วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

กุญแจแห่งความรู้สึกตัวพิชิตโลกภายในเปิดประตูใจสู่มรรคผลนิพพาน ว่าด้วยวิมุตตายตนะ ๕ คำว่า ปญฺจ วิมุตฺตายตนานิ - วิมุตตายตนะ ๕. ความว่า เหตุแห่งการพ้น ๕ ประการเหล่านี้ คือ การสดับธรรมเทสนาที่ผู้อื่นแสดงเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่ตน ๑, การแสดงธรรมตามที่ตนได้สดับมาแล้วเพื่อประโยชน์เกื้อกูลแก่คนเหล่าอื่น ๑, การสาธยายธรรมที่ตนได้สดับมาแล้ว ๑, การตรึกถึงธรรมตามที่ได้สดับมาแล้วด้วยใจ ๑, อารมณ์อันสมควรแก่สมถกรรมฐาน ๔๐ มีกสิณ ๑๐ อสุภะ ๑๐ เป็นต้น ๑. ดุจดังที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า๑- ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย พระศาสดาหรือเพื่อน สพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การเคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ภิกษุนั้นย่อมเข้า ใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรมนั้นตามที่พระศาสดา หรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควรแก่การ เคารพ แสดงธรรมแก่ภิกษุ, เมื่อภิกษุนั้นเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ก็ย่อมเกิดความปราโมทย์, เมื่อเกิดความ ปราโมทย์แล้ว ปีติก็ย่อมเกิด, เมื่อใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ, ผู้มีกายสงบก็ย่อมเสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น, นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๑. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ย่อมไม่ได้แสดงธรรม แก่ภิกษุเลย แต่ว่า ภิกษุย่อมแสดงธรรมตามที่ได้ สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดย พิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมในธรรม นั้นที่ภิกษุแสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๒. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ แม้ภิกษุก็ไม่ได้แสดงตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ก็แต่ว่า ภิกษุย่อมทำการสาธยายตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ภิกษุสาธยายธรรมตามที่ได้ สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร เมื่อภิกษุ เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๓. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตาม ที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร แม้ภิกษุ ก็ไม่ได้ทำการสาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตาม ที่ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร ก็แต่ว่าภิกษุย่อมตรึก- ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่า เรียนมาด้วยใจ ภิกษุย่อมเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดปราโมทย์ ฯลฯ เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น นี้ เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๔. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง พระ- ศาสดาหรือเพื่อนสพรหมจารี ผู้ตั้งอยู่ในฐานะควร แก่การเคารพรูปใดรูปหนึ่ง ก็ไม่ได้แสดงธรรมแก่ ภิกษุ ภิกษุก็ไม่ได้แสดงธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้เล่าเรียนมาแก่คนเหล่าอื่นโดยพิสดาร ภิกษุก็ไม่ได้สาธยายธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ ได้เล่าเรียนมาโดยพิสดาร แม้ภิกษุก็ไม่ได้ตรึก- ตรองใคร่ครวญธรรมตามที่ได้สดับมา ตามที่ได้ เล่าเรียนมาด้วยใจ ก็แต่ว่าสมาธินิมิตอย่างใดอย่าง หนึ่ง เธอเล่าเรียนมาด้วยดี ทำไว้ในใจด้วยดี ทรง ไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา ภิกษุย่อม เข้าใจอรรถ เข้าใจธรรมนั้น ตามที่ได้เล่าเรียน สมาธินิมิตอย่างใดอย่างหนึ่งมาด้วยดี ทำไว้ในใจ ด้วยดี ทรงไว้ด้วยดี แทงตลอดด้วยดี ด้วยปัญญา เมื่อภิกษุเข้าใจอรรถ เข้าใจธรรม ย่อมเกิดความ ปราโมทย์ เมื่อเกิดปราโมทย์แล้ว ย่อมเกิดปีติ เมื่อมีใจสหรคตด้วยปีติ กายย่อมสงบ ผู้มีกาย สงบแล้ว ย่อมได้เสวยสุข เมื่อมีสุข จิตย่อมตั้งมั่น. นี้เป็นวิมุตตายตนะข้อที่ ๕ ดังนี้แล.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น