วันจันทร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

เราควรเจริญจิตให้หยุดอยู่บนความไม่มีอะไรเลยทั้งสิ้น“.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุในธรรมวินัยนี้ย่อมพยากรณ์อรหัตตผลว่า ข้าพเจ้ารู้ชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จ แล้วกิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พวกเธออย่างเพื่อยินดี อย่าเพื่อคัดค้าน คำกล่าวของภิกษุรูปนั้น... พึงถามปัญหาเธอว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โวหารอันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ..... ตรัสไว้ชอบนี้มี ๔ ประการ..... คือ คำกล่าวว่าเห็นอารมณ์ที่ตนเห็นแล้ว..... ได้ยินในอารมณ์ที่ตนฟังแล้ว..... ทราบในอารมณ์ที่ตนทราบแล้ว.... รู้ชัดในอารมณ์ที่ตนรู้ชัดแล้ว.... ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว.... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่ยินดี ไม่ยินร้าย อันกิเลสไม่อาศัย ไม่พัวพันพ้นวิเศษแล้ว พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้เห็น มีใจอันกระทำให้ปราศจากเขตแดนได้แล้วอยู่...... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ยิน..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้าได้ทราบ..... พรากได้แล้วในธรรมที่ข้าพเจ้ารู้ชัด.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในโวหาร ๔ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย คำกล่าวของภิกษุรูปนั้นพวกเธอควรชื่นชมอนุโมทนาสาธุ ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุอุปาทานขันธ์อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น..... ตรัสไว้ชอบ มี ๕ ประการ แล.... คือ รูปูปาทานขันธ์ เวทนูปาทานขันธ์ สัญญูปาทานขันธ์ สังขารูปาทานขันธ์ วิญญาณูปาทานขันธ์...... ก็จิตของท่านผู้มีอายุผู้รู้อยู่เห็นอยู่ เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้ารู้แจ้งรูปแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก มิใช่เป็นที่ตั้งแห่งความชื่นใจ จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้น สำรอก ดับ สละ และสลัดคืน ซึ่งอุปาทานขันธ์ที่ยึดมั่นในรูป และอนุสัยคือความตั้งใจและความปักใจมั่นในรูปได้ ข้าพเจ้ารู้แจ้งเวทนา..... รู้แจ้งสัญญา.... รู้แจ้งสังขาร..... รู้แจ้งวิญญาณแล้วแลว่า ไม่มีกำลัง ปราศจากความน่ารัก..... จึงทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว..... ดูก่อนท่านผู้มีอายุ จิตของข้าพเจ้า ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอุปาทานขันธ์ ๕ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ธาตุอันพระผู้มีพระภาคนั้น.... ตรัสไว้ชอบมี ๖ ประการ.... คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาศธาตุ วิญญาณธาตุ ก็จิตของท่านผู้มีอายุ ผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว...... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า.....ข้าพเจ้าครองปฐวีธาตุโดยความเป็นอนัตตา มิใช่ครองอัตตาอาศัยปฐวีธาตุเลย ข้าพเจ้าครองอาโปธาตุ โดยความเป็นอนัตตา.... ครองเตโชธาตุโดยความเป็นอนัตตา...... ครองวาโยธาตุโดยความเป็นอนัตตา.... มิใช่ครองอัตตาอาศัยวิญญาณธาตุเลย จึงทราบชัดว่าจิตของเราพื้นแล้ว.... จิตของข้าพเจ้าผู้รู้อยู่เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะไม่ยึดมั่นในธาตุ ๖ นี้ “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ครั้นแล้วพึงถามปัญหาให้ยิ่งขึ้นไปว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ก็อายตนะภายในอาตนะภายนอก อันพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้น ตรัสไว้ชอบนี้ มีอย่างละ ๖ แล คือจักษุและรูป โสตและเสียง ฆานะและกลิ่นชิวหาและรส กายและโผฏฐัพพะ มโนและธรรมารมณ์..... ก็จิตของท่านผู้มีอายุรู้อยู่เห็นอยู่อย่างไรเล่า จึงหลุดพ้นจากอาสวะ ? “.....ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้สิ้นอาสวะแล้ว..... พ้นวิเศษแล้วเพราะรู้ชอบจึงนับว่ามีธรรมอันสมควรจะพยากรณ์ได้ดังนี้ว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าทราบชัดว่า จิตของเราหลุดพ้นแล้ว เพราะสิ้นสำรอก ดับสละ และสลัดคืนซึ่งความพอใจ ความกำหนัด ความยินดี ตัณหา อุปาทาน ที่ยึดมั่นและอนุสัยคือความตั้งใจ และความปักใจมั่นในจักษุในรูปในจักษุวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยจักษุวิญญาณ..... ในโสต ในเสียง ในโสตวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยโสตวิญญาณ...... ในฆาน ในกลิ่น ในฆานวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยฆานวิญญาณ.... ในชิวหา ในรส ในชิวหาวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยชิวหาวิญญาณ ในกาย ในโผฏฐัพพะ ในกายวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ ..... ในมโน ในธรรมารมณ์ ในมโนวิญญาณ และในธรรมที่พึงรู้แจ้งด้วยกายวิญญาณ..... จิตของข้าพเจ้ารู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้แล จึงได้หลุดพ้นจากอาสวะ ไม่ยึดมั่นในอายตนะทั้งภายในทั้งภายนอกอย่างละ ๖ เหล่านี้.....”

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น