วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2558
เราควรเจริญจิตให้หยุดนิ่งอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้นอนนุสสุตวรรคที่ ๔ อนนุสสุตสูตร ว่าด้วยธรรมที่ไม่เคยได้ฟังมาก่อน [๗๙๖] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่เรา ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นกายในกาย ... การ พิจารณาเห็นกายในกายนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นกายในกายอันเราเจริญแล้ว. [๗๙๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น แก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนา ... การพิจารณา เห็นเวทนาในเวทนานี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนานี้อันเราเจริญแล้ว. [๗๙๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้น แก่เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นจิตในจิต ... การพิจารณาเห็นจิต ในจิตนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นจิตในจิตนี้อันเราเจริญแล้ว. [๗๙๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้บังเกิดขึ้นแก่ เราในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้คือการพิจารณาเห็นธรรมในธรรม ... การพิจารณาเห็น ธรรมในธรรมนี้นั้นอันเราควรเจริญ ... การพิจารณาเห็นธรรมในธรรมนี้อันเราเจริญแล้ว. จบ สูตรที่ ๑ วิราคสูตร เจริญสติปัฏฐาน ๔ เพื่อความหน่าย [๘๐๐] สาวัตถีนิทาน. ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อความดับ เพื่อความ สงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มี สัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตในจิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้แล อัน บุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมเป็นไปเพื่อความหน่าย เพื่อความคลายกำหนัด เพื่อ ความดับ เพื่อความสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน โดยส่วนเดียว. จบ สูตรที่ ๒ วิรัทธสูตร ว่าด้วยผู้ไม่ปรารภและปรารภอริยมรรค [๘๐๑] ดูกรภิกษุทั้งหลาย สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรคประ กอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติปัฏฐาน ๔ เป็นไฉน? ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัด อภิชฌาและโทมนัสในโลกเสีย ย่อมพิจารณาเห็นเวทนาในเวทนาอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นจิตใน จิตอยู่ ... ย่อมพิจารณาเห็นธรรมในธรรมอยู่ มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌา และโทมนัสในโลกเสีย สติปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งไม่ปรารภแล้ว บุคคล เหล่านั้นชื่อว่า ไม่ปรารภอริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ สติ ปัฏฐาน ๔ เหล่านี้ อันบุคคลเหล่าใดเหล่าหนึ่งปรารภแล้ว บุคคลเหล่านั้นชื่อว่า ปรารภอริยมรรค ประกอบด้วยองค์ ๘ ที่ยังสัตว์ให้ถึงความสิ้นทุกข์โดยชอบ. จบ สูตรที่ ๓
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น