วันเสาร์ที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2558

การรู้แจ้งด้วยการฟังมีพุทธพจน์ตรัสไว้ดั่งนี้ ผู้ไม่มีอุปาทาน ย่อมบรรลุพระนิพพาน (เวสาลีสูตร ๑๘/๑๒๓) พระพุทธองค์ผู้ทรงเลิศซึ่งพระปัญญา ได้ทรงแบ่งขั้นตอนในการดับอุปาทานทุกข์ ตามฐานะเช่นบรรชิตหรือฆราวาส และกําลังสติ ปัญญาและจริต, โดยการพิจารณาพอสามารถแบ่งออกได้เป็น ขั้นทาน การรู้จักบริจาคแบ่งปัน เป็นการลด การละความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจในทรัพย์ของตัวของตน ด้วยการแบ่งปันเจือจานแก่บุคคลอื่น, และเพื่อให้การอยู่ร่วมกันของฆราวาสในสังคมนั้นๆเป็นไปอย่างสงบสุข ขั้นศีล เป็นการลด การละความยึดมั่นความพึงพอใจในการกระทําต่างๆ ด้วยข้อวัตรหรือศีลด้วยกฎข้อปฏิบัติ หรือกฏข้อบังคับ เพื่อให้ไม่กระทําทุกอย่างตามความพึงพอใจของตัวของตนแต่ฝ่ายเดียวอันยังให้เกิดทุกข์หรือเบียดเบียนแก่บุคคลอื่นๆ, เพื่อให้เกิดการอยู่ร่วมกันในสังคมอย่างสงบสุข ขั้นสติ เป็นขั้นใช้สติ ดังเช่นสติปัฏฐาน๔ ซึ่งใช้สติเป็นประธานในการกําจัดความยึดมั่นในความพึงพอใจในกาย เวทนา จิต และโดยมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่องเตือนสติ ขั้นสมาธิ การมีสติอยู่ในกิจหรืองานหรือธรรมที่ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ทรงแจงถึงโทษด้วยเช่นกันดังในสังโยชน์๑๐-กิเลสที่ผูกมัดใจสัตว์ กล่าวถึงสิ่งที่ต้องละ อันคือรูปฌานและอรูปฌานอันเป็นสุขอย่างละเอียดประณีตที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติซึ่งถ้าติดเพลินแล้วก็เป็นสิ่งที่ต้องละเช่นกัน อันจัดอยู่ในสังโยชน์ขั้นละเอียดหรือขั้นสุดท้าย, ในปฏิจจสมุปบาทกล่าวแสดงในเรื่องภพ อันมี รูปภพ,อรูปภพ เป็นการต้องละในขั้นละเอียดเพราะยังติดอยู่ในภพ, การกําจัดซึ่งความยึดมั่นในความพึอใจหรือสุขอันประณีตอันเกิดจากรูปฌานและอรูปฌาน (ละหมายถึงละการติดยึด มิใช่ทิ้งฌานหรือสมาธิ) ขั้นปัญญา เป็นการกําจัดความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขทั้งหลายทั้งปวงโดยหลัก "พระไตรลักษณ์" คือสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนไม่เที่ยง ล้วนทนอยู่ไม่ได้ ไม่เป็นแก่นเป็นแกนอย่างแท้จริง ล้วนต้องดับไปตามเหตุปัจจัย เพื่อไม่ยึดมั่นถือมั่นพึงพอใจในสิ่งใดๆอันก่อให้เกิดอุปาทานทุกข์ จุดประสงค์ของแต่ละขั้นนั้นล้วนแล้วแต่ดับหรือลดละ"อุปาทาน"ความยึดมั่นถือมั่นในความพึงพอใจหรือสุขของตัวตนเองทั้งสิ้น ตามกําลังสติ, ปัญญา, จริต, ความมุ่งมั่น, และฐานะของแต่ละบุคคล, เหล่านี้ล้วนแต่เป็นธรรมที่มีรากเหง้ามาจากหลัก"ปฏิจจสมุปบาท"ทั้งสิ้นที่ให้รู้และกําจัดอุปาทาน อันก่อให้เกิดอุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์, แก่นธรรมอันสําคัญยิ่งในพุทธศาสนา ดังเช่น อริยสัจ ปฏิจจสมุปบาท อุปาทานขันธ์๕ สติปัฏฐาน พระไตรลักษณ์ ตลอดจนความรู้ในพระนิพพาน อนัตตลักขณสูตร อาทิตตปริยายสูตร ฯลฯ. ล้วนบ่งแจ้งถึงสิ่งที่เราผู้ปฏิบัติต้องกระทําเพื่อให้บรรลุถึงนิโรธหรือจางคลายจากทุกข์ อันคือ"การนําออกและละเสีย ซึ่งอุปาทานความพึงพอใจของตน" อันมีตัณหาเป็นมูลเหตุปัจจัยใหญ่ หมู่พระอรหันต์ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ สุขิโน วต อรหนฺโต, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ, อสฺมิมาโน สมุจฺฉินฺโน, โมหชาลํ ปทาลิตํ. หมู่พระอรหันต์ ท่านอยู่เป็นสุขจริงหนอ, เพราะท่านไม่มีตัณหาความอยาก, ท่านตัด การถือเราถือเขา ได้ขาด, ท่านทำลาย ข่ายโมหะพินาศ เช่นกัน. อเนชนฺเต อนุปฺปตฺตา, จิตฺตํ เตสํ อนาวิลํ, โลเก อนุปลิตฺตา เต, พฺรหฺมภูตา อนาสวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านถึงความไม่หวั่นไหว, ดวงจิตของท่านไซร้ ไม่ขุ่นมัวหมองไหม้, ท่านไม่ถูกตัณหา มานะ ทิฏฐิ ฉาบทาไว้ในโลก, ท่านจึงเป็นพรหม หมดสิ้นอาสวะ แท้จริง. ปญฺจกฺขนฺเธ ปริญฺาย, สตฺตสทฺธมฺมโคจรา, ปสํสิยา สปฺปุริสา, ปุตฺตา พุทฺธสฺส โอรสา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านกำหนดรู้ขันธ์ทั้ง ๕ โดยทั่วถึง, ท่านมีสัทธรรม ๗ เป็นโคจร, ท่านเป็นสัตบุรุษ ที่ควรสรรเสริญ, ท่านเป็นพุทธบุตร พุทธโอรส แท้จริง. สตฺตรตนสมฺปนฺนา, ตีสุ สิกฺขาสุ สิกฺขิตา, อนุวิจรนฺติ มหาวีรา, ปหีนภยเภรวา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยรัตนะทั้ง ๗, ท่านศึกษา ในสิกขาทั้ง ๓ อยู่ด้วยดี, ท่านย่อมท่องเที่ยวไปอย่างมหาวีรบุรุษโดยลำดับ, ท่านละความกลัวและความขลาด ขาดสะบั้นไป. ทสหงฺเคสิ สมฺปนฺนา, มหานาคา สมาหิตา, เอเต โข เสฏฺา โลกสฺมึ, ตณฺหา เตสํ น วิชฺชติ. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านสมบูรณ์ด้วยองค์ธรรม ๑๐ ประการ, ท่านเป็นมหานาค มีจิตตั้งมั่นด้วยดี, หมู่พระอรหันต์นี้แล เป็นพระผู้ประเสริฐสุดในโลก, เพราะท่านไม่มีตัณหา ความอยาก นั่นเอง. อเสกฺขาณํ อุปฺปนฺนํ, อนฺติโมยํ สมุสฺสโย, โย สาโร พฺรหฺมจริยสฺส, ตสฺมึ อปรปจฺจยา. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านมีอเสขญาณบังเกิดขึ้นแล้ว, ร่างกายนี้ มีเป็นครั้งสุดท้าย, "เนื้อแท้" แห่งพรหมจรรย์อันใด มีอยู่, ท่านไม่ต้องมีคนอื่น เป็นปัจจัยจูงใจให้เชื่อในเนื้อแท้อันนั้น. วิธาสุ น วิกมฺปนฺติ, วิปฺปมุตฺตา ปุนพฺภวา, ทนฺตภูมึ อนุปฺปตฺตา, เต โลเก วิชิตาวิโน. หมู่พระอรหันต์นั้น ท่านไม่หวั่นไหวในมานะไร ๆ, จึงหลุดพ้นจากภพใหม่, ได้บรรลุถึงซึ่งอรหัตตภูมิแล้ว โดยลำดับ, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงชื่อว่าชนะเด็ดขาดแล้วในโลก. อุทฺธํ ติริยํ อปาจินํ, นนฺทิ เตสํ น วิชฺชติ นทนฺติ เต สีหนาทํ, พุทฺธา โลเก อนุตฺตรา, อิติ. ทั้งส่วนเบื้องบน ท่ามกลาง และเบื้องล่าง, ความเพลิดเพลิน ย่อมไม่มีแก่หมู่พระอรหันต์เหล่านั้น, หมู่พระอรหันต์นั้น จึงบันลือสีหนาท, "ว่าเป็นพุทธะ" พระผู้ที่ไม่มีใครยิ่งกว่าในโลก สมจริงแท้, ด้วยประการฉะนี้แล. "อรหันตสูตร" สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค พระไตรปิฎกฉบับบาลีสยามรัฐ เล่ม ๑๗ ข้อ ๑๕๓ หน้า ๑๐๑-๑๐๒ พุทธทาสภิกขุ แปล จาก http://www.khonnaruk.com/html/phra.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น