วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2558
ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิต..ตนนั่นเหละเป็นที่พึงของตน ตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้นเรื่องของมันมีแค่รู้ว่าฝันให้ตื่นทันทีตัวเราไม่มีหรอก เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง เป็นมายาหลอกลวง เหมือนฝัน ฝันไปว่ามีตัวเรา จริงๆไม่มีเรา ถ้าเมื่อไหร่ปัญญาแทงทะลุลงไปว่าจริงๆไม่มีเราหรอก เป็นภาพลวงตาทั้งหมดเลย นั่นแหละคือภูมิธรรมของพระโสดาบัน ฟังแล้วเหมือนยากนะ แต่ลงมือทำจริงไม่ยากหรอก บางคนใช้เวลาไม่กี่วันด้วยซ้ำไป บางคนใช้เวลาสั้นนิดเดียวนะ อย่าว่าแต่พระโสดาบันเลย บางท่านฟังธรรมะไม่กี่ประโยค ท่านก็เป็นพระอรหันต์ ยกตัวอย่างพระพาหิยะ ฟังธรรมะนิดเดียว ถ้าไหว้พระสวดมนต์แล้วสงบได้ ก็ไหว้พระสวดมนต์ ถ้ามันไม่ไหวจริงๆนะ หาหนังสือมาอ่านก็ได้ ให้ใจมันคลาย พอใจมันคลายแล้วก็มาไหว้พระสวดมนต์ มารู้ลมหายใจแล้วก็มารู้ทันจิตไป ใจไหลแล้วรู้ ใจไหลแล้วรู้ ต่อไปจากนี้นะ จะง่าย ไม่ต้องเริ่มต้นไกลเลย คิดถึงพระพุทธเจ้านิดหน่อยก็พอแล้ว ใจสบาย มีความสุข คิดถึงพระพุทธเจ้าแล้ว แค่นะโมตัสสะ ยังไม่ทันภะคะวะโต จิตก็สงบแล้วนะ ค่อยๆฝึก จิตสงบเพราะว่าอะไร เพราะว่าชำนาญในการรู้ทันจิตที่เคลื่อน พอรู้ทันจิตที่เคลื่อนปุ๊บ จิตก็ตั้งมั่นเลย เคล็ดลับอยู่ตรงที่รู้ทันจิตที่เคลื่อนนะ การทำสมาธิชนิดที่ถูกต้องน่ะ ไม่ใช่เคล็ดลับอยู่ที่น้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว ถ้าน้อมใจไปอยู่ในอารมณ์อันเดียวที่มีความสุขเป็นสมาธิชนิดที่เป็นสมถะ ถ้าจะใช้สมาธิชนิดที่สองที่เรียกว่า “ลักขณูปนิชฌาน” เนี่ย ให้รู้ทันจิตที่เคลื่อนไป ไม่ห้าม พุทโธๆไปก็ได้ จิตเคลื่อนแล้วรู้ ไม่ใช่ว่าพุทโธไปแล้วห้ามจิตเคลื่อน จิตแข็งๆอย่างนั้นผิดนะ ค่อยๆฝึกนะ เอาสมาธิขึ้นมาให้ได้ พอได้สมาธิแล้วก็ดูไป ร่างกายก็อยู่ส่วนร่างกาย ใจเป็นคนดู จิตที่ตั้งมั่นแล้วมันจะกลายไปเป็นคนดูได้ เขาถึงเรียกว่า “ผู้รู้” ไง มันเป็น “ผู้รู้” มันไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง เพราะฉะนั้นเรามาฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ให้ได้นะ จิตของคนในโลกของสัตว์ทั้งหลายนั้น เป็นผู้นึกผู้คิดผู้ปรุงผู้แต่ง ไม่ใช่ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน วิธีที่จะทำให้เป็นผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน ทำกรรมฐานสักอย่างหนึ่ง พุทโธ หายใจ อะไรก็ได้ แล้วพอจิตเคลื่อนไปแล้วรู้ เคลื่อนไปคิด รู้ เคลื่อนไปเพ่ง รู้ ต่อไปจิตพอเคลื่อนเรารู้ปุ๊บ สมาธิจะเกิด จะรู้เนื้อรู้ตัว จิตใจจะอยู่กับเนื้อกับตัว จะรู้ จะตื่น จะเบิกบานเลย พอจิตเป็นผู้รู้ได้ คราวนี้ก็มารู้อะไร ก็รู้กายมันทำงาน รู้ใจมันทำงาน ก็เห็นความจริงของกายของใจ เกิดปัญญาได้พระพุทธเจ้าสอนนะ ขันธ์ห้าเป็นทุกข์นะ ท่านไม่ได้สอนว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์บ้างสุขบ้าง เราเห็นยังไม่ถึงที่ท่านบอก ต้องอดทน ฟังแล้วฟังอีก ฟังแล้วก็ดูไปเรื่อย ฟังแล้วก็มาสังเกตกาย สังเกตใจไปเรื่อย ทุกวันๆ เราก็จะเขยิบใกล้ความจริงเข้าไปเรื่อยๆ ถึงจุดสุดท้าย เข้าถึงความจริงแท้ เข้าถึงอริยสัจจ์นั่นเอง รู้ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ พอรู้ว่าขันธ์ห้าเป็นทุกข์ล้วนๆ ใจจะวาง ไม่ยึดถือ พอไม่ยึดถือขันธ์ห้าว่าเป็นตัวเราของเราแล้วเนี่ย ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้เป็นสุข ความอยากที่จะให้กายนี้ใจนี้พ้นทุกข์ มันจะดับไปโดยอัตโนมัติ เพราะฉะนั้นรู้ทุกข์แจ่มแจ้งเมื่อไร สมุทัยจะถูกละโดยอัตโนมัติ พอทันทีที่สมุทัยถูกละ นิโรธคือนิพพานจะปรากฏต่อหน้าต่อตาเรานี่เอง นิพพานไม่ได้อยู่ไกลๆนะ นิพพานไม่ใช่อยู่ไกลๆ นิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตานี่เอง วันใดที่ใจเราสิ้นตัณหาอย่างแท้จริง เพราะมีปัญญารู้ทุกข์อย่างแท้จริง วางกายวางใจได้ รู้ทุกข์แล้ววางกายวางใจได้ ตัณหาจะสิ้นไป นิพพานจะปรากฏต่อหน้า ใจที่มันไม่ดิ้นมันจะเห็นธรรมะที่ไม่ดิ้น ใจที่มันไม่อยากมันก็เห็นธรรมะที่ไม่อยาก เห็นนิพพานนั่นเอง มันจะมีแต่ความสุขล้วนๆ เลยถึงตรงจุดนี้ เพราะอะไรถึงมีความสุขล้วนๆ เพราะมันพ้นจากขันธ์แล้ว จิตมันพรากออกจากขันธ์นะ ขันธ์อยู่ส่วนขันธ์ จิตอยู่ส่วนจิต ไม่กระทบกันเลย โดยที่ไม่ต้องระวังรักษาอีกต่อไปแล้ว งั้นเมื่อมันพ้นขันธ์ได้ก็คือมันพ้นทุกข์นั่นเอง พระพุทธเจ้าสอนว่าขันธ์ห้าคือทุกข์ เมื่อไรมันพ้นขันธ์ก็คือพ้นทุกข์ ตัณหาก็ไม่มีนะ จิตใจมีแต่สันติสุข คำว่า “สันติ” ก็เป็นชื่อของนิพพาน จิตใจที่เข้าถึงนิพพาน มีความสุขจนไม่รู้จะเทียบกับอะไร ความสุขอย่างโลก ๆ ความสุขเหมือนกับเด็กเล่นฝุ่นเล่นทรายเท่านั้นเอง ค่อยเรียนนะ ค่อยเรียน อดทนในการเรียน
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น