติแห่ง "ความเป็นพุทธะ" แม้ในปรมาณูหนึ่งๆ ก็มีค่าสำหรับความเป็นพุทธะ หรือสำหรับความมีชีวิตในอนาคต ถ้าได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมเมื่อไร มันก็แสดงรูปออกมาเป็นความมีชีวิต หรือมีความรู้สึก ซึ่งเป็นเชื้อแห่งความเป็นพุทธะโดยตรง อันจะต้องมีการพัฒนาต่อไป จนเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความพร้อมต่อการที่จะรู้แจ้ง "อริยสัจจ์ ๔" ความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไปสู่ความรู้แจ้ง คือรู้ผิดรู้ถูก แต่ธรรมชาติแห่งความรู้สึก กับเชื้อแห่งความรู้สึก มันอยู่ห่างไกลกันมาก ยกตัวอย่างคนๆ หนึ่ง นับตั้งแต่เกิดในท้องแม่ ย่อมมีความรู้สึกเกิดมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีความนึกคิด และการที่ปรากฏออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ย่อมแสดงว่า มันมีเชื้อแห่งความรู้สึกนึกคิดก่อตัวมาก่อนแล้ว ดังกล่าวแล้วว่า ความรู้แจ้งได้แก่ "การรู้ผิดรู้ถูก" ความรู้นี้จะรุดหน้าต่อไปจนกระทั่ง มีความเบิกบานเต็มที่ถึงที่สุด เรียก "พุทธสภาวะ" การที่มีความรู้แจ้งได้อย่างนี้ แสดงว่า "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในธรรมชาติอันนั้น. ความเป็นพุทธะ รุดหน้าได้ถึงจุดสมบูรณ์ ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมไหลไปสู่นิพพาน ทั้งนี้มีความแตกต่างกัน ตรงที่ธรรมชาติแห่งพุทธะจะเบิกบานได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัย ดูตัวอย่างพระเทวทัต แม้จะทำผิดถึงขั้นอนันตริยกรรม ครั้นรับบาปใช้กรรมใช้เวรหมดแล้ว ในที่สุดก็ยังจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ด้วยเหตุแห่งการสำนึกผิด และน้อมจิตถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อนถูกแผ่นดินสูบ นี่เป็นการแสดงถึง ความถูกต้องที่พัฒนาขึ้นมาจากความผิด การที่พุทธสภาวะ หรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ได้วิวัฒนาการมาถึงระดับความเป็นคน นั้นแสดงว่า มีความพร้อมในการที่จะเข้าถึงพุทธสภาวะได้โดยเร็ว ดังเช่นมีปรากฏว่า สามเณรเด็กๆ ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ข้อนี้ หมายความว่า บุคคลถ้าไม่ปิดประตูตัวเองเสียด้วยอุปาทาน ผู้นั้นจักดำเนินเข้าสู่พุทธสภาวะได้โดยเร็ว เวลานี้มีการกล่าวกันว่า การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งหมดสมัยแล้ว แต่ถ้าเข้าใจว่า ธรรมชาติแห่งพุทธสภาวะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ อย่างเดียวกับไกวัลยธรรม เพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ย่อมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกส่วนของสิ่งที่เกี่ยวกับ "ไกวัลยธรรม" ดังนี้แล้ว ย่อมทำให้พบความจริงว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ จักไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา และสถานที่เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ ถ้ากล่าวตามหลักอริยสัจจ์ ๔ แล้ว จะยืนยันได้ทันทีว่า ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทุกศาสนา มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ และมีสภาพเป็นหนึ่งเดียว แม้จะแยกออกเป็นกี่ส่วน ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน ดังที่กล่าวว่า "หนึ่งสิ่งในทุกสิ่งและทุกสิ่งในสิ่งหนึ่ง" เปรียบด้วยน้ำ แม้จะแยกไปอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมยังสภาพแห่งความเป็นน้ำอย่างเดียวกัน โดยความหมายนี้แสดงว่า ทุกศาสนาย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ฉะนั้น ทุกศาสนาแม้จะต่างกันโดยชื่อหรือรูปแบบ แต่ก็ตั้งอยู่ในกฏแห่งไกวัลยธรรมอย่างเดียวกัน ในเมื่อธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นอันเดียวกับไกวัลยธรรม โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน. กล่าวให้ชัดถึงตัวบุคคล โดยเหตุที่ทุกคนมีเชื้อหรือธรรมชาติแห่งพุทธะและทุกศาสนาก็บัญญัติขึ้นเพื่อคน แล้วจุดหมายปลายทางของทุกคนจักไปสู่ความดับทุกข์ คือ "พุทธภาวะ" ฉะนั้น ทุกศาสนาย่อมบัญญัติขึ้นสอน เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน คือ "ความเป็นพุทธะ" ความหวังต่อการเข้าถึงพุทธภาวะ เมื่อทำความเข้าใจได้ว่า "พุทธภาวะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในไกวัลยธรรม โดยเหตุที่ไกวัลยธรรมเป็นที่รวมของทุกสิ่ง ฉะนั้น ทุกสิ่งย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะในตัวมันเอง เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมทำให้มีความหวัง มีความมั่นใจ มีความแน่ใจ และมีความกล้าหาญต่อการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภาวะในตนเอง พร้อมกันนั้น ก็จะมีความเมตตากรุณา หรือเคารพรักในสิ่งทั้งปวง ในฐานะที่มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน ชาวโลกจะไม่มีทางเบียดเบียนกันด้วยความเข้าใจอันนี้ เพราะการเบียดเบียนผู้อื่นที่แท้ก็คือ การเบียดเบียนตนเอง ในทางตรงกันข้าม การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการช่วยเหลือตัวเอง ในความหมายเดียวกัน การมองเห็นความเป็นพุทธะในสิ่งอื่น ย่อมทำให้ความเป็นพุทธะในตนเองเบิกบานงอกงามขึ้น ชาวธิเบตทำความเคารพผู้อื่น ด้วยการทำความรู้สึกว่าเป็นการเคารพพระพุทธเจ้าในตัวผู้นั้น สรุปความ ตามที่ได้แสดงมาในตอนนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกสิ่ง ในฐานะเป็นไกวัลยธรรม เช่นเดียวกับเชื้อแห่งความมีชีวิต ย่อมมีในทุกสิ่ง และไม่อาจแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่มีชีวิต กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมมีเชื้อแห่งความมีชีวิตพร้อมอยู่ในนั้น แม้สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่มันก็มีเชื้อแห่งความที่จะมีความรู้สึกซ่อนอยู่ในนั้น รอเวลาต่อการที่จะพัฒนาไปสู่ความมีชีวิต และความรู้สึกต่อไป. เป็นอันว่า ความที่จะวิวัฒนาการเป็นบุคคลผู้รู้แจ้งถึงที่สุด นับเป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มีได้แก่ทุกหน่วยของสิ่งที่กำลังถูกสมมติว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เมื่อทำใจให้เปิดกว้างอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสิ่ง เมื่อเมตตาเจริญ ปัญญาก็ย่อมเจริญ แล้วการ "ตรัสรู้" ก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยง่าย
การตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึงไกวัลยธรรม ในฐานะที่เป็นธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ และมีอยู่ในทุกหนทุกแห่ง ทุกกาลเวลา ตามความหมายของไกวัลยธรรม การวิวัฒนาการของสิ่งที่มีชีวิต ย่อมไปถึงวาระสุดท้ายคือ "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ หมายถึง การรู้แจ้งด้วยปัญญาอันชอบว่า ความทุกข์ได้หมดสิ้นไปแล้ว ชาติสิ้นแล้ว ชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย ความเกิดย่อมไม่มีอีกต่อไป อย่างนี้เรียก "เบิกบานถึงที่สุด" ซึ่งจัดเป็นจุดหมายปลายทางที่แท้จริงของทุกชีวิต. ความเบิกบานตามธรรมชาติของสิ่งมีชีวิต การมีชีวิตที่สมบูรณ์ หมายถึง การเข้าถึง "พุทธภาวะ" ในทางวิทยาศาสตร์ ได้แสดงไว้ว่า โลกที่เราอาศัยอยู่นี้ แยกมาจากดวงอาทิตย์ แรกเริ่มเดิมที ก็เป็นดวงไฟ ครั้นเย็นลง จึงเกิดมีชีวิตขึ้น ลักษณะอย่างนี้ย่อมกล่าวได้ว่า มีชีวิตซ่อนอยู่แล้วในดวงไฟ เมื่อได้โอกาสจึงปรากฏตัวออกมาเป็นชีวิตคน ดังที่ปรากฏอยู่นี้. วิวัฒนาการอย่างนี้ กล่าวตามหลักธรรม ก็ได้แก่ กฏเกณฑ์ของ "อิทัปปัจจยตา" หรือ "สามัญญลักษณะ" มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยไม่หยุดยั้ง จนเกิดความรู้สึกนึกคิด ความสุขความทุกข์ ทำให้มีการแสวงหา ความสุขที่แท้จริง จนกระทั่งพบการดับความรู้สึกที่เป็นทุกข์ได้ในที่สุด เป็นสภาวะของความเบิกบานถึงที่สุดแห่งความเป็น "พุทธภาวะ". ข้อนี้ เป็นการแสดงว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธภาวะ" ได้มีมาแล้ว ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที มิฉะนั้นก็ไม่อาจเจริญเติบโตขึ้นมา เป็นพุทธภาวะได้ โดยความหมายนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็น "พุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในคนทุกคน ในชีวิตทุกชีวิต รอเวลาที่จะทำให้เจริญเติบโตเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ถึงที่สุด อันเป็นลักษณะของการเข้าถึง หรือเป็นปรากฏการณ์ของ "พุทธภาวะ" จัดเป็นการเข้าถึง "ความสมบูรณ์" แห่งชีวิต. ไกวัลยธรรม กับความเป็นพุทธะ คำว่า "ไกวัลยตา" หมายถึง "ความที่มันเป็นอย่างนั้น" ส่วนคำว่า "ไกวัลยธรรม" หมายถึง "สิ่งที่เป็นอย่างนั้น" คือเป็นสิ่งเดียวกันทั้งหมด และมีอยู่ในสิ่งทั้งปวงตลอดเวลา บุคคลจะสามารถเข้าถึง "ไกวัลยธรรม" ด้วยการทำให้ "พุทธภาวะ" เปิดเผยออกมา จากสิ่งที่ห่อหุ้มอยู่ คือ กิเลส ฉะนั้น หน้าที่สำคัญของพุทธบริษัท จึงอยู่ที่การเรียนรู้ ปฏิบัติ พัฒนาให้รู้จักธรรมชาติของตัวเองตามเป็นจริง แล้วปล่อยวางเสีย ก็จะทำให้เข้าถึง "พุทธภาวะ" โดยความหมายนี้ เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" กับ "พุทธภาวะ" ก็เป็นสิ่งเดียวกัน ต่างกันโดยสิ่งแรกเป็นพื้นฐานของธรรมชาติแห่งพุทธะ สิ่งที่สองเป็นปรากฏการณ์ของพุทธะ เรียก "ไกวัลยธรรม" เปรียบได้กับเชื้อแห่งการเกิด และสิ่งที่เกิดขึ้น เช่น การเกิดขึ้นของคนมาจากเชื้อเริ่มแรกที่มองไม่เห็น อันเนื่องมาจากการผสมพันธุ์ของพ่อแม่ แล้วคลอดออกมาเป็นคนในภายหลัง หรือเปรียบอีกนัยหนึ่ง ความเป็นต้นมะม่วง มันย่อมรวมอยู่เสร็จแล้วในเมล็ดมะม่วง ไกวัลยตาเปรียบเมล็ดมะม่วง พุทธภาวะเปรียบต้นมะม่วง นั่นคือ สิ่งทั้งสองนี้ เป็นเหตุผลต่อกัน หรือจะกล่าวว่าเป็นอันเดียวกันก็ได้ ถ้าเปรียบด้วยการฟักไข่ จะเห็นชัดยิ่งขึ้น ในไข่ไก่ฟองหนึ่ง ย่อมมีความเป็นตัวไก่อยู่ในนั้น แต่ในฟองไก่ จะไม่ปรากฏความเป็นตัวไก่แต่ประการใด จนกระทั่ง ทำการฟักชั่วเวลาหนึ่ง จึงออกมาเป็นตัวไก่ ข้อนี้หมายความว่า ใน"ความที่จะต้องเป็นอย่างนั้น" เรามองไม่เห็นด้วยตา แต่ย่อมให้ความมั่นใจว่า "มันต้องเป็นอย่างนั้น" เป็นการแน่นอน นั่นคือ ในทุกชีวิตมีเชื้อแห่งความเป็น"พุทธะ"อยู่แล้ว รอเวลาที่จะมีการฟักออกเป็นตัว พระพุทธองค์ทรงเปรียบพระองค์เองเหมือนลูกไก่ตัวพี่ ซึ่งฟักออกมาก่อนใคร ข้อนี้เป็นการแสดงว่า "ไกวัลยตา" เป็นเชื้อแห่ง "ไกวัลยธรรม" เมื่อฟักออกมาเป็นตัวได้ ชื่อว่าเข้าถึง"พุทธะ" นั่นคือ "ไกวัลยธรรม" กับ "พุทธะ" ก็คือสิ่งเดียวกัน เชื้อแห่งความเป็นพุทธะ มีอยู่ในทุกสิ่ง คำว่า "ทุกสิ่ง" ในที่นี้ หมายรวมทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต แต่สิ่งที่ไม่มีชีวติยังต้องรอการวิวัฒนาการอีกไกล จึงจะปรากฏเป็นความพร้อมที่จะเข้าถึงพุทธภาวะ ผู้ที่มีความพร้อมต่อการที่จะเข้าถึงความเป็น "พุทธะ" ได้แก่ สภาวะแห่งความเป็นคน ดังที่คนโบราณได้กล่าวเป็นสุภาษิตไว้ว่า "เกิดเป็นมนุษย์ พบพระพุทธศาสนา เป็นลาภอันประเสริฐ" ดังนี้ สิ่งที่เรียกว่า "ลาภอันประเสริฐ" ในที่นี้ ก็คือ โอกาสที่จะเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. ธาตุแห่งความเป็น "พุทธะ" ในตัวคน ได้แก่ "ความรู้สึกนึกคิด" เมื่อมีความรู้สึกนึกคิด ทำให้เกิดปัญญารู้จักตัวเองตามเป็นจริงว่า เป็นอนิจจัง ทุกขัง อนัตตา มีการปล่อยวางความยึดมั่นถือมั่น เมื่อปล่อยวางย่อมหลุดพ้นและนิพพาน นั่นคือ ลำดับของการเข้าถึง "พุทธะ" อันเริ่มต้นมาจาก "ความรู้สึกนึกคิด" ฉะนั้น ความเป็นคนจึงจัดเป็นธรรมชาติที่มีความพร้อมต่อการเข้าถึง "ความเป็นพุทธะ" ในตัวเอง. การประสมธาตุอย่างถูกส่วน ทำให้เกิดชีวิต นักคิดบางพวก มีความเห็นว่า การประสมกันอย่างถูกส่วนระหว่างธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน น้ำ ลม ไฟ ย่อมทำให้เกิดชีวิตได้ แต่ในทางพุทธศาสนาได้เติมเอา อากาศธาตุ และ วิญญาณธาตุ เข้าไปด้วย จึงเป็นธาตุ ๖ ความจริง วิญญาณธาตุ มันสิงซึมอยู่ในธาตุ ๔ แต่นักคิดพวกนั้นมองไม่เห็น จึงไม่ยอมรับ อากาศธาตุ หมายถึง "ความว่าง" หรือ ที่ว่าง อันเป็นที่ตั้งหรือที่รองรับของธาตุทั้งปวง ถ้าไม่มีที่ว่าง สิ่งทั้งปวงก็ไม่อาจตั้งอยู่ได้. เป็นอันกล่าวได้ว่า ไม่มีธาตุใดที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ต้องอาศัยการประสมปรุงแต่งกันทุกๆ ธาตุ อย่างเหมาะสม จึงทำให้เกิดสิ่งที่เรียกว่า "ชีวิต" และมีความรู้สึกได้. สิ่งที่ต้องสังเกตและจำไว้เป็นหลัก ก็คือว่า "ถ้ามีชีวิตต้องมีความรู้สึกด้วย" อันหมายรวมถึง คน สัตว์ และพืช ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ คือ มีความรู้สึกได้. เมื่อถือเอาตามความหมายที่ว่า ในทุกธาตุย่อมมีวิญญาณธาตุแฝงอยู่ จักทำให้เข้าใจว่า แม้ในวัตถุธาตุ ก็มีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ในเมื่อ "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งที่ไม่มีขอบเขตจำกัด และสิ่งทั้งปวงที่อยู่ในอาณาจักรแห่งไกวัลยธรรม ย่อมมีธรรมชาติแห่งพุทธะ ฉะนั้น ย่อมกล่าวได้ว่า ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทุกสิ่งมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ การมองเห็นว่า สิ่งทั้งปวงทุกสิ่งย่อมเต็มไปด้วยเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ทำให้มีความเคารพรักในสิทธิของสิ่งทั้งปวง แม้เม็ดกรวดเม็ดทราย ไม่ทำให้เกิดการดูถูกว่า เป็นของชั้นต่ำ อันเป็นเหตุให้เกิดการแบ่งชั้นวรรณะ ยึดมั่นถือมั่นเป็นเขาเป็นเรา จะมีความเห็นแจ่มแจ้งอยู่ว่า ทุกสิ่งมีสภาพแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน เป็นการเข้าถึงสภาวะแห่งความเป็นหนึ่ง ไม่มีการแบ่งแยกเป็น คน สัตว์ พืช หรือสิ่งของ นั่นคือ มีแต่ธรรมชาติแห่ง "ความเป็นพุทธะ" แม้ในปรมาณูหนึ่งๆ ก็มีค่าสำหรับความเป็นพุทธะ หรือสำหรับความมีชีวิตในอนาคต ถ้าได้มีความเปลี่ยนแปลงที่ถูกต้องครบถ้วน เหมาะสมเมื่อไร มันก็แสดงรูปออกมาเป็นความมีชีวิต หรือมีความรู้สึก ซึ่งเป็นเชื้อแห่งความเป็นพุทธะโดยตรง อันจะต้องมีการพัฒนาต่อไป จนเป็นมนุษย์ ซึ่งมีความพร้อมต่อการที่จะรู้แจ้ง "อริยสัจจ์ ๔" ความรู้สึกที่เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนา ไปสู่ความรู้แจ้ง คือรู้ผิดรู้ถูก แต่ธรรมชาติแห่งความรู้สึก กับเชื้อแห่งความรู้สึก มันอยู่ห่างไกลกันมาก ยกตัวอย่างคนๆ หนึ่ง นับตั้งแต่เกิดในท้องแม่ ย่อมมีความรู้สึกเกิดมาก่อน แล้วต่อมาจึงมีความนึกคิด และการที่ปรากฏออกมาเป็นความรู้สึกนึกคิด ย่อมแสดงว่า มันมีเชื้อแห่งความรู้สึกนึกคิดก่อตัวมาก่อนแล้ว ดังกล่าวแล้วว่า ความรู้แจ้งได้แก่ "การรู้ผิดรู้ถูก" ความรู้นี้จะรุดหน้าต่อไปจนกระทั่ง มีความเบิกบานเต็มที่ถึงที่สุด เรียก "พุทธสภาวะ" การที่มีความรู้แจ้งได้อย่างนี้ แสดงว่า "ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ" ได้มีอยู่แล้วในธรรมชาติอันนั้น. ความเป็นพุทธะ รุดหน้าได้ถึงจุดสมบูรณ์ ในเมื่อธรรมชาติแห่งพุทธะ เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกคน ฉะนั้น ทุกชีวิตย่อมไหลไปสู่นิพพาน ทั้งนี้มีความแตกต่างกัน ตรงที่ธรรมชาติแห่งพุทธะจะเบิกบานได้ช้าหรือเร็ว ซึ่งขึ้นอยู่กับอำนาจของเหตุปัจจัย ดูตัวอย่างพระเทวทัต แม้จะทำผิดถึงขั้นอนันตริยกรรม ครั้นรับบาปใช้กรรมใช้เวรหมดแล้ว ในที่สุดก็ยังจะได้เป็นพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง ด้วยเหตุแห่งการสำนึกผิด และน้อมจิตถือพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งก่อนถูกแผ่นดินสูบ นี่เป็นการแสดงถึง ความถูกต้องที่พัฒนาขึ้นมาจากความผิด การที่พุทธสภาวะ หรือเชื้อแห่งความเป็นพุทธะ ได้วิวัฒนาการมาถึงระดับความเป็นคน นั้นแสดงว่า มีความพร้อมในการที่จะเข้าถึงพุทธสภาวะได้โดยเร็ว ดังเช่นมีปรากฏว่า สามเณรเด็กๆ ก็สามารถบรรลุอรหันต์ได้ ข้อนี้ หมายความว่า บุคคลถ้าไม่ปิดประตูตัวเองเสียด้วยอุปาทาน ผู้นั้นจักดำเนินเข้าสู่พุทธสภาวะได้โดยเร็ว เวลานี้มีการกล่าวกันว่า การบรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์เป็นสิ่งหมดสมัยแล้ว แต่ถ้าเข้าใจว่า ธรรมชาติแห่งพุทธสภาวะไม่ถูกจำกัดด้วยเวลาและสถานที่ อย่างเดียวกับไกวัลยธรรม เพราะธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ ย่อมมีอยู่ในทุกสิ่งทุกส่วนของสิ่งที่เกี่ยวกับ "ไกวัลยธรรม" ดังนี้แล้ว ย่อมทำให้พบความจริงว่า ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ จักไม่ถูกจำกัดด้วยกาลเวลา และสถานที่เช่นเดียวกัน โดยนัยนี้ ถ้ากล่าวตามหลักอริยสัจจ์ ๔ แล้ว จะยืนยันได้ทันทีว่า ทุกคนสามารถบรรลุพุทธภาวะได้ที่นี่เดี๋ยวนี้ ทุกศาสนา มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่า "ไกวัลยธรรม" เป็นสิ่งเดียวที่มีอยู่ และมีสภาพเป็นหนึ่งเดียว แม้จะแยกออกเป็นกี่ส่วน ก็มีความหมายอย่างเดียวกัน ดังที่กล่าวว่า "หนึ่งสิ่งในทุกสิ่งและทุกสิ่งในสิ่งหนึ่ง" เปรียบด้วยน้ำ แม้จะแยกไปอยู่ในที่ใดก็ตาม ย่อมยังสภาพแห่งความเป็นน้ำอย่างเดียวกัน โดยความหมายนี้แสดงว่า ทุกศาสนาย่อมมีจุดมุ่งหมายอย่างเดียวกันคือ "ดับทุกข์" ฉะนั้น ทุกศาสนาแม้จะต่างกันโดยชื่อหรือรูปแบบ แต่ก็ตั้งอยู่ในกฏแห่งไกวัลยธรรมอย่างเดียวกัน ในเมื่อธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะ เป็นอันเดียวกับไกวัลยธรรม โดยเหตุนี้ จึงกล่าวได้ว่า ทุกศาสนาย่อมมีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน. กล่าวให้ชัดถึงตัวบุคคล โดยเหตุที่ทุกคนมีเชื้อหรือธรรมชาติแห่งพุทธะและทุกศาสนาก็บัญญัติขึ้นเพื่อคน แล้วจุดหมายปลายทางของทุกคนจักไปสู่ความดับทุกข์ คือ "พุทธภาวะ" ฉะนั้น ทุกศาสนาย่อมบัญญัติขึ้นสอน เพื่อนำไปสู่จุดหมายอันเดียวกัน คือ "ความเป็นพุทธะ" ความหวังต่อการเข้าถึงพุทธภาวะ เมื่อทำความเข้าใจได้ว่า "พุทธภาวะ" เป็นสิ่งที่มีอยู่ทั่วไปในไกวัลยธรรม โดยเหตุที่ไกวัลยธรรมเป็นที่รวมของทุกสิ่ง ฉะนั้น ทุกสิ่งย่อมมีเชื้อแห่งความเป็นพุทธะในตัวมันเอง เมื่อเป็นดังนี้ ย่อมทำให้มีความหวัง มีความมั่นใจ มีความแน่ใจ และมีความกล้าหาญต่อการที่จะปฏิบัติให้เข้าถึงพุทธภาวะในตนเอง พร้อมกันนั้น ก็จะมีความเมตตากรุณา หรือเคารพรักในสิ่งทั้งปวง ในฐานะที่มีธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะอย่างเดียวกัน ชาวโลกจะไม่มีทางเบียดเบียนกันด้วยความเข้าใจอันนี้ เพราะการเบียดเบียนผู้อื่นที่แท้ก็คือ การเบียดเบียนตนเอง ในทางตรงกันข้าม การช่วยเหลือผู้อื่น ก็คือการช่วยเหลือตัวเอง ในความหมายเดียวกัน การมองเห็นความเป็นพุทธะในสิ่งอื่น ย่อมทำให้ความเป็นพุทธะในตนเองเบิกบานงอกงามขึ้น ชาวธิเบตทำความเคารพผู้อื่น ด้วยการทำความรู้สึกว่าเป็นการเคารพพระพุทธเจ้าในตัวผู้นั้น สรุปความ ตามที่ได้แสดงมาในตอนนี้ ต้องการชี้ให้เห็นว่า เชื้อแห่งความเป็นพุทธะมีอยู่ในทุกสิ่ง ในฐานะเป็นไกวัลยธรรม เช่นเดียวกับเชื้อแห่งความมีชีวิต ย่อมมีในทุกสิ่ง และไม่อาจแบ่งแยกระหว่างสิ่งที่มีชีวิต กับสิ่งที่ไม่มีชีวิต เพราะในสิ่งที่ไม่มีชีวิต ย่อมมีเชื้อแห่งความมีชีวิตพร้อมอยู่ในนั้น แม้สิ่งที่ไม่มีความรู้สึกอะไรเลย แต่มันก็มีเชื้อแห่งความที่จะมีความรู้สึกซ่อนอยู่ในนั้น รอเวลาต่อการที่จะพัฒนาไปสู่ความมีชีวิต และความรู้สึกต่อไป. เป็นอันว่า ความที่จะวิวัฒนาการเป็นบุคคลผู้รู้แจ้งถึงที่สุด นับเป็นของธรรมดาสามัญที่สุด มีได้แก่ทุกหน่วยของสิ่งที่กำลังถูกสมมติว่า เป็นสิ่งที่มีชีวิต หรือไม่มีชีวิต เมื่อทำใจให้เปิดกว้างอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นการแผ่เมตตาไปยังสรรพสิ่ง เมื่อเมตตาเจริญ ปัญญาก็ย่อมเจริญ แล้วการ "ตรัสรู้" ก็เป็นสิ่งที่หวังได้โดยง่าย
การอยู่ที่ไม่มีความเสื่อม-อปริหานิยธรรมการอยู่ที่ไม่มีความเสื่อม-อปริหานิยธรรม
"ภาวะสูงสุด" คือภาวะที่ว่างจากตัวตน.เมื่อ “เธอ” ไม่มี! พาหิยะ ! เมื่อใดเธอเห็นรูปแล้ว สักว่าเห็น, ได้ฟังเสียงแล้วสักว่าฟัง, ได้กลิ่นแล้ว ก็สักว่าดม, ได้ลิ้มรสแล้ว ก็สักว่าลิ้ม,ได้สัมผัสทางผิวกายแล้ว ก็สักว่าสัมผัส, ได้รู้แจ้งธรรมารมณ์ ก็สักว่าได้รู้แจ้งแล้ว; เมื่อนั้น “เธอ” จักไม่มี. เมื่อใด“เธอ”ไม่มี;เมื่อนั้นเธอก็ไม่ปรากฏในโลกนี้, ไม่ปรากฏในโลกอื่น, ไม่ปรากฏในระหว่างแห่งโลกทั้งสอง: นั่นแหละ คือที่สุดแห่งทุกข์.
04 ขอขมาพระรัตนตรัยและสมาทานพระกรรมฐาน คำสอนพระราชพรหมยานหลวงพ่อฤๅษีลิ...
วันศุกร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆคน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยศร ซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้นแต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยอะไร แล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาคือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยารักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศรีษะตน ทั้งๆที่ไฟลุกไหม้อยู่” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่งและต่างคนต่างถือดุ้นไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่าร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือราคะบ้าง โทษะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจรนาเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสรี ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจรณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมารภิกษุผู้ปรารถนา พึงสลัดเหยื่อมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายพลกำลังแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้วเจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั่นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉนี้ กามเอย เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”
โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดก.เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายหญ้าสดในทะเลทราย ภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวา ก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ” กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้ว ใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาด สมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ เห็นอาการที่ท่านฉันยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น ท่านฉันอย่างสำรวมเรียบร้อย มีอาการแห่งผู้กำหนดรู้ในอาหาร คุณและโทษของอาหาร ไม่ติดในรสอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อเมา หรือเพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อยในรสอาหาร แต่บริโภคเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อบำเพ็ญคุณงามความดี เหมือนนายช่างให้น้ำมันแก่เครื่องจักร เพื่อให้ทำหน้าที่ของมันต่อไปได้เท่านั้น (*ปริพพาชก นักบวชลัทธิหนึ่งในพุทธกาล ท่องเที่ยวไปโดยลำพังเพื่อแสวงหา ความจริง บ้างอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นสำนักบ้าง) เมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ปริพพาชกได้รินน้ำในกุณโฑของตนเข้าไปถวายแล้วถามว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก มรรยาทของท่านงามยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผ่องใส ท่านบวชอุทิศใคร? ใครเป็นศาสดาของท่าน? ท่านชอบใจธรรมของใคร?” สมณะรูปนั้นมองปริพพาชก ด้วยดวงเนตรที่เปี่ยมด้วยความปรานี ดวงตาของท่านแสดงแววแห่งเมตตา และความสงบลึกอยู่ภายใน บ่งบอกว่าดวงใจของท่านผ่องแผ้ว ไร้ราคี กระแสเสียงที่นุ่มนวลแจ่มใสผ่านโอษฐ์ของท่านออกมาว่า “ดูก่อนผู้แสวงสันติวรบท ! พระศาสดาของข้าพเจ้าตรัสว่า ‘ผู้ใดไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่กังวลถึงอนาคต มีชีวิตอยู่ด้วยปัจจุบันธรรมผิวพรรณของผู้นั้นย่อมผ่องใส แม้จะบริโภคอาหารหนเดียวต่อวัน ประพฤติพรหมจรรย์สงบนิ่งอยู่ในป่า ส่วนผู้ที่มัวเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว กังวลหวังอย่างเร่าร้อนต่อสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมซูบซีดเศร้าหมองเหมือนไม้สดที่ถูกตัดแล้ว’ กังวลหวังอย่างเร่าร้อน ! มนุษย์ส่วนมากเป็นอย่างนั้น เขาไม่ค่อยรู้จักรอคอยอย่างสงบเยือกเย็น เขาไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจว่าเขาบันดาลผลไม่ได้ เหตุที่เขาทำนั่นแหละจะบันดาลผลให้เกิดขึ้นเอง เหมือนชาวสวนปลูกต้นไม้คอยรดน้ำพรวนดิน ให้ปุ๋ยป้องกันศัตรูพืช นั่นคือเหตุ ส่วนการออกดอกออกผล ชาวสวนบันดาลไม่ได้ กระบวนการธรรมชาติของต้นไม้เองนั่นแหละ จะบันดาลให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดคุณค่าแห่งชีวิตของตน ไว้ให้แน่นอนว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ เมื่อเป็นดังนี้ เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขไม่ได้ เขาจะไม่พบความพอใจในชีวิต”
ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายหนังสือเรื่องนี้พิมพครั้งแรกเมื่อป๒๕๒๐ ขณะนั้นขาพเจาอายุ ๔๒ ปบัดนี้ ขาพเจาอายุ ๘๐ ปเศษแลว ยิ่งอยูในโลกไปนานวันขาพเจายิ่งมองเห็นโทษของโลก ทั้งโลกคือสังคมมนุษยและโลกคือรูปขันธกลาวคือรางกายนี้มากขึ้นตามวันเวลาที่ ลวงไป ยิ่งอายุมากขึ้นเทาใด โลกคือรางกายนี้ก็แสดงใหเห็นโทษมากขึ้นเทานั้น สมดังที่พระพุทธเจาตรัสวา “กายนี้มีทุกขมาก มีโทษมาก (พหุทุกฺโข โข อยํกาโย พหุอาทีนโว)” ในที่สุดเราทุกคนก็ตองสละโลก คือรางกายนี้ไป อยางที่พระรัฐบาล กลาววา “สัตวโลกไมมีสิ่งเปนของของตน จําตองละทิ้งสิ่งทั้งปวงไป (อสฺสโก โลโก สพฺพํปหาย คมนียํ)” พระพุทธเจาเคยตรัสวา “เราบัญญัติโลก เหตุเกิดของโลก ความดับโลก และขอปฏิบัติใหถึงความดับโลก ในรางกายอันมีประมาณวาหนึ่งนี้ซึ่งมีสัญญาและ มีใจครอง” (โรหิตัสสสูตร) ทรงแสดงอริยสัจ ๔ โดยยกเอาคําวา “โลก” แทนคําวา “ทุกข” เพราะตรัสกับ เทพบุตรผูมีฤทธิ์เหาะสํารวจโลก เรื่องใดอันจะพึงกลาวนอกจากนี้ขาพเจาไดกลาวไวแลวในคํานําแหงการพิมพ ครั้งแรก ซึ่งไดนํามาลงพิมพไวในที่นี้ดวยแลว หวังวาหนังสือเรื่องนี้จะเปนประโยชนแก ทานผูอานพอสมควร ขอทานผูอานพึงพิจารณาโลกตามความเปนจริง ก็จะไดมองเห็น คุณและโทษของโลก เขาไปเกี่ยวของกับโลกอยางระมัดระวัง เมื่อเห็นโทษแลวจะไดมี ปญญาในการสลัดออก อยูในโลกอยางมีปญญาเขาใจโลก ในที่สุดก็จะไดหลุดพนจาก โลกไป ไมตองหวนกลับมาสูโลกนี้อีก ขออนุโมทนาตอกุศลเจตนาของชมรมกัลยาณธรรมไวในโอกาสนี้ดวย ดวยความปรารถนาดีอยางยิ่ง ๙ กุมภาพันธ๒๕๕๘
ผู้ที่เคยได้ฝึกปัญญามาดีเตรียมไว้แล้ว ก็น้อมจิตพิจารณาในปัญญาต่อไปได้เลย บางคนเมื่อจิตได้ถอนออกจากความสงบแล้ว ก็มีความเสียดายในความสุขที่มีอยู่ในความสงบนั้น ๆ อยากจะทำสมาธิให้จิตมีความสงบต่อไป พยายามทุกอย่าง จะต้องทำสมาธิให้จิตมีความสงบให้ได้ จะได้มีความสุขในความสงบของสมาธิต่อไป นี้เองจึงเรียกว่า โมหสมาธิ มีความหลงในความสุข และหลงอยู่ในความสงบจนลืมตัว ผู้ทำสมาธิต้องมีปัญญา ศึกษาให้เข้าใจ ไม่เช่นนั้น จะหลงอยู่ในความสงบสุขต่อไป จะนั่งได้เหมือนหัวตอ ไม่มีปัญญาจะนำมาพิจารณาในหลักสัจธรรมความเป็นจริงนี้เลย
ไม่มีใครทำให้จิตบรรลุมรรคผลหรือหลุดพ้นได้จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู
Diskoteka 80 - Eruption, Ottawan, CC Catch, Lian Ross, Opus, Silent Circ...
[ The Ventures 벤처스 ] 45th Anniversary Live (45주년 기념) Full Concert (Hibiy...
[ The Ventures 벤처스 ] 45th Anniversary Live (45주년 기념) Full Concert (Hibiy...
วันพฤหัสบดีที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
คิริมานนทสูตร (เต็ม)ในครั้งพุทธกาล พระพุทธเจ้าประทับอยู่ที่พระเชตะวันมหาวิหาร ครั้งนั้น ท่านคิริมานนท์อาพาธ(เจ็บป่วย) หนัก กระสับกระส่ายเพราะพิษไข้ ท่านพระอานนท์จึงเข้าไปเฝ้าพระพุทธเจ้ากราบทูลให้เสด็จไปเยี่ยม พระพุทธองค์ตรัสว่า ถ้าอานนท์จะไปเยี่ยมพระคิริมานนท์จงแสดงสัญญา ๑๐ อย่าง ให้พระคิริมานนท์ฟังด้วย เพราะเมื่อฟังจบแล้วจะหายจากโรคาพาธนั้นโดยเร็วพลัน จากนั้นทรงแสดงสัญญา ๑๐ ให้ท่านพระอานนท์ได้เรียนและจดจำเพื่อนำไปแสดงแก่พระคิริมานนท์ต่อไป สัญญา ๑๐ ๑. อนิจจสัญญา ๒. อนัตตสัญญา ๓. อสุภสัญญา ๔. อาทีนวสัญญา ๕. ปหานสัญญา ๖. วิราคสัญญา ๗. นิโรธสัญญา ๘. สัพพโลเกอนภิรตสัญญา ๙. สัพพสังขาเรสุอนิฏฐสัญญา ๑๐. อานาปานสติ สัญญา หมายถึง ความจำได้, ความหมายรู้ได้, หรือความกำหนดหมาย เป็นสัญญาชั้นสูงที่จะนำไปสู่ปัญญา มี ๑๐ ประการ
โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกปัญหาที่เผชิญอยู่เบื้องหน้าของทุกๆคน คือ ปัญหาเรื่องทุกข์และความดับทุกข์ มนุษย์และสัตว์ทั้งหลาย ถูกความทุกข์เสียบอยู่ทั้งทางกายและใจ อุปมาเหมือนผู้ถูกยิงด้วยศร ซึ่งกำซาบด้วยยาพิษแล้ว ญาติมิตรเห็นเข้าเกิดความกรุณา จึงพยายามช่วยถอนลูกศรนั้นแต่บุรุษผู้โง่เขลาบอกว่าต้องไปสืบให้ได้เสียก่อนว่าใครเป็นคนยิง และยิงมาจากทิศไหน ลูกศรทำด้วยอะไร แล้วจึงค่อยมาถอนลูกศรออก ภิกษุทั้งหลาย บุรุษนั้นต้องตายเสียก่อนเป็นแน่แท้ ความจริงเมื่อถูกยิงแล้วหน้าที่ของเขาคือควรพยายามถอนลูกศรออกเสียทันที ชำระแผลให้สะอาดแล้วใส่ยารักษาแผลให้หายสนิท หรืออีกอุปมาหนึ่งบุคคลที่ไฟไหม้อยู่บนศีษะ ควรรีบดับเสียโดยพลันไม่ควรเที่ยววิ่งหาคนผู้เอาไฟมาเผาศรีษะตน ทั้งๆที่ไฟลุกไหม้อยู่” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย สังสารวัฏฏ์นี้เต็มไปด้วยเพลิงทุกข์นานาประการโหมให้ร้อนอยู่โดยทั่ว สัตว์ทั้งหลายยังวิ่งอยู่ในกองทุกข์แห่งสังสารวัฏฏ์ ใครเล่าจะเป็นผู้ดับ ถ้าทุกคนไม่ช่วยกันดับทุกข์แห่งตน อุปมาเหมือนบุรุษสตรีผู้รวมกันอยู่ในบริเวณกว้างแห่งหนึ่งและต่างคนต่างถือดุ้นไฟลุกโพลงอยู่ทั่วแล้ว ต่างคนต่างก็วิ่งวนกันอยู่ในบริเวณนั้น และร้องกันว่าร้อน ร้อน ภิกษุทั้งหลาย คราวนั้นมีบุรุษผู้หนึ่งเป็นผู้ฉลาดร้องบอกให้ทุกๆ คนทิ้งดุ้นไฟในมือของตนเสีย ผู้ที่ยอมเชื่อทิ้งดุ้นไฟก็ได้ประสบความเย็น ส่วนผู้ไม่เชื่อ ก็ยังคงวิ่งถือดุ้นไฟพร้อมร้องตะโกนว่า ร้อน ร้อน อยู่นั่นเอง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตได้ทิ้งดุ้นไฟแล้ว และร้องบอกให้เธอทั้งหลายทิ้งเสียด้วย ดุ้นไฟที่กล่าวถึงนี้ คือกิเลสทั้งมวลอันเป็นสิ่งที่เผาลนสัตว์ให้เร่าร้อนกระวนกระวาย” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย อายนะภายในหกคือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจ อายตนะภายนอกหกคือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐพพะ และธัมมารมณ์ เป็นของร้อน ร้อนเพราะไฟ คือราคะบ้าง โทษะบ้าง โมหะบ้าง ภิกษุทั้งหลาย เราตถาคตไม่พิจรนาเห็น รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ใดๆ ที่จะครอบงำรัดตรึงใจของบุรุษได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะแห่งสรี ภิกษุทั้งหลาย เราไม่พิจรณาเห็นรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะใดๆ ที่สามารถครอบงำรัดตรึงใจของสตรีได้มากเท่ารูป เสียง กลิ่น รส และ โผฏฐัพพะแห่งบุรุษ” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้เรากล่าวว่าเป็นเหยื่อแห่งมาร เป็นพวงดอกไม้แห่งมาร เป็นกำลังพลแห่งมารภิกษุผู้ปรารถนา พึงสลัดเหยื่อมาร ขยี้พวงดอกไม้แห่งมารและทำลายพลกำลังแห่งมารเสีย ภิกษุทั้งหลาย เราเคยเยาะเย้ยกามคุณ ณ โพธิมมณฑลในวันที่เราตรัสรู้นั้นเองว่า ดูก่อนกาม เราได้เห็นต้นเค้าของเจ้าแล้วเจ้าเกิดความดำริคำนึงถึงนั่นเอง เราจักไม่ดำริถึงเจ้าอีก ด้วยประการฉนี้ กามเอย เจ้าจะเกิดขึ้นอีกไม่ได้”
วิถีแห่งความรู้แจ้ง ฉบับสมบูรณ์ โดย หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโชต้องดูกายต้องดูใจตัวเองเรื่อย ๆ แล้วถึงจะเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกได้ ถ้าวันใดเข้าใจสิ่งที่หลวงพ่อบอกจนถึงจุดที่เห็นว่ากายนี้ใจนี้นี่เป็นตัวทุกข์ล้วนๆนะ จะเข้าใจธรรมะจริงๆ เลย จะพ้นทุกข์ได้จริงๆก็ตรงนี้แหละ ถ้ายังเห็นกายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์บ้างสุขบ้าง ยังพ้นไม่ได้หรอก เรียกว่าเราไม่รู้ทุกข์
วันพุธที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ผู้สละโลก ผู้เลิศทางธุดงคคุณวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
จิตสว่าง ทางบรรลุธรรม เมือ ศีล สติ สมาธิ ปัญญา แก่รอบ จิตจะเข้าฌานอัตโน...วิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
ผู้สละโลกเหมือนมารดาผู้ให้เกิดวิมุตติสูตร ว่าด้วยเหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้ ซึ่งเป็น เหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมบรรลุธรรม อันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการ เป็นไฉน ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารีผู้อยู่ในฐานะ ครูบางรูปแสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เธอย่อมเข้าใจอรรถเข้าใจธรรม ในธรรมนั้นตามที่พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้อยู่ในฐานะครูแสดงแก่ เธอ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์ แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อใจเกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีการสงบแล้ว ย่อมได้ เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติ ข้อที่ ๑ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้นไป ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารี ผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ก็แต่ว่าภิกษุย่อม แสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เธอ ย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ที่ภิกษุแสดงธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๒. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดง- ธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์. . . เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็น เหตุแห่งวิมุตติข้อ ๓. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ทำการสาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมตรึกตรองใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้น ตามที่ภิกษุตรึกตรองใคร่ครวญ ธรรมตามที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจ ธรรมย่อมเกิดปราโมทย์. . .เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๔. . . ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระศาสดาหรือเพื่อนสพรหม- จารีผู้อยู่ในฐานะครูบางรูป ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรม เท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแก่ชนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้ สาธยายธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ ตรึกตรอง ใคร่ครวญธรรมเท่าที่ได้สดับ ได้ศึกษาเล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่า สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรงไว้ ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เธอย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมใน ธรรมนั้น ตามที่เธอเล่าเรียนสมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อเธอเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้วย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจ เกิดปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกายสงบแล้วย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย นี้เป็นเหตุแห่งวิมุตติข้อที่ ๕ ซึ่งเป็นเหตุให้จิตของภิกษุ ผู้ไม่ประมาทมีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้นย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุธรรมอันเกษมจาก โยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย เหตุแห่งวิมุตติ ๕ ประการนี้แล ซึ่งเป็นเหตุให้ จิตของภิกษุผู้ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยวอยู่ ที่ยังไม่หลุดพ้น ย่อมหลุดพ้น อาสวะที่ยังไม่สิ้น ย่อมถึงความสิ้นไป หรือเธอย่อมได้บรรลุ ธรรมอันเกษมจากโยคะชั้นเยี่ยม ที่ยังไม่ได้บรรลุ. จบวิมุตติสูตรที่ ๖
น้ำมนต์ของพระพุทธเจ้าและพระอานนท์พระบรมศาสดารับสั่งให้พระอานนท์เถระ ผู้เป็นพุทธอุปัฏฐากเรียนมนต์ พระปริตรรัตนสูตร พระอานนท์ได้ระลึกถึงพระพุทธคุณพระบรมศาสดา จำเดิมแต่ปรารถนาพุทธภูมิมา จนกระทั่งตรัสรู้ ณ โพธิบัลลังก์แล้วได้สวดพุทธมนต์พระปริตรรัตนสูตรประกาศพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ ประคองบาตรของพระพุทธองค์อันเต็มไปด้วยน้ำพุทธมนต์ เที่ยวจาริกไปรอบพระนครเวสาลีพร้อมเหล่าเจ้าลิจฉวีทั้งหลายเพื่อประพรมน้ำ พุทธมนต์อันศักดิ์สิทธิ์ตลอดราตรีทั้ง ๓ ยาม ชาวเมืองที่กำลังเจ็บป่วยต่างหายจากโรคภัย บรรดาภูตผีปีศาจล้วนตกใจกลัวพุทธานุภาพพากันหลีกหนีออกจากนครเวสาลีจนหมด สิ้น เหล่ามหาชนเป็นอันมากต่างตามพระอานนท์มาเฝ้าพระบรมศาสดา ครั้นได้ฟังพระธรรมเทศนาต่างชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์เกิดศรัทธาปสาทะ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะ และพากันมาฟังพระธรรมเทศนาตลอด ๗ วัน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่ ครั้นเมื่อภัยพิบัติ ๓ ประการได้สงบลงแล้ว เจ้าลิจฉวีพร้อมด้วยเหล่ามหาชนต่างจัดพุทธบูชาถวายเพื่อส่งเสด็จอย่างมโหฬาร เมื่อพระบรมศาสดาเสด็จพุทธดำเนินกลับมาถึงนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารและเหล่าข้าราชบริพารตลอดจนชาวเมืองต่างมีความปีติยินดีพา กันมาเฝ้าเพื่อฟังพระธรรมเทศนา ณ พระเวฬุวันมหาวิหารอย่างเนืองแน่น
หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ ละวันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง
วันอังคารที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ลูกพระพุทธเจ้า ศิษย์ตถาคตเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า
วันจันทร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ทุกข์ คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดี เต็มที่แล้ว วันหนึ่งจิตของเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร แล้วคิดก็ว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำมันให้ดีให้ได้ คิดจะทำมันให้สุขให้ได้ คิดจะทำมันให้สงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว เราก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้ายเนี่ย พากเพียรแทบล้มแทบตายนะ ก็พบว่า ดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวไปหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้นะ จิตก็หมดแรงดิ้นละ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก เนี่ย จิตจะหยุดแรงดิ้นนะ หมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดี เต็มที่แล้ว วันหนึ่งจิตของเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร แล้วคิดก็ว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำมันให้ดีให้ได้ คิดจะทำมันให้สุขให้ได้ คิดจะทำมันให้สงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว เราก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้ายเนี่ย พากเพียรแทบล้มแทบตายนะ ก็พบว่า ดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวไปหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้นะ จิตก็หมดแรงดิ้นละ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก เนี่ย จิตจะหยุดแรงดิ้นนะ หมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์..ควรป้องกันจิตนี้ เหมือนป้องกันพระนคร แล้วใช้อาวุธ คือ. ปัญญา รบกับมาร และควรรักษาชัยชนะไว้แต่ไม่ควรยินดีในชัยชนะนั้น
คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์.ควรป้องกันจิตนี้ เหมือนป้องกันพระนคร แล้วใช้อาวุธ คือ. ปัญญา รบกับมาร และควรรักษาชัยชนะไว้แต่ไม่ควรยินดีในชัยชนะนั้น
สมาธิไม่ใช่จิตต้องนิ่ง และสมาธิไม่ใช่เครื่องวัดความเป็นอริยะสมาธิไม่ใช่จิตต้องนิ่ง และสมาธิไม่ใช่เครื่องวัดความเป็นอริยะบุคคล
พุทธวจน-วิธีปล่อยวางจิตดูกรภิกษุทั้งหลาย วานรเมื่อเที่ยวไปในป่าใหญ่จับกิ่งไม้ ปล่อยกิ่งนั้น ยึดเอากิ่งอื่น ปล่อยกิ่งที่ยึดเดิม เหนี่ยวกิ่งใหม่ต่อไป แม้ฉันใด ร่างกายอันเป็นที่ประชุมแห่งมหาภูตทั้ง ๔ นี้ ที่ตถาคตเรียกว่า จิตบ้าง มโนบ้าง วิญญาณบ้าง จิตเป็นต้นนั้น ดวงหนึ่งเกิดขึ้น ดวงหนึ่งดับไป ในกลางคืนและกลางวัน ก็ฉันนั้นแล ฯ
อย่าประมาท 10 สัณญาน เตือนวันสิ้นโลก!เครืองจักรชนิดนี้พอบรรเทาได้กรณีเกิดภัยภิบัติ ภัยธรรมชาติ..หรือ..ยามไม่มีภัย...ก็...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า แร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ...https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA
วันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันนี้มาปิดทางนรก ปิดทางอบาย เปิดทางสวรรค์ทะลุไปนิพพานกันด้วยพุทธวจนเปิดทางสวรรค์ทะลุไปนิพพาน กันดีกว้า เห็นด้วย..ครับ..ภันเต...ขอบพระคุณ..และอนุโมทนา..ผมขึ้นรถด่วน สาย อนุปาทาปรินิพพานด้วยคน..ครับ..
วันนี้มาปิดทางนรก ปิดทางอบาย เปิดทางสวรรค์ทะลุไปนิพพานกันด้วยพุทธวจน
การเข้าถึงธรรมด้วยสัมมาสติ - พระธรรมเทศนาสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์)
ความจริงมีแต่กิเลสและทุกข์เท่านั้นเองถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย ถึงวันหนึ่งเราก็คงได้รับผลประโยชน์
กระบวนการเกิดอริยมรรคหลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญาน.
วันเสาร์ที่ 18 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ ... "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ ...จนเข้าถึงสภาวะพลังงานอันสูงสุด อันเป็นหนึ่งเดียว ของรูป-นาม เมื่อรูป นาม ดับสลาย เข้าสู่สภาวะพลังงานตื่นอันเป็นที่สุด อันเป็นปรมัตถปัญญา - ปัญญาวิมุตติ คือภาวะแห่งพุทธะ
ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ ... "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ ...จนเข้าถึงสภาวะพลังงานอันสูงสุด อันเป็นหนึ่งเดียว ของรูป-นาม เมื่อรูป นาม ดับสลาย เข้าสู่สภาวะพลังงานตื่นอันเป็นที่สุด อันเป็นปรมัตถปัญญา - ปัญญาวิมุตติ คือภาวะแห่งพุทธะ
ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขสำหรับบุคคลที่ตื่นอยู่ตลอดเวลา หมั่นศึกษาไตรสิกขาทั้งกลางวันและกลางคืน น้อมจิตเข้าหานิพพาน อาสวะทั้งหลายย่อมตั้งอยู่ไม่ได้'ปาฏิหาริย์แห่งการตื่น' จะเกิดขึ้นได้เมื่อเราตื่นจากฝัน ธรรมชาติแห่งพุทธภาวะ หมายถึง ธรรมชาติอันหนึ่ง ซึ่งทำสัตว์ให้เข้าถึงพุทธภาวะ ... "พุทธภาวะ" อันหมายถึงภาวะแห่งความรู้ ความตื่น ความเบิกบาน สิ่งที่เรียกว่า "ความรู้" ในที่นี้ ...จนเข้าถึงสภาวะพลังงานอันสูงสุด อันเป็นหนึ่งเดียว ของรูป-นาม เมื่อรูป นาม ดับสลาย เข้าสู่สภาวะพลังงานตื่นอันเป็นที่สุด อันเป็นปรมัตถปัญญา - ปัญญาวิมุตติ คือภาวะแห่งพุทธะ
อย่าประมาท 10 สัณญาน เตือนวันสิ้นโลก!https://www.youtube.com/watch?v=15nlWecXYhQ เครื่อง..ควบคุม..มอเตอร์สามเฟส แบบเร่งและลดความเร็ว เหมาะกับมอเตอร์สูบน้ำราคาประหยัด อาจพอช่วยได้..ครับ..ใช้แบตเตอรี่...ไฟฟ้าเฟสเดียว...โซล่าเซลล์...ดู..จากคลิป...อื่น..ที่ผม ลง ใน You tube ประกอบ...เองได้...ง่ายครับ...
หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองทำสมาธิโดยการบริกรรมภาวนา หมายถึงการท่องคำบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พุทโธ ยุบหนอพองหนอ สัมมาอรหัน เป็นต้น ผู้ภาวนาท่องบริกรรมภาวนาอย่างใดอย่างหนึ่งจนจิตสงบประกอบด้วยองค์ฌาณ คือ วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา จิตสงบจนกระทั่งตัวหาย ทุกสิ่งทุกอย่างหายไป เหลือแต่จิตที่สงบนิ่งสว่างอยู่ ความนึกคิดไม่มี เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิ พอรู้สึกว่ามีกาย ความคิดเกิดขึ้น ให้กำหนดสติตามรู้ทันที อย่ารีบออกจากที่นั่งสมาธิ ถ้าปฏิบัติอย่างนี้จะได้ปัญญาเร็วขึ้น …ในช่วงนี้ถ้าเราไม่รีบออกจากสมาธิ ออกจากที่นั่ง เราก็ตรวจดูอารมณ์จิตของเราเรื่อยไป โดยไม่ ต้องไปนึกอะไร เพียงแต่ปล่อยให้จิตมันคิดของมันเอง อย่าไปตั้งใจคิด ที่นี้พอออกจากสมาธิมาแล้ว พอมันคิดอะไรขึ้นมา ก็ทำใจดูมันให้ชัดเจน ถ้าจิตมันคิดไปเรื่อย ๆ ก็ดูมันไปเรื่อย ๆ จะคิดไปถึงไหนช่างมัน ปล่อยให้มันคิดไปเลย เวลาคิดไป เราก็ดูไป ๆๆๆ มันจะรู้สึกเคลิบเคลิ้มในความคิด แล้วจะเกิดกายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ กายเบา กายสงบ ได้กายวิเวก จิตเบา จิตสงบ ได้จิตวิเวก ทีนี้จิตสงบแล้ว จิตเป็นปกติได้ ก็ได้อุปธิวิเวกในขณะนั้น บริกรรมพุทโธกับการตามรู้จิตคือหลักเดียวกัน …ภาวนาพุทโธเอาไว้ พอจิตมันอยู่กับพุทโธก็ปล่อยให้มันอยู่ไป พอทิ้งพุทโธแล้วไปคิดอย่างอื่น ปล่อยให้มันคิดไปแต่ให้มีสติตามรู้… พุทโธที่เรามาท่องเอาไว้ ๑. เพื่อระลึกถึงพระบรมครู ๒. เพื่อกระตุ้นเตือนจิตให้เกิดความคิดเอง ทีนี้เมื่อจิตทิ้งพุทโธปั๊บ มันไปคิดอย่างอื่นขึ้นมาได้ แสดงว่าเขาสามารถหาเหยื่อมาป้อนให้ตัวเองได้แล้ว เราก็ไม่ต้องกังวลที่จะหาอารมณ์มาป้อนให้เขา ปล่อยให้เขาคิดไปตามธรรมชาติของเขา หน้าที่ของเรามีสติกำหนดตามรู้อย่างเดียวเท่านั้น นี่หลักการปฏิบัติเพื่อจะได้สมาธิสัมพันธ์กับชีวิต ประจำวันต้องปฏิบัติอย่างนี้ อย่าข่มจิตถ้าจิตอยากคิด ถ้าเราภาวนาพุทโธๆ แม้ว่าจิตสงบเป็นสมาธิถึงขั้นละเอียด ถึงขั้นตัวหาย เมื่อสมาธินี้มันจะได้ผล ไปตามแนวทางแห่งการปฏิบัติเพื่อมรรค ผล นิพพาน ภายหลังจิตที่เคยสงบนี้มันจะไม่ยอมเข้าไป สู่ความสงบ มันจะมาป้วนเปี้ยนแต่การยืน เดิน นั่ง นอน รับประทาน ดื่ม ทำ พูด คิด ซึ่งอันนี้ก็เป็น ประสบการณ์ที่หลวงพ่อเองประสบมาแล้ว พยายามจะให้มันเข้าไปสู่ความสงบอย่างเคย มันไม่ยอมสงบ ยิ่งบังคับเท่าไรยิ่งดิ้นรน นอกจากมันจะดิ้นแล้ว อิทธิฤทธิ์ของมันทำให้เราปวดหัวมวนเกล้า ร้อนผ่าวไปทั้งตัว เพราะไปฝืนความเป็นจริงของมัน ทีนี้ภายหลังมาคิดว่า แกจะไปถึงไหน ปรุงไปถึงไหน เชิญเลย ฉันจะตามดูแก ปล่อยให้มันคิดไป ปรุงไป ก็ตามเรื่อยไป ทีนี้พอไปๆ มาๆ ตัวคิดมันก็คิดอยู่ไม่หยุด ตัวสติก็ตามไล่ตามรู้กันไม่หยุด พอคิดไปแล้ว มันรู้สึกเพลินๆ ในความคิดของตัวเอง มันคล้ายๆ กับ ว่ามันห่างไกล ไกลไปๆๆ เกิดความวิเวกวังเวง กายเบา จิตเบา กายสงบ จิตสงบ และพร้อมๆ กันนั้นน่ะ ทั้งๆ ที่ความคิดมันยังคิดไวเร็วปรื๋อ จนแทบจะตามไม่ทัน ปีติ และความสุขมันบังเกิดขึ้น แล้วทีนี้มัน ก็มีความเป็นหนึ่ง คือ จิตกำหนดรู้ อยู่ที่จิต ความคิดอันใดเกิดขึ้นกับจิตสักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยวาง ไปๆ มันไม่ได้ยึดเอามา สร้างปัญหาให้ตัวเองเดือดร้อน …แล้วในที่สุดเมื่อมันตัดกระแสแห่งความคิดแล้ว มันวูบวาบๆ เข้าไปสู่ความสงบนิ่งจนตัวหาย เหมือนอย่างเคยจึงได้ข้อมูลขึ้นมาว่า …อ๋อ ธรรมชาติของมัน เป็นอย่างนี้ ศีลอบรมสมาธิ สมาธิอบรมปัญญา ปัญญาอบรมจิต ความคิดอันใดที่สติรู้ทันทุกขณะจิต ความคิดอันนั้นคือปัญญาในสมาธิ เป็นลักษณะของจิตเดินวิปัสสนา พร้อมๆ กันนั้นถ้าจะนับตามลำดับขององค์ฌาน ความคิด เป็นตัววิตก สติรู้พร้อมอยู่ที่ความคิด เป็นตัววิจาร เมื่อจิตมีวิตก วิจาร…ปีติ และสุขย่อมบังเกิดขึ้นไม่มีปัญหา ทีนี้ปีติเกิดขึ้นแล้ว จิตมันก็อยู่ในสภาพปกติ กำหนดรู้ความคิดที่เกิดๆ ดับๆ อยู่ตลอดเวลา ก็ได้ความเป็นหนึ่ง ถ้าจิตดำรงอยู่ในสภาวะเป็นอย่างนี้ ก็เรียกว่าจิตดำรงอยู่ในปฐมฌาน คือ ฌานที่ ๑ ประกอบ ด้วยองค์ ๕ : วิตก วิจาร ปีติ สุข เอกัคคตา ปล่อยจิตให้คิด เกิดความฟุ้งซ่านหรือเกิดปัญญา …ความคิดที่จิตมันคิดขึ้นมาเอง เป็นวิตก สติรู้พร้อม เป็นวิจาร เมื่อจิตมีวิตก วิจาร ปีติ และ ความสุขย่อมเกิดขึ้นไม่มีปัญหา ผลที่จะเกิดจากการตามรู้ความคิด ความคิดเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่ง ระลึกของสติ เมื่อสติสัมปชัญญะดีขึ้น เราจะรู้สึกว่า… ความคิด เป็นอาหารของจิต ความคิด เป็นการบริหารจิต ความคิด เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียด ความคิด เป็นนิมิตหมายให้เรารู้ว่าอะไรเป็นเรื่องทุกข์ เป็นอนัตตา แล้วความคิดนี่แหละมันจะมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ดี อารมณ์เสีย เมื่อเรามองเห็นอารมณ์ดี อารมณ์เสีย มองเห็นอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ ที่ก่อเป็นตัวกิเลส ทีนี้เมื่อจิตมีอิฏฐารมณ์ อนิฏฐารมณ์ มันก็มีสุข บ้าง ทุกข์บ้างคละกันไป ในที่สุดก็มองเห็นทุกข์อริยสัจ …ถ้าจิตมันเกิดทุกข์ขึ้นได้ สติรู้พร้อม มองเห็นทุกข์อริยสัจ ถ้าจิตมีปัญญารู้สึก มันจะบอกว่า อ้อ! นี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ แล้วมันจะดูทุกข์กันต่อไป สุข ทุกข์ ทั้งสองอย่างเกิดขึ้นสลับกันไป อันนี้คือกฎอริยสัจแล้วในที่สุดจิตมีสติมีปัญญาดีขึ้น มันจะกำหนดหมายรู้ว่า นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรเกิด นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับ แล้วจะมองเห็นว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งเกิดขึ้นดับไป เกิดขึ้นดับไปอยู่อย่างนั้น ยังกิญจิ สมุทย ธัมมัง สัพพันตัง นิโรธ ธัมมันติ ท่านอัญญาโกณฑัญญะได้ดวงตาเห็นธรรมว่า สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นดับไปเป็นธรรมดา… คือจุดนี้ เส้นทางตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า หลักการที่พระองค์ทรงยึดเป็นหลักปฏิบัติก็คือว่า ทำจิตให้มีสิ่งรู้ ทำสติให้มีสิ่งระลึก พระองค์ทำลมอานาปานสติให้เป็นสิ่งรู้ของจิต แล้วเอาสติไปจดจ่ออยู่ที่ลมหายใจ… พระองค์ทรงทำพระสติรู้อยู่ที่ลมหายใจเข้าและลมหายใจออก ทำให้พระองค์ต้องรู้ ความหยาบความละเอียดของลมหายใจ และรู้ความเปลี่ยนแปลงของลมหายใจ ในขณะใดที่พระองค์ไม่ได้ดูลมหายใจ พระองค์ก็กำหนดดูอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายในจิตของพระองค์ สิ่งใดเกิดขึ้นพระองค์ก็รู้ รู้ด้วยวิธีการทำสติกำหนดจิต กำหนดคอยรู้ คอยจ้องดูอารมณ์ที่เกิดดับ กับจิต ในเมื่อสติสัมปชัญญะของพระองค์มีความเข้มแข็งขึ้น สามารถที่จะประคับประคองจิตใจ ให้มีความรู้ซึ้งเห็นจริงในความเปลี่ยนแปลงของอารมณ์ ในสภาวะที่เป็นไปตามธรรมชาติ คือไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เมื่อรู้ว่าอารมณ์ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา อารมณ์อันใด ที่จิตของพระองค์ยังยึดถืออยู่ เมื่ออารมณ์สิ่งนั้นเกิดขึ้นก็มายุแหย่ให้จิต ของพระองค์เกิดความยินดี เกิดความยินร้าย ความทุกข์ก็ปรากฏขึ้นภายในจิต ทุกข์ที่ปรากฏขึ้นภายในจิตของพระองค์ พระองค์ก็กำหนดว่านี่คือทุกข์อริยสัจ เป็นทุกข์จริงๆ หลีกเลี่ยงไม่ได้ ในเมื่อรู้ว่าเป็นทุกข์จริงๆ พระองค์ก็สาวหาสาเหตุ ทุกข์นี่มันเกิดมาจากเหตุอะไร ทุกข์อันนี้เกิดมาจากตัณหา ตัณหาเกิดมาจากไหน เกิดมาจากความยินดี และความยินร้าย ความยินดีเป็นกามตัณหา ความยินร้ายเป็นวิภวตัณหา ความยึดมั่นถือมั่น ในความยินดียินร้ายทั้ง ๒ อย่าง เป็นภวตัณหา ในเมื่อจิตมีภวตัณหา มันก็ย่อมมีความทุกข์เกิดขึ้น เมื่อเป็นเช่นนั้น จึงทำให้พระองค์รู้ซึ้ง เห็นจริงในอริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค อันนี้เป็นภูมิธรรมที่พระองค์ค้นคว้าพบ และตรัสรู้เองโดยชอบ โดย หลวงพ่อพุธ ฐานิโย
ผู้สละโลก ปลดแอกพอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง นิพพานไม่ได้อยู่ไกลๆนะ นิพพานไม่ใช่อยู่ไกลๆ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง วันใดที่ใจเราสิ้นตัณหาอย่างแท้จริง เพราะมีปัญญารู้ทุกข์อย่างแท้จริง วางกายวางใจได้ รู้ทุกข์แล้ววางกายวางใจได้ ตัณหาจะสิ้นไป นิพพานจะปรากฏต่อหน้า ใจที่มันไม่ดิ้นมันจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้น ใจที่มันไม่อยากมันก็เห็นธรรมะที่ไม่อยาก เห็นนิพพานนั่นเอง มันจะมีแต่ความสุขล้วนๆ เลยถึงตรงจุดนี้ เพราะอะไรถึงมีความสุขล้วนๆ เพราะมันพ้นจากขันธ์แล้ว จิตมันพรากออกจากขันธ์นะ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์ จิตอยู่ส่วนจิต ไม่กระทบกันเลย โดยที่ไม่ต้องระวังรักษาอีกต่อไปแล้ว งั้นเมื่อมันพ้นขันธ์ได้ก็คือมันพ้นทุกข์นั่นเอง พระพุทธเจ้าสอนว่าขันธ์ห้าคือทุกข์ เมื่อไรมันพ้นขันธ์ก็คือพ้นทุกข์ ตัณหาก็ไม่มีนะ จิตใจมีแต่สันติสุข คำว่า “สันติ” ก็เป็นชื่อของนิพพาน จิตใจที่เข้าถึงนิพพาน มีความสุขจนไม่รู้จะเทียบกับอะไร ความสุขอย่างโลก ๆ ความสุขเหมือนกับเด็กเล่นฝุ่นเล่นทรายเท่านั้นเอง ค่อยเรียนนะ ค่อยเรียน อดทนในการเรียน
โอวาทพระอานนท์เวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง
นิพพานไม่ได้อยู่ที่วัด แต่อยู่ที่ใจของเราซึ่งมันพ้นจากกิเลส พ้นจากความดิ...เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง...เวลาภาวนาอย่าส่งจิตออกนอก ความรู้อะไรทั้งหลาย อย่าไปยึด ความรู้ที่เราเรียน กับตำรา หรือครูอาจารย์ อย่าเอามายุ่งเลย ให้ตัดอารมณ์ ออกให้หมด แล้วเวลาภาวนาไปให้มันรู้ รู้จากจิตของเรานี่แหละ จิตของเราสงบ เราจะรู้เอง ต้องภาวนาให้มากๆ เข้า เวลามันจะเป็น จะเป็นของมันเอง แล้วก็ความรู้อะไรๆ ให้มันออกมาจากจิตของเรา ความรู้ที่ออกจากจิตที่สงบนั่นแหละ เป็นความรู้ที่ลึกซึ้งถึงที่สุด ให้มันรู้จากจิตเองนั่นแหละมันดี คือจิตมันสงบ ทำจิตให้เกิดอารมณ์อันเดียว แต่ก่อนภาวนา ก็อย่าส่งจิตออกนอก ให้จิตอยู่ในจิต และก็ให้จิตภาวนาเอาเอง ไม่ต้องบริกรรมทางปาก ให้จิตเป็นผู้บริกรรม พุทโธ พุทโธ อยู่นั่นแหละ เกิดครั้งเดียวเท่านั้น และ พุทโธ นั่นแหละจะผุดขึ้นในจิตของเรา เราจะได้รู้จักว่า พุทโธ นั้น เป็นอย่างไร แล้วรู้เอง เท่านั้นแหละ ไม่มีอะไรมากมาย ภาวนาให้มากๆ เข้า ใน อิริยาบถ ๔ ยืน เดิน นั่ง นอน อะไรๆ ทำให้หมดเลย บริกรรม พุทโธ ให้จิตว่าเอาเอง ว่านานๆ ไป จิตของเราติดอยู่กับ พุทโธ นั้นแล้วไม่ลำบาก มันจะว่าเอาเอง ถ้ามันติดกับ พุทโธ แล้วนะ นั่นแหละ มันใกล้จะเป็นสมาธิแล้ว ถ้าเป็นสมาธิแล้ว เราก็กำหนดสมาธิของเราอยู่นั่นแหละ เออ..จิตมันเป็นสมาธิ มันเป็นอย่างนั้นๆ แล้วเราก็รู้เอง เข้าไปรู้อยู่ในสมาธินั่น สมาธิสูงสุดอยู่ตรงนั้น คือ จิตมีอารมณ์เดียว จิตไม่ฟุ้งซ่าน ตัวจริงมันอยู่ตรงนั้น เรารู้อะไร เรารู้จากจิตของเราเอง เรารู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย นอกจากนั้นไม่มีอะไร แต่เราต้องพยายามให้มากๆ เข้า ก่อนจะนอนหรือลุกจากที่นอน เราต้องทำเสียก่อน ทำแล้วก็นั่งให้นานๆ เวลามันจะเป็น มันจะรู้เองดอก แต่ถ้ายังไม่เป็น บอกเท่าไร มันก็ไม่รู้ รู้จากจิตของเรานะ รู้ถึงความบริสุทธิ์ของเราเลย รู้ถึงความเป็นจริง เท่านั้นเอง.. ไม่มีอะไรมากมาย มีเท่านั้น รู้จากจิตที่เป็นสมาธิ รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว เราก็หมดความสงสัยในพระพุทธศาสนา รู้ไม่ถึงความเป็นจริงก็ไม่หมดความสงสัยดอก ศาสนาเป็นอย่างไร เรารู้ของเราเอง อย่าปล่อยให้มันปรุงแต่งมากนัก ข้อสำคัญ ให้รู้จักจิตของเราเท่านั้นเอง เพราะว่าจิตคือ ตัวหลักธรรม นอกจากจิตแล้วไม่มีหลักธรรมใดๆ เลย
เราจะหาหลักธรรมที่แท้จริงเราต้องหาจิตของเราให้เจอเมื่อจิตเป็นสมาธิ แล้วก็ทำให้เกิดปัญญา ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : เกิดปัญญา ก็ต้อง ถ้าหาก ว่าจิตเป็นสมาธิอยู่แล้วล่ะก็ ต้องให้จิตมันเดินตามอาการสามสิบสอง ตั้งแต่ ผม ขนเล็บ ฟันหนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื่อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่า ให้มันเดินอย่างนี้ เรื่อยไป ศิษย์ : วิธีเดิน เดินยังไงครับ หลวงปู่ : คือดู ศิษย์ : เอาจิตไปดูหรือครับ หลวงปู่ : คือ ผมอยู่บนเจ้าของ ศิษย์ : ครับผม หลวงปู่ : นึกดูผม ผมมันเป็นยังไง ลักษณะมันเป็นยังไง มันเข้าไปในหนัง ลึกไปเท่าไหร่ แล้วก็ ออกมามันยาว มันเริ่มเท่าไหร่ ทำไมมันจึงยาวไม่มีที่สิ้นสุด แล้วก็ให้เข้าใจให้ซึมซาบถึงจิตถึงใจ ว่า อ้อมันเป็นอย่างนั้น แล้วก็ขนก็เหมือนกัน เล็บก็เหมือนกัน ดู ดูอันนี้ ดูผม เสร็จแล้ว ดูเล็บ ทุกเล็บ เนี่ยแหละ เล็บมือเล็บตีนอะไรก็ดู ทุกเล็บ ดู คือ ดูให้มันเห็นชัดเจน ในจิตใจของเรา ให้มันซึมซาบถึงจิตถึงใจ ดูอาการลักษณะของมัน มันเป็นอย่างไง ศิษย์ : ตอนดู ดูตอนนี้ มันจะเกิดภาพประกอบด้วยหรือเปล่า หลวงปู่ : ไม่มี ศิษย์ : ไม่มีภาพหรือครับ หลวงปู่ : ภาพไม่มีภาพ ภาพไม่มี ไม่เกี่ยวกับภาพ ให้รู้ด้วยปัญญา ว่าเป็น ลักษณะมันเป็น ดูด้วยปัญญา รู้ด้วยจิตอันลึกซึ้ง ดูด้วยปัญญา แล้วก็ดูอาการสาบสิบ ดูจนทั้งหมด ศิษย์ : แล้วก็พิจารณา ทีละอย่างละอย่างครับ หลวงปู่ : ดูทีละอย่างละอย่าง ดูทีละอย่างละอย่างไป เพื่อจะทำสมาธิของเราให้มีกำลัง และสติ ก็มีกำลังไปด้วย ดูเสร็จแล้ว หมดอาการสามสิบสองแล้ว แยกอีก ศิษย์ : แยก หลวงปู่ : แยก ถอนผมไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ถอนเล็บไปกองหนึ่ง ฟันไปกองหนึ่งกองหนึ่ง ศิษย์ : ทำ หลวงปู่ : ทำได้ คือทำได้ด้วยจิต คือจิตมันทำได้ กองหมดทุกกอง แล้วก็ ให้ นึกถึง ดูหมดทุกกอง แล้วก็ให้ดู ให้บริกรรมถึง อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ให้จิต ให้มันรู้สึกว่า ทุกขังนี่ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา แล้วก็ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ก็เห็นซึมซาบในจิต เหมือนเหมือนกันล่ะ ดูจิต ทุกขัง อนิจจัง อนัตตา เออ ดูอาการของจิตล่ะ ทั้งสามหลักเรียกว่า ไตรลักษณ์ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา จิตมันเป็นทุกขังมันเป็นยังไง ดูมัน ให้ดูอาการ ของจิต แล้วก็ เป็นอนิจจังมันเป็นยังไง มันเป็นอนัตตามันเป็นยังไง ให้ดูให้เข้าใจชัดเจน ด้วยปัญญา
เราจะรู้แจ้งในจิตของเราในขณะจิตเดียวในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้
วันศุกร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
ทางที่เกษมปลอดภัยในสังสารวัฏสังขารธรรมที่อุบัติขึ้นเมื่อวันที่ ๔ ตุลาคม ๒๔๓๑ ณ บ้านปราสาท ตำบลเฉนียง อำเภอเมืองจังหวัดสุรินทร์ ได้พัฒนามาโดยลำดับ รุ่งเรือง สดใส มั่นคงและบริสุทธิ์ ปราศจากละอองธุลีอย่างแท้จริง ได้ท่องเที่ยวไปมาทั่วแดนแห่งพุทธจักรจนรู้แจ้งเห็นธรรม อย่าง "ไม่มีผู้ใดเทียบ" ตรงตามฉายา "อตุโล" ของท่าน บำเพ็ญประโยชน์ตนและประโยชน์ผู้อื่นอย่างมหาศาล เผยแพร่ดวงประทีปแก่ชาวโลกเป็นเวลานาน ก็ดับลงแล้ว ด้วยการยกชีวิตสังขารของท่าน สอนคนให้รู้ถึงความเป็นจริงแห่งชีวิต ซึ่งท่านชอบใช้คำว่า "ยังงั้น ยังงั้นแหละ" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล ละทิ้งสังขาร มรณภาพเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๒๖ เวลา ๐๔.๑๓ น. รวมอายุได้ ๙๖ ปี กับ ๒๖ วัน พรรษา ๗๔ นับเป็นลักษณาการมรณภาพที่ไม่ปรากฏร่องรอย เป็นความงดงามบริสุทธิ์ และสงบเย็นอย่างสิ้นเชิงสาธุ! ศิษย์ทุกคนกราบแทบเท้าขอขมากรรมหลวงปู่ ธรรมะใดที่หลวงปู่เข้าถึงแล้ว ขอให้ศิษย์ทุกคนได้เข้าถึงธรรมะนั้น และได้ดวงตาเห็นธรรมด้วยเถิด ธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งที่ไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นคือ ความว่าง เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกแห่งสงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง
จิตหมดแรงดิ้นหมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้วสติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
จิตหมดแรงดิ้นหมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้วสติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
ธรรมบรรยาย... ประมาท หนทางแห่งความตาย..( พุทธคยา อินเดีย 29- 1- 58)
จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว ...จิตดูจิตแหละ เอาจิตดูจิต ไม่ต้องไปลำบากไปตัดอะไร รู้ถึงความเป็นจริงแล้ว อะไรมันขาดไปเอง อะไรทุกสิ่งทุกอย่างมันขาดไปเอง มันรู้ถึงความเป็นจริง แล้วก็ มันหมดความสงสัย แต่ว่า ต้องรู้ถึงความเป็นจริง รู้โดยปัญญา อริยมรรค
ภพอะไรที่เที่ยงไม่มี เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะสุดท้ายแล้วเมื่อถึงวันที่เราตายเราต้องไปเพียงคนเดียวโดยไม่อาลัยและไม่เศร้าโศก....สัตว์ซึ่งมีความรู้สึกนึกคิด กระดุกกระดิกได้ทั้งหมดก็ดี พระพุทธเจ้าพร้อมทั้งพระโพธิสัตว์ทั้งหลายทั้งปวงก็ดี ล้วนแต่เป็นของแห่งธรรมชาติอันหนึ่งนี้เท่านั้น ไม่มีแตกต่างกันเลย ความแตกต่างทั้งหลายเกิดขึ้นจากเราคิดผิด ๆ เท่านั้น ย่อมนำเราไปสู่การก่อสร้างกรรมทั้งหลายทั้งปวงทุกชนิดไม่มีหยุดธรรมชาติแห่งความเป็นพุทธะดั้งเดิมของเรานั้น โดยความจริงอันสูงสุดแล้ว เป็นสิ่งซึ่งไม่มีความหมายแห่งความเป็นตัวตนแม้แต่สักปรมาณูเดียว สิ่งนั้นก็คือ ‘ความว่าง’ เป็นสิ่งซึ่งมีอยู่ในที่ทุกแห่ง สงบเงียบ และไม่มีอะไรเจือปน มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่ง ๆ นี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง ๆ นั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว
พุทธวจนบรรยาย ลมหายใจไปวิมุตติมีสติตั้งมั่นที่ลมหายใจของเราเองแล้วให้สังเกตุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นในใจเป็นสิ่งแปลกปลอมทั้งสิ้น.ช้า..ช้า..ไม่ต้องรีบแป็นพระอรหันต์
ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ สิ้นนันทิ สิ้นราคะ สิ้นทุกข์ สิ้นตัณหาดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของว่างเปล่า สูญทั้งนั้น ฯ ตาย่อมเดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้นย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วย ภัยอันตรายนั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่งวิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อแห่งพระอรหันต์ ฯ
ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไปเหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขาจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น
ในโลกนี้ หาคนที่ตื่นขึ้นมา.. ยากที่สุด เราตื่นเฉพาะร่างกาย แต่จิตใจไม่ตื่นหรอก นับตัวได้เลยนะในโลกนี้ ตอนแรกๆที่หลวงพ่อพูดอย่างนี้ คนไม่เชื่อนะ หาว่าดูถูกเหยียดหยามเสียอีก บอกว่า..ถ้าไม่ตื่นแล้วจะขับรถมาวัดได้อย่างไร ไม่ตื่นแล้วจะทำมาหากินได้อย่างไร มันตื่นแต่ร่างกาย จิตใจไม่ตื่น จิตใจหลงไปในโลกของความคิดความฝันตลอดเวลา ความทุกข์ทั้งหลายและกิเลสทั้งหลาย เกิดตอนที่ใจเราหลงไปอยู่ในโลกของความคิดนั้นเอง เพราะฉะนั้นจะคิดเพลินๆไปนะ คิดดีๆขึ้นมา มีความสุข คิดไม่ดีมีความทุกข์ขึ้นมา หลงไปอย่างนี้เรื่อยๆ แต่ถ้าเราภาวนา จนใจเราตื่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ตื่นแบบแห้งแล้งด้วยนะ ตื่นออกมาจิตใจนี้นุ่มนวล อ่อนโยน จิตใจสว่างไสว มีความสุข มีความเบิกบานผุดขึ้นมาเอง ความสุขที่เราเคยรู้จัก มันต้องเป็นความสุขที่มีสิ่งเร้า มีอะไรมายั่ว เช่น หนุ่มๆไปจีบสาวได้แล้วมีความสุข อะไรอย่างนี้ หรือว่าร่ำรวยขึ้นมามีความสุข ได้อยู่กับคนนี้มีความสุข ได้กินอันนี้มีความสุข ความสุขอย่างโลกๆ เป็นความสุขที่ต้องอาศัยสิ่งเร้าภายนอก แต่ถ้าเรามีสติขึ้นมา เรามีความสุขผุดขึ้นมาจากภายใน ความสุขขึ้นมาเอง ไม่ต้องทำอะไร ทันทีที่จิตหยุดความปรุงแต่ง จิตก็มีความสุขผุดขึ้นมาเลย จิตที่มันทุกข์ทุกวันนี้เพราะมันปรุงไม่เลิก หลงไปในโลกของความปรุงแต่ง ให้เราคอยหัดรู้สึกนะ รู้สึกอยู่ในกาย รู้สึกอยู่ในใจ จนสติมันเกิด พอจำสภาวะของรูปธรรมนามธรรมได้แม่นแล้ว สติจะเกิดเอง ทันทีที่สติเกิด จิตจะตั้งมั่น จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ผู้ดู มีสัมมาสมาธิ พอจิตตั้งมั่นขึ้นมาแล้วเนี่ย เราะจะเห็นเลย ทุกสิ่งทุกอย่าง ไม่ว่าความสุขหรือความทุกข์ ไม่ว่ากุศลหรืออกุศลทั้งหลายแหล่ ล้วนแต่เป็นของที่ผ่านมาแล้วผ่านไปเหมือนเรานั่งสบายๆ นั่งเล่น นอนเล่น อยู่ในบ้านเรา เรามองออกไปทางประตู มองออกไปทางหน้าต่าง เห็นคนเดินผ่านหน้าบ้าน เนี่ยความรู้สึกทั้งหลาย ความสุข ความทุกข์ กุศล อกุศลทั้งหลาย เหมือนมันเดินผ่านหน้าบ้าน เราอยู่ในบ้าน สบายๆ ไม่เดือดร้อนอะไรกับใครเขาจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น
ทุกข์และภัยทั้งหลายเกิดจากกิเลสกิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า
ผู้ไม่มีร่องรอยกิเลสที่พระพุทธเจ้าพระองค์ใดทรงชนะแล้ว พระองค์จะไม่ทรงกลับแพ้อีก กิเลสสักน้อยหนึ่งในโลกไม่ติดตามพระองค์ผู้ชนะได้แล้ว พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอยไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า ตัณหาดุจตาข่าย ชื่อว่า วิสัตติกา ไม่มีแก่พระพุทธเจ้าพระองค์ใด เพื่อนำไปในภพไหน ๆ พวกท่านจักนำพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ผู้มีพระญาณหาที่สุดมิได้ ผู้ไม่มีร่องรอย ไปด้วยร่องรอยอะไรเล่า
สัมมา ทิฏฐิ ความเห็นถูก ความเห็นชอบ ท่านอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี
สัมมา ทิฏฐิ ความเห็นถูก ความเห็นชอบ ท่านอาจารย์วรรณสิทธิ ไวทยะเสวี
จิตเห็นจิตอย่างแจ่มแจ้งเป็นอรหัตมรรค สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือ สิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้นและสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีกแล้ว จิต คือ พุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานอยู่ด้วยอีก และแมลงต่าง ๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุก ๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา
วันพฤหัสบดีที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วิธีเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทันที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้าถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังมากที่สุดในรอบ 1 เดือน .
วิธีเข้าถึงความเป็นพระโสดาบันจิตมีราคะรู้ว่าจิตมีราคะ จิตมีโทสะรู้ว่าจิตมีโทสะ จิตง่วงนอน..ให้ลุกขึ้นเดิน..ทันที..ฝ่า..ความง่วง..แล้วจะเข้าถึงสภาวะนิพพาน..พระพุทธเจ้าบรรลุธรรมวันขึ้น 15 ค่ำ ซึ่งก็คือวันที่กามราคะมีกำลังมากที่สุดในรอบ 1 เดือน .
สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปสิ่งมีชีวิตและไม่มีชีวิตในจักรวาล มีนับไม่ถ้วนรวมแล้วมี รูป กับ นาม สองอย่างเท่านั้น นามเดิม ก็คือ ความว่างของจักรวาล เข้าคู่กัน เป็น เหตุเกิดตัวอวิชชา เกิดเหตุก่อ ที่ใดมีรูป ที่นั้นต้องมี นาม ที่ใดมีนาม ที่นั้นต้องมีรูป รูปนามรวมกัน เป็นเหตุเกิดปฏิกิริยา ให้เปลี่ยนแปลงตลอดกาลและเกิดกาลเวลาขึ้น คือ รูปย่อมมีความดึงดูดซึ่งกันและกันจึงเป็นเหตุให้รูปเคลื่อนไหว และหมุนรอบตัวเองตามปัจจัย รูปเคลื่อนไหวได้ ต้องมีนาม ความว่า คั่นระหว่างรูป รูปจึงเคลื่อนไหวได้ เมื่อสภาวธรรมเป็นอย่างนี้ สรรพสิ่งของวัตถุ สสารมีชีวิต และไม่มีชีวิตจึงต้องเปลี่ยนแปลง เป็นไตรลักษณ์ เกิด ดับ สืบต่อทุกขณะจิตไม่มีวันหยุดนิ่งให้คงทนเป็นปัจจุบันได้ จิต วิญญาณ ก็เกิดมาจาก รูปนาม ของจักรวาล มันเป็นมายาหลอกลวงแล้วเปลี่ยนแปลงให้คนหลง จากรูปนามไม่มีชีวิต เปลี่ยนมาเป็นรูปนามที่มีชีวิตจากรูปนามที่มีชีวิต มาเป็นรูปนามมีชีวิต ที่มีจิตวิญญาณ แล้วจิตวิญญาณก็เปลี่ยนแปลงแยกออกจากกัน คงเหลือแต่ “นามว่างที่ปราศจากรูป" นี้ เป็นจุดสุดยอดของการหลอกลวงของรูปนาม ต้นเหตุเกิดรูปนามของจักรวาลนั้น เป็นเหตุเกิด “รูปนามพิภพ" ต่าง ๆ ตลอดจนดวงดาวนับไม่ถ้วนเพราะไม่มีที่สิ้นสุด รูปนามพิภพต่าง ๆ เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามพืช" รูปนามพืช เป็นเหตุให้เกิด “รูปนามสัตว์" เคลื่อนไหวได้ จึงเรียกกันว่า เป็นสิ่งมีชีวิต ความจริง รูปนาม จะมีชีวิตหรือไม่มีชีวิตมันก็เคลื่อนไหวได้ เพราะมันมีรูปกับนาม เป็นเหตุ เป็นผล ให้เกิดปฏิกิริยาอยู่ในตัว ให้เคลื่อนไหวตลอดกาลและ (เกิด) การเปลี่ยนแปลงเรามองด้วยตาเนื้อไม่เห็น จึงเรียกกันว่าเป็นสิ่งไม่มีชีวิต เมื่อรูปนามของพืช เปลี่ยนมาเป็น รูปนามของสัตว์ เป็นจุดตั้งต้นชีวิต ของสัตว์ และเป็น เหตุให้เกิด จิต วิญญาณ การแสดง การเคลื่อนไหว เป็นเหตุให้เกิดกรรม สัตว์ชาติแรก มีแต่สร้างกรรมชั่ว สัตว์กินสัตว์ และ (มี) ความโกรธ โลภ หลง ตามเหตุ ปัจจัย ภายนอกภายในที่มากระทบ กรรมที่สัตว์แสดง มี ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ อย่าง ไปกระทบกับ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส ๕ อย่าง แล้วมาประทับ บรรจุ บันทึก ถ่ายภาพ ติดอยู่กับ รูปปรมาณู ซึ่งเป็น “สุขุมรูป” แฝงอยู่ในความว่าง เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตาได้ ที่แฝงอยู่ในความว่างระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั้น ไว้ได้หมดสิ้น เมื่อสัตว์ชาติแรกเกิดนี้ ได้ตายลง มี กรรมชั่ว อย่างเดียว เป็น เหตุให้สัตว์ต้องเกิด อีก เพื่อให้สัตว์ต้อง ใช้หนี้ กรรมชั่วที่ได้ทำไว้ แต่สัตว์เกิดขึ้นมาแล้วหายอม ใช้หนี้เกิด กันไม่ มันกลับ เพิ่มหนี้ ให้เป็นเหตุเกิด ทวีคูณ ด้วยเพศผู้เพศเมีย เกิดเป็น สุขุมรูป ติดอยู่ใน ๕ กองนี้ เป็นทวีคูณจนปัจจุบันชาติ ดังนั้น ด้วยอำนาจกรรมชั่วในสุขุมรูป ๕ กอง ก็เกิดหมุนรวมกันเข้าเป็น “รูปปรมาณูกลม” คงรูปอยู่ได้ด้วยการหมุนรอบตัวเอง มิหยุดนิ่ง เป็นคูหาให้จิตใจได้อาศัยอยู่ข้างใน เรียกว่า “รูปวิญญาณ" หรือจะเรียกว่า “รูปถอด” ก็ได้ เพราะถอดมาจากนามระวางคั่น ตา หู จมูก ลิ้น กาย นั่นเอง ซึ่งเป็นสุขุมรูปแฝงอยู่ในความว่าง รูปวิญญาณ จึงมีชีวิตอยู่คงทนอยู่ ยืนนานกว่า รูปหยาบ มีกรรมชั่วคอยรักษาให้หมุนคงรูปอยู่ ไม่มีเทพเจ้าองค์ใดฆ่าให้ตายได้นอกจาก นิพพาน เท่านั้น รูปวิญญาณจึงจะสลาย ส่วนการแสดงกรรมของสัตว์ที่ประทับอยู่ในสุขุมรูป มีรูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย ๕ กอง นั้นรวมกันเข้าเรียกว่า จิต จึงมี สำนักงานจิต ติดอยู่ในวิญญาณ ๕ กอง รวมกันเป็นที่ทำงานของ จิตกลาง แล้วไปติดต่อกับ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ภายนอกซึ่งเป็นสื่อติดต่อของจิต ดังนั้น จิต กับ วิญญาณ จึงไม่เหมือนกัน จิตเป็นผู้รู้สึกนึกคิด ส่วนวิญญาณเป็นคูหาให้จิตได้อาศัยอยู่ และเป็นยานพาหนะพาจิตไปเกิด หรือจะไปไหน ๆ ก็ได้ เป็นผู้รักษา “สุขุมรูป” รูปที่ถอดจากรูปหยาบ มีรูปเพศผู้ เพศเมีย รูป ตา หู จมูก ลิ้น กาย อยู่ในวิญญาณไว้ได้เป็นเหตุเกิดสืบภพต่อชาติ เมื่อสัตว์ตาย ชีวิตร่างกายหยาบของภพภูมิชาตินั้น ๆ ก็หมดไปตามอายุขัย (ของ) ชีวิตร่างกายหยาบของภูมิชาตินั้น ๆ ส่วนชีวิตแท้ รูป ปรมาณู วิญญาณ จะไม่ตายสลายตาม จะต้องไปเกิดตามภพภูมิต่าง ๆ ตามเหตุปัจจัยของวัฎฎะหมุนเวียนเปลี่ยนไปด้วย ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณหมุนรอบตัวเอง นี้เอง เป็นเหตุให้จิตเกิดดับ สืบต่อ คอยรับเหตุการณ์ภายนอกภายในที่มากระทบ จะดีหรือชั่วก็สะสมเข้าไว้ เป็นทุน เหตุเกิด เหตุดับ หรือปรุงแต่งต่อไป จนกว่า กรรมชั่ว เหตุเกิดจะหมดไป ชีวิตแท้ รูปถอดหรือวิญญาณ ก็จะหยุดการหมุน รูปสุขุม “รูปวิญญาณ” ซึ่งเกิดมาจากกรรมชั่ว สืบต่อมาแต่ชาติแรกเกิด ก็จะสลายแยกออกจากกันไป คงรูปอยู่ไม่ได้ มันก็กระจายไปส่วนกิจกรรมดี ธรรมะที่ติดอยู่กับวิญญาณมันก็จะกระจายไปกับรูปปรมาณู คงเหลือแต่ความว่างที่คั่นช่องว่างของรูปปรมาณูทุก ๆ ช่อง ฉะนั้น โดยปราศจากรูปปรมาณู ความว่างนั้น จึงบริสุทธิ์และสว่าง รวมเข้ากับความว่าง บริสุทธิ์ สว่าง ของ จักรวาลเดิม เข้าเป็นหนึ่งเรียนกว่า “นิพพาน”
ให้จิตเดินตามอาการสามสิบสองถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว
เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เก...ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ
เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เก...เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหวเมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิดเมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้เถิดคำสอนของพุทธะทั้งหมดในวัฏฏ์นี้ ก็คือการเพาะให้พุทธจิตนั้นผลิออกมาให้เราปรากฏเห็นเท่านั้นเอง เพียงแต่เราทำให้มันว่างจากความคิดปรุงแต่งต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่นำไปสู่การเกิดและการดับอยู่ตลอดกาล และนำไปสู่ความทุกข์เดือดร้อนใจของสัตว์โลก และโลกอื่นไปจริง ๆ เท่านั้น เราก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีวิธิปฏิบัติเพื่อการตรัสรู้และหาทางออกทั้งหลายทั้งสิ้นเลย
วันพุธที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
อย่าประมาท 10 สัณญาน เตือนวันสิ้นโลก!เครืองจักรชนิดนี้พอบรรเทาได้กรณีเกิดภัยภิบัติ ภัยธรรมชาติ..หรือ..ยามไม่มีภัย...ก็...ใช้แทน...เครื่องจักร...ที่สันดาป..ภายใน...เนื่องจากใช้ไฟฟ้าเพียง 48 โวลต์ หรือ แบตเตอรี่รถยนต์ 4 ลูก สามารถ ขับเคลื่อน มอเตอร์ สามเฟส ได้ 1 แรงม้า แร่ง และลด ความเร็วได้ ดู รายละเอียด จากคลิป ได้ครับ..โชคดี มีความสุข ปลอดภัย สบายกาย สบายใจ ทุกท่าน...ครับ. ราคา ประมาณ 2000-3000 บาท ไม่รวมแบตเตอรี่ และมอเตอร์ ครับ...กันไว้ดีกว่า..แก้..แย่แล้ว แก้ไม่ทัน..ปลอดภัยไว้ก่อน..ดีกว่า..ครับ...https://www.youtube.com/watch?v=_RFP-XV77_0 https://www.youtube.com/watch?v=tv5Rsva52Cg https://www.youtube.com/watch?v=2t3Ox2L5Pis https://www.youtube.com/watch?v=L_faXSRpoY8 https://www.youtube.com/watch?v=ZgzGk_ZUpzw https://www.youtube.com/watch?v=w_YexIQfHI0 https://www.youtube.com/watch?v=lpthWsRW8yA
ทำสมาธิด้วยการเดินพอออกจากฌานแล้ว เอโกทิภาวะ นี้ยังทรงตัวอยู่อีกช่วงหนึ่ง อีกหลายชั่วโมง หรืออีกเป็นวันๆได้ ทรงตัว ถ้าฌานนั้นเกิดจากการเดินจงกรม เราเดินจงกรมอยู่แล้วจิตรวมลงไปถึงฌานที่ ๒ เนี่ย ถอยออกมาแล้วนะ เอเอโกทิภาวะทรงตัวอยู่ได้นาน เพราะฉะนั้นถ้าเราทำสมาธิด้วยการเดินได้เนี่ย กำลังของความรู้สึกตัวนี้จะทรงอยู่นานมาก จะนานกว่านั่ง เพราะฉะนั้นสมาธิที่เกิดจากการเดินจงกรมจะเข้มแข็ง ทีนี้พอเรามีตัวผู้รู้ขึ้นมา พระป่าท่านจะเรียกว่าตัวผู้รู้นะ ทันทีที่จิตทรงมีตัวผู้รู้ขึ้นมาแล้วเนี่ย เราจะเห็นทันที ว่าร่างกายที่ยืน เดิน นั่ง นอน เนี่ย ไม่ใช่ตัวเรา เห็นมั้ย พอใจทรงตัวขึ้นมา มีสัมมาสมาธิขึ้นมา ปัญญาจะเกิดขึ้นมาทันทีเลย จะเห็นทันทีเลยว่า กายที่ยืนเดินนั่งนอนอยู่นี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่หายใจเข้าหายใจออกนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายที่พองที่ยุบนี้ไม่ใช่ตัวเรา จะเห็นทันที ไม่ต้องคิดนะ แต่จะเห็นทันที จะรู้สึกทันที
เสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุเป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างไร ภิกษุ ในธรรมวินัยนี้ ย่อมชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ในเวลา กลางวัน พอถึงกลางคืนตอนปฐมยาม ย่อมชำระจิตให้ บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดี ด้วย การเดิน การนั่ง ในตอนมัชฌิมยามแห่ง ราตรี ย่อมสำเร็จสีหไสยาโดยข้างเบื้องขวา ซ้อน เท้าเหลื่อมเท้า มีสติสัมปชัญญะทำไว้ในใจซึ่งอุฏฐานสัญญา พอถึงปัจฉิมยามแห่งราตรี ก็ลุก ขึ้นชำระจิตให้บริสุทธิ์จากธรรมเครื่องกั้นความดีด้วยการเดิน การนั่ง ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุชื่อว่า เป็นผู้ประกอบความเพียรเครื่องตื่นอยู่อย่างนี้แล ดูกรภิกษุทั้งหลายภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๓ ประการนี้ ชื่อว่าย่อมมากด้วยความสุขโสมนัสอยู่ในปัจจุบัน และ ย่อมปรารภอุบายเพื่อความสิ้น อาสวะทั้งหลาย ฯ
วันอังคารที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
PS21244 MC3PHAC ภาพและเสียงชัดครับท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
โซล่าเซลล์ dc to dc boost converter input 24-300 vdc 10 amps output max ...
การประกอบมอเตอร์ไฟฟ้าสามเฟสท่านที่สนใจเฉพาะ POWER MODULE SHINDENGENT TM52A ราคา 1,500 บาท(สิ้นค้าหมดแล้วครับ) TM51 ราคา 500 บาท MITSUBISHI PS21244 ราคา 300 บาท PS219A2 ราคา 300 บาท FUJI ELECTRIC JAPAN 6DI15S-050 D ราคา 300 บาท 6DI15S-050 C ราคา 300 บาท TOSHIBA JAPAN MP6501A ราคา 500 บาท ติดต่อ ซื้อ และ สอบถามรายละเอียด ที่Line ID:pornpimon 1411 Email mrsompongt@hotmail.com sompongindustrial@gmail.comและหรือติดต่อที่พรพิมลทุ่งมีผล 081-803-6553 สมพงษ์ ทุ่งมีผล...02-951-1356 ขอบคุณ..มาก..ครับ..
ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว แสดงน้อยลง อะไรที่ฝึกฝนจนเป็นอัตโนมัติจะเป็นเรื่องง่าย 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจยาตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็น ด้วยปัญญา. อ่านเพิ่มเติม ภาวะแห่งความไม่มีอะไร 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 อีกประการหนึ่ง ภิกษุล่วงอากาสานัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าวิญญาณัญจยาตนฌานด้วยมนสิการว่า วิญญาณหาที่สุดไม่ได้. ล่วงวิญญาณัญจายตนฌานโดยประการทั้งปวงเข้าอากิญจัญญายตนฌานด้วยมนสิการว่า อะไรๆ น้อยหนึ่งไม่มี ล่วงอากิญจัญญายตนฌานโดยประการทั้งปวง เข้าเนวสัญญานาสัญญายตนฌานอยู่. ล่วงเนวสัญญานาสัญญายตนฌานโดย ประการทั้งปวง เข้าสัญญาเวทยิตนิโรธอยู่. และอาสวะของภิกษุนั้นก็หมดสิ้นไป เพราะเห็น ด้วยปัญญา. ภาวะแห่งความไม่มีอะไร 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน แล้วจะทำอย่างไรกันดี 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน สิ่งเดียวที่เรามีโอกาส 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลยมันคล้ายๆ เปิดสวิตช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะเพราะฉะน้นพระอริยะในภูมิเดียวกันนะ ระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรอย่างนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพาน ก็รู้ว่าพระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี้แหละ แต่โง่เอง ไม่เห็น ทำไมไม่เห็น มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เขาปล่อย เขาข้ามแล้ว เขาทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตรน่ะ ข้ามจากปุถุชน มาเป็นพระอริยะ ข้ามทิ้งตรงนี้ มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเองทีนี้พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละ ถ้ามันพอเมื่อไหร่ มันก็ข้ามโคตร เปลี่ยนสกุล ก็ไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงพระอริยะนะ ท่านจะบอกว่า ลูกของเรา อ่านเพิ่มเติม (13 บรรทัด) 佛陀教導什麼?พระพุทธเจ้าท่านสอนอะไร? 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลยมันคล้ายๆ เปิดสวิตช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะเพราะฉะน้นพระอริยะในภูมิเดียวกันนะ ระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรอย่างนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพาน ก็รู้ว่าพระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี้แหละ แต่โง่เอง ไม่เห็น ทำไมไม่เห็น มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เขาปล่อย เขาข้ามแล้ว เขาทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตรน่ะ ข้ามจากปุถุชน มาเป็นพระอริยะ ข้ามทิ้งตรงนี้ มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเองทีนี้พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละ ถ้ามันพอเมื่อไหร่ มันก็ข้ามโคตร เปลี่ยนสกุล ก็ไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงพระอริยะนะ ท่านจะบอกว่า ลูกของเรา อ่านเพิ่มเติม (13 บรรทัด) โลกธรรม 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ทุกข์ให้รู้และหาทางแก้ไข..พึ่งตนเอง....ดีกว่า.. นี้คือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าทั้งหลาย 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 ทุกข์ให้รู้และหาทางแก้ไข..พึ่งตนเอง....ดีกว่า.. คุยกันภาษาเทพ 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 จิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. โคตรฮา ภาษาเทพ พุทโธ อุมาซิกะด่ะ 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 จิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. จงมีชีวิตอยู่...สู้ต่อไป 1 เพิ่มความคิดเห็น... Sompong Tungmepol แสดงความคิดเห็นในวิดีโอบน YouTube แชร์กับสาธารณะ - 9 ก.ค. 2015 จิตจำสภาวะธรรมได้หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. การภาวนาไม่ควรกำหนดกดข่ม 1 เพิ่มความคิดเห็น... เพิ่มเติม
วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ
วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องให้มันรู้ไปเลยว่า..เรา..เป็นลูก.พระพุทธเจ้า...มีภาษิตว่า ความเพียรของมนุษย์เทวดาก็กีดกันไม่ได้ ก็หมายความว่า พุทธศาสนาไม่ให้ยอมแพ้แก่โชคชะตา ให้ใช้ความเพียรพยายามด้วยปัญญา แล้วจะเอาชนะโชคชะตาได้ ๏เราต้องการผลก็ต้องทำเหตุ
วิธีส่งจิตใจไปในกายในใจของเราจะพบทางพระนิพพานคำพูดเป็นประโยชน์ ๑๐ เรื่อง เรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ อันเป็นไปเพื่อขูดเกลากิเลส คือ เรื่องปรารถนาน้อย เรื่องสันโดษ เรื่องความสงบสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องมีความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
คำพูดเป็นประโยชน์ ๑๐ เรื่อง เรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ อันเป็นไปเพื่อขูดเกลากิเลส คือ เรื่องปรารถนาน้อย เรื่องสันโดษ เรื่องความสงบสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องมีความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
คำพูดเป็นประโยชน์ ๑๐ เรื่อง เรื่องที่ควรพูด ๑๐ ประการ อันเป็นไปเพื่อขูดเกลากิเลส คือ เรื่องปรารถนาน้อย เรื่องสันโดษ เรื่องความสงบสงัด เรื่องไม่คลุกคลี เรื่องมีความเพียร เรื่องศีล เรื่องสมาธิ เรื่องปัญญา เรื่องวิมุตติ เรื่องวิมุตติญาณทัสสนะ
จิตหมดแรงดิ้นทางบรรลุธรรม เมื่อภาวนาเป็นแล้ว ก็ต้องภาวนาให้เต็มที่ เพื่อเข้าถึงภาวะ "สักว่ารู้ สักว่าเห็น" หลวงพ่อปราโมทย์ : ทำไปเรื่อยๆ จนถึงวันหนึ่งก็พบว่า เอ๊.. ทำยังไง ดีก็ไม่ถาวร สุขก็ไม่ถาวร สงบก็ไม่ถาวร ตัวผู้รู้ก็ไม่ถาวรนะ ตัวผู้รู้เกิดได้ก็กลายเป็นตัวผู้คิดได้ ยังกลายเป็นตัวผู้เพ่งได้ มีแต่ของไม่ถาวร ก็พย้ามพยามนะ อยากจะให้ดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถามใจของพวเราดู ที่เราปฏิบัติ เราอยากได้ตรงนี้ใช่มั้ย อยากได้ มรรค ผล นิพพาน จริงๆเพราะอะไร มรรค ผล นิพพาน มันน่าจะดีถาวร มันน่าจะสุขถาวร มันน่าจะสงบถาวร เราอยากได้สิ่งเหล่านี้ถ้ามีสติปัญญามาก ก็อยากจะได้ มรรค ผล นิพพาน เพื่อจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร ถ้าโง่กว่านั้นนะ ก็ไปทำสมาธิ ทำอะไรขึ้นมา ก็ดีเหมือนกัน ดีช่วงที่มีสมาธิอยู่ สงบช่วงที่มีสมาธิอยู่ สุขช่วงที่มีสมาธิอยู่ พอมันเสื่อมแล้วก็หายไปอีก ก็ต้องมาทำอีก นี่ก็แล้วแต่สติ แล้วแต่ปัญญา บางคนก็อยากได้มรรค ผล นิพพาน ก็เพราะว่ามันดี มันสุข มันสงบ นั่นแหละ ทีนี้ตะเกียกตะกายนะ หาสิ่งเหล่านี้ไปเรื่อย คิดว่าถ้าเราฝึกได้ดี เต็มที่แล้ว วันหนึ่งจิตของเราจะดีถาวร สุขถาวร สงบถาวร แล้วคิดก็ว่าจิตเป็นเรานั่นแหละ คิดจะทำมันให้ดีให้ได้ คิดจะทำมันให้สุขให้ได้ คิดจะทำมันให้สงบให้ได้ ดีชั่วคราว สุขชั่วคราว สงบชั่วคราว เราก็ไม่พอใจ จะเอาถาวร สุดท้ายเนี่ย พากเพียรแทบล้มแทบตายนะ ก็พบว่า ดีก็ชั่วคราว สุขก็ชั่วคราว สงบก็ชั่วคราว จิตผู้รู้ก็ชั่วคราว อะไรๆก็ชั่วคราวไปหมดเลย ไม่เห็นมีตรงไหนเลยที่มันจะถาวรได้ จิตยอมรับความจริงตรงนี้ได้นะ จิตก็หมดแรงดิ้นละ จะดิ้นไปทำไมล่ะ ดิ้นหาดี หาสุข หาสงบ ดิ้นยังไงก็ไม่มี มีก็มีชั่วคราวเดี๋ยวก็หายไปอีก เนี่ย จิตจะหยุดแรงดิ้นนะ หมดแรงดิ้น แต่จิตที่หมดแรงดิ้นเพราะดิ้นมาสุดขีดแล้วนะ สติก็สุดขีดแล้ว สมาธิก็สุดขีดแล้ว ปัญญาก็สุดขีดแล้ว สติสุดขีดก็คือ ไม่เจตนาจะรู้ ก็รู้ๆๆ รู้ทั้งวันเลย รู้ทั้งคืนด้วย สมาธิก็จิตตั้งมั่น เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน รู้อยู่อย่างนี้ ไม่เป็นผู้หลงนะ อย่างมากก็หลงแว้บๆ แล้วก็กลับมาเป็นผู้รู้อย่างรวดเร็ว จะทำสมาธิให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะทำสติให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง จะเจริญปัญญาให้มากกว่านี้ก็ไม่รู้จะทำยังไง มันจนมุมไปหมดเลย คือสติก็ทำมาจนไม่รู้จะทำยังไงแล้ว สมาธิทำจนไม่รู้จะทำยังไง ปัญญาก็ไม่รู้จะพลิกแพลงไปพิจารณาอะไรอีกต่อไปแล้ว เนื่ยจิตถ้าภาวนามาจนสุดขีดนะ มันจะเข้ามาสู่ภาวะแห่งความจนมุมนี้ มันจะหยุดแรงดิ้น มันจะหมดความอยากว่าจะทำยังไงจะพ้นทุกข์ได้ ทำยังไงจะสุขถาวร ทำยังไงจะดีถาวร ทำยังไงจะสงบถาวร เพราะมันดิ้นมาสุดฤทธิ์สุดเดชแล้วก็ไม่รู้จะทำยังไง มันทำไม่ได้สักทีหนึ่งพอจิตหมดแรงดิ้นแล้ว จิตก็สักว่ารู้ว่าเห็น ตรงนี้แหละสักว่ารู้ว่าเห็นขึ้นมา
วันเสาร์ที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
สิ่งมีค่าสูงสุดเมื่อใดบุคคลพิจารณาเห็น โลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคลนั้นย่อม ไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่างกายนี้จัก แตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น ถ้าท่านทั้งหลายจะทำกิจใด ด้วยร่างกายของเรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด. ความขัดเคืองและความรักใคร่ในร่างกายนั้น จักไม่มี แก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำกิจ ตามปรารถนาด้วย ร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ฟังคำนั้นของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน ดังนั้นแล้ว จึงพากันวางศัสตราวุธแล้ว กล่าวคำนี้. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของ ท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญูรู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้ง ปวง เป็นอาจารย์
วันพฤหัสบดีที่ 9 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
วันพุธที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
อะไรที่ฝึกฝนจนเป็นอัตโนมัติจะเป็นเรื่องง่ายถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว
ใบไม้ในกำมือ...เพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี ... ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว .
นามเดิมคือความว่างของจักรวาลถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,,
ที่ถูกก็คือจิตเห็นจิตนั่นเองถ้าจิตมันตั้งมั่นรู้ว่าไหลออกไปแล้วทุกข์ ก็ตั้งเด่นดวงอยู่ จิตก็เข้าฌานอัตโนมัติ เพราะงั้นถึงเราจะเจริญสติเจริญปัญญาโดยเข้าฌานไม่เป็น ถึงนาทีสุดท้ายที่จะเกิดอริยมรรคอริยผลในทุกขั้นตอน ตั้งแต่โสดาปัตติมรรคจนถึงอรหัตมรรคเนี่ย จิตจะเข้าฌานของเค้าเอง ยกเว้นคนซึ่งเดินปัญญาอยู่ในฌาน เวลาที่จะเกิดอริยมรรคไม่ต้องถอยออกมาอยู่ในโลกก่อนนะ ไม่ต้องกลับมาอยู่กามภูมิก่อนนะ จิตเค้าจะตัดอยู่ข้างในได้เลย นี่เป็นพวกหนึ่ง แต่รวมความก็คืออริยมรรคไม่เกิดอยู่ในจิตที่อยู่ในกามอย่างพวกเรา อริยมรรคจะต้องเกิดอยู่ในรูปภูมิหรืออรูปภูมินะ จะเกิดอยู่ตรงนั้น ไปล้างกันตรงนั้น จิตจะเข้าฌานอัตโนมัติ พอจิตเข้าฌานแล้วคราวนี้สติระลึกรู้อยู่ที่จิตนะ ไม่ได้เจตนาระลึก มันรู้เอง เพราะมันไม่แส่ส่ายออกไปที่ตาหูจมูกลิ้นกายใจ ไม่แส่ส่ายไปในความคิด ก็หยุดลงที่จิตดวงเดียว สติหยั่งลงที่จิต จิตตั้งมั่นอยู่ที่จิต เพราะงั้นสมาธินี่เต็มสมบูรณ์แล้ว ตั้งมั่นอยู่ที่จิต สติสมบูรณ์แล้ว ระลึกอยู่ที่จิต ปัญญาสมบูรณ์แล้ว เห็นความเป็นจริงทุกสิ่งที่อย่างที่เคลื่อนไหวอยู่ในจิตนะ ตรงนี้แหละจิตจะไหวตัวขึ้นมาสองสามขณะ คือปรุงขึ้นมานะแต่ไม่รู้ว่าคิดอะไร ไม่รู้ว่าปรุงอะไร มีความปรุงแต่งเกิดขึ้นแต่ไม่รู้ว่าปรุงอะไร จะเห็นแต่ว่าสิ่งบางสิ่งเกิดขึ้นแล้วสิ่งนั้นดับไป จะเห็นอย่างนี้เอง เห็นเอง ถัดจากนั้นนะจิตจะรู้เลยมันไม่มีสาระอะไร จิตมันจืดนะ มันไม่เอาอีกแล้ว ก็แค่เห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้น พอเห็นความปรุงภายในจิตผุดขึ้นสองสามขณะ ความเห็นกลางอย่างแท้จริงเลย รู้อย่างเป็นกลางอย่างแท้จริงไม่ปรุงต่อนะ จิตจะวาง พอมันวางแล้วมันจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ วางจิตแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ธาตุรู้ก็จิตนั่นแหละ มันเป็นจิตอีกอย่างหนึ่ง พอจิตดวงเก่ามันดับไป จิตที่อยู่ในภพภูมิต่างๆมันดับไป มันทวนกระแสเข้าหาจิตที่เหนือภพเหนือภูมิ ทวนกระแสเข้ามา ขณะที่มันปล่อยวางจิตดวงเดิมนะ แล้วก็ทวนเข้ามาแต่ยังไม่ถึงธาตุรู้นะ คาบลูกคาบดอก ไม่ได้เกาะขันธ์แล้วนะ แต่ก็ยังเข้ามาไม่ถึงตัวธาตุรู้ ไม่ถึงอมตะธาตุอมตะธรรม ไม่ถึงพระนิพพาน ธาตุรู้ไม่ใช่พระนิพพานนะ แต่ธาตุรู้ไปเห็นพระนิพพาน ต้องแยกให้ออก มันยังทวนไม่ถึงธาตุรู้ ไม่ใช่ปุถุชน ไม่ใช่พระอริยะ ทำไมไม่ใช่ปุถุชน เพราะมันปล่อยขันธ์แล้ว ขันธ์สุดท้ายที่มันปล่อยก็คือจิต ไม่ใช่พระอริยะ เพราะยังไม่เข้ามาถึงธาตุรู้ ไม่เข้าถึงพระนิพพาน ตัวธาตุรู้นั่นแหละเป็นตัวไปเห็นพระนิพพาน ตรงนี้นะเรียกว่าโคตรภูญาณ ญาณข้ามโคตร มีปัญญาข้ามโคตร ข้ามโคตรจากโคตรไหนมาสู่โคตรไหน? จากโคตรของปุถุชนมาสู่โคตรของอริยชน เพราะงั้นบรรลุมรรคผลแล้วเปลี่ยนโคตรนะ ข้ามจากสกุลของปุถุชน ข้ามมาสู่อริยวงศ์อริยโคตร เรียกญาณข้ามโคตร ไม่ใช่ปุถุชนนะ กำลังข้ามอยู่ ไม่ใช่พระอริยะ มีอยู่ขณะจิตเดียวแหละที่คาบลูกคาบดอกประหลาดอยู่อย่างนี้ ข้ามมา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงธาตุรู้แท้ๆ ธรรมธาตุ ตัวนี้อริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่ถูกอริยมรรคแหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียวเลย ขาดเลย มันคล้ายๆเปิดสวิตซ์ไฟ ปั๊บ สว่างวุ๊บเดียวความมืดหายไปเลย ในพริบตานั้นเลย จากนั้นนะจะเห็นพระนิพพานอีกสองสามขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็นสองขณะ บางคนเห็นสามขณะถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็นสามขณะ พวกอินทรีย์ยังไม่กล้ามากก็เห็นสองขณะนะ งั้นพระอริยะในภูมิธรรมอันเดียวกันระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรนี้ไม่เท่ากันเห็นพระนิพพานแล้วก็รู้ว่านิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี่แหละ แต่โง่เองไม่เห็น ทำไมไม่เห็น? มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เค้าปล่อยน่ะเค้าข้าม เค้าทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตร ข้ามจากปุถุชนมาเป็นพระอริยะ ข้ามตรงนี้มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละนะ ถ้ามันพอเมื่อไหร่มันก็ข้ามโคตรไป เปลี่ยนสกุลไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่แล้ว ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า ..งั้นเราภาวนานะ ค่อยหัดไปเรื่อย,,,
วันอังคารที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
คิดดี พูดดี ทำดีบาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น
จิตถอนตัวออกจากสังสารวัฏจิตก็ต้องมีพลังมาก ในการที่จะถอดตัวออกจากสังสารวัฏได้ แต่ก่อนเค้าไม่ค่อยสอนกันนะแต่ก่อนสอนฆารวาส ทำทาน ถือศีล อย่างเก่งก็นั่งสมาธิ ฆารวาสนะ ถ้าเห็นทุกข์เห็นโทษ ของการมีชีวิตอยู่ทุกวันๆนี้มีแต่ทุกข์ มันก็อยากพ้นเหมือนกัน ถ้าเราบอกทางให้ ร้อยคนจะหลุดไปได้ซักครึ่งหนึ่ง ถ้าไม่บอกเลยก็ไปไม่ได้ซักคน หลวงพ่อถึงสอนพวกเรา คือสิ่งที่ครูบาอาจารย์แต่ก่อนสอนกับพระ แต่อย่างหลวงพ่อภาวนาจริงจัง เข้าหาครูบาอาจารย์นะท่านสอนอย่างนี้เลย ท่านไม่ได้มาสอนทำทานถือศีลนั่งสมาธิ สอนเรื่องเจริญปัญญา เรื่องมรรคผลนิพพาน แล้วนึกดู ฆารวาสก็ทำได้นะ ฆารวาสสมัยพุทธกาลทำไมเค้าทำได้ ฆารวาสยุคนี้มันจะโง่ขนาดนั้นเลยหรือทำไม่ได้เลย ร้อยคนได้ฟัง น่าจะได้ซักครึ่งกว่าๆถ้าได้ฟัง เกินครึ่งเนี่ยทำได้ ถ้าสนใจจะทำนะ บางคนไม่สนใจทำ เราไปเทศน์ ร้อยคนมันก็ไม่ฟัง ฟังคนเดียวสองคน แล้วก็ไม่ค่อยทำ คือถ้าคนสนใจนะ ตั้งใจฟัง ลงมือทำ น่าจะได้เกินครึ่ง หลวงพ่อสอนละเอียดมาก ควรจะทำได้ มันไม่เหลือวิสัยหรอกที่มนุษย์ธรรมดาจะทำได้
วันจันทร์ที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
การควบคุมมอเตอร์แบบสั่งได้ 360 องศาการขับ Stepping Motor ด้วย https://www.youtube.com/watch?v=u6dlO6Hx0pw https://www.youtube.com/watch?v=z9sVYNF231c Just got 8 way microstepping working. A Silicon Labs C8051F340 receives commands over USB then generates the correct waveforms on its PWM pins. This drives a UDN2916 H-bridge current limited driver chip (using the PHASE and VREF pins), which powers the stepper. https://www.youtube.com/watch?v=7jnmJNzIjaI https://www.youtube.com/watch?v=GjmLhdFy3RM "Arduino is an open-source electronics prototyping platform based on flexible, easy-to-use hardware and software. It's intended for artists, designers, hobbyists, and anyone interested in creating interactive objects or environments." [ www.arduino.cc] "อาดูยโน่ เป็นระบบที่ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ ซึ่งออกแบบให้ใช้งานง่ายทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานอาดูยโน่ ได้แก่ ศิลปิน นักประดิษฐ์ นักออกแบบ ใช้ในงานอดิเรก หรือ ใครๆก็ตามที่สนใจในการประดิษฐ์นวัตกรรม งานสร้างสรรค์" ก่อนอื่นเรามารู้จักกับที่มาที่ไปของ Arduino กันก่อนครับ Ardiono มีผู้ริเริ่มเป็นชาวอิตาเลียน ดังนั้นจึงอ่านออกเสียงไปในทางอิตาเลียนว่า อาดูยโน่ หรือ บางคนก็อ่านว่า อาดูโน่ หรือ อาดูยอีโน่ ก็ได้ครับ เรื่องมันก็เริ่มต้นในปี 2005 ผู้ริเริ่มของ Arduino ชื่อว่า Massimo Banzi และ David Cuartielles ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Ivrea ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี สองคนนี้ตั้งใจสร้างอุปกรณ์ประเภทไมโครคอนโทรลเลอร์ราคาถูกที่นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึง และซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ครับ โรงงานเล็กๆ ในเมืองที่ว่านี้ก็ถูกใช้เป็นที่ผลิตบอร์ด Arduino เวอร์ชั่นแรก โดยใช้ชื่อโครงการของพวกเขาว่า Arduin of Ivrea นอกจากจะตั้งใจให้ราคาของอุปกรณ์นั้นถูกเมื่อเทียบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลอื่นๆ ในท้องตลาดแล้ว พวกเขายังตั้งใช้ให้ Arduino สามารถพัฒนาโดยโปรแกรมที่ "แจกฟรี" ภายใต้เงื่อนไขในการใช้งานลักษณะ Open Souce ดังนั้นจึงเลือกใช้การพัฒนาบนพื้นฐานของระบบ Wiring สำหรับบางคนที่ยังไม่แน่ใจว่าไมโครคอนโทรลเลอร์คืออะไร ลองอ่านย่อหน้านี้ดูครับ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์ครับ คือมีหน้าที่คิด คำนวณทางคณิตศาสตร์ คำนวณทางลอจิก สั่งการ มีส่วนความจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณ หรือ ประมวลผลต่างๆ "แต่จะไม่สามารถทำงานได้เอง" โดยไม่มีมือ เท้า แขน ขา หรือ ตา หู จมูก ซึ่งเปรียบได้กับ อุปกรณ์ส่วนควบ (Accessories) อื่น เช่น เซนเซอร์ มอเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบแสดงผลผ่านจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นโดยสรุปคือ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ รับค่าจากระบบวัดผลภายนอก เข้ามาประมวลผล เพื่อสั่งการตอบสนองออกไปที่อุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ ตัวมันเองเดียวๆ จะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการคิดครับ ไมโครคอนโทรเลอร์ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น PIC ของบริษัทไมโครชิพ Z80 MCS-51 ARM-Cortex AVR และ อื่นๆอีกมากครับ Arduino ก็เป็นไมโครคอนโทรเลอร์แบบนึงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากยี่ห้ออื่น
การควบคุมมอเตอร์แบบสั่งได้ 360 องศาการขับ Stepping Motor ด้วย https://www.youtube.com/watch?v=u6dlO6Hx0pw https://www.youtube.com/watch?v=z9sVYNF231c Just got 8 way microstepping working. A Silicon Labs C8051F340 receives commands over USB then generates the correct waveforms on its PWM pins. This drives a UDN2916 H-bridge current limited driver chip (using the PHASE and VREF pins), which powers the stepper. https://www.youtube.com/watch?v=7jnmJNzIjaI https://www.youtube.com/watch?v=GjmLhdFy3RM "Arduino is an open-source electronics prototyping platform based on flexible, easy-to-use hardware and software. It's intended for artists, designers, hobbyists, and anyone interested in creating interactive objects or environments." [ www.arduino.cc] "อาดูยโน่ เป็นระบบที่ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ ซึ่งออกแบบให้ใช้งานง่ายทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานอาดูยโน่ ได้แก่ ศิลปิน นักประดิษฐ์ นักออกแบบ ใช้ในงานอดิเรก หรือ ใครๆก็ตามที่สนใจในการประดิษฐ์นวัตกรรม งานสร้างสรรค์" ก่อนอื่นเรามารู้จักกับที่มาที่ไปของ Arduino กันก่อนครับ Ardiono มีผู้ริเริ่มเป็นชาวอิตาเลียน ดังนั้นจึงอ่านออกเสียงไปในทางอิตาเลียนว่า อาดูยโน่ หรือ บางคนก็อ่านว่า อาดูโน่ หรือ อาดูยอีโน่ ก็ได้ครับ เรื่องมันก็เริ่มต้นในปี 2005 ผู้ริเริ่มของ Arduino ชื่อว่า Massimo Banzi และ David Cuartielles ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Ivrea ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี สองคนนี้ตั้งใจสร้างอุปกรณ์ประเภทไมโครคอนโทรลเลอร์ราคาถูกที่นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึง และซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ครับ โรงงานเล็กๆ ในเมืองที่ว่านี้ก็ถูกใช้เป็นที่ผลิตบอร์ด Arduino เวอร์ชั่นแรก โดยใช้ชื่อโครงการของพวกเขาว่า Arduin of Ivrea นอกจากจะตั้งใจให้ราคาของอุปกรณ์นั้นถูกเมื่อเทียบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลอื่นๆ ในท้องตลาดแล้ว พวกเขายังตั้งใช้ให้ Arduino สามารถพัฒนาโดยโปรแกรมที่ "แจกฟรี" ภายใต้เงื่อนไขในการใช้งานลักษณะ Open Souce ดังนั้นจึงเลือกใช้การพัฒนาบนพื้นฐานของระบบ Wiring สำหรับบางคนที่ยังไม่แน่ใจว่าไมโครคอนโทรลเลอร์คืออะไร ลองอ่านย่อหน้านี้ดูครับ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์ครับ คือมีหน้าที่คิด คำนวณทางคณิตศาสตร์ คำนวณทางลอจิก สั่งการ มีส่วนความจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณ หรือ ประมวลผลต่างๆ "แต่จะไม่สามารถทำงานได้เอง" โดยไม่มีมือ เท้า แขน ขา หรือ ตา หู จมูก ซึ่งเปรียบได้กับ อุปกรณ์ส่วนควบ (Accessories) อื่น เช่น เซนเซอร์ มอเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบแสดงผลผ่านจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นโดยสรุปคือ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ รับค่าจากระบบวัดผลภายนอก เข้ามาประมวลผล เพื่อสั่งการตอบสนองออกไปที่อุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ ตัวมันเองเดียวๆ จะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการคิดครับ ไมโครคอนโทรเลอร์ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น PIC ของบริษัทไมโครชิพ Z80 MCS-51 ARM-Cortex AVR และ อื่นๆอีกมากครับ Arduino ก็เป็นไมโครคอนโทรเลอร์แบบนึงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากยี่ห้ออื่น
การควบคุมมอเตอร์แบบสั่งได้ 360 องศาการขับ Stepping Motor ด้วย https://www.youtube.com/watch?v=u6dlO6Hx0pw https://www.youtube.com/watch?v=z9sVYNF231c Just got 8 way microstepping working. A Silicon Labs C8051F340 receives commands over USB then generates the correct waveforms on its PWM pins. This drives a UDN2916 H-bridge current limited driver chip (using the PHASE and VREF pins), which powers the stepper. https://www.youtube.com/watch?v=7jnmJNzIjaI https://www.youtube.com/watch?v=GjmLhdFy3RM "Arduino is an open-source electronics prototyping platform based on flexible, easy-to-use hardware and software. It's intended for artists, designers, hobbyists, and anyone interested in creating interactive objects or environments." [ www.arduino.cc] "อาดูยโน่ เป็นระบบที่ใช้ในการพัฒนาอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต้นแบบ ซึ่งออกแบบให้ใช้งานง่ายทั้งฮาร์ดแวร์ และซอฟแวร์ กลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งานอาดูยโน่ ได้แก่ ศิลปิน นักประดิษฐ์ นักออกแบบ ใช้ในงานอดิเรก หรือ ใครๆก็ตามที่สนใจในการประดิษฐ์นวัตกรรม งานสร้างสรรค์" ก่อนอื่นเรามารู้จักกับที่มาที่ไปของ Arduino กันก่อนครับ Ardiono มีผู้ริเริ่มเป็นชาวอิตาเลียน ดังนั้นจึงอ่านออกเสียงไปในทางอิตาเลียนว่า อาดูยโน่ หรือ บางคนก็อ่านว่า อาดูโน่ หรือ อาดูยอีโน่ ก็ได้ครับ เรื่องมันก็เริ่มต้นในปี 2005 ผู้ริเริ่มของ Arduino ชื่อว่า Massimo Banzi และ David Cuartielles ซึ่งอาศัยอยู่ในเมือง Ivrea ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศอิตาลี สองคนนี้ตั้งใจสร้างอุปกรณ์ประเภทไมโครคอนโทรลเลอร์ราคาถูกที่นักเรียนนักศึกษาสามารถเข้าถึง และซื้อหามาเป็นเจ้าของได้ครับ โรงงานเล็กๆ ในเมืองที่ว่านี้ก็ถูกใช้เป็นที่ผลิตบอร์ด Arduino เวอร์ชั่นแรก โดยใช้ชื่อโครงการของพวกเขาว่า Arduin of Ivrea นอกจากจะตั้งใจให้ราคาของอุปกรณ์นั้นถูกเมื่อเทียบกับไมโครคอนโทรลเลอร์ตระกูลอื่นๆ ในท้องตลาดแล้ว พวกเขายังตั้งใช้ให้ Arduino สามารถพัฒนาโดยโปรแกรมที่ "แจกฟรี" ภายใต้เงื่อนไขในการใช้งานลักษณะ Open Souce ดังนั้นจึงเลือกใช้การพัฒนาบนพื้นฐานของระบบ Wiring สำหรับบางคนที่ยังไม่แน่ใจว่าไมโครคอนโทรลเลอร์คืออะไร ลองอ่านย่อหน้านี้ดูครับ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะว่าไปแล้วก็เปรียบเหมือนกับสมองของมนุษย์ครับ คือมีหน้าที่คิด คำนวณทางคณิตศาสตร์ คำนวณทางลอจิก สั่งการ มีส่วนความจำ เพื่อใช้เป็นข้อมูลในการคำนวณ หรือ ประมวลผลต่างๆ "แต่จะไม่สามารถทำงานได้เอง" โดยไม่มีมือ เท้า แขน ขา หรือ ตา หู จมูก ซึ่งเปรียบได้กับ อุปกรณ์ส่วนควบ (Accessories) อื่น เช่น เซนเซอร์ มอเตอร์ ระบบสื่อสารผ่านอินเตอร์เน็ต ระบบแสดงผลผ่านจอภาพ เป็นต้น ดังนั้นโดยสรุปคือ ไมโครคอนโทรลเลอร์จะทำหน้าที่ในการคิดคำนวณ รับค่าจากระบบวัดผลภายนอก เข้ามาประมวลผล เพื่อสั่งการตอบสนองออกไปที่อุปกรณ์ต่อเชื่อมอื่นๆ ตัวมันเองเดียวๆ จะทำอะไรไม่ได้มากไปกว่าการคิดครับ ไมโครคอนโทรเลอร์ในปัจจุบันก็มีอยู่หลายยี่ห้อ เช่น PIC ของบริษัทไมโครชิพ Z80 MCS-51 ARM-Cortex AVR และ อื่นๆอีกมากครับ Arduino ก็เป็นไมโครคอนโทรเลอร์แบบนึงที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ต่างจากยี่ห้ออื่น
เมื่อปล่อยวางจิต จิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ถึงโคตรภูญาณ แล้วอริยมรรคก็จ...
เมื่อปล่อยวางจิต จิตจะทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ถึงโคตรภูญาณ แล้วอริยมรรคก็จ...
วันเสาร์ที่ 4 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
พระอนันตชินพระอานนท์พระพุทธอนุชา ลำดับที่ 9ผู้ที่เคยบำเพ็ญพรตมานาน เป็นผู้สลดใจได้เร็ว และมีอำนาจจิตพิเศษในการต่อต้านซึ่งสิ่งที่ต่อต้านได้ยาก มีพลังจิตเข้มแข็งในการที่จะสละสิ่งที่บุคคลสละได้โดยยาก บารมีธรรมที่สั่งสมอยู่ในดวงจิตเป็นสิ่งที่ไม่เคยสูญหาย มันคอยกระตุ้นเตือนให้บุคคลเบนชีวิตไปตามวิถีทางที่เขาเคยเดินมาแล้วเป็นเวลานาน เขาเดินฝ่าความมืดออกไป มีทางเลี้ยวไปทางไหน เขาก็ไปทางนั้น ไปอย่างไม่มีจุดหมาย เขาคิดว่าพออรุณรุ่งก็พอจะหาทางที่แน่นอนได้ และพยายามสืบถามว่า เวลานี้พระอนันตชินอยู่ที่ใด จนกระทั่งสายตะวันโด่ง เขารู้สึกหิวเพราะเดินทางมาเป็นเวลานาน อาหารก็มิได้ติดตัวมาเลย เขาออกจากบ้านอย่างกะทันหัน ไม่มีแผนการล่วงหน้า ดังนั้น เมื่อมาถึงหมู่บ้านแห่งหนึ่งจึงเข้าไปขออาหารจากชาวบ้านพอประทังหิวแล้วเดินทางต่อไป ค่ำที่ไหนนอนที่นั่น เที่ยงวันวันหนึ่งอากาศร้อนอบอ้าว หลังจากได้เดินทางเหน็ดเหนื่อยเหงื่อโซมกายแล้ว เขาแวะเข้าพัก ณ ใต้ร่มพฤกษ์ใหญ่ใบหนาลมโชยมาเบา ๆ ต้องผิวกายชุ่มชื่น เขาเอนตัวลงนอนพัก เอารากไม้แทนหมอน และหลับไปด้วยความอ่อนเพลีย เขาตื่นขึ้นเมื่อพระอาทิตย์คล้อยไปทางทิศตะวันตกมากแล้ว รู้สึกชุ่มชื่นและมีกำลัง เขานั่งตรองถึงชีวิตในอดีต โดยเฉพาะเวลา ๒ ปีที่อยู่ร่วมกับสุชาวดี เป็นระยะเวลาที่เขาลำบากชอกช้ำสุดประมาณได้ ลำดับนั้นสุภาษิตเก่า ๆ ที่โบราณบัณฑิตได้กล่าวไว้ก็แจ่มแจ้งแก่เขา ประดุจคบเพลิงสว่างโร่ขึ้นในมุมมืด สุภาษิตนั้นมีดังนี้
ใบไม้ในกำมือ“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! จงดูกายอันเปื่อยเน่านี้เถิด มันอาดูรไม่สะอาด มีสิ่งสกปรกไหลเข้าไหลออกอยู่เสมอ ถึงกระนั้นก็ตาม มันยังเป็นที่พอใจปรารถนายิ่งนักของผู้ไม่รู้ความจริงข้อนี้ ภิกษุทั้งหลาย ร่างกายนี้ไม่นานนักหรอกคงจะนอนทับถมแผ่นดิน ร่างกายนี้เมื่อปราศจากวิญญาณครองแล้วก็ถูกทอดทิ้งเหมือนท่อนไม้ที่ไร้ค่าอันเขาทิ้งเสียแล้วโดยไม่ไยดี”“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! อันร่างกายนี้สะสมไว้แต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้า มีช่องหู ช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อาศัยแห่งสัตว์เล็ก สัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรค เป็นที่เก็บปัสสาวะและอุจจาระ อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่าง ๆ เข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอ ๆ เจ้าของกายจึงต้องชำระล้างแม้เพียงวันเดียว หรือสองวัน กลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่รังเกียจเป็นของน่าขยะแขยง” “ดูกรภิกษุทั้งหลาย! ร่างกายนี้เป็นเหมือนเรือนซึ่งสร้างด้วยโครงกระดูก มีหนังและเลือดเป็นเครื่องฉาบทา ที่มองเห็นเปล่งปลั่งผุดผาดนั้น เป็นเพียงผิวหนังเท่านั้น เหมือนมองเห็นความงามแห่งหีบศพอันวิจิตรตระการตา ผู้ไม่รู้ก็ติดในหีบศพนั้น แต่ผู้รู้เมื่อทราบว่าเป็นหีบศพ แม้ภายนอกจะวิจิตรตระการตาเพียงไร ก็หาพอใจยินดีไม่ เพราะทราบว่าภายในแห่งหีบอันสวยงามนั้นมีสิ่งปฏิกูลพึงรังเกียจ” “บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รัก ที่พึงใจเป็นธรรมดา หลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอย! ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุด สิ่งทั้งหลายมีความแตกไป ดับไป สลายไปเป็นธรรมดา จะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไป เคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวอยู่ทุกขณะ”“ดูกรภิกษุทั้งหลาย! บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีความเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด”
ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวที่บ้านหนองบึง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์ธนาคารเมล็ดพันธุ์ข้าวที่บ้านหนองบึง อำเภอท่าตูม จังหวัดสุรินทร์
วันศุกร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
หลวงพ่อปราโมทย์ แสดงธรรม ไม่เพ่งไม่เผลอไม่เพียรไม่พักหลวงพ่อปราโมทย์ : ผู้เผลอลืมกายลืมใจ ที่ไปของเราก็คือ ทุคติ ผู้เพ่งบังคับกายบังคับใจไว้ ที่ไปของเราในอนาคตคือสุคติ แต่ไม่ไปนิพพาน เพราะฉะนั้นการที่เราบังคับกายบังคับใจเรื่อยไป ไม่ตกนรกหรอก ดี แต่มันหยุดอยู่แค่ดีเท่านั้นเอง ไม่สามารถไปถึงนิพพานได้ เพราะฉะนั้นเราอย่าไปสุดโต่งสองฝั่ง ถ้าเราไปสุดโต่งสองฝั่ง ไม่ไปนิพพาน ครั้งหนึ่งมีเทวดาไปทูลถามพระพุทธเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ พระองค์ข้ามโอฆะได้อย่างไร โอฆะแปลว่าห้วงน้ำ ก็คือกิเลสทั้งหลายนั้นเอง พระพุทธเจ้าบอกว่า เราข้ามโอฆะได้เพราะเราไม่พักและเราไม่เพียร เทวดาฟังแล้วงง ไม่พักอยู่เนี่ยฟังแล้วเข้าใจ แต่ไม่เพียรฟังแล้วไม่เข้าใจ ก็ถามท่านอีกว่า ไม่พักไม่เพียรเป็นอย่างไร ท่านบอกว่า ถ้าพักอยู่เราจะจมลง ถ้าเพียรอยู่เราจะลอยขึ้น เราไม่พักเราไม่เพียร เราพ้นจากโอฆะข้ามห้วงน้ำได้ด้วยวิธีนี้ ทำไมจมลงไม่ดี จมลงไปทุคติ ฟูขึ้นลอยขึ้น ไปสู่สุคติ ไม่ได้ไปนิพพาน คำว่าไม่พักก็คือไม่ปล่อยตัวปล่อยใจไปตามกิเลส ไม่หลงไปตามกามสุขัลลิกานุโยค เผลอไปนั่นแหละ คำว่าไม่เพียรของท่านก็คือ ไม่ได้ไปเพ่งกายเพ่งใจ เป็นอัตตกิลมถานุโยค เพราะฉะนั้นเราต้องเดินทางสายกลางให้เป็น
เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเรา... ขอให้ท่านทั้งหลาย สำรวจดูความสุขว่า ตรงไหนที่ตนเห็นว่ามันสุขที่สุดในชีวิต ครั้นสำรวจดูแล้วมันก็แค่นั้นแหละ แค่ที่เราเคยพบมาแล้วนั่นเอง ทำไมจึงไม่มากกว่านั้น มากกว่านั้นไม่มี โลกนี้มีอยู่แค่นั้นเอง แล้วก็ซ้ำๆ ซากๆ อยู่แค่นั้น เกิด แก่ เจ็บ ตาย อยู่ร่ำไป มันจึงน่าจะมีความสุขชนิดพิเศษกว่า ประเสริฐกว่านั้น ปลอดภัยกว่านั้น พระอริยเจ้าทั้งหลาย ท่านจึงสละสุขส่วนน้อยนั้นเสีย เพื่อแสวงหาสุขอันเกิดจากความสงบกาย สงบจิต สงบกิเลส เป็นความสุขที่ปลอดภัยหาสิ่งใดเปรียบมิได้เลย * ภิกษุเราถ้าปลูกความยินดีในเพศภาวะของตนได้แล้ว ก็จะมีแต่ความสุข เยือกเย็น ถ้าตัวเองอยู่ในเพศภิกษุ แต่กลับไปยินดีในเพศอื่น ความทุกข์ก็จะทับถมอยู่ร่ำไป หยุดกระหาย หยุดแสวงหาได้ นั่นคือภิกษุภาวะโดยแท้ ความเป็นพระนั้น ยิ่งจน ยิ่งมีความสุข * ศีรษะที่ปลงผมหมดแล้ว สัตว์เลื้อยคลานเล็กน้อยเช่น เหาย่อมอาศัยอยู่ไม่ได้ฉันใด จิตที่พ้นจากอารมณ์ ขาดการปรุงแต่งแล้ว ทุกข์ก็อาศัยอยู่ไม่ได้ฉันนั้น * ในทางโลกเขามีสิ่งที่มี แต่ในทางธรรมมีสิ่งที่ไม่มี คนในโลกนี้ต้องมีสิ่งที่มี เพื่ออาศัยสิ่งนั้นเป็นอยู่ ส่วนผู้ปฏิบัติธรรมต้องปฏิบัติจนถึงสิ่งที่ไม่มีและอยู่กับสิ่งที่ไม่มี * การปฏิบัติธรรม ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปไหน ในเมื่อกายยาว ๑ วา หนา ๑ คืบ นี้แลเป็นตัวธรรม เป็นตัวโลก เป็นที่เกิดแห่งธรรม เป็นที่ดับแห่งธรรม เป็นที่ที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้อาศัยบัญญัติไว้ซึ่งธรรมทั้งปวง แม้ใครใคร่จะปฏิบัติธรรม ก็ต้องปฏิบัติที่กายและใจนี้ หาได้ปฏิบัติที่อื่นไม่ ดังนั้น ถ้าตั้งใจจริงแล้ว นั่งอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น นอนอยู่ที่ไหน ยืนอยู่ที่ไหน เดินอยู่ที่ไหน ธรรมก็เกิดที่ตรงนั้น * หลักธรรมที่แท้นั้นคือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้วนั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม * กิเลสทั้งหมด เกิดรวมอยู่ที่จิต ให้เพ่งมองที่จิต อันไหนเกิดก่อน ให้ละอันนั้นก่อน * จิตที่ส่งออกนอก เป็นสมุทัย ผลอันเกิดจากสติที่ส่งออกนอก เป็นทุกข์ จิตเห็นจิต เป็นมรรค ผลอันเกิดจากจิตเห็นจิต เป็นนิโรธ
เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเรา...เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น ... ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแวบเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น
วันพุธที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2558
โลกนี้เต็มไปด้วยความทุกข์ ทำอย่างไรใจเราจะไม่ทุกข์ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
วิธีดับทุกข์ทางใจด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญาไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
วิธีดับทุกข์ทางใจด้วยการเจริญวิปัสสนาปัญญาไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
เวลาของเรามีน้อยหลวงพ่อปราโมทย์ : นี้บางคนนี่ที่อินทรีย์แก่กล้านะ พอทำความรู้ตัวขึ้นมาปุ๊บ จิตตั้งมั่นมันรู้ตัวปุ๊บ เริ่มเดินปัญญาได้เองนะ มันเห็นกายแยกออกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู เห็นเวทนาแยกเป็นส่วนหนึ่ง จิตเป็นคนดู เห็นสังขารที่เป็นกุศลเป็นอกุศลนะแยกไปส่วนหนึ่งจิตเป็นคนดู แยกออกมาได้ แล้วเห็นจิตนั้นเกิดดับเดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง นี่บางคนที่เค้าทำมาแล้วนะพอจิตตั้งมั่นปุ๊บมันเห็นเองเลย นี้บางคนไม่เป็น บางคนไม่เป็นก็ต้องฝึกเอา วิธีฝึกก็คือช่วยมันหัดแยกธาตุแยกขันธ์ ช่วยมัน วิธีช่วยทำอย่างไรดี นั่งก็ได้นะ นั่งให้สบายนะ เอาให้สบายสุดๆเลยนั่ง แต่อย่างนั่งหลับก็แล้วกัน สมมติว่านั่งสมาธิแล้วสบายก็นั่งสมาธิไป นั่งเก้าอี้แล้วสบายก็นั่งเก้าอี้ไปนะ มีเก้าอี้ตัวละแสนนั่งแล้วแทบจะปลิวแทบจะลอยก็นั่งไป ไม่เป็นไรหรอก ไม่ได้เกี่ยวกับท่านั่งหรอก หลวงพ่อพุธเคยสอนหลวงพ่อนะว่า ไม่เกี่ยวกับอิริยาบถเลย ท่านบอกเอาหัวทิ่มพื้นนะเท้าชี้ฟ้า ก็ภาวนาได้ นี่ไม่ได้อยู่ที่อิริยาบถนะ เพราะฉะนั้นเบื้องต้นนั่งให้สบายไปก่อน นั่งให้สบายนะแล้วค่อยๆสังเกตไป ร่างกายที่นั่งอยู่นี่เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า ค่อยๆหัดดู บางคนมันรู้เอง ถ้าคนไหนมันไม่รู้เองนะก็ช่วยมันหน่อย บางทีครูบาอาจารย์ ให้พิจารณากาย ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง ร่างกายเป็นวัตถุเป็นก้อนธาตุนี่ พิจารณา ๆ ไป ช่วยมัน ช่วยมันดูเพื่อให้เห็นว่าร่างกายเป็นส่วนหนึ่ง จิตอยู่ส่วนหนึ่ง หรือถ้าเราไม่พิจารณาเรานั่งดูเอาเลยก็ได้ เห็นร่างกายที่หายใจออก เห็นร่างกายที่หายใจเข้า เห็นร่างกายที่นั่ง ดูไปอย่างนี้ หรือร่างกายจะยืน จะเดิน จะนั่ง จะนอน จริงๆได้ทุกอิริยาบถนะ แต่เอานั่งไว้ก่อน หรือใครถนัดเดินก็เดินไว้ก่อน ยกเว้นนอนนะ นอนนี่เอาไว้ทีหลังอย่าเพิ่งเลย หัดง่ายเกินไป งั้นเอายืน เอาเดิน เอานั่งไว้ก่อน ใครถนัดอะไรก็เอาอันนั้นแหละ อย่างหลวงพ่อถนัดนั่ง หลวงพ่อก็นั่งดูเห็นร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ร่างกายหายใจ ใจเป็นคนดู ฝึกอย่างนี้ ดูไปๆ จะเห็นเลยว่าร่างกายเป็นสิ่งที่ใจไปรู้เข้า ร่างกายกับใจนั้นเป็นคนละอันกัน นี่มันเริ่มแยกแล้ว เริ่มแยกขันธ์แล้ว รูปขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นามขันธ์อยู่ส่วนหนึ่ง นั่งต่อไปเรื่อยๆ นั่งให้สบาย นั่งเก้าอี้ตัวละหมื่น ตัวละแสนอะไรก็นั่งไป นั่งไปๆ สักพักหนึ่งก็เมื่อย มีไหมนั่งเก้าอี้แพงๆแล้วไม่เมื่อย ที่หลวงพ่อสังเกตนะ เก้าอี้ยิ่งแพงยิ่งนั่งแล้วเมื่อย เราคงไม่มีบุญนะ เวลาไปเทศน์ที่ไหนนะเค้าจะจัดเก้าอี้ที่นั่งแล้วยุบไปครึ่งตัว โผล่หัวออกมาหน่อยนึง โอ๊ยเมื่อยจะตาย นั่งเกร็งไว้ตลอดเลย นั่งลงไปนะประเดี๋ยวนึงก็เมื่อยขึ้นมา พอเมื่อยเราค่อยๆสังเกตนะ ร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะ ความเมื่อย ร่างกายยังไม่ได้ขยับเลย เมื่อกี้ไม่เมื่อย ตอนนี้ชักเมื่อยขึ้นมาแล้วนี่ ค่อยดูอย่างนี้ เราจะเห็นว่าความเมื่อยกับร่างกายนี้เป็นคนละอันกัน ความเมื่อยเป็นสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามา เห็นว่าเวทนากับกายนี้เป็นคนละส่วนกันจริงๆ จิตเป็นคนดู นี่เราแยกได้สามขันธ์แล้วนะ ทีแรกนั่งไปหรือเดินไปแล้วเห็นว่าร่างกายที่เคลื่อนไหว ร่างกายที่นั่งอยู่นี้เป็นของถูกรู้ถูกดู จิตเป็นคนดูนี่แยกกายกับจิตออก ถัดจากนั้น แยกต่อไปอีก นั่งไปเรื่อยๆ เดินไปเรื่อยๆ มันเกิดปวดเกิดเมื่อยขึ้นมา เราเห็นร่างกายอยู่ส่วนหนึ่งนะความปวดความเมื่อยเป็นสิ่งที่แทรกเข้ามา เข้ามาทีหลังหรอก ทีแรกไม่ปวดไม่เมื่อยนะ ความปวดความเมื่อยแทรกเข้ามา เป็นอีกขันธ์หนึ่ง ร่างกายกับความปวดเมื่อยคนละอันกัน จิตเป็นคนดู นี่ได้สามขันธ์แล้วนะ ต่อไปพอร่างกายมันปวดมันเมื่อยมากขึ้นๆ จิตชักจะกระสับกระส่ายแล้ว ถ้าเราดูเป็นเราจะเห็นว่าจิตไม่ได้เมื่อย กายก็ไม่ได้เมื่อย ความปวดความเมื่อยนั้นแทรกเข้ามาอยู่ในกาย จิตไม่ได้เมื่อยเลยนะ จิตไม่เกี่ยวเลยแต่จิตกระสับกระส่ายเพราะจิตมันรักกาย มันรักว่า นี่ร่างกายของเรา ว่านั่งอย่างนี้เดี๋ยวจะเป็นอัมพาตนะ ยังไม่เคยเห็นใครนั่งสมาธิเป็นอัมพาตสักคนเลยนะ มีแต่ไปทำอย่างอื่นเป็นอัมพาต นี่เราค่อยดูไป พอมันเจ็บมันปวดมากขึ้นๆนะ ใจมันกระสับกระส่าย เราจะเห็นเลยนะว่า เมื่อกี้ใจมันเฉยๆนะ ตอนนี้ใจมันกระสับกระส่าย ใจกับความกระสับกระส่ายมันคนละอันกันอีก นี่ค่อยดูอย่างนี้ ทีแรกก็ดูกายนะกับจิต มีจิตเป็นคนรู้คนดู ต่อมาความปวดความเมื่อยมันแทรกเข้ามาในกายเราก็เห็นความปวดความเมื่อยเป็นอีกสิ่งหนึ่ง ไม่ใช่กาย พอมันปวดเมื่อยมากนะความกระสับกระส่ายแทรกเข้ามาในจิต พอมีสติรู้ทันอีกก็เห็นว่า ความกระสับกระส่ายก็ไม่ใช่จิต ความกระสับกระส่ายกับความปวดเมื่อยก็คนละอันกัน ความปวดอยู่ที่กายนะแต่ว่าใจมันทุรนทุรายขึ้นมา กังวลขึ้นมา กลุ้มใจขึ้นมา หงุดหงิดขึ้นมา โมโหขึ้นมา นี่มันมาเกิดที่ใจ แล้วมันก็ไม่ใช่ใจด้วย ความโกรธก็ไม่ใช่ใจ ความหงุดหงิดก็ไม่ใช่ใจ ใจเป็นคนดู นี่หัดแยกมันอย่างนี้นะ นี่ได้สี่ขันธ์แล้ว ได้ร่างกายนะ ขันธ์หนึ่ง เวทนาความปวดความเมื่อยขันธ์หนึ่ง ความทุรนทุรายของจิตใจนี่เป็นสังขารขันธ์อีกขันธ์หนึ่ง จิตเป็นคนดูอีกขันธ์หนึ่ง สัญญาขันธ์อย่างเพิ่งไปยุ่งกับมัน ยุ่งกับสัญญาเร็วเกินไปเดี๋ยวบ้า เรียกสัญญาวิปลาส เอาไว้ก่อน งั้นเวลาท่านสอนท่านจะสอน กาย เวทนา จิต เห็นไหมจะสอนตรงนี้ แต่สัญญาเว้นไว้ก่อนอย่าเพิ่งไปยุ่ง บางคนไปยุ่งกับสัญญานะ พยายามดัดแปลงสัญญาเช่น เห็นโต๊ะเรียกเก้าอี้ อย่างนั้นอย่าไปยุ่งกับมัน ให้รู้ รู้ลูกเดียวนะ รู้ลงในกาย รู้เวทนา รู้ความปรุงแต่งที่เป็นกุศล-อกุศลของจิต แล้วก็รู้จิตใจของเราแต่ละส่วนๆ นี่หัดแยกอย่างนี้นะ ถ้ามันไม่แยกเองก็ช่วยมันแยก ตามวิธีที่หลวงพ่อเล่านี่ นั่งดูมันไป ค่อยๆพิจารณาค่อยๆแยกนะ ที่นี้พอมันแยกแล้วนะ ขันธ์แต่ละขันธ์จะไม่ใช่ตัวเราแล้วจะแสดงไตรลักษณ์ให้เห็นเลย ร่างกายถ้ามันแยกออกมาจากจิตเมื่อไร ร่างกายจะไม่ใช่ตัวเรา จะรู้สึกนะเป็นความรู้สึก ไม่ใช่ความคิด จะรู้สึกว่าร่างกายไม่ใช่ตัวเราความปวดความเมื่อยก็ไม่ใช่ตัวเรา จิตใจที่เป็นสุข ทุกข์ก็ไม่ใช่เรา จิตใจที่เป็นกุศล-อกุศลนี่ไม่ใช่เรา ไม่มีตัวเรา ตัวจิตเองที่เป็นผู้รู้ผู้ดูก็ไม่ใช่เรา เกิดแล้วก็ดับไป เกิดแล้วก็ดับไป เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้ เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด ผู้รู้ไม่เที่ยงหรอก ทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดไม่เที่ยง สิ่งนั้นทนอยู่ไม่ได้ สิ่งใดทนอยู่ไม่ได้สิ่งนั้นไม่ใช่ตัวเรา คำว่าเรา หมายถึง เราถาวร มีเราที่เป็นอมตะ นี่เรียก อัตตา อัตตาหมายถึงมีตัวตนเราถาวร ไม่มีตัวเราถาวรมีแต่ตัวเราที่ปรุงขึ้นมาแว๊บๆ เราภาวนารู้สึกมั้ยบางทีมีเราขึ้นมาแว๊บๆ แต่เดี๋ยวเดียวหายไปแล้ว อันนั้นไม่ใช่อัตตา เค้าเรียกว่ามานะ ไม่ใช่ตัวอัตตานะ อัตตาไม่มี มันเป็นตัวมานะ เป็นตัวสำคัญมั่นหมายว่ามีเรา มีกูขึ้นมา ค่อยดูลงไปเรื่อย ไม่มีอะไรเป็นเรา คือไม่มีสิ่งที่เป็นตัวตนถาวร กายก็ไม่ใช่ตัวตนถาวรนะ ไม่ใช่ตัวเราเลยเป็นของถูกรู้ถูกดู เวทนาคือความรู้สึกสุขทุกข์ ไม่ว่าจะเกิดที่กายหรือเกิดที่ใจก็ไม่ใช่ตัวเรา เป็นสิ่งที่จิตไปรู้เข้า กุศล-อกุศลทั้งหลายนี่เกิดที่ใจไม่เกิดที่กาย เวทนานี่เกิดได้ทั้งกายทั้งใจ กุศล-อกุศลเกิดที่ใจ จิตไปรู้เข้าก็เห็นว่าไม่ใช่เรา ตัวจิตเองละ ทำอย่างไรดี เราก็มีจิตเห็นจิต มีจิตดวงใหม่ไปรู้จิตดวงเก่าที่เพิ่งดับไปสดๆร้อนๆ เราก็จะเห็นว่าจิตนั้นไม่คงที่หรอก เช่นจิตเมื่อกี้หลงตอนนี้รู้สึก หรือรู้สึกอยู่พักหนึ่งก็หลงไปใหม่ ตอนหลงไปนะก็จะไม่รู้นะว่าเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่เพราะหลงอยู่ ก็จะเว้นไปช๊อตหนึ่ง พอหลงไปอีก พอมีสติรู้ทันว่าเมื่อกี้หลงนะก็กลับมารู้ได้อีก พอรู้แล้วก็บางทีก็เกิดสติ เกิดจิตอีกดวงหนึ่งรู้ว่าจิตเมื่อกี้รู้สึกตัวอยู่ อย่างนี้ก็มีนะ เพราะอย่างนั้น จิตนี่เราเลือกไม่ได้ว่าเป็นจิตที่รู้สึกตัวหรือเป็นจิตที่หลง เราเลือกไม่ได้นะ แล้วแต่มันจะเกิดนะเราบังคับมันไม่ได้ นี่คืออนัตตานะ บังคับไม่ได้หรอก ไม่อยู่ในอำนาจ เราเฝ้ารู้ไปนะ มันมีแต่ของไม่เที่ยงมีแต่ของเป็นอนัตตาบังคับไม่ได้ จิตนี่ จิตเดี๋ยวก็สุข เดี๋ยวก็หายไป กลายเป็นจิตเฉยๆ เฉยๆสักพักหนึ่งอาจจะสุขขึ้นมาอีกก็ได้ หรืออาจจะทุกข์ก็ได้ มันทุกข์ไป รู้ด้วยความเป็นกลางไม่ใช่หายไปอีก อาจจะเกิดจิตเฉยๆขึ้นมาอีกหรือเกิดจิตที่ยินดี อย่างบางทีเราทุกข์ๆ อยู่นะ เรามีสติรู้ทันนะจิตเบิกบาน จิตที่เบิกบานเป็นจิตอีกดวงหนึ่ง นี่เฝ้ารู้ลงไปนะ มีแต่เกิดดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ อันนั้นเกิดอันนี้ดับ หมุนเวียนเปลี่ยนแปลงไปอยู่ในกายนี่แหละ ร่างกายก็เกิดดับนะ เดี๋ยวหายใจออกหายใจเข้า เดี๋ยวยืน เดินนั่งนอน เดี๋ยวเคลื่อนไหว เดี๋ยวหยุดนิ่ง เปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ถ้าภาวนานะ ถ้ามีสมาธิหนุน ลงไปก็เห็นเกิดดับจริงๆ เป็นกลุ่มๆ เป็นหย่อมๆ อยู่ในกายนี้ วับๆๆๆๆ ถ้าไม่เห็นก็ดูไป กายที่หายใจออกอันนึง กายที่หายใจเข้าอันนึง กายที่ยืนเดินนั่งนอนคนละอันๆ ดูไป ไม่มีตัวเราหรอก คนละอันกัน ไม่ใช่ตัวตนถาวร เวทนาก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร เกิดแล้วก็ดับ สังขารก็ไม่ใช่ตัวตนถาวร ดีได้ก็ยังชั่วได้ ชั่วได้ก็ยังดีได้ จิตเองก็เกิดดับ เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็หลง เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็คิด เดี๋ยวก็รู้ เดี๋ยวก็เพ่ง เดี๋ยวไปทางตา เดี๋ยวไปทางหู ทางจมูก ทางลิ้น ทางกาย ทางใจ นี่ ก็ดูลงไปอย่างนี้ มีปัญญานะ เห็นเลยทุกอย่างในกายในใจนี้ เกิดดับหมดเลย ไม่มีตัวไหนเลย กายก็ไม่ใช่เรา เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ นั้นไม่ใช่เราสักอันเดียว ดูไปซ้ำไปซ้ำมา ปัญญามันเกิดว่าตัวเราไม่มี จิตมันสรุปได้ว่าตัวเราไม่มี เพราะจริงๆไม่มี จิตมันไม่ยอมรับ พามันดูทุกวันๆ มันเห็นความจริงในที่สุดมันต้องยอมรับ ยอมรับได้ ได้เป็นพระโสดาบันนะ ละความเห็นผิดไป เอาแค่โสดานะ เอาแค่นี้ก่อน
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)