วันอาทิตย์ที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558
กรณียเมตตสูตร - บรรเลงทำนองอินเดียกะระณียะเมตตะสูตร กะระณียะมัตถะกุสะเลนะ ยันตัง สันตัง ปะทัง อะภิสะเมจจะ กิจอันใด อันพระอริยเจ้าบรรลุบทอันกระทำแล้ว กิจอันนั้นกุลบุตรผู้ฉลาดในประโยชน์พึงกระทำ สักโก อุชู จะ สุหุชู จะ กุลบุตรนั้นพึงเป็นผู้อาจหาญ และซื่อตรงดี สุวะโจ จัสสะ มุทุ อะนะติมานี เป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ สันตุสสะโก จะ สุภะโร จะ เป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย อัปปะกิจโจ จะ สัลละหุกะวุตติ เป็นผู้มีธุรกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต สันตินทริโย จะ นิปะโก จะ มีอินทรีย์อันระงับแล้ว มีปัญญา อัปปะคัพโภ กุเลสุ อะนะนุคิทโธ เป็นผู้ไม่คะนอง ไม่พัวพันในสกุลทั้งหลาย นะ จะ ขุททัง สะมาจะเร กิญจิ เยนะ วิญญู ปะเร อุปะวะเทยยุง วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นด้วยกรรมอันใด ไม่พึงประพฤติกรรมอันนั้นเลย สุขิโน วา เขมิโน โหนตุ สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด เย เกจิ ปาณะภูตัตถิ สัตว์มีชีวิตทั้งหลายเหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ตะสา วา ถาวะรา วา อะนะวะเสสา ยังเป็นผู้สะดุ้ง ( คือมีตัณหา ) หรือเป็นผู้มั่นคง ( ไม่มีตัณหา ) ทั้งหมดไม่เหลือ ทีฆา วา เย มะหันตา วา มัชฌิมา รัสสะกา อะณุกะถูลา เหล่าใดยาวหรือใหญ่ หรือปานกลางหรือสั้นหรือผอมพี ทิฏฐา วา เย จะ อะทิฏฐา เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เย จะ ทูเร วะสันติ อะวิทูเร เหล่าใดอยู่ในที่ไกลหรือที่ไม่ไกล ภูตา วา สัมภะเวสี วา ที่เกิดแล้ว หรือแสวงหาภพก็ดี สัพเพ สัตตา ภะวันตุ สุขิตัตตา ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด นะ ปะโร ปะรัง นิกุพเพถะ สัตว์อื่นอย่างพึงข่มเหงสัตว์อื่น นาติมัญเญถะ กัตถะจิ นัง กิญจิ อย่าพึงดูหมิ่นอะไรๆ เขา ในที่ไรๆ เลย พยาโรสะนา ปะฏิฆะสัญญา นาญญะมัญญัสสะ ทุกขะมิจเฉยยะ ไม่ควรปรารถนาทุกข์แก่กันและกัน เพราะความกริ้วโกรธด้วยความคับแค้นใจ มาตา ยะถา นิยัง ปุตตัง อายุสา เอกะปุตตะมะนุรักเข มารดาถนอลูกคนเดียว ผู้เกดในตนด้วยยอมพร่าชีวิตได้ฉันใด เอวัมปิ สัพพะภูเตสุ มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง ุพึงเจริญเมตตา มีในใจ ไม่มีประมาณในสัตว์ฉันนั้น เมตตัญจะ สัพพะโลกัสมิง มานะสัมภาวะเย อะปะริมาณัง บุคคลพึงเจริญเมตตา มีในใจไม่มีประมาณไปในโลกทั้งสิ้น อุทธัง อะโธ จะ ติริยัญจะ ทั้งเบื้องบน เบื้องต่ำ เบื้องเฉียง อะสัมพาธัง อะเวรัง อะสะปัตตัง เป็นธรรมอันไม่คับแคบ ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู ติฎฐัญจะรัง นิสินโน วา ผู้เจริญเมตตาจิตนั้น ยืนอยู่ก็ดี เดินไปก็ดี นั่งแล้วก็ดี สะยาโน วา ยาวะตัสสะ วิคะตะมิทโธ นอนแล้วก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอนเพียงใด เอตัง สะติง อะธิฏเฐยยะ ก็ตั้งสติอันนั้นไว้เพียงนั้น พรัหมะเมตัง วิหารัง อิธะมาหุ ับัณฑิตทั้งหลาย กล่าวกิริยาอันนี้ว่า เป็นพรหมวิหาร ในพระศาสนานี้ ทิฏฐิญจะ อะนุปะคัมมะ สีสะวา บุคคลที่มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ เป็นผู้มีศีล ทัสสะเนนะ สัมปันโน ถึงพร้อมแล้วด้วยทัศนะ ( คือโสดาปัตติมรรค) กาเมสุ วิเนยยะ เคธัง นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออก นะ หิ ชาตุ คัพภะเสยยัง ปุนะเรตีติฯ ย่อมไม่ถึงความนอน ( เกิด) ในครรภ์อีก โดยแท้ทีเดียว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ความกลัวย่อมไม่มีแก่ผู้พิจารณาเห็น
ตอบลบตามความเป็นจริง ซึ่งความเกิดขึ้นแห่งธรรมอันบริสุทธิ์
และความสืบต่อแห่งสังขารอันบริสุทธิ์ เมื่อใดบุคคล
พิจารณาเห็นเสมอด้วยหญ้าและไม้ด้วยปัญญา เมื่อ
นั้น บุคคลนั้นย่อมไม่ยึดถือว่าเป็นของเรา ย่อมไม่เศร้า
โศกว่า ของเราไม่มี เรารำคาญด้วยสรีระ เราไม่ต้อง-
การด้วยภพ ร่างกายนี้จักแตกไป และจักไม่มีร่างกาย
อื่น ถ้าท่านทั้งหลายปรารถนาจะทำกิจใดด้วยร่างกายของ
เรา ก็จงทำกิจนั้นเถิด ความขัดเคืองและความรักใคร่ใน
ร่างกายนั้น จักไม่มีแก่เรา เพราะเหตุที่ท่านทั้งหลายทำ
กิจตามปรารถนาด้วยร่างกายของเรานั้น. โจรทั้งหลายได้
ฟังคำของท่านอันน่าอัศจรรย์ ทำให้ขนลุกชูชัน จึงพา
กันวางศาสตราวุธ แล้วกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ
ความไม่เศร้าโศกที่ท่านได้นี้ เพราะท่านได้ทำกรรมอะไร
ไว้ หรือใครเป็นอาจารย์ของท่าน หรือเพราะอาศัยคำสั่ง
สอนของใคร.
พระเถระได้ฟังดังนั้นแล้ว จึงได้กล่าวตอบว่า
พระศาสดาผู้เป็นสัพพัญญู รู้เห็นธรรมทั้งปวง ชนะ
หมู่มาร มีพระกรุณาใหญ่ ผู้รักษาพยาบาลชาวโลกทั้งปวง
เป็นอาจารย์ของเรา ธรรมเครื่องให้ถึงความสิ้นอาสวะอัน
ยอดเยี่ยมนี้ พระองค์ทรงแสดงไว้แล้ว ความไม่เศร้าโศก
เราได้เพราะอาศัยคำสั่งสอนของพระองค์ พวกโจรฟัง
พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย เถรคาถา เล่ม ๒ ภาค ๓ ตอน ๔ - หน้าที่ 4
ถ้อยคำอันเป็นสุภาษิตของพระเถระผู้เป็นฤาษีแล้ว พากัน
วางศาสตราและอาวุธ บางพวกก็งดเว้นจากโจรกรรม บาง
พวกก็ขอบรรพชา โจรเหล่านั้นครั้นได้บรรพชาในศาสนา
ของพระสุคตแล้ว ได้เจริญโพชฌงค์และพลธรรม เป็น
บัณฑิต มีจิตเฟื่องฟู เบิกบาน มีอินทรีย์อันอบรมดีแล้ว
ได้บรรลุสันตบท คือนิพพานอันหาปัจจัยปรุงแต่งมิได้.
จบอธิมุตตเถรคาถา