วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2557
พระอริยะบุคคล พระอนาคามี เขานั่งตรองถึงชีวิตในอดีตโดยเฉพาะเวลา ๒ ปีที่อยู่ร่วมกับสุชาวดีเป็นระยะเวลาที่เขาลำบากชอกช้ำสุดประมาณได้ ลำดับนั้นสุภาษิตเก่าๆ ที่โบราณบัณฑิตได้กล่าวไว้ก็แจ่มแจ้งแก่เขา ประดุจคบเพลิงสว่างโร่ขึ้นในมุมมืด สุภาษิตนั้นมีดังนี้ -- มีบิดาผู้ซึ่งสะสมหนี้สินไว้มากคือศัตรู มีมารดาผู้ซึ่งมิได้ประพฤติในความบริสุทธิ์คือศัตรู มีภรรยารูปงามคือศัตรู มิตรที่ปราศจากความรู้คือศัตรู -- ความรู้เป็นประดุจยาพิษเพราะมิได้ใช้ความรู้นั้นให้เหมาะสม อาหารก็เปรียบเหมือนยาพิษเพราะไม่ย่อย พระราชวังเป็นประดุจยาพิษสำหรับคนเข็ญใจ ภรรยาสาวก็เปรียบเหมือนยาพิษสำหรับสามีชรา -- แสงจันทร์ และละอองฝนไม่เป็นที่ยินดีของคนหนาว แสงอาทิตย์ไม่เป็นที่พอใจของคนร้อน สามีชราย่อมไม่เป็นที่ยินดีพอใจของภรรยาสาว -- สามีเกศาหงอก ความรักของหญิงสาวผู้เป็นภรรยาจะมีรุนแรงได้อย่างไร ประดุจยาขม หรือไม่ขมก็ตาม ใครจะชอบรับประทานบ้าง เมื่อไม่จำเป็น ด้วยเหตุนี้สตรีจึงเอาใจออกห่างจากผัวแก่ไปฝักใฝ่ในชายอื่น -- ความรักในสมบัติ ความรักชีวิตย่อมมีอยู่ในบุคคลทั่วไป ทุกรูปทุกนาม แต่เมียสาวเป็นที่รักเลิศของผัวเฒ่ายิ่งกว่าหัวใจ -- ชายแก่มีสังขารทรุดโทรม แม้หมดกำลังเพื่อความสนุกรื่นรมณ์ ก็ยังมิวายกระเสือกกระสน เหมือนสุนัขถึงฟันหักเหี้ยน หากพบเนื้อติดกระดูกที่ตนไม่สามารถแทะทึ้งได้ ถึงกระนั้นก็ยังขอแต่ให้ได้เลียก็ยังดี ไม่มีสถานที่ ไม่มีโอกาส ไม่มีบุรุษจะชักชวนให้ไขว้เขว นารีบริสุทธิ์อยู่ได้เพราะเหตุนี้ต่างหาก -- เหตุที่สตรีจะทนเป็นพรหมจารีอยู่ได้ มิใช่จะเป็นเพราะรู้สึกละอาย มีจริยสมบัติ เกลียดการหยาบคายหรือมีใจเกรงขาม ที่แท้เป็นเพราะยังไม่มีผู้ปรารถนาอย่างเดียวเท่านั้น -- สตรีบางคนทำเป็นหวงตัวอย่างน่าหมั่นไส้ เหมือนใครกระทบกระแทกมิได้เลยแม้แต่น้อย แต่พออยู่ในที่ลับตาคน เธอกลับโถมเข้าหาผู้ชายเหมือนปลากระโดดลงน้ำ บัดนี้เขาตัดใจจากสุชาวดีได้แล้ว เรื่องเดียวที่วนเวียนอยู่ในจิตของเขา คือสหายผู้มีนามว่าอนันตชิน เขารอนแรมมาตามลำพังจนกระทั่งถึงเขตสาวัตถี ราชธานีแห่งแคว้นโกศล
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น