วันพฤหัสบดีที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2558

ว่าด้วยร่างกายเปรียบด้วยฟองไข่นกุลปิตุสูตร ว่าด้วยกายเปรียบด้วยฟองไข่ ข้าพเจ้าได้สดับมาแล้วอย่างนี้ :- สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ ณ เภสกฬาวัน (ป่าเป็น ที่นางยักษ์ชื่อ เภสกฬา อยู่อาศัย) อันเป็นสถานที่ให้อภัยแก่หมู่มฤค ใกล้ เมืองสุงสุมารคิระในภัคคชนบท ฯลฯ ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนกุลบิดา เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนข้าง หนึ่ง แล้วได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์ เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ ล่วงกาลผ่านวัยแล้ว โดยลำดับ ร่างกายกระสับ กระส่าย เจ็บป่วยเนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มี- พระภาคเจ้าและภิกษุทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มี- พระภาคเจ้าโปรดสั่งสอนข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรด พร่ำสอนข้าพระองค์ ด้วยธรรม เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้ว ๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระสับกระส่ายเป็นดังฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดี ก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนี้แหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับกระส่าย อยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษา อย่างนี้แล. ครั้งนั้นแล คฤหบดีชื่อนี้นกุลบิดาชื่นชมยินดีพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้า ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า ทำประทักษิณแล้ว เข้าไปหาท่านพระสารีบุตร อภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ ควรส่วนข้างหนึ่ง. ท่านพระสารีบุตร ได้กล่าวกะนกุลปิตุคฤหบดีว่า ดูก่อนคฤหบดี อินทรีย์ของท่านผ่องใสนัก สีหน้าของท่านบริสุทธิ์ เปล่งปลั่ง วันนี้ ท่านได้ฟังธรรมีกถาในที่เฉพาะพระพักตร์พระผู้มี พระภาคเจ้าหรือ. นกุลปิตุคฤหบดีตอบว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ไฉนจะไม่ เป็นอย่างนี้เล่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรมรดข้าพเจ้าด้วย ธรรมีกถา. ส. ดูก่อนคฤหบดี พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤตธรรม รดท่าน ด้วยธรรมีกถาอย่างไรเล่า. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ (ข้าพเจ้าจะเล่าถวาย) ข้าพเจ้าเข้าไปเฝ้า พระผู้มีพระภาคเจ้า ถวายอภิวาทแล้ว นั่งอยู่ ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง แล้ว ได้กราบทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า พระเจ้าข้า ข้าพระองค์เป็นผู้แก่เฒ่า เป็นผู้ใหญ่ล่วงกาลผ่านวัยแล้วโดยลำดับ มีกายกระสับกระส่าย เจ็บป่วย เนืองๆ พระเจ้าข้า ก็ข้าพระองค์มิได้เห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าและภิกษุ ทั้งหลาย ผู้ให้เจริญใจอยู่เป็นนิตย์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดสั่งสอน ข้าพระองค์ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าโปรดพร่ำสอนข้าพระองค์ด้วยธรรม ที่เป็นไปเพื่อประโยชน์ เพื่อความสุขแก่ข้าพระองค์ตลอดกาลนานเถิด. เมื่อข้าพเจ้ากราบทูลอย่างนี้แล้ว พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า นั่น ถูกแล้วๆ คฤหบดี อันที่จริง กายนี้กระ สับกระส่าย เป็นดังว่าฟองไข่ อันหนังหุ้มไว้ ดูก่อนคฤหบดีก็บุคคลผู้บริหารกายนี้อยู่ พึงรู้ตัวได้ชัดว่าไม่มีโรคได้แม้ เพียงครู่เดียว ก็จะมีอะไรเล่า นอกจากความเป็นคนเขลา ดูก่อนคฤหบดี เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า เมื่อเรามีกายกระสับ กระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึง ศึกษาอย่างนี้แล ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤต- ธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล. ส. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคเจ้า ต่อไปว่า พระเจ้าข้า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย และก็ด้วยเหตุเท่าไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อ ความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความ แห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด. ส. ดูก่อนคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว. พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 4 นกุลปิตุคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร จึงได้กล่าวว่า สักกายทิฏฐิ ๒๐ ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย กระสับกระส่ายด้วย จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูก่อน คฤหบดี คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีได้สดับแล้ว มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็น สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำใน สัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อม เห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็น เวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น เวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ เวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมี สัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วย ความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวน เป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่อเขา ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อม แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณ โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย. ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับ กระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูก่อนคฤหบดี คือ อริยสาวก ในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรม ของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยะธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูป ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูป แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส จึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมี เวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็น ผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่ออริยสาวก นั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้น ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็น สัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญา ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความ ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็น อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความ เป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น สังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ สังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่ เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนใน วิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกาย กระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่. ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดี ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล. จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๑

โลกอันชราพยาธิและมรณะนำไปไม่มีผู้ต้านทานได้เปรียบเหมือนการที่เปลือกฟองไข่บาง การที่วิปัสสนาญาณของภิกษุกล้าแข็ง ผ่องใส และแกล้วกล้า พึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่ปลายเล็บเท้า และจะงอยปากของ ลูกไก่ทั้งหลายกล้าแข็ง. เวลาที่วิปัสสนาญาณของภิกษุแก่กล้า เจริญได้ที่ พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่ทั้งหลายเจริญขึ้น. เวลาที่ภิกษุนั้น ถือเอาวิปัสสนาญาณได้แล้ว เที่ยว (จาริก) ไป ได้ฤดูเป็นสัปปายะ โภชนะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะ หรือ การฟังธรรมเป็นสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น แล้วนั่งอยู่บน อาสนะเดียวนั่นแล เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาด้วย อรหัตตมรรคที่บรรลุแล้วตามลำดับ ปรบปีกคืออภิญญา แล้วสำเร็จเป็น พระอรหันต์โดยสวัสดี พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาลูกไก่ เอา ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก กะเทาะกะเปาะฟองไข่ กระพือปีก แหวกออกมาได้โดยสวัสดี. อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่ เติบโตเต็มที่แล้ว จึงจิกกะเปาะฟองไข่ฉันใด ฝ่ายพระศาสดาก็ฉันนั้น ทรงทราบว่า ญาณของภิกษุเห็นปานนั้น แก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้ว ทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยเป็นต้นว่า :- จงถอนความเสน่หาของตนขึ้นเสียเถิด ให้เหมือนกับ ถอนดอกโกมุท ที่บานในฤดูสารทกาล ด้วยมือของตนฉะนั้น ขอเธอจงเพิ่มพูลทางแห่ง สันติเถิด พระนิพพาน พระสุคตเจ้า ทรงแสดง ไว้แล้ว.

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์เปรียบเหมือนการที่เปลือกฟองไข่บาง การที่วิปัสสนาญาณของภิกษุกล้าแข็ง ผ่องใส และแกล้วกล้า พึงทราบว่า เปรียบเหมือนการที่ปลายเล็บเท้า และจะงอยปากของ ลูกไก่ทั้งหลายกล้าแข็ง. เวลาที่วิปัสสนาญาณของภิกษุแก่กล้า เจริญได้ที่ พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาที่ลูกไก่ทั้งหลายเจริญขึ้น. เวลาที่ภิกษุนั้น ถือเอาวิปัสสนาญาณได้แล้ว เที่ยว (จาริก) ไป ได้ฤดูเป็นสัปปายะ โภชนะเป็นสัปปายะ บุคคลเป็นสัปปายะ หรือ การฟังธรรมเป็นสัปปายะ อันเกิดแต่วิปัสสนาญาณนั้น แล้วนั่งอยู่บน อาสนะเดียวนั่นแล เจริญวิปัสสนา ทำลายกะเปาะฟองคืออวิชชาด้วย อรหัตตมรรคที่บรรลุแล้วตามลำดับ ปรบปีกคืออภิญญา แล้วสำเร็จเป็น พระอรหันต์โดยสวัสดี พึงทราบว่า เปรียบเหมือนเวลาลูกไก่ เอา ปลายเล็บเท้า หรือจะงอยปาก กะเทาะกะเปาะฟองไข่ กระพือปีก แหวกออกมาได้โดยสวัสดี. อนึ่ง เปรียบเหมือนว่า แม่ไก่ทราบว่า ลูกไก่ เติบโตเต็มที่แล้ว จึงจิกกะเปาะฟองไข่ฉันใด ฝ่ายพระศาสดาก็ฉันนั้น ทรงทราบว่า ญาณของภิกษุเห็นปานนั้น แก่เต็มที่แล้ว ก็ทรงแผ่แสงสว่างไป แล้ว ทำลายกะเปาะฟองไข่คืออวิชชา ด้วยคาถาโดยนัยเป็นต้นว่า :- จงถอนความเสน่หาของตนขึ้นเสียเถิด ให้เหมือนกับ ถอนดอกโกมุท ที่บานในฤดูสารทกาล ด้วยมือของตนฉะนั้น ขอเธอจงเพิ่มพูลทางแห่ง สันติเถิด พระนิพพาน พระสุคตเจ้า ทรงแสดง ไว้แล้ว.

โทษของกามราคะจากเรื่องกุณาลชาดกเพราะละราคะได้อารมณ์สำหรับวิญญาณก็ขาดลงที่ตั้งของวิญญาณก็ไม่มี,วิญญาณอันไม่มีที่ตั้งนั้นก็ไม่งอกงามหลุดพ้นไปเพราะไม่ถูกปรุงแต่ง,เพราะหลุดพ้นไปก็ตั้งมั่น,เพราะตั้งมั่นก็ยินดีในตนเอง,เพราะยินดีในตนเองก็ไม่หวั่นไหว,เมื่อไม่หวั่นไหว ก็ปรินิพพานเฉพาะตน.ย่อมรู้ชัดว่า“ชาตินี้สิ้นแล้ว พรหมจรรย์ได้อยู่จบแล้ว,กิจที่ควรทำ ได้ทำสำเร็จแล้ว,กิจอื่นที่จะต้องทำ เพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มีอีก

จุดสำคัญอยู่ที่ความรู้สึกตัวเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

วิธีน้อมนำจิตเข้าสู่พระนิพพานตามพระพุทธเจ้าทรงสอนไว้เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

คัมภีร์เล่มสุดท้ายคือกายกับใจของเรานี่เองเราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน

วันพุธที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตานี้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วิมริยาทิกตจิต” คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง .. วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง ..

พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์เราจะละอาสวะได้โดยอาศัยการปฏิบ­ัติตามหลักศีล สมาธิ ปัญญาอย่างเคร่งครัดเท่านั้น มีวิธีใดอีกบ้างหรือไม่ที่เราจะ­ละอาสวะได้ ? พุทธดำรัสตอบ “....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อาสวะที่จะพึงละได้เพราะการเห็น­มีอยู่ ที่จะพึงละได้เพราะการสังวรก็มี ที่จะพึงละได้เพราะการเว้นรอบก็­มี ที่จะพึงละได้เพราะความอดกลั้นก­็มี ที่จะพึงละได้เพราะการบรรเทาก็ม­ี ที่จะพึงละได้เพราะการอบรมก็มี”

เวรทั้งหลายย่อมสงบระงับด้วยการไม่จองเวรกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

วิธี การ ระงับ ข้อพิพาท วิวาทะ การทะเลาะ วิวาท การโต้เถียง และอธิกรณ์กุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

วิธีระงับข้อพิพาทและวิวาทะกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

ธรรมที่เป็นไปเพื่อความสิ้นตัณหาและทุกข์ทั้งปวงกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์ ปรารถนาจะตรัสรู้บทอันสงบแล้วอยู่พึงบำเพ็ญไตรสิกขา กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญเป็นผู้ตรง ซื่อตรงว่าง่ายอ่อนโยน ไม่เย่อหยิ่ง สันโดษ เลี้ยงง่าย มีกิจน้อย มีความประพฤติเบากาย จิตมีอินทรีย์อันสงบระงับ มีปัญญาเป็นเครื่องรักษาตน ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย ไม่พึงประพฤติทุจริตเล็กน้อยอะไร ๆ ซึ่งเป็นเหตุให้ท่านผู้รู้เหล่าอื่นติเตียนได้ พึงแผ่ไมตรีจิตใจสัตว์ทั้งหลายว่า ขอสัตว์ทั้งปวงจงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด

การเจริญสมถะและวิปัสสนาเพื่อระงับดับทุกข์ทางกายและทางใจเมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รัดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี

จิตภาวนาในพระศาสนาของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า

จงทำญาณเห็นจิตเหมือนดังตาเห็นรูปไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

จงทำญาณเห็นจิตเหมือนดังตาเห็นรูปไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

จิตดูจิตจิตเห็นจิตไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

จิตดูจิตจิตเห็นจิตไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

การเห็นกายในกายเห็นจิตในจิตไตรลักษณ์ เป็นธรรมะที่ทำให้เป็นพระอริยะ (อริยกรธรรม) แปลว่า ลักษณะ 3 ประการ หมายถึงสามัญลักษณะ คือ กฎธรรมดาของสรรพสิ่งทั้งปวง อันได้แก่ อนิจจลักษณะ ความไม่เที่ยง ทุกสิ่งในโลกย่อมมีการแปรเปลี่ยนไปเป็นธรรมดา ทุกขลักษณะ ความเป็นทุกข์ คือ มีความบีบคั้นด้วยอำนาจของธรรมชาติทำให้ทุกสิ่งไม่สามารถทนอยู่ในสภาพเดิมได้ตลอดไป และ อนัตตลักษณะ ความที่ทุกสิ่งไม่สามารถบังคับบัญชาให้เป็นไปตามต้องการได้ เช่น ไม่สามารถบังคับให้ชีวิตยั่งยืนอยู่ได้ตลอดไป ไม่สามารถบังคับจิตใจให้เป็นไปตามปรารถนา เป็นต้น

วิธีฝึกจิตให้ตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดูเรื่องของอาสวกิเลส ผมสังเกตเห็นอย่างหนึ่งว่า พวกเรามักกล่าวถึง กิเลส และนิวรณ์กันบ่อยครั้ง แต่ไม่ค่อยได้กล่าวถึง อาสวกิเลส กันมากนัก แทบไม่เคยเห็นกล่าวถึงกันทีเดียว แท้ที่จริง อาสวกิเลส เป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสังเกตธรรมในพระไตรปิฎก จะเห็นได้ชัดเจนว่า เมื่อท่านกล่าวถึงความหลุดพ้น ท่านมักจะกล่าวว่า หลุดพ้นจากอาสวกิเลส ไม่กล่าวว่า หลุดพ้นจากกิเลส หรือนิวรณ์ อันที่จริง กิเลส นิวรณ์ และอาสวกิเลส ต่างก็เป็นกิเลสด้วยกัน แต่มีความหยาบและความละเอียดแตกต่างกัน กิเลส คือราคะ โทสะ และโมหะนั้น เป็นของหยาบๆ มันพลุ่งๆ วูบวาบขึ้นมาครอบงำจิต ในลักษณะเป็นสิ่งแปลกปลอมเข้ามาเป็นครั้งคราว ส่วนนิวรณ์ มักจะแทรกเข้ามานิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้ามา นักปฏิบัติด้วยการดูจิต หรือเจริญจิตตานุปัสสนาสติปัฏฐาน สามารถรู้เห็นกิเลสได้ไม่ยากเลย แม้แต่ผู้หัดดูจิตวันแรก ก็มักมองเห็นได้แล้ว โดยเฉพาะโทสะนั้น เป็นอารมณ์ที่รุนแรง สังเกตง่ายที่สุด ราคะมีความประณีตกว่าโทสะ แต่ก็ยังเป็นสิ่งแปลกปลอมที่มองเห็นง่าย ส่วนโมหะ เป็นความหมอง ความมัวของจิต เหมือนม่านควันที่ซึมซ่านเข้ามาทำให้จิตเสื่อมคุณภาพในการ "รู้ตามความเป็นจริง" ตัวนี้สังเกตยากขึ้นไปอีกหน่อย สำหรับ "นิวรณ์" มีความละเอียดประณีตยิ่งขึ้นไปอีก เพราะมันซึมซ่านนิ่มๆ ตามหลังความคิดเข้าครอบงำจิตได้ง่ายๆ โดยไม่ทันระวังตัว บางคราวถ้าไม่ชำนาญ จะดูไม่ออกเสียด้วยซ้ำไปว่ามันเป็นนิวรณ์ ส่วนอาสวกิเลสนั้น ดูยากกว่านิวรณ์มากนัก ในชั้นแรกนี้ ลองมาดูความหมายในทางปริยัติกันก่อน พจนานุกรมของท่านเจ้าคุณพระธรรมปิฎก ท่านอธิบายความหมายของอาสวกิเลสไว้ดังนี้ อาสวะ กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ไหลซึมซ่านไปย้อมจิตเมื่อประสบอารมณ์ต่างๆ มี ๓ อย่างคือ กามาสวะ ภวาสวะ และอวิชชาสวะ ๑. กามาสวะ อาสวะคือกาม (กิเลสดองอยู่ในสันดาน ที่ทำให้เกิดความใคร่ ) ๒. ภวาสวะ อาสวะคือภพ (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้อยากเป็น อยากเกิด อยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป) ๓. อวิชชาสวะ อาสวะคืออวิชชา (กิเลสที่หมักหมมหรือดองอยู่ในสันดาน ทำให้ไม่รู้ตามความเป็นจริง) คราวนี้เราลองหันมาพิจารณา ถึงสภาวะของอาสวกิเลสในมุมมองของนักปฏิบัติบ้าง อาสวกิเลสไม่ได้พลุ่งขึ้นมาเหมือนกิเลสหยาบ ไม่ได้ซึมซ่านเข้ามาเหมือนนิวรณ์อันเป็นกิเลสชั้นกลาง แต่เป็นกิเลสละเอียด ที่จิตจมแช่อยู่มาแต่ไหนแต่ไรแล้ว โดยจมแช่อยู่ อย่างไม่รู้ตัวว่ากำลังจมแช่อยู่ ถ้าเปรียบเทียบให้เป็นรูปธรรมหยาบๆ ก็คล้ายกับร่างกายนี้ จมแช่อยู่ในอากาศ เราแช่ในอากาศมาตั้งแต่เกิด จนลืม จนไม่เคยนึกถึง ถ้าไม่ลงไปแช่ในของหยาบยิ่งกว่านั้น เช่น แช่น้ำ เราจะรู้สึกเหมือนร่างกายนี้เป็นอิสระ ไม่ได้จมแช่อยู่ในอะไรเลย ทั้งที่ความจริง กายนี้จมแช่อยู่ในอากาศมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว จิตเองก็จมแช่หมักดองอยู่ในอาสวกิเลสโดยไม่รู้ตัว แต่อาสวกิเลสที่จิตจมแช่อยู่นั้น มีถึง ๓ ระดับ หรือ ๓ ชนิด สิ่งแรกคือกาม ถัดไปคือภพและอวิชชา จิตของสรรพสัตว์ที่ยังไม่บรรลุพระอนาคามี ล้วนยังจมแช่อยู่ในกามทั้งสิ้น ถ้าทำใจให้สบาย มีสติปัญญาระลีกรู้ไปในกาย จะเห็นว่าจิตจมแช่อยู่ในกาม ซึมซ่านไปทั่วกายตลอดทุกขุมขน ยินดีพอใจในผัสสะทางกายที่เป็นสุข ระแวดระวัง เกลียดกลัวผัสสะทางกายที่เป็นทุกข์ ไม่ผิดอะไรกับสาวงามที่อาบน้ำใหม่ๆ ทาแป้งและของหอมเรียบร้อย มีความอิ่มเอิบพอใจอยู่ทุกขุมขน และเกลียดกลัวสิ่งสกปรกแม้เพียงเล็กน้อยที่จะมากระทบกาย เครื่องดองชั้นหยาบนี้จะถูกทำลายไปเมื่อจิตบรรลุพระอนาคามี เพราะจิตมีปัญญารู้แจ้งแทงตลอดในกาย เห็นแต่ความไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา เป็นอสุภะของกาย จึงหมดยางใยที่จะยึดถือในความสุขและความทุกข์ทางกายลงอย่างเด็ดขาด สำหรับภวาสวกิเลสนั้น พวกเราบางคนก็อาจจะเคยเห็นร่องรอยบ้าง คือเมื่อเรามีสติสัมปชัญญะ มีธรรมเอกหรือจิตผู้รู้ เห็นอารมณ์เกิดดับหมุนเวียนไปเรื่อยๆ คือผ่านภพน้อยภพใหญ่นับไม่ถ้วน ในที่สุดเมื่อจิตวางอารมณ์หยาบทั้งหมด มาหยุดรู้อยู่ที่จิตผู้รู้ ก็ยังเห็นอีกว่า จิตผู้รู้ที่กำลังรู้อยู่นั้น เอาเข้าจริงก็ยังเป็นภพอีกอันหนึ่ง จิตจมแช่อยู่ในภพ โดยไม่เคยเห็นเลยว่า กระทั่งจิตที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดแล้วนั้น เอาเข้าจริงก็ยังหลงอยู่ในภพอันหนึ่ง ที่ดูสะอาดหมดจดสุดขีดนั้น ผมเองเมื่อเจริญสติสัมปชัญญะ และเห็นจิตผู้รู้ จะรู้ชัดว่าจิตยังข้องอยู่ในภพ ยังผูกพันอยู่ในภพ เหมือนคนที่ถูกขังอยู่ในห้องขังที่ฝาและเพดานเป็นกระจกใส หรือเป็นแสงที่มองด้วยตาเปล่าไม่เห็น ดูผิวเผินเหมือนกับคนที่เป็นอิสระ ไม่ได้ถูกกักขัง แต่เอาเข้าจริงแล้ว จิตไม่ได้เป็นอิสระจริง ผู้ที่เคยเข้าถึงความหลุดพ้นชั่วขณะ จะเห็นจิตที่จมแช่ภวาสวกิเลสได้ชัดเจน เพราะสามารถเทียบกับสภาวะที่จิตเป็นอิสระ หลุดพ้นจากภพ ได้อย่างชัดเจน สำหรับอวิชชาสวกิเลสนั้น โยงใยอยู่กับภวาสวกิเลส คือที่จิตยังติดข้องอยู่ในภพ หรือจมแช่อยู่ด้วยภวาสวกิเลสนั้น ก็เพราะจิตยังถูกย้อมด้วยอวิชชา และปราศจากวิชชา คือยังมองไม่เห็น ทุกข์ มองไม่ออกว่า จิตผู้รู้ ก็คือก้อนทุกข์อันหนึ่ง ยังข้องอยู่ในภพอันหนึ่ง ยังเป็นทุกข์ ยังแปรปรวน ยังไม่ใช่ที่พึ่งที่แท้จริง หรือแม้ว่าจะพอรู้สึกบ้างว่า จิตผู้รู้เป็นจิตในภพอันหนึ่ง เป็นทุกข์อันหนึ่ง ก็ยังมองไม่เห็นว่า สมุทัย ที่ทำให้ภพของจิตผู้รู้เกิดขึ้นนั้น อยู่ตรงไหน คือมองไม่เห็นว่า เจตนาที่จะประคองรักษาจิต ทำให้มโนวิญญาณหยั่งลง และสร้างภพของผู้รู้ขึ้นมา ครั้นจะ เจตนาที่จะไม่มีเจตนา มันก็ยังเป็นเจตนาอยู่อีก จึงจนปัญญา จมแช่อยู่กับความไม่รู้ว่าจะรอดจากความทุกข์ได้อย่างไร หนทางที่จะทำลายอาวสวกิเลสนั้น พระศาสดาทรงแสดงไว้ชัดเจน วิธีที่มาตรฐานที่สุด ได้แก่การใช้จิตที่มีคุณภาพ คือมีสติสัมปชัญญะบริสุทธิ์แล้ว น้อมไปเจริญปัญญาจนรู้แจ้งอริยสัจจ์ และรู้แจ้งอาสวกิเลส ซึ่งพระองค์เองทรงใช้วิธีทำจิตจนถึงฌานที่ ๔ แล้วน้อมจิตไปเจริญปัญญา ดังนี้ เรา (พระศาสดา) ก็เหมือนอย่างนั้นแล พราหมณ์ เมื่อประชาชนผู้ตกอยู่ในอวิชชา เกิดในฟอง อันกะเปาะฟองหุ้มห่อไว้ ผู้เดียวเท่านั้นในโลก ได้ทำลายกะเปาะฟอง คือ อวิชชา แล้วได้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณอันยอดเยี่ยม เรานั้นเป็นผู้เจริญที่สุด ประเสริฐที่สุดของโลก เพราะความเพียรของเราที่ปรารภแล้วแล ไม่ย่อหย่อน สติดำรงมั่นไม่ฟั่นเฟือน กายสงบ ไม่กระสับกระส่าย จิตตั้งมั่น มีอารมณ์เป็นหนึ่ง เรานั้นแล สงัดแล้วจากกาม สงัดแล้วจากอกุศลธรรม ได้บรรลุปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่วิเวกอยู่ เราได้บรรลุทุติยฌาน มีความผ่องใสแห่งจิต ณ ภายใน เป็นธรรมเอกผุดขึ้น ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร เพราะวิตก วิจาร สงบไป มีปีติและสุขซึ่งเกิดแต่สมาธิอยู่ เรามีอุเบกขาอยู่ มีสติ มีสัมปชัญญะ และเสวยสุขด้วยนามกาย เพราะปีติสิ้นไป ได้บรรลุตติยฌาน ที่พระอริยะทั้งหลายสรรเสริญว่า เป็นผู้มีอุเบกขา มีสติ มีสุขอยู่ ดังนี้ อยู่ เราได้บรรลุจตุตถฌาน ไม่มีทุกข์ไม่มีสุข เพราะละสุขละทุกข์และดับโสมนัส โทมนัส ก่อนๆ มีอุเบกขาเป็นเหตุให้สติบริสุทธิ์อยู่ เรานั้น เมื่อจิตเป็นสมาธิ บริสุทธิ์ผุดผ่อง ไม่มีกิเลส ปราศจากอุปกิเลส อ่อน ควรแก่การงาน ตั้งมั่น ไม่หวั่นไหว อย่างนี้แล้ว ได้น้อมจิตไปเพื่ออาสวักขยญาณ เรานั้นได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า เหล่านี้อาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้เหตุให้เกิดอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ความดับอาสวะ ได้รู้ชัดตามเป็นจริงว่า นี้ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับอาสวะ เมื่อเรานั้นรู้อยู่อย่างนี้ เห็นอยู่อย่างนี้ จิตได้หลุดพ้นแล้วแม้จากกามาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากภวาสวะ ได้หลุดพ้นแล้วแม้จากอวิชชาสวะ เมื่อจิตหลุดพ้นแล้ว ได้มีญาณหยั่งรู้ว่าหลุดพ้นแล้ว ได้รู้ด้วยปัญญาอันยิ่งว่า ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นอีกเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี พราหมณ์ วิชชาที่สามนี้แล เราได้บรรลุแล้วในปัจฉิมยามแห่งราตรี อวิชชา เรากำจัดได้แล้ว วิชชาเกิดแก่เราแล้ว ความมืดเรากำจัดได้แล้ว แสงสว่างเกิดแก่เราแล้ว เหมือนที่เกิดแก่บุคคลผู้ไม่ประมาท มีความเพียรเผากิเลสส่งจิตไปแล้วอยู่ ฉะนั้น ความชำแรกออก..ของเรานี้แล ได้เป็นเหมือนการทำลายออกจากกะเปาะฟองแห่งลูกไก่ ฉะนั้น ธรรมตรงนี้ท่านแสดงไว้อย่างชัดเจนถึง กะเปาะฟองที่ห่อหุ้ม (จิต) สิ่งนี้ก็คือห้องขังที่มองไม่เห็น ที่ขังให้จิตติดข้องอยู่ในอาสวกิเลส และทรงกล่าวถึงการชำแรกออก หรือทำลายออกจากกะเปาะนั้น เพราะมีปัญญาเห็นแจ้งอริยสัจจ์ และเห็นแจ้งอาวสกิเลส ฟังผิวเผินเหมือนเป็นถ้อยคำเปรียบเทียบของพระองค์ แต่ผู้ปฏิบัติที่พบเห็นสภาวะ ภพของจิตผู้รู้ อ่านตรงนี้แล้วจะสะดุ้งใจ เพราะจะรู้สึกว่า พระองค์รับสั่งถึงสภาวะอันหนึ่งอย่างตรงไปตรงมาที่สุด เพราะเห็นชัดว่า จิตถูกขัง ถูกแช่จม อยู่ในขอบเขตอันหนึ่งจริงๆ ผมมีเรื่องอยู่เรื่องหนึ่ง ที่จะเล่าให้พวกเราฟังกันเป็นการภายใน ดังนี้ เมื่อประมาณปี ๒๕๒๖ ผมได้ไปกราบหลวงพ่อพุธ ที่วัดป่าสาลวัน ท่านได้ถามถึงธรรมที่หลวงปู่ดูลย์สอนผม อันเป็นเรื่องการทำลายผู้รู้ แล้วท่านก็กล่าวว่า หลวงปู่ดูลย์ก็สอนท่านอย่างเดียวกันนี้ จากนั้นท่านก็เมตตา ให้โอกาสแก่ผมด้วยกุสโลบาย คือตามธรรมเนียมของผู้ปฏิบัติแล้ว จะไม่ก้าวก่ายเข้าไปสอนศิษย์ของท่านผู้อาวุโสกว่า หลวงพ่อจึงไม่บอกว่า จะสอนธรรมให้แก่ผม แต่กลับบอกว่า "คุณกับอาตมามาทำกติกาตกลงกันไว้ ใครทำลายผู้รู้ได้ก่อน ให้มาบอกวิธีแก่กัน" เมื่อ ๒๕๒๖ ผมมีโอกาสพบท่านอีกครั้งหนึ่ง เข้าไปกราบท่าน รายงานตัวฟื้นความหลังให้ว่าผมเป็นใคร ท่านก็บอกว่า ท่านจำได้ ผมก็กราบเรียนท่านว่า จนป่านนี้ผมยังทำลายจิตผู้รู้ไม่ได้เลย ขออุบายวิธีปฏิบัติจากหลวงพ่อ เพื่อทำลายผู้รู้ด้วยเถิด หลวงพ่อตอบว่า “จิตผู้รู้ก็เหมือนฟองไข่ เมื่อจิตมีปัญญาแก่รอบแล้ว จิตจะทำลายสิ่งห่อหุ้มนั้นออกมาเอง เหมือนลูกไก่ที่โตได้ที่แล้ว เจาะทำลายเปลือกไข่ออกมาเอง”

วันอาทิตย์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2558

พระอานนท์พระพุทธอนุชาลำดับที่11 พระอานนท์บรรลุพระอรหันต์ถ้าเราสามารถเพียงแต่ทำจิตของเราสงบ แม้ที่น้อยที่สุด ไม่ให้จิตเคลื่อนไหว แม้ที่น้อยที่สุดให้ได้ จิตของเราก็จะสงบ เมื่อจิตของเราสงบแล้ว กุศลธรรมทั้งปวงก็รวมอยู่ในจิตที่สงบนั้นเอง เพราะฉะนั้นนักปฏิบัติต้องปฏิบัติอะไร คือปฏิบัติจิตนั้นเอง คือทำจิตให้สงบ ทำจิตให้สว่าง ทำจิตให้บริสุทธิ์ จิตบริสุทธิ์ก็คือความสงบนั่นเอง เบื้องต้นที่จะทำจิตให้สงบก็ไม่มีอะไรมากมาย คือภาวนา การภาวนาก็ไม่เอาอะไรมากมายนัก เอาพุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว ก่อนที่จะภาวนา เราต้องตัดอารมณ์ข้างนอกออกให้หมดเสียก่อน คือไม่ส่งอารมณ์ออกไปนอก อารมณ์ที่ส่งไปนอกไปหาปรุง หาแต่ง ไปหาก่อหาเกิดไม่มีที่สิ้นสุด จิตของเราไม่สงบ เพราะฉะนั้นก่อนที่จะภาวนาเราต้องตัดอารมณ์ออกให้หมด ไม่ต้องส่งจิตไปนอก หันมาดูจิตของเรา อยู่ในจิตของเรา ตั้งสติอยู่ในจิต แล้วก็บริกรรม ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมาย พุทโธอย่างเดียวก็พอแล้ว แต่ว่าให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ให้จิตเป็นผู้ว่าเอง ไม่ต้องว่ากับปาก วิธีนั่งบริกรรม นั่งขัดสมาธิก็ได้ นั่งพับเพียบก็ได้ เอาตีนขวาทับตีนซ้าย ตั้งกายให้ตรง แล้วก็หลับตา แล้วก็ดูจิต คือผู้รู้นั้นเอง จิตผู้รู้มีประจำอยู่แล้วในคนทุกคน ไม่ต้องไปหาที่อื่น ตั้งจิตอยู่ในจิต ตั้งสติอยู่ในจิต ให้จิตเป็นผู้บริกรรมเอง ไม่เอาอะไรมากมายเอาพุทโธอย่างเดียว แล้วบริกรรมพุทโธ พุทโธ พุทโธไป

IGBT POWER MODULE IC HALF BRIDGE DRIVER TOSHIBA Insulated Gate Bipolar Transistor Silicon N Channel IGBT. GT15J331. High Power Switching Applications. Motor Control Applications. L6569 - High Voltage Half Bridge Driver with oscillator and Integrated Bootstrap Diode, STMicroelectronics,The MC3PHAC is a high-performance monolithic intelligent motor controller designed specifically to meet the requirements for low-cost, variable-speed, 3-phase induction motor speed controlIGBT POWER MODULE IC HALF BRIDGE DRIVER MC3PHAC 3 PHASE MOTOR CONTROL

(4 นาที) รอยเท้านกในอากาศเสียงที่ทำให้จิตหลุดพ้นจากอาสวะ

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายหญ้าสดในทะเลทราย ภราดา ! เรื่องเป็นมาอย่างนี้ สมณะรูปหนึ่ง ผิวพรรณผ่องใส มีอินทรีย์สงบ ดำเนินอย่างเชื่องช้าออกจากโคจรคาม ท่านมีจักษุทอดลงต่ำ จะเหลียวซ้ายแลขวา ก็เต็มไปด้วยความสำรวมระวังมั่นคงและแจ่มใส ผ้าสีเหลืองหม่นที่คลุมกาย แม้จะเป็นผ้าราคาถูก แต่ได้กลายเป็นของสูงส่งและศักดิ์สิทธิ์ควรแก่การเชิดชูบูชา เพราะได้มาห่อหุ้มสรีระของผู้ทรงศีล มีใจอันประเสริฐ ใครเห็นก็น้อมกายลงเคารพ กาสาวพัสตร์-สัญลักษณ์แห่งความบริสุทธิ์สูงส่ง ที่พระมหาสมณโคดมบรมศาสดาแห่งพระบวรพุทธศาสนา เคยตรัสว่า “ผู้ใดคายกิเลสที่เหนียวแน่นดุจน้ำฝาดได้แล้ว มั่นคงในศีล ประกอบด้วยการฝึกอินทรีย์ (ทมะ) และมีสัจจะ ผู้นั้นควรห่มผ้ากาสาวะ” กาสาวพัสตร์-ธงชัยแห่งผู้มีชัย คือชนะจิตของตนเองได้แล้ว ใครเล่าจะรังเกียจกาสาวพัสตร์ ถ้ากาสาวะนั้นห่อหุ้มร่างของบุคคลผู้มีกายวาจาใจสะอาด สมควรแก่ภูมิชั้นของตน หนุ่มใหญ่ สง่างาม เครื่องแต่งกายบอกว่าเป็นนักพรตประเภทปริพพาชก* ได้เดินตามสมณะรูปนั้นไปห่างๆ กิริยาอาการของสมณะนั้นจับตาจับใจของเขายิ่งนัก เขาคิดว่าภายในของสมณะรูปนี้ น่าจะมีรัศมีแห่งธรรมอันประเสริฐส่องแสงเจิดจ้าอยู่เป็นแน่แท้ จึงทำให้ท่านมีอินทรีย์สงบและผ่องใสเช่นนั้น มาถึงบริเวณร่มไม้ใหญ่แห่งหนึ่ง สมณะแสดงอาการว่าจะนั่ง ผู้เฝ้าติดตามจึงจัดอาสนะถวาย รอคอยท่านฉัน ไม่กล้าถามอะไรเพราะเกรงใจ เห็นอาการที่ท่านฉันยิ่งเลื่อมใสมากขึ้น ท่านฉันอย่างสำรวมเรียบร้อย มีอาการแห่งผู้กำหนดรู้ในอาหาร คุณและโทษของอาหาร ไม่ติดในรสอาหาร ไม่บริโภคเพื่อเล่น เพื่อเมา หรือเพื่อสนุกสนาน เอร็ดอร่อยในรสอาหาร แต่บริโภคเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้ เพื่อบำเพ็ญคุณงามความดี เหมือนนายช่างให้น้ำมันแก่เครื่องจักร เพื่อให้ทำหน้าที่ของมันต่อไปได้เท่านั้น (*ปริพพาชก นักบวชลัทธิหนึ่งในพุทธกาล ท่องเที่ยวไปโดยลำพังเพื่อแสวงหา ความจริง บ้างอยู่กันเป็นกลุ่มๆ เป็นสำนักบ้าง) เมื่อท่านฉันเสร็จแล้ว ปริพพาชกได้รินน้ำในกุณโฑของตนเข้าไปถวายแล้วถามว่า “อินทรีย์ของท่านผ่องใสยิ่งนัก มรรยาทของท่านงามยิ่งนัก ผิวพรรณของท่านบริสุทธิ์ผ่องใส ท่านบวชอุทิศใคร? ใครเป็นศาสดาของท่าน? ท่านชอบใจธรรมของใคร?” สมณะรูปนั้นมองปริพพาชก ด้วยดวงเนตรที่เปี่ยมด้วยความปรานี ดวงตาของท่านแสดงแววแห่งเมตตา และความสงบลึกอยู่ภายใน บ่งบอกว่าดวงใจของท่านผ่องแผ้ว ไร้ราคี กระแสเสียงที่นุ่มนวลแจ่มใสผ่านโอษฐ์ของท่านออกมาว่า “ดูก่อนผู้แสวงสันติวรบท ! พระศาสดาของข้าพเจ้าตรัสว่า ‘ผู้ใดไม่เศร้าโศกถึงอดีต ไม่กังวลถึงอนาคต มีชีวิตอยู่ด้วยปัจจุบันธรรมผิวพรรณของผู้นั้นย่อมผ่องใส แม้จะบริโภคอาหารหนเดียวต่อวัน ประพฤติพรหมจรรย์สงบนิ่งอยู่ในป่า ส่วนผู้ที่มัวเศร้าโศกถึงสิ่งที่ล่วงแล้ว กังวลหวังอย่างเร่าร้อนต่อสิ่งที่ยังไม่มาถึง ย่อมซูบซีดเศร้าหมองเหมือนไม้สดที่ถูกตัดแล้ว’ กังวลหวังอย่างเร่าร้อน ! มนุษย์ส่วนมากเป็นอย่างนั้น เขาไม่ค่อยรู้จักรอคอยอย่างสงบเยือกเย็น เขาไม่ค่อยรู้ ไม่ค่อยเข้าใจว่าเขาบันดาลผลไม่ได้ เหตุที่เขาทำนั่นแหละจะบันดาลผลให้เกิดขึ้นเอง เหมือนชาวสวนปลูกต้นไม้คอยรดน้ำพรวนดิน ให้ปุ๋ยป้องกันศัตรูพืช นั่นคือเหตุ ส่วนการออกดอกออกผล ชาวสวนบันดาลไม่ได้ กระบวนการธรรมชาติของต้นไม้เองนั่นแหละ จะบันดาลให้เกิดขึ้นตามธรรมชาติ มนุษย์ส่วนใหญ่ไม่ได้กำหนดคุณค่าแห่งชีวิตของตน ไว้ให้แน่นอนว่าอะไรคือสิ่งที่เขาต้องการจริงๆ เมื่อเป็นดังนี้ เขาจะมีชีวิตอยู่อย่างสงบสุขไม่ได้ เขาจะไม่พบความพอใจในชีวิต”

ขอพระสัจธรรมจงรุ่งเรืองเมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เก...ฟังเพลง บรรลุธรรม แนวทางของการบรรลุธรรมไว้ ๓ แนวทางตามแนวที่ปรากฏในคัมภีร์ คือ ๑.บรรลุธรรมเพราะได้ฟัง ๒.บรรลุธรรมเพราะได้คิด ๓.บรรลุธรรมเพราะได้ปฏิบัติ ตัดข้อ ๒ และข้อ ๓ ออกก่อน คงกล่าวเฉพาะประเด็นแรกก่อน เพื่อไม่ให้เนื้อความยาวเกินไป คราวก่อนได้ยกตัวอย่างพระอัครสาวกทั้ง ๒ ว่า ได้บรรลุธรรมขั้นโสดาบันเพราะการฟัง เป็นที่น่าสังเกตว่า เฉพาะการฟังอย่างเดียวสามารถส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมถึงขั้นอรหัตผลนั้น มีตัวอย่างให้เห็นมากมาย เอาที่เราคุ้นเคยมากที่สุดก็เห็นจะเป็นปัญจวัคคีย์ทั้ง ๕ ซึ่งทั้งหมดนี้ได้บรรลุอรหัตต์เพราะฟังธรรมเทศนาชื่ออนัตตลักขณสูตรจากพระพุทธเจ้า การบรรลุธรรมที่เกิดขึ้นจากการฟังนี้ หากจะพิจารณากรณีตัวอย่างโดยละเอียดจะเห็นว่า จะบรรลุธรรมขั้นใดขึ้นอยู่กับพื้นเพอุปนิสัยเดิมของผู้นั้นเป็นสำคัญ บางท่านฟังแล้วบรรลุขั้นโสดาบัน บางท่านได้สกทาคามี อนาคามี หรือบางท่านก็ก้าวกระโดดบรรลุขั้นพระอรหันต์เลยก็มี การได้ฟังธรรม แล้วได้บรรลุธรรมในระดับต่าง ๆ จึงไม่ใช่เรื่องแปลก ในอรรถกถามังคลัตถทีปนีจึงกล่าวไว้ว่า “การฟังธรรมจากพระพุทธเจ้าแล้วได้บรรลุอรหันต์ ไม่ใช่เรื่องอัศจรรย์” ที่น่าอัศจรรย์คือ แม้แต่เสียงเพลง เสียงขับร้อง ถ้าผู้ฟังรู้จักพิจารณา ไตร่ตรองโดยอุบายอันแยบคายแล้ว ย่อมส่งผลให้ผู้ฟังได้บรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน ตัวอย่างในพระคัมภีร์มีให้เห็นมากมาย เช่น อุตตรมาณพ เดินทางไปประกวดร้องเพลงชิงรางวัล ระหว่างทางก็พบพระพุทธเจ้า ๆ จึงเรียกไปสอบถาม ทราบความแล้วก็ทรงถามว่า เพลงที่จะร้องเนื้อหาเป็นอย่างไร อุตตรมาณพจึงร้องเพลงให้พระพุทธเจ้าฟัง แต่พอฟังจบ พระพุทธเจ้าก็บอกว่า เพลงขับแบบนี้ ไม่ถูก ร้องไปไม่มีทางชนะแน่นอน คัมภีร์ธรรมบทได้พรรณนาไว้ว่า พระพุทธเจ้าได้แต่งเพลงขับให้อุตตรมาณพใหม่ พร้อมกับให้ท่องจำให้แม่น เนื้อหาเพลงที่เป็นโจกย์ให้ผู้ท้าชิงร้องแก้ท่านผูกเป็นปัฏฐยาวัตรฉันท์ แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายอย่างนี้ “เป็นใหญ่อย่างไร จึงได้ชื่อว่าเป็นพระราชา เป็นพระราชาแบบไหน จึงได้ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าปราศจากธุล แบบไหน ? จึงได้ชื่อว่าเป็นคนพาล” เพลงตอบโจทย์ที่พระพุทธเจ้าแต่งให้อุตตรมาณพว่าดังนี้ “ผู้เป็นใหญ่ในทวารทั้ง ๖ ชื่อว่าเป็นพระราชา พระราชาผู้กำหนัด ชื่อว่ามีธุลีบนพระเศียร ผู้ไม่กำหนด ชื่อว่าปราศจากธุลี ผู้กำหนัดอยู่เรียกว่าเป็นคนพาล” บทเพลง ๔ บรรทัดแค่นี้ ส่งผลให้อุตตรมาณพบรรลุโสดาบันทันที ว่ากันว่า หลังจากเรียนเพลงขับจากพระพุทธเจ้าจนคล่องปากแล้ว อุตตรมาณพก็ออกเดินทางไปท้าประลอง และในที่สุดก็ประสบชัยชนะ คัมภีร์มังคลัตถทีปนี ได้เล่าเรื่องพระติสสะเถระ ผู้ปรารภวิปัสสนา ท่านเดินทางผ่านสระปทุม เวลานั้นมีหญิงสาวคนหนึ่งเก็บดอกบัวอยู่ นางคงจะมีอารมณ์สุนทรีย์ ขณะที่เก็บดอกบัวก็ร้องเพลงไปด้วย เนื้อเพลงผูกเป็นฉันทลักษณ์เช่นกัน แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า “ดอกปทุมชื่อโกกนท บานแล้วแต่เช้าตรู่ ถูกแสงพระอาทิตย์แผดเผาให้เหี่ยวแห้งไปฉันใด สัตว์ทั้งหลายผู้ถึงความเป็นมนุษย์ ย่อมเหี่ยวแห้งไปด้วยกำลังแห่งชราฉันนั้น” บทเพลงความยาวเพียงแค่ ๔ บรรทัดเท่านี้ ทำให้พระติสสะเถระถึงกับรรลุพระอรหันต์ทันที ถัดจากเรื่องนี้ไปนิดหน่อย ในคัมภีร์เดียวกันนี้ ได้เล่าถึงชายผู้หนึ่ง พร้อมด้วยบุตรชาย ๗ คนกลับจากป่า ระหว่างที่เดินทางกลับบ้าน ได้ยินเสียงสตรีนางหนึ่งกำลังร้องเพลงขณะตำข้าว เสียงเพลงไพเราะจับใจ โดยเฉพาะเนื้อเพลงฟังแล้วชวนให้พิจารณา “สรีระนี้อาศัยหนังมีผิวเหี่ยวแห้ง ถูกชราย่ำยีแล้ว สรีระนี้ถึงความเป็นอามิส คือเหยื่อแห่งมฤตยู ย่อมตกไปเพราะมรณะ สรีระนี้เป็นที่อยู่ของหมู่หนอน เต็มไปด้วยซากศพต่าง ๆ สรีระนี้เป็นภาชนะของไม่สะอาด สรีระนี้เสมอด้วยท่อนไม้” สิ้นสุดเสียงเพลง ชายชราพร้อมลูกชายทั้ง ๗ คน บรรลุปัจเจกโพธิญาณทันที ที่สุดของเรื่องนี้ ท่านสรุปเป็นประเด็นทิ้งไว้อย่างนี้ว่า “แม้เทวาดาและมนุษย์เหล่าอื่น บรรลุอริยภูมิด้วยอุบายเช่นนี้” ทำให้เราได้ข้อสรุปเบื้องต้นอย่างหนึ่งว่า เสียงเพลง หรือเสียงเพลงขับ หากประกอบด้วยเนื้อหาที่สะท้อนสัจธรรมความจริงอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว ย่อมทำให้ผู้ฟังได้เกิดปัญญาญาณถึงขั้นบรรลุธรรมได้เช่นเดียวกัน หากจะมีคำถามว่า แล้วเนื้อเพลงแบบไหนเข้าข่ายดังกล่าวข้างต้น ในคัมภีร์ท่านไม่ได้พรรณนารายละเอียด ท่านเพียงแต่ให้แนวกว้าง ๆ ไว้สำหรับพิจารณาดังนี้ “เพลงขับที่ประกอบด้วยธรรมควร” “เมื่อบุคคลฟังเสียงแม้มีอักขระอันวิจิตร มีพยัญชนะอันวิจิตรใด ราคะเป็นต้นย่อมเกิดขึ้น เสียงเห็นปานนั้นบุคคลไม่ควรฟัง แต่เมื่อบุคคลฟังเสียงที่อาศัยธรรม แม้เพลงขับของนางกุมภทาสี ความเลื่อมใสย่อมเกิดขึ้นได้ หรือความเบื่อหน่ายย่อมปรากฏ เสียงเห็นปานนั้นควร” จากตัวอย่างเบื้องต้นนี้ ทำให้มองเห็นว่า สิ่งที่เรียกว่าสัจธรรมนั้น แฝงตัวอยู่ในธรรมชาติรอบกายเรา ขอเพียงรู้จักไตร่ตรอง พินิจ และพิจารณาเราก็จะสามารถมองเห็นได้ แม้จะไม่มีใครแสดงให้เราฟังก็ตาม ตรงกันข้าม หากเราไม่รู้จักไตร่ตรองพิจารณา ต่อให้พระพุทธเจ้ามายืนต่อหน้าเรา ก็ทรงช่วยอะไรเราไม่ได้ เพราะทรงตรัสไว้ชัดเจนว่า “เราตถาคตเป็นแต่เพียงผู้ชี้บอกแนวทางเท่านั้น”

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์

วันเสาร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558

การเดินทางข้ามเวลา

การเดินทางข้ามเวลา

การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ เรื่องกรรมฐาน40ตอนที่ 7 กายคตานุสสติ อุปสมานุสติ

พระราชพรหมยานเถระ หลวงพ่อฤาษี เรื่อง กรรมฐาน 40ตอนที่1 พุทธา ธัมมา สังฆานุสติ

1 สมาบัติ8 หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

พรจากพ่อ พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานีธรรมวิโมกข์ อย่าทะนงตน อย่าทะนงตน คิดว่าเราเป็นคนดี ถ้าคิดว่าดีเป็นผู้วิเศษเมื่อไร เมื่อนั้นแหละกรรมใหญ่ อันตรายใหญ่จะมาถึงท่าน ที่เราเรียกกันว่าความประมาท ขอจงพยายามคุมตนไว้ตามคำแนะนำขององค์สมเด็จพระบรมโลกนาถ นั่นก็คือทรงอิทธิบาท ๔ ให้ครบถ้วน มีจรณะ ๑๕ ครบถ้วน ผมว่าเท่านี้ก็เหลือกินเหลือใช้ มีบารมี ๑๐ ครบถ้วนเท่านี้ก็เหลือแล้ว ถ้าครบเท่านี้อาการของความโลภไม่มี อาการของความทะเยอทะยานในเรื่องเพศในลักษณะของกามคุณไม่มี อารมณ์ที่จะผังไว้กับความโกรธไม่มี การที่จะยึดถืออะไรเป็นเราเป็นของเราไม่มี ที่ยังมีอยู่ก็เพราะว่าเพียงแต่รับฟังไว้เฉยๆ ดีไม่ดีก็จำไว้ เอาไว้เป็นเครื่องข่มขู่คนอื่น ทะนงตนอวดว่าเป็นผู้ทรงคุณธรรมด้านปริยัติ ถ้าอารมณ์อย่างนี้เขาเรียกว่าปฏิบัติเหลว ไม่มีอะไร แดนที่จะไปก็คือ อเวจีมหานรก หรือว่า โลกันตนรก ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า

พรจากพ่อ พระราชพรหมยาน(หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) วัดท่าซุง จ.อุทัยธานีเราศึกษามาจนท่วมหัวแล้ว ไม่ใช่แค่พอดี ถ้าจิตมันฟุ้งซ่านอีกที ทิ้งวิปัสสนามาจับอารมณ์สมาธิสลับกันไปสลับกันมาอย่างนี้ ความดีมันก็จะปรากฏ คำว่า “ทุกข์” ที่องค์สมเด็จพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสอนท่านผู้เฒ่า มันเป็นของไม่ยากสำหรับเราจะเอาดี แต่ว่าน่าสลดใจอยู่นิดนะ บางทีเดินไปเดินมา เห็นพระบางทานเก็บตัวมากเกินไปก็น่าสงสาร คำพยากรณ์ใดๆ จงอย่าคิดว่ามันจะได้ตามคำพยากรณ์นะ ถ้าไม่ปฏิบัติตนอย่างดีมันจะไม่ได้อะไรเลยเพราะเราหมกมุ่นเกินไป ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า

แผงวงจรตู้เชื่อมรุ่นใหม่ครับรุ่นนี้จะใช้ IGBT ภาค POWER OUTPUT เพียงสี่ตัวครับ....จะไม่ซับซ้อน...วงจรหล­ักใช้ IC TL084 สองตัว UC3846 1 ตัว...ครับ..

พระโสดาบัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 1

พระโสดาบัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 1

วันศุกร์ที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558

การเห็นนี้เป็นการเห็นด้วยปัญญาจักษุจุดประสงค์คือเพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องดีงามเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติธรรมเป็นสำคัญ เพราะเป็นทางที่จำเป็นต้องผ่านในที่สุด เพื่อจะได้ไม่เกิดความหลงผิดไปยึดติดยึดถือเอาในนิมิตที่เกิดขึ้นในภวังค์อย่างผิดๆและงมงาย หรือไปติดเพลินด้วยเข้าใจผิดๆ หรือถูกชักจูงจิต หรือถูกโน้มน้าวจิตด้วยบุคคลอื่น หรือถูกหลอกลวงด้วยมายาของจิตตน ให้หลงทางเสียด้วยอวิชชาความไม่รู้ตามความเป็นจริง และที่สภาวะของภวังค์ดังที่จะกล่าวต่อไปนั้น เป็นสภาวะจิต ที่จะถูกชักจูงหรือถูกครอบงำโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อร่วมด้วยอธิโมกข์ ยังให้มีทิฏฐิคือความคิดความเห็นให้เป็นไปอย่างใดๆนั้น เป็นไปอย่างง่ายดายและแน่นแฟ้นเป็นที่สุด นิมิต ในทางพุทธศาสนามีความหมายได้หลายประการ เช่นหมายถึง อาการที่เชิญชวนให้เขาถวาย หรือหมายถึงเครื่องหมายสำหรับให้จิตกำหนด ในการเจริญกรรมฐาน, หรือภาพหรือสิ่งที่ใช้เป็นอารมณ์ในการปฏิบัติพระกรรมฐาน, แต่นิมิตที่จะเน้นกล่าวถึงในที่นี้ก็คือ นิมิตอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติกรรมฐาน กล่าวคือ เป็นสิ่งที่ปรากฎหรือแสดงขึ้นเฉพาะตน ให้รับรู้ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นปัจจัยสำคัญ ดังนั้นเมื่อได้กล่าวถึงเรื่องฌาน,สมาธิไปโดยละเอียดแล้ว จึงจำเป็นต้องกล่าวถึงนิมิต อันมักจะเป็นผลข้างเคียงหรือเครื่องเคียงที่มักเกิดร่วมด้วยเสมอๆ และจัดได้ว่าเป็นบ่วงมารอันหนึ่ง กล่าวคือถ้าไปอยากหรือไปยึดหรือไปเชื่ออย่างแน่นแฟ้นด้วยเหตุผลกลใดก็ตามทีในนิมิต ก็จัดว่าเป็นบ่วงมารทันที ซึ่งจักผูกมัดสัตว์ไว้ไม่ให้เห็นธรรม กล่าวคือ เกิดวิปัสสนูปกิเลส จัดอยู่ทั้งในข้อโอภาส,ญาณและอธิโมกข์ฯ. ซึ่งเมื่อเกิดกับผู้ใดแล้วก็จะน้อมเชื่อ,น้อมใจอยากด้วยอธิโมกข์จนถอดถอนไม่ออก แม้อธิบายอย่างไรก็ไม่ยอมฟังไม่ยอมเชื่อด้วยฤทธิ์ของอธิโมกข์และเพราะตัวตนเองเป็นผู้เห็น, ตัวตนเองเป็นผู้ทำให้เกิดขึ้น จึงมีความน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอัตตาโดยไม่รู้ตัว ต้องให้เกิดปัญญาพิจารณาเห็นด้วยตนเอง จึงจะสามารถถอดถอนความเชื่อความคิดอันเห็นผิดในนิมิตได้ดี จึงจำเป็นต้องกล่าวเพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจกันไว้บ้าง เพราะจำเป็นต้องผ่านกล่าวคืออย่างไรเสียก็ต้องเกิดขึ้นในที่สุดนั่นเอง นิมิตอันเกิดแต่การปฏิบัติพระกรรมฐาน ผู้เขียนขอจำแนกแตกธรรมออกเป็นไปใน ๓ ลักษณะใหญ่ ที่มักเกิดขึ้นทั่วไปเสมอๆ ในการปฏิบัติ หรือแม้แต่ในชีวิตประจำวันในผู้ที่มีความชำนาญ มีดังนี้ รูปนิมิต หมายถึง การเห็น ภาพ อันปรากฏขึ้นเฉพาะแก่ผู้ปฏิบัตินั้นๆ อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติหรือผู้เจริญกรรมฐานเป็นสำคัญ เช่น การเห็นภาพอดีต อนาคต หรือเห็นภาพในสิ่งที่อยากเห็น เช่น เทวดา ผี นรก สวรรค์ วิมาน พระอรหันต์ ครูบาอาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้า หรือโอภาสการเห็นเป็นแสง, สี, ดวงไฟต่างๆ อันต่างล้วนน่าพิศวงชวนให้ตื่นตาเร้าใจ จึงมักอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างงมงายด้วยอวิชชาอันมีมาแต่การเกิดเป็นธรรมดา หรือการเห็นภาพที่ปรากฏเฉพาะขึ้นของนักปฏิบัติในสิ่งที่กำหนดเป็นอารมณ์, กสิณ หรือบริกรรมจากการปฏิบัติภาวนา และยิ่งเกิดง่ายขึ้นเมื่อมีผู้ฝึกสอนที่นักปฏิบัติเชื่อหรือศรัทธาอย่างอธิโมกข์คอยโน้มน้าวจิตให้เห็นในสิ่งต่างๆนั้น เสียงนิมิต การได้ยินเป็นเสียง อันเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติเป็นเหตุหรือเป็นสำคัญ เช่น เป็นเสียงเตือนระวังอะไรๆ เสียงสั่งสอน เสียงเทพ เสียงผีเสียงปีศาจ เสียงระฆัง เสียงกลอง เสียงสวดมนต์ เสียงพูดต่างๆ เสียงคนพูดบอกกล่าวต่างๆ แม้แต่เสียงในใจจากผู้ที่พบปะ ฯ. แล้วย่อมน้อมเชื่ออย่างรุนแรงด้วยอธิโมกข์ เพราะอวิชชาเป็นเหตุ นามนิมิต เป็นความคิดหรือความรู้ที่ผุดแสดงแวบปิ๊งขึ้นในใจ อันมักเกิดแต่ใจหรือสัญญาของนักปฏิบัติที่ไปพัวพัน แต่มิได้เกิดแต่ปัญญาไปเห็นความจริง เช่น เกิดความคิด ที่คิดว่าเข้าใจแจ่มแจ้งในเรื่องราวที่หมกมุ่นพิจารณา หรือศึกษา หรืออยากรู้ หรือเป็นความรู้ในธรรมต่างๆนาๆที่พิจารณา ซึ่งอาจถูกหรือผิดก็ได้ แต่มักจะผิดถ้าไม่ได้เกิดแต่การพิจารณาโดยปัญญา อย่างถูกต้อง และเมื่อบังเอิญเกิดถูกต้องขึ้นบ้าง ก็กลับเป็นบ่อเกิดของอธิโมกข์อันแรงกล้าในภายหน้า นิมิตเหล่านี้ มักเกิดขึ้นในภาวะของภวังคจิตที่จะกล่าวในลำดับต่อไป จิตจึงเกิดการอธิโมกข์น้อมเชื่ออย่างรุนแรงแต่เป็นไปอย่างผิดๆหรือขาดเหตุผล จึงยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสในข้อญาณ คือมิจฉาญาณ คือไปยึดไปเข้าใจว่าความเข้าใจเหล่านั้นเป็นไปอย่างถูกต้องแน่นแฟ้นด้วยอธิโมกข์เป็นเครื่องหนุน บางครั้งยังเกิดนิมิตทางจมูกก็ยังมี คือ ได้กลิ่นอันเกิดแต่ใจตนเป็นเหตุ ก็ยังมีได้ เช่นเกิดจากจิตเป็นกังวลหมกมุ่น ฯ. อนึ่งเป็นสิ่งที่น่ารู้ไว้อย่างยิ่งว่า นิมิต นั้นเมื่อปฏิบัติไปด้วยความเชื่อจนเกิดการสั่งสม ความชำนาญขึ้น บางครั้งนิมิตนั้นก็เกิดขึ้นในวิถีจิตหรือวิถีชีวิตปกติได้เช่นกัน กล่าวคือเมื่อเคยเกิดนิมิตขึ้นในขณะปฏิบัติแล้ว ซึ่งแรกๆก็มักเกิดขึ้นจากการปฏิบัติพระกรรมฐานโดยตรง แล้วเกิดนิมิตขึ้น จนเกิดการเห็นการใช้ในนิมิตต่างๆชำนาญขึ้นโดยไม่รู้ตัว เมื่อเกิดการสั่งสมได้ระยะหนึ่งจนเกิดความชำนาญ จึงอาจเกิดนิมิตได้แม้ในยามวิถีจิต(วิถีชีวิตที่มีการรับรู้ตามปกติ)นี่เอง เมื่อน้อมนำหรือถูกกระตุ้นเร้าขึ้น จะโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดี และมักเข้าใจผิดไปยึดไปเชื่อกันว่าถูกต้องแน่นนอนเป็นอิทธิฤทธิ์หรือปาฏิหาริย์ จึงพาให้ทั้งตนเองและอีกทั้งผู้อื่นพากันไปหลงเชื่ออย่างหัวปักหัวปำ(อธิโมกข์)ในสิ่งที่เห็น หรือในสิ่งที่เข้าใจไปนั้นๆ ก็ด้วยอวิชชานั้นแล นิมิต นิมิต นั้นก็เช่นสรรพสิ่งทั้งหลายในโลก คือดีแท้ๆก็ไม่มี ชั่วแท้ๆก็ไม่ใช่ จึงมีทั้งดีและชั่ว ถูกหรือผิด ขึ้นกับผู้ใช้หรือนักปฏิบัตินั่นเอง ล้วนเป็นไปคล้ายหลักมัชฌิมาหรือทางสายกลาง กล่าวคือ มิใช่ตรงกลาง แต่ไม่สุดโต่งไปทางดีทางชั่วแต่อย่างใดอย่างหนึ่งอย่างเดียว เหมือนดังยา ถ้ากินดีถูกต้องก็มีประโยชน์ ถ้าใช้ไม่ถูกวิธีก็ย่อมให้โทษอันรุนแรงได้ นิมิตก็เฉกเช่นเดียวกันกับยา นิมิตที่ดีนั้น หมายถึงนิมิตที่เกิดขึ้นแล้วทำให้นักปฏิบัติเกิดปัญญา คือเกิดนิพพิทาญาณ คือเกิดความหน่ายจากการรู้ความจริง จึงย่อมคลายความกำหนัดความอยากจากปัญญาที่ไปรู้ความจริงชัดเจนจากการปรากฎหรือแสดงขึ้นสอนของนิมิตอย่างแจ่มชัดจนน้อมเชื่อหรือเข้าใจ ดังเช่น การปฏิบัติพระกรรมฐาน โดยพิจารณาอสุภ(อสุภกรรมฐาน) กล่าวคือเอาภาพอสุภหรือซากศพเป็นกสิณหรืออารมณ์ แล้วเกิดนิมิตเห็นภาพปรากฏขึ้นของอสุภซากศพในลักษณะต่างๆแสดงให้เห็นว่า เป็นสิ่งน่าสังเวช น่ารังเกียจด้วยปฏิกูล ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ฯ. ทั้งในร่างกาย จะแม้ของตนหรือผู้อื่นก็ตามที จนเกิดความหน่าย จึงคลายกำหนัดในราคะ หรือความยึดถือในตัวตนของตนเอง อย่างนี้ก็พึงถือว่าเป็นนิมิตที่ทำหน้าที่อันดีงามในการปฏิบัติ ส่วนนิมิตที่จัดว่าเป็นโทษนั้นหมายถึง นิมิตที่เกิดขึ้นแล้วเป็นบ่วงมารอันยังให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสต่างๆดังเช่นในข้อโอภาสหรือญาณหรืออธิโมกข์ ฯ. กล่าวคือทำให้นักปฏิบัติเกิดโมหะความหลง จึงเกิดความติดเพลิน เพลิดเพลิน (นันทิ-ตัณหา)อันเนื่องมาจากโมหะความหลงด้วยอวิชชา เช่นว่า เพลิดเพลินไปปรุงแต่งต่างๆ หรือเห็นผิดไปว่าเป็นบุญ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช เป็นปาฏิหาริย์ เหนือกว่าผู้อื่น มีอำนาจในการเห็นต่างๆเช่นเห็นอดีต เห็นอนาคต หรือทำไปเพื่อหวังในลาภยศสักการะ,สรรเสริญ,ศรัทธา กล่าวคือก็ล้วนเพื่อประโยชน์ทางโลกหรือโลกิยะที่บางท่านก็เป็นไปโดยไม่รู้ตัวฯลฯ. จึงเกิดการไปยึดติด ยึดถือ ยึดหลง จนติดเพลิน ซึ่งมีองค์ประกอบสำคัญคือความไม่รู้ตามความเป็นจริง และความไม่รู้ตัว และสิ่งที่เห็น(รูปนิมิต)หรือเข้าใจ(นามนิมิต)หรือได้ยิน(เสียงนิมิต)นั้นมักไม่ถูกต้อง เนื่องจากความคิดเห็น(สัญญา)และความไม่เป็นกลางที่แอบแฝงนอนเนื่องโดยไม่รู้ตัวด้วยตัณหาอุปาทาน จึงทำให้การเห็นเหล่านั้นอันเนื่องจากจิตที่สงบระงับจากกิเลสในฌานสมาธิในระยะแรกๆนั้นเสื่อมไปในที่สุด เพราะความอยากรู้อยากเห็นด้วยกิเลสนั่นแล เพราะการเห็นได้อย่างถูกต้องนั้นต้องประกอบด้วยความเป็นอริยะ คือต้องอาศัยญาณ และ อุเบกขาความเป็นกลาง เป็นองค์ประกอบสำคัญด้วย ก่อนอื่นผู้เขียนขอยกคำสอนของเหล่าพระอริยเจ้าที่ได้กล่าวแสดงไว้เกี่ยวกับนิมิตมาแสดง เพื่อให้เป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ก่อนจะกล่าวในรายละเอียดของนิมิตต่อไป เพื่อเป็นแนวทางในการพิจารณาให้เกิดปัญญาอย่างถูกต้องดีงาม เป็นกำลังเพื่อการถอดถอนความเชื่อความเข้าใจอย่างผิดๆในนิมิต ที่อาจพาไปยึดติด ไปยึดหลงอยู่ด้วยความไม่รู้ อีกทั้งโดยไม่รู้ตัว "นิมิต ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น(webmaster-คือภาพ,ความคิด ฯ.ที่เกิดขึ้นนั้น) ไม่จริง" หลวงปู่ดูลย์ อตุโล (อตุโลไม่มีใดเทียม น. ๔๕๔) (Webmaster - ที่หลวงปู่กล่าวมีความหมายว่า นิมิตหรือภาพที่เขาผู้ปฏิบัติเห็นนั้น ในบางท่านที่เห็นจริงๆนั้น เขาเห็นเป็นไปอย่างนั้นจริงๆ อาจมิได้หลอกลวงหรือกล่าวเท็จแต่ประการใด เพียงแต่ว่า สิ่งที่เขาเห็นนั้น มันอาจไม่เป็นจริง เป็นเพียงการเห็นหรือการเข้าใจอันเกิดขึ้นเฉพาะเขา อันมีสาเหตุเนื่องมาจากใจหรือสัญญาของเขาเองเป็นสำคัญ (อันมักเนื่องมาจากสิ่งที่เป็นอารมณ์จากการปฏิบัติ หรือจากความกังวลหรือพัวพันใดๆก็ตามที หรือปรุงแต่งอยู่เสมอๆโดยไม่รู้ตัว จนเป็นปัจจัยให้เกิดนิมิตนั้นๆขึ้นก็ได้โดยไม่ได้ตั้งใจและอีกโดยไม่รู้ตัว) บางอาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้น เป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เช่น นิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี, เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น (webmaster - กล่าวคือ ไปยึดเอานิมิตนั้นเป็นจริงเป็นจัง ถือเป็นของวิเศษ เป็นขั้นมรรคขั้นผลไปเลย) ไปถือเอาแสงภายนอก ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก................นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร........(หน้า๑๕-๑๖) (webmaster - เหตุที่ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรค ก็เนื่องจากในภวังค์นั้นเคลิบเคลิ้ม ไม่สามารถใช้สติได้อย่างบริบูรณ์นั่นเอง มีคำอธิบายในภายหน้า) แท้ที่จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี ถึงไม่ใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องได้ผ่านทุกๆคน เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวม(หรือก็คือ)เข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี เมื่อผู้มีวาสนา(webmaster - ไม่ได้แปลว่ามีบุญ คลิกดูความหมาย)เคยได้กระทำมาเมื่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นจากนิมิตนั้นหรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน หรืออาจารย์ผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่ เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็ต้องจมอยู่ปรัก คือนิมิต นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง........(หน้า๑๗) เทสก์รังสีอนุสรณาลัย ; เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี "นิมิต เมื่ออธิบายมาถึง ฌาน สมาธิ ภวังค์ ดังนี้แล้ว จำเป็นจะลืมเสียไม่ได้ซึ่งรสชาติอันอร่อย คือ นิมิต ซึ่งเกิดขึ้นในระยะของสิ่งเหล่านั้น ผู้เจริญพระกรรมฐานย่อมปรารถนาเป็นอย่างยิ่งแทบทุกคนก็ว่าได้ ความจริงนิมิตมิใช่ของจริงทีเดียวทั้งหมด นิมิตเป็นแต่นโยบาย(อุบายวิธี)ให้พิจารณาให้เห็นตามความเป็นจริงก็มี ถ้าพิจารณานิมิตนั้นไม่ถูกก็เลยเขวไปก็มี ถ้าพิจารณาถูกก็ดี มีปัญญาเกิดขึ้น นิมิตที่เป็นของจริงคือนิมิตเป็นหมอดูไม่ต้องใช้วิพากษ์วิจารณ์อย่างนี้ก็มี นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้ ...........ฯลฯ." หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (ส่องทางสมถวิปัสสนา) "ผู้ที่หลงติดในภาพนิมิต มีหัวรุนแรงกว่าความเห็นวิปลาส.....ฯลฯ" หลวงปู่เทส เทสก์รังสี (จาก โมกขุบายวิธี) ความเห็นวิปลาส ที่หลวงปู่เทส ได้กล่าวไว้นั้น หมายถึง ทิฏฐิวิปลาส ที่หมายความว่า ความเห็นความเข้าใจที่ผิดพลาดจากความเป็นจริง ดังนี้ และดังที่หลวงปู่เทส เทสรังสี ได้กล่าวแสดงดังข้างต้น นิมิตนั้นเมื่อจะเกิดก็เกิดเอง เป็นของแต่งเอาไม่ได้นั่นเอง ทั้งยังแล้วแต่วาสนา(กรุณาดูความหมายเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้อง)การสั่งสม ดังนั้นเมื่อนักปฏิบัติอยากเห็นอยากรู้อยากได้คือตัณหา จึงพยายามน้อมนึกหรือบังคับให้เกิดนิมิต เพื่อให้เห็นโน่น เห็นนี่ เห็นอดีต เห็นอนาคต รู้นั่น รู้นี่ ฯ. เพื่อประโยชน์ไปในทางโลกๆหรือด้วยความเข้าใจผิด จึงเป็นการตกลงสู่ความผิดพลาดทันที เพราะย่อมมักแฝงไว้ด้วยสัญญา,ตัณหาต่างๆ ดังเช่น กิเลสตัณหาความอยากต่างๆนาๆที่นอนเนื่องอยู่ของผู้นั้นๆ ดังนั้นนิมิตหรือภาพหรือความรู้ที่เกิดขึ้นจากการพยายามดังนี้ จึงมักไม่ถูกต้อง เพราะไม่บริสุทธิ์ ถูกบังคับขึ้นคือแอบแฝงด้วยกำลังของกิเลสตัณหาอันแอบแฝงซ่อนเร้นอยู่นั่นเอง มักแฝงซ่อนเร้นด้วยความอยากให้เกิดขึ้นหรือเป็นไปตามปรารถนาของตนเอง แลแม้กระทั่งของบุคคลอื่นที่มาเกี่ยวข้อง อีกด้วย หรือกล่าวได้ว่านิมิตที่เกิดขึ้นมานั้น ตัวตนหรือตัวกูของกูเป็นผู้ที่เห็นเอง จึงน้อมเชื่อ,น้อมไปเข้าใจ อย่างรุนแรงด้วยยังประกอบด้วยอวิชชาอยู่ ดังนั้นนิมิตที่ยึดติด ยึดเพลิน ด้วยความตื่นตา เร้าใจ ที่อาจเคยเกิดในตอนแรกๆบ้างเป็นครั้งคราวโดยไม่รู้ตัว อันอาจเคยเห็นและเป็นไปอย่างถูกต้องเนื่องจากภาวะไร้นิวรณ์อันมีความบริสุทธิ์พอสมควร และไร้การแอบแฝงปรุงแต่งโดยเจตนาจึงมีความเป็นกลางพอสมควร จึงเสื่อมหายไปในที่สุดเป็นธรรมดา นิมิต ในระยะแรกมักเกิดในขณะปฏิบัติพระกรรมฐาน หรือฌานสมาธิ อันมักเกิดขึ้นในช่วงของภวังค์ จึงควรทำความรู้จักภวังค์หรือภวังคจิต ที่ทั้งสามารถสร้างความรู้สึกอันบรรเจิดเป็นสุขและเคลิบเคลิ้มให้แก่นักปฏิบัติ และทั้งยังก่อให้เกิดการฟุ้งซ่านปรุงแต่งไปต่างๆนาๆในผู้ที่ไม่รู้ไม่เข้าใจ จะได้ไม่พากันไปติดกับอยู่ในบ่วงมารของภวังค์และนิมิตอย่างอธิโมกข์ คือด้วยความงมงายขาดเหตุผลกัน ภวังค์ ภวังค์หรือภวังคจิต กล่าวคือ เป็นภาวะที่เรียกพื้นจิต ที่หมายถึง ขณะที่จิตหรือภาวะที่จิตหยุดคือไม่มีการรับรู้ในอารมณ์ต่างๆที่เกิดจากการรับรู้ของทวารทั้ง๖ กล่าวคือเป็นภาวะที่จิตหยุดการเสวยอารมณ์(เวทนา)จากภายนอก อันเนื่องมาจากทวารทั้ง ๖ (แต่ถึงอย่างไรก็ตาม จิตก็อาจยังพอมีสติส่วนหนึ่งที่แค่เพียงพอรับรู้แค่จิตภายในตน ดังเช่น รับรู้ในสัญญาความจำที่อาจผุดขึ้นมาได้เองโดยขาดเจตนาโดยตรง หรืออาจแทรกจรเข้ามาด้วยความตั้งใจมั่นไว้หรือศรัทธา นี่เองจึงอาจทำให้เห็นนิมิตต่างๆได้เมื่ออยู่ในภวังคจิต) ส่วนภาวะจิต ที่จิตมีการรับรู้อารมณ์ภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖ หรือในการดำเนินชีวิตโดยทั่วไปนั่นเอง เรียกกันว่า " วิถีจิต " อันเป็นสภาวธรรมหรือธรรมชาติของปุถุชนในชีวิต, สภาวะทั้ง ๒ นี้ จึงเกิดขึ้นในลักษณะที่เกิดดับสลับกันนั่นเอง กล่าวคือเมื่อไม่อยู่ในวิถีจิตเมื่อใด ก็เกิดภวังคจิตขึ้นแทน เมื่อวิถีจิตเกิดขึ้นจากการเสวยอารมณ์จากทวารทั้ง๖ ภวังคจิตก็ดับไป ภวังคจิต ที่เกิดในฌาน,สมาธิ แบ่งออกเป็น ๓ ลักษณะ แบบแรก ภวังคบาต บาตที่แปลว่าตก จึงหมายถึงการตกลงไปหรือการตกเข้าสู่ภวังค์นั่นเอง, ภวังคบาตเมื่อเกิดขึ้นในขณะปฏิบัติสมถะนั้น อาจเป็นไปในลักษณะที่รู้สึก เคลิบเคลิ้มแล้ววูบๆวาบๆ เป็นๆหายๆ กล่าวคือรู้สึกเคลิบเคลิ้มแล้วรู้สึกวูบหรือเสียววูบดุจดั่งตกทิ้งดิ่ง คล้ายตกเหวหรือตกจากที่สูง จึงเรียกกันว่าตกภวังค์ตรงๆเลยก็มี มักเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ดั่งสายฟ้า เป็นแบบเคลิบเคลิ้มไม่รู้สติ ไม่รู้ตัว ควบคุมไม่ได้ กล่าวคือถ้าบริกรรมหรือกำหนดจิตแน่วแน่อยู่ในสิ่งหนึ่งสิ่งใด(อารมณ์)ก็ตามที เช่นลมหายใจ หรือหรือพุทโธ หรืออยู่กับการพิจารณาธรรมใดๆ สิ่งหรืออารมณ์นั้นก็จะวูบหายไป และอาจประกอบด้วยความรู้สึกเสียววูบวาบ ราวกับว่าตกจากที่สูง วูบหวิวขึ้นก็ได้ และอาจจะประกอบด้วยภาพนิมิตสั้นๆอันเกิดแต่จิตภายในตนขึ้น มักเกิดขึ้นช่วงระยะสั้นๆ แล้วก็อาจมีสติกลับไปอยู่กับอารมณ์เดิมหรือคำบริกรรมเดิม อาจเกิดหลายๆครั้ง หรืออาจจะเคลิบเคลิ้มลงภวังค์ไปจนแน่นิ่งหรือจนหลับไหลไปเลยด้วยความสบายอันเกิดจากอำนาจของภวังค์เอง ดังนั้นเมื่อเกิดภวังค์ดังนี้ขึ้นก็ให้เข้าใจว่า เป็นเรื่องปกติเรื่องธรรมดา อย่าไปตกใจหรือดีใจ อย่าไปฟุ้งซ่านจึงปรุงแต่งไปต่างๆนาๆ เป็นเรื่องของธรรมชาติธรรมดาในการปฏิบัติ อย่าไปปรุงแต่งฟุ้งซ่านหรือเชื่อเขาว่า เป็นบุญ เป็นกุศล เป็นปาฏิหาริย์ เป็นฤทธิ์ เป็นเดช และยังมักไปเข้าใจผิด หรือสอนกันผิดๆอีกด้วยว่า จิตหรือวิญญาณกำลังจะออกไปจากร่างดังเจตภูต หรือดังปฏิสนธิจิตตต์หรือปฏิสนธิวิญญาณก็ยังมี ฯ. ขอให้ทำความเข้าใจให้ถูกต้องว่า เป็นเพียงอาการแสดงว่า จิตเริ่มเป็นสมาธิในระดับหนึ่งเท่านั้น แล้วเกิดภวังค์หรือภวังคจิตขึ้น เป็นสภาวะที่เกิดขึ้นได้เป็นธรรมดาในขั้นตอนของการปฏิบัติทั้งฌานและสมาธิที่มีจุดประสงค์ไปในการเป็นเครื่องหนุนการเจริญวิปัสสนา, อาการที่เกิดขึ้นนั้น เกิดแต่จิตหยุดการรับรู้การเสวยอารมณ์ภายนอกจากทวารทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กายและใจในขณะจิตนั้นๆ รับรู้อยู่ก็แต่เพียงจากจิตภายใน(สัญญา)บ้างเท่านั้น เรียกภวังค์ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วดังอสุนีบาตหรือสายฟ้าฟาดนี้ว่า ภวังคบาต กล่าวคือ เกิดอาการลงภวังค์คือตกวูบลงไปอย่างรวดเร็วดังสายฟ้าฟาด แล้วอาจมีสติวาบหรือแว๊บกลับมาอย่างรวดเร็วก็ได้เช่นกัน จึงได้เกิดอาการวูบวาบ ดั่งกายทิ้งดิ่งลงจากที่สูง หรือดิ่งลงเหว จึงรู้สึกดังที่กล่าว ที่ภวังคบาตนี้นี่เอง จึงมีการไปเข้าใจกันว่าเป็นลักษณะของเจตภูต หรือกายทิพย์หรือวิญญาณ กำลังชักคะเย่อกันเพื่อจะออกจากร่างหรือกายหยาบเสียก็มี จึงได้รู้สึกวูบวาบดังนั้น จนตกใจกลัวก็มี จึงเป็นที่วิตกกังวลจนไม่กล้าปฏิบัติก็มี และเป็นที่วิพากวิจารณ์เล่าขานอีกทั้งปรุงแต่ง จนเป็นตำนานสืบต่อมาต่างๆกันไป ตามความเชื่อความเข้าใจอันเป็นมิจฉาทิฏฐินั้นๆของนักปฏิบัติและผู้สอน แบบที่ ๒ ภวังคจลนะ จลนะ มาจากคำว่าจลน์ที่แปลว่า เคลื่อนที่,เคลื่อนไหว ภวังคจลนะจึงเป็นภาวะที่จิตเคลื่อนลงสู่ภวังค์ไปอย่างบริบูรณ์ ไม่มีสติกลับคืนมา จึงไม่รู้สึกวูบแล้ววาบหรือแว๊บกลับมาดังภวังคบาตข้างต้น ดังนั้นจิตจึงหยุดการรับรู้อารมณ์จากทวารทั้ง ๖ ตามสภาวธรรมหรือธรรมชาติของภวังค์เอง ด้วยเหตุนี้ดังนั้นในระยะแรกๆหรือบางครั้งอาจมีอาการของความรู้สึกราวกับว่ามือ,เท้าหรือองคาพยัพบางส่วนได้เลือนหรือหายไปก็มี, ที่ภวังคจลนะนี้นี่เอง ที่แม้หยุดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖ ดังกล่าวแล้วก็ตามแต่จิตก็ยังมีการเคลื่อนไหว(จลน์) กล่าวคือ จิตยังมีการไหลเลื่อนท่องเที่ยวเตลิดเปิดเปิง หรือเพลิดเพลินไปในอารมณ์ภายในหรือจิตภายในของตนหรือก็คือส่วนหนึ่งของสัญญาตน คือซ่านอยู่ในภาวะของภวังค์เอง และไม่มีอาการสติ วาบแว๊บกลับมาดังภวังคบาตข้างต้น จริงๆแล้วจึงขาดสติต่ออารมณ์ภายนอก กล่าวคือ มีสติก็แค่เพียงรู้อยู่แต่จิตภายในหรือภวังค์ของตนเท่านั้น จึงขาดสัมปชัญญะ จึงไร้ที่ยึด, ไร้ที่หมายในอารมณ์ภายนอกโดยตรง ก็เพราะขาดการเสวยอารมณ์หรือความรู้สึกรับรู้จากภายนอกอันเกิดแต่ทวารทั้ง ๖ เหลืออยู่แต่การรับรู้อารมณ์ที่เกิดแต่จิตภายในของตนแต่ฝ่ายเดียว จึงค่อนข้างบริสุทธิ์และมีกำลังมากเพราะขาดการเข้าไปฟุ้งซ่านหรือขาดการวุ่นวายปรุงแต่งเพิ่มเติมอีก แต่เมื่อขาดสติอันย่อมเนื่องกับปัญญาดังนั้นจิตจึงย่อมไร้การควบคุม จึงเคลื่อนไหวหรือไหลเลื่อนล่องลอยไปตามกำลังหรือสัญญาของจิตตนเอง ในสภาวะของภวังค์เองก็มีอาการสุข สบาย เคลิบเคลิ้ม เพราะการขาดจากการรบกวนแทรกซ้อนของอารมณ์จากภายนอกจึงรวมถึงกิเลส(นิวรณูปกิเลส)อันก่อความขุ่นมัวต่างๆจากภายนอกทั้งปวง คือเหล่ากิเลสในนิวรณ์ทั้ง ๕ จึงระงับไปในระยะนั้นทั้งหมด ดังนั้นสติอันเป็นอาการหนึ่งของจิต(เจตสิก)ที่เป็นสังขารขันธ์อย่างหนึ่ง จึงค่อนข้างบริสุทธิ์ในภาวะนี้ แต่ก็ทำให้เปราะบางและอ่อนไหวเป็นที่สุดเช่นกัน เนื่องจากขาดสติในสิ่งอื่นๆ คือขาดสัมปชัญญะที่เป็นเกราะป้องกันภัย จึงอาจไปไวต่อการรับรู้จากภายนอกที่อาจเกิดการแทรกซ้อนหรือแวบหลุดเข้าไปได้บ้าง หรืออาจเกิดขึ้นแต่ความคิดที่เกิดแต่จิตภายใน(จิตตน)ที่ผุดขึ้นมาเองจากสัญญาบ้าง ในภาวะเช่นนี้นี่เอง ที่เกิดนิมิตและโอภาสได้ต่างๆนาๆขึ้นได้อย่างชัดเจนที่สุด เพราะจิตทำกิจอยู่แต่ในสิ่งๆเดียวเท่านั้น ไม่ได้แบ่งแยกไปหน้าที่ในอายตนะหรือทวารใดๆอีกเลย ก็เนื่องจากขาดหยุดการรับรู้ทางอายตนะหรือทวารทั้ง ๖ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว, จึงมีกำลังให้เห็นเป็นไปต่างๆอย่างชัดเจนตามสิ่งที่อาจหลุดแทรกซ้อนเข้าไปด้วยใจตั้งมั่นภายในหรือกำลังศรัทธา หรือจากจิตภายในที่ผุดขึ้นมานั่นเอง ภาวะของภวังค์ที่เป็นแบบนี้เรียกว่า ภวังคจลนะ คือ ภวังค์ที่มีการเคลื่อนไหวไหลเลื่อนท่องเที่ยวหรือซ่านไปในอารมณ์ที่เกิดแต่ภายในของตนเป็นสำคัญ ในสภาวะนี้นี่เอง ถ้าการปฏิบัติไม่ถูกต้องดีงาม ไปในทางมีปัญญาหรือวิปัสสนา คือ ไม่มีการตั้งสติพิจารณาธรรม หรือบริกรรมก่อสติโดยการวิตกวิจารหรือสมาธิไว้เป็นแนวทางอันถูกต้องดีงามแต่เบื้องต้นเสียก่อนแล้ว หรือมีอาจารย์,ผู้สอนชี้แนว ที่นักปฏิบัติอธิโมกข์คอยจูงจิตหรือป้อนความคิดไปผิดทางด้วยความไม่รู้ตามความเป็นจริง(อวิชชา)ให้เห็น หรือคิด หรือเพ่งในสิ่งใด จิตที่ขาดสตินั้นก็จะถูกชักจูงเลื่อนไหลไปให้เกิดเห็นนิมิตนั้นๆขึ้น หรือเกิดความเข้าใจ(นามนิมิต)ต่างๆไปตามคำสอนหรือชักจูงนั้นๆ, จึงเกิดการเห็น ,ความเข้าใจไปตามนั้น ในสภาวะภวังคจลนะนี้นี่เอง แล้วไปยึดติด, ยึดถือ, ยึดเชื่อด้วยอำนาจของอธิโมกข์อันเป็นวิปัสสนูปกิเลส จึงเป็นการน้อมเชื่อโดยขาดการพิจารณาขาดเหตุผล และเป็นไปอย่างรุนแรงด้วยอำนาจของวิปัสสนูปกิเลสที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติฌานและสมาธิเป็นเครื่องอุดหนุน จึงเกิดการเข้าใจธรรมกันอย่างผิดๆ ดังไปยึดไปเชื่อในสิ่งที่ไปเที่ยว ไปเห็นในสิ่งต่างๆ เช่น ภาพที่เป็นกสิณนั้นๆ หรือตามเสียงที่แว่วมาของผู้ที่นักปฏิบัติมีศรัทธาตั้งใจฟังอยู่ จึงเห็นใน นรก สวรรค์ วิมาน เทวดา พระพุทธเจ้า แสง สี เสียงต่างๆ อันล้วนแล้วแต่ย่อมวิจิตร ชวนตื่นตา เร้าใจ เพราะย่อมไม่เคยพบเคยเห็นเยี่ยงนี้มาก่อนเลยในชีวิต และยังกอปไปด้วยความแสนสุข สงบ สบาย ด้วยความอธิโมกข์ยิ่งเพราะความที่ตัวกูเป็นผู้เห็น, ตัวกูเป็นผู้กระทำเองด้วยตัวกูเอง จึงพากันยึดติด ยึดถือ ยึดเชื่อ แล้วยังปรุงแต่งกันไปอีกต่างๆนาๆด้วยอวิชชา ผู้เขียนกล่าวถึงสิ่งเหล่านี้เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินไปในการวิปัสสนา เพื่อจะไม่ไปยึดไปอยากให้เกิดวิปัสสนูปกิเลสจนไม่สามารถดำเนินไปในธรรมได้ และขอร้องอย่าให้ผู้ใดนำความรู้ความเข้าใจในการบรรยายเหล่านี้ไปใช้ในทางที่ผิด เพื่อประโยชน์ทางโลก อันจักเป็นกรรมอันเกิดแต่เจตนาจึงต้องได้รับวิบากการสนองตอบอย่างแสนสาหัสในภาคหน้า และรับรองว่าไม่สามารถหลีกหนีหรือคดโกงได้ ผู้รู้ผู้เข้าใจด้วยปัญญาได้แล้วก็พึงแก้ไขเสีย อย่าปล่อยให้เป็นวิบากกรรมของตนและผู้อื่นสืบต่อไปอีกเลย ณ ที่ ภวังคจลนะ นี้นี่เอง ถ้าผู้ปฏิบัติมีความเชื่อ,ความเข้าใจอันอาจมาจากการอ่าน,การฟัง,การปฏิบัติ,การสอน อย่างผิดๆหรือด้วยอวิชชาความไม่รู้ ตลอดจนความตะลึงพึงเพลิดและความอัศจรรย์ใจในสิ่งอันวิจิตรที่ไม่เคยประสบพบมาก่อน ก็มักพาให้เตลิดเปิดเปิงออกไปปรุงแต่งทางฤทธิ์ ทางเดช ทางปาฏิหาริย์เสียโดยไม่รู้ตัว ตลอดจนเกิดความเข้าใจผิดคิดไปว่าได้มรรคผลใดแล้ว อันล้วนเป็นเส้นทางนำพาไปสู่ความวิปลาสและวิปัสสนูปกิเลส อันจักนำพาให้เป็นทุกข์มากกว่าเดิมเสียอีกในภายหน้าเป็นที่สุด ผู้เขียนเองแต่แรกปฏิบัติ เมื่อปฏิบัติพระกรรมฐานด้วยมุ่งหวังดับทุกข์ แต่ไปปฏิบัติอยู่แต่ในสมถสมาธิเสียแต่ฝ่ายเดียวด้วยเข้าใจผิดด้วยอวิชชา กล่าวคือไม่เคยนำไปใช้ประโยชน์ในการพิจารณาหรือวิปัสสนาในทางให้เกิดปัญญาอย่างจริงจังเลย แต่เข้าใจผิดไปว่าได้กระทำวิปัสสนาดีแล้วในการท่องบ่น จึงมัวแต่เสพเสวยแต่ความสุข ความสงบ ความสบาย ความวิจิตรแต่ฝ่ายเดียวจากฌาน,สมาธิ ด้วยเข้าใจว่าเป็นอานิสงส์ผลของบุญแท้ๆแล้ว, ดังนั้นเมื่อเกิด โอภาส แสงเจิดจ้าสว่างสวยงามชวนพิศวง หรือรูปนิมิตต่างๆ หรือสิ่งชวนพิศวงต่างๆ ไปเห็น ไปเข้าใจในสิ่งใดขึ้นมาก็เข้าใจผิด,เห็นผิดไปว่า ตนอยู่ในฌาน ๔ อันพระอริยเจ้าทรงสรรเสริญเสียแล้วด้วยอวิชชา ทั้งๆที่ตนนั้นกำลังเตลิดเปิดเปิงท่องเที่ยวและเสพรสอย่างหลงระเริงแลมัวเมาไปในนิมิตภายในภวังคจลนะนี้นี่เอง นิมิตที่เกิดในภวังคจลนะนี้ ก็อาจเกิดขึ้นแก่คนใกล้ตาย หรือสลบลึกหรืออาการโคม่าที่ฟื้นขึ้นมาก็มีบ้าง ที่เมื่อฟื้นคืนสติก็จะมาบอกเล่าเรื่องราวต่างๆนาๆอันน่าพิศวงด้วยอธิโมกข์ ที่เกิดแต่ภวังคจลนะด้วยอวิชชา เกิดแต่ในขณะนั้นกายอยู่ในภาวะวิกฤติจากการเจ็บป่วยหรืออุบัติเหตุใดๆก็ตามทีอย่างรุนแรง หรือการกระทบกระเทือนทางสมองอย่างรุนแรง กายจึงปิดการรับรู้จากทวารทั้ง ๖ โดยสิ้นเชิง กล่าวคือเข้าสู่ภวังคจลนะโดยธรรมหรือความบังเอิญโดยธรรมชาติเอง ที่บางสภาวะร่างกายสามารถป้องกันตนเองจากการรับรู้ที่เกินวิสัยหรือเกินขีดจำกัด ฯ. เมื่อวิถีจิตถูกปิดกั้นโดยกลไกของธรรมชาติของชีวิตจากความเจ็บป่วยไข้หรืออุบัติเหตุ จิตเกิดการเข้าเลื่อนไหลเข้าสู่ภวังค์ และเป็นภวังค์แบบภวังคจลนะนี้นี่เองได้โดยธรรมชาติ ที่อาจเคยฝึกสั่งสมมา หรือแม้ไม่เคยฝึกหัดหรือปฏิบัติมาก่อนแต่อย่างใดก็เป็นได้ แล้วเตลิดเปิดเปิงท่องเที่ยวไปในจิตภายในหรือก็คือตามสัญญาความจำความรู้ความเชื่อของตน จึงเกิดการเห็นนิมิตต่างๆนาๆขึ้นได้อย่างชัดเจน เช่นเห็นแสงสีอันเจิดจ้าวิจิตร(โอภาส) ทั้งเห็นหรือทั้งได้ยินเทวดา นางฟ้า พญายม ยมทูต วิมาน นรก สวรรค์ พระอรหันต์ พระพุทธรูป พระพุทธเจ้า ญาติโกโหติกาทั้งหลายที่ตายไปแล้วบ้าง สุขทุกข์ เรื่องราวต่างๆในอดีต กรรมดี กรรมชั่ว ตามสัญญาของเขาที่สั่งสมไว้มานานแสนนานไม่รู้ว่าสักกี่ภพกี่ชาติมาแล้วนั้น ฯลฯ. ถ้าเป็นปุถุชนในศาสนาอื่นๆก็จะเห็นเป็นไปหรือโน้มน้อมไปตามสัญญาของทางฝ่ายเขา เช่น เห็นแสงเจิดจ้าส่องลงมาจากท้องฟ้าคือสรวงสวรรค์บ้าง แสงหรือสิ่งที่เห็นเหล่านี้ก็คือโอภาสดังในการปฏิบัติสมถสมาธินั่นเอง เห็นพระเจ้า เห็นเทวดาต่างๆนาๆตามแบบที่นับถือหรือตามความเชื่อหรือสัญญาของฝ่ายเขานั่นเอง หรืออาจเห็นญาติพี่น้องคนรู้จักที่ล่วงลับไปแล้ว ความดี ความชั่ว สุข ทุกข์ เรื่องราวต่างๆแต่อดีตบ้าง ฯ. อันมีรากฐานตามสัญญา ความเชื่อ ความนับถือ ความศรัทธา ความอธิโมกข์ของฝ่ายเขานั่นเอง, ดังนั้นการเห็นเป็นไปที่แตกต่างผิดแผกกันนั้น จึงไม่ใช่เพราะการมีพระเจ้า หรือศาสนา หรือเชื้อชาติ หรือภาษา หรือนรกสวรรค์ที่ต่างกันไป แต่เป็นไปเพราะสัญญาที่สั่งสมแตกต่างกันไปตามทิฏฐิความเชื่อความเข้าใจ ผู้ที่เห็นในสิ่งเหล่านั้นถ้าฟื้นคืนสติขึ้นมาได้ ถ้ามีปัญญาบ้าง ก็จะเกิดกลัวความชั่ว ก็จะเป็นผู้ใฝ่ดี อยู่ในศีล ในธรรมของฝ่ายตน เป็นกำลังอันดีงามของสังคมนั้นๆ อันย่อมเป็นจุดมุ่งหมายอันดีงามของทุกศาสนา และย่อมยังประโยชน์ส่วนตนและโลกขึ้นเป็นที่สุด แต่ก็ยังไม่สามารถดับหรือหลุดไปจาก "ภพ ชาติ" อันเป็นทุกข์ได้อย่างเด็ดขาดโดยสิ้นเชิงโดยบริบูรณ์ ที่ต้องอาศัยปัญญาญาณในธรรม ส่วนในผู้มีปัญญาอย่างแท้จริง ย่อมแสวงหาทางดับภพ ชาติ ไม่ให้เวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏหรือในกองทุกข์อีกต่อไป. ส่วนผู้ที่ไปหลงผิดด้วยอวิชชา ย่อมเกิดความเข้าใจผิด บ้างจึงพยายามฝึกปรือหรือน้อมจำสภาพที่เกิดขึ้น เพื่อนำมาใช้งานหรือประโยชน์ทางโลกอย่างผิดๆด้วยว่าเป็นฤทธิ์ บ้างก็หลงงมงายไปเลย กล่าวคือ บูชา นับถือ ยึดมั่น ถือมั่น เผยแพร่ไปอย่างผิดๆตามความเชื่อในนิมิตที่เกิดขึ้นนั้นๆ กล่าวคือ เกิดอธิโมกข์ คือศรัทธาหรือความน้อมใจเชื่ออย่างรุนแรงแต่อย่างผิดๆหรืออย่างหลงผิด อันเป็นกิเลสชนิดวิปัสสนูปกิเลสนั่นเอง ที่ใครจะพูดจะเตือนอย่างไรก็ย่อมไม่ฟังไม่เข้าใจไม่ยอมรับด้วยกำลังของวิปัสสนูปกิเลสอันแรงกล้า ที่ภวังคจลนะนี้นี่เอง ที่มักชักจูงพาให้เข้าใจกันไปว่า เป็นเจตภูตบ้าง หรือกายทิพย์บ้าง หรือวิญญาณของตนบ้าง ได้ถอดออกจากร่างไปท่องเที่ยวในที่ต่างๆ ตามปรภพ สวรรค์ นรก จึงได้เห็นนู่น เห็นนี่ ต่างๆนาๆ จนถึงขั้นเป็นตำนานที่มีการบันทึกกล่าวขาน ถ่ายทอดสืบต่อๆกันมาอย่างช้านานและอย่างมากมาย จนเป็นที่ปรารถนา ตลอดจนเป็นที่วิจิกิจฉาจนถกเถียงกันมาอย่างช้านานโดยทั่วไป และที่ภวังคจลนะนี้นี่เองที่เกิดขึ้นในการสะกดจิตได้เช่นกัน จึงเกิดสัญญาหรือเห็นในสิ่งต่างๆที่เคยเกิดเป็นในอดีตได้ชัดเจนขึ้น เนื่องจากจิตอยู่ในภวังค์ไม่ซัดส่ายไปในสิ่งอื่นๆ แต่ไปแน่วแน่ในสัญญาจำได้ของตนตามการจูงจิตของผู้สะกดจิต แต่ก็ยังระลึกเห็นได้อย่างผิดๆได้อีกด้วยเช่นกัน ถ้าผู้สะกดจิตชี้ช่องแนะนำจูงจิตไปผิดๆ วิธีแก้ไขเมื่อลงไปสู่ภวังค์และท่องเที่ยวเลื่อนไหลไปในจิตภายในก็คือ เมื่อจิตท่องเที่ยวเลื่อนไหลไปจนอิ่มตัว กล่าวคือเมื่อรู้สึกตัวขึ้นมาบ้างแล้ว ก็ให้กลับมาอยู่ที่จิตหรือก็คือสติหรือก็คือผู้รู้นั่นเอง ตามแต่จะสื่อเรียกกัน จึงไม่ควรปล่อยให้ท่องเที่ยวเลื่อนไหลต่อไปโดยเจตนาหรือแม้ไม่เจตนาก็ตามที จะด้วยเพราะสนุก,สุข,สบายหรือโดยเข้าใจผิดใดๆก็ตามที. แบบที่ ๓ ภวังคุปัจเฉท เป็นลักษณะที่จิตลงภวังค์แล้วขาดความรู้สึกรับรู้อารมณ์ภายนอกดังภวังคจลนะข้างต้น และขาดการรับรู้จากอารมณ์ภายในด้วย เพราะไม่ท่องเที่ยวไปในภายใน ด้วยเป็นวสี ที่เรียกว่าอธิฏฐานวสี คือมีความชำนาญคล่องแคล่วในการที่จะตั้งจิตหรือรักษาจิตไว้มิให้ฌานจิตต์นั้นตกภวังค์ กล่าวคือมีสติ ที่เกิดขึ้นจากการสั่งสม, ความชำนาญจากการปฏิบัตินั่นเอง จึงมีสติไม่ปล่อยให้จิตเพลิดเพลินเตลิดเปิดเปิงหรือซ่านไปในอารมณ์ของภวังค์ หรือสัญญาภายในของตน ดังเช่นที่เกิดในภวังคจลนะข้างต้น แต่ถึงอย่างไรก็ดีสตินี้ ก็เพียงแค่รู้อยู่ในองค์ฌานต่างๆ เช่น เอกัคคตารมณ์ ยินดีอยู่ในความสงบ(อุเบกขา) แต่ขาดสัมปชัญญะ เป็นลักษณะของฌานต่างๆนั่นเอง จึงเป็นที่พักผ่อนของจิตจึงสร้างกำลังของจิตอันดียิ่ง แต่ย่อมไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ ด้วยสติไม่บริบูรณ์นั่นเอง ต้องถอนออกมาจากความสงบความสบายเหล่านั้นเสียก่อนจึงเจริญวิปัสสนาได้ ซึ่งย่อมให้กำลังมาก เรียกภวังค์แบบนี้ว่า ภวังคุปัจเฉท ภวังคุปัจเฉทนี้นี่เอง ที่เป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติ และเกิดแก่พระอริยะทุกท่านในการปฏิบัติฝ่ายสมถสมาธิฝ่ายรูปฌาน เป็นวิหารธรรมเครื่องอยู่และเป็นกำลังจิตอันดีเลิศ แต่ถ้านักปฏิบัติไปหลงติดเพลิน(นันทิ)ในความสงบ สุข สบาย อันเกิดขึ้นจากภวังค์ต่างๆ แม้แต่ในภวังคุปัจเฉทอันแม้พระอริยเจ้าก็สรรเสริญนี้ก็ตามที ก็ย่อมกลับกลายเป็นให้โทษเสียทันที กลับกลายเป็นรูปราคะในสังโยชน์อันละเอียดและรุนแรงเสียยิ่งเสียกว่ากามราคะเสียอีก ดังนั้นทุกครั้งที่ถอนออกมาฌานสมาธิ ที่แม้ถึงซึ่งภวังคุปัจเฉทนี้แล้วก็ต้องนำกำลังอันยิ่งนั้นมาใช้ในการเจริญวิปัสสนาด้วยทุกครั้ง อย่าปล่อยให้ความสุขสบายครอบงำเสียจนไม่ปฏิบัติวิปัสสนา เพราะจะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิดการติดเพลินหรือเพลิดเพลินในความสุขสงบในที่สุด และอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ กล่าวคืออย่าให้เกิดขึ้นและเป็นไปดังที่ท่านหลวงตามหาบัว ได้กล่าวสอนไว้ใน เรื่อง หลักเกณฑ์การปฏิบัติ สมาธิ - ปัญญา ความว่า "หลักใหญ่ให้จิตสงบได้นั้นแหละเป็นของดี เพียงจิตสงบเท่านั้นก็ตัดความกังวลวุ่นวาย ซึ่งเคยประจำจิตเสียดแทงจิตออกได้โดยลำดับลำดา จนถึงกับเป็นขั้นสบาย เพราะฉนั้นผู้ภาวนาเมื่อจิตเป็นสมาธิแล้ว จึงมักขี้เกียจในการพิจารณาธรรมทั้งหลายด้วยปัญญา นอนจมอยู่กับสมาธินั้นเสียไม่ออกพินิจพิจารณา สุดท้ายก็เข้าใจว่าความรู้ที่แน่วแน่แห่งความเป็นสมาธิของตนนั้น จะเป็นมรรคผลนิพพานไปเลย ในข้อนี้ผมเคยเป็นมาแล้ว จึงได้นำมาอธิบายให้ท่านทั้งหลายได้ทราบ ว่าสมาธิต้องเป็นสมาธิ ปัญญาต้องเป็นปัญญา เป็นคนละสัดเป็นคนละส่วน เป็นคนละอันจริงๆ ไม่ใช่อันเดียวกัน หากเป็นอยู่ในจิตอันเดียวกันนั่นแล เป็นแต่เพียงไม่เหมือนกัน" (จาก หลักเกณฑ์การปฏิบัติ สมาธิ - ปัญญา โดย ท่านหลวงตามหาบัว) อาการของนิมิตและภวังค์ดังที่กล่าวมาเหล่านี้ เกิดมากน้อยในนักปฏิบัติแตกต่างกันไป แล้วแต่ฌานวิสัยอันเป็นอจินไตย อาจมากบ้างน้อยบ้างต่างกันไป ที่กล่าวดังนี้มิใช่ผู้เขียนกล่าวเลี่ยงแต่ประการใด แต่มันเป็นจริงเช่นนั้นเอง ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง ณานสมาธิ เพราะขึ้นอยู่แต่จริต สติ ปัญญา การสั่งสม ตลอดจนแนวการปฏิบัติ ฯ. แต่ถ้านักปฏิบัติเป็นวิปัสสนูปกิเลส หรือมีจริตกระทำบ่อยๆด้วยติดใจหรือติดเพลินหรือด้วยอธิโมกข์ หรือหัดน้อมจิตฝึกหัดให้เห็นภาพขึ้นในใจอยู่บ่อยๆ กล่าวคือสั่งสมทำอุคคหนิมิตและปฏิภาคนิมิต ก็ย่อมเกิดการสั่งสม,ความชำนาญขึ้น ในที่สุดก็จะเกิดการน้อมนึกเห็นนิมิตต่างๆแม้ในวิถีจิตตามปกติธรรมดาขึ้นได้ และก็มักเกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวในผู้ที่ปล่อยเลื่อนไหลไปแต่ในฌานสมาธิเป็นระยะเวลานานๆโดยขาดการวิปัสสนา แต่ก็จะเป็นไปในที่สุดเหมือนนิมิตในการปฏิบัติดังที่หลวงปู่ดูลย์ ได้กล่าวถึงไว้ว่า "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" เหตุที่เป็นเช่นนี้เพราะนิมิตส่วนใหญ่เกิดแต่สัญญาหรือใจของนักปฏิบัติ แล้วยังร่วมด้วยการไปปรุงแต่งอีกต่างๆนาๆ ทั้งยังร่วมอีกด้วยอวิชชา จึงพากันไปยึดติดยึดเชื่อด้วยอธิโมกข์จนเสียการ ภาพนิมิตที่เห็นที่เกิดอันมิได้มีบาทฐานเกิดมาแต่ญาณความเข้าใจอันเกิดจากการเห็นเหตุอย่างแจ่มแจ้งจึงรู้ผล และอุเบกขาความเป็นกลางอย่างแท้จริง สิ่งที่เห็นจึงผิดไป หรือผิดบ้างถูกบ้างอันเป็นวิสัยปกติธรรมดา แต่ถ้าบังเอิญถูก ก็จักไปสำคัญมั่นหมายว่าเป็นจริงเป็นจัง จึงเกิดการยึดติดจนเป็นอธิโมกข์อันงมงายยิ่งๆขึ้นไป ถ้าผิด ก็ลืมเลือนไปเสีย หรือแก้ตัวแทนตนเป็นพัลวันว่าด้วยเหตุผลต่างๆนาๆ จึงต่างล้วนแฝงและเป็นไปตามความคิดปรุงของผู้ที่เห็นโดยไม่รู้ตัวด้วยอวิชชานั่นเอง อันประกอบไปด้วยความรู้สึกรับรู้ในสิ่งที่ตาเห็น หูได้ฟัง ความคิดที่คิด การสั่งสม และความเชื่อความยึดของผู้เห็นนั่นเองเป็นองค์ประกอบสำคัญ หรือจะกล่าวง่ายๆก็คือ เป็นการแปลงสัญญา หรือความรู้สึก ความเข้าใจ ความคิดต่างๆที่ได้รับเป็นข้อมูลจากอายตนะต่างๆในขณะนั้นเป็นภาพขึ้นมา อันมักเกิดแต่การฝึกฝนและการสั่งสมจากการปฏิบัตินั่นเอง กล่าวคือ เป็นการแปลงความคิดความเห็นให้เป็นภาพขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง ถ้าท่านเข้าใจในเรื่องคอมพิวเตอร์บ้าง ก็เปรียบเสมือนหนึ่งการแปลงข้อมูลในคอมพิวเตอร์จากโปรแกรมWord ที่ใช้ในการพิมพ์(เปรียบเป็นความคิด) แปลงเป็นไฟว์หรือข้อมูลแบบรูปภาพในโปรแกรมAcrobat (เปรียบดังนิมิตหรือภาพหรือความคิดที่น้อมขึ้น)ในชั่วพริบตานั่นเอง อันเกิดแต่การฝึกหัดและมีฐานข้อมูลและโปรแกรมอยู่แล้วนั่นเอง ผู้ที่หลงติดในนิมิตนั้น นอกจากจะมีความเชื่อความยึดที่หลงผิดไปตามรูป เสียง ความคิด ของนิมิตแล้ว จึงทำให้หลงผิดเห็นผิดไม่สามารถดำเนินไปในธรรมได้(วิปัสสนูปกิเลส) เพราะนิมิตก็คือวิปัสสนูปกิเลสในข้อโอภาส และยังทำให้เกิดญาณในวิปัสนูปกิเลสคือมิจฉาญาณอีกดัวย ฯ. ภายหลังยังทำให้เกิดอาการอึดอัดหรือเจ็บป่วยต่างๆเนื่องจาก " จิตส่งใน " ดังที่ได้กล่าวไว้แล้วในเรื่อง"จิตส่งใน เป็นภัยต่อนักปฏิบัติ" เหตุก็เพราะขณะจิตที่น้อมนึกภาพขึ้นนั้น เป็นสภาวะของมิจฉาสมาธิที่ต้องก่อขึ้น ต้องกระทำขึ้นโดยไม่รู้ตัวนั่นเอง จึงยังผลให้เกิดการเสพและติดเพลินองค์ฌานขึ้นได้โดยไม่รู้ตัวนั่นเอง อันคือนันทิหรือตัณหา นิมิตที่เห็นหรือเข้าใจจึงเป็นเหยื่อล่อให้ดำเนินไปตามวงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ ปฏิจจสมุปบาท ในที่สุดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะได้ดำเนินไปถึงองค์ธรรมนันทิคือตัณหา ความติดเพลิน,ความติดใจอยาก,ความติดชอบในนิมิตเหล่านั้นเสียแล้ว เรื่องที่น่ารู้เกี่ยวกับนิมิตและภวังค์ จากคณาจารย์ คัดจาก เทสก์รังสีอนุสรณาลัย ; เรื่อง สิ้นโลก เหลือธรรม โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี บางอาจารย์เมื่อนิมิตเกิดขึ้นมาแล้ว สอนให้ถือเอานิมิตนั้น เป็นขั้นเป็นชั้นของมรรคทั้ง ๔ มีโสดาปัตติมรรคเป็นต้น เช่น นิมิตเห็นแสงเล็กเท่าแสงหิ่งห้อย ได้สำเร็จชั้นพระโสดาบัน เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาหน่อยเท่าแสงดาว ได้สำเร็จชั้นพระสกทาคามี เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระจันทร์ ได้สำเร็จชั้นพระอนาคามี เห็นนิมิตแสงใหญ่ขึ้นมาเท่าแสงพระอาทิตย์ ได้สำเร็จชั้นพระอรหันต์อย่างนี้เป็นต้น ไปถือเอาแสงภายนอก(โอภาส) ไม่ถือเอาใจของคนที่บริสุทธิ์มากน้อยเป็นเกณฑ์ ความเห็นเช่นนั้น ยังห่างไกลจากความเป็นจริงนัก.................นิมิตเกิดจากภวังค์เป็นส่วนมาก ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรคโดยเฉพาะอยู่แล้ว มันจะเป็นมรรคได้อย่างไร........(หน้า๑๕-๑๖) (webmaster - เหตุที่ภวังค์เป็นอุปสรรคของมรรค ก็เนื่องจากในสภาวะของภวังค์นั้น ไม่สามารถใช้สติได้อย่างบริบูรณ์ดังที่กล่าวแสดงไว้ข้างต้นแล้วนั่นเอง แท้ที่จริงนิมิตทั้งหลาย ดังที่อธิบายมาแล้วก็ดี หรือนอกไปกว่านั้นก็ดี ถึงไม่ใช่เป็นทางให้ถึงความบริสุทธิ์ก็จริงแล แต่ผู้ปฏิบัติทั้งหลายจะต้องได้ผ่านทุกๆคน เพราะการปฏิบัติเข้าถึงจิตรวม,เข้าถึงภวังค์แล้วจะต้องมี เมื่อผู้มีวาสนาเคยได้กระทำมาเมื่อก่อน เมื่อเกิดนิมิตแล้ว จะพ้นจากนิมิตนั้นหรือไม่ ก็แล้วแต่สติปัญญาของตน หรืออาจารย์ผู้นั้นจะแก้ไขให้ถูกหรือไม่ เพราะของพรรค์นี้ต้องมีครูบาอาจารย์เป็นผู้แนะนำ ถ้าหาไม่แล้วก็ต้องจมอยู่ปรัก คือนิมิต นานแสนนาน เช่น อาฬารดาบส แล อุททกดาบส เป็นตัวอย่าง........(สิ้นโลก เหลือธรรม หน้า๑๗) จาก หลวงปู่ฝากไว้ โดยหลวงปู่ดูลย์ อตุโล เรื่อง จริง แต่ไม่จริง ผู้ปฏิบัติกัมมัฏฐาน ทำสมาธิภาวนา เมื่อปรากฎผลออกมาในแบบต่างๆ ย่อมเกิดความสงสัยขึ้นเป็นธรรมดา เช่น เห็นนิมิตในรูปแบบที่ไม่ตรงกันบ้าง ปรากฎในอวัยวะของตนเองบ้าง ส่วนมากมากราบเรียนหลวงปู่เพื่อให้ช่วยแก้ไข หรือแนะอุบายปฏิบัติต่อไปอีก มีจำนวนมากที่ถามว่า ภาวนาแล้วก็เห็น นรก สรรรค์ วิมาน เทวดา หรือไม่ก็เป็นองค์พระพุทธรูปปรากฎอยู่ในตัวเรา สิ่งที่เห็นเหล่านี้เป็นจริงหรือ ฯ หลวงปู่บอกว่า "ที่เห็นนั้น เขาเห็นจริง แต่สิ่งที่ถูกเห็น ไม่จริง" [หลวงปู่กล่าวดังนี้เพราะ ผู้ที่เห็นนั้น เขาก็เห็นจริงๆตามความรู้สึกนึกคิดหรือสังขารที่เกิดขึ้นจากส่วนหนึ่งของสัญญาเขา เพียงแต่ว่าสิ่งที่เห็นนั้น ไม่ได้เป็นจริงตามนั้น] เรื่อง แนะวิธีละนิมิต ถามหลวงปู่ต่อมาอีกว่า นิมิตทั้งหลายแหล่ หลวงปู่บอกยังเป็นของภายนอกทั้งหมด จะเอามาทำอะไรยังไม่ได้ ถ้าติดอยู่ในนิมิตนั้นก็ยังอยู่แค่นั้น ไม่ก้าวต่อไปอีก จะเป็นด้วยเหตุที่กระผมอยู่ในนิมิตนี้มานานหรืออย่างไร จึงหลีกไม่พ้น นั่งภาวนาทีไร พอจิตจะรวมสงบ ก็เข้าถึงภาวะนั้นทันที หลวงปู่โปรดได้แนะนำวิธีละนิมิตด้วยว่า ทำอย่างไรจึงจะได้ผล หลวงปู่ตอบว่า เออ นิมิตบางอย่างมันก็สนุกดี น่าเพลิดเพลินอยู่หรอก แต่ถ้าติดอยู่แค่นั้นมันก็เสียเวลาเปล่า วิธีละได้ง่ายๆก็คือ อย่าไปดูสิ่งที่ถูกเห็นเหล่านั้น "ให้ดูผู้เห็น แล้วสิ่งที่ไม่อยากเห็นนั้นก็จะหายไปเอง". เรื่อง เป็นของภายนอก เมื่อวันที่ ๑๐ ธันวาคม ๒๕๒๔ หลวงปู่อยู่ในงานประจำปี วัดธรรมมงคล สุขุมวิท กรุงเทพฯ มีแม่ชีพราหมณ์หลายคนจากวิทยาลัยครูพากันเข้าไปถาม ทำนองรายงานผลของการปฏิบัติวิปัสสนาให้หลวงปู่ฟังว่า เขานั่งวิปัสสนาจิตสงบแล้ว เห็นองค์พระพุทธรูปในหัวใจของเขา บางคนว่า ได้เห็น(นิมิต)สวรรค์ เห็นวิมานของตนเองบ้าง บางคนว่าเห็นพระจุฬามณีเจดีย์สถานบ้าง พร้อมทั้งภูมิใจว่าเขาวาสนาดี ทำวิปัสสนาได้สำเร็จ หลวงปู่อธิบายว่า "สิ่งที่ปรากฎเห็นทั้งหมดนั้น ยังเป็นของภายนอกทั้งสิ้น(เพราะเป็นเพียงนิมิต อันเกิดแต่อำนาจของสมถสมาธิเท่านั้น ยังไม่ใช่มรรคผลแต่ประการใด) จะนำเอามาเป็นสาระที่พึ่งอะไรยังไม่ได้หรอก." เรื่อง หลักธรรมแท้ มีอยู่อย่างหนึ่งที่นักปฏิบัติชอบพูดถึง คือ ชอบโจษขานกันว่า นั่งภาวนาแล้วเห็นอะไรบ้าง ปรากฎอะไรออกมาบ้าง หรือไม่ก็ว่า ตนนั่งภาวนามานานแล้วไม่เคยเห็นปรากฏอะไรออกมาบ้างเลย หรือบางคนก็ว่า ตนได้เห็นสิ่งนั้นสิ่งนี้อยู่เสมอ ทำให้บางคนเข้าใจผิดคิดว่า ภาวนาแล้วตนจะได้เห็นสิ่งที่ต้องการเป็นต้น ฯ หลวงปู่เคยเตือนว่า การปรารถนาเช่นนั้นผิดทั้งหมด เพราะการภาวนานั้นเพื่อให้เข้าถึงหลักธรรมอย่างแท้จริง "หลักธรรมที่แท้จริงนั้น คือ จิต ให้กำหนดดูจิต ให้เข้าใจจิตตัวเองให้ลึกซึ้ง เมื่อเข้าใจจิตตัวเองได้ลึกซึ้งแล้ว นั่นแหละได้แล้วซึ่งหลักธรรม." ดังนั้นการสอนหรือการปฏิบัติที่ไปยึด,ไปชอบ,ไปเชื่อ ในนิมิตที่เกิดขึ้นแบบต่างๆนาๆ ดังเช่น ภาพ แสง สี เสียง นรก สวรรค์ เทวดา ครูบาอาจารย์ แม้แต่พระพุทธเจ้าฯ. แม้แต่นามนิมิตที่อาจผุดขึ้นแต่ไม่ได้เกิดแต่ปัญญาจากการพิจารณาหาเหตุหาผลก็ตามที ที่เกิดขึ้นในภวังค์ หรือจากการปฏิบัติ จึงเป็นการปฏิบัติที่ยังไม่ถูกต้องแนวทางอย่างแน่นอน และยังให้เกิดโทษในภายภาคหน้าอีกด้วย. พนมพร ข้อคิด แนวทางการปฏิบัติ หลักปฏิบัติ สมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน) - ให้หยุดคิดหยุดนึกทั้งปวง มีแต่สติหรือจิตตั้งมั่นอยู่แต่ในอารมณ์ ให้กำลังอันยิ่ง หลักปฏิบัติ วิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) - ให้หยุดแต่การคิดนึกปรุงแต่ง มีแต่สติหรือจิตอยู่กับการคิดพิจารณา(ใช้ปัญญา)ในเหล่าธรรมอันเป็นกุศล ให้ปัญญาอันยิ่ง หลักปฎิบัติ สมถวิปัสสนา - เมื่อปฏิบัติสมถสมาธิ(สมถกรรมฐาน)เป็นกำลังแล้ว ให้เจริญวิปัสสนา(วิปัสสนากรรมฐาน) ให้ทั้งกำลังและปัญญาอันยิ่งขึ้นไปอีก พนมพร

กาลเวลากลืนกินทุกสิ่งทุกอย่างแม้แต่ตัวมันเองหลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เจอท่านนานเลย หลายปี จนก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์ ปีสี่เท่าไหร่ ปี ๔๑ ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว พอเข้าไป ท่านมาเทศน์เสร็จก็คลานเข้าไป กราบท่าน บอกว่า หลวงพ่อผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว ท่านบอกว่า หลวงพ่อจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย โอ้..คราวนี้นะ ท่านเปลี่ยนไปเลยนะ เหมือนท่านเป็นคนอีกคนหนึ่งเลย กริยาท่าทางของท่านองอาจผึ่งผายนะ ท่านบอกว่า จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง พูดห้าวหาญมากเลย โห..เราฟังปุ๊บเราเข้าใจแล้ว ท่านทำลายเปลือกออกมาได้แล้ว ท่านห้าวหาญมากเลย ท่านบอกวิธีให้นะ ไม่ได้ทำอะไรนะ รอให้ลูกไก่นี้โตขึ้นมา แล้วลูกไก่จะเจาะเปลือกเอง ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเคยสอนนั่นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรผลนิพพานได้นะ จิตบรรลุเอง เรามีหน้าที่เจริญศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญไตรสิกขานั่นเอง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนี่นะ จิตมีพลัง มีพลานุภาพเต็มที่แล้วนี่นะ จะเจาะทำลายอาสวะออกมาเอง พระพุทธเจ้าท่านเทียบเหมือนคนทำนา บอกว่าชาวนานไม่สามารถทำให้ข้าวออกรวงได้ ข้าวมันออกรวงของมันเอง สิ่งที่ชาวนาทำได้คือไถนา ไถอยู่ที่ดินไม่ได้ไปไถต้นข้าว หว่านเมล็ดข้าวลงไปในนา แล้วก็เอาน้ำเข้านา ช่วงไหนน้ำน้อยก็เติมน้ำ ช่วงไหนน้ำมากก็ไขน้ำออก ถึงเวลาแล้วข้าวก็ออกรวง ข้าวออกเมล็ด ข้าวก็ออกของมันเอง ชาวนาไม่ได้ออกเมล็ดข้าวมา จิตนี้ก็เหมือนกันนะ เราเจริญไตรสิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญอย่างนี้แหละ ถึงวันที่เขาพอเพียงแล้ว อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพวกเรานะ ค่อยฝึกไป คอยรู้กายคอยรู้ใจนะ ถือศีล ๕ ไว้เป็นเบื้องต้น วันไหนจิตใจฟุ้งซ่านมากก็ทำความสงบเข้ามา ให้จิตใจได้พักผ่อนบ้าง พอจิตใจสงบแล้วและพักผ่อนพอสมควรแล้วก็ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ให้เจริญปัญญาด้วยการมีสติรู้กายอย่างที่กายเขาเป็น มีสติรู้จิตอย่างที่จิตเขาเป็น ไม่เข้าไปแทรกแซงเขา เวลารู้ ให้รู้อยู่ห่างๆ อย่าถลำลงไปรู้ อย่ากระโจนลงไปรู้ รู้อยู่ห่างๆเหมือนดูคนอื่น ดูกายนี้เหมือนดูกายคนอื่น ดูเวทนานี้เหมือนดูเวทนาคนอื่น ดูจิตนี้เหมือนดูจิตคนอื่นไป ดูเหมือนดูคนอื่นเรื่อยๆ ทั้งกายทั้งเวทนาทั้งจิตนี้เป็นแต่สภาวธรรมซึ่งถูกรู้ถูกดู สิ่งใดถูกรู้สิ่งใดถูกดูสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นของอยู่นอกๆนะไม่ใช่ตัวเราหรอก ให้เฝ้ารู้เฝ้าดูไป กระทั่งต่อมาเราจะเห็นว่า แม้กระทั่งผู้รู้ผู้ดูเองก็เกิดๆดับๆ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง ใช่มั้ย เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ผู้รู้เองก็เกิดดับๆเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆไม่มีอะไรคงที่สักอันเดียวเลย เนี่ยดูอย่างนี้เรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งลูกไก่ก็จะหลุดออกมาจากเปลือกได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

วิธีพาจิตกลับบ้านหลวงพ่อปราโมทย์ : หลวงพ่อไม่เจอท่านนานเลย หลายปี จนก่อนท่านมรณภาพไม่นาน ท่านไปเทศน์ที่องค์การโทรศัพท์ ปีสี่เท่าไหร่ ปี ๔๑ ประมาณนี้ จำไม่ได้แล้ว พอเข้าไป ท่านมาเทศน์เสร็จก็คลานเข้าไป กราบท่าน บอกว่า หลวงพ่อผมไม่เจอหลวงพ่อนานแล้ว ท่านบอกว่า หลวงพ่อจำได้นักปฏิบัติมีไม่มากหรอก หลวงพ่อผมยังทำลายผู้รู้ไม่ได้เลย โอ้..คราวนี้นะ ท่านเปลี่ยนไปเลยนะ เหมือนท่านเป็นคนอีกคนหนึ่งเลย กริยาท่าทางของท่านองอาจผึ่งผายนะ ท่านบอกว่า จิตผู้รู้เหมือนฟองไข่ เมื่อลูกไก่เติบโตเต็มที่แล้ว จะเจาะทำลายเปลือกออกมาเอง พูดห้าวหาญมากเลย โห..เราฟังปุ๊บเราเข้าใจแล้ว ท่านทำลายเปลือกออกมาได้แล้ว ท่านห้าวหาญมากเลย ท่านบอกวิธีให้นะ ไม่ได้ทำอะไรนะ รอให้ลูกไก่นี้โตขึ้นมา แล้วลูกไก่จะเจาะเปลือกเอง ก็คือธรรมะอันเดียวกับที่พระพุทธเจ้าเคยสอนนั่นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรผลนิพพานได้นะ จิตบรรลุเอง เรามีหน้าที่เจริญศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญไตรสิกขานั่นเอง เมื่อเจริญเต็มที่แล้วนี่นะ จิตมีพลัง มีพลานุภาพเต็มที่แล้วนี่นะ จะเจาะทำลายอาสวะออกมาเอง พระพุทธเจ้าท่านเทียบเหมือนคนทำนา บอกว่าชาวนานไม่สามารถทำให้ข้าวออกรวงได้ ข้าวมันออกรวงของมันเอง สิ่งที่ชาวนาทำได้คือไถนา ไถอยู่ที่ดินไม่ได้ไปไถต้นข้าว หว่านเมล็ดข้าวลงไปในนา แล้วก็เอาน้ำเข้านา ช่วงไหนน้ำน้อยก็เติมน้ำ ช่วงไหนน้ำมากก็ไขน้ำออก ถึงเวลาแล้วข้าวก็ออกรวง ข้าวออกเมล็ด ข้าวก็ออกของมันเอง ชาวนาไม่ได้ออกเมล็ดข้าวมา จิตนี้ก็เหมือนกันนะ เราเจริญไตรสิกขา ศีลสิกขา จิตสิกขา ปัญญาสิกขา เจริญอย่างนี้แหละ ถึงวันที่เขาพอเพียงแล้ว อริยมรรคก็จะเกิดขึ้นเอง ไม่มีใครทำจิตให้บรรลุมรรคผลได้ เพราะฉะนั้นหน้าที่ของพวกเรานะ ค่อยฝึกไป คอยรู้กายคอยรู้ใจนะ ถือศีล ๕ ไว้เป็นเบื้องต้น วันไหนจิตใจฟุ้งซ่านมากก็ทำความสงบเข้ามา ให้จิตใจได้พักผ่อนบ้าง พอจิตใจสงบแล้วและพักผ่อนพอสมควรแล้วก็ไม่ขี้เกียจขี้คร้าน ให้เจริญปัญญาด้วยการมีสติรู้กายอย่างที่กายเขาเป็น มีสติรู้จิตอย่างที่จิตเขาเป็น ไม่เข้าไปแทรกแซงเขา เวลารู้ ให้รู้อยู่ห่างๆ อย่าถลำลงไปรู้ อย่ากระโจนลงไปรู้ รู้อยู่ห่างๆเหมือนดูคนอื่น ดูกายนี้เหมือนดูกายคนอื่น ดูเวทนานี้เหมือนดูเวทนาคนอื่น ดูจิตนี้เหมือนดูจิตคนอื่นไป ดูเหมือนดูคนอื่นเรื่อยๆ ทั้งกายทั้งเวทนาทั้งจิตนี้เป็นแต่สภาวธรรมซึ่งถูกรู้ถูกดู สิ่งใดถูกรู้สิ่งใดถูกดูสิ่งนั้นก็ไม่ใช่ตัวเราหรอก เป็นของอยู่นอกๆนะไม่ใช่ตัวเราหรอก ให้เฝ้ารู้เฝ้าดูไป กระทั่งต่อมาเราจะเห็นว่า แม้กระทั่งผู้รู้ผู้ดูเองก็เกิดๆดับๆ เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้คิด เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้หลง ใช่มั้ย เดี๋ยวก็เป็นผู้รู้เดี๋ยวก็เป็นผู้เพ่ง ผู้รู้เองก็เกิดดับๆเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆไม่มีอะไรคงที่สักอันเดียวเลย เนี่ยดูอย่างนี้เรื่อยๆไปนะ วันหนึ่งลูกไก่ก็จะหลุดออกมาจากเปลือกได้ หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช แสดงธรรมที่ สำนักสงฆ์สวนสันติธรรม บ้านโค้งดารา ศรีราชา ชลบุรี แสดงธรรมเมื่อ วันที่ ๒๔ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๑ หลังฉันเช้า

ยอมรับความจริงได้ก็ถูกเมื่อนั้นสันตินันท์ จิตถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะกิเลส เวลาวิมุติอริยมรรคเกิดแต่ละขั้นๆ ก็มีความสุขเป็นลำดับๆ ไป ถึงจุดสุดท้ายก็มีความสุขล้วนๆ มีความสุขเพราะว่ามันไม่มีอะไรเข้ามาเคลือบจิตได้อีก หมอณัฐดูออกมั้ยจิตเราถูกห่อหุ้มไว้ มีเปลือกหุ้ม จิตเค้าถูกห่อหุ้มด้วยอาสวะ ยังปนเปื้อน เยิ้มๆ จิตยังปนเปื้อน ความปนเปื้อนนี้แหละ เป็นช่องทางให้กิเลสไหลเข้ามาสู่จิต (หมอณัฐถาม...ได้ยินไม่ชัด) .. อือ ดูอย่างนี้ก็ได้ แล้วจะเห็นเอง จิตใจนี้เป็นอิสระ รู้สึกมั้ยจิตใจไม่เป็นอิสระ ตอนนี้รู้สึกมั้ย อาจจะไม่เห็นตัวอาสวะตรงๆ แต่เห็นผลของจิตที่มีอาสวะ ไม่อิสระ จริงๆ จิตถูกอาสวะห่อหุ้มไว้ อาสวะนี่ เทียบแล้วคล้ายๆ กับ เรามี สมมติอยู่บ้านไม้ ใครเคยอยู่บ้านไม้ เวลาเราทำน้ำหกน้ำไหลไปเนี่ย เราจะเห็นเส้นทางที่เราเช็ดให้แห้ง เทน้ำลงไปที่เก่า มันไหลไปทางเดิมอย่างรวดเร็ว มันนำร่อง ความชื้นเดิมมันนำร่อง เพราะน้ำนี้ไหลไปตามความชื้นเดิม อาสวะกิเลสนี่มันนำร่องกิเลสเข้าไปย้อมจิต จิตของเราไม่มีอิสระ เหมือนลูกไก่ที่อยู่ในเปลือกไข่ พระพุทธเจ้าท่านบอกว่า ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวแรก ท่านใช้คำเปรียบเทียบได้ดี เคยมีพราหมณ์คนนึงไปว่าพระพุทธเจ้า บอกอายุก็ยังน้อยพราหมณ์ผู้แก่ผู้เฒ่ามาก็ไม่ไหว้ไม่ต้อนรับ เฉยเมย ท่านบอกว่าท่านอาวุโสที่สุด ท่านเป็นลูกไก่ที่เจาะเปลือกออกมาได้ พวกที่เหลือยังอยู่ในไข่อยู่เลย ท่านจะไปไหว้ทำไม คำพูดของท่านนะ น่าฟัง จริงๆ แล้วเรามีเปลือกที่ห่อหุ้มอยู่ จิตถูกอาสวะกิเลสห่อหุ้ม ทำยังไงก็ไม่ขาด ไม่ขาด ทำยังไง ยังไง้ ยังไงก็ไม่ขาด พระไตรปิฎกก็เลยใช้คำบอกว่า เวลาบรรลุพระอรหันต์นะ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น เห็นมั้ย หลุดพ้นจากอาสวะ อาสวะมันห่อหุ้มไว้ จิตหลุดพ้นจากอาสวะเพราะความไม่ถือมั่น ไม่ถือมั่นในอะไร ในรูปนาม ในกายในใจ เนี่ยกุญแจของการปฏิบัติอยู่ที่กายกับใจนี่เอง เมื่อไรไม่ถือมั่นในกายในใจ โดยเฉพาะเมื่อไหร่ไม่ถือมั่นในใจในจิต อาสวะจะขาดโดยอัตโนมัติ ถ้าเราเห็นอาสวะแล้วพยายามตัด ทำยังไงก็ไม่ขาด กำหนดจิตให้แหลมคมแค่ไหนก็ไม่ขาดนะ แทงก็ไม่ทะลุนะ พอมันขาดเราจะรู้สึกว่าเรามีอิสระ 23 ก.ค. 2549 สภาวะทุกอย่างเสมอภาคกัน การเห็นสภาวะที่หยาบหรือละเอียด ธรรมะภายใน ธรรมะภายนอก ธรรมะที่เป็นกุศล อกุศล ธรรมะที่เป็นสุข เป็นทุกข์ ก็เสมอภาคกัน คือทั้งหมดเกิดและดับ ไม่ใช่ว่าต้องทำให้ละเอียดขึ้นๆ จึงจะบรรลุธรรม บางวันมันก็หยาบ บางวันมันก็ละเอียด เพราะว่าทั้งหมดนี้ เป็นเรื่องของอนัตตา ทั้งหมดเลย สติก็เป็นอนัตตา บางวันก็หยาบ บางวันก็ละเอียด บางวันก็ไม่มีเลย เขาเกิดขึ้นมาจะเป็นยังไงก็ได้ เราเรียนไม่ใช่เพื่อว่าจะเอาดี ไม่ใช่ว่าเราอยากได้สติเยอะๆ เราไม่ได้เรียนเอาตรงนั้นหรอก แต่เราเรียนจนกระทั่งจิตมันเกิดความเข้าใจ ว่าทุกอย่างบังคับไม่ได้ สติจะเกิดหรือไม่เกิด จะหยาบหรือละเอียด เราก็เลือกไม่ได้ ไม่ได้เรียนเอาดีนะ แต่เรียนเพื่อที่จะเห็นว่า ทุกสิ่งที่เกิดขึ้นมาล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น ธรรมะที่หยาบเกิดขึ้นแล้วก็ดับ ธรรมะที่ละเอียดเกิดแล้วก็ดับ เสมอภาคกัน เรียนเพื่อให้เข้าใจตรงนี้เอง ในที่สุดก็เข้าใจว่า ทุกสิ่งที่เกิดล้วนแต่ดับไปทั้งสิ้น พระโสดาบันรู้แค่นี้เอง 22 ต.ค. 2548 การจำสภาวะธรรมได้เป็นเหตุใกล้ให้เกิดสติ สติเกิดขึ้นได้เพราะมีเหตุให้สติเกิด มันเกิดขึ้นเอง เราไปสั่งให้มันเกิดมันไม่เกิดหรอก สติมีการจำสภาวะได้ เป็นเหตุใกล้ให้เกิด เพราะเรารู้จักโกรธเป็นอย่างไร พอโกรธสติก็เกิด พอรู้จักเผลอเป็นยังไง พอเผลอสติก็เกิด พอหัดรู้กาย รู้ใจเนืองๆ สติปัญญาเริ่มแก่กล้าเพียงพอ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิเอง พอรวมแล้วก็จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะ จะเห็นตัวสภาวะเกิดดับ ถัดจากนั้นโคตรภูญาณจะเกิดขึ้น มันจะเกิดการปล่อยวางตัวสภาวะ พอเห็นสภาวะเกิดดับ ปัญญาแก่รอบแล้ว มันวาง มันทิ้งโดยไม่ได้เจตนา ตรงนี้ไม่มีความจงใจเหลืออยู่เลยตั้งแต่จิตรวมแล้วเห็นสภาวะเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะนั้น จิต จะวางการรู้สภาวะแล้วทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ ตรงเนี้ยตรงที่มันปล่อยสภาวะก็ไม่ใช่ปุถุชน ตรงที่ทวนเข้าหาธาตุรู้ยังไม่เข้าถึงธรรมธาตุตัวนี้ก็ไม่ใช่พระอริยะ เพราะงั้นเป็นรอยต่อ เกิดขึ้นแว๊บเดียวทวนเข้าถึงธาตุรู้แท้ๆ ตัวรู้จะมีปัญญาสุดขีดเกิดขึ้น ธาตุรู้นี้ก็เกิดแล้วก็ดับได้อีก จะเห็นเลยว่าความเป็นราไม่มีสักนิดเดียว ถัดจากนั้นจิตจะไปเห็นนิพพาน 2 หรือ 3 ขณะแล้วแต่คน จะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ 2 หรือ 3 ขณะจากนั้นจิตจะถอยออกมาจากอัปปนาสมาธิ พอออกมาข้างนอกมันจะทวนกระแสเข้าไปพิจาณาสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อกี๊แล้วมันจะเข้าใจ กิเลสยังเหลือ หรือไม่เหลือสักเท่าไร รู้ พอเราปฏิบัติได้อย่างนี้ พอเราต้องการเช็คตัวเอง เราสังเกตที่ใจของเรากิเลสของเราเหลือสักเท่าไร จะไปแล้วเท่าไร หลวงปู่ดูลย์ไปเรียนกรรมฐานกับหลวงปู่มั่นเสร็จแล้วไปเดินนะ เดินมาเดือนกว่าๆ กลับมารายงาน กิเลส 4 ส่วน ผมละเด็ดขาดไปแล้ว 1 ส่วน ส่วนที่ 2 ละได้ครึ่งเดียวยังไม่สมุจเฉจ (การตัดขาด) หลวงปู่มั่นบอกไปทำต่อถูกแล้ว จากนี้ดู สัพเพ สังขารา สัพพสัญญา อนัตตา 4 พ.ค. 2548 ทางลัด จิตที่พ้นความปรุงแต่ง จะรู้ธรรมชาติที่พ้นความปรุงแต่ง (นิพพาน) ทางลัดที่สุดสำหรับการปฏิบัติธรรม จึงไม่ใช่การกระทำ (ปรุงแต่ง) ใดๆ แต่เป็นการหยุดกระทำ โดยไม่กระทำ (ปรุงแต่ง) ความหยุดให้เกิดขึ้น มีเพียง การรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ เท่านั้น (โดยไม่มีมายาของการคิดนึกปรุงแต่ง และมายาของการหยุดคิดนึกปรุงแต่ง) ที่เป็นสิ่งสุดท้ายซึ่งผู้ปฏิบัติจะทำได้ ก่อนที่จิตเขาจะ "ก้าวกระโดด" ไปเอง หากพระพุทธเจ้าจะทรงแสดงธรรมอย่างถึงที่สุด ย่อมต้องปิดพระโอษฐ์เงียบ แต่นั่นเป็นสิ่งยากเกินกว่าเวไนยชนจะเข้าใจได้ และหากจะทรงกล่าวธรรมอย่างย่นย่อที่สุดว่า สิ่งทั้งปวงไม่ควรยึดมั่น ก็ยังยากที่จะมีผู้รู้ตามได้ เพราะสัตว์ทั้งหลายถ้าไม่ยึดรูปธรรม ก็ต้องยึดนามธรรมไว้ก่อน พระองค์จึงทรงบอก ทาง ของการปฏิบัติขึ้นมามากมาย โดยอิงกับรูปธรรมและนามธรรม เช่น ทาน ศีล ภาวนา กุศลกรรมบถ ตลอดจนการทำสมถะและวิปัสสนา ทั้งนี้ ก็เพื่อให้พวกเราเดินเข้าใกล้ การหยุดพฤติกรรมทางจิต จนเหลือเพียงรู้อย่างเงียบสนิทจริงๆ นั่นเอง เช่นทรงสอนให้ทำทาน เพื่อลดความกระวนกระวายเพราะความโลภ ทรงสอนให้รักษาศีล เพื่อเป็นพื้นฐานสำหรับความสงบระงับ ทรงสอนสัมมาสมาธิ เพื่อให้จิตตั้งมั่นและรู้ตัว และทรงสอนวิปัสสนา เพื่อทำลายแรงดึงดูดของอารมณ์ ที่จะพาจิตให้ทะยานไปก่อภพก่อชาติตลอดนิรันดร ผู้ปฏิบัติที่ยังขาดความเข้าใจ ย่อมปฏิบัติสิ่งเหล่านี้ เพื่อที่จะปฏิบัติต่อไป ส่วนผู้ที่เข้าใจแล้ว ก็จะ หยุด การปฏิบัติ ได้ด้วยปัญญาญาณอันแหลมคม หากต้องการทางลัด ก็จำเป็นต้อง รู้ และเลิกคิดเรื่อง ทาง ไปเลย แต่ถ้ายังไม่รู้จัก รู้ ก็ยังจำเป็นต้องอาศัยทางเหล่านั้นต่อไปก่อน 4 ธ.ค. 2544 ของฝากจากสวนโพธิ์ 1. เผลอก็ให้รู้ว่าเผลอ เมื่อรู้ว่าเผลอแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอต่อไปอีก ด้วยการคิดว่า ทำอย่างไรจึงจะรู้ตัวได้ต่อเนื่อง 2. เพ่งก็ให้รู้ว่าเพ่ง เมื่อรู้ว่าเพ่งแล้วก็พอแล้ว อย่าเผลอหรือเพ่งต่อไปอีก เพื่อจะทำลายการเพ่งนั้น 3. หงุดหงิดก็รู้ว่าหงุดหงิด กลัวก็รู้ว่ากลัว มีราคะก็รู้ว่ามีราคะ มีความฟุ้งซ่านก็รู้ว่ามีความฟุ้งซ่าน ให้รู้ด้วยจิตที่เป็นกลางๆ คือไม่คล้อยตาม และไม่ต่อต้าน เพราะถ้าคล้อยตามก็จะถูกกิเลสครอบงำ ถ้าต่อต้านก็จะเกิดความอึดอัดใจ 4. สรุปแล้ว ให้รู้ทุกอย่างที่จิตไปรู้เข้า โดยไม่เติมความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ ลงไปอีก เพราะ "รู้" นั่นแหละคือประตูของมรรคผลนิพพาน 29 พ.ย. 2544 แก่นสารของการปฏิบัติธรรม การเจริญสติจริงๆ จะไปยากอะไร เพียงแต่ให้มีจิตที่รู้ตัวสบายๆ เป็นธรรมชาติธรรมดานี้เอง แล้วไปรู้อารมณ์ (ที่เป็นปรมัตถ์)ที่กำลังปรากฏ โดยไม่เผลอ ไม่เพ่ง ด้วยความเป็นกลางจริงๆ คลองแห่งความคิดจะขาดไป และจิตจะรู้ โดยปราศจากความปรุงแต่ง ไม่นานผู้ปฏิบัติก็จะสามารถเข้าในวิสังขารธรรม หรือธรรมที่พ้นความปรุงแต่งได้ จุดแรกที่พวกเราควรทำความรู้จักก็คือ จิตที่มีสติ ไม่เผลอ ไม่หลง ไม่ถูกครอบงำด้วยความปรุงแต่งมันเป็นอย่างไร เมื่อรู้ตัวเป็นแล้ว ก็รู้ปรมัตถธรรมที่กำลังปรากฏไปตามธรรมดาๆ นี่เอง เช่นรู้ลงในความไหวของกาย ด้วยจิตที่ไม่หลง ก็จะเห็นปรมัตถ์ของ "กาย" อย่างชัดเจน คลองแห่งความคิดจะขาดไป เหลือแต่รู้สักว่ารู้ รู้ตามความเป็นจริง รู้ด้วยจิตที่เป็นกลาง แล้วจะเห็นธรรมฝ่ายสังขารคือ "กาย" หากจิตมีความพร้อม ก็จะเห็นธรรมฝ่ายวิสังขาร คือฝ่ายเหนือความปรุงแต่งได้ในวับเดียว 29 พ.ค. 2544 รู้อย่างไรจึงจะบั่นทอนทุกข์ลงได้ "รู้ตัว" เป็น ก็คือมีจิตที่ตั้งมั่น เป็นกลาง เป็นธรรมเอก ถัดจากนั้นก็ต้องหัด "รู้" ทุกสิ่งที่กำลังปรากฏ ด้วยความ "รู้ตัว" ก็จะเห็นว่าทุกอย่างที่ถูกรู้ล้วนแต่เกิดขึ้นแล้วดับไป และถ้าเมื่อใดจิตขาดความรู้ตัว หลงเข้ายึดถือสิ่งที่ถูกรู้ ความทุกข์ก็เกิดขึ้น ถ้ารู้ โดยรู้ตัวอยู่ ก็เป็น รู้สักว่ารู้ จิตจะเป็นเพียง "ผู้สังเกตการณ์" ปรากฏการณ์ทั้งปวง โดยไม่โดดเข้าไปร่วมแสดงเอง ที่คุณสุรวัฒน์เล่าถึงการปฏิบัติว่า "ผมก็เลยต้องคอยทำตัวให้ รู้ เข้าไว้ อาบน้ำก็ฝึกรู้ ดูโทรทัศน์ก็ฝึกรู้ กินข้าวก็ฝึกรู้ ...นึกขึ้นได้ตอนไหนก็ฝึกรู้ วันๆก็ฝึกรู้ไปเรื่อยๆ" หัดต่อไปอย่างที่หัดนี่แหละครับ ยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ขับถ่าย ทำ พูด คิด ฯลฯ รู้อยู่ให้ตลอด ให้ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ โดยมีผู้รู้ กับสิ่งที่ถูกรู้ ซึ่งถึงจุดนี้ จะเห็นมันแยกกันเองได้แล้วครับ ไม่ต้องไปพยายามทำอะไรเพื่อให้มันแยกกันมากกว่านี้จนผิดธรรมชาติ จะกลายเป็นปฏิบัติด้วยความจงใจและความอยากมากไปครับ 30 มิ.ย. 2543 ปัจจัยแห่งความเจริญงอกงามในธรรม (1) ให้พยายามมีสติสัมปชัญญะ รู้ อยู่ในชีวิตประจำวันให้ได้ จะยืน เดิน นั่ง นอน กิน ดื่ม ทำ พูด คิด ฯลฯ ก็ให้มีสติรู้กายรู้ใจอยู่เสมอ (2) ให้ปฏิบัติธรรมไปอย่างซื่อๆ ตรงๆ อย่าเอาแต่วุ่นวายกับการคิด การหาอุบายทางลัด และนิมิตต่างๆ เพราะนั่นล้วนเป็นทางแห่งความเนิ่นช้า (3) อย่าเอาแต่รวมกลุ่มสัญจรไปตามสำนักโน้นสำนักนี้ เที่ยวสนุกกับการไปฟังธรรมที่โน้นที่นี้ ละเลยการฟังธรรมในจิตใจตนเอง (4) มีผลการปฏิบัติใดๆ เกิดขึ้นในระหว่างทาง ก็อย่าเอาแต่ไปเขียนเล่าในกระทู้ให้กิเลสกระเพื่อม จนปฏิบัติต่อไปไม่ได้อีก (5) ขอให้ตั้งใจจริงจังเพื่อเอาตัวให้รอด ลองเอาจริงสัก ปี สองปีก็ยังดี โดยยอมเสียสละเรื่องรกรุงรังในจิตใจเสียสักช่วงหนึ่ง แล้วตั้งใจปฏิบัติให้สม่ำเสมอ 9 พ.ย. 2543 วันวานที่ผ่านมา วิปัสสนาที่แท้จริงนั้น มีแต่รู้ ไม่ต้องจงใจเติมสิ่งใดลงไปในรู้ ไม่ว่าจะเป็นศีล สมาธิ หรือปัญญา ไม่ต้องเอาสมมุติบัญญัติ หรือความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ มาช่วยทำวิปัสสนา ไม่ต้องคิด ไม่ต้องพิจารณาโดยสิ้นเชิง เพราะความจงใจเคลื่อนไหวใดๆ จะทำให้จิตก่อภพก่อชาติ ก่อวัฏฏะหมุนวนขึ้นมาอีก ผมไม่แนะนำให้พยายามทรงความรู้ตัวให้นานๆ เพราะความพยายามนั้นเอง จะทำให้เกิดการ จงใจ เสแสร้ง ดัดจริต รู้ นักปฏิบัตินั้น อย่าไปนึกถึงเรื่องที่จะให้จิตรู้ตัวต่อเนื่อง ได้เป็นชั่วโมง เป็นวัน เป็นเดือน เลยครับ เพราะการปฏิบัติ เราจะดูกันเป็นขณะๆ ไปเท่านั้นเอง ว่าขณะนี้รู้ตัวหรือเผลอ ขณะนี้มีสติ หรือขาดสติ ขณะใดมีสติ ขณะนั้นกำลังปฏิบัติอยู่ ขณะใดขาดสติ ขณะนั้นไม่ได้ปฏิบัติ หรือปฏิบัติผิด ไม่ใช่พูดว่า ชั่วโมงนี้รู้ตัว หรือวันนี้รู้ตัว ชั่วโมงต่อมา หรือวันต่อมา ไม่รู้ตัว ดังนั้นเมื่อเผลอไป แล้วเกิดรู้ตัวว่าเผลอ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อเพ่ง แล้วเกิดรู้ตัวว่าเพ่ง ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีราคะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีราคะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อโทสะ แล้วเกิดรู้ตัวว่ามีโทสะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว เมื่อมีโมหะ แล้วเกิดรู้ตัวว่าโมหะ ขณะนั้น จิต รู้ ถูกต้องแล้ว 18 ธ.ค. 2543

วิธีการเข้าถึงพระนิพพานพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ http://www.watthasung.com/wat/viewthread.php?tid=1162 http://www.tangnipparn.com/Frameset-1.html http://buddhasattha.com/2010/07/08/ http://nkgen.com/486.htm,วิธีพาตัวเราออกจากสังสารวัฎ วิธีเจริญ กายคตาสติภาวนา http://www.nkgen.com/37.htm

หลวงพ่อพระราชพรหมยานเถระพระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ http://nkgen.com/486.htm,วิธีพาตัวเราออกจากสังสารวัฎ วิธีเจริญ กายคตาสติภาวนา

ประวัติพระราชพรหมยาน จากช่อง9พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ http://nkgen.com/486.htm,วิธีพาตัวเราออกจากสังสารวัฎ วิธีเจริญ กายคตาสติภาวนา

พระราชพรหมยานเถระวัดท่าซุง (วีระ ถาวโร)พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร)พระราชพรหมยาน (วีระ ถาวโร) หรือที่รู้จักกันโดยทั่วไปว่า หลวงพ่อฤๅษีลิงดำ เป็นพระภิกษุในพุทธศาสนานิกายเถรวาทฝ่ายมหานิกาย เจ้าอาวาสวัดท่าซุง (วัดจันทาราม) จังหวัดอุทัยธานี มีชื่อเสียงในด้านการบำเพ็ญวิปัสสนากรรมฐานจนได้วิชามโนยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) หลังการมรณภาพ สังขารร่างกายของท่านมิได้เน่าเปื่อยอย่างศพของคนทั่วไป และได้มีการเก็บรักษาไว้ที่วัดท่าซุงจนถึงปัจจุบันนี้ http://nkgen.com/486.htm,วิธีพาตัวเราออกจากสังสารวัฎ วิธีเจริญ กายคตาสติภาวนา

2533 02 09เทศน์วันมาฆบูชาประวัติสมเด็จฯโต x264

โลกที่มองไม่เห็น ตอน 2 HD 1080pโลกที่มองไม่เห็น ตอน 2

โลกที่มองไม่เห็น ตอน 1

2533 09 09พุทธานุสสติตอนที่1เทศน์โปรดเทวดา x264

ตำแหน่งของเราใน กาแล็กซี่ ทางช้างเผือก HD

ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุข นาฬิกาชีวิตกับร่างกายมนุษย์ กฎเกณฑ์ธรรมชาติเกิดได้อย่างไร เชื่อว่าเกิดจาก 2 ปัจจัยคือ ปัจจัยภายในของสิ่งมีชีวิตเอง ซึ่งคงความเป็น กฎเกณฑ์เฉพาะตัว เมื่อได้รับปัจจัยภายนอกจากสิ่งแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ร่างกายมีการปรับสภาพภายใน จนสามารถ ส่งทอดลักษณะ การทำงานนั้นไปยังลูกหลาน เป็นการถ่ายทอดพันธุกรรม Mills นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ตัวกำหนดนาฬิกาหลัก น่าจะอยู่ที่ระบบประสาทส่วนกลางคือ สมอง ซึ่งควบคุมนาฬิกาย่อยๆ ในระบบต่างๆ ของร่างกาย ศูนย์ควบคุมนี้อยู่ที่ส่วนไหนของสมอง จากการสังเกตพบว่า บริเวณ Supraoptic nucleus ถูกทำลายจะส่งผลกระทบต่อกฎเกณฑ์ การหลั่งฮอร์โมนของต่อมไพเนียล และต่อมหมวกไต พฤติกรรมการดื่มน้ำ การเคลื่อนไหว ถูกแปลงไปหมด แสดงว่า Supraoptic nuckeus น่าเป็นจุดศูนย์กลางควบคุมนาฬิกาชีวิต ของร่างกาย ต่อมไพเนียลมีส่วนประกอบของ 5 HT ปริมาณมาก ซึ่งเป็นสารที่สามารถเปลี่ยนเป็น ฮอร์โมนเมลาโทนิน เมื่อมีแสงมากระตุ้น ประสาท การรับแสงบริเวณจอตา จะมีการส่งกระแสประสาทผ่านไปยัง Supraoptic nuckeus จะมีการยับยั้งการทำงาน ของต่อมไพเนียล ทำให้การหลั่งเมลาไทนินน้อยลง ในทางกลับกันเมื่อไม่มีแสงหรือในท่ามกลางความมืด ระบบประสาทซิมพาเธติกจะถูกกระตุ้น มีการหลั่งสารนอร์อะดรีนาลิน เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมไพเนียล ทำให้มีการสร้างเมลาโทนินมากขึ้น แสงสว่าง ความมืด มีผลต่อ 5 HT และฮอร์โมนเมลาโทนิน มีผลกระทบต่อกฎเกณฑ์การนอนหลับของคน โดยเฉพาะคนที่ทำงานผลัดกลางคืน พนักงานสายการบิน จึงมีการนำเอาเมลาโทนินมาใช้ปรับการนอนหลับ โดยนำมาทดแทนปริมาณการผลิตเมลาโทนินที่ลดลงของต่อมไพเนียล จึงมีคนนิยมใช้มีลาโทนิน เป็นยาปรับสภาพสมดุลเนื่องจากการทำงาน การผิดเวลานอน หรืออดนอนหลายคืน มีความพยายามจะค้นหาตำแหน่งของการกำหนดนาฬิกาชีวิตในแต่ละอวัยวะ เช่น ต่อมใต้สมอง ต่อมไทรอยด์ ต่อมหมวกไต โดยการคัดเอาสมองส่วนเปลือก สมองส่วนหลัง รอยหยักของสมอง แล้วไปสำรวจกฎเกณฑ์การทำงานของต่อมต่างๆ ก็ไม่สามารถพบกฎเกณฑ์นาฬิกาชีวิตได้ การวิจัยนาฬิกาชีวิต ตัวอย่างการวิจัยเกี่ยวกับนาฬิกาชีวิตระบบต่างๆ ของร่างกาย 1. การแบ่งเซลล์ของร่างกายมนุษย์ มีการแบ่งตัวประมาณ 50 ครั้ง ในชั่วอายุขัย 2. ปริมาณเม็ดเลือดขาว ที-ลิมโฟไซต์ และเม็ดเลือดขาวติดสีกรด จะสูงสุดช่วง 00.00-04.00 น. และต่ำสุด 12.00-16.00 น. 3. ความดันเลือด ระยะคลายตัวของหัวใจ เวลา 09.00 น. ประมาณ 72-80 มม.ปรอท เวลา 14.00 น. ประมาณ 84-90 มม.ปรอท การเต้นของหัวใจแรงสุดประมาณ 08.00 น. การเต้นของหัวใจต่ำสุดประมาณ 20.00 น. 4. ระบบการหายใจ การเปลี่ยนแปลงขนาดของปอด หรือการพยายตัวของปอดจะสูงช่วง 06.00-07.00 น. และ 18.00-21.00 น. ผู้ป่วยที่มีอาการอาเจียนเป็นเลือดมักเกิดอาการสูงสุดในช่วงเวลานี้ 5. ระบบการย่อยอาหารและดูดซึม การขับน้ำย่อยของตับอ่อนจะต่ำสุดในฤดูร้อน ทำให้ฤดูร้อนเบื่ออาหาร กินอาหารไม่ได้มาก ปริมาณของน้ำย่อยของตับอ่อนช่วงเวลากลางคืนลดลง เมื่อเทียบกับกลางวัน การทดลองของ F.Halbens ในอาสาสมัคร 7 คน โดยให้อาหารประเภทเดียวกันปริมาณ 2,000 แคลอรี กลุ่มแรกให้กินตอนเช้า อีกกลุ่มให้กินตอนกลางคืน ผลปรากฏว่ากลุ่มที่กินตอนกลางคืนมีน้ำหนักเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน 6. อุณหภูมิของร่างกาย อุณหภูมิของร่างกายต่ำสุดอยู่ในช่วง 00.00-06.00 น. อุณหภูมิของร่างกายสูงสุดในช่วง 17.00-18.00 น. และทุก 2-3 ชั่วโมง จะมีการปรับของอุณหภูมิครั้งหนึ่ง 7. ระดับกลูโคสในเลือด ระดับกลูโคสในเลือดของหนูทดลองสูงสุดเวลาประมาณ 08.30 น. ต่ำสุดช่วงเวลา 20.30 น. แม้ในภาวะที่หิวจัด ระดับกลูโคสก็จะดำรงอยู่เช่นนี้ ไม่เปลี่ยนแปลงในร่างกายมนุษย์ ระดับน้ำตาลเริ่มลดลงตั้งแต่พลบค่ำ (18.00 น.) และค่อยๆ ลดลงต่ำสุดระหว่างเวลา 03.00 – 06.00 น. กฎเกณฑ์นี้นำมาประยุกต์กับการรักษาเบาหวาน ซึ่งมักจะต้องใช้ยาช่วงเวลากลางวัน ที่มีแนวโน้มน้ำตาลกลูโคสในเลือดสูง ถ้าผู้ป่วยกินยาลดน้ำตาลในเลือดเกินขนาด หรือมากเกินช่วงกลางคืน อาจเกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำและมีอาการช็อกได้ 8. ระบบการขับถ่าย ไตมีหน้าที่ขับถ่ายของเสียจากกระบวนการเมตาบอลิซึมของร่างกายได้สูงสุดระหว่างช่วงเช้าถึงเที่ยงวัน การขับ K+(potassium) ของทารกในครรภ์เริ่มตั้งแต่ สัปดาห์ที่ 4-20 และขึ้นกับปัจจัยหลายประการ เช่น การนอนหลับ การเคลื่อนไหว รวมถึงการทำงานของต่อมหมวกไต คนปกติที่นอน 23.00 น. ตื่นนอน 07.00 น. การขับของเสียสูงสุดในช่วงกลางวัน 10.30-16.30 น. และต่ำสุดช่วงกลางคืน (เวลานอนหลับ) 9. ระบบฮอร์โมน ระดับฮอร์โมนเทสโตสเตอรอน ในเลือดสูงสุดเวลา 08.00-09.00 น. และต่ำสุดในช่วงกลางคืน ระดับฮอร์โมนที่กระตุ้นต่อมหมวกไต ต่ำสุดช่วง 04.00-18.00 น. ระดับฮอร์โมน ACTH ตรงกันข้ามจะสูงตอนเช้า (08.00-09.00 น.) ระดับฮอร์โมนกลูโคคอร์ติคอยด์ เริ่มต้นสูงตั้งแต่ 04.00 น. และสูงสุดในช่วง 06.00-08.00 น. ต่ำสุดระหว่าง 22.00-01.00 น. ช่วงเวลาตั้งแต่เที่ยงคืนถึง 09.00 น. มีปริมาณการหลั่งถึงร้อยละ 70 ของปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดของรอบ 24 ชั่วโมง ระดับฮอร์โมนที่มากระตุ้นการทำงานของต่อมไทรอยด์ จะสูงสุดช่วงหัวค่ำถึงเที่ยงคืน คนที่ทำงานเวรผลัดดึกหลายๆ วัน ต้องใช้เวลาการปรับสภาพการทำงานของต่อมไพเนียลนานเป็นสัปดาห์ จึงจะเข้ากฎเกณฑ์ปกติ (melatonin จะต้องหลั่งมากกลางคืน-ตอนมืด) ฮอร์โมนการเจริญเติบโต จะหลั่งสูงสุด ภายหลังการนอนหลับลึกยามค่ำคืน ฮอร์โมนโพรแล็กทิน เริ่มจะสูงขึ้นในช่วง 60-90 นาที หลังนอนหลับกลางคืน และค่อยๆ สูงสุดเวลาหัวรุ่ง 05.00-07.00 น. และลดลงอย่างรวดเร็ว จนถึง 10.00 น. สู่ระดับต่ำสุด 10. ระบบสืบพันธุ์ รอบประจำเดือนกับข้างขึ้น-ข้างแรม มีความสัมพันธ์กับผลการสำรวจสถิติของการมีประจำเดือนพบว่า รอบประจำเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 29.5 วัน ซึ่งใกล้เคียงกับรอบของการเกิดข้างขึ้น-พระจันทร์เต็มดวงจนกระทั่งข้างขึ้นใหม่ ช่วงเวลาตกไข่ของสตรีมักอยู่ช่วงพระจันทร์เต็มดวง และโอกาสของการตั้งครรภ์มักอยู่ในช่วงก่อนและหลังพระจันทร์เต็มดวง อัตราการกำเนิดทารกสูงสุด จะเป็นช่วงพระจันทร์เต็มดวง ต่ำสุดช่วงเดือนมืดและช่วงกำลังจะเกิดข้างขึ้น และช่วงเวลาที่คลอด มักจะเป็นหลังเที่ยงคืน อัตราการเกิดในช่วงกลางวันมีประมาณ ร้อยละ 60 Halbens สำรวจตัวอย่างประชากรที่คลอดประมาณ 20 ล้านคนพบว่าการเจ็บครรภ์ใกล้คลอด ถุงน้ำคร่ำแตก การเกิดทารกมักอยู่ระหว่างเวลา 00.00-06.00 น. วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป สภาพธรรมชาติรอบตัวที่เปลี่ยนไป ส่งผลกระทบต่อการปรับสมดุล ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับธรรมชาติ การฝืนกฎเกณฑ์แห่งธรรมชาติ ทำให้สิ่งมีชีวิตปรับตัวไม่ทัน เกิดการเสียสมดุลอย่างต่อเนื่องยาวนาน พลังชีวิตของร่างกายแปรปรวน เกิดอาการและโรคต่างๆ ตามมามากมาย "มนุษย์กับธรรมชาติเป็นหนึ่งเดียว" คงเป็นสัจธรรมที่ต้องเรียนรู้และนำมาปฏิบัติในการดำเนินชีวิต เพื่อให้จังหวะของการทำงานของเรา สอดคล้องกับกฎเกณฑ์ธรรมชาติที่กำหนดโดยนาฬิกาชีวิต

ธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความเบาใจภิกษุทั้งหลาย อายตนะนั้นมีอยู่ ที่ดิน น้ำ ไฟ ลม ไม่มีเลย อากาสานัญจายตนะ วิญญาณัญจายตนะ อากิญจัญญายตนะ เนวสัญญานาสัญญายตนะ ก็มิใช่ โลกนี้ก็มิใช่ โลกอื่นก็มิใช่ ดวงจันทร์ดวงอาทิตย์ทั้งสองก็มิใช่ อนึ่ง ภิกษุทั้งหลาย เราไม่กล่าวเลยซึ่งอายตนะนั้นว่าเป็นการมา เป็นการไป เป็นการยืน เป็นการจุติ เป็นการเกิด อายตนะนั้นหาที่ตั้งอาศัยมิได้ มิได้เป็นไป หาอารมณ์มิได้นั่นแลที่สุดแห่งทุกข์ .....

เสียง หลวงพ่อฤาษีลิงดำ ฌาณ ๑-๔

พระโสดาบัน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ 1

วันพฤหัสบดีที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558

การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

การเจริญกรรมฐาน ทางสู่พระนิพพาน หลวงพ่อฤาษีลิงดำ

MC3PHAC частотный преобразователь и мотор на 3 кВтเครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ...ใช้ ไอซี เบอร์ MC3PHAC เป็น แผงวงจรที่ประกอบและทดสอบพร้อมทั้งโปรแกรมแล้วตามมาตรฐานการควบคุมความเร็วรอบ ..อินดัตชั่นมอเตอร์สามเฟส..โดยใช้ไฟฟ้าเฟสเดียว..หรือจากโซล่าเซลล์

อินเวอร์เตอร์กับการประหยัดและลดค่าใช้จ่ายโดยใช้มอเตอร์สามเฟสครับเครื่องควบคุมความเร็วมอเตอร์สามเฟสแบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter) ...ใช้ ไอซี เบอร์ MC3PHAC เป็น แผงวงจรที่ประกอบและทดสอบพร้อมทั้งโปรแกรมแล้วตามมาตรฐานการควบคุมความเร็วรอบ ..อินดัตชั่นมอเตอร์สามเฟส..โดยใช้ไฟฟ้าเฟสเดียว..หรือจากโซล่าเซลล์

ไขความลับจักรวาล - อะไรสร้างเรามา

สุดยอดสารคดี ไขจักรวาล ตอน ผู้สร้างจักรวาลนั้นมีจริงไหม HD

เรื่องแปลกในจักรวาล

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาจิตของเราจะไหลต­ลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดาจิตของเราจะไหลต­ลอดเวลา เรียนมาช่วงหนึ่งแล้วรู้สึกมั้ย จิตไหลตลอดเวลา เดี๋ยวไหลไปดู ใช่มั้ย ลืมตัวเอง ไหลไปฟังลืมตัวเอง ไหลไปคิดลืมตัวเอง เวลาภาวนาก็ไหลไปเพ่ง ไหลไปอยู่กับลมหายใจ ไหลไปอยู่กับท้องพองยุบ ไหลไปอยู่ที่เท้า อันนี้เป็นเรื่องของสมถะทั้งสิ้­นเลย จิตมันไหลไป มันไม่ตั้งมั่น ไม่ตั้งมั่นสักว่ารู้สักว่าเห็น แต่จิตมันไหลไปแช่อยู่ในตัวอารม­ณ์ เป็นการเพ่งตัวอารมณ์ อันนั้นเป็นมิจฉาสมาธิ

ธรรมที่พอเหมาะกับคนธรรมดา Sompong Tungmepol แชร์ใน Google+ แล้ว · 9 เดือนที่ผ่านมา เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ

การประพฤติชอบทางกายวาจาใจ Sompong Tungmepol แชร์ใน Google+ แล้ว · 9 เดือนที่ผ่านมา เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ

การประพฤติชอบทางกายวาจาใจ Sompong Tungmepol แชร์ใน Google+ แล้ว · 9 เดือนที่ผ่านมา เธออย่าได้กล่าวคำหยาบต่อใคร ๆ คนที่ถูกเธอว่ากล่าวจะกล่าวโต้ต­­อบเธอ เพราะว่าถ้อยคำที่โต้เถียงกัน ก่อให้เกิดทุกข์ และการทำร้ายโต้ตอบกันจะมาถึงเธ­­อ ถ้าเธอทำตนให้นิ่งเงียบได้ เหมือนกังสดาลที่ตัดขอบปากออกแล­­้ว เธอก็จะบรรลุนิพพานได้ การโต้เถียงกันก็จะไม่มีแก่เธอ

地上の星 / 中島みゆき [公式]ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย; คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข ..

地上の星 / 中島みゆき [公式]ความไม่ประมาท เป็นทางแห่งความไม่ตายในกาลยังควรไม่ตาย; คนไม่เกียจคร้าน ย่อมพบแต่ความสุข ..

การสร้างเครื่องสูบน้ำเข้านาด้วยมอเตอร์สามเฟสใช้ไฟฟ้าจากโซล่าเซลล์จำหน่าย ออกแบบ ซ่อม สร้าง อินเวอร์เตอร์ เครื่องควบคุมมอเตอร์ อินดัตชั่น สามเฟส

วันพุธที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558

ความเป็นจริงของร่างกายและจิตใจการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

คำสอนของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์ทั้งหลายการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ผู้สละโลก ปลดแอกการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ผู้สละโลก ธรรมอันพ้นจากโลกการปฎิบัติไม่มีอะไรยาก ง่ายสุด สุด เลย ร่างกายเป็นอย่างไร รู้ว่าเป็น อย่างนั้น จิตใจ รู้ว่าเป็นอย่างนั้น ไม่ใช่ไปดัดแปลงกาย ดัดแปลงใจ..จริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิตจริงๆนะ จะรู้เลยว่าตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ฟังอยู่กลางตลาดเลย ท่านได้เป็นพระอรหันต์

ศาสตร์ที่ว่าด้วยความพ้นทุกข์ที่ไม่มีอะไรเสมอเหมือนข้างต้นก็ล้างความเห็นผิดว่ามีตัวมีตน ขั้นปลายก็ล้างความหลงผิดว่าขันธ์ ๕ กายใจนี้เป็นของดีของวิเศษ ที่แท้ไม่ใช่ของดีของวิเศษแต่เป็นตัวทุกข์หรอก..

สุดยอดสารคดี ไขจักรวาล ตอน ปริศนาจากความมืด HD

2535 02 02 คำสอนสายลม x264ชัดมากๆกราบ..หลวงพ่อ..ครับ

地上の星 / 中島みゆき [公式]ความพยายามของมนุษย์เทวดายังยอมแพ้....

วันอังคารที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2558

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายประเภทของพระโพธิสัตว์[แก้] พระธัมมปาละ ระบุไว้ในอรรถกถาว่าพระโพธิสัตว์มี 3 ประเภท คือ[2] 1. ปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 2. สัทธาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 3. วิริยาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพบว่า ยิ่งใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีนานเท่าใด พระโพธิสัตว์จะมีพระชนมายุยืนขึ้นในสมัยที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า รวมทั้งสัตว์ที่เกิดในยุคนั้นจะมีอายุยืน และบรรลุธรรมได้ง่ายและมีจำนวนมาก แต่ไม่ประกันว่าศาสนาของพระองค์จะยืนยาวหลายชั่วอายุขัย เช่น พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาธิกโพธิสัตว์ มีพระชนมายุเพียง 80 พรรษา พระวรกายสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร บำเพ็ญทุกรกิริยา 6 ปี พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 100 ปี ขณะที่ทรงพยากรณ์ถึงภิกษุอชิตเถระว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามพระศรีอริยเมตไตรย[3] ทรงสร้างบารมีมาทาง"วิริยาธิกะพุทธเจ้า" ไม่ได้ทรงพยากรณ์พระชนมายุแต่เทียบกับอายุมนุษย์ในยุคแล้วน่าจะมีพระชมมายุหลักหมื่นปีเป็นอย่างน้อย มีพระวรกายสูงได้ 88 ศอก หรือ 44 เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 80,000 ปี ส่วนเหตุที่ทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่ได้นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความท้อพระทัยของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ และพระวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ [4] ส่วนพระพุทธโฆสะแบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภทคือ[2] 1. อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้ 2. นิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ อสงไขย และ กัป จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้ กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อจักรวาลปรากฏขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ เช่น เดียวกับ คำว่า สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน (แต่บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่า มากจนนับไม่ถ้วน) 1 อสงไขย (ในแง่ของตัวบ่งปริมาณ)มีค่า เท่ากับ โกฏิยกกำลังยี่สิบ หรือ เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 (เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว) (บางคนสับสน เข้าใจว่า 1 อสงไขย คือ จำนวนกัปที่มี เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ อสงไขยไม่ใช่กัป แต่อสงไขยเป็นตัวบ่งปริมาณ สามารถใช้กับอะไรก็ได้ เช่น อสงไขยปี หรือ อสงไขยชาติ หรือ อสงไขยกัป เป็นต้น) สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น บารมี 30 ทัศ[แก้] บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ[1] 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล 8 ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้ 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิยตโพธิสัตว์ พระนิยตโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด ไม่เป็นคนบ้า ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจัณฑาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจัณฑาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี) นางทาสีคือ ทาสที่เป็นผู้หญิง ที่เกิดมาก็ตกเป็นทาสทันที (ทาสในเรือนเบี้ย) ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ไม่เป็นสตรีเพศ (ยกเว้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในร่างเจ้าแม่กวนอิม พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ และพระนางตารา) ไม่ทำอนันตริยกรรม ไม่เป็นโรคเรื้อน เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก เมื่อเกิดเป็นเทวดาในกามาพจรสวรรค์ ก็ไม่เกิดเป็นเทวดาผู้นับเข้าในเทวดาจำพวกเป็นมาร เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว) ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์[แก้] ธรรมสโมธาน 8 ประการ[แก้] สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่เป็น อนิยตโพธิสัตว์ แต่สร้างบารมี 30 ทัศ และมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกเฉพาะพระพักตร์พุทธเจ้า โดยจะได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น และก็จะกลายเป็น นิยตโพธิสัตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกะเทย มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน (ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที) ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อหน้าพระพักตร์ ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤๅษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ อโลภ พอใจในการบริจาคทาน อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง จริยธรรม 10 ประการ[แก้] จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย[1] พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์[แก้] คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ [1] มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น มหาปณิธาน 4[แก้] มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย [1] เราจะละกิเลสให้หมด เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ประเภทของพระโพธิสัตว์[แก้] พระธัมมปาละ ระบุไว้ในอรรถกถาว่าพระโพธิสัตว์มี 3 ประเภท คือ[2] 1. ปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 2. สัทธาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 3. วิริยาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพบว่า ยิ่งใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีนานเท่าใด พระโพธิสัตว์จะมีพระชนมายุยืนขึ้นในสมัยที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า รวมทั้งสัตว์ที่เกิดในยุคนั้นจะมีอายุยืน และบรรลุธรรมได้ง่ายและมีจำนวนมาก แต่ไม่ประกันว่าศาสนาของพระองค์จะยืนยาวหลายชั่วอายุขัย เช่น พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาธิกโพธิสัตว์ มีพระชนมายุเพียง 80 พรรษา พระวรกายสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร บำเพ็ญทุกรกิริยา 6 ปี พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 100 ปี ขณะที่ทรงพยากรณ์ถึงภิกษุอชิตเถระว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามพระศรีอริยเมตไตรย[3] ทรงสร้างบารมีมาทาง"วิริยาธิกะพุทธเจ้า" ไม่ได้ทรงพยากรณ์พระชนมายุแต่เทียบกับอายุมนุษย์ในยุคแล้วน่าจะมีพระชมมายุหลักหมื่นปีเป็นอย่างน้อย มีพระวรกายสูงได้ 88 ศอก หรือ 44 เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 80,000 ปี ส่วนเหตุที่ทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่ได้นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความท้อพระทัยของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ และพระวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ [4] ส่วนพระพุทธโฆสะแบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภทคือ[2] 1. อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้ 2. นิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ อสงไขย และ กัป จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้ กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อจักรวาลปรากฏขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ เช่น เดียวกับ คำว่า สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน (แต่บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่า มากจนนับไม่ถ้วน) 1 อสงไขย (ในแง่ของตัวบ่งปริมาณ)มีค่า เท่ากับ โกฏิยกกำลังยี่สิบ หรือ เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 (เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว) (บางคนสับสน เข้าใจว่า 1 อสงไขย คือ จำนวนกัปที่มี เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ อสงไขยไม่ใช่กัป แต่อสงไขยเป็นตัวบ่งปริมาณ สามารถใช้กับอะไรก็ได้ เช่น อสงไขยปี หรือ อสงไขยชาติ หรือ อสงไขยกัป เป็นต้น) สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น บารมี 30 ทัศ[แก้] บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ[1] 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล 8 ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้ 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิยตโพธิสัตว์ พระนิยตโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด ไม่เป็นคนบ้า ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจัณฑาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจัณฑาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี) นางทาสีคือ ทาสที่เป็นผู้หญิง ที่เกิดมาก็ตกเป็นทาสทันที (ทาสในเรือนเบี้ย) ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ไม่เป็นสตรีเพศ (ยกเว้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในร่างเจ้าแม่กวนอิม พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ และพระนางตารา) ไม่ทำอนันตริยกรรม ไม่เป็นโรคเรื้อน เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก เมื่อเกิดเป็นเทวดาในกามาพจรสวรรค์ ก็ไม่เกิดเป็นเทวดาผู้นับเข้าในเทวดาจำพวกเป็นมาร เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว) ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์[แก้] ธรรมสโมธาน 8 ประการ[แก้] สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่เป็น อนิยตโพธิสัตว์ แต่สร้างบารมี 30 ทัศ และมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกเฉพาะพระพักตร์พุทธเจ้า โดยจะได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น และก็จะกลายเป็น นิยตโพธิสัตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกะเทย มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน (ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที) ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อหน้าพระพักตร์ ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤๅษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ อโลภ พอใจในการบริจาคทาน อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง จริยธรรม 10 ประการ[แก้] จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย[1] พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์[แก้] คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ [1] มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น มหาปณิธาน 4[แก้] มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย [1] เราจะละกิเลสให้หมด เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์ประเภทของพระโพธิสัตว์[แก้] พระธัมมปาละ ระบุไว้ในอรรถกถาว่าพระโพธิสัตว์มี 3 ประเภท คือ[2] 1. ปัญญาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ปัญญาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 20 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 7 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 9 อสงไขย รวมเป็น 16 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 4 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้าจนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 2. สัทธาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้ศรัทธาเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 40 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 14 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 18 อสงไขย รวมเป็น 32 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 8 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน 3. วิริยาธิกโพธิสัตว์ คือพระโพธิสัตว์ที่สร้างบารมีโดยใช้วิริยะเป็นตัวนำ ระยะเวลาการสร้างบารมีทั้งหมด 80 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป คือตั้งความปรารถนาอยู่ในใจเป็นเวลา 28 อสงไขย หลังจากนั้นจึงออกปากกล่าววาจาต่อหน้าพระพักตร์พระพุทธเจ้าเป็นเวลา 36 อสงไขย รวมเป็น 64 อสงไขย และได้รับพุทธพยากรณ์ครั้งแรกเป็น พระนิยตโพธิสัตว์ เมื่อเหลือเวลาอีก 16 อสงไขยกับเศษแสนมหากัป เป็นการสร้างบารมีอย่างยิ่งและเข็มงวดขึ้นเรื่อย และได้รับพยากรณ์ซ้ำมาตลอดเมื่อได้พบกับพระพุทธเจ้า จนถึงสมัยพุทธภูมิของท่าน ตามหลักฐานที่ปรากฏในพระไตรปิฎกพบว่า ยิ่งใช้เวลาในการบำเพ็ญบารมีนานเท่าใด พระโพธิสัตว์จะมีพระชนมายุยืนขึ้นในสมัยที่ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า รวมทั้งสัตว์ที่เกิดในยุคนั้นจะมีอายุยืน และบรรลุธรรมได้ง่ายและมีจำนวนมาก แต่ไม่ประกันว่าศาสนาของพระองค์จะยืนยาวหลายชั่วอายุขัย เช่น พระพุทธเจ้าองค์ปัจจุบันนี้ มีพระนามว่า พระโคตมพุทธเจ้า พระองค์ทรงสร้างบารมีมาทาง ปัญญาธิกโพธิสัตว์ มีพระชนมายุเพียง 80 พรรษา พระวรกายสูง 4 ศอก หรือ 2 เมตร บำเพ็ญทุกรกิริยา 6 ปี พุทธรังสีสร้านไปข้างละ 1 วา เป็นปกติ มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 100 ปี ขณะที่ทรงพยากรณ์ถึงภิกษุอชิตเถระว่าจะได้ตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าพระนามพระศรีอริยเมตไตรย[3] ทรงสร้างบารมีมาทาง"วิริยาธิกะพุทธเจ้า" ไม่ได้ทรงพยากรณ์พระชนมายุแต่เทียบกับอายุมนุษย์ในยุคแล้วน่าจะมีพระชมมายุหลักหมื่นปีเป็นอย่างน้อย มีพระวรกายสูงได้ 88 ศอก หรือ 44 เมตร บำเพ็ญทุกกิริยาชาติสุดท้าย 7 วัน พระพุทธรัศมีของพระองค์แผ่ซ่านตลอดไปเบื้องบนจนถึงพรหมโลก เบื้องต่ำตลอดลงไปจนถึงมหาอเวจีนรก มนุษย์ยุคพุทธกาลมีอายุขัย 80,000 ปี ส่วนเหตุที่ทำให้พระสัจธรรมตั้งอยู่ได้นานหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับความท้อพระทัยของพระพุทธเจ้าในการเผยแผ่ธรรมะ และพระวินัยที่ได้ทรงบัญญัติไว้ [4] ส่วนพระพุทธโฆสะแบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภทคือ[2] 1. อนิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาเลย เรียกว่า อนิยตโพธิสัตว์ ความหมายคือยังไม่แน่นอนว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอาจจะเลิกล้มความปรารถนาเมื่อไรก็ได้ 2. นิยตโพธิสัตว์ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว เรียกว่า นิยตโพธิสัตว์ ตามความหมายคือจะได้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นนอน เพราะถ้าถึงนิพพานต้องดำรงค์ฐานะเป็นพระพุทธเจ้าอย่างเดียว แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ แม้ว่าจะพยายามปฏิบัติอย่างยิ่งยวดบังเกิดปัญญาอย่างเยี่ยมยอด ก็ไม่สามารถถึงนิพพานก่อนได้ แม้จะทุกข์ท้อแท้ จนคิดว่าเลิกที่จะเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว แต่แล้วในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์ อสงไขย และ กัป จากบทความข้างบน ผู้อ่านคงได้อ่านคำว่า อสงไขย และ กัป มาแล้ว ผู้เขียนจะอธิบายสั้นๆ ให้ทราบดังนี้ กัป เป็นหน่วยวัดเวลา ในเชิงประมาณ คือ เมื่อจักรวาลปรากฏขึ้นหรือบังเกิดขึ้น จนพังสูญหายไป 1 ครั้งเรียกว่า 1 กัป อสงไขย เป็นตัวบ่งปริมาณ เช่น เดียวกับ คำว่า สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน (แต่บางครั้งก็ใช้ในความหมายว่า มากจนนับไม่ถ้วน) 1 อสงไขย (ในแง่ของตัวบ่งปริมาณ)มีค่า เท่ากับ โกฏิยกกำลังยี่สิบ หรือ เท่ากับ 10 ยกกำลัง 140 (เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว) (บางคนสับสน เข้าใจว่า 1 อสงไขย คือ จำนวนกัปที่มี เลข 1 ตามด้วย เลข 0 ถึง 140 ตัว อันนี้เป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะ อสงไขยไม่ใช่กัป แต่อสงไขยเป็นตัวบ่งปริมาณ สามารถใช้กับอะไรก็ได้ เช่น อสงไขยปี หรือ อสงไขยชาติ หรือ อสงไขยกัป เป็นต้น) สูญกัป หมายถึงกัปที่ไม่มีพระพุทธเจ้าบังเกิดขึ้น บารมี 30 ทัศ[แก้] บารมี หมายถึง การกระทำที่ประเสริฐ การกระทำที่ประกอบด้วยกุศลเจตนาคุณงามความดีที่ควรกระทำ คุณงามความดีที่ได้บำเพ็ญมา คุณสมบัติที่ทำให้ยิ่งใหญ่ เป็นธรรมส่วนหนึ่งที่สำคัญ ซึ่งช่วย เหลือเกื้อกูลให้ผู้ปฏิบัติได้ถึงซึ่งโพธิญาณ บารมีที่พระโพธิสัตว์บำเพ็ญ คือ[1] 1. ทานบารมี หมายถึง การสละออก การให้ต่างๆ โดยมีเจตนาช่วยเหลือผู้อื่นเป็นสำคัญ 2. ศีลบารมี หมายถึง การรักษาศีลให้เป็นปกติ หากเป็นฆราวาสหมายถึงการถือศีล 5 หากเป็นนักบวชคือการถือศีล 8 ขึ้นไป 3. เนกขัมมะบารมี หมายถึง การออกบวช หากฆราวาสถือศีล 8 ก็นับเป็นเนกขัมบารมีได้เช่นกัน เพราะเป็นการกระทำเพื่อเว้นจากกามสุข 4. ปัญญาบารมี หมายถึง การกระทำเพื่อเพิ่มพูนปัญญา ปัญญาแบ่งออกเป็นปัญญาทางโลกและทางธรรม เนื่องจากพระโพธิสัตว์จะตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตตกาล จึงต้องมีปัญญาความรู้มาก เพื่อจะได้สั่งสอนสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ได้ การเรียนของพระโพธิสัตว์จึงต้องเรียนมากกว่าผู้อื่น 5. วิริยะบารมี หมายถึง การกระทำที่ใช้ความเพียรเป็นที่ตั้ง การมีวิริยะอาจไม่ได้หมายถึงการเพียรจนกระทั่งตัวตายในครั้งเดียว แต่หมายถึงมีความพยายามทำอยู่เรื่อยๆ ทำไปทีละน้อยตามกำลังจนกว่าจะสำเร็จ สัมมัปปธานหรือความเพียรที่ถูกต้อง มี 4 อย่างคือ o สังวรปธาน เพียรระวังไม่ให้บาปเกิดขึ้น o ปหานปธาน เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว o ภาวนาปธาน เพียรทำบุญให้เกิดขึ้น o อนุรักขนาปธาน เพียรรักษาการทำบุญไว้ต่อเนื่อง 6. ขันติบารมี หมายถึง การอดทนอดกลั้นต่อสิ่งต่างๆ 7. สัจจะบารมี หมายถึง การรักษาคำพูด ไม่กลับกลอก แม้ว่าจะต้องสละบางสิ่งเพื่อรักษาคำพูดไว้ 8. อธิษฐานบารมี หมายถึง การตั้งมั่นในความปรารถนา ตั้งจิตมั่นต่อคำอธิษฐาน 9. เมตตาบารมี หมายถึง การมีความปรารถดี มีความรักต่อสัตว์ทั้งหลายในโลกอย่างเท่าเทียม ประดุจมารดารักบุตร เมตตาแตกต่างจากราคะตรงที่ ราคะอาจรักเฉพาะตัวหรือพวกพ้อง แต่เมตตาเป็นรักที่ไม่แบ่งแยก 10. อุเบกขาบารมี หมายถึง การวางเฉย มีใจเป็นกลาง การปล่อยวางในสิ่งที่ผิดพลาด ในสิ่งที่แก้ไขไม่ได้ วางเฉยในความทุกข์ของตน และสัตว์ที่ช่วยไม่ได้ เนื่องจากมีปัญญาเห็นว่าสัตว์ทั้งหลายย่อมเป็นไปตามกรรมของตน ไม่มีใครได้รับความยากลำบากโดยไม่มีเหตุปัจจัย ล้วนแล้วแต่เป็นกรรมที่เคยทำมาทั้งสิ้น ซึ่งในแต่ละบารมีนั้นแบ่งย่อยเป็น 3 ขั้น ได้แก่ บารมีขั้นต้น คือ เนื่องด้วยวัตถุ และทรัพย์นอกกาย เช่น การสละทรัพย์ช่วยผู้อื่น จัดเป็น ทานบารมี, รักษาศีลแม้ว่าจะต้องสูญเสียทรัพย์สินเงินทอง จัดเป็น ศีลบารมี, หรือ ยอมถือบวชโดยไม่อาลัยในทรัพย์สิน จัดเป็น เนกขัมบารมี เป็นต้น บารมีขั้นกลางหรืออุปบารมี คือ เนื่องด้วยเลือดเนื้อ อวัยวะ เช่น การสละเลือดเนื้ออวัยวะแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานอุปบารมี, การใช้ปัญญารักษาอวัยวะเลือดเนื้อของผู้อื่น จัดเป็น ปัญญาอุปบารมี ,การมีความเพียรจนไม่อาลัยในเลือดเนื้อหรืออวัยวะ จัดเป็น วิริยะอุปบารมี, มีเมตตาต่อผู้ที่จะมาทำร้ายเลือดเนื้ออวัยวะของตน จัดเป็น เมตตาอุปบารมี, หรือ มีความอดทนอดกลั้นต่อผู้ที่จะมาทำลายอวัยวะของตน จัดเป็น ขันติอุปบารมี เป็นต้น บารมีขั้นสูงสุดหรือปรมัตถบารมี คือ เนื้องด้วยชีวิต เช่น การสละชีวิตเป็นทานแก่ผู้อื่น จัดเป็น ทานปรมัตถบารมี , ยอมสละแม้ชีวิตเพื่อจะรักษาคำพูด จัดเป็น สัจจปรมัตถบารมี, ตั้งจิตไม่หวั่นไหวต่อคำอธิษฐานแม้จะต้องเสียชีวิต จัดเป็น อธิษฐานปรมัตถบารมี, หรือ วางเฉยต่อผู้ที่จะมาทำร้ายชีวิตของตน จัดเป็น อุเบกขาปรมัตถบารมี เป็นต้น ดังนั้น จึงรวมเป็นบารมี 30 ทัศ อานิสงส์ บารมี 30 ทัศ ของพระนิยตโพธิสัตว์ พระนิยตโพธิสัตว์เมื่อได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรก จะมีอานิสงค์ 18 อย่างอยู่ตลอด จนได้ตรัสรู้ เป็นพระพุทธเจ้า ได้แก่ เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ ย่อมไม่เกิดเป็นคนมีจักษุบอดมาแต่กำเนิด ไม่เป็นหูหนวกแต่กำเนิด ไม่เป็นคนบ้า ไม่เป็นคนใบ้ ไม่เป็นคนง่อยเปลี้ย ไม่เกิดในมิลักขประเทศคือประเทศป่าเถื่อน ไม่เกิดในท้องนางทาสี (แต่เกิดในฐานะคนจัณฑาลได้ ดัง พระโพธิสัตว์ มาตังคะฤๅษี ท่านเป็นบุตรคนจัณฑาล แต่ไม่ได้เป็นนางทาสี) นางทาสีคือ ทาสที่เป็นผู้หญิง ที่เกิดมาก็ตกเป็นทาสทันที (ทาสในเรือนเบี้ย) ไม่เป็นนิยตมิจฉาทิฐิ ไม่เป็นสตรีเพศ (ยกเว้นพระอวโลกิเตศวรโพธิสัตว์ในร่างเจ้าแม่กวนอิม พระมหาสถามปราปต์โพธิสัตว์ และพระนางตารา) ไม่ทำอนันตริยกรรม ไม่เป็นโรคเรื้อน เมื่อเกิดเป็นสัตว์เดียรฉาน มีกายไม่เล็กกว่านกกระจาบ และ ไม่ใหญ่ไปกว่าช้าง ไม่เกิดใน ขุปปิปาสิกเปรต นิชฌานตัณหิกเปรต และกาลกัญจิกาสุรกาย ไม่เกิดในอเวจีนรก และโลกันตนรก เมื่อเกิดเป็นเทวดาในกามาพจรสวรรค์ ก็ไม่เกิดเป็นเทวดาผู้นับเข้าในเทวดาจำพวกเป็นมาร เมื่อเกิดเป็นรูปพรหม จะไม่เกิดใน ปัญจสุทธวาสพรหมโลก (พรหมชั้นอนาคามี) และอสัญญสัตตาภูมิพรหม ( มีแต่รูปอย่างเดียว) ไม่เกิดในอรูปพรหมโลก ไม่เกิดในจักรวาลอื่น อานิสงส์พิเศษอีกอย่างหนึ่งของนิยตโพธิสัตว์ คือ การทำอธิมุตตกาลกริยา คือเมื่อท่านเกิดเป็นเทวดาหรือพระพรหม เกิดความเบื่อหน่าย ในการเสวยสุขนั้น ปรารถนาที่จะสร้างบารมีในโลกมนุษย์ ท่านก็สามารถทำการอธิมุตต คืออธิษฐานให้จุติ (ตายจากการเป็นเทพ) มาเกิดเป็นมนุษย์ได้ทันที ได้โดยง่าย ซึ่งเหล่าเทพเทวดาอื่นๆ ไม่สามารถทำอย่างนี้ได้ คุณสมบัติและอัธยาศัยของพระโพธิสัตว์[แก้] ธรรมสโมธาน 8 ประการ[แก้] สำหรับพระโพธิสัตว์ ที่เป็น อนิยตโพธิสัตว์ แต่สร้างบารมี 30 ทัศ และมีธรรมสโมธาน 8 ประการสมบูรณ์แล้ว ได้รับพุทธพยากรณ์เป็นครั้งแรกเฉพาะพระพักตร์พุทธเจ้า โดยจะได้รับพุทธพยากรณ์โดยนัยว่า จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าพระองค์นั้น ทรงนามว่าอย่างนั้น ในกัปอันเป็นอนาคตที่เท่านั้น และก็จะกลายเป็น นิยตโพธิสัตว์ ทันที คือเป็นพระโพธิสัตว์ที่เที่ยงแท้ ที่จะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้าอย่างแน่นอน ธรรมสโมธาน 8 ประการคือ ได้เกิดเป็นมนุษย์ เป็นบุรุษเพศ ไม่เป็นกะเทย มีอุปนิสสัยปัจจัยแห่งพระอรหันต์รุ่งเรืองอยู่ในขันธสันดาน (ถ้าเกิดเปลี่ยนใจก็จะเป็นพระอรหันต์ทันที) ต้องพบพระพุทธเจ้าขณะมีพระชนม์ชีพอยู่ และได้สร้างกองบุญกุศลต่อหน้าพระพักตร์ ต้องเป็นบรรพชิต หรือต้องเป็น โยคี ฤๅษี ดาบส หรือปริพาชก ที่มีลัทธิเชื่อว่า บุญมี บาปมี ทำบุญได้บุญ ทำบาปได้บาป ต้องไม่เป็นคฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ต้องมีอภิญญาและฌานสมาบัติ อันเชี่ยวชาญ เคยให้ชีวิตของตนเป็นทาน เพื่อสัมโพธิญาณมาก่อนในอดีดชาติ ต้องมี ฉันทะ คือมีความรักความพอใจในพุทธภูมิเป็นกำลัง กล่าวถึงพุทธภูมิธรรมของนิยตโพธิสัตว์ ในการเพิ่มพูนบารมีให้มากยิ่งขึ้น มีน้ำใจประกอบไปด้วย พุทธภูมิธรรม 4 ประการ คือ อุสสาโห คือประกอบไปด้วยพระอุตสาหะ มีความเพียรอันสลักติดแน่นในจิตใจอย่างมั่นคง อุมัตโต คือประกอบด้วยปัญญา มีปัญญาเชียวชาญเฉียบคม อวัตถานัง คือมีพระทัยอธิษฐานอันมั่นคง มิได้หวั่นไหวคลอนแคลน หิตจริยา คือประกอบไปด้วยพระเมตตา เจริญจิตอยู่ด้วยพรหมวิหารเป็นปกติ อัธยาศัย ที่ทำให้พระโพธิญานของนิยตโพธิสัตว์แก่กล้ายิ่งขึ้น มี 6 ประการ เนกขัม พอใจในการรักษาศีล การบวช หรือบรรพชา วิเวก พอใจอยู่ในที่สงบ อโลภ พอใจในการบริจาคทาน อโทส พอใจในความไม่โกรธ เจริญเมตตา อโมห พอใจในการพิจารณาคุณและโทษ เจริญปัญญา นิพพาน พอใจที่ยกตนออกจากภพ ไม่ยินดีในการเวียนว่ายตายเกิด ประสงค์นิพพานเป็นอย่างยิ่ง จริยธรรม 10 ประการ[แก้] จริยธรรม 10 ประการของพระโพธิสัตว์ ประกอบด้วย[1] พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า ร่างกายจะไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ พระโพธิสัตว์ ครองชีพโดยไม่ปรารถนาว่าจะไม่มีภัยอันตราย พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีอุปสรรคในการชำระจิตใจให้บริสุทธิ์ พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาเลยว่า จะไม่มีมารขัดขวางการปฏิบัติภารกิจ พระโพธิสัตว์ ถือว่าทำงานให้นานที่สุด โดยไม่ปรารถนาจะให้สำเร็จผลเร็ว พระโพธิสัตว์ คบเพื่อน โดยไม่ปรารถนาจะได้รับผลประโยชน์จากเพื่อน พระโพธิสัตว์ ไม่ปรารถนาว่า จะให้คนอื่นต้องตามใจตนเองเสมอไปทุกอย่าง พระโพธิสัตว์ ทำความดีกับคนอื่น โดยไม่ปรารถนาสิ่งตอบแทน พระโพธิสัตว์ เห็นลาภแล้ว ไม่ปรารถนาว่าจะได้รับ พระโพธิสัตว์ เมื่อถูกใส่ร้ายป้ายสี ติเตียนนินทาแล้ว ไม่ปรารถนาที่จะตอบโต้ คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์[แก้] คุณสมบัติของพระโพธิสัตว์มีอยู่ 3 ข้อใหญ่ [1] มหาปรัชญาหรือปัญญาอันยิ่งใหญ่ หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีปัญญาเห็นแจ้งในสัจธรรม ไม่ตกเป็นทาสของกิเลส มหากรุณา หมายความว่าจะต้องเป็นผู้มีจิตกรุณาต่อสัตว์ทั้งหลายอย่างปราศจากขอบเขต พร้อมที่จะสละตนเองเพื่อช่วยสัตว์ให้พ้นทุกข์ มหาอุปาย หมายความว่าพระโพธิสัตว์จะต้องมีวิธีการชาญฉลาดในการแนะนำ อบรมสั่งสอนผู้อื่นให้เข้าถึงสัจธรรม คุณสมบัติทั้งสามข้อนี้ เป็นหัวใจของพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ข้อแรกเป็นการบำเพ็ญประโยชน์ตนให้ถึงพร้อม ส่วนข้อหลัง 2 ข้อเป็นการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อผู้อื่น มหาปณิธาน 4[แก้] มหาปณิธาน 4 ประกอบด้วย [1] เราจะละกิเลสให้หมด เราจะศึกษาสัจธรรมให้จบ เราจะช่วยโปรดสัตว์ทั้งหลายให้สิ้น เราจะบรรลุพระพุทธภูมิอันประเสริฐสุด

โอวาทพระอานนท์เถระเวลานั้นบ่ายมากแล้ว ความอบอ้าวลดลงบริเวณอารามซึ่งมีพันธุ์ไม้หลายหลากดูร่มรื่นยิ่งขึ้น นกเล็กๆ บนกิ่งไม้วิ่งไล่เล่นกันอย่างเพลิดเพลิน บางพวกร้องทักทายกันอย่างสนิทสนมและชื่นสุข ดิรัจฉานเป็นสัตว์โลกที่มีความรู้น้อยและความสามารถน้อย มันมีความรู้ความสามารถแต่เพียงหากินและหลบหลีกภัยเฉพาะหน้า แต่ดูเหมือนมันจะมีความสุขยิ่งกว่ามนุษย์ซึ่งถือตนว่าฉลาดและมีความสามารถเหนือสัตว์โลกทั้งมวล เป็นความจริงที่ว่าความสุขนั้นขึ้นอยู่กับความพอใจ มนุษย์ไม่ว่าจะอยู่ในเพศไหนและภาวะอย่างใด ถ้าสามารถพอใจในภาวะนั้นได้ เขาก็มีความสุข ความยากจนหาเช้ากินค่ำ อาจจะมีความสุขกว่ามหาเศรษฐี หรือมหาราชาผู้เร่าร้อนอยู่เสมอ เพราะความปรารถนาและทะยานอยากอันไม่รู้จักสิ้นสุด มนุษย์เราจะมีสติปัญญาฉลาดปานใดก็ตาม ถ้าไร้เสียแล้วซึ่งปัญญาในการหาความสุขให้แก่ตนโดยทางที่ชอบ เขาผู้นั้นควรจะทะนงตนว่าฉลาดกว่าสัตว์ละหรือ? มนุษย์ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้ความอยากความดิ้นรนออกหน้าแล้ววิ่งตาม เหมือนวิ่งตามเงาของตนเองในเวลาบ่าย ยิ่งวิ่งตาม ก็ดูเหมือนเงาจะห่างตัวออกไปทุกที ทุกคนต้องการและมุ่งมั่นในความสุข แต่ความสุขก็เป็นเหมือนเงานั่นเอง ความสุขมิใช่เป็นสิ่งที่เราจะต้องแสวงหาและมุ่งมอง หน้าที่โดยตรงที่มนุษย์ควรทำนั้นคือ การมองทุกข์ให้เห็น พร้อมทั้งตรวจสอบพิจารณาสาเหตุแห่งทุกข์นั้น แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์เสีย โดยนัยนี้ความสุขก็จะเกิดขึ้นเอง เหมือนผู้ปรารถนาความสุขความเจริญแก่ประเทศชาติ ถ้าปราบเสี้ยนหนามและเรื่องร้ายในประเทศมิได้ ก็อย่าหวังเลยว่าประเทศชาติจะเจริญและผาสุกหรือเหมือนผู้ปรารถนาสุขแก่ร่างกายถ้ายังกำจัดโรคในร่างกายมิได้ ความสุขกายจะมีได้อย่างไร แต่ถ้าร่างกายปราศจากโรคมีอนามัยดี ความสุขกายก็มีมาเอง ด้วยประการฉะนี้ปรัชญาเถรวาทจึงให้หลักเราไว้ว่า "มองทุกข์ให้เห็นจึงเป็นสุข" อธิบายว่า เมื่อเห็นทุกข์กำหนดรู้ทุกข์และค้นหาสมุฏฐานของทุกข์แล้วทำลายสาเหตุแห่งทุกข์นั้นเสีย เหมือนหมอทำลายเชื้ออันเป็นสาเหตุแห่งโรค ยิ่งทุกข์ลดน้อยลงเท่าใด ความสุขก็ยิ่งเพิ่มขึ้นเท่านั้น ความทุกข์ที่ลดลงนั้นเองคือความสุข เหมือนทัศนะทางวิทยาศาสตร์ที่ถือว่าความเย็นไม่มี มีแต่ความร้อน ความเย็นคือความร้อนที่ลดลง เมื่อความร้อนลดลงถึงที่สุด ก็กลายเป็นความเย็นที่สุด ทำนองเดียวกัน เมื่อความทุกข์ลดลงถึงที่สุดก็กลายเป็นความสุขที่สุด ขั้นแห่งความสุขนั้นมีขึ้นตามแห่งความทุกข์ที่ลดลง คำสอนทางศาสนา เมื่อว่าโดยนัยหนึ่งจึงเป็นเรื่องของ "ศิลปะแห่งการลดทุกข์" นั่นเอง พระอานนท์ได้รับคำบอกเล่าจากสุนันทาภิกษุณีแล้ว ให้รู้สึกเป็นห่วงกังวลถึงโกกิลาภิกษุณียิ่งนัก ท่านคิดว่าหรือจะเป็นเพราะนางหกล้มเมื่อบ่ายนี้กระมัง จึงเป็นเหตุให้นางป่วยลง อนิจจา! โกกิลาเธอรักเรา เราหรือจะไม่รู้ แต่เธอมาหลงรักคนที่ไม่มีหัวใจจะรักเสียแล้ว เหมือนเด็กน้อยผู้ไม่ประสาต่อความตายนั่งร่ำร้องเร่งเร้าขอคำตอบจากมารดาผู้นอนตายสนิทแล้ว ช่างหน้าสงสารสังเวชเสียนี่กระไร ผู้หญิงมีความอ่อนแอทั้งด้านร่างกายและจิตใจ พระศาสดาจึงกีดกันหนักหนา ในเบื้องแรกที่จะให้สตรีบวชในศาสนา ทั้งนี้เป็นเพราะมหากรุณาของพระองค์ ที่ไม่ต้องการให้สตรีต้องลำบาก

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้าดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นเสียจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมเกิดขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ต้องร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในสังสารวัฏนี้มีจำนวนมากเหลือคณา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่สักนิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดใจอย่างยิ่ง ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้วการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้วการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา

สุดยอดสารคดี ท่องจักรวาล ตอน ตำแหน่งของโลกเราในกาแล็กซี่ทางช้างเผือก HD

อริยสัจสี่ของคนธรรมดาสามัญ ครั้งนั้นแล ท่านพระอนุรุทธะอยู่จำพรรษาที่วิหารปาจีนวังสทายวัน แคว้น เจดีย์นครนั้นนั่นแล ต่อไปอีก ครั้งนั้น ท่านพระอนุรุทธะหลีกออกจากหมู่อยู่ ผู้เดียว ไม่ประมาท มีความเพียร มีใจเด็ดเดี่ยว ไม่นานนัก ก็กระทำให้แจ้ง ซึ่งที่สุดแห่งพรหมจรรย์อันยอดเยี่ยม ที่กุลบุตรทั้งหลายออกบวชเป็นบรรพชิต โดยชอบต้องการนั้นด้วยปัญญาอันยิ่งเอง ในปัจจุบัน เข้าถึงอยู่ รู้ชัดว่า ชาติ สิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำ ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความ เป็นอย่างนี้มิได้มี ก็ท่านพระอนุรุทธะได้เป็นพระอรหันต์รูปหนึ่งในจำนวนพระ- *อรหันต์ทั้งหลาย ลำดับนั้น ท่านพระอนุรุทธะบรรลุอรหัตแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ไว้ ในเวลานั้นว่า พระศาสดาผู้เป็นเยี่ยมในโลก ทรงทราบความดำริของเราแล้ว ได้เข้ามาหาเราด้วยฤทธิ์ทางพระกายอันสำเร็จแต่พระหฤทัย พระองค์ได้ทรงแสดงธรรมอันยิ่งกว่าความดำริของเราเท่าที่ดำริ ไว้ พระพุทธเจ้าผู้ยินดีแล้วในธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า ได้ทรงแสดงซึ่งธรรมอันไม่เป็นเหตุให้เนิ่นช้า เราได้รู้ทั่วถึง ธรรมของพระองค์แล้ว ยินดีในศาสนาอยู่ เราได้บรรลุ วิชชา ๓ แล้ว

ภัยในอนาคต ๕ ประการ ปฐมอนาคตสูตร

วันจันทร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2558

แม้แต่พระพุทธเจ้าเอง ก็สอนพระอานนท์ทำน้ำมนต์ปุญฺญานุสฺสติ(สิบทัศน์): น้ำพระพุทธมนต์ นับว่าเป็นส่วนหนึ่งของพิธีกรรมในความเป็นมงคล และเป็นสิ่งที่ผู้หวังความสุข ความสบายใจ เพียงเพื่อได้รับน้ำพระพุทธมนต์ที่พระท่านเสกแล้ว เพื่อให้ทราบถึงความเป็นมาโดยละเอียดของการทำน้ำพรพุทธมนต์ ซึ่งเริ่มที่เมืองเวสาลีนี้ จึงขอนำรัตนสูตรมากล่าวไว้ สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จประทับอยู่ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร นครราชคฤห์ ครั้งนั้น พระนครเวสาลีแห่งแคว้นวัชชี เกิดทุพภิกขภัยพิบัติ คือ ฝนแล้ง ข้าวกล้าในนาตาย เพราะไม่มีน้ำเป็นส่วนมาก ข้าวปลาหายาก ในชั้นแรกคนยากจนคนเกียจคร้าน ต้องอดอาหารตายมาก เมื่อตายแล้วหาญาติที่จะอนุเคราะห์ศพไม่มี คนที่มีกำลังก็ไม่มีความสงสารศพ มัววุ่นแต่งานตัว เห็นไปว่าธุระไม่ใช่ ไม่ใส่ใจ ตกลงคนตายที่ไหน ศพก็ทอดทิ้งอยู่ที่นั้น ยิ่งกว่านั้นอหิวาตกโรคก็เข้าคุกคาม เพราะโทษที่ศพปฏิกูลตามถนนหนทาง ในแม่น้ำลำคลอง เพราะความสกปรกนานาประการ ดังกล่าวแล้ว มนุษย์ได้ตายลงเพราะอหิวาตกโรคเป็นอันมาก ครั้นเมื่อภาคพื้นดินปฏิกูลด้วยศพมากเข้า ปีศาจจำพวกที่กินซากศพเป็นอาหารก็พากันเข้ามาในพระนคร กินซากศพ ยิ่งกว่านั้นยังหันเข้าใส่คนป่วยไข้ ชิมรสเนื้อมนุษย์ที่ยังไม่เปื่อยเน่าดูบ้าง และแล้วก็เลยลามไปถึงมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก เช่น ตื่นไม่ล้างหน้า นอนไม่ล้างเท้า น้ำไม่อาบ กินข้าวแล้วไม่บ้วนปาก ผ้าผ่อนไม่ซัก และบ้านเรือนไม่กวาดไม่ถู เป็นต้น ในที่สุดมนุษย์ที่ไม่ป่วย แต่สกปรก ก็เริ่มถูกปีศาจเข้าสิง สูบโลหิตเป็นอาหาร มนุษย์เริ่มตายลงเพราะปีศาจอีกประการหนึ่ง ชาวเมืองเวสาลีประสบภัยร้ายกาจ ๓ ประการ คือ ฝืดเคือง ๑ อหิวาตกโรค ๑ ปีศาจ ๑ พากันอพยพไปอยู่ในเมืองอื่นก็ไม่น้อย ครั้งนั้น ชาวเมืองพากันโจทก์กล่าวโทษพระราชาที่ประตูพระราชวังว่า “พระเจ้าข้า ภัยพิบัติ ๓ ประการ ได้เกิดขึ้นแก่ชาวเมืองแล้ว ซึ่งแต่ก่อนไม่เคยมี พระราชาจักประพฤติผิดพระราชประเพณีอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นแน่” แม้พระมหากษัตริย์จะโปรดให้ตั้งกรรมการพิจารณาหาความผิดของพระองค์ ก็ไม่ปรากฏว่าพระมหากษัตริย์ทรงประพฤติบกพร่องแต่ประการใด ในที่สุดก็พากันบนเจ้าบวงสรวงเทพยดาอารักษ์ และวิงวอนครูอาจารย์ที่ตนนับถือว่าเป็นผู้วิเศษ สุดแต่ใครจะเล็งเห็น ใครให้ช่วยปลดเปลื้อง แต่ก็ไม่สามารถจะบรรเทาภัยนั้นได้ ครั้นอำมาตย์ผู้หนึ่ง ได้กราบทูลพระเจ้าลิจฉวีว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นพระอรหันต์ บริสุทธิ์จากกิเลส มีพระหฤทัยประกอบด้วยพระมหากรุณาเสมอด้วยพระมหาสมุทร ทรงตรัสรู้สัมโพธิญาณ เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จประกาศพระธรรมบริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย บัดนี้ เสด็จประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระนครราชคฤห์ พระเจ้าพิมพิสารมหาราช ทรงสักการะบำรุงอยู่ พระองค์ทรงมีอภินิหารบารมีสูงส่งยิ่งนัก ถ้าจะได้กราบทูลอัญเชิญให้เสด็จมายังพระนครนี้ ข้าแต่พระองค์เชื่อเหลือเกินว่า ภัย ๓ ประการนี้ จะต้องสงบเพราะอานุภาพของพระองค์โดยแท้ ลำดับนั้น พระเจ้าลิจฉวีจึงโปรดให้เจ้าชายมหาลิ พร้อมด้วยอำมาตย์ ๕ นาย เป็นราชทูตเชิญเครื่องราชบรรณาการไปเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารมหาราช ณ กรุงราชคฤห์ กราบทูลขอประทานโอกาสให้พระผู้มีพระภาคเจ้า ได้เสด็จไปบำบัดภัยพิบัติในพระนครเวสาลี โดยเวลาเพียง ๓ วัน คณะราชทูตนั้นก็เข้าเฝ้าพระเจ้าพิมพิสารยังพระนครราชคฤห์ ทูลขอพระราชทานพระกรุณาตามพระราชบัญชาของพระเจ้าลิจฉวี พระเจ้าพิมพิสารทรงรับสั่งว่า... “ฉันเห็นใจพวกท่าน และยินดีสนับสนุนในเรื่องนี้ ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าจะทรงพระกรุณาเสด็จ ขอให้พวกท่านไปกราบทูลอัญเชิญดู ความจริง เจ้าชายมหาลิก็ทรงรู้จักพระองค์ท่านมาก่อน ฉันคิดว่าการเข้าเฝ้าจะไม่ลำบาก หรือหนักใจแต่ประการใด หากพระบรมศาสดาทรงเล็งเห็นประโยชน์ในการเสด็จ แล้วจะทรงพระกรุณาอนุเคราะห์เป็นแน่ การมาของเจ้าชายจะไม่ไร้ผลเลย” ครั้นแล้วโปรดให้ราชบุรุษนำคณะราชทูตนครเวสาลี เข้าเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร พระผู้มีพระภาคเจ้ารับสั่งว่า... “มหาลิ ตถาคตรับปฏิญญาของพระเจ้ากรุงราชคฤห์ เพื่ออยู่ในที่นี้เสียแล้ว ถ้าพระเจ้ากรุงราชคฤห์จะทรงพระกรุณาประทานโอกาสเธอ ตถาคตก็จะไป” เจ้าชายมหาลิกราบทูล... “ข้าพระองค์ได้รับพระราชทานโอกาสแล้ว พระเจ้าข้า” พระบรมศาสดารับสั่ง “แม้เช่นนั้น มหาลิก็ควรจะทูลให้พระองค์ทรงทราบเสียก่อนที่จะออกเดินทาง” เมื่อพระเจ้าพิมพิสารแห่งมคธรัฐ ทรงทราบจากเจ้าชายมหาลิว่า พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาเสด็จ จึงรีบเสด็จมาเฝ้า ทูลขอให้ยับยั้งสัก ๓ วัน เพื่อตกแต่งทางเสด็จตลอดที่พักแรม ตามระยะทางจนถึงแม่น้ำคงคา สุดพระราชอาณาเขต ครั้นได้เวลากำหนด พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยสงฆ์ ๕๐๐ รูป ก็เสด็จพระนครเวสาลีโดยมรรคานั้น ด้วยพระเกียรติยศอันสูง ซึ่งพระเจ้ากรุงราชคฤห์ทูลถวายโดยระยะทาง ๕ โยชน์ กำหนดวันละ ๑ โยชน์ เสด็จประทับแรมตามระยะทางรวม ๕ วัน ก็ถึงฝั่งแม่น้ำคงคา เสด็จลงเรือพระที่นั่งซึ่งพระเจ้าพิมพิสารจัดถวายงดงามสมพระเกียรติยศยิ่งนัก และเป็นครั้งแรกที่เสด็จทางน้ำด้วยเกียรติอันสูงเช่นนี้ พระเจ้าพิมพิสารทรงตามเสด็จพระพุทธดำเนินตลอดทาง และเสด็จลงประคองเรือพระที่นั่งให้เคลื่อนจากท่าแม่น้ำคงคา ทรงตามเรือพระที่นั่งไปในน้ำเพียงพระศอ ก็ประทับหยุดยืนทูลว่า “หม่อมฉันจะมารับเสด็จพระองค์คราวเสด็จกลับ ณ ที่นี่อีก” เมื่อเรือพระที่นั่งแล่นไปตามแม่น้ำจนลับทิวไม้แล้ว จึงเสด็จกลับพระนคร พระผู้มีพระภาคเจ้าพร้อมด้วยพระสงฆ์สาวกเสด็จทางชลมารค สิ้นระยะทาง ๑ โยชน์ ก็ถึงท่าพระราชอาณาเขตพระนครเวสาลี จึงเสด็จขึ้นจากเรือรับสักการะปฏิสันถาร ซึ่งเจ้าชายมหาลิหัวหน้าคณะราชฑูตกราบทูลให้พระเจ้าลิจฉวีจัดถวายให้โอฬาร ยิ่งกว่าพระนครราชคฤห์จัดเสด็จตามระยะทาง ๓ โยชน์ สิ้นเวลา ๓ วันก็ถึงชายพระนครเวสาลี ขณะที่เหยียบภาคพื้นพระนครเวสาลี ก้าวแรกก็ประทับยืนจ้องพระเนตรจับท้องฟ้า ทรงระลึกถึงพระบารมีที่บำเพ็ญแล้วเคลื่อนลมมาปกคลุมพระนครเวสาลี พร้อมกับส่งเสียงคำรามกระหึ่มครึ้มครวญเปรี้ยงๆ ดังสนั่น ด้วยสายฟ้าแลบแปลบปลาบ แล้วห่าฝนใหญ่ก็หลั่งลงจักๆ ดังเทน้ำ เสมือนหนึ่งจงใจจะล้างพื้นแผ่นดินให้สะอาด ต้อนรับพระบรมศาสดา ความจริงก็ดูสมจริงดังกล่าว ด้วยพอฝนซัดลงมามากมายเช่นนั้นแล้ว ไม่ช้าน้ำฝนก็ไหลลงท่อธาร และท่วมท้นบ่าเข้าพระนคร พัดเอาซากศพมนุษย์และสัตว์ซึ่งปฏิกูลพื้นแผ่นดินอยู่ ให้ไหลไปสู่ทะเลใหญ่สิ้นเชิง ดังนั้น เมื่อฝนขาดเม็ดแล้ว ภาคพื้นธรณีก็สะอาด ความอบอ้าวเร่าร้อนของอากาศก็สงบ บรรเทาโรคได้ถึงครึ่ง ด้วยพุทธานุภาพ ในเวลาเย็นวันนั้นเอง พระบรมศาสดารับสั่งกับพระอานนท์เถระว่า “อานนท์เธอจงเรียนเอารัตนสูตรนี้ไป แล้วจาริกไปในกำแพงเมืองเวสาลี เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เพื่อความสวัสดีจากภัยอันใหญ่แก่ประชาชนเถิด” ในราตรีนั้น พระอานนท์ได้เรียนรัตนสูตรจากพระบรมศาสดา แล้วก็ประคองบาตรเสลมัยของพระบรมศาสดา ซึ่งเต็มด้วยน้ำ ตั้งกัลป์ยาณจิตประกอบด้วยเมตตา ระลึกถึงพระพุทธคุณ คือ พระบารมี ๑๐ อุปบารมี ๑๐ และปรมัตถบารมี ๑๐ ซึ่งทรงบำเพ็ญมา และบารมีในปัจฉิมชาตินี้ จำเดิมแต่เสด็จลงสู่พระครรภ์ เป็นต้น จนทรงตรัสรู้สัมมาสัมโพธิญาณ ประกาศโลกุตรธรรม ๙ ประการเป็นที่สุด เจริญมนต์รัตนสูตรนี้ เที่ยวจาริกไปยังภายในกำแพง พร้อมด้วยพระเจ้าลิจฉวีทั้งหลายติดตามห้อมล้อม เดินพลางพรมน้ำมนต์ที่พระเถระเจ้าปะพรมเท่านั้น ก็หายจากโรคภัย มีกำลัง สดชื่น ติดตามแวดล้อมพระเถระเจ้า โห่ร้องแซ่ซ้องสาธุการดังสนั่น มวลภูตผีปีศาจที่เข้ามาเบียดเบียนมนุษย์ ครั้นได้ยินเสียงมนุษย์ก็สะดุ้งตกใจกลัว พากันเลี่ยงออก ที่ยังดื้อแอบหลบอยู่ ตามแง้มฝาเรือนและประตู เมื่อถูกหยดน้ำมนต์ของพระเถระเจ้า ก็เจ็บปวดแทบดับจิต ประดุจสุนัขถูกฟาดหลังด้วยแส้เหล็ก พากันเผ่นหนีอย่างไม่คิดชีวิตด้วยความกลัวสยองเกล้า ตั้งหน้าวิ่งหนีออกจากเมืองโดยไม่เหลียวหลัง ครั้นไปประดังแน่นยัดเยียดที่ประตูเมือง และเมื่อไม่สามารถจะทนรออยู่ได้ ก็พากันพังบานประตูหนีไปจนสิ้นเชิง ครั้งพระเถระเจ้าจาริกเจริญรัตนสูตร ปะพรมน้ำมนต์รอบพระนครแล้ว ก็พามหาชนซึ่งติดตามมาเป็นอันมากเข้าเฝ้าพระบรมศาสดายังที่ประทับ ลำดับนั้นพระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาตั้งแต่เบื้องต้น จนประกาศจตุราริยสัจ ให้หาชนชื่นชมโสมนัสปรีดาปราโมทย์ เกิดศรัทธากล้าหาญ ประกาศตนเป็นพุทธมามกะเป็นอันมาก พระบรมศาสดาทรงพระกรุณาประทานพระธรรมเทศนาอยู่ถึง ๗ วัน ครั้นทรงทราบว่า ภัยทั้ง ๓ ประการสงบแล้ว และประชาชนมีความผาสุกดีแล้ว ก็ทรงอำลาพระเจ้าลิจฉวี เสด็จพุทธดำเนินกลับพระนครราชคฤห์ ด้วยพระเกียรติยศซึ่งพระเจ้าลิจฉวีและมหาชนพร้อมกันจัดถวายบูชาอย่างมโหฬาร แม้พระเจ้าพิมพิสารและข้าราชบริพาร ตลอดชาวพระนครราชคฤห์ก็มีความยินดี พากันไปต้อนรับพระบรมศาสดาที่ฝั่งแม่น้ำคงคา ให้เสด็จกลับมาประทับ ณ พระเวฬุวันมหาวิหาร สมดังมโนปณิธานที่ทรงตั้งไว้นั้นแล้ว

การเห็นกายในกายเห็นจิตในจิต"ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล"

เ"ที่จริงพระอรหันต์ทั้งหลายท่านไม่ได้รู้อะไรมากมายเลย เพียงแต่เจริญจิตให้รู้แจ้งใน ขันธ์๕, แทงตลอดในปฏิจจสมุปบาท, หยุดการปรุงแต่ง, หยุดการแสวงหา, หยุดกริยาจิต มันก็จบแค่นี้ เหลือแต่ บริสุทธิ์ สะอาด สว่าง ว่าง มหาสุญตา ว่างมหาศาล" เพียงแต่หยุดความคิดปรุงแต่ง และหมดความกระวนกระวายเพราะการแสวงหา เสียเท่า...

วันอาทิตย์ที่ 19 เมษายน พ.ศ. 2558

หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชโช เทศนา เมื่อจิตตื่นให้ระวังวิปัสนู ๑๐

หลวงพ่อปราโมทย์ กัมมัฏฐานในชีวิตประจำวันคือสุดยอดแห่งการปฏิบัติ

หลวงพ่อปราโมทย์ กัมมัฏฐานในชีวิตประจำวันคือสุดยอดแห่งการปฏิบัติ

เครื่องเร่งอนุภาคที่ใหญ่ที่สุดในโลก (เซิร์น) : Mega Structure มหัศจรรย์ง...

[สารคดี 80] ท่องจักรวาล ตอน ปริศนาแห่งยานสำรวจ

ท่องจักรวาล 09 แกแล็กซี่พิศวง

ปฏิบัติที่ผิดแบบละเอียด หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วันเสาร์ที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2558

คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่

หลวงปู่ฝากไว้ เสียงจากพระราชวุฒาจารย์ หรือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโลกลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มันเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเราหลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

หลักธรรมที่แท้จริงก็คือจิตของเรานั่นเองนอกจากนี้แล้วก็ไม่มีหลักธรรมใดใดเลยกลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มันเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเราหลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

ความเบื่อหน่ายและความหลุดพ้น

หลวงพ่อพุธ::ทุกข์และมหาสติ

ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไปถ้ารักความชั่วก็นิมนต์สนใจกับเรื่องของชา­วบ้านให้มาก เรื่องส่วนตัวไม่ต้องสนใจ ถ้ารักความดีละก็ตัดความสนใจกับเรื่องของช­าวบ้านเขาเสีย เขาจะดีจะชั่วช่างเรื่องของเขา เรื่องของเรามาชำระกระแสจิตตามกระแสพระพุท­ธดำรัสขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าก็­แล้วกัน นี่ที่กล่าวมานี้เป็นอาการของท่านสุกขวิปั­สสโกนะขอรับ ศึกษากันใน มหาสติปัฏฐานสูตร ธรรมดาๆ แต่ถ้าหากว่าพระคุณเจ้าหรือบรรดาญาติโยมพุ­ทธบริษัทที่รัก เจริญ มหาสติปัฏฐานสูตร ใน อานาปานุสสติกรรมฐาน แล้ว แล้วก็ทรงวิชชาสามหรือได้ ทิพจักขุญาณ ตอนนี้เห็นจะไม่ต้องนั่งไล่แบบล่ะขอรับ สบาย เรามานั่งดูกระแสของจิตกันดีกว่า

เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อใดแล เหล่ามนุษย์ผู้ถือตนว่าเป็นสัตว์ประเสริฐ ได้เกิดความหวาดกลัว หรือว่า เกิดหัวใจสะดุ้งหวั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อใดแล เกิดความมัวเมาอันเป็นเหตุแห่งความไม่สงบวุ่นวาย พื้นแผ่นดินไหลอาบนองแดงฉานไปด้วยเลือด เปลวไฟแห่งความมุ่งร้ายเบียดเบียนแผดเผากระจายไป จิตใจของมวลหมู่มนุษย์กลับกลายไปเป็นดั่งเดรัจฉาน มีใบหน้ายิ้มแย้มแจ่มใส แต่ภายในแผดเผาเร่าร้อน เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" เมื่อใดแล ความรักเมตตาแห้งเหือดหายไปจากโลก ความกรุณาสงสารก็แห้งเหือดหายไป คนทั้งหลายเชือดเฉือนสายใยแห่งความรัก แม้ของมารดาตนเอง เกิดผืนแผ่นดินเลื่อนลั่น ฟ้าสั่นไหว เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด เมื่อนั้น ขอให้ท่าน จงเปล่งคำว่า “พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ” ไว้เถิด "พุทธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ" พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใดแล ผู้ทรงขจัดเสียซึ่งความมืดมิดภายในจิตใจที่เร่าร้อนของปวงประชา มวลหมู่สรรพสัตว์ทั้งหลาย ได้พบหนทางแสงสว่าง เพียงแค่ได้สัมผัสเส้นใยแห่งรัศมีที่แผ่ออกมาของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด ด้วยอานุภาพของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ขอพระสัทธรรมอันเป็นที่พึ่งพิง ขออริยสัจจ์คือความจริง จงเจริญรุ่งเรืองตลอดกาลนาน ขอมวลหมู่มนุษย์จงเห็นอกเห็นใจเกื้อกูลเอ็นดูกันเถิด ขอหมู่มนุษย์จงทนุถนอมความรัก ความเยื่อใยของมนุษย์ด้วยกัน อยู่อย่างร่มเย็นสันติสุขเถิด ขอบทแห่งมนต์อันประเสริฐ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าของชาวภารตะ (อินเดีย) จงกระหึ่มกังวานไปในทุกครัวเรือน เพื่อนมนุษย์เอ๋ย ขอให้ท่าน จงหมั่นเปล่งคำว่า "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ" ไว้บ่อย ๆ เถิด "พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ แสดงน้อยลงBuddan Saranan Gachchami _ (Original) Mohideen Beg _ New Sinhala Songs...

วันศุกร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2558

ผู้สละโลก ทุกข์ในรูปแห่งสุขการหัดรู้สภาวะทุกวันๆ มีประโยชน์มาก มันจะทำให้เรามีกำลัง ... หน้าที่เราไม่ใช่ไปหน่วงอารมณ์ให้ช้าลง หน้าที่เราต้องฝึกสติให้เร็วขึ้น เร็ว เร็วมากขึ้นๆ จนใจไหว...แว้บ.รู้ทัน.. สติ คือ. ... ถิรสัญญาคือการที่จิตจำสภาวะธรรมได้แม่น หน้าที่เราต้องหัดรู้สภาวะไปเรื่อยๆ นะ ความโกรธเกิดขึ้นก็รู้ ความโลภเกิดก็รู้ ... ไม่ว่าเราจะเห็นสภาวะอะไรเกิดขึ้นเราจะไม่เข้าไปแทรกแซง เช่นเราเห็นความโกรธเกิดขึ้น เราไม่ต้องพยายามทำให้หายโกรธ หน้าที่ของเราคือก็แค่รู้ไปว่าจิตมันโกรธนะ ... วิธีปฏิบัติที่จะทำให้เราพ้นจากทุกข์ทางใจนั้น คือหัดรู้ใจของเรา

Steely Dan 《Do It Again》 (sound from original studio version)เขย่า...ธาตุรู้ Do It Again

Steely Dan 《Do It Again》 (sound from original studio version)เขย่า...ธาตุรู้ Do It Again

ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยากคืออย่าไปดูที่อารมณ์ที่จิตสร้างและผุดรู้ขึ้นมาให..กลับมาดูจิตของเรา..อย่า..ตาม..อารมณ์..มันเป็น..วิปัสนูกิเลส เป็น อุปกิเลส ถ้าเราจะกลับมานั้นไม่ยาก..หมายความว่าเราหลงไป.. สุดท้่าย จะเป็นบ้าเอา..ให้..กลับมาดูจิตของเรา.ธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้

วิธีเจริญสติเพื่อให้รู้ทันจิตในขณะแห่งโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจเชื่อเป็นบริวาร วิริยินทรีย์มีความประคองไว้เป็นบริวาร สตินทรีย์มีความตั้งมั่นเป็นบริวาร สมาธินทรีย์มีความไม่ฟุ้งซ่านเป็นบริวาร ปัญญินทรีย์มีความเห็นเป็นบริวาร มนินทรีย์มีความรู้แจ้งเป็นบริวาร โสมนัสสิน ทรีย์มีความยินดียิ่งเป็นบริวาร ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในการสืบต่อแห่ง ความเป็นไปเป็นบริวาร ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะโสดาปัตติมรรค เว้นรูปที่มี จิตเป็นสมุฏฐาน ล้วนเป็นกุศลทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นธรรมที่นำ ออก ล้วนเป็นเครื่องให้ถึงความไม่สั่งสม ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนเป็นธรรมมี นิพพานเป็นอารมณ์ ในขณะโสดาปัตติมรรค อนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘ นี้ ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร มีธรรมอื่นเป็นบริวาร มีธรรม ที่อาศัยเป็นบริวาร มีสัมปยุตธรรมเป็นบริวาร เป็นสหคตธรรม เป็น สหชาตธรรม เป็นธรรมเกี่ยวข้องกัน เป็นธรรมประกอบกัน ธรรมเหล่านั้น แลเป็นอาการและเป็นบริวารแห่งอนัญญาตัญญัสสามีตินทรีย์ ในขณะโสดา- *ปัตติผล ฯลฯ ฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์ มีสัทธินทรีย์ซึ่งมีความน้อมใจ เชื่อเป็นบริวาร ฯลฯ ชีวิตินทรีย์มีความเป็นใหญ่ในความสืบเนื่องแห่งความเป็น ไปเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมทั้งหลายที่เกิดในขณะอรหัตผล เว้นรูปอันมีจิตเป็น สมุฏฐาน ล้วนเป็นอัพยากฤตทั้งนั้น ล้วนไม่มีอาสวะ ล้วนเป็นโลกุตระ ล้วนมีนิพพานเป็นอารมณ์ ฯลฯ ในขณะอรหัตผล อัญญาตาวินทรีย์มี อินทรีย์ทั้ง ๘๘ นี้ซึ่งมีสหชาตธรรมเป็นบริวาร ฯลฯ ธรรมเหล่านั้นแลเป็น อาการและเป็นบริวารแห่งอัญญาตาวินทรีย์นั้น อินทรีย์ ๘ หมวดนี้รวมเป็น อินทรีย์ ๖๔ ด้วยประการฉะนี้

ธรรมชาติแห่งภูตตถตาที่สันติรุ่งเรืองและเร้นลับ และก็จบลงเพียงแค่นั้นธรรมชาติเดิมแท้ของเรานั้นเป็นสิ่งๆ หนึ่ง ซึ่งไม่มีการตั้งต้นที่การเกิด และไม่มีการสิ้นสุดลงที่การตาย แต่เป็นของสิ่งเดียวกันรวด และปราศจากการเคลื่อนไหวใดๆ ในส่วนลึกจริงๆ ของมันทั้งหมด จิตของเรากับสิ่งต่างๆ ซึ่งแวดล้อมเราอยู่นั้นเป็นสิ่งๆ เดียวกัน ถ้าเราทำความเข้าใจได้ตามนี้จริงๆ เราจะได้ลุถึงความรู้แจ้งเห็นแจ้งได้โดยแว­­บเดียวในขณะนั้น และเราเป็นผู้ที่ไม่ต้องเกี่ยวข้องในโลกทั­­้งสามอีกต่อไป เราจะเป็นผู้อยู่เหนือโลก เราไม่มีการโน้มเอียงไปสู่การเกิดใหม่อีกแ­­ม้แต่นิดเดียว เราจะเป็นแต่ตัวเราเองเท่านั้น

วันพฤหัสบดีที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2558

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนามดูก่อนนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยใน ชีวิต ความกลัวทั้งปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้นไปแล้ว ความกลัวตายใน ปัจจุบัน มิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษ ไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์ เราประพฤติดีแล้ว แม้ธรรมเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มี ความกลัวตาย เหมือนบุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไป แล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็ อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วบ้วนทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่ง แห่งภพ ไม่มีความถือมั่น ทำกิจเสร็จแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดี เพราะเหตุความสิ้นอายุ เหมือนบุคคลพ้นแล้ว จากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุดแล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งปวง ย่อมไม่เศร้าโศก ในเวลาตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ได้อยู่ในโลก นี้ก็ดี พระพุทธเจ้าผู้แสวงหาคุณอันใหญ่ได้ตรัสไว้ว่า สิ่ง ทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดัง ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพไร ๆ ดังบุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชนฉะนั้น เราไม่มี ความคิดว่า ได้มีมาแล้ว จักมีต่อไป สังขารจักปราศจาก ไป จะคร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า. ดูก่อนนายโจร ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น ตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง- การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง สอนของใคร. พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้ แสดงน้อยลง

วันพุธที่ 15 เมษายน พ.ศ. 2558

สิ่งที่อยู่ตรงหน้าเรานี่แหละ คือสิ่งสิ่งนั้นในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้ง.....ทำญาณให้เห็นจิตเหมือนดั่งตาเห็นรูป... ..เป็นไปเพื่อความสงบ เพื่อความตรัสรู้พร้อม เป็นไปเพื่อตรัสรู้ยิ่ง เพื่อพระนิพพาน...

สารคดี อาหารสุขภาพที่โลกลืมชาวอังกฤษที่อ้วน เดินทางหนีการกินอาหารฟาสฟูด นี่คือหนึ่งในที่ที่มีอาหารสุขภาพที่ดีที่­สุดในโลก โดยงดอาหารฟาสฟูดทั้งหมด 1 เดือนเต็ม

วันอังคารที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2558

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า บรรลุพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ เมื่อใดบุคคลพิจารณา เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคล นั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของ เราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่าง- กายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า บรรลุพระโสดาบันขั้นโกลังโกละ เมื่อใดบุคคลพิจารณา เห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้นบุคคล นั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของ เราไม่มี. เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้องการภพ ร่าง- กายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกายอื่น

หลวงพ่อฤาษีลิงดำ - ปฏิปทาท่านผู้เฒ่า เร่งรัดการปฏิบัติ ค้นหาความทุกข์ [1...

สิ้นเสียงสิ้นกรรมธรรมบรรลุพระอธิมุตตเถระถูกพวกโจรจับไว้ มิได้มีความกลัวหวาดเสียว มีหน้าผ่องใส เมื่อหัวหน้าโจรเห็นดังนั้น เกิดความอัศจรรย์ใจ จึงได้กล่าวคาถาสรรเสริญ ๒ คาถาว่า เมื่อก่อน เราจะฆ่าสัตว์เหล่าใดเพื่อบูชายัญ หรือเพื่อทรัพย์ ความกลัว ก็ย่อมเกิดแก่สัตว์เหล่านั้นทั้งสิ้น สัตว์เหล่านั้นย่อมพากันหวาดหวั่น และบ่นเพ้อ แต่ความกลัวมิได้มีแก่ท่านเลย สีหน้าของท่านผ่องใสยิ่ง นัก เมื่อภัยใหญ่เห็นปานนี้ปรากฏแล้ว เหตุไรท่านจึงไม่คร่ำครวญเล่า. พระเถระเมื่อจะแสดงธรรม โดยมุ่งการตอบคำถามของนายโจรนั้น จึงได้กล่าวคาถา เหล่านี้ความว่า ดูกรนายโจร ทุกข์ทางใจย่อมไม่มีแก่ผู้ไม่ห่วงใยในชีวิต ความกลัวทั้ง ปวงอันเราผู้สิ้นสังโยชน์ล่วงพ้นได้แล้ว เมื่อตัณหาเครื่องนำไปสู่ภพสิ้น ไปแล้ว ความกลัวตายในปัจจุบันมิได้มีด้วยประการใดประการหนึ่งเลย ดุจบุรุษไม่กลัวความหนัก เพราะวางภาระแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เรา ประพฤติดีแล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว เราไม่มีความกลัวตายเหมือน บุคคลไม่กลัวโรคเพราะโรคสิ้นไปแล้วฉะนั้น พรหมจรรย์เราประพฤติดี แล้ว แม้มรรคเราก็อบรมดีแล้ว ภพทั้งหลายอันไม่น่ายินดีเราได้เห็นแล้ว เหมือนบุคคลดื่มยาพิษแล้วคายทิ้งฉะนั้น บุคคลผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ไม่มี ความถือมั่น เสร็จกิจแล้ว หมดอาสวะ ย่อมยินดีต่อความสิ้นอายุเหมือน บุคคลพ้นแล้วจากการถูกประหารฉะนั้น บุคคลผู้บรรลุธรรมอันสูงสุด แล้ว ไม่มีความต้องการอะไรในโลกทั้งหมด ย่อมไม่เศร้าโศกในเวลา ตาย ดุจบุคคลออกจากเรือนที่ถูกไฟไหม้ฉะนั้น สิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีอยู่ ในโลกนี้ก็ดี ภพที่สัตว์ย่อมได้ในโลกนี้ก็ดี พระพุทธเจ้าแสวงหาคุณ อันใหญ่ยิ่งได้ตรัสไว้ว่า สิ่งทั้งหมดนี้ไม่เป็นอิสระ ผู้ใดรู้แจ้งธรรมข้อนั้น เหมือนดังที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ผู้นั้นย่อมไม่ยึดถือภพอะไร ดัง บุคคลผู้ไม่จับก้อนเหล็กแดงอันร้อนโชน ฉะนั้น เราไม่มีความคิดว่า ได้เป็นมาแล้ว จักเป็นต่อไป จะไม่เป็น หรือสังขารจักฉิบหายไป จะ คร่ำครวญไปทำไมในเพราะสังขารนั้นเล่า ดูกรนายโจร ความกลัว ย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็นตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรม อันบริสุทธิ์ และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล พิจารณาเห็นโลกเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อนั้น บุคคลนั้น ย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้าโศกว่า ของเราไม่มี เรากลัด กลุ้มด้วยสรีระ ไม่ต้องการด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มี ร่างกายอื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของเรา ก็จง ทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ในสรีระนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลาย ทำกิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้ฟังคำของท่าน อันอัศจรรย์อันทำให้ขนลุกชูชันดังนั้น แล้ว จึงพากันวางศาตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ความ ไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ หรือใครเป็น อาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่งสอนของใคร? พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะหมู่มารมีพระกรุณา ใหญ่ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ ถึงความสิ้นอาสวะอันยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่ เศร้าโศก เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟังถ้อยคำ อันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากันวางศาตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บางพวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้ บรรพาในศาสนาของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรมเป็น บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟูเบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว ได้บรรลุสันตบท คือ นิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้.

มันบ่แน่หรอกนาย สรวง สันติ

วันจันทร์ที่ 13 เมษายน พ.ศ. 2558

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์หนทางแห่งการรู้แจ้ง เพื่อดับทุกข์มีประการเดียว คือ เห็นความคิดปรุงแต่งว่าไม่มีใครในความคิดปรุงแต่งนั้น หรือไม่เป็นความคิดปรุงแต่งของใคร เป็นแต่เพียงสภาวธรรมหนึ่งเท่านั้น

เกิดอะไรขึ้นในกายในใจตามรู้ตามดูไปตามความเป็นจริงทีละขณะ อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔ ในปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อทฺทสา ความว่า ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า วุยฺหมานํ ได้แก่ ท่อนไม้ที่เขาถากเป็น ๔ เหลี่ยมแล้วกองไว้ระหว่างเขา แห้งสนิทดีเพราะลมและแดด เมื่อเมฆฝนตกชุกก็ลอยขึ้นตามน้ำ ตกไปในกระแสแม่น้ำคงคาตามลำดับ ลอยไหลไปตามกระแสน้ำนั้น. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เราจักแสดงกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนาของเรา กระทำให้เหมือนท่อนไม้นี้ ดังนี้แล้ว จึงตรัสเรียกมา เพราะทรงประสงค์จะทรงแสดงธรรม. อนึ่ง เพราะนอกจากโทษ ๘ ประการของท่อนไม้ที่ลอยไปตามกระแสน้ำ เพื่อจะทรงแสดงโทษอีก ๘ ประการอันจะกระทำอันตรายแก่ท่อนไม้ที่ลอยไปสู่สมุทร. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มพระดำรัสนี้ว่า อมุ ํ มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ คงฺคาย นทิยา โสเตน วุยฺหมานํ ดังนี้. จริงอยู่ ต้นไม้ต้นหนึ่งเกิดที่พื้นภูเขา ไม่ไกลแม่น้ำคงคา ถูกเถาวัลย์ต่างๆ พันไว้มีใบเหลือง ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ก็ถึงความไม่มีบัญญัติ (ตาย) ในที่นั้นนั่นเอง ท่อนไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้วงดงามอยู่ในวังวน ถึงสาครแล้วย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงาม บนหลังคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี. ต้นไม้อีกต้นหนึ่งมีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายในฝั่งแม่น้ำคงคา ต้นไม้นี้ถูกน้ำโดยกิ่งที่ห้อยย้อยลงมาบางครั้งบางคราวก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะมันมีรากอยู่ภายนอกแม่น้ำคงคา ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้ว งดงามอยู่ในวังวน ถึงสาครแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงามบนหลังคลื่น ซึ่งมีสีดังแก้วมณี. อีกต้นหนึ่งเกิดกลางแม่น้ำคงคา แต่ยืนต้นอยู่ดีเพราะรากมั่นคงและกิ่งคดของมันยื่นไปนอกต้น ถูกเถาวัลย์ต่างๆ เกี่ยวพันไว้. แม้ต้นไม้นี้ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ไม่ได้งดงาม เพราะมีรากมั่นคงและมีเถาวัลย์เกี่ยวพันไว้ข้างนอก. อีกต้นหนึ่งถูกทรายคลุมทับไว้ ในที่ๆ มันล้มลงนั่นแล ก็เน่า ฯลฯ ต้นไม้แม้นี้ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งยืนต้นอยู่อย่างแน่นสนิท เหมือนฝังไว้ดี เพราะเกิดในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น น้ำคงคาที่ไหลมาถึงได้แยกเป็น ๒. ต้นไม้นี้เพราะอยู่ด้วยดีในระหว่างแผ่นหิน ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งยังท้องฟ้าให้เต็มในที่กลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพัน ยืนต้นอยู่ เปียกน้ำ ๑-๒ ครั้ง ในห้วงน้ำใหญ่ที่หลากมาถึงเกิน ๑-๒ ปี แม้ต้นไม้นี้ เพราะมันยืนต้นระท้องฟ้า และเพราะเปียกอยู่ ๑-๒ ครั้งโดยล่วงไป ๑-๒ ปี ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. แม้อีกต้นหนึ่งเกิดบนเกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา มีลำต้นและกิ่งอ่อน เมื่อโอฆะ ห้วงน้ำหลากมาก็ล้มลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่อน้ำไหลถึงก็ชูยอดขึ้นเหมือนฟ้อนรำได้. เพื่อประโยชน์ไรเล่า สาครเหมือนกล่าวกะแม่คงคาว่า ดูก่อนท่านคงคา ท่านนำมาแต่ไม้ต่างๆ มีไม้แก่นจันทน์ และไม้แก่นมีหนามเป็นต้น แต่ไม่นำท่อนไม้มา. แม่น้ำคงคากล่าวว่า ข้าแต่เทวะ นั่นเป็นการดีแล้วละ ข้าก็จักรู้อีกครั้งแล้วไหลมาเหมือนสวมกอดด้วยน้ำสีแดงอีกครั้ง. ต้นไม้แม้นั้นก็ลอยไปตามกระแสน้ำเหมือนอย่างนั้นแล เมื่อน้ำผ่านมาถึง ก็ชูยอดขึ้นเหมือนรำฟ้อนฉะนั้น. ต้นไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคา เพราะยังเป็นไม้อ่อน ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งล้มลงขวางแม่น้ำคงคา ถูกทรายคลุมทับไว้ เป็นที่อาศัยของคนเป็นอันมาก เหมือนสะพานทอดอยู่ในระหว่างฉะนั้น. ไม้ไผ่ไม้อ้อไม้กุ่มบกและไม้กุ่มน้ำเป็นต้น ที่ฝั่งทั้ง ๒ ลอยมาติดอยู่ที่ต้นไม้นั้นนั่นแล กอไม้ต่างๆ ก็ลอยมาอย่างนั้น ทั้งสากแตก กระด้งขาด ซากงู ลูกสุนัขและช้างม้าเป็นต้น ก็ติดอยู่ที่นั้นเหมือนกัน. แม่น้ำคงคาใหญ่กระทบสิ่งนั้นแล้วก็แยกเป็น ๒ สาย ทั้งปลา เต่า จระเข้และมังกรเป็นต้นก็อยู่ในที่นั้นนั่นแล แม้ต้นไม้นี้ล้มขวางแม่น้ำคงคา โดยภาวะที่ทำให้เป็นที่อาศัยของมหาชน เมื่องอกงามอยู่ในที่อันเป็นวังวน ถึงสาครก็ไม่งาม บนหลังคลื่นอันมีสีดังแก้วมณี. ดังนั้น เพื่อจะทรงแสดงโทษอีก ๘ ประการ อันกระทำอันตรายแก่การถึงสมุทรแห่งท่อนไม้ ที่ไปตามกระแสน้ำ เพราะนอกจากโทษ ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ท่อนไม้ใหญ่ท่อนโน้น ถูกกระแสน้ำคงคาพัดไปอยู่. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ถเล อุสฺสาทิสฺสติ ได้แก่ จักไม่ขึ้นบก. บทว่า น มนุสฺสคฺคาโห คเหสฺสติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่าต้นไม้นี้ใหญ่หนอ จึงข้ามน้ำไปด้วยแพ ไม่ยึดถือเอา เพื่อประโยชน์จะทำเป็นไม้กลอนเป็นต้น. บทว่า น อมนุสฺสคฺคาโห คเหสฺสติ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่า ไม้แก่นจันทน์นี้มีค่ามาก พวกเราจักพักไว้ทางประตูวิมาน แต่ก็ไม่ถือเอา. ในคำว่า เอวเมวโข นี้ พึงทราบการเทียบเคียงข้ออุปมา พร้อมกับทั้งโทษภายนอก ๘ ประการอย่างนี้. จริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีอาทิว่าทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พึงทราบเหมือนท่อนไม้เกิดที่พื้นภูเขา ไกลแม่น้ำคงคา ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ถึงความหาบัญญัติมิได้ในที่นั้นนั่นแล. จริงอยู่ บุคคลนี้ลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่อาจไปถึงสาครคือพระนิพพาน เพราะไกลพระศาสนา. บุคคลผู้เป็นสมณกุฏุมพี ยังตัดความผูกพันทางคฤหัสถ์ไม่ขาด พึงเห็นเหมือนต้นไม้ที่มีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายใน เกิดที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. จริงอยู่ บุคคลนี้คิดว่า ธรรมดาจิตนี้ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อกล่าวว่า เราเป็นสมณะ แต่ก็เป็นคฤหัสถ์ เมื่อกล่าวว่า เราเป็นคฤหัสถ์ แต่ก็เป็นสมณะ ใครจักรู้ว่า เราจะเป็นอย่างไร แม้เมื่อบวชในเวลาแก่ก็ไม่สละความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์. และชื่อว่าสมบัติของผู้บวชในเวลาแก่ย่อมไม่มี. ถ้าจีวรมาถึงเธอไซร้ ก็ถึงแต่จีวรขาดๆ จีวรเก่าๆ หรือจีวรซีดๆ. แม้เสนาสนะเล่า ไม่ว่าบรรณศาลาหรือมณฑป ก็มาถึงแต่ที่อยู่ชายวิหาร. แม้เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตก็เที่ยวไปข้างหลังเด็กๆ ผู้เป็นลูกและหลาน นั่งในที่ท้ายๆ ด้วยเหตุนั้น เธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ หลั่งน้ำตา คิดว่า ทรัพย์อันเป็นของตระกูลของเรามีอยู่ ควรไหมหนอที่เราใช้ทรัพย์นั้นเลี้ยงชีวิต จึงถามพระวินัยธรรูปหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ การพิจารณาสิ่งของอันเป็นของตนแล้วกิน จะสมควรหรือไม่สมควร. พระวินัยธรตอบว่า ในข้อนี้ไม่มีโทษ ข้อนั้นสมควรแท้. เธอจึงพาพวกภิกษุว่ายาก ประพฤติเลวทรามผู้คบกับตน ๒-๓ รูป ในเวลาเย็นไปภายในบ้าน ยืนอยู่กลางบ้าน ให้เรียกชาวบ้านมากล่าวว่า ท่านจะให้ทรัพย์ที่เกิดจากการประกอบของพวกเราแก่ใคร. ชาวบ้านพูดว่า ท่านขอรับ พวกท่านเป็นบรรพชิต พวกท่านจะให้ใครเล่า. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ทรัพย์ของตนไม่ควรแก่บรรพชิตหรือ ดังนี้แล้วให้คนถือจอบและตระกร้า กระทำกิจมีการก่อคันนาเป็นต้น รวบรวมปุพพัณณชาต อปรัณณชาตและผลไม้น้อยใหญ่มีอย่างต่างๆ ให้หุงต้มเคี้ยวกินสิ่งปรารถนา ในเหมันตฤดู คิมหันตฤดูและวัสสันตฤดู เป็นสมณกุฏุมพี เลี้ยงชีวิต. หญิงบำเรอบาทบริจาริกาพร้อมกับเด็กไว้ผม ๕ แหยมของสมณกุฏุมพีนั้น คนเดียวก็ไม่มี. บุคคลนี้ให้กายสามัคคีแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ลานพระเจดีย์และลานต้นโพธิ์เป็นต้น เหมือนต้นไม้ถึงแม้มีกิ่งอยู่ในฝั่ง แต่ก็มีกิ่งห้อยย้อยลงมาถูกน้ำ. เธอลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่อาจไปถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะมีรากภายนอกต้น เหตุที่ตัดความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ยังไม่ขาด. บุคคลผู้ขาดอาชีวะ อาศัยของสงฆ์เลี้ยงชีพ พึงเห็นเหมือนกิ่งคดเกิดกลางแม่น้ำคงคา ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพันไว้ภายนอก. คนบางคนแม้ละความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ออกบวช ก็ไม่ได้บรรพชาในสถานอันสมควร. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าการบรรพชานี้เป็นเหมือนการถือปฏิสนธิ. มนุษย์ทั้งหลายถือปฏิสนธิในตระกูลเหล่าใด ย่อมศึกษาอาจาระ (มารยาทและธรรมเนียม) ของตระกูลเหล่านั้นนั่นแลฉันใด แม้ภิกษุก็ฉันนั้น ถือเอาอาจาระเฉพาะในสำนักของเหล่าภิกษุที่ตนบวช เพราะฉะนั้น บุคคลบางคนบวชในสถานอันไม่สมควร ก็เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรมมีโอวาทานุสาสนี อุทเทศ (การเรียน) และปริปุจฉา (การสอบถาม) เป็นต้น ถือเอาหม้อเปล่าแต่เช้าตรู่ ไปยังท่าน้ำ วางบาตรไว้ที่คอไปสู่โรงฉัน เพื่อต้องการภัต สำหรับอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย. เล่นการเล่นต่างๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ว่ายาก คลุกคลีกับคนวัดและเด็กอยู่. ในเวลาเป็นหนุ่ม เธอก็กินอยู่ร่วมกับภิกษุหนุ่มสามเณร และคนวัดอันเหมาะแก่ตน กล่าวว่าผู้นี้เป็นผู้กินอยู่ของสงฆ์ อันพระขีณาสพทั้งหลายรับมาจากสำนักของพระราชาชื่อโน้น พวกท่านไม่ให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่สงฆ์ พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาทราบเรื่องของพวกท่านแล้ว ก็จักไม่พอพระทัย บัดนี้พวกท่านจงกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในที่นี้ ดังนี้แล้วให้คนถือเอาจอบและตะกร้า กระทำกิจที่ควรทำในสระน้ำและเหมืองทั้งหลาย ในหนหลังให้ส่งปุพพัณณชาตและอปรัณณชาตเป็นอันมาก เข้าไว้ในวิหาร ให้คนวัดบอกแก่สงฆ์ ถึงความที่ตนเป็นผู้อุปการ สงฆ์สั่งให้ให้ว่า ภิกษุหนุ่มนี้เป็นผู้มีอุปการมาก พวกท่านจงให้ ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้างแก่ภิกษุหนุ่มนี้ ดังนั้น ท่านจึงเพิ่มพูนด้วยสมบัติของสงฆ์ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ถูกอเนสนา ๒๑ อย่างผูกพันไว้ภายนอก ถึงจะหยั่งลงอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพาน. บุคคลผู้เกียจคร้านและกินจุ พึงทราบเหมือนต้นไม้ที่ถูกทรายคลุมทับในที่ๆ ล้มลงนั่นแล แล้วกลายเป็นไม้ผุฉะนั้น. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายหมายเอาบุคคลเห็นปานนี้ ผู้เห็นแก่อามิสและละโมบในปัจจัย ผู้ละทิ้งอาจารวัตรและอุปัชฌายวัตรเสียแล้ว ยังละเว้นจากอุทเทศ ปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจ) จึงกล่าวนิวรณ์ ๕ โดยอรรถอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไปสำนักของใคร. ลำดับนั้น ถีนมิทธนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายไม่เห็นหรือ บุคคลผู้เกียจคร้านอยู่ในวิหารโน้นนั่น ไปบ้านชื่อโน้น ซ้อนข้าวต้มไว้บนข้าวต้ม ขนมไว้บนขนม ซ้อนข้าวสวยไว้บนข้าวสวย มาวิหาร เป็นผู้สละวัตรปฏิบัติหมด ละเว้นจากอุทเทศเป็นต้น ขึ้นเตียงนอน จงให้โอกาสแก่เรา. ลำดับนั้น กามฉันทนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง บัดนี้แลเขานอนหลับ ถูกกิเลสรบกวน ตื่นขึ้นก็จักตรึกแต่กามวิตก. ลำดับนั้น พยาปาทนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง บัดนี้แลเราหลับไป ลุกขึ้นแล้วถูกต่อว่า ท่านจงทำวัตรปฏิบัติ ก็กล่าวคำหยาบมีประการต่างๆ ว่า ท่านคนพวกนี้ไม่ทำการงานของตน ขวนขวายแต่ในเรา จำจักควักนัยน์ตาออก เที่ยวไป. ลำดับนั้น อุทธัจจนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสเราบ้าง ขึ้นชื่อว่าผู้เกียจคร้าน ย่อมลุกขึ้นเหมือนกองเพลิงที่ถูกลมพัด. ลำดับนั้น กุกกุจจนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง ขึ้นชื่อว่าผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นผู้มีความรำคาญเป็นปกติ ทำให้เกิดความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร และความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร. ลำดับนั้น วิจิกิจฉานิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง. จริงอยู่ บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่าย่อมให้เกิดความสงสัยอย่างใหญ่ในฐานทั้ง ๘. นิวรณ์ ๕ ย่อมครอบงำยึดเอาผู้ที่เกียจคร้านกินจุ ด้วยอาการอย่างนี้ เหมือนสุนัขดุเป็นต้น ข่มเหงโคแก่ตัวเขาขาดฉะนั้น. แม้ผู้นั้นถึงหยั่งลงสู่กระแสอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ทำทิฏฐิให้เกิดแล้วตั้งอยู่ พึงทราบเหมือนต้นไม้ตั้งอยู่โดยอาการดุจรากที่ฝังอยู่ในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น. จริงอยู่ ผู้นั้นเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุและกัณฐกสามเณร เที่ยวกล่าวอยู่ว่า ในอรูปภพก็มีรูป ในอสัญญีภพ จิตก็ย่อมเป็นไปโลกุตตรมรรค อันเป็นไปหลายขณะจิต อนุสัยเป็นจิตตวิปยุตและเหล่าสัตว์เหล่านั้นแหละย่อมเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป ก็หรือว่าเป็นผู้มีวาทะว่าส่อเสียด เป็นผู้เที่ยวทำลายพระอุปัชฌาย์เป็นต้นกับสัทธิวิหาริกเป็นต้น. แม้ผู้นั้นถึงหยั่งลงสู่กระแสพระอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลที่บวชในเวลาแก่ อยู่ในชนบทปลายแดน และผู้เห็นธรรมได้โดยยาก พึงทราบเหมือนต้นไม้ที่ระท้องฟ้ากลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์พันยืนต้น แช่น้ำอยู่ ๒-๓ ครั้ง ในเมื่อห้วงน้ำหลากมาท่วมเกิน ๑-๒ ปี. จริงอยู่ บุคคลบางคนบวชในเวลาเป็นคนแก่ ได้อุปสมบทในชนบทปลายแดน โดย ๒-๓ วัน ในเวลามีพรรษา ๕ ท่องปาฏิโมกข์ได้คล่องแคล่ว ในเวลาได้ ๑๐ พรรษา ในเวลากล่าววินัยในสำนักพระเถระผู้ทรงวินัย วางพริกไทยหรือชิ้นสมอไว้ในปาก ปิดหน้าด้วยพัด นั่งหลับ เป็นผู้ชื่อว่ามีวินัยอันเธอกระทำแล้วด้วยอากัปกิริยาเป็นเลศ ถือบาตรและจีวรไปยังชนบทปลายแดน. มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้นพากันสักการะภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แล เพราะการเห็นภิกษุหาได้ยาก จึงพากันสร้างวิหาร ปลูกต้นไม้มีดอกและออกผลแล้ว ให้อยู่ในวิหารนั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตจากวิหารเช่นกับด้วยมหาวิหาร ไปในที่นั้นด้วยตั้งใจว่า จักมาบำเพ็ญวิปัสสนาเป็นต้นในชนบท. ภิกษุนั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นยินดีร่าเริง บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ วันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปบ้านเพื่อภิกขาจารกล่าวว่า พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระสูตร พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงอภิธรรม พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระวินัย พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไรพวกท่านจักได้พระเถระเห็นปานนี้ จักสร้างที่ฟังธรรม. อุบาสกทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักสร้างที่ฟังธรรม ดังนี้แล้ว ชำระทางไปวิหาร แล้วถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น เข้าไปหาพระมหาเถระ กล่าวว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะสร้างที่ฟังธรรม ท่านจงบอกกล่าวต่อพระธรรมกถึก วันรุ่งขึ้นจึงมาฟังธรรม. พระเถระผู้เป็นเจ้าถิ่นเก็บงำบาตรและจีวรของภิกษุผู้อาคันตุกะ ให้ส่วนแห่งวันล่วงเลยไป ภายในห้องนั่นแล. พระธรรมกถึกผู้กล่าวตอนกลางวัน ลุกขึ้นกล่าวบทสรภัญญะเหมือนเทน้ำจากหม้อ ท่านไม่รู้บทสรภัญญะแม้นั้น. ผู้กล่าวกลางคืนกล่าวตอนกลางคืนแล้วลุกขึ้น เหมือนทำสาครให้กะเพื่อม ท่านไม่รู้จักแม้บทสรภัญญะนั้น. ท่านผู้กล่าวตอนใกล้รุ่ง กล่าวแล้วลุกขึ้น. ท่านก็ไม่รู้บทสรภัญญะแม้นั้น. ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ล้างหน้า น้อมบาตรและจีวรเข้าไปถวายพระเถระ เข้าไปภิกษาจารกล่าวกะพระมหาเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้กล่าวตอนกลางวันกล่าวชาดกชื่ออะไร. ท่านผู้กล่าวบทสรภัญญะกล่าวสูตรอะไร ผู้กล่าวกลางคืนกล่าวธรรมกถาชื่ออะไร, ผู้กล่าวตอนใกล้รุ่งกล่าวชื่อชาดกอะไร, ชื่อว่าขันธ์ทั้งหลายมีเท่าไร ชื่อว่าธาตุทั้งหลายมีเท่าไร ชื่อว่าอายตนะมีเท่าไร พระเถระเห็นปานนี้ล่วงไป ๑-๒ ปี จึงได้เห็นภิกษุและได้ฟังธรรม เช่นกับชุ่มด้วยน้ำ ในเมื่อห้วงน้ำหลากมา. บุคคลนั้นกลับจากเยี่ยมพระสงฆ์ และการฟังธรรมอย่างนี้ อยู่ในที่ไกลถึงหยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิก็ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลผู้กล่าวด้วยเสียงอันไพเราะ พึงทราบเหมือนต้นไม้อ่อนอัน เกิดที่เกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา. จริงอยู่ บุคคลนั้นเรียนชาดกมีเวสสันดรชาดกเป็นต้นที่รู้จักกันแล้ว ไปปัจจันตชนบท อันเป็นที่เห็นภิกษุได้ยาก อันชนผู้มีใจเลื่อมใสด้วยธรรมกถาในที่นั้นบำรุงอยู่ อยู่ในวิหาร อันเป็นที่รื่นรมย์ดุจนันทนวันมีต้นไม้ดอกผลสมบูรณ์ ที่เขาทำอุทิศเฉพาะตน. ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้กล่าวภาณวาร ได้ฟังเรื่องนั้นของภิกษุนั้นแล้ว จึงไปในที่นั้นด้วยคิดว่า ได้ยินว่า ภิกษุชื่อโน้นมีจิตผูกพันในอุปัฏฐากอย่างนี้อยู่ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตสามารถเพื่อเรียนพุทธพจน์ หรือเพื่อมนสิการพระกรรมฐาน พวกเราพร้อมด้วยท่านจะนำมาเรียนธรรม เรียนกรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น. ท่านทำวัตรต่อภิกษุเหล่านั้น ในเวลาเย็นถูกภิกษุทั้งหลายผู้ออกจาริกไปในวิหารถามว่า อาวุโส ท่านสร้างเจดีย์นี้หรือ. จึงตอบว่า ขอรับ ท่านผู้เจริญ. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า นี้ต้นโพธิ์ นี้มณฑป นี้โรงอุโปสถ นี้โรงไฟ นี้ที่จงกรม ท่านให้เขาสร้างหรือ ท่านให้ปลูกต้นไม้เหล่านี้ สร้างวิหารน่ารื่นรมย์ดุจนันทนวันหรือ. ภิกษุนั้นตอบว่า ขอรับท่านผู้เจริญ. ในเวลาเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงพระเถระ ไหว้แล้วถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงมาขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราจะพาท่านไปเรียนกรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น จักพร้อมเพรียงกันทำสมณธรรมในป่าชื่อโน้น เพราะฉะนั้น พวกเราจึงพากันมาด้วยเหตุนี้. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ธรรมดาว่า ท่านมาเพื่อประโยชน์แก่กระผม แม้กระผมก็เป็นผู้เบื่อหน่ายในที่นี้ ด้วยการอยู่มานานจึงจะไป กระผมขอรับบาตรจีวรขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราเป็นสามเณรและภิกษุหนุ่ม เหน็ดเหนื่อยมาในหนทาง วันนี้พักอยู่ก่อน พรุ่งนี้เวลาหลังอาหารจักไป. เธอกล่าวว่า ดีละ ท่านขอรับ วันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตกับสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ชาวบ้านคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา พาภิกษุอาคันตุกะมามากดังนี้แล้ว จึงพากันตกแต่งอาสนะ ให้ดื่มข้าวยาคู นั่งอย่างสบายฟังกถา นำภัตตาหารมา. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ท่านจงทำอนุโมทนาแล้วออกไป พวกเราจักกระทำภัตกิจ ในที่สำราญด้วยน้ำ ดังนี้แล้วออกไป. ชาวบ้านฟังอนุโมทนาแล้วถามว่า ท่านขอรับ พระเถระทั้งหลายมาแต่ไหน. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระเหล่านั้นเป็นอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพวกเรา เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ เป็นผู้เคยเห็นเคยคบกันมา. ชาวบ้านถามว่า พระเถระเหล่านั้นมาทำไมกัน. เธอตอบว่า มาเพราะต้องการจะพาอาตมาไป. พวกชาวบ้านถามว่า ก็ท่านเล่าประสงค์จะไปหรือ. เธอตอบ อย่างนั้นสิผู้มีอายุ. พวกชาวบ้านพูดว่าท่านขอรับ ท่านพูดอะไร พวกผมสร้างโรงอุโบสถเพื่อใคร สร้างโรงฉันเพื่อใคร สร้างโรงไฟเพื่อใคร พวกเราจักไปสำนักของใคร ในกาลอันเป็นมงคลและอวมงคล. ฝ่ายอุบาสิกาทั้งหลายนั่งในที่นั้นนั่นแลก็หลั่งน้ำตา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้รับทุกข์อย่างนี้ อาตมาจะไปทำอะไร ดังนี้ แล้วส่งพระเถระไปแล้วกลับไปวิหาร. แม้พระเถระทั้งหลายเสร็จภัตกิจแล้ว นั่งถือบาตรและจีวรรออยู่ พอเห็นภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า อาวุโส ทำไมจึงช้าอยู่ ยังวันอยู่หรือ เราจะไปละ. ภิกษุกล่าวว่า อย่างนั้นขอรับ ท่านได้รับสุข มูลของอิฐสำหรับบ้านโน้นยังค้างอยู่คงอยู่ตามสัณฐานที่ตั้งไว้นั่นแหละ มูลของจิตรกรรมเป็นต้น สำหรับบ้านโน้นเป็นต้นก็ยังค้างอยู่ แม้เมื่อกระผมไปเสีย จิตก็จักฟุ้งซ่าน พวกท่านจงล่วงหน้าไปกระทำการซักและการย้อมจีวรเป็นต้นในวิหารโน้น กระผมจักถึงในที่นั่น. พระเถระเหล่านั้นรู้ว่าภิกษุหนุ่มนั้นประสงค์ถ่วงเวลาจึงกล่าวว่า ท่านพึงมาในภายหลัง ดังนี้แล้วก็หลีกไป. ภิกษุหนุ่มนั้นตามไปส่งพระเถระแล้วกลับมาวิหารนั่นแหละ จึงตรวจดูโรงฉันเป็นต้น เห็นวิหารน่ารื่นรมย์ จึงคิดว่า ดีแล้วหนอ เราไม่ไปละ ถ้าไป พระธรรมกถึกบางรูปนั่นแหละมาทำลายจิตใจของคนทุกคน ทำวิหารให้เป็นของนิกายตน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไปภายหลังฉันข้าวของชนที่เราได้ภายหลัง จักพักเที่ยวไป. สมัยต่อมา ภิกษุหนุ่มนั้นฟังว่า เล่ากันมาว่าภิกษุเหล่านั้นเรียนพุทธพจน์ ได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๑ ปิฎกและ ๒ ปิฎกเป็นต้น ก็เป็นพระอรรถกถาจารย์ เป็นพระวินัยธร มีบริวารเป็นร้อยเป็นพัน เที่ยวไป. ส่วนภิกษุเหล่าใดไปเพื่อจะทำสมณธรรมในที่นั้น ภิกษุเหล่านั้นเพียรพยายามก็เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานด้วยสักการะอย่างใหญ่ เธอคิดว่าถ้าเราจักไปแล้วไซร้ สมบัตินี้ก็จักเป็นของเรา แต่เราเมื่อไม่สามารถจะเปลื้องฐานะนี้ได้ จึงต้องเป็นผู้เสื่อมอย่างยิ่ง. บุคคลนี้เมื่อเปลื้องฐานะนั้น หยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะตนเป็นผู้อ่อนโยน. บุคคลผู้ประพฤติย่อหย่อน เรียนบรรดาปฏิปทามีรถวินีตสูตร มหาอริยวังสสูตรและจันโทปมสูตรเป็นต้น ปฏิปทาอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงทราบเหมือนต้นไม้เกิดเอง เป็นดังสะพานข้ามในระหว่าง แล้วเกิดเป็นปัจจัยที่อาศัยของชนเป็นอันมาก เพราะมันล้มลงขวางแม่น้ำคงคาแล้วถูกทรายกลบทับไว้. จริงอยู่ บุคคลนั้นเรียนธรรมอันอาศัยข้อปฏิบัตินั้น ตามปกติเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ก็บรรลุฐานะอันยิ่งใหญ่ เช่นกับเขาจิตตลบรรพตเป็นต้น กระทำวัตรมีเจติยังคณวัตรเป็นต้น. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มพวกอาคันตุกะกล่าวกะท่านภิกษุหนุ่มผู้มาถึงโรงฟังธรรมว่า ท่านจงกล่าวธรรม. ภิกษุหนุ่มนั้นกล่าวแสดงธรรมปฏิปทาที่ตนเรียนมาโดยชอบ. ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้เถระ ผู้ใหม่และมัชฌิมะทั้งหมดมีภิกษุผู้ทรงบังสุกุลิกธุดงค์และภิกษุทรงปิณฑปาติกธุดงค์เป็นต้น มีความดีใจต่อภิกษุหนุ่มนั้นว่า ดีจริง ท่านสัตบุรุษ. ภิกษุหนุ่มนั้นเริ่มตั้งเพียงนิทานของบางสูตร กึ่งคาถาบางสูตร คาถาหนึ่งบางสูตร สงเคราะห์ภิกษุหนุ่มและสามเณร ประหนึ่งผูกติดกันด้วยแผ่นเหล็ก แล้วเข้าไปหาพระมหาเถระ ถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็วิหารเก่านี้มีอยู่ ปัจจัยลาภไรๆ เกิดในวิหารนั้น ก็ต้องเป็นของภิกษุในวิหารนั้น. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ท่านพูดอะไร ปัจจัยลาภเกิดในวิหารนั้นได้เนื้อที่ถึง ๒๔,๐๐๐ กรีส. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกท่านกล่าวอย่างนี้ แต่แม้ไฟก็ไม่ติดลุกที่เตาไฟ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส ขึ้นชื่อว่าปัจจัยลาภที่ภิกษุผู้อยู่ในวิหารได้แล้วไม่มีอย่างนี้เลย ใครเล่าไม่ปรารถนา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ทานวัตถุที่พระราชาเก่าๆ พระราชทาน พระขีณาสพรับไว้แล้ว เพราะเหตุไร พระขีณาสพเหล่านั้นจึงจะทำปัจจัยลาภให้เสียหาย. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส อันพระธรรมกถึกเช่นท่านก็พึงสามารถที่จะได้. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่าพระธรรมกถึกผู้แสดงข้อปฏิบัติ สำคัญกระผมว่าเป็นสังฆกุฏุมพี เป็นผู้บำรุงวิหาร จึงปรารถนาจะกระทำต่อกระผม. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส ข้อนั้นเป็นอกัปปิยะ ข้อนี้ไม่ควรหรือ แต่เมื่อผู้เช่นท่านกล่าวแล้ว ข้อนั้นจะพึงเกิดแก่พวกผม. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น เมื่อคนวัดมา ท่านจงไว้หน้าที่พวกกระผม พวกกระผมจักบอกประตูกัปปิยะ ข้อสมควรอย่างยิ่ง. ภิกษุหนุ่มไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ในเวลาประชุม เมื่อคนวัดมาจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุบาสกทั้งหลาย ภาระในเขตโน้นอยู่ที่ไหน กหาปณะในเขตโน้นอยู่ที่ไหน จึงจับมือคนหนึ่งให้แก่อีกคนหนึ่ง. เมื่อเขาปฏิเสธข้อนั้นๆ ตามลำดับอย่างนี้ ให้แก่ผู้คนนั้นๆ กระทำโดยอาการที่อุบาสกทั้งหลายถือข้าวยาคู ถือขนม ถือภัตและถือขวดใส่น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นมายังสำนักของตน. วิหารทุกวิหารก็โกลาหลเป็นอย่างเดียวกัน. พวกภิกษุผู้น่ารักต่างแยกย้ายกันไป. แม้ภิกษุหนุ่มนั้นก็ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ยังวิหารให้เต็มด้วยภิกษุผู้ว่ายากเป็นอันมาก ผู้ถูกอาจารย์และอุปัชฌาย์ประณามแล้ว. ภิกษุพวกอาคันตุกะยืนที่ประตูวิหาร ถามว่าใครอยู่ในวิหาร ได้ฟังว่า พวกภิกษุชื่อเห็นปานนี้ ต่างก็หลีกไปเสียทางด้านนอก. บุคคลนี้ยึดถือมหาชนเป็นปัจจัย หยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะนอนขวางในพระศาสนา. บทว่า ภควนฺตํ เอตทโวจ ความว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้พระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลง ด้วยบทว่า นิพฺพานปพฺภารา แล้วได้กล่าวคำนี้ คือ คำมีอาทิว่า กึ นุ โข ภนฺเต (อะไรหนอ พระเจ้าข้า) ดังนี้ เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ. จริงอยู่ แม้พระตถาคตประทับนั่งในบริษัทนี้ ทรงพระดำริว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิมีอยู่ ภิกษุนั้นจักถามเรา จึงกระทำเทศนาให้จบลงในที่ตรงนี้ เพื่อทรงให้โอกาสแก่ภิกษุนั้นนั่นแล. บัดนี้ พึงทราบความเข้าไปยึดและไม่เข้าไปยึดเป็นต้น ในอายตนะภายในเป็นต้นที่กล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า โอริมํ ตีรํ อย่างนี้. ภิกษุผู้คิดว่า จักษุของเราแจ่มใส เราสามารถรู้แจ้งรูปารมณ์ แม้มีประมาณน้อยได้ดังนี้แล้ว รูปารมณ์นั้นทำจักษุให้เพลิดเพลินอยู่ก็ดี ผู้มีจักษุประสาทเสียเพราะความมืดและลมเป็นต้น ถึงโทมนัส (ความเสียใจ) ว่า จักษุของเราไม่น่าชอบใจ เราไม่สามารถจะทำรูปารมณ์แม้ใหญ่ให้แจ่มแจ้มได้ก็ดี ชื่อว่าเข้าไปยึดจักขวายตนะ แต่เมื่อเห็นแจ้งด้วยอำนาจลักษณะ ๓ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่าไม่เข้าไปยึด (จักขวายตนะ) แม้ในโสตายตนะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน ส่วนในมนายตนะ ภิกษุชอบใจอย่างนี้ว่า ใจของเราน่าชอบใจหนอ ไม่ถืออะไรๆ ทางข้างซ้าย ถือเอาทุกสิ่งทางข้างขวาเท่านั้น หรือยินดีอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าด้วยจิต ชื่อว่า ไม่มีลาภ ไม่มีก็ดี เกิดโทมนัส (ความเสียใจ) ขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าแต่สิ่งชั่ว ใจก็ไม่ยอมรับเอา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่าเข้าไปยึดมนายตนะ แต่เมื่อให้เกิดความยินดีในรูปที่น่าปรารถนา ให้เกิดความยินร้ายในรูปที่ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่าเข้าไปยึดรูปายตนะ. แม้ในสัททายตนะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ทรายละเอียดและหยาบปิดท่อนไม้ที่จมตรงกลาง (นอกนั้น) อยู่บนบก ท่อนไม้นั้นไม่สามารถจะยกปลายขึ้นได้อีก ฉันใด บุคคลผู้อันนันทิราคะติดพันแล้วก็ฉันนั้น ตกไปในอบาย ๔ ถูกทุกข์ใหญ่บีบคั้น เขาไม่สามารถเงยศีรษะขึ้นได้อีกตั้งหลายพันปี ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า อสฺมิมานสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ท่อนไม้ที่งอกขึ้นบนบก ท่อนล่างแช่น้ำในแม่น้ำคงคา ท่อนบนเปียกน้ำฝน ถูกสาหร่ายหุ้มรัดไว้โดยลำดับ ก็จะถูกเขาต่อว่าว่าตอนั้นเป็นแผ่นหินหรือฉันใด บุคคลผู้ถือตัวด้วยอัสมิมานะก็ฉันนั้น ถือว่าเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรในฐานะของผู้ถือบังสุกูลิกังคธุดงค์ เป็นพระธรรมกถึกในฐานะพระธรรมกถึก เป็นผู้รักษาเรือนคลังในฐานะภัณฑาคริก เป็นแพทย์ในฐานะเป็นแพทย์ เป็นผู้ส่อเสียดในฐานะเป็นผู้ส่อเสียด. บุคคลนั้นถึงการแสวงหาที่ไม่สมควรมีประการต่างๆ ถูกอาบัตินั้นๆ ผูกพันไว้ ก็จะถูกเขาต่อว่า ศีลอะไรๆ ภายในของเขา มีหรือไม่มีหนอ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อสฺมิมานสฺเสตํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า ปญฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ท่อนไม้ที่ตกไปในน้ำวน ถูกกระแทกที่แผ่นหินเป็นต้น แหลกละเอียดภายในนั้นนั่นแลฉันใด บุคคลผู้ตกไปในวังวน คือกามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ถูกทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายเป็นต้น กระทบกระทั่งบีบคั้น เพราะกรรมกรณ์ (การลงโทษ) ในอบาย ๔ ถึงความแหลกละเอียดตลอดกาลนาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ปญฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร ความว่า ผู้มีความประพฤติที่ผู้อื่นพึงระลึกโดยความรังเกียจอย่างนี้ว่า กรรมนี้เห็นจะเป็นของผู้นี้ เห็นจะเป็นของผู้นี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ เพราะประพฤติสมาจารต่อบุคคลอื่น ความรังเกียจดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ผู้นั้นชื่อว่ามีสมาจารน่ารังเกียจ เพราะเห็นคน ๒-๓ คนพูดกัน ก็รังเกียจคือแล่นไปสู่ความประพฤติของคนเหล่านั้นว่า ผู้คนเหล่านี้ชะรอยจะกล่าวโทษเราดังนี้ก็มี. บทว่า สมณปฏิญฺโญ ความว่า ในการจับสลากเป็นต้น เมื่อเขาเริ่มนับว่า สมณะในวิหารมีเท่าไร ภิกษุนั้นก็ปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นสมณะ แม้เราก็เป็นสมณะ กระทำการจับสลากเป็นต้น. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโญ ความว่า ในอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมเข้าสังฆกรรมเหล่านั้น โดยปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นพรหมจารี. บทว่า อนฺโตปูติ ความว่า ชื่อว่าความเป็นผู้เน่าใน เพราะเป็นความเน่าของคุณความดี แม้ของบุคคลผู้ไม่เน่า ในอาการ ๓๒ มีไตและหัวใจเป็นต้น. บทว่า อวสฺสุโต แปลว่า ผู้อันราคะชุ่มแล้ว. บทว่า กสมฺพุกชาโต ได้แก่ เกิดเป็นหยากเยื่อ เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นายนันทะคนเลี้ยงโค ต้อนฝูงโคให้บ่ายหน้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วคิดว่า พระศาสดาตรัสว่า เธออาจบำเพ็ญข้อปฏิบัติด้วยอำนาจเป็นผู้ไม่เข้าถึงฝั่งในเป็นต้น ถ้าเราอาจบำเพ็ญอย่างนั้นได้ไซร้ เราบวชแล้วจักบำเพ็ญได้ ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำว่า อหํ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. บทว่า วจฺฉคิทฺธินิโย ความว่า แม่โคทั้งหลาย มีความรักในลูกโคทั้งหลาย ด้วยทั้งนมที่กำลังหลั่งน้ำนมอยู่ ก็จักไปหาเอง เพราะความรักในลูกโค. บทว่า นิยฺยาเตเหว แปลว่า จงมอบให้. จริงอยู่ เมื่อแม่โคยังไม่ถูกมอบให้ เจ้าของโคทั้งหลายก็จักเที่ยวตามหลังท่านด้วยคิดว่า แม่โคตัวหนึ่งไม่เห็น โคตัวหนึ่ง ลูกโคตัวหนึ่งก็ไม่เห็น เพื่อแสดงว่า ความผาสุกจักมีด้วยประการฉะนี้ และขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้ ไม่งอกงามสำหรับผู้ยังมีหนี้ และการบรรพชาที่ไม่มีหนี้ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า นิยฺยาติตา แปลว่า ถูกมอบให้แล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสถึงวัฏฏะและวิวัฏฏะ

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์ อรรถกถาปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔ ในปฐมทารุขันธสูตรที่ ๔ มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้. บทว่า อทฺทสา ความว่า ประทับนั่งบนบวรพุทธอาสน์ที่เขาจัดไว้ ณ ริมฝั่งแม่น้ำคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นแล้ว. บทว่า วุยฺหมานํ ได้แก่ ท่อนไม้ที่เขาถากเป็น ๔ เหลี่ยมแล้วกองไว้ระหว่างเขา แห้งสนิทดีเพราะลมและแดด เมื่อเมฆฝนตกชุกก็ลอยขึ้นตามน้ำ ตกไปในกระแสแม่น้ำคงคาตามลำดับ ลอยไหลไปตามกระแสน้ำนั้น. บทว่า ภิกฺขู อามนฺเตสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริว่า เราจักแสดงกุลบุตรผู้บวชด้วยศรัทธาในศาสนาของเรา กระทำให้เหมือนท่อนไม้นี้ ดังนี้แล้ว จึงตรัสเรียกมา เพราะทรงประสงค์จะทรงแสดงธรรม. อนึ่ง เพราะนอกจากโทษ ๘ ประการของท่อนไม้ที่ลอยไปตามกระแสน้ำ เพื่อจะทรงแสดงโทษอีก ๘ ประการอันจะกระทำอันตรายแก่ท่อนไม้ที่ลอยไปสู่สมุทร. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงทรงเริ่มพระดำรัสนี้ว่า อมุ ํ มหนฺตํ ทารุกฺขนฺธํ คงฺคาย นทิยา โสเตน วุยฺหมานํ ดังนี้. จริงอยู่ ต้นไม้ต้นหนึ่งเกิดที่พื้นภูเขา ไม่ไกลแม่น้ำคงคา ถูกเถาวัลย์ต่างๆ พันไว้มีใบเหลือง ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ก็ถึงความไม่มีบัญญัติ (ตาย) ในที่นั้นนั่นเอง ท่อนไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้วงดงามอยู่ในวังวน ถึงสาครแล้วย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงาม บนหลังคลื่นซึ่งมีสีดังแก้วมณี. ต้นไม้อีกต้นหนึ่งมีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายในฝั่งแม่น้ำคงคา ต้นไม้นี้ถูกน้ำโดยกิ่งที่ห้อยย้อยลงมาบางครั้งบางคราวก็จริง ถึงอย่างนั้น เพราะมันมีรากอยู่ภายนอกแม่น้ำคงคา ลงสู่แม่น้ำคงคาแล้ว งดงามอยู่ในวังวน ถึงสาครแล้ว ย่อมไม่ได้เพื่อจะงดงามบนหลังคลื่น ซึ่งมีสีดังแก้วมณี. อีกต้นหนึ่งเกิดกลางแม่น้ำคงคา แต่ยืนต้นอยู่ดีเพราะรากมั่นคงและกิ่งคดของมันยื่นไปนอกต้น ถูกเถาวัลย์ต่างๆ เกี่ยวพันไว้. แม้ต้นไม้นี้ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ไม่ได้งดงาม เพราะมีรากมั่นคงและมีเถาวัลย์เกี่ยวพันไว้ข้างนอก. อีกต้นหนึ่งถูกทรายคลุมทับไว้ ในที่ๆ มันล้มลงนั่นแล ก็เน่า ฯลฯ ต้นไม้แม้นี้ก็ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งยืนต้นอยู่อย่างแน่นสนิท เหมือนฝังไว้ดี เพราะเกิดในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น น้ำคงคาที่ไหลมาถึงได้แยกเป็น ๒. ต้นไม้นี้เพราะอยู่ด้วยดีในระหว่างแผ่นหิน ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งยังท้องฟ้าให้เต็มในที่กลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพัน ยืนต้นอยู่ เปียกน้ำ ๑-๒ ครั้ง ในห้วงน้ำใหญ่ที่หลากมาถึงเกิน ๑-๒ ปี แม้ต้นไม้นี้ เพราะมันยืนต้นระท้องฟ้า และเพราะเปียกอยู่ ๑-๒ ครั้งโดยล่วงไป ๑-๒ ปี ลงสู่แม่น้ำคงคา ฯลฯ ก็ไม่งาม. แม้อีกต้นหนึ่งเกิดบนเกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา มีลำต้นและกิ่งอ่อน เมื่อโอฆะ ห้วงน้ำหลากมาก็ล้มลอยไปตามกระแสน้ำ เมื่อน้ำไหลถึงก็ชูยอดขึ้นเหมือนฟ้อนรำได้. เพื่อประโยชน์ไรเล่า สาครเหมือนกล่าวกะแม่คงคาว่า ดูก่อนท่านคงคา ท่านนำมาแต่ไม้ต่างๆ มีไม้แก่นจันทน์ และไม้แก่นมีหนามเป็นต้น แต่ไม่นำท่อนไม้มา. แม่น้ำคงคากล่าวว่า ข้าแต่เทวะ นั่นเป็นการดีแล้วละ ข้าก็จักรู้อีกครั้งแล้วไหลมาเหมือนสวมกอดด้วยน้ำสีแดงอีกครั้ง. ต้นไม้แม้นั้นก็ลอยไปตามกระแสน้ำเหมือนอย่างนั้นแล เมื่อน้ำผ่านมาถึง ก็ชูยอดขึ้นเหมือนรำฟ้อนฉะนั้น. ต้นไม้นี้ลงสู่แม่น้ำคงคา เพราะยังเป็นไม้อ่อน ฯลฯ ก็ไม่งาม. อีกต้นหนึ่งล้มลงขวางแม่น้ำคงคา ถูกทรายคลุมทับไว้ เป็นที่อาศัยของคนเป็นอันมาก เหมือนสะพานทอดอยู่ในระหว่างฉะนั้น. ไม้ไผ่ไม้อ้อไม้กุ่มบกและไม้กุ่มน้ำเป็นต้น ที่ฝั่งทั้ง ๒ ลอยมาติดอยู่ที่ต้นไม้นั้นนั่นแล กอไม้ต่างๆ ก็ลอยมาอย่างนั้น ทั้งสากแตก กระด้งขาด ซากงู ลูกสุนัขและช้างม้าเป็นต้น ก็ติดอยู่ที่นั้นเหมือนกัน. แม่น้ำคงคาใหญ่กระทบสิ่งนั้นแล้วก็แยกเป็น ๒ สาย ทั้งปลา เต่า จระเข้และมังกรเป็นต้นก็อยู่ในที่นั้นนั่นแล แม้ต้นไม้นี้ล้มขวางแม่น้ำคงคา โดยภาวะที่ทำให้เป็นที่อาศัยของมหาชน เมื่องอกงามอยู่ในที่อันเป็นวังวน ถึงสาครก็ไม่งาม บนหลังคลื่นอันมีสีดังแก้วมณี. ดังนั้น เพื่อจะทรงแสดงโทษอีก ๘ ประการ อันกระทำอันตรายแก่การถึงสมุทรแห่งท่อนไม้ ที่ไปตามกระแสน้ำ เพราะนอกจากโทษ ๘ ประการนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสพระดำรัสมีอาทิว่า ท่อนไม้ใหญ่ท่อนโน้น ถูกกระแสน้ำคงคาพัดไปอยู่. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า น ถเล อุสฺสาทิสฺสติ ได้แก่ จักไม่ขึ้นบก. บทว่า น มนุสฺสคฺคาโห คเหสฺสติ ความว่า มนุษย์ทั้งหลายเห็นว่าต้นไม้นี้ใหญ่หนอ จึงข้ามน้ำไปด้วยแพ ไม่ยึดถือเอา เพื่อประโยชน์จะทำเป็นไม้กลอนเป็นต้น. บทว่า น อมนุสฺสคฺคาโห คเหสฺสติ ความว่า อมนุษย์ทั้งหลายสำคัญว่า ไม้แก่นจันทน์นี้มีค่ามาก พวกเราจักพักไว้ทางประตูวิมาน แต่ก็ไม่ถือเอา. ในคำว่า เอวเมวโข นี้ พึงทราบการเทียบเคียงข้ออุปมา พร้อมกับทั้งโทษภายนอก ๘ ประการอย่างนี้. จริงอยู่ บุคคลผู้ประกอบด้วยมิจฉาทิฏฐิ มีอาทิว่าทานที่บุคคลให้แล้วย่อมไม่มีผล พึงทราบเหมือนท่อนไม้เกิดที่พื้นภูเขา ไกลแม่น้ำคงคา ถูกปลวกเป็นต้นกัดกิน ถึงความหาบัญญัติมิได้ในที่นั้นนั่นแล. จริงอยู่ บุคคลนี้ลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่อาจไปถึงสาครคือพระนิพพาน เพราะไกลพระศาสนา. บุคคลผู้เป็นสมณกุฏุมพี ยังตัดความผูกพันทางคฤหัสถ์ไม่ขาด พึงเห็นเหมือนต้นไม้ที่มีรากอยู่ภายนอก มีกิ่งอยู่ภายใน เกิดที่ริมฝั่งแม่น้ำคงคา. จริงอยู่ บุคคลนี้คิดว่า ธรรมดาจิตนี้ไม่ต่อเนื่องกัน เมื่อกล่าวว่า เราเป็นสมณะ แต่ก็เป็นคฤหัสถ์ เมื่อกล่าวว่า เราเป็นคฤหัสถ์ แต่ก็เป็นสมณะ ใครจักรู้ว่า เราจะเป็นอย่างไร แม้เมื่อบวชในเวลาแก่ก็ไม่สละความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์. และชื่อว่าสมบัติของผู้บวชในเวลาแก่ย่อมไม่มี. ถ้าจีวรมาถึงเธอไซร้ ก็ถึงแต่จีวรขาดๆ จีวรเก่าๆ หรือจีวรซีดๆ. แม้เสนาสนะเล่า ไม่ว่าบรรณศาลาหรือมณฑป ก็มาถึงแต่ที่อยู่ชายวิหาร. แม้เมื่อเที่ยวไปบิณฑบาตก็เที่ยวไปข้างหลังเด็กๆ ผู้เป็นลูกและหลาน นั่งในที่ท้ายๆ ด้วยเหตุนั้น เธอจึงเป็นทุกข์ เสียใจ หลั่งน้ำตา คิดว่า ทรัพย์อันเป็นของตระกูลของเรามีอยู่ ควรไหมหนอที่เราใช้ทรัพย์นั้นเลี้ยงชีวิต จึงถามพระวินัยธรรูปหนึ่งว่า ท่านอาจารย์ การพิจารณาสิ่งของอันเป็นของตนแล้วกิน จะสมควรหรือไม่สมควร. พระวินัยธรตอบว่า ในข้อนี้ไม่มีโทษ ข้อนั้นสมควรแท้. เธอจึงพาพวกภิกษุว่ายาก ประพฤติเลวทรามผู้คบกับตน ๒-๓ รูป ในเวลาเย็นไปภายในบ้าน ยืนอยู่กลางบ้าน ให้เรียกชาวบ้านมากล่าวว่า ท่านจะให้ทรัพย์ที่เกิดจากการประกอบของพวกเราแก่ใคร. ชาวบ้านพูดว่า ท่านขอรับ พวกท่านเป็นบรรพชิต พวกท่านจะให้ใครเล่า. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ทรัพย์ของตนไม่ควรแก่บรรพชิตหรือ ดังนี้แล้วให้คนถือจอบและตระกร้า กระทำกิจมีการก่อคันนาเป็นต้น รวบรวมปุพพัณณชาต อปรัณณชาตและผลไม้น้อยใหญ่มีอย่างต่างๆ ให้หุงต้มเคี้ยวกินสิ่งปรารถนา ในเหมันตฤดู คิมหันตฤดูและวัสสันตฤดู เป็นสมณกุฏุมพี เลี้ยงชีวิต. หญิงบำเรอบาทบริจาริกาพร้อมกับเด็กไว้ผม ๕ แหยมของสมณกุฏุมพีนั้น คนเดียวก็ไม่มี. บุคคลนี้ให้กายสามัคคีแก่ภิกษุทั้งหลาย ที่ลานพระเจดีย์และลานต้นโพธิ์เป็นต้น เหมือนต้นไม้ถึงแม้มีกิ่งอยู่ในฝั่ง แต่ก็มีกิ่งห้อยย้อยลงมาถูกน้ำ. เธอลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่อาจไปถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะมีรากภายนอกต้น เหตุที่ตัดความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ยังไม่ขาด. บุคคลผู้ขาดอาชีวะ อาศัยของสงฆ์เลี้ยงชีพ พึงเห็นเหมือนกิ่งคดเกิดกลางแม่น้ำคงคา ถูกเถาวัลย์เกี่ยวพันไว้ภายนอก. คนบางคนแม้ละความเกี่ยวพันทางคฤหัสถ์ ออกบวช ก็ไม่ได้บรรพชาในสถานอันสมควร. จริงอยู่ ขึ้นชื่อว่าการบรรพชานี้เป็นเหมือนการถือปฏิสนธิ. มนุษย์ทั้งหลายถือปฏิสนธิในตระกูลเหล่าใด ย่อมศึกษาอาจาระ (มารยาทและธรรมเนียม) ของตระกูลเหล่านั้นนั่นแลฉันใด แม้ภิกษุก็ฉันนั้น ถือเอาอาจาระเฉพาะในสำนักของเหล่าภิกษุที่ตนบวช เพราะฉะนั้น บุคคลบางคนบวชในสถานอันไม่สมควร ก็เป็นผู้เหินห่างจากคุณธรรมมีโอวาทานุสาสนี อุทเทศ (การเรียน) และปริปุจฉา (การสอบถาม) เป็นต้น ถือเอาหม้อเปล่าแต่เช้าตรู่ ไปยังท่าน้ำ วางบาตรไว้ที่คอไปสู่โรงฉัน เพื่อต้องการภัต สำหรับอาจารย์และอุปัชฌาย์ทั้งหลาย. เล่นการเล่นต่างๆ กับภิกษุหนุ่มและสามเณรผู้ว่ายาก คลุกคลีกับคนวัดและเด็กอยู่. ในเวลาเป็นหนุ่ม เธอก็กินอยู่ร่วมกับภิกษุหนุ่มสามเณร และคนวัดอันเหมาะแก่ตน กล่าวว่าผู้นี้เป็นผู้กินอยู่ของสงฆ์ อันพระขีณาสพทั้งหลายรับมาจากสำนักของพระราชาชื่อโน้น พวกท่านไม่ให้สิ่งนั้นสิ่งนี้แก่สงฆ์ พระราชาหรืออำมาตย์ของพระราชาทราบเรื่องของพวกท่านแล้ว ก็จักไม่พอพระทัย บัดนี้พวกท่านจงกระทำสิ่งนั้นสิ่งนี้ในที่นี้ ดังนี้แล้วให้คนถือเอาจอบและตะกร้า กระทำกิจที่ควรทำในสระน้ำและเหมืองทั้งหลาย ในหนหลังให้ส่งปุพพัณณชาตและอปรัณณชาตเป็นอันมาก เข้าไว้ในวิหาร ให้คนวัดบอกแก่สงฆ์ ถึงความที่ตนเป็นผู้อุปการ สงฆ์สั่งให้ให้ว่า ภิกษุหนุ่มนี้เป็นผู้มีอุปการมาก พวกท่านจงให้ ๑๐๐ บ้าง ๒๐๐ บ้างแก่ภิกษุหนุ่มนี้ ดังนั้น ท่านจึงเพิ่มพูนด้วยสมบัติของสงฆ์ ข้างโน้นบ้าง ข้างนี้บ้าง ถูกอเนสนา ๒๑ อย่างผูกพันไว้ภายนอก ถึงจะหยั่งลงอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพาน. บุคคลผู้เกียจคร้านและกินจุ พึงทราบเหมือนต้นไม้ที่ถูกทรายคลุมทับในที่ๆ ล้มลงนั่นแล แล้วกลายเป็นไม้ผุฉะนั้น. จริงอยู่ ภิกษุทั้งหลายหมายเอาบุคคลเห็นปานนี้ ผู้เห็นแก่อามิสและละโมบในปัจจัย ผู้ละทิ้งอาจารวัตรและอุปัชฌายวัตรเสียแล้ว ยังละเว้นจากอุทเทศ ปริปุจฉาและโยนิโสมนสิการ (การใส่ใจ) จึงกล่าวนิวรณ์ ๕ โดยอรรถอย่างนี้ว่า ท่านผู้เจริญ พวกเราจะไปสำนักของใคร. ลำดับนั้น ถีนมิทธนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายไม่เห็นหรือ บุคคลผู้เกียจคร้านอยู่ในวิหารโน้นนั่น ไปบ้านชื่อโน้น ซ้อนข้าวต้มไว้บนข้าวต้ม ขนมไว้บนขนม ซ้อนข้าวสวยไว้บนข้าวสวย มาวิหาร เป็นผู้สละวัตรปฏิบัติหมด ละเว้นจากอุทเทศเป็นต้น ขึ้นเตียงนอน จงให้โอกาสแก่เรา. ลำดับนั้น กามฉันทนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง บัดนี้แลเขานอนหลับ ถูกกิเลสรบกวน ตื่นขึ้นก็จักตรึกแต่กามวิตก. ลำดับนั้น พยาปาทนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง บัดนี้แลเราหลับไป ลุกขึ้นแล้วถูกต่อว่า ท่านจงทำวัตรปฏิบัติ ก็กล่าวคำหยาบมีประการต่างๆ ว่า ท่านคนพวกนี้ไม่ทำการงานของตน ขวนขวายแต่ในเรา จำจักควักนัยน์ตาออก เที่ยวไป. ลำดับนั้น อุทธัจจนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสเราบ้าง ขึ้นชื่อว่าผู้เกียจคร้าน ย่อมลุกขึ้นเหมือนกองเพลิงที่ถูกลมพัด. ลำดับนั้น กุกกุจจนิวรณ์ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง ขึ้นชื่อว่าผู้เกียจคร้าน ย่อมเป็นผู้มีความรำคาญเป็นปกติ ทำให้เกิดความสำคัญในสิ่งที่ไม่ควรว่าควร และความสำคัญในสิ่งที่ควรว่าไม่ควร. ลำดับนั้น วิจิกิจฉานิวรณ์ ลุกขึ้นกล่าวว่า เมื่อเราให้โอกาสแก่ท่าน ท่านก็ต้องให้โอกาสแก่เราบ้าง. จริงอยู่ บุคคลเห็นปานนี้ ชื่อว่าย่อมให้เกิดความสงสัยอย่างใหญ่ในฐานทั้ง ๘. นิวรณ์ ๕ ย่อมครอบงำยึดเอาผู้ที่เกียจคร้านกินจุ ด้วยอาการอย่างนี้ เหมือนสุนัขดุเป็นต้น ข่มเหงโคแก่ตัวเขาขาดฉะนั้น. แม้ผู้นั้นถึงหยั่งลงสู่กระแสอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลผู้มีทิฏฐิเป็นคติ ทำทิฏฐิให้เกิดแล้วตั้งอยู่ พึงทราบเหมือนต้นไม้ตั้งอยู่โดยอาการดุจรากที่ฝังอยู่ในระหว่างแผ่นหิน ๒ แผ่น. จริงอยู่ ผู้นั้นเป็นเหมือนอริฏฐภิกษุและกัณฐกสามเณร เที่ยวกล่าวอยู่ว่า ในอรูปภพก็มีรูป ในอสัญญีภพ จิตก็ย่อมเป็นไปโลกุตตรมรรค อันเป็นไปหลายขณะจิต อนุสัยเป็นจิตตวิปยุตและเหล่าสัตว์เหล่านั้นแหละย่อมเร่ร่อน ท่องเที่ยวไป ก็หรือว่าเป็นผู้มีวาทะว่าส่อเสียด เป็นผู้เที่ยวทำลายพระอุปัชฌาย์เป็นต้นกับสัทธิวิหาริกเป็นต้น. แม้ผู้นั้นถึงหยั่งลงสู่กระแสพระอริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ก็ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลที่บวชในเวลาแก่ อยู่ในชนบทปลายแดน และผู้เห็นธรรมได้โดยยาก พึงทราบเหมือนต้นไม้ที่ระท้องฟ้ากลางแจ้ง ถูกเถาวัลย์พันยืนต้น แช่น้ำอยู่ ๒-๓ ครั้ง ในเมื่อห้วงน้ำหลากมาท่วมเกิน ๑-๒ ปี. จริงอยู่ บุคคลบางคนบวชในเวลาเป็นคนแก่ ได้อุปสมบทในชนบทปลายแดน โดย ๒-๓ วัน ในเวลามีพรรษา ๕ ท่องปาฏิโมกข์ได้คล่องแคล่ว ในเวลาได้ ๑๐ พรรษา ในเวลากล่าววินัยในสำนักพระเถระผู้ทรงวินัย วางพริกไทยหรือชิ้นสมอไว้ในปาก ปิดหน้าด้วยพัด นั่งหลับ เป็นผู้ชื่อว่ามีวินัยอันเธอกระทำแล้วด้วยอากัปกิริยาเป็นเลศ ถือบาตรและจีวรไปยังชนบทปลายแดน. มนุษย์ทั้งหลายในที่นั้นพากันสักการะภิกษุนั้น กล่าวว่า ท่านผู้เจริญ ขอท่านจงอยู่ในที่นี้แล เพราะการเห็นภิกษุหาได้ยาก จึงพากันสร้างวิหาร ปลูกต้นไม้มีดอกและออกผลแล้ว ให้อยู่ในวิหารนั้น. ลำดับนั้น ภิกษุทั้งหลายผู้พหูสูตจากวิหารเช่นกับด้วยมหาวิหาร ไปในที่นั้นด้วยตั้งใจว่า จักมาบำเพ็ญวิปัสสนาเป็นต้นในชนบท. ภิกษุนั้นเห็นภิกษุเหล่านั้นยินดีร่าเริง บำเพ็ญวัตรปฏิบัติ วันรุ่งขึ้นจึงพากันเข้าไปบ้านเพื่อภิกขาจารกล่าวว่า พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระสูตร พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงอภิธรรม พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระวินัย พระเถระชื่อโน้นเป็นผู้ทรงพระไตรปิฎก เมื่อไรพวกท่านจักได้พระเถระเห็นปานนี้ จักสร้างที่ฟังธรรม. อุบาสกทั้งหลายคิดว่า พวกเราจักสร้างที่ฟังธรรม ดังนี้แล้ว ชำระทางไปวิหาร แล้วถือเอาเนยใสและน้ำมันเป็นต้น เข้าไปหาพระมหาเถระ กล่าวว่า ท่านขอรับ พวกกระผมจะสร้างที่ฟังธรรม ท่านจงบอกกล่าวต่อพระธรรมกถึก วันรุ่งขึ้นจึงมาฟังธรรม. พระเถระผู้เป็นเจ้าถิ่นเก็บงำบาตรและจีวรของภิกษุผู้อาคันตุกะ ให้ส่วนแห่งวันล่วงเลยไป ภายในห้องนั่นแล. พระธรรมกถึกผู้กล่าวตอนกลางวัน ลุกขึ้นกล่าวบทสรภัญญะเหมือนเทน้ำจากหม้อ ท่านไม่รู้บทสรภัญญะแม้นั้น. ผู้กล่าวกลางคืนกล่าวตอนกลางคืนแล้วลุกขึ้น เหมือนทำสาครให้กะเพื่อม ท่านไม่รู้จักแม้บทสรภัญญะนั้น. ท่านผู้กล่าวตอนใกล้รุ่ง กล่าวแล้วลุกขึ้น. ท่านก็ไม่รู้บทสรภัญญะแม้นั้น. ลุกขึ้นแต่เช้าตรู่ ล้างหน้า น้อมบาตรและจีวรเข้าไปถวายพระเถระ เข้าไปภิกษาจารกล่าวกะพระมหาเถระว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ผู้กล่าวตอนกลางวันกล่าวชาดกชื่ออะไร. ท่านผู้กล่าวบทสรภัญญะกล่าวสูตรอะไร ผู้กล่าวกลางคืนกล่าวธรรมกถาชื่ออะไร, ผู้กล่าวตอนใกล้รุ่งกล่าวชื่อชาดกอะไร, ชื่อว่าขันธ์ทั้งหลายมีเท่าไร ชื่อว่าธาตุทั้งหลายมีเท่าไร ชื่อว่าอายตนะมีเท่าไร พระเถระเห็นปานนี้ล่วงไป ๑-๒ ปี จึงได้เห็นภิกษุและได้ฟังธรรม เช่นกับชุ่มด้วยน้ำ ในเมื่อห้วงน้ำหลากมา. บุคคลนั้นกลับจากเยี่ยมพระสงฆ์ และการฟังธรรมอย่างนี้ อยู่ในที่ไกลถึงหยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิก็ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้. บุคคลผู้กล่าวด้วยเสียงอันไพเราะ พึงทราบเหมือนต้นไม้อ่อนอัน เกิดที่เกาะน้อย กลางแม่น้ำคงคา. จริงอยู่ บุคคลนั้นเรียนชาดกมีเวสสันดรชาดกเป็นต้นที่รู้จักกันแล้ว ไปปัจจันตชนบท อันเป็นที่เห็นภิกษุได้ยาก อันชนผู้มีใจเลื่อมใสด้วยธรรมกถาในที่นั้นบำรุงอยู่ อยู่ในวิหาร อันเป็นที่รื่นรมย์ดุจนันทนวันมีต้นไม้ดอกผลสมบูรณ์ ที่เขาทำอุทิศเฉพาะตน. ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้กล่าวภาณวาร ได้ฟังเรื่องนั้นของภิกษุนั้นแล้ว จึงไปในที่นั้นด้วยคิดว่า ได้ยินว่า ภิกษุชื่อโน้นมีจิตผูกพันในอุปัฏฐากอย่างนี้อยู่ ภิกษุผู้เป็นบัณฑิตสามารถเพื่อเรียนพุทธพจน์ หรือเพื่อมนสิการพระกรรมฐาน พวกเราพร้อมด้วยท่านจะนำมาเรียนธรรม เรียนกรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น. ท่านทำวัตรต่อภิกษุเหล่านั้น ในเวลาเย็นถูกภิกษุทั้งหลายผู้ออกจาริกไปในวิหารถามว่า อาวุโส ท่านสร้างเจดีย์นี้หรือ. จึงตอบว่า ขอรับ ท่านผู้เจริญ. ภิกษุทั้งหลายกล่าวว่า นี้ต้นโพธิ์ นี้มณฑป นี้โรงอุโปสถ นี้โรงไฟ นี้ที่จงกรม ท่านให้เขาสร้างหรือ ท่านให้ปลูกต้นไม้เหล่านี้ สร้างวิหารน่ารื่นรมย์ดุจนันทนวันหรือ. ภิกษุนั้นตอบว่า ขอรับท่านผู้เจริญ. ในเวลาเย็นท่านไปสู่ที่บำรุงพระเถระ ไหว้แล้วถามว่า เพราะเหตุไร ท่านจึงมาขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราจะพาท่านไปเรียนกรรมฐานในสำนักพระเถระชื่อโน้น จักพร้อมเพรียงกันทำสมณธรรมในป่าชื่อโน้น เพราะฉะนั้น พวกเราจึงพากันมาด้วยเหตุนี้. ภิกษุนั้นกล่าวว่า ดีละขอรับ ธรรมดาว่า ท่านมาเพื่อประโยชน์แก่กระผม แม้กระผมก็เป็นผู้เบื่อหน่ายในที่นี้ ด้วยการอยู่มานานจึงจะไป กระผมขอรับบาตรจีวรขอรับ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส พวกเราเป็นสามเณรและภิกษุหนุ่ม เหน็ดเหนื่อยมาในหนทาง วันนี้พักอยู่ก่อน พรุ่งนี้เวลาหลังอาหารจักไป. เธอกล่าวว่า ดีละ ท่านขอรับ วันรุ่งขึ้นก็ไปบิณฑบาตกับสามเณรและภิกษุหนุ่มเหล่านั้น. ชาวบ้านคิดว่า พระผู้เป็นเจ้าของพวกเรา พาภิกษุอาคันตุกะมามากดังนี้แล้ว จึงพากันตกแต่งอาสนะ ให้ดื่มข้าวยาคู นั่งอย่างสบายฟังกถา นำภัตตาหารมา. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ท่านจงทำอนุโมทนาแล้วออกไป พวกเราจักกระทำภัตกิจ ในที่สำราญด้วยน้ำ ดังนี้แล้วออกไป. ชาวบ้านฟังอนุโมทนาแล้วถามว่า ท่านขอรับ พระเถระทั้งหลายมาแต่ไหน. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า พระเถระเหล่านั้นเป็นอาจารย์และพระอุปัชฌาย์ของพวกเรา เป็นผู้ร่วมอุปัชฌาย์ เป็นผู้เคยเห็นเคยคบกันมา. ชาวบ้านถามว่า พระเถระเหล่านั้นมาทำไมกัน. เธอตอบว่า มาเพราะต้องการจะพาอาตมาไป. พวกชาวบ้านถามว่า ก็ท่านเล่าประสงค์จะไปหรือ. เธอตอบ อย่างนั้นสิผู้มีอายุ. พวกชาวบ้านพูดว่าท่านขอรับ ท่านพูดอะไร พวกผมสร้างโรงอุโบสถเพื่อใคร สร้างโรงฉันเพื่อใคร สร้างโรงไฟเพื่อใคร พวกเราจักไปสำนักของใคร ในกาลอันเป็นมงคลและอวมงคล. ฝ่ายอุบาสิกาทั้งหลายนั่งในที่นั้นนั่นแลก็หลั่งน้ำตา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า เมื่อท่านทั้งหลายได้รับทุกข์อย่างนี้ อาตมาจะไปทำอะไร ดังนี้ แล้วส่งพระเถระไปแล้วกลับไปวิหาร. แม้พระเถระทั้งหลายเสร็จภัตกิจแล้ว นั่งถือบาตรและจีวรรออยู่ พอเห็นภิกษุหนุ่ม จึงกล่าวว่า อาวุโส ทำไมจึงช้าอยู่ ยังวันอยู่หรือ เราจะไปละ. ภิกษุกล่าวว่า อย่างนั้นขอรับ ท่านได้รับสุข มูลของอิฐสำหรับบ้านโน้นยังค้างอยู่คงอยู่ตามสัณฐานที่ตั้งไว้นั่นแหละ มูลของจิตรกรรมเป็นต้น สำหรับบ้านโน้นเป็นต้นก็ยังค้างอยู่ แม้เมื่อกระผมไปเสีย จิตก็จักฟุ้งซ่าน พวกท่านจงล่วงหน้าไปกระทำการซักและการย้อมจีวรเป็นต้นในวิหารโน้น กระผมจักถึงในที่นั่น. พระเถระเหล่านั้นรู้ว่าภิกษุหนุ่มนั้นประสงค์ถ่วงเวลาจึงกล่าวว่า ท่านพึงมาในภายหลัง ดังนี้แล้วก็หลีกไป. ภิกษุหนุ่มนั้นตามไปส่งพระเถระแล้วกลับมาวิหารนั่นแหละ จึงตรวจดูโรงฉันเป็นต้น เห็นวิหารน่ารื่นรมย์ จึงคิดว่า ดีแล้วหนอ เราไม่ไปละ ถ้าไป พระธรรมกถึกบางรูปนั่นแหละมาทำลายจิตใจของคนทุกคน ทำวิหารให้เป็นของนิกายตน เมื่อเป็นเช่นนี้ เราไปภายหลังฉันข้าวของชนที่เราได้ภายหลัง จักพักเที่ยวไป. สมัยต่อมา ภิกษุหนุ่มนั้นฟังว่า เล่ากันมาว่าภิกษุเหล่านั้นเรียนพุทธพจน์ ได้ ๑ นิกาย ๒ นิกาย ๑ ปิฎกและ ๒ ปิฎกเป็นต้น ก็เป็นพระอรรถกถาจารย์ เป็นพระวินัยธร มีบริวารเป็นร้อยเป็นพัน เที่ยวไป. ส่วนภิกษุเหล่าใดไปเพื่อจะทำสมณธรรมในที่นั้น ภิกษุเหล่านั้นเพียรพยายามก็เป็นพระโสดาบัน เป็นพระสกทาคามี เป็นพระอนาคามี เป็นพระอรหันต์ ปรินิพพานด้วยสักการะอย่างใหญ่ เธอคิดว่าถ้าเราจักไปแล้วไซร้ สมบัตินี้ก็จักเป็นของเรา แต่เราเมื่อไม่สามารถจะเปลื้องฐานะนี้ได้ จึงต้องเป็นผู้เสื่อมอย่างยิ่ง. บุคคลนี้เมื่อเปลื้องฐานะนั้น หยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะตนเป็นผู้อ่อนโยน. บุคคลผู้ประพฤติย่อหย่อน เรียนบรรดาปฏิปทามีรถวินีตสูตร มหาอริยวังสสูตรและจันโทปมสูตรเป็นต้น ปฏิปทาอย่างใดอย่างหนึ่ง พึงทราบเหมือนต้นไม้เกิดเอง เป็นดังสะพานข้ามในระหว่าง แล้วเกิดเป็นปัจจัยที่อาศัยของชนเป็นอันมาก เพราะมันล้มลงขวางแม่น้ำคงคาแล้วถูกทรายกลบทับไว้. จริงอยู่ บุคคลนั้นเรียนธรรมอันอาศัยข้อปฏิบัตินั้น ตามปกติเป็นผู้มีเสียงไพเราะ ก็บรรลุฐานะอันยิ่งใหญ่ เช่นกับเขาจิตตลบรรพตเป็นต้น กระทำวัตรมีเจติยังคณวัตรเป็นต้น. ลำดับนั้น ภิกษุหนุ่มพวกอาคันตุกะกล่าวกะท่านภิกษุหนุ่มผู้มาถึงโรงฟังธรรมว่า ท่านจงกล่าวธรรม. ภิกษุหนุ่มนั้นกล่าวแสดงธรรมปฏิปทาที่ตนเรียนมาโดยชอบ. ลำดับนั้น เหล่าภิกษุผู้เถระ ผู้ใหม่และมัชฌิมะทั้งหมดมีภิกษุผู้ทรงบังสุกุลิกธุดงค์และภิกษุทรงปิณฑปาติกธุดงค์เป็นต้น มีความดีใจต่อภิกษุหนุ่มนั้นว่า ดีจริง ท่านสัตบุรุษ. ภิกษุหนุ่มนั้นเริ่มตั้งเพียงนิทานของบางสูตร กึ่งคาถาบางสูตร คาถาหนึ่งบางสูตร สงเคราะห์ภิกษุหนุ่มและสามเณร ประหนึ่งผูกติดกันด้วยแผ่นเหล็ก แล้วเข้าไปหาพระมหาเถระ ถามว่า ท่านผู้เจริญ ก็วิหารเก่านี้มีอยู่ ปัจจัยลาภไรๆ เกิดในวิหารนั้น ก็ต้องเป็นของภิกษุในวิหารนั้น. พระเถระทั้งหลายกล่าวว่า อาวุโส ท่านพูดอะไร ปัจจัยลาภเกิดในวิหารนั้นได้เนื้อที่ถึง ๒๔,๐๐๐ กรีส. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พวกท่านกล่าวอย่างนี้ แต่แม้ไฟก็ไม่ติดลุกที่เตาไฟ. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส ขึ้นชื่อว่าปัจจัยลาภที่ภิกษุผู้อยู่ในวิหารได้แล้วไม่มีอย่างนี้เลย ใครเล่าไม่ปรารถนา. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ทานวัตถุที่พระราชาเก่าๆ พระราชทาน พระขีณาสพรับไว้แล้ว เพราะเหตุไร พระขีณาสพเหล่านั้นจึงจะทำปัจจัยลาภให้เสียหาย. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส อันพระธรรมกถึกเช่นท่านก็พึงสามารถที่จะได้. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ท่านขอรับ ท่านอย่าพูดอย่างนั้น ขึ้นชื่อว่าพระธรรมกถึกผู้แสดงข้อปฏิบัติ สำคัญกระผมว่าเป็นสังฆกุฏุมพี เป็นผู้บำรุงวิหาร จึงปรารถนาจะกระทำต่อกระผม. พระเถระกล่าวว่า อาวุโส ข้อนั้นเป็นอกัปปิยะ ข้อนี้ไม่ควรหรือ แต่เมื่อผู้เช่นท่านกล่าวแล้ว ข้อนั้นจะพึงเกิดแก่พวกผม. ภิกษุหนุ่มกล่าวว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ถ้าอย่างนั้น เมื่อคนวัดมา ท่านจงไว้หน้าที่พวกกระผม พวกกระผมจักบอกประตูกัปปิยะ ข้อสมควรอย่างยิ่ง. ภิกษุหนุ่มไปแต่เช้าตรู่ ยืนอยู่ในเวลาประชุม เมื่อคนวัดมาจึงกล่าวคำมีอาทิว่า อุบาสกทั้งหลาย ภาระในเขตโน้นอยู่ที่ไหน กหาปณะในเขตโน้นอยู่ที่ไหน จึงจับมือคนหนึ่งให้แก่อีกคนหนึ่ง. เมื่อเขาปฏิเสธข้อนั้นๆ ตามลำดับอย่างนี้ ให้แก่ผู้คนนั้นๆ กระทำโดยอาการที่อุบาสกทั้งหลายถือข้าวยาคู ถือขนม ถือภัตและถือขวดใส่น้ำมัน น้ำผึ้งและน้ำอ้อยเป็นต้นมายังสำนักของตน. วิหารทุกวิหารก็โกลาหลเป็นอย่างเดียวกัน. พวกภิกษุผู้น่ารักต่างแยกย้ายกันไป. แม้ภิกษุหนุ่มนั้นก็ทำหน้าที่เป็นอุปัชฌาย์ยังวิหารให้เต็มด้วยภิกษุผู้ว่ายากเป็นอันมาก ผู้ถูกอาจารย์และอุปัชฌาย์ประณามแล้ว. ภิกษุพวกอาคันตุกะยืนที่ประตูวิหาร ถามว่าใครอยู่ในวิหาร ได้ฟังว่า พวกภิกษุชื่อเห็นปานนี้ ต่างก็หลีกไปเสียทางด้านนอก. บุคคลนี้ยึดถือมหาชนเป็นปัจจัย หยั่งลงสู่อริยมรรค นั่งบนทุ่นคือสมาธิ ไม่สามารถจะบรรลุถึงสาครคือพระนิพพานได้ เพราะนอนขวางในพระศาสนา. บทว่า ภควนฺตํ เอตทโวจ ความว่า ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งรู้พระธรรมเทศนาที่พระผู้มีพระภาคเจ้าให้จบลง ด้วยบทว่า นิพฺพานปพฺภารา แล้วได้กล่าวคำนี้ คือ คำมีอาทิว่า กึ นุ โข ภนฺเต (อะไรหนอ พระเจ้าข้า) ดังนี้ เพราะตนเป็นผู้ฉลาดในอนุสนธิ. จริงอยู่ แม้พระตถาคตประทับนั่งในบริษัทนี้ ทรงพระดำริว่า ภิกษุผู้ฉลาดในอนุสนธิมีอยู่ ภิกษุนั้นจักถามเรา จึงกระทำเทศนาให้จบลงในที่ตรงนี้ เพื่อทรงให้โอกาสแก่ภิกษุนั้นนั่นแล. บัดนี้ พึงทราบความเข้าไปยึดและไม่เข้าไปยึดเป็นต้น ในอายตนะภายในเป็นต้นที่กล่าวแล้วโดยนัยมีอาทิว่า โอริมํ ตีรํ อย่างนี้. ภิกษุผู้คิดว่า จักษุของเราแจ่มใส เราสามารถรู้แจ้งรูปารมณ์ แม้มีประมาณน้อยได้ดังนี้แล้ว รูปารมณ์นั้นทำจักษุให้เพลิดเพลินอยู่ก็ดี ผู้มีจักษุประสาทเสียเพราะความมืดและลมเป็นต้น ถึงโทมนัส (ความเสียใจ) ว่า จักษุของเราไม่น่าชอบใจ เราไม่สามารถจะทำรูปารมณ์แม้ใหญ่ให้แจ่มแจ้มได้ก็ดี ชื่อว่าเข้าไปยึดจักขวายตนะ แต่เมื่อเห็นแจ้งด้วยอำนาจลักษณะ ๓ ว่าไม่เที่ยง เป็นทุกข์ เป็นอนัตตา ชื่อว่าไม่เข้าไปยึด (จักขวายตนะ) แม้ในโสตายตนะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน ส่วนในมนายตนะ ภิกษุชอบใจอย่างนี้ว่า ใจของเราน่าชอบใจหนอ ไม่ถืออะไรๆ ทางข้างซ้าย ถือเอาทุกสิ่งทางข้างขวาเท่านั้น หรือยินดีอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าด้วยจิต ชื่อว่า ไม่มีลาภ ไม่มีก็ดี เกิดโทมนัส (ความเสียใจ) ขึ้นอย่างนี้ว่า เมื่อเราคิดแล้วคิดเล่าแต่สิ่งชั่ว ใจก็ไม่ยอมรับเอา ดังนี้ก็ดี ชื่อว่าเข้าไปยึดมนายตนะ แต่เมื่อให้เกิดความยินดีในรูปที่น่าปรารถนา ให้เกิดความยินร้ายในรูปที่ไม่น่าปรารถนา ชื่อว่าเข้าไปยึดรูปายตนะ. แม้ในสัททายตนะเป็นต้นก็นัยนี้เหมือนกัน บทว่า นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ทรายละเอียดและหยาบปิดท่อนไม้ที่จมตรงกลาง (นอกนั้น) อยู่บนบก ท่อนไม้นั้นไม่สามารถจะยกปลายขึ้นได้อีก ฉันใด บุคคลผู้อันนันทิราคะติดพันแล้วก็ฉันนั้น ตกไปในอบาย ๔ ถูกทุกข์ใหญ่บีบคั้น เขาไม่สามารถเงยศีรษะขึ้นได้อีกตั้งหลายพันปี ด้วยเหตุนั้นจึงตรัสว่า นนฺทิราคสฺเสตํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า อสฺมิมานสฺเสตํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ท่อนไม้ที่งอกขึ้นบนบก ท่อนล่างแช่น้ำในแม่น้ำคงคา ท่อนบนเปียกน้ำฝน ถูกสาหร่ายหุ้มรัดไว้โดยลำดับ ก็จะถูกเขาต่อว่าว่าตอนั้นเป็นแผ่นหินหรือฉันใด บุคคลผู้ถือตัวด้วยอัสมิมานะก็ฉันนั้น ถือว่าเป็นผู้ถือบังสุกุลเป็นวัตรในฐานะของผู้ถือบังสุกูลิกังคธุดงค์ เป็นพระธรรมกถึกในฐานะพระธรรมกถึก เป็นผู้รักษาเรือนคลังในฐานะภัณฑาคริก เป็นแพทย์ในฐานะเป็นแพทย์ เป็นผู้ส่อเสียดในฐานะเป็นผู้ส่อเสียด. บุคคลนั้นถึงการแสวงหาที่ไม่สมควรมีประการต่างๆ ถูกอาบัตินั้นๆ ผูกพันไว้ ก็จะถูกเขาต่อว่า ศีลอะไรๆ ภายในของเขา มีหรือไม่มีหนอ. ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า อสฺมิมานสฺเสตํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า ปญฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ความว่า เหมือนอย่างว่า ท่อนไม้ที่ตกไปในน้ำวน ถูกกระแทกที่แผ่นหินเป็นต้น แหลกละเอียดภายในนั้นนั่นแลฉันใด บุคคลผู้ตกไปในวังวน คือกามคุณ ๕ ก็ฉันนั้น ถูกทุกข์อันเกิดแต่ความหิวกระหายเป็นต้น กระทบกระทั่งบีบคั้น เพราะกรรมกรณ์ (การลงโทษ) ในอบาย ๔ ถึงความแหลกละเอียดตลอดกาลนาน ด้วยเหตุนั้น จึงตรัสว่า ปญฺจนฺเนตํ กามคุณานํ อธิวจนํ ดังนี้. บทว่า ทุสฺสีโล ได้แก่ ผู้ไม่มีศีล. บทว่า ปาปธมฺโม แปลว่า ผู้มีธรรมอันลามก. บทว่า อสุจิ แปลว่า ไม่สะอาด. บทว่า สงฺกสฺสรสมาจาโร ความว่า ผู้มีความประพฤติที่ผู้อื่นพึงระลึกโดยความรังเกียจอย่างนี้ว่า กรรมนี้เห็นจะเป็นของผู้นี้ เห็นจะเป็นของผู้นี้. อีกอย่างหนึ่ง ชื่อว่าผู้มีความประพฤติน่ารังเกียจ เพราะประพฤติสมาจารต่อบุคคลอื่น ความรังเกียจดังนี้ก็มี. จริงอยู่ ผู้นั้นชื่อว่ามีสมาจารน่ารังเกียจ เพราะเห็นคน ๒-๓ คนพูดกัน ก็รังเกียจคือแล่นไปสู่ความประพฤติของคนเหล่านั้นว่า ผู้คนเหล่านี้ชะรอยจะกล่าวโทษเราดังนี้ก็มี. บทว่า สมณปฏิญฺโญ ความว่า ในการจับสลากเป็นต้น เมื่อเขาเริ่มนับว่า สมณะในวิหารมีเท่าไร ภิกษุนั้นก็ปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นสมณะ แม้เราก็เป็นสมณะ กระทำการจับสลากเป็นต้น. บทว่า พฺรหฺมจารีปฏิญฺโญ ความว่า ในอุโบสถกรรมและปวารณากรรมเป็นต้น ภิกษุนั้นย่อมเข้าสังฆกรรมเหล่านั้น โดยปฏิญญาว่า แม้เราก็เป็นพรหมจารี. บทว่า อนฺโตปูติ ความว่า ชื่อว่าความเป็นผู้เน่าใน เพราะเป็นความเน่าของคุณความดี แม้ของบุคคลผู้ไม่เน่า ในอาการ ๓๒ มีไตและหัวใจเป็นต้น. บทว่า อวสฺสุโต แปลว่า ผู้อันราคะชุ่มแล้ว. บทว่า กสมฺพุกชาโต ได้แก่ เกิดเป็นหยากเยื่อ เพราะกิเลสทั้งหลายมีราคะเป็นต้น. บทว่า เอตทโวจ ความว่า นายนันทะคนเลี้ยงโค ต้อนฝูงโคให้บ่ายหน้าสู่ฝั่งแม่น้ำคงคา แล้วยืนอยู่ท้ายบริษัท ฟังธรรมเทศนาของพระศาสดา ตั้งแต่ต้นจนจบ แล้วคิดว่า พระศาสดาตรัสว่า เธออาจบำเพ็ญข้อปฏิบัติด้วยอำนาจเป็นผู้ไม่เข้าถึงฝั่งในเป็นต้น ถ้าเราอาจบำเพ็ญอย่างนั้นได้ไซร้ เราบวชแล้วจักบำเพ็ญได้ ดังนี้แล้วจึงได้กราบทูลคำนี้ คือคำว่า อหํ ภนฺเต ดังนี้เป็นต้น. บทว่า วจฺฉคิทฺธินิโย ความว่า แม่โคทั้งหลาย มีความรักในลูกโคทั้งหลาย ด้วยทั้งนมที่กำลังหลั่งน้ำนมอยู่ ก็จักไปหาเอง เพราะความรักในลูกโค. บทว่า นิยฺยาเตเหว แปลว่า จงมอบให้. จริงอยู่ เมื่อแม่โคยังไม่ถูกมอบให้ เจ้าของโคทั้งหลายก็จักเที่ยวตามหลังท่านด้วยคิดว่า แม่โคตัวหนึ่งไม่เห็น โคตัวหนึ่ง ลูกโคตัวหนึ่งก็ไม่เห็น เพื่อแสดงว่า ความผาสุกจักมีด้วยประการฉะนี้ และขึ้นชื่อว่าบรรพชานี้ ไม่งอกงามสำหรับผู้ยังมีหนี้ และการบรรพชาที่ไม่มีหนี้ บัณฑิตทั้งหลายมีพระพุทธเจ้าเป็นต้นสรรเสริญแล้ว จึงตรัสอย่างนั้น. บทว่า นิยฺยาติตา แปลว่า ถูกมอบให้แล้ว. ในสูตรนี้ ตรัสถึงวัฏฏะและวิวัฏฏะ

เรือลำน้อยลอยข้ามทะเลทุกข์ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย พวกเธอเห็นท่อนไม้ที่ลอยมาตามกระแสน้ำคงคาหรือไม่ ถ้าท่อนไม้นั้น ไม่เข้าไปติดฝั่งใน หรือฝั่งนอก ไม่จมในกลางน้ำ ไม่ขึ้นไปติดแห้งอยู่บนบก ไม่ถูกมนุษย์จับไว้ ไม่ถูกอมนุษย์จับไว้ ไม่วนอยู่ในวังน้ำวน ไม่ผุเน่าในเสียเองก่อน ท่อนไม้นั้น ย่อมลอยไหลไปสู่ทะเล เพราะเหตุว่าลำน้ำคงคาลาดเอียงไปสู่ทะเล ข้อนี้ฉันใด การประพฤติปฏิบัติของพวกเธอก็ฉันนั้น หากไม่เข้าไปติดฝั่งใน หรือฝั่งนอก......ฯลฯ......ไม่ผุเน่าในเสียก่อนฯ พวกเธอก็จะเลื่อนไหลไปสู่พระนิพพาน เพราะเหตุว่า สัมมาทิฏฐิ คือความเห็นชอบย่อมน้อมนำจิตไปสู่นิพพาน นั่นเอง

การเจริญสติและกรรมฐานจากเรื่องความตายใช่น่ากลัวอย่างที่คิด โดย ภิกษุ นิรนาม เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

การทรงสภาวะของพระสกทาคามี เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

การตรัสรู้คือความไม่มีอะไรให้ระลึกถึง ผู้ถึงได้ก็ไม่พูดแล้ว เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องหลับตาหรือลืมตาก็ใช้ได้หมด ถ้าเราไม่นึกถึงตาไม่นึกถึงยาย ก็ลืมทั้งตาทั้งยาย ใช่ไหม.....ลืมตาหรือหลับตาไม่มีความหมายหรอกหนู.....การเจริญพระกรรมฐานมิ ใช่หลับตาเสมอไป ถ้าเราลืมตามองเห็นอย่างอื่นมันฟุ้งซ่านก็หลับตาเสีย ถ้าหลับตาแล้วจิตมันซ่านเกินไปก็ลืมตา เวลานั่ง นั่งหน้าพระพุทธรูป เวลาหลับตาภาวนาแล้วฟุ้งซ่าน ให้ลืมตามองดุพระพุทธรูป ถ้าจิตเรานึกว่าพระพุทธรูป นี่เป็น พุทธานุ สตติกรรมฐาน ถ้าคิดว่าพระพุทธรูปนี่มีสีเหลืองก็เป็น ปิตกสิณ เลยได้ ๒ อย่างควบใช่ไหม......คือว่าการเจริญพระกรรมฐานเราฝึกที่ใจไม่ใช่ฝึกที่ตา สมาธิมันอยู่ที่ใจใช่ไหมล่ะ

พุทธทาส ภิกขุ - การทำจิตให้ประภัสสรชนิดถาวร

[สารคดี]-ประวัติศาสตร์ของส้วมที่ไม่มีใครพูดถึง

[สารคดี]-ประวัติศาสตร์ของส้วมที่ไม่มีใครพูดถึง

วันอาทิตย์ที่ 12 เมษายน พ.ศ. 2558

"ภาวะสูงสุด" คือภาวะที่ว่างจากตัวตน.

สารคดี new)tv - โลกที่ยังไม่ถูกค้นพบ

เราเห็นโทษในกามทั้งหลายเราสลัดตนจากกามทั้งปวงเราได้บรรลุความสิ้นอาสวะแล้ว

วันเสาร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2558

รถโรงหนังมาแล้วรถโรงหนัง (Cinemobile) เป็นหนึ่งในโครงการของหอภาพยนตร์ (องค์การมหาชน) ที่มีแนวคิดให้ โรงภาพยนตร์ ขนาด ๑๐๐ ที่นั่ง ที่มีระบบภาพและเสียงที่สมบูรณ์แบบ ที่จะเคลื่อนที่ไปในทุกหนทุกแห่งในประเทศไ­ทยโดยเฉพาะเด็กนักเรียนตามโรงเรียนที่อยู่­ห่างไกล ที่ไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ในโรงภาพยนตร์ และชาวบ้านในชุมชนที่ไม่มีหรือห่างไกลจากโ­รงภาพยนตร์ และไม่มีโอกาสได้ชมภาพยนตร์ที่ดีงาม มีคุณค่าทั้งด้านความบันเทิงและการเรียนรู­้ให้เกิดปัญญา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการรับชมภาพยนต­ร์ในโรงภาพยนตร์ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมพิเศษทางสังคมที่ชุมชนแ­ละเยาวชนทุกคนจะรอคอยการมาของรถโรงหนังคัน­นั้นที่จะสร้างจินตนาการให้แก่เขาและจะบอก­ต่อๆไป ทำให้เกิดความทรงจำที่ดีๆ และส่งผลต่อความมุ่งมั่นในการพัฒนาตนมีแรง­บันดาลใจในการสร้างอนาคตของตนเองที่จะเกิด­ประโยชน์ต่อประเทศชาติต่อไป

พุทธทาส ภิกขุ - วิปัสสนาระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไปพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) - ตามรอยพุทธทาส ชุด สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู วิปัสสนาระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไป

พุทธทาส ภิกขุ - วิปัสสนาระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไปพระธรรมโกศาจารย์ (เงื่อม อินทปัญโญ) - ตามรอยพุทธทาส ชุด สมถวิปัสสนาแห่งยุคปรมาณู วิปัสสนาระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไป

พุทธทาส ภิกขุ - วิปัสสนาระบบลัดสั้นสำหรับคนทั่วไป

การอยู่ด้วยปัจจุบัน ไม่มีอดีต ไม่มีอนาคต

สติและการฝึกสติ

สัมมาสมาธิที่พระพุทธเจ้าทรงสอน ถ้าเราไม่เผลอเลื่อนลอยไป และไม่เพ่งกายเพ่งใจ เราก็จะเดินสู่เส้นทางสายกลาง รู้กายตรงตามความเป็นจริง รู้จิตตรงตามความเป็นจริง เรียกว่าทำสติปฏฐาน นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก - พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

ภาวนาถ้าไม่รู้ทันจิตกิเลสหนังไม่ถลอก ถ้าเราไม่เผลอเลื่อนลอยไป และไม่เพ่งกายเพ่งใจ เราก็จะเดินสู่เส้นทางสายกลาง รู้กายตรงตามความเป็นจริง รู้จิตตรงตามความเป็นจริง เรียกว่าทำสติปฏฐาน นี้เป็นทางสายเดียว เพื่อความบริสุทธิ์หลุดพ้น ไม่มีทางสายที่สองให้เลือก - พระอาจารย์ปราโมทย์ ปาโมชฺโช

วันอังคารที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2558

วันมาฆบูชาคือวันที่พระสารีบุตรปรินิพพาน ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปห­นึ่งอสงไขย แสนกัปแต่กัปนี้ไป ข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทข­องพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ความปรารถนาของข้าพระองค์นั้นสำ­เร็จแล้ว ข้าพระองค์เห็นพระองค์แล้ว

รถยนต์ไฟฟ้าใช้มอเตอร์สามเฟสและแบตเตอรี่ง่ายดีครับ

เครื่องเพิ่มแรงเคลื่อนไฟฟ้ากระแสตรง เครื่องอิเล็กทรอนิกส์ทุกชนิดประมาณ90%จะใช้กับเครื่องนี้ได้ครับ..สังเกตุจากที่พิมพ์ว่า 100-240 Vac...เช่นเครื่องเกี่ยวกับโทรศัพท์ โทรทัศน์ วิทยุ เครื่องเล่น mp3 mp4...แต่ถ้าเป็นหม้อแปลงหรืออะเเดปเตอร์ ที่ใช้แกนเหล็กธรรมดา จะใช้กับเครื่องนี้ไม่ได้ครับ...ต้องเป็นรู่นใหม่ที่ใช้ switching power supply เท่านั้นครับ...

วันจันทร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2558

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไป มันเป็นสันติสุขที่รุ่งเรืองและเร้นลับ และก็หมดกันเพียงเท่านั้นเอง จงเข้าไปสู่สิ่งสิ่งนี้ได้ลึกซึ้ง โดยการลืมตาต่อสิ่งนี้ด้วยตัวเราเอง สิ่งซึ่งอยู่ตรงหน้าเรานี้แหละ คือสิ่ง สิ่งนั้น ในอัตราที่เต็มที่ทั้งหมดทั้งสิ้น และสมบูรณ์ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีอะไรนอกไปจากนี้อีก จิตคือพุทธะ (สิ่งสูงสุด) มันย่อมรวมสิ่งทุกสิ่งเข้าไว้ในตัวมันทั้งหมด นับแต่พระพุทธเจ้าที่ตรัสรู้แล้วทั้งหลายเป็นสิ่งที่สุดในเบื้องสูง ลงไปจนกระทั่งถึงสัตว์ประเภทที่ต่ำต้อยที่สุด ซึ่งเป็นสัตว์เลื้อยคลานและแมลงต่างๆ เป็นที่สุดในเบื้องต่ำ สิ่งเหล่านี้ทุกสิ่ง มันย่อมมีส่วนแห่งความเป็นพุทธะเท่ากันหมด และทุกๆ สิ่งมีเนื้อหาเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ พุทธะ อยู่ตลอดเวลา ถ้าพวกเราเพียงแต่สามารถทำความเข้าใจในจิตของเราเองได้สำเร็จ แล้วค้นพบธรรมชาติอันแท้จริงของเราเองได้ ด้วยความเข้าใจอันนี้เท่านั้น ก็จะเป็นที่แน่นอนว่า ไม่มีอะไรที่พวกเราจำเป็นที่จะต้องแสวงหาแม้แต่อย่างใดเลย จิตของเรานั้น ถ้าเราทำความสงบเงียบอยู่จริงๆ เว้นขาดจากการคิดนึก ซึ่งเป็นการเคลื่อนไหวของจิต แม้แต่น้อยที่สุดเสียให้ได้จริงๆ ตัวแท้ของมันก็จะปรากฏออกมาเป็นความว่าง แล้วเราก็จะพบว่ามันเป็นสิ่งที่ปราศจากรูป มันไม่ได้กินเนื้อที่อะไรๆ ที่ไหน แม้แต่จุดเดียว มันไม่ได้ตกลงสู่การบัญญัติว่าเป็นพวกที่มีความเป็นอยู่ หรือไม่มีความเป็นอยู่ แม้แต่ประการใดเลย เพราะเหตุที่ สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ เพราะจิตซึ่งเป็นธรรมชาติที่แท้ของคนเรานั้น มันเป็นครรภ์หรือกำเนิด ไม่มีใครทำให้เกิดขึ้นและไม่อาจถูกทำลายได้เลย ในการทำปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อมต่างๆ นั้น มันเปลี่ยนรูปของมันเองออกมาเป็นปรากฏการณ์ต่างๆ เพื่อสะดวกในการพูด เราพูดถึงจิตในฐานะที่เป็นตัวสติปัญญา แต่ในขณะที่มันไม่ได้ทำการตอบสนองต่อสิ่งแวดล้อม คือไม่ได้เป็นตัวสติปัญญาที่นึกคิด หรือสร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมานั้น มันเป็นสิ่งที่ไม่อาจถูกกล่าวถึงในการที่จะบัญญัติว่ามันเป็นความมีอยู่ หรือไม่ใช่ความมีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้น แม้ในขณะที่มันทำหน้าที่สร้างสิ่งต่างๆ ขึ้นมา ในฐานะที่ตอบสนองต่อกฎแห่งความเป็นเหตุและผลของกันและกันนั้น มันก็ยังเป็นสิ่งที่เรารู้สึกไม่ได้โดยทางอายตนะ ตา หู จมูก ลิ้น กาย และมโนทวาร อยู่นั่นเอง ถ้าเราทราบความเป็นจริงข้อนี้ เราทำความสงบเงียบสนิทอยู่ในภาวะแห่งความไม่มีอะไร ในขณะนั้น พวกเรากำลังเดินอยู่แล้วในทางแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายโดยแท้จริง ดังนั้น เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น