วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2558
จิตนี่แหละคือตัวทุกข์ต้องปฏิบัตินะ ต้องมีสติ รู้สึกตัวบ่อยๆ รู้สึกกายรู้สึกใจ รู้สึกกายรู้สึกใจไป รู้สึกกายรู้สึกใจเรียกว่ารู้ทุกข์ รู้สึกไปเรื่อยถ้ารู้แจ่มแจ้งเห็นมันเป็นไตรลักษณ์จะเบื่อ พอเบื่อหน่ายก็รู้ว่าเบื่อหน่ายนะ ใจก็คลายออก ไม่ยึดถือ เห็นแล้วว่าความจริงเป็นยังไง ความจริงของกายก็คือทุกข์ ความจริงของจิตใจก็คือทุกข์ ความจริงเค้าเป็นอย่างนั้น ใจยอมรับความจริง พอใจยอมรับความจริงใจก็หมดความดิ้นรนใช่มั้ย ตัวสำคัญนะตรงที่ยอมรับความจริง ถ้าคนที่ยอมรับความจริงได้จะไม่ทุกข์ คนที่ยอมรับความจริงไม่ได้จะทุกข์ อย่างร่างกายเราต้องแก่ใช่มั้ย ต้องเจ็บต้องตาย นี่เป็นความจริง ถ้ายอมรับไม่ได้ก็ทุกข์แล้ว ตีนกาขึ้นหน่อยก็กลุ้มแล้วใช่มั้ย หายานี้มาลองทาไม่ได้ผลเอาตัวนี้ทา ทาไปทามาเลยเหี่ยวไปเลย คราวนี้ตีนวัวตีนควาย ท้อใจแล้วยอมรับสภาพ มันเยอะสู้ไม่ไหวแล้ว ถ้ายอมรับได้ก็ไม่ทุกข์ใช่มั้ย อย่างหลวงพ่อนะหลวงพ่อรู้สึกตัวเองแก่มานานแล้ว ตั้งแต่เด็กๆก็รู้สึกแก่นะ ภาวนามามากๆนะ รู้สึกโลกมันจืดมาแต่ไหนแต่ไรแล้ว เพื่อนฝูงเค้าเฮๆฮาๆนะ เราก็เฮ้อ เล่นๆไปกับเค้านะเหมือนเล่นละครยังไงหยั่งงั้นน่ะ เอาใจมันให้ไม่ดูแปลกกว่ามันมากนัก กลมกลืน แต่ในใจเรารู้สึกไม่เห็นมีอะไรเลย จืดชืด นี่ใจมันแก่มาตั้งแต่เด็ก เพื่อนๆมันล้อหลวงพ่อนะว่าหน้าตาแก่ ท่าทางก็เหมือนคนแก่ เดี๋ยวนี้ลองมาดูสิมันแก่กว่าหลวงพ่อแล้วรายไหนรายนั้นเลย ของเราแก่คงที่มาตั้งแต่เด็ก มันมาแก่ทีหลัง มันดังกว่า ไปดูสิแต่ละคนนะหัวหงอกขาวโพลนเลยก็มีนะ หัวล้านเหน่งเลยก็มี เราภาวนานะภาวนา ใจยอมรับความจริงได้เมื่อไหร่ใจจะไม่ทุกข์ ใจจะยอมรับความจริงได้ต่อเมื่อใจยอมจำนน นี่ไม่ยอมง่ายๆนะ อยู่ๆจะไปบอก เอ้า ผมยอมแล้ว เกิดแก่เจ็บตายเป็นเรื่องธรรมดา ปิ๊ง บรรลุพระอรหันต์ ใจมันไม่ยอมด้วยหรอก งั้นมันจะยอมต่อเมื่อมันยอมจำนน ทำยังไงมันถึงจะยอมจำนน ต้องเอาข้อเท็จจริงตีแผ่ให้มันดูทุกวันๆ ดูลงมาในกาย ดูลงมาในใจ ดูซิมันสุขหรือมันทุกข์ มันดีหรือมันร้ายนะ ดูลงไป มันน่ารักหรือมันไม่น่ารัก มันสวยมันงามหรือไม่สวยไม่งาม มันเที่ยงหรือไม่เที่ยง มันสุขหรือมันทุกข์นะ มันบังคับได้หรือบังคับไม่ได้ เอาของจริงมาให้มันดู พวกเราวิปลาส ปุถุชนจะวิปลาสสี่อย่าง คือเห็นของไม่สวยไม่งามก็ว่าสวยว่างาม เห็นของไม่เที่ยงก็ว่าเที่ยง เห็นของเป็นทุกข์ว่าเป็นสุข เห็นของไม่ใช่ตัวตนว่าเป็นตัวเป็นตนของตน นี่เรียกวิปลาส นี้จะหายบ้าหายวิปลาสได้นะเอาข้อเท็จจริงมาให้ดู พอดูทุกวันๆนะ ดูอยู่ในกายดูอยู่ในใจ รู้สึกกายรู้สึกใจอย่าไปแทรกแทรง อย่าไปบังคับ เราต้องการดูความจริง เพราะงั้นอย่าไปบังคับกายบังคับใจ “หลวงพ่อจะบอกแลนด์มาร์คที่สำคัญไว้นะ แลนด์มาร์คที่สำคัญก่อนจะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเกิดปัญญาชนิดหนึ่ง เรียกว่า สังขารุเบกขาญาน สังขารุเบกขาญาน ญานแปลว่าปัญญา มีปัญญาที่จะเป็นอุเบกขาเป็นกลางต่อสังขาร อะไรที่เรียกว่า สังขาร ความปรุงแต่งทั้งปวงเรียกว่า สังขาร ร่างกายก็ เป็นสังขารนะ ความสุข ความทุกข์ก็เป็นสังขาร ความโลภ ความโกรธ ก็เป็น สังขาร อะไร อะไร ก็เป็นสังขาร ในขันธ์ 5 นี่แหล่ะ คือ ตัวสังขารทั้งหมด ถ้าเราค่อยๆ ฝึกตามดูไปเรื่อย มีสติตามดูไป ก็จะเห็นว่าร่างกายที่หายใจออก ก็อยู่ชั่วคราว ร่างกายที่หายใจเข้าก็อยู่ชั่ว คราว ความสุข ก็อยู่ชั่วคราว ความทุกข์ก็อยู่ชั่วคราว จิตที่อยู่เฉยๆ ก็ชั่วคราว มีใครไม่สุขชั่วคราวมั๊ย มีมั๊ย มีใครสุขถาวรมีมั๊ย ไม่มีหรอก ใครทุกข์ถาวรมีไหม ไม่มี เนี่ยะเรามีสติตามดูความเปลี่ยนแปลงของจิตไปนะ จะเห็นเลยว่า สุขก็ชั่ว คราว ทุกข์ก็ชั่วคราว โลภ โกรธ หลง ก็ชั่วคราว ดูไปเรื่อยนะ ในที่สุดปัญญามัน เกิด ก็จะรู้ว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว พอเมื่อไหร่ที่จิตมัน เห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราวจิตก็จะเริ่มเข้าสู่ความเป็นกลางด้วยปัญญา เป็นกลางเนี่ยะเกิดได้หลายแบบ เป็นกลางอันแรกเกิดด้วยการกดข่มไว้ เช่น ถูกเค้าด่า (ไม่โกรธนะ ไม่โกรธนะ) เป็นกลางเพราะ กดข่มเอาไว้ เป็นกลางอีกอันหนึ่งเรียก ด้วยมีสติ เป็นกลางอีกอย่างนึงเป็นกลางด้วย ปัญญา เป็นกลางแบบมีสติ ก็คือ เช่น เราขับรถอยู่ คนมันปาดหน้า ใจเราโมโหขึ้นมาเราเห็น เราเห็นใจเลยว่าใจเราโมโห พอเราเป็นนักปฏิบัติเนี่ยะ พอเราเห็นใจเรา โมโหขึ้นมาไม่ดี คุณแม่บอกให้เมตตา โมโหไม่ดีใช่มั๊ย เราต้องรีบไปรู้ทันใจที่ไม่ชอบ ความโกรธเกิดขึ้นแล้วใจยินร้าย ไม่ชอบตอนที่โกรธ หรือกุศลเกิดขึ้นใจเราหลงยินดีเราไม่รู้ว่ายินดี ในแง่จิตไม่เป็นกลาง ถ้าจิตยินดีเรารู้ทัน จิตยินร้ายเรารู้ทัน มันจะเป็นกลางด้วยสติ แต่ถ้าเป็นกลางด้วยปัญญา ตรงนี้สำคัญมากเลย ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ ใจจะเป็นกลางด้วยปัญญาแล้วก็จะเห็นเลยเนี่ยะว่า ความสุขก็ชั่วคราวความทุกข์ก็ชั่วคราว กุศลก็ชั่วคราวนะ โลภ โกรธหลง อะไรต่อมิอะไรก็ชั่วคราว ความฟุ้งซ่านก็ชั่วคราว หดหู่ก็ชั่วคราว ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย ถ้าเมื่อไหร่เห็นว่าจิตเห็นว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตมันจะเป็นกลางด้วยปัญญา ความสุขเกิดขึ้นมันไม่หลงระเริงแระ เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ความทุกข์เกิดขึ้นมันไม่ทุรนทุราย เพราะมันรู้ว่าชั่วคราว ดีใจ เสียใจ สมหวัง ผิดหวัง มัน ไม่หลงระเริง ไม่เสียอกเสียใจเพราะมันรู้ว่าชั่วคราว เห็นมั๊ยพอมันเห็นว่าทุกอย่าง ชั่วคราวเนี่ยใจจะหมดความดิ้นรน เนี่ยะเรียกว่า เป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคเนี่ยะ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญาเนี่ยะ เราจะต้องหัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไปจนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่งนอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะมีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย …. ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วนะจะเกิดอะไร จิตจะหมด ความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม จิตใจไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ คิดอยู่ว่าเอ่..ทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิต ดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนหนีตลอดเวลานะคือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้าง ความปรุงแต่งตลอดเวลา พวกเราเห็นมั๊ยในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอยเลย ถอยไปอยู่ข้างหลัง… แบ่งๆ กัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ (โยมหัวเราะ)… จะเห็นมั๊ยตอน หัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั๊ย ดูตัวเอง เนี่ยะนะฝึกรู้ อย่างนี้ไปเรื่อยๆ แหล่ะ ดูไปเรื่อยนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอเนี่ยะ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธินะ มันรวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส มันจะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการกดไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลยนะ ไม่ต้องล้างอีกนะ ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนามันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึก ตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้เองนะ ลองไปทำดู ไม่ยากหรอก ก่อนที่จะเกิดอริยมรรคนี่ จิตจะเป็นกลางด้วยปัญญา ก่อนที่จิตจะเป็นกลาง ด้วยปัญญานี่ เราจะต้อง หัดเจริญสติ ตามดูความเปลี่ยนแปลงของกาย ของใจ เรื่อยไป จนปัญญามันเกิดว่าทุกอย่างชั่วคราว สุข ทุกข์ ดี ชั่ว ชั่วคราว หายใจออก หายใจเข้า ชั่วคราว ยืนก็ชั่วคราว เดินก็ชั่วคราว นั่ง นอนชั่วคราว ดูไปเรื่อยๆ นะ มีแต่ของชั่วคราวไปหมดเลย มาเสถียรก็มาชั่วคราวใช่ไหมนะ เดี๋ยวก็ไปแล้ว นี่ทุกอย่างชั่วคราวนะ ดูไป ทุกสิ่งในชีวิตเรานะ ถ้าเห็นว่าทุกอย่างชั่วคราวนะ ต่อไปไม่ว่าอะไรเกิดขึ้นจิตจะเป็นกลาง จิตที่เป็นกลางแล้วมันจะเกิดอะไรขึ้น จิตจะหมดความดิ้นรน จิตที่ไม่เป็นกลางนะมันจะดิ้นรนไม่เลิก พวกเรารู้สึกไหม อย่างจิตใจเราไม่มีความสุข เราอยากให้มีความสุข เราเกลียดความทุกข์ จิตที่เกลียดความทุกข์ก็ดิ้นรนนะ ดิ้นว่าทำอย่างไรจะมีความสุข หรือจิตมันดิ้นรนหาความสุข จิตดิ้นรนหนีความทุกข์ การที่จิตต้องดิ้นรนอยู่ตลอดเวลานี่นะ คือตัวทุกข์เลย จิตจะมีแต่ความทุกข์ล้วนๆ เลย สร้างภพ สร้างชาติ สร้างความปรุงแต่งอยู่ตลอดเวลา พวกเราเห็นไหม ในใจของเรามีความอยากเกิดตลอดเวลา ไปหัดดูนะ แล้วเราจะเห็นเลยใจเรามีความอยากตลอดเวลา เดี๋ยวอยากดู เดี๋ยวอยากฟัง เดี๋ยวอยากคิด เดี๋ยวอยากหนีไปที่อื่น อย่างตอนนี้แดดร้อนแล้วอยากหนีแล้ว ถอยได้นะถอย ถอยไปอยู่ข้างหลัง ถอยได้ แบ่งๆ กันนะ แบ่งๆกัน หรือจะเอาเสื่อ ขึ้นคลุมก็ไม่ว่านะ สังเกตมั้ยตอนหัวเราะเมื่อกี้ใจฟุ้งซ่าน ดูออกมั้ย ลืมตัวเอง นี่ฝึกนะ ฝึกรู้อย่างนี้แหละ ดูไปเรื่อยๆนะ ถึงจุดหนึ่งที่ปัญญามันพอนี่ จิตมันจะรวม รวมเข้าอัปปนาสมาธิ รวมของมันเองนะ แล้วจะเห็นสภาวะธรรมเกิดดับอยู่สองสามขณะ แล้วถัดจากนั้นอริยะมรรคก็จะเกิดขึ้น จะล้างกิเลส อริยมรรคเวลาล้างกิเลส จะไม่เหมือนการล้างกิเลสด้วยสติ ด้วยสมาธิ ด้วยศีล ด้วยการข่มไว้ อริยมรรค เวลาล้างกิเลส ล้างตัวไหนแล้วล้างเลย ไม่ต้องล้างอีกแล้ว ล้างทีเดียวสะอาดหมดจด ไม่เกิดขึ้นอีกแล้ว แล้วเราค่อยๆ ฝึกนะ วันหนึ่งเราได้เป็นพระอริยะ อย่าวาดภาพว่าพระอริยะยากเกินไป อย่าวาดภาพว่าพระอริยะอยู่ไกล บารมีเราน้อย มัวแต่คิดว่าบารมีน้อยไม่ภาวนา มันก็น้อยไปทุกชาตินั่นแหล่ะ ถึงบารมีน้อยก็ขยันภาวนานะ หายใจไปก็รู้สึกตัวไป หายใจไปรู้สึกตัวไป มีสติรู้สึกตัวไปเรื่อย อย่าให้ลืมตัวเอง ต่อไปก็หายใจไป เห็นร่างกายที่หายใจอยู่ไม่ใช่เรา เห็นจิตใจมันทำงานได้เองนะ นี่ขั้นเดินปัญญา ง่ายๆ แค่นี้แหละ ลองไปทำดู เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิตจนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ 'มันมีการทำลายจิตผู้รู้' ระหว่างทางปฏิบัตินั้นเราไปสร้างจิตผู้รู้ขึ้น เพื่อเป็นคนรู้ เห็นรูป นาม กาย ใจ เคลื่อนไหว ทำงานไปนะ แท้จริงการทำลายจิตผู้รู้ก็คือความรู้แจ้งในอริยสัจนั่นเองนะว่าจิตนี้เป็นตัวทุกข์ล้วนๆ แล้วหมดความยึดถือจิต นี้สำนวนท่านบอกว่าทำลายผู้รู้ ที่จริงก็คือไม่ยึดถือจิตนั่นแหละ เมื่อไรรู้ลงมาที่กาย รู้ลงมาที่จิต จนแจ่มแจ้งไม่ยึดถือจิต ตรงนั้นแหละที่เรียกว่าทำลายผู้รู้ จิตที่เหลือมันจะเป็นกิริยา จะไม่ใช่เป็นตัวผู้รู้อีก
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น