วันพฤหัสบดีที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2557
อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานหรือค่าไฟได้อย่างไร????" ถ้าเราพิจารณาจาก คุณสมบัติของโหลดชนิดต่างๆ จากตารางด้านบนของโหลดประเภทปั๊มและพัดลมนี้ เราจะเห็นว่า กำลัง (P) จะแปรผันตามความเร็วรอบยกกำลังสาม (N 3) สมมุติว่า ในกระบวนการ ใช้งานเราสามารถลดความเร็วรอบลงได้ 10% นั่นก็คือ 0.9 N เราก็จะได้กำลัง P (N) = N*N*N = N3 P (0.9N) = 0.9*0.9*0.9 N3 = 0.729 N3 P (N) - P (0.9N) = 0.29 N3 เราจะเห็นว่า ถ้าเราสามารถลดรอบของปั้มหรือพัดลมลงได้ 10% เราสามารถประหยัด พลังงานลงได้เกือบ 30% และในหลักการเดียวกับข้างต้น ถ้าลดความเร็วรอบลงได้ 20% เราจะสามารถประหยัดพลังงาน ลงได้ถึงเกือบ 50% ทีเดียว Pressure Control อินเวอร์เตอร์มีส่วนในการประหยัดพลังงานตรงที่หน้าที่ของมัน คือ ปรับความเร็ว รอบของมอเตอร์ให้ลดลงตามที่เราต้องการ โดยที่ทำให้มอเตอร์ใช้กระแสไฟลดลง เนื่องจากโหลดต้องการกำลังลดลง ลองพิจารณาจากรูปด้านข้าง จากรูป ถ้าสมมุติว่าในตอนแรกยังไม่มีการติดตั้งอินเวอร์เตอร์ในการขับปั้ม เมื่อเดินปั้มๆ จะปั้มน้ำเข้าสู่ระบบจนกระทั่งความดันได้ตามที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วไปอาจจะมีตัววาล์ว ความดันอยู่ซึ่งจะทำหน้าที่ปล่อยน้ำออกเพื่อไม่ให้ความดันเกิน แต่มอเตอร์จะเดินอยู่ตลอด เวลาหรืออาจจะเป็นลักษณะที่ให้มอเตอร์หยุดเมื่อถึงความดันที่ต้องการ และเดินใหม่อีก ครั้งเมื่อความดันลดลงถึงค่าที่ตั้งไว้ จะเห็นว่าทั้งสองวิธีก็จะมีการสูญเสียพลังงานมาก แบบแรก มอเตอร์เดินตลอดเวลา ส่วนแบบที่สอง มอเตอร์จะเดินหยุดๆ ตลอดเวลา ซึ่ง ก็เป็นการสูญเสียเช่นกัน ถ้าเราติดตั้งอินเวอร์เตอร์เข้าไปและใช้ตัว Pressure transmitter เป็นตัวส่งสัญญาณในการปรับรอบของมอเตอร์ให้ลดลง เมื่อความดันเพิ่มจากที่ต้องการ และเดินที่ความเร็วรอบปกติของมอเตอร์เมื่อความดันลดลง โดยอาจควบคุมเป็น แบบ PI หรือ PID ก็ได้ จากผลอันนี้เราจะประหยัดพลังงานได้อย่างมากทีเดียว นอกเหนือไปจากผลที่ได้จากการประหยัดพลังงานแล้ว การใช้อินเวอร์เตอร์ในงานปั้ม หรือ พัดลม ยังให้คุณประโยชน์ด้านอื่นๆ ด้วย เช่น 1. การควบคุมดีขึ้น และ สะดวกมากขึ้น - รักษาความดันน้ำคงที่สม่ำเสมอ - รักษาอุณหภูมิอากาศคงที่สม่ำเสมอ - ปรับเปลี่ยนง่ายไม่ยุ่งยาก 2. ลดความเครียดทางกล (Reduce mechanical stress) เช่น การเกิด Water hammer ในท่อ เนื่องจากเดิน หรือ หยุด ปั้มน้ำอย่างกระทันหันทำให้ค่าบำรุงรักษาลดลงด้วย แสดงน้อยลง
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น