วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560
วันอาทิตย์ที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2560
ขอพระสัทธรรมของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จงดำรงอยู่ชั่วกาลนานถ้าจิตเราเป็นกลาง เราไม่ได้มุ่งพุทธภูมิ เราไม่ได้ทำกรรมชั่วหยาบมา จิตเราจะก้าวกระโดดเกิดอริยมรรคขึ้นมา ขั้นแรกมันจะรวมลงก่อน รวมเข้า อัปปนาสมาธิ รวมเองโดยที่ไม่ได้เจตนาจะรวม ไม่ได้คิดได้ฝันที่จะรวม รวมโดยอัตโนมัติ เมื่อรวมลงมาแล้วจะเห็นสภาวธรรมเกิดดับ เกิดดับ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง ถัดจากนั้นจิตจะวางการรับรู้อารมณ์ ทวนกระแสเข้ามาหาธาตุรู้ เมื่อทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วสิ่งที่ห่อหุ้มปิดบังจิตอยู่คือ อาสวกิเลส ทั้งหลาย สังโยชน์ทั้งหลายถูกขาดสะบั้นออกไปด้วย กำลังของอริยมรรค นิพพานก็จะปรากฏเด่นดวงขึ้นมาให้เรารู้สึกได้ สองขณะบ้าง สามขณะบ้าง คนไหนซึ่งอินทรีย์ไม่แก่กล้ามาก ตอนที่จิตรวมไปทีแรก เห็นสภาวธรรมก็จะเห็นสามครั้ง แล้วพอเห็นนิพพานพอได้ผลจะเห็นสองขณะ แต่คนที่อินทรีย์แก่กล้าเห็นสภาวะทีแรกจะเห็นสองขณะ และจะมาเห็นนิพพานสามขณะ เห็นยาวต่างกัน อินทรีย์ไม่เท่ากัน ผลที่เกิดขึ้นก็ไม่เท่ากัน ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกจาก อัปปนาสมาธิ นะ ถอยเอง ถัดจากนั้นไม่ทรงอยู่แล้วจะถอยออกมา พอถอยออกมาแล้วจะทวนกระแสกลับเข้าไปพิจารณาว่าเมื่อกี้เกิดอะไรขึ้น ก็แจ่มแจ้งแล้วว่า เมื่อกี้นี้ตัวตนอะไรไม่มีอีกแล้ว ไม่มีอะไรที่เป็นตัวเป็นตนอีกเลย แต่ว่ากิเลสยังเหลืออยู่อีกเพียบเลย พระโสดาบันกับปุถุชนแทบจะไม่มีอะไรต่างกันนะ พระโสดาบันละมิจฉาทิฏฐิได้เท่านั้น ละความเห็นผิดได้ ส่วนโลภ โกรธ หลงอื่นๆ เหมือนปุถุชนนั่นเอง เรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะเรามาเรียนรู้ให้เห็นความจริงของโลกนะ เรียนรู้ให้เห็นความจริงของชีวิตเรา เราจะเห็นเลยว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ปรากฏขึ้นในกายในใจของเราเนี่ย นอกจากทุกข์นะ ไม่มีอะไรเกิดขึ้น นอกจากทุกข์ ไม่มีอะไรตั้งอยู่ นอกจากทุกข์ไม่มีอะไรดับไป ถ้าเราเห็นได้อย่างนี้ จิตจะถึงหมดความยึดถือในกายในใจ กายกับใจเป็นตัวทุกข์นะ ถ้าเมื่อไหร่เราสลัดคืนกายคืนใจให้โลกได้ ก็คือทิ้งตัวทุกข์ไปนะ พ้นจากกายจากใจ จากรูปจากนามนี้ไป จะสัมผัสพระนิพพาน มีความสุขที่มหาศาลขึ้นมา ส่วนอยู่กับโลก วิ่งหาความสุขเท่าไหร่ ก็หาไม่เจอ หาตั้งแต่เกิดจนตายก็หาไม่เจอนะ ดิ้นไปเรื่อย เต็มไปด้วยความอยาก เต็มไปด้วยความหิวโหย เร่าร้อน อยู่ตลอดเวลา ไม่มีความสุขหรอก งั้นพวกเราต้องมาค่อย ๆ ฝึกจิตฝึกใจของเรานะ มาเรียนรู้ความจริงของกาย มาเรียนรู้ความจริงของจิตใจตัวเองให้มาก ถ้าหากเราอยากได้มรรคผลนิพพาน เราทิ้งการที่จะมามีสติ รู้กายรู้ใจของตัวเองไม่ได้นะ เราดูกายดูใจเขาทำงานของเขาไป เราดูกายดูใจเขาปรุงแต่งของเขาไป แล้วเราไม่ต้องทำอะไร รู้ลูกเดียว* รู้แล้ววันหนึ่งแล้วจะเข้าใจเลย กายกับใจเป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง เรียก สังขตธรรม เป็นธรรมชาติที่ปรุงแต่ง ไม่ใช่ไปฝึกให้มันไม่ปรุงแต่ง แต่เมื่อมันปรุงแต่งแล้วเราไม่หลงยินดียินร้าย เราไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง ตัวนี้ต่างหากล่ะ สบายเลยคราวนี้ จิตใจนะไม่ต้องทำงาน จิตใจว่างงาน ที่ว่าสิ้นชาติสิ้นภพจบพรหมจรรย์ สิ้นชาติคือจิตไม่ไปหยิบฉวยรูปธรรมนามธรรมใดๆขึ้นมายึดถือไว้ให้เป็นภาระหนักหน่วงถ่วงจิตใจอีกต่อไป สิ้นภพคือสิ้นการทำงานทางใจ สิ้นชาติ สิ้นภพ จบพรหมจรรย์ คือไม่ต้องมีการศึกษาเรียนรู้การปฏิบัติธรรมใดๆอีกแล้วนะ งานทำเสร็จแล้ว เพราะใจปล่อยวางไปหมดแล้ว ใจพ้นจากการปรุงแต่ง พ้นจากการทำงานแล้ว เนี่ย พ้นไปได้อย่างนี้นะ เข้าถึงสันติสุขที่แท้จริง มีแต่ความสุขล้วนๆ ทีนี้จะพ้นได้ก็เพราะมีสติขึ้นมา รู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจไป โดยที่ไม่ไปช่วยมันปรุงแต่ง พอเรารู้ทันการปรุงแต่งของกายของใจนะ ใจมันก็จะปรุงสุข ปรุงทุกข์ ปรุงดี ปรุงชั่วอะไรขึ้นมา ก็แล้วแต่มัน ไม่ห้ามมันหรอก ไม่ใช่ว่าจะต้องดีด้วยซ้ำไป ไม่ใช่ฝึกเอาดีนะ ไม่ใช่ฝึกเอาดี ไม่ใช่ฝึกเอาสุข ไม่ได้ฝึกเอาสงบ แต่ฝึกเพื่อเห็นเลยว่า จิตใจมันก็ทำงานของมันไป ในใจเรารู้ทันแล้วก็เป็นกลาง ไม่ไปแตะต้องแล้วก็ไม่ไปทำอะไรมัน
ธรรมสมบัติเข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ เศรษฐีมุ่งหน้าเข้าสู่ป่าสีตวัน อันเป็นที่ประทับแห่งพระศาสดา เวลานั้นพระพุทธองค์ตื่นบรรทมแล้ว ทรงแผ่ข่ายพระญาณพิจารณาดูสัตวโลกที่พระองค์ควรจะโปรด เห็นอุปนิสัยของอนาถบิณฑิกเศรษฐีว่า.เป็นผู้ที่ควรแก่การบรรลุธรรม จึงทรงจงกรมคือเดินกลับไปกลับมาอยู่ ณ บริเวณ ที่ประทับ เมื่อเศรษฐีเข้ามาใกล้ พระพุทธองค์จึงตรัสว่า “ เข้ามาเถิด สุทัตตะ ตถาคตอยู่ที่นี่ ” ดูก่อน..ภราดา ! พระดำรัสตรัสเรียกเศรษฐีโดยชื่อว่า สุทัตตะ โดยถูกต้องนั้น นำความปราโมชมาให้เศรษฐีอย่างล้นเหลือ เขาไม่เคยรู้จักพระศาสดา และพระศาสดาก็ไม่เคยรู้จักเขา แต่พระองค์สามารถเรียกชื่อเขาได้อย่างถูกต้อง เขาซบหน้าลงแทบบาทมูลแห่งพระตถาคตเจ้า แล้วกราบทูลว่า“ ข้าแต่พระศากยมุนี ! เป็นโชคดีของข้าพระพุทธเจ้ายิ่งแล้วที่ได้มาเฝ้าพระองค์สมปรารถนา พระองค์ผู้เจริญ ! เมื่อคืนนี้ ราตรีช่างยาวเสียเหลือเกิน ปรากฏแก่ข้าพระพุทธเจ้าเหมือนหนึ่งเดือน เป็นเวลานานเหลือเกิน ที่สัตว์โลกจะได้สดับคำว่า พุทโธ พุทโธ “ “ดูก่อนสุทัตตะ ผู้ตื่นอยู่มิได้หลับย่อมรู้สึกว่าราตรีหนึ่งยาวนาน ผู้ที่เดินทางจนเมื่อยล้าแล้ว รู้สึกว่าโยชน์หนึ่งเป็นหนทางที่ยืดยาว แต่สังสารวัฏคือการเวียนเกิดเวียนตายของสัตว์ผู้ไม่รู้ พระสัทธรรมยังยาวกว่านั้น ดูก่อน สุทัตตะ สังสารวัฏนี้หาเบื้องต้นเบื้องปลายได้โดยยาก สัตว์ผู้พอใจในการเกิดย่อมเกิดบ่อย ๆ การเกิดบ่อย ๆ นั้นตถาคตกล่าวว่าเป็นความทุกข์ เพราะสิ่งที่ติดตามความเกิดมาด้วย ก็คือความชรา ความเจ็บปวดทรมานและความตาย ความต้องพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก ความต้องประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รัก ความแห้งใจ ความคร่ำครวญ ความทุกข์กายทุกข์ใจ และความคับแค้นใจ อุปมาเหมือนเห็ดซึ่งโผล่จากดินและนำดินติดขึ้นมาด้วย หรืออุปมาเหมือนโคซึ่งเทียมเกวียน จะเดินไปไหนก็มีเกวียนติดตามไปทุกหนทุกแห่ง สัตว์โลกเกิดมาก็นำทุกข์ประจำสังขารติดมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออก ความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว” ดูก่อนสุทัตตะ ! เมื่อรากยังมั่นคงแม้ต้นไม้จะถูกตัดแล้ว มันยังสามารถขึ้นได้อีก ฉันเดียวกัน เมื่อบุคคลยังไม่ถอนตัณหานุสัยขึ้นจากดวงจิต ความทุกข์ย่อมก็เกิดย่อมขึ้นได้บ่อยๆ “ สุทัตตะเอย ! น้ำตาของสัตว์ผู้ร้องไห้เพราะความทุกข์โทมนัสทับถม ในขณะที่ท่องเที่ยวอยู่ในวัฏสงสารนี้มีจำนวนมากเหลือคณนา สุดที่จะกล่าวได้ว่ามีประมาณเท่านี้เท่านั้น กระดูกที่เขาทอดทิ้งลงทับถมปฐพีดลเล่า ถ้านำมากองรวมกันมิให้กระจัดกระจาย คงจะสูงเท่าภูเขา บนพื้นแผ่นดินนี้ไม่มีช่องว่างเลยแม้แต่นิดเดียวที่สัตว์ไม่เคยตาย ปฐพีนี้เกลื่อนกล่นไปด้วยกระดูกแห่งสัตว์ผู้ตายแล้วตายเล่า เป็นที่น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนัก ทุกย่างก้าวของมนุษย์และสัตว์เหยียบย่ำไปบนกองกระดูก เขานอนบนกองกระดูก นั่งบนกองกระดูก สนุกสนานเพลิดเพลินอยู่บนกองกระดูกทั้งสิ้น ”ดูก่อนสุทัตตะ ! ไม่ว่าภพไหนๆ ล้วนแต่มีลักษณะเหมือนกองเพลิงทั้งนั้น พระศาสดาทรงเทศนาอริยสัจแต่โดยย่อแก่ท่านสุทัตตะ จนเศรษฐีได้ดวงตาเห็นธรรมเป็นเป็นผู้มีศรัทธาไม่หวั่นไหวในพระรัตนตรัย แล้วทรงย้ำในตอนสุดท้ายว่า “ ดูก่อนสุทัตตะ ! การได้อัตภาพมาเป็นมนุษย์เป็นของยาก การดำรงชีพอยู่แห่งสัตว์ทั้งหลายเป็นของยาก การได้ฟังธรรมของสัตบุรุษเป็นของยาก และการอุบัติขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็เป็นของยาก ดูก่อนสุทัตตะ ! เพราะเหตุนั้นการแสดงธรรมของสัตบุรุษก็ตาม การเกิดขึ้นแห่งพระพุทธเจ้าก็ตาม ล้วนเป็นเหตุนำความสุขความสงบสู่โลก"ดูก่อนผู้สืบอริยวงค์" 'พระธรรมเทศนาของพระศาสดานั้น ไพเราะจับใจและแจ่มแจ้งยิ่งนัก เพราะเหตุนี้เมื่อพระองค์แสดงธรรมจบลง จึงมักมีผู้ชมเชยเสมอว่า "แจ่มแจ้งจริงพระเจ้าข้าฯ เหมือนหงายของที่คว่ำ เปิดของที่ปิด บอกทางแก่คนหลงทาง ส่องประทีปในที่มืด เพื่อให้ผู้มีตาดีได้มองเห็นรูป' ดังนี้ อนาถปิณฑิกเศรษฐี หรืออีกนัยหนึ่งคือสุทัตตคฤหบดี ซึ่งบัดนี้ได้เป็นโสดาบันแล้ว ด้วยการฟังพระธรรมเทศนาครั้งเดียว ได้ทูลอาราธนาพระตถาคตเจ้าเพื่อเสด็จสู่กรุงสาวัตถี ราชธานีแห่งโกศลรัฐ เมื่อพระพุทธองค์ทรงรับแล้ว เศรษฐีจึงมุ่งหน้ากลับสู่นครตน ล่วงหน้าไปก่อน ตามรายทางเศรษฐีให้คนสร้างที่พักไว้เป็นแห่งๆ และป่าวประกาศให้ประชาชนสร้างที่พัก เพื่อพระสงฆ์สาวก ตามเส้นทางที่พระศาสดาจะเสด็จ
ธรรมสมบัติการที่เรารู้ความจริง เรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม ก็คือการรู้ทุกข์นั่นเอง ว่าสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ท่านบอกว่า “สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา” ว่าโดยสรุป ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การที่เราเจริญสติปัฏฐานนั้น เราก็รู้ความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ เรียกเรา “รู้ทุกข์” นั่นเอง ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติใน “กิจต่อทุกข์” เรียบร้อยแล้ว การที่เรา “รู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง” ว่าขันธ์ ๕ เนี่ยเป็นตัวทุกข์ เมื่อรู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว กิจที่ ๒ คือการ “ละสมุทัย” จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทันทีที่ รู้ทุกข์ ขณะนั้นแหละ ละสมุทัย เราละ สมุทัย ละความอยากเนี่ย ด้วยการ รู้ทุกข์ สมุทัยคือตัวตัณหา ตัวความอยาก เป็นเหตุให้เราเข้าไปหยิบฉวยเอารูปธรรมนามธรรม หรือขันธ์ ๕ นี้ซึ่งเป็นตัวทุกข์ เอามากอดเอาไว้ มากกไว้ เอามาครอบครองไว้ กลายเป็นไปหยิบฉวยเอาตัวทุกข์ขึ้นมา ความอยากนี้แหละทำให้เราไปหยิบฉวย เอารูปธรรมนามธรรมขึ้นมาไว้กับตัวเอง ก็เลยนำความทุกข์เข้ามาสู่จิตใจ ถ้ามีสติมีปัญญามากพอ รู้ความจริงว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จะไม่เกิดความอยากที่จะไปหยิบฉวยมันเข้ามา ไม่มีการเข้าไปครอบครองรูปนามขันธ์ ๕ ก็เท่ากับไม่หยิบฉวยเอาตัวทุกข์เข้ามาไว้กับตัวเอง งั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น ละสมุทัยเมื่อไหร่ก็แจ้งนิโรธ คือแจ้งพระนิพพานเมื่อนั้น เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นตัวสมุทัยแล้ว จิตใจก็เข้าถึงความสงบระงับ พระนิพพานนั้นคือสันติ คือความสงบ สงบจากอะไร? สงบจากกิเลส สงบจากกิเลสทั้งหลาย สงบจากตัณหา สงบจากความยึดถือ สงบจากสังขารคือความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมนี่เป็นตัวสังขารทั้งหมด สงบจากการดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่ปรุงแต่งก็พ้นจากภพ ภพก็คือความปรุงแต่งของจิต งั้นนิพพานนะ เมื่อไหร่สิ้นตัณหา รู้ความจริงของขันธ์ ก็จะสิ้นตัณหา เมื่อสิ้นตัณหา ก็ไม่สร้างภพ ไม่ดิ้นรนปรุงแต่งขึ้นมา ก็พ้นจากภพกันตรงนั้นเอง พ้นจากความทุกข์กันตรงนั้นเอง งั้นถ้าคนถามเราว่านิพพานมีลักษณะยังไง ก็ตอบเค้าไปตรงๆ นิพพานมีสันติลักษณะ มีลักษณะสงบ สงบจากอะไร? สงบจากกิเลสตัณหา สงบจากความดิ้นรนปรุงแต่ง สงบจากอะไรอีก? สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ พ้นจากรูปนามขันธ์ ๕ นิพพานมีอยู่แล้ว แต่ว่าเราไม่รู้ เราไม่เห็น เพราะจิตเรามีความอยาก จิตเรามีกิเลส จิตเรามีความดิ้นรนปรุงแต่ง เราเลยไม่สามารถจะเห็นสภาวะที่พ้นความปรุงแต่งได้ ขณะใดที่จิตเราหมดตัณหาหมดกิเลสนะ เมื่อสิ้นตัณหาก็สิ้นความปรุงแต่งของจิตด้วย พระนิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความปรุงแต่ง ก็จะปรากฏขึ้นให้รับรู้ในขณะนั้นเลย งั้นเมื่อไรรู้ทุกข์ เมื่อนั้นแหละละสมุทัย เมื่อใดละสมุทัย เมื่อนั้นแหละแจ้งนิโรธ เห็นพระนิพพาน การที่เรารู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ ในขณะนั้นน่ะคือขณะแห่งอริยมรรค งั้นการที่เรารู้ทุกข์ ละสมุมัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรคเนี่ย กิจกรรมทั้ง ๔ เนี่ยทำเสร็จในขณะจิตเดียวกัน ในแวบเดียว ในพริบตาเดียวนั้นเอง ก็ข้ามพ้นจากความทุกข์ไปได้ ธรรมะอย่างนี้นะธรรมะประณีต ลึกซึ้งมาก ต้องภาวนา ถ้าภาวนาเราอยากแค่มีทุกข์น้อยๆ ก็เอาแค่โสดาบัน สกทาคามี เรายังติดใจในกาม ยังห่วงเมีย ห่วงสามี ยังอะไรต่ออะไรอยู่นะ ห่วงทรัพย์สมบัติอยู่ เอาโสดาบัน สกทาคามี ก็พอ ถ้าถึงขึ้นอนาคามีเนี่ยมันพ้นจากกามไป จากปุถุชนเนี่ย ขึ้นไปเป็นพระโสดาบันยากมากนะ คนจำนวนมากอยากได้ แต่มันไปไม่ถูก ที่รู้ทางที่ถูกแล้วก็ขี้เกียจปฏิบัติ ถ้ารู้ทางถูกแล้วขยันปฏิบัตินะ มันก็เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีอะไร ไม่ยาก ทีนี้คนส่วนใหญ่มันติดในความสุข ความหลงโลกอะไรอย่างนั้นไป ไม่ยอมภาวนา ถ้าเราภาวนาเนี่ย พระโสดาบัน พระสกทาคามี ไม่ใช่เรื่องยากเกินวิสัยมนุษย์ธรรมดาอย่างพวกเรา จะทำได้ ไม่ต้องละอะไรมากนะ รักษาศีล ๕ ไว้ มีสติ รู้เนื้อรู้ตัว ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวไว้ อย่าให้มันฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป รู้สึกตัวบ่อยๆ นั่นแหละเรียกว่ามีสมาธิ มีสติ มีสมาธิ รักษาศีลไว้ คอยดูกายทำงาน ดูใจทำงาน เห็นกายกับใจแยกออกจากกัน เห็นความสุขทุกข์ แยกออกจากร่างกาย แยกออกจากจิตใจ เห็นความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภความโกรธความหลงทั้งหลายเนี่ย แยกออกจากจิตใจ แยกออกเป็นส่วน ๆ ๆ ไป แต่ละอันเนี่ยทำหน้าที่ของมันไป แต่ละอันก็เกิดดับไป เนี่ยฝึกดูอย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะ ก็จะได้ธรรมะขึ้นมา ถ้าบารมีมากก็เป็นพระอรหันต์ บารมีลดลงมาก็ได้อนาคามี สกทาคามี เป็นพระโสดาบัน เป็นลำดับไป ก็พากเพียรเข้า รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป รู้ตัวบ่อยๆ ถัดจากนั้นดูกายทำงาน ดูใจทำงาน ทำอย่างนี้แหละ ให้เวลากับการรู้กายรู้ใจให้เยอะๆหน่อย มรรคผลอะไรไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่ฆราวาสจะทำได้ สมัยพุทธกาล ฆราวาสไม่ได้จีเนียสกว่าพวกเรานะ คนสมองมันก็พอๆกันแหละ มีงานศึกษาอันหนึ่งเคยอ่าน พวกหมอนั่นแหละศึกษาบอก คนสมัยโรมันสมัยกรีกนะ กับคนยุคนี้สมองพอๆกัน ไม่รู้ไปขุดสมองโรมันมาดูได้ไงนะ คนสมัยพุทธกาล กับยุคเรา ก็พอๆกันแหละ ไม่ได้โง่ ไม่ได้ฉลาดกว่ากันน่ะ เค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ มีมือมีตีนเหมือนกันนะ มีใจเหมือนกัน ต้องทำเอาให้ได้ รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว แล้วก็ดูกายทำงาน ดูใจทำงานไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็เข้าใจ เราดูกายดูใจทำงานมากๆ ในที่สุดก็เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าเข้าใจในระดับที่เห็นกายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเข้าใจความจริงระดับที่ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ จะเป็นพระอรหันต์นะ
สุคตินะการที่เรารู้ความจริง เรียนรู้ความจริงของรูปธรรมนามธรรม ก็คือการรู้ทุกข์นั่นเอง ว่าสิ่งที่เรียกว่าทุกข์ในคำสอนของพระพุทธเจ้านั้น ท่านบอกว่า “สังขิตเตนะ ปัญจุปาทานักขันธา ทุกขา” ว่าโดยสรุป ขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์ การที่เราเจริญสติปัฏฐานนั้น เราก็รู้ความจริงของขันธ์ทั้ง ๕ เรียกเรา “รู้ทุกข์” นั่นเอง ก็เท่ากับเราได้ปฏิบัติใน “กิจต่อทุกข์” เรียบร้อยแล้ว การที่เรา “รู้ทุกข์อย่างแจ่มแจ้ง” ว่าขันธ์ ๕ เนี่ยเป็นตัวทุกข์ เมื่อรู้ว่าขันธ์ ๕ เป็นตัวทุกข์อย่างแจ่มแจ้งแล้ว กิจที่ ๒ คือการ “ละสมุทัย” จะเกิดขึ้นโดยอัตโนมัติ ทันทีที่ รู้ทุกข์ ขณะนั้นแหละ ละสมุทัย เราละ สมุทัย ละความอยากเนี่ย ด้วยการ รู้ทุกข์ สมุทัยคือตัวตัณหา ตัวความอยาก เป็นเหตุให้เราเข้าไปหยิบฉวยเอารูปธรรมนามธรรม หรือขันธ์ ๕ นี้ซึ่งเป็นตัวทุกข์ เอามากอดเอาไว้ มากกไว้ เอามาครอบครองไว้ กลายเป็นไปหยิบฉวยเอาตัวทุกข์ขึ้นมา ความอยากนี้แหละทำให้เราไปหยิบฉวย เอารูปธรรมนามธรรมขึ้นมาไว้กับตัวเอง ก็เลยนำความทุกข์เข้ามาสู่จิตใจ ถ้ามีสติมีปัญญามากพอ รู้ความจริงว่าขันธ์ ๕ เป็นทุกข์ จะไม่เกิดความอยากที่จะไปหยิบฉวยมันเข้ามา ไม่มีการเข้าไปครอบครองรูปนามขันธ์ ๕ ก็เท่ากับไม่หยิบฉวยเอาตัวทุกข์เข้ามาไว้กับตัวเอง งั้นรู้ทุกข์เมื่อไหร่ ก็ละสมุทัยเมื่อนั้น ละสมุทัยเมื่อไหร่ก็แจ้งนิโรธ คือแจ้งพระนิพพานเมื่อนั้น เพราะพระนิพพานนั้นเป็นสภาวะที่สิ้นตัณหา สิ้นตัวสมุทัยแล้ว จิตใจก็เข้าถึงความสงบระงับ พระนิพพานนั้นคือสันติ คือความสงบ สงบจากอะไร? สงบจากกิเลส สงบจากกิเลสทั้งหลาย สงบจากตัณหา สงบจากความยึดถือ สงบจากสังขารคือความปรุงแต่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นรูปธรรมนามธรรมนี่เป็นตัวสังขารทั้งหมด สงบจากการดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่ปรุงแต่งก็พ้นจากภพ ภพก็คือความปรุงแต่งของจิต งั้นนิพพานนะ เมื่อไหร่สิ้นตัณหา รู้ความจริงของขันธ์ ก็จะสิ้นตัณหา เมื่อสิ้นตัณหา ก็ไม่สร้างภพ ไม่ดิ้นรนปรุงแต่งขึ้นมา ก็พ้นจากภพกันตรงนั้นเอง พ้นจากความทุกข์กันตรงนั้นเอง งั้นถ้าคนถามเราว่านิพพานมีลักษณะยังไง ก็ตอบเค้าไปตรงๆ นิพพานมีสันติลักษณะ มีลักษณะสงบ สงบจากอะไร? สงบจากกิเลสตัณหา สงบจากความดิ้นรนปรุงแต่ง สงบจากอะไรอีก? สงบจากรูปนามขันธ์ ๕ พ้นจากรูปนามขันธ์ ๕ นิพพานมีอยู่แล้ว แต่ว่าเราไม่รู้ เราไม่เห็น เพราะจิตเรามีความอยาก จิตเรามีกิเลส จิตเรามีความดิ้นรนปรุงแต่ง เราเลยไม่สามารถจะเห็นสภาวะที่พ้นความปรุงแต่งได้ ขณะใดที่จิตเราหมดตัณหาหมดกิเลสนะ เมื่อสิ้นตัณหาก็สิ้นความปรุงแต่งของจิตด้วย พระนิพพานคือสภาวะที่สิ้นตัณหาสิ้นความปรุงแต่ง ก็จะปรากฏขึ้นให้รับรู้ในขณะนั้นเลย งั้นเมื่อไรรู้ทุกข์ เมื่อนั้นแหละละสมุทัย เมื่อใดละสมุทัย เมื่อนั้นแหละแจ้งนิโรธ เห็นพระนิพพาน การที่เรารู้ทุกข์ ละสมุทัย แจ้งนิโรธ ในขณะนั้นน่ะคือขณะแห่งอริยมรรค งั้นการที่เรารู้ทุกข์ ละสมุมัย แจ้งนิโรธ เจริญมรรคเนี่ย กิจกรรมทั้ง ๔ เนี่ยทำเสร็จในขณะจิตเดียวกัน ในแวบเดียว ในพริบตาเดียวนั้นเอง ก็ข้ามพ้นจากความทุกข์ไปได้ ธรรมะอย่างนี้นะธรรมะประณีต ลึกซึ้งมาก ต้องภาวนา ถ้าภาวนาเราอยากแค่มีทุกข์น้อยๆ ก็เอาแค่โสดาบัน สกทาคามี เรายังติดใจในกาม ยังห่วงเมีย ห่วงสามี ยังอะไรต่ออะไรอยู่นะ ห่วงทรัพย์สมบัติอยู่ เอาโสดาบัน สกทาคามี ก็พอ ถ้าถึงขึ้นอนาคามีเนี่ยมันพ้นจากกามไป จากปุถุชนเนี่ย ขึ้นไปเป็นพระโสดาบันยากมากนะ คนจำนวนมากอยากได้ แต่มันไปไม่ถูก ที่รู้ทางที่ถูกแล้วก็ขี้เกียจปฏิบัติ ถ้ารู้ทางถูกแล้วขยันปฏิบัตินะ มันก็เป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามีอะไร ไม่ยาก ทีนี้คนส่วนใหญ่มันติดในความสุข ความหลงโลกอะไรอย่างนั้นไป ไม่ยอมภาวนา ถ้าเราภาวนาเนี่ย พระโสดาบัน พระสกทาคามี ไม่ใช่เรื่องยากเกินวิสัยมนุษย์ธรรมดาอย่างพวกเรา จะทำได้ ไม่ต้องละอะไรมากนะ รักษาศีล ๕ ไว้ มีสติ รู้เนื้อรู้ตัว ให้จิตใจอยู่กับเนื้อกับตัวไว้ อย่าให้มันฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป รู้สึกตัวบ่อยๆ นั่นแหละเรียกว่ามีสมาธิ มีสติ มีสมาธิ รักษาศีลไว้ คอยดูกายทำงาน ดูใจทำงาน เห็นกายกับใจแยกออกจากกัน เห็นความสุขทุกข์ แยกออกจากร่างกาย แยกออกจากจิตใจ เห็นความปรุงดีปรุงชั่ว เช่นความโลภความโกรธความหลงทั้งหลายเนี่ย แยกออกจากจิตใจ แยกออกเป็นส่วน ๆ ๆ ไป แต่ละอันเนี่ยทำหน้าที่ของมันไป แต่ละอันก็เกิดดับไป เนี่ยฝึกดูอย่างนี้ ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปีนะ ก็จะได้ธรรมะขึ้นมา ถ้าบารมีมากก็เป็นพระอรหันต์ บารมีลดลงมาก็ได้อนาคามี สกทาคามี เป็นพระโสดาบัน เป็นลำดับไป ก็พากเพียรเข้า รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว อย่าฟุ้งซ่านเลื่อนลอยไป รู้ตัวบ่อยๆ ถัดจากนั้นดูกายทำงาน ดูใจทำงาน ทำอย่างนี้แหละ ให้เวลากับการรู้กายรู้ใจให้เยอะๆหน่อย มรรคผลอะไรไม่ใช่เรื่องเหลือวิสัยที่ฆราวาสจะทำได้ สมัยพุทธกาล ฆราวาสไม่ได้จีเนียสกว่าพวกเรานะ คนสมองมันก็พอๆกันแหละ มีงานศึกษาอันหนึ่งเคยอ่าน พวกหมอนั่นแหละศึกษาบอก คนสมัยโรมันสมัยกรีกนะ กับคนยุคนี้สมองพอๆกัน ไม่รู้ไปขุดสมองโรมันมาดูได้ไงนะ คนสมัยพุทธกาล กับยุคเรา ก็พอๆกันแหละ ไม่ได้โง่ ไม่ได้ฉลาดกว่ากันน่ะ เค้าทำได้ เราก็ต้องทำได้ มีมือมีตีนเหมือนกันนะ มีใจเหมือนกัน ต้องทำเอาให้ได้ รักษาศีล ๕ ไว้ ฝึกจิตใจให้อยู่กับเนื้อกับตัว แล้วก็ดูกายทำงาน ดูใจทำงานไปเรื่อยๆ วันหนึ่งก็เข้าใจ เราดูกายดูใจทำงานมากๆ ในที่สุดก็เข้าใจความเป็นจริงของกายของใจ ว่ากายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา กายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ ถ้าเข้าใจในระดับที่เห็นกายนี้ใจนี้ไม่ใช่ตัวเรา ก็เป็นพระโสดาบัน ถ้าเข้าใจความจริงระดับที่ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ จะเป็นพระอรหันต์นะ
ถ้าเข้าใจความจริงระดับที่ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ จะเป็นพระอรหันต์นะ
ถ้าเข้าใจความจริงระดับที่ว่ากายนี้ใจนี้เป็นตัวทุกข์ จะเป็นพระอรหันต์นะคติของพระอริยบุคคล วันนี้ จะได้น้อมนำเอาธรรมะเรื่อง คติของพระอริยบุคคล มาบรรยายถวายความรู้ แด่ครูบาอาจารย์ หลวงปู่ หลวงตา ลูกพระ ลูกเณร ลูกชีทั้งหลาย ตามสมควรแก่เวลา คติของพระอริยบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ย่อมต่างกันตามประเภทดังต่อไปนี้ ๑. พระโสดาบัน คำว่า พระโสดาบัน หมายความว่า ผู้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เพราะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผ่านญาณ ๑๖ ไปได้ครั้งที่ ๑ ละกิเลสได้ ๓ ตัว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส นี้เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ทีนี้คติของพระโสดาบัน คือถ้าได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน หากว่าอินทรีย์แก่กล้า ในเวลาประพฤติปฏิบัติ คือมีอินทรีย์ ๕ สมบูรณ์แก่กล้า ก็จะเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จะได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าอินทรีย์หย่อน เวลาประพฤติปฏิบัติ อินทรีย์มันหย่อนไป ถ้าอินทรีย์หย่อนก็จะเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ แล้วก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ปรินิพพาน แต่ถ้าต่ำลงมาก็จะเกิดอีก ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน เมื่อได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ถือว่าสามารถทำลายกิเลสที่เป็นอปายคามินีที่จะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานได้เด็ดขาด เป็นผู้มีคติเที่ยงในการที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารอีกนานเกินไป ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว หากว่าตอนที่จะมรณภาพ ได้สำเร็จรูปฌาน คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกตามกำลังของฌาน แต่ถ้าว่าได้สำเร็จอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ตามกำลังของอรูปฌาน ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๑ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌานจะไปเกิดที่ไหน ฌานก็ไม่ได้เหมือนรูปอื่นเหมือนคนอื่น เป็นประเภทสุกขวิปัสสกะ ได้บรรลุด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณล้วนๆ ไม่ได้ฌาน ถ้าว่าเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก คือในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ พระโสดาบัน เมื่อมรณภาพแล้วจะไม่ไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าผู้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ถือว่ามีพระนิพพานเป็นเครื่องรองรับ จุติแล้วก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ อันนี้เป็นคติของพระโสดาบันโดยย่อ ๒. พระสกทาคามี หมายถึง ผู้กลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว สำหรับพระสกทาคามีที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก ในสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ แต่ถ้าเป็นพระสกทาคามีที่ได้รูปฌาน ๔ ฌานใดฌานหนึ่ง ก็จะไปบังเกิดในรูปพรหมตามกำลังของฌานใดฌานหนึ่ง ถ้าพระสกทาคามีที่ได้อรูปฌาน จุติแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของฌาน พระสกทาคามีนี้ทำลายกิเลสตัณหา(เพิ่มขึ้นจากที่โสดาปัตติมรรคทำลายแล้ว)ไม่ได้ เป็นแต่เพียงทำกิเลสที่เหลืออยู่นั้นให้เบาบางลง คือไม่มีกำลังพอที่จะทำลายกิเลสตัณหาที่เหลืออยู่ให้หมดไป แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ เหมือนกันกับคติของพระโสดาบัน พระสกทาคามี เมื่อจุติแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก บางทีก็ไปเกิดในพรหมโลก เมื่อไปเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นแล้วก็ปรินิพพาน
เรารักตัวเองมากที่สุด สิ่งที่เรารักที่สุดคือ ร่างกาย และจิตใจของเรานี่แห...กราบขอบพระคุณ และอนโมทนา หลวงพ่อและท่านอาจารย์มากครับ ที่กรุณาให้โอกาส บุคคลรู้แจ้งในธรรมที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงแล้ว จากผู้ใด พึงนอบน้อมผู้นั้นโดยเคารพ เหมือนพราหมณ์นับถือการบูชาไฟ ฉะนั้น เรารักตัวเองที่สุดนะแต่เราสนใจตัวเองน้อยที่สุด เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลยพอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ”เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมา ก็สักว่ารู้สักว่าเห็น เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไปตรงหยุดปั๊บลงไปนี่ จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลาย สิ่งที่เรารักที่สุดคือ ร่างกาย และจิตใจของเรานี่แหละแต่เราไม่สนใจ เราไปสนใจสิ่งอื่น กายกับใจเป็นตัวทุกข์อยู่แล้วนะ พอเกิดตัณหา เกิดอุปาทานคือความยึดถือ ก็เกิดภพคือการดิ้นรนทำงานของจิต ความทุกข์ก็จะเกิดซ้ำซ้อนขึ้นที่จิตอีกชั้นหนึ่ง เมื่อไม่รู้ทุกข์นะ มันก็เกิดสมุทัย จิตใจก็ดิ้นรนปรุงแต่ง นิโรธก็ไม่ปรากฏ นิโรธคือนิพพาน นิพพานคือสภาวะซึ่งพ้นจากความปรุงแต่ง สภาวะซึ่งพ้นจากตัณหา สภาวะที่พ้นจากความปรุงแต่ง มีชื่อเป็นภาษาแขกว่า วิสังขาร สภาวะที่พ้นจากตัณหามีชื่อว่าวิราคะ อันนี้เป็นชื่อของนิพพานทั้งสิ้นเลยนะ เมื่อจิตยังดิ้นรนค้นคว้า จิตยังมีความอยากมีความยึดถืออยู่ นิพพานไม่ปรากฏ ความพ้นทุกข์ไม่มี เพราะยังวนเวียนยึดถือขันธ์อยู่ ต่อเมื่อไรรู้ทุกข์แจ่มแจ้ง สมุทัยถูกละอัตโนมัติ นิโรธแจ้งอัตโนมัติ อริยมรรคก็เกิดอัตโนมัติเลย พระพุทธเจ้าไม่ได้เพียงบอกว่าให้เรารู้แจ้งอริยสัจเท่านั้น แต่ท่านบอกวิธีที่จะทำให้เรารู้แจ้งอริยสัจด้วย คือให้รู้ทุกข์ ทุกข์คือกายกับใจ ถ้ารู้ทุกข์แจ่มแจ้งนะ สมุทัยดับเอง นิโรธปรากฏเอง อริยมรรคเกิดขึ้นเอง ข้ามเข้ามา ทวนเข้ามาถึงจิตแท้ ถึงวิญญาณธาตุ ธาตุรู้แท้ๆแล้ว ธรรมธาตุ ตัวนี้ แล้วอริยมรรคก็จะเกิดขึ้น อาสวกิเลสที่ห่อหุ้มจิตอยู่นี้ ถูกอริยมรรคแหวกออก แหวกออกทำลายออก ก็ล้างกิเลส ล้างในพริบตาเดียว ในขณะเดียว วับเดียว ขาดเลย มันคล้ายๆ เปิดสวิตช์ไฟปั๊บ สว่างวูบเดียว ความมืดหายไปเลยนะ ในพริบตานั้นเลย จิตถัดจากนั้นนะ จะเห็นพระนิพพานอีก ๒ – ๓ ขณะ เห็นไม่เท่ากันหรอก บางคนเห็น ๒ ขณะ บางคนเห็น ๓ ขณะ ถ้าพวกอินทรีย์กล้ามากๆก็เห็น ๓ ขณะ พวกอินทรีย์ไม่กล้ามาก ก็เห็น ๒ ขณะ เพราะฉะน้นพระอริยะในภูมิเดียวกันนะ ระดับเดียวกัน ความรู้ความเข้าใจไม่เท่ากัน ความแตกฉานอะไรอย่างนี้ไม่เท่ากัน เห็นพระนิพพาน ก็รู้ว่าพระนิพพานอยู่ต่อหน้าต่อตา นิพพานไม่เคยหายไปไหน อยู่ต่อหน้าต่อตานี้แหละ แต่โง่เอง ไม่เห็น ทำไมไม่เห็น มัวแต่เห็นแต่กาม มัวแต่เห็นรูปภพ มัวแต่เห็นอรูปภพ จิตไม่รู้จักปล่อย ตรงที่เขาปล่อย เขาข้ามแล้ว เขาทิ้งแล้ว ตรงโคตรภูญาณที่จิตข้ามโคตรน่ะ ข้ามจากปุถุชน มาเป็นพระอริยะ ข้ามทิ้งตรงนี้ มันทิ้งหมดเลยนะ มันทิ้งกามภูมิ รูปภูมิ อรูปภูมิ ทิ้งหมดเลย ข้ามมาสู่อริยภูมิ โลกุตรภูมิ ข้ามเอง ทีนี้พวกเราก็มีหน้าที่ภาวนาให้มันพอเท่านั้นแหละ ถ้ามันพอเมื่อไหร่ มันก็ข้ามโคตร เปลี่ยนสกุล ก็ไม่ใช่นามสกุลเดิม โดยสมมุติบัญญัติก็เป็นนามสกุลเดิม โดยปรมัตถ์แท้ๆก็ไม่ใช่ละ ก็มาเป็นลูกพระพุทธเจ้า เพราะฉะนั้นเวลาพระพุทธเจ้าท่านพูดถึงพระอริยะนะ ท่านจะบอกว่า ลูกของเรา
วันเสาร์ที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2560
คิดถึงพระพุทธเจ้าคติของพระอริยบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ย่อมต่างกันตามประเภทดังต่อไปนี้ ๑. พระโสดาบัน คำว่า พระโสดาบัน หมายความว่า ผู้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เพราะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผ่านญาณ ๑๖ ไปได้ครั้งที่ ๑ ละกิเลสได้ ๓ ตัว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส นี้เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ทีนี้คติของพระโสดาบัน คือถ้าได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน หากว่าอินทรีย์แก่กล้า ในเวลาประพฤติปฏิบัติ คือมีอินทรีย์ ๕ สมบูรณ์แก่กล้า ก็จะเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จะได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าอินทรีย์หย่อน เวลาประพฤติปฏิบัติ อินทรีย์มันหย่อนไป ถ้าอินทรีย์หย่อนก็จะเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ แล้วก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ปรินิพพาน แต่ถ้าต่ำลงมาก็จะเกิดอีก ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน เมื่อได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ถือว่าสามารถทำลายกิเลสที่เป็นอปายคามินีที่จะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานได้เด็ดขาด เป็นผู้มีคติเที่ยงในการที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารอีกนานเกินไป ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว หากว่าตอนที่จะมรณภาพ ได้สำเร็จรูปฌาน คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกตามกำลังของฌาน แต่ถ้าว่าได้สำเร็จอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ตามกำลังของอรูปฌาน ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๑ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌานจะไปเกิดที่ไหน ฌานก็ไม่ได้เหมือนรูปอื่นเหมือนคนอื่น เป็นประเภทสุกขวิปัสสกะ ได้บรรลุด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณล้วนๆ ไม่ได้ฌาน ถ้าว่าเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก คือในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ พระโสดาบัน เมื่อมรณภาพแล้วจะไม่ไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าผู้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ถือว่ามีพระนิพพานเป็นเครื่องรองรับ จุติแล้วก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ อันนี้เป็นคติของพระโสดาบันโดยย่อ ๒. พระสกทาคามี หมายถึง ผู้กลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว สำหรับพระสกทาคามีที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก ในสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ แต่ถ้าเป็นพระสกทาคามีที่ได้รูปฌาน ๔ ฌานใดฌานหนึ่ง ก็จะไปบังเกิดในรูปพรหมตามกำลังของฌานใดฌานหนึ่ง ถ้าพระสกทาคามีที่ได้อรูปฌาน จุติแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของฌาน พระสกทาคามีนี้ทำลายกิเลสตัณหา(เพิ่มขึ้นจากที่โสดาปัตติมรรคทำลายแล้ว)ไม่ได้ เป็นแต่เพียงทำกิเลสที่เหลืออยู่นั้นให้เบาบางลง คือไม่มีกำลังพอที่จะทำลายกิเลสตัณหาที่เหลืออยู่ให้หมดไป แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ เหมือนกันกับคติของพระโสดาบัน พระสกทาคามี เมื่อจุติแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก บางทีก็ไปเกิดในพรหมโลก เมื่อไปเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นแล้วก็ปรินิพพาน
ผู้ถึงกระแสนิพพานการจะให้จิตสงบนั้น ให้เราน้อมจิตไปอยู่ในอารมณ์อันเดียว จิตไม่ไปฟุ้งซ่านไปสู่อารมณ์อันอื่น จิตก็สงบ เช่นบางคนมีความสุขที่จะท่องพุทโธ พุทโธๆมีความสุขนะ พอจิตใจมีความสุข จิตจะไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็สงบอยู่กับพุทโธ คนไหนถนัดรู้ลมหายใจ รู้ลมหายใจแล้วมีความสุข รู้ลมหายใจไปเรื่อย หายใจไปรู้สึกตัวนะ หายใจสบาย จิตใจสงบอยู่กับลมหายใจ ไม่ฟุ้งไปที่อื่น ก็ได้ความสงบขึ้นมา คนไหนดูท้องพองยุบแล้วมีความสุข ก็ดูท้องพองยุบไป จิตใจมันก็สงบไม่หนีไปที่อื่น การที่จะฝึกให้จิตสงบนั้น ฝึกโดยการรู้จักเลือกอารมณ์ เราต้องดูว่าตัวเราเองนั้นอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ อยู่กับพุทโธแล้วมีความสุขเราอยู่กับพุทโธไป จิตก็สงบไม่หนีไปที่อื่น เพราะจิตมันพอใจกับพุทโธซะแล้ว มันก็ไม่ไปหาอารมณ์อันอื่น คนไหนหายใจเข้าหายใจออก รู้ลมหายใจเข้าหายใจออกแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับลมหายใจไป จิตก็ไม่หนีไปที่อื่น เนี่ยเคล็ดลับของการทำความสงบนะ การทำสมถะ เลือกอารมณ์ ต้องดูของตัวเราเอง เราอยู่กับอารมณ์ชนิดไหนแล้วมีความสุข เราก็อยู่กับอารมณ์ชนิดนั้นบ่อยๆ จิตใจไม่หนีไปหาอารมณ์อย่างอื่น อันนี้แหละ เราได้สมถะกรรมฐาน ทีนี้ฝึกอย่างไรจะให้จิตตั้งมั่น จิตที่ตั้งมั่นนั้นมันตรงข้ามกับจิตที่ไม่ตั้งมั่น จิตที่ไม่ตั้งมั่นมันคือจิตที่ไหลไป มันหลงไป มันไหลไป ตลอดเวลา หลวงปู่ดูลย์เรียกว่าจิตออกนอก เราก็หากรรมฐานมาสักอย่างหนึ่งนะ เบื้องต้นเราต้องมีเครื่องอยู่ให้จิตอยู่สักอย่างหนึ่งก่อน คนไหนเคยพุทโธแล้วสบายใจนะ ก็พุทโธต่อไป แต่ไม่ใช่พุทโธเพื่อให้จิตสงบ เปลี่ยนนิดเดียวจากพุทโธเพื่อให้จิตสงบนะ มาเป็นพุทโธแล้วรู้ทันจิต พุทโธๆจิดหนีไปคิดรู้ทัน พุทโธๆจิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน พุทโธๆแล้วจิตไปเพ่งนิ่งอยู่เฉยๆก็รู้ทัน พุทโธแล้วรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป เคลื่อนไปหลงไปคิด เคลื่อนไปเพ่ง ถ้าเรารู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ คนไหนเคยรู้ลมหายใจแล้วมีความสุขนะ เราก็สงบอยู่กับลมหายใจ เราก็รู้ลมหายใจต่อไป แต่ไม่ใช่รู้เพื่อให้จิตไปอยู่กับลมหายใจ ถ้ารู้แล้วให้จิตไปอยู่กับลมหายใจเราได้สมถะกรรมฐาน ได้ความสงบเฉยๆ เรามาปรับนิดหน่อย เราหายใจไปจิตหนีไปคิดเรารู้ทัน จิตไปเพ่งใส่ลมหายใจเรารู้ทัน จิตหนีไปคิดเราก็รู้ หายใจไปจิตหนีไปเรารู้ จิตหนีไปคิดเรารู้ หรือหายใจไปจิตไหลไปอยู่ที่ลมหายใจเรารู้ นี่ฝึกอย่างนี้บ่อยๆ จิตเคลื่อนไปแล้วเรารู้ทัน เคลื่อนไปคิดเราก็รู้ทัน เคลื่อนไปเพ่งลมหายใจเราก็รู้ทัน ถ้าเรารู้ทันอย่างนี้ได้ว่าจิตมันเคลื่อนไปนะ จิตจะไม่เคลื่อน จิตจะตั้งมั่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ใครถนัดดูท้องพองยุบ เคยดูท้องพองยุบ แล้วจิตไปสงบอยู่กับท้องก็เปลี่ยนนิดเดียว ดูท้องพองยุบไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่ที่ท้องก็รู้ทัน คนไหนถนัดเดินจงกรมนะ ก็เดินจงกรมไป จิตหนีไปคิดก็รู้ทัน จิตไหลไปอยู่กับเท้าก็รู้ทัน คือรู้ทันจิตที่เคลื่อนไป การที่เราคอยรู้ทันจิตที่เคลื่อนไปนั้นแหละ จะทำให้จิตสงบตั้งมั่น ไม่ใช่สงบเฉยๆ สงบเฉยๆเนี่ยมันจะไหลไปรวมอยู่กับอารมณ์อันเดียว อันนี้มันจะสงบด้วยมันจะตั้งมั่นด้วย จิตมันจะถอนตัวออกจากโลกของความคิด มาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ตรงนี้พวกเราต้องฝึกให้ได้นะ ถ้าพวกเราไม่สามารถจะฝึกจิตให้เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานได้ เรายังทำวิปัสสนากรรมฐานไม่ได้จริงหรอก ถึงจะไปนั่งคิดพิจารณากายเป็นปฏิกูล เป็นอสุภะอะไรอย่างนี้ มันยังไม่ใช่วิปัสสนากรรมฐานหรอก วิปัสสนากรรมฐานนะเราต้องมีสติรู้กายรู้ใจ มีสติรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง เราจะรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริง ความเป็นจริงคือไตรลักษณ์ เราจะเห็นไตรลักษณ์ของกายของใจได้ต่อเมื่อเรามีจิตที่ตั้งมั่น มีจิตที่เป็นกลาง ถ้าจิตเรายังหลงอยู่ในโลกของความคิด เราจะไม่สามารถรู้กายรู้ใจตามความเป็นจริงได้ มันจะเพ่งกายเพ่งใจเฉยๆ แต่จะไม่เห็นความจริงของกายของใจ คือไม่เห็นไตรลักษณ์หรอก งั้นเราต้องมาฝึกนะให้ใจตั้งมั่นขึ้นมาให้ได้ก่อน ตัวนี้เป็นจุดที่แตกหักเลย ว่าชาตินี้เราจะได้มรรคผลนิพพานหรือไม่ได้ ถ้าจิตใจเราไม่อยู่กับเนื้อกับตัว ชาตินี้เรายังไม่ได้มรรคผลนิพพานแน่นอน แต่ถ้าจิตใจของเราอยู่กับเนื้อกับตัวแล้ว จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตหนีไปเรารู้ทัน จิตเราอยู่กับตัวเราเองทั้งวันทั้งคืน โอกาสที่เราจะเห็นความจริงของกายของใจ ก็เป็นไปได้
วันศุกร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2560
ท่านได้ทำกรรมอะไรไว้ ได้ยินได้ฟังคำสอนของพระพุทธเจ้าคติของพระอริยบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ย่อมต่างกันตามประเภทดังต่อไปนี้ ๑. พระโสดาบัน คำว่า พระโสดาบัน หมายความว่า ผู้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เพราะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผ่านญาณ ๑๖ ไปได้ครั้งที่ ๑ ละกิเลสได้ ๓ ตัว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส นี้เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ทีนี้คติของพระโสดาบัน คือถ้าได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน หากว่าอินทรีย์แก่กล้า ในเวลาประพฤติปฏิบัติ คือมีอินทรีย์ ๕ สมบูรณ์แก่กล้า ก็จะเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จะได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าอินทรีย์หย่อน เวลาประพฤติปฏิบัติ อินทรีย์มันหย่อนไป ถ้าอินทรีย์หย่อนก็จะเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ แล้วก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ปรินิพพาน แต่ถ้าต่ำลงมาก็จะเกิดอีก ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน เมื่อได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ถือว่าสามารถทำลายกิเลสที่เป็นอปายคามินีที่จะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานได้เด็ดขาด เป็นผู้มีคติเที่ยงในการที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารอีกนานเกินไป ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว หากว่าตอนที่จะมรณภาพ ได้สำเร็จรูปฌาน คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกตามกำลังของฌาน แต่ถ้าว่าได้สำเร็จอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ตามกำลังของอรูปฌาน ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๑ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌานจะไปเกิดที่ไหน ฌานก็ไม่ได้เหมือนรูปอื่นเหมือนคนอื่น เป็นประเภทสุกขวิปัสสกะ ได้บรรลุด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณล้วนๆ ไม่ได้ฌาน ถ้าว่าเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก คือในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ พระโสดาบัน เมื่อมรณภาพแล้วจะไม่ไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าผู้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ถือว่ามีพระนิพพานเป็นเครื่องรองรับ จุติแล้วก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ อันนี้เป็นคติของพระโสดาบันโดยย่อ ๒. พระสกทาคามี หมายถึง ผู้กลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว สำหรับพระสกทาคามีที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก ในสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ แต่ถ้าเป็นพระสกทาคามีที่ได้รูปฌาน ๔ ฌานใดฌานหนึ่ง ก็จะไปบังเกิดในรูปพรหมตามกำลังของฌานใดฌานหนึ่ง ถ้าพระสกทาคามีที่ได้อรูปฌาน จุติแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของฌาน พระสกทาคามีนี้ทำลายกิเลสตัณหา(เพิ่มขึ้นจากที่โสดาปัตติมรรคทำลายแล้ว)ไม่ได้ เป็นแต่เพียงทำกิเลสที่เหลืออยู่นั้นให้เบาบางลง คือไม่มีกำลังพอที่จะทำลายกิเลสตัณหาที่เหลืออยู่ให้หมดไป แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ เหมือนกันกับคติของพระโสดาบัน พระสกทาคามี เมื่อจุติแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก บางทีก็ไปเกิดในพรหมโลก เมื่อไปเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นแล้วก็ปรินิพพาน
อิติปิ โส ภะคะวา อะระหัง สัมมาสัมพุทโธเราเห็นตัวการ์ตูนเคลื่อนไหวได้ฉันใด เราก็เห็นจิตวิ่งไปวิ่งมาได้ฉันนั้น นี่เป็นความหลงผิด นี่เป็นภาพลวงตาเท่านั้นเอง แท้จริงจิตก็เกิดดับ เกิดดับเหมือนการ์ตูนทีละรูป ทีละรูป นั่นเอง แต่ว่าสติปัญญาของคนทั่วไปซึ่งไม่เคยฝึกฝนไม่สามารถเห็นได้ ก็จะรู้สึกว่าจิตเที่ยง ถ้าเราสามารถเห็นว่าจิตเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับไปเรื่อยๆ ไม่นาน ๗ วัน ๗ เดือน ๗ ปี เราจะเห็นความจริงว่าจิตนี้ไม่ใช่ตัวเรา ตัวเราที่แท้จริงไม่มี มันมีแต่ของเกิดแล้วก็ดับ เกิดแล้วก็ดับ ถ้าเมื่อไรวันใดเห็นว่าจิตไม่ใช่ตัวเรานะ ทุกอย่างในโลกนี้จะไม่ใช่ตัวเราแล้ว ร่างกายมันไม่ใช่เราตั้งแต่เริ่มหัดเจริญสติแล้ว พอจิตเราตั้งมั่นขึ้นมา เราจะเห็นเลยว่าร่างกายมันอยู่ต่างหากแล้ว เหลือแต่จิตอันเดียวนี่แหละรู้สึกว่าวิ่งไปวิ่งมา การเจริญสติจนเห็นจิตเกิดดับเกิดดับ เกิดที่ตาแล้วดับ เกิดที่หูแล้วดับ เกิดที่ใจแล้วดับ ก็คือสันตติขาด การที่สันตติขาดนี่แหละคือวิปัสสนาที่แท้จริง ถ้าสันตติยังไม่ขาดยังไม่ใช่วิปัสสนาที่แท้จริง เราต้องค่อยๆ ดูไป ฝึกไปเรื่อยๆ พอสันตติขาดแล้วจะสั่นสะเทือนขึ้นมาเลย บางคนรู้สึกกลัว บางคนรู้สึกเบื่อ บางคนรู้สึกโหวงๆ ตัวเราหายไปแล้ว โหวงๆ เวิ้งว้างหาที่พึ่งที่อาศัยไม่ได้ บางคนเบื่อจิบจิตจับใจเลย เบื่อสุขเบื่อทุกข์ เบื่อทุกอย่าง เบื่อสามี เบื่อภรรยา แต่เบื่ออย่างนี้ไม่ใช่เบื่อด้วยกิเลส มันเบื่อด้วยสติด้วยปัญญา เห็นทุกอย่างไม่มีสาระเลย ไม่มีตัวมีตนอะไร ใจมันจะเบื่อไปหมดทุกสิ่งทุกอย่างเลย เบื่อสุขกับทุกข์เท่าๆ กัน เบื่อดีกับชั่วเท่าๆ กัน เบื่อหยาบกับละเอียดเท่าๆ กัน เบื่อภายในกับภายนอกเท่าๆ กัน จิตก็หมดแรงดิ้น ไม่ดิ้นรนค้นคว้า บางคนกลัว กลัวมากๆ เลยนะ พอภาวนามาจนเห็นว่าตัวเราไม่มี กลัวเพราะรู้สึกว่าตัวเราหายไปแล้ว ตกอกตกใจขึ้นมา เมื่อสภาวะอันนี้เกิดขึ้นแล้วให้มีสติรู้ทันเข้าไป สภาวะอันนี้ก็เช่นเดียวกับความโกรธความหลงที่เคยเห็นมานั่นเอง คือเกิดแล้วก็ดับเช่นเดียวกัน พอดับไปแล้วใจเราตั้งมั่นเป็นผู้รู้ผู้ดู เราก็ดูกายดูใจของเราต่อไป จิตมันจะค่อยเข้าใจความเป็นจริงมากขึ้นๆ มันจะเห็นเลยว่าความสุขก็ชั่วคราว ความทุกข์ก็ชั่วคราว โลภโกรธหลงก็ชั่วคราว ฟุ้งซ่านหดหู่ดีใจเสียใจทั้งหมดนี้ชั่วคราวหมดเลย จะเห็นว่าสิ่งใดเกิดแล้วก็ดับไป ทุกอย่างชั่วคราวหมดเลย พอจิตมันยอมรับความจริงว่าทุกอย่างเป็นของชั่วคราว จิตจะหมดแรงดิ้น จิตจะหมดการดิ้นรนค้นคว้าเที่ยวแสวงหาอารมณ์ที่เพลิดเพลินพอใจ หมดแรงดิ้นรนค้นคว้าที่จะหลีกหนีอารมณ์ที่ไม่พอใจ จิตจะเข้าสู่ความเป็นกลางที่แท้จริง ความเป็นกลางเพราะปัญญานี่แหละเป็นความเป็นกลางที่สำคัญมาก ปัญญาตัวนี้เรียกว่า “ สังขารุเปกขาญาณ ” เห็นสุขกับทุกข์มันเท่ากัน นรกกับสวรรค์มันก็เท่ากัน ไม่กลัวนะ หมดความดิ้นรน จิตมันรู้ตื่นแล้วก็เป็นกลาง สักว่ารู้ สักว่าเห็น มันเห็นทุกสิ่งทุกอย่างเกิดแล้วดับ ทุกสิ่งทุกอย่างเท่าเทียมกัน สุขกับทุกข์เท่ากัน มีความสุขเกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ มีความทุกข์เกิดขึ้นมาก็สักว่ารู้สักว่าเห็นได้ เมื่อสักว่า สักว่า แล้วอะไรจะเกิดขึ้น ก็จะหมดการดิ้นรนของจิต หมดความปรุงแต่งของจิต จิตจะค่อยๆ ปรุงน้อยลงๆ ถึงจุดหนึ่งหยุดปั๊บลงไป ตรงหยุดปั๊บลงไปนี่จิตจะรวมเข้าอัปปนาสมาธิโดยสมาธิโดยอัตโนมัติเลย เมื่อรวมเข้าอัปปนาสมาธิแล้ว ตรงนี้จะไม่คิดไม่นึกอะไรแล้ว จะเห็นสภาวธรรม (รูปธรรม นามธรรม) เกิดดับขึ้นภายใน ๒-๓ ขณะ ใจนี้สักว่ารู้สักว่าเห็นอย่างแท้จริง ไม่มีกระทั่งความคิดนึกปรุงแต่งใดๆ สักนิดเดียวเลย ถัดจากนั้น จิตจะวางการรู้สภาวะทบทวนกระแสเข้าหาธาตุรู้ พอทวนกระแสเข้าถึงธาตุรู้แล้วอริยมรรคจะแหวกอาสวะกิเลสทั้งหลายหรือสังโยชน์ทั้งหลาย อาสวะที่ห่อหุ้มจิตอยู่ สังโยชน์ที่แทรกอยู่ในจิตจะถูกทำลายออกไป ตรงกระบวนการทำลายล้างนี่ ๑ ขณะเท่านั้น พอขาดสะบั้นลงแล้ว ตรงนี้เราจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะบ้าง ๓ ขณะบ้าง ตรงนี้เป็นผลแล้ว เป็นโลกุตรผลนะ ตรงที่เกิดอริยมรรคเรียกว่าโลกุตตรเหตุ มรรคเป็นเหตุ ผลเป็นผล ตรงที่เห็นเป็นผลนี่จะเห็นไม่เท่ากัน พวกที่สติปัญญาแก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๓ ครั้ง ๓ ขณะ พวกที่ยังไม่แก่กล้าจะเห็นนิพพาน ๒ ขณะ ถัดจากนั้นจิตจะถอยออกมากลับสู่โลกภายนอกนี้ พอกลับมาสู่โลกภายนอก มันจะทวนกลับเข้าไปพิจารณาใหม่ว่าเมื่อกี้นี้เกิดอะไรขึ้น มันจะรู้เลยว่ากิเลสตัวไหนหายไปแล้ว กิเลสตัวไหนยังเหลืออยู่ รู้ว่ายังมีงานต้องทำอีก แต่ถ้าตัดครั้งที่สี่เป็นพระอรหันต์นะ มันทวนวับเข้าไป มันจะเห็นนิพพานชัดเจนเลย ไม่มีกิเลสอะไรให้ต้องลดละอีกแล้ว มันไม่มีกิเลสเหลือ จะเห็นนิพพานล้วนๆ เราเป็นลูกพระพุทธเจ้า เราต้องเชื่อพ่อแม่ เราต้องรู้กายรู้ใจของเราไปเรื่อยๆ แล้ววันหนึ่งเราจะได้มรดกของพระพุทธเจ้า ท่านไม่ได้หอบเอานิพพานแล้วหายไปไหน นิพพานยังอยู่เต็มโลกเต็มบริบูรณ์อยู่นี่แหละ คนมีบุญวาสนามีปัญญาแก่รอบ เจริญวิปัสสนาแก่รอบแล้วก็จะได้รับ นี่รางวัลสูงสุดของชีวิตอยู่ตรงนี้ ชีวิตที่เหลือเป็นชีวิตที่อิสระโปร่งเบา ปราศจากความอยาก ความยึดและความดิ้นรนปรุงแต่ง ไม่มีความทุกข์หรือสิ่งใดครอบงำจิตได้อีกแล้ว
พระนิพพานคืออะไรคติของพระอริยบุคคลทั้ง ๔ ประเภท คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์ ย่อมต่างกันตามประเภทดังต่อไปนี้ ๑. พระโสดาบัน คำว่า พระโสดาบัน หมายความว่า ผู้ถึงกระแสแห่งพระนิพพาน เพราะได้ปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน ผ่านญาณ ๑๖ ไปได้ครั้งที่ ๑ ละกิเลสได้ ๓ ตัว คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส นี้เรียกว่าเป็นพระโสดาบัน ทีนี้คติของพระโสดาบัน คือถ้าได้สำเร็จเป็นพระโสดาบัน หากว่าอินทรีย์แก่กล้า ในเวลาประพฤติปฏิบัติ คือมีอินทรีย์ ๕ สมบูรณ์แก่กล้า ก็จะเกิดอีกเพียงชาติเดียวเท่านั้น ก็จะได้ประพฤติปฏิบัติสำเร็จเป็นพระอรหันต์ แต่ถ้าอินทรีย์หย่อน เวลาประพฤติปฏิบัติ อินทรีย์มันหย่อนไป ถ้าอินทรีย์หย่อนก็จะเกิดอีกอย่างมากเพียง ๗ ชาติ แล้วก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ แล้วก็ปรินิพพาน แต่ถ้าต่ำลงมาก็จะเกิดอีก ๒ ชาติ ๓ ชาติ ๔ ชาติ ๕ ชาติ ๖ ชาติ ก็จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์แล้วปรินิพพาน เมื่อได้เป็นพระโสดาบันแล้ว ก็ถือว่าสามารถทำลายกิเลสที่เป็นอปายคามินีที่จะนำไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉานได้เด็ดขาด เป็นผู้มีคติเที่ยงในการที่จะได้บรรลุเป็นพระอรหันต์ จะไม่ต้องเวียนว่ายตายเกิดอยู่ในมหรรณพภพสงสารอีกนานเกินไป ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันแล้ว หากว่าตอนที่จะมรณภาพ ได้สำเร็จรูปฌาน คือ ปฐมฌาน ทุติยฌาน ตติยฌาน จตุตถฌาน ก็จะได้ไปบังเกิดในพรหมโลกตามกำลังของฌาน แต่ถ้าว่าได้สำเร็จอรูปฌาน ๔ คือ อากาสานัญจายตนฌาน วิญญาณัญจายตนฌาน อากิญจัญญายตนฌาน เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน ก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ตามกำลังของอรูปฌาน ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๑ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๑ คือ อากาสานัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๒ ก็ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๒ คือ วิญญาณัญจายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๓ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๓ คือ อากิญจัญญายตนพรหม ถ้าได้สำเร็จอรูปฌานที่ ๔ ก็จะได้ไปเกิดในอรูปพรหมชั้นที่ ๔ คือ เนวสัญญานาสัญญายตนพรหม ทีนี้ ผู้ที่ได้สำเร็จเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌานจะไปเกิดที่ไหน ฌานก็ไม่ได้เหมือนรูปอื่นเหมือนคนอื่น เป็นประเภทสุกขวิปัสสกะ ได้บรรลุด้วยอำนาจของวิปัสสนาญาณล้วนๆ ไม่ได้ฌาน ถ้าว่าเป็นพระโสดาบันที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก คือในฉกามาวจรสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ พระโสดาบัน เมื่อมรณภาพแล้วจะไม่ไปสู่อบายภูมิ คือ นรก เปรต อสุรกาย และสัตว์เดรัจฉาน เพราะว่าผู้บรรลุเป็นพระโสดาบันแล้ว ถือว่ามีพระนิพพานเป็นเครื่องรองรับ จุติแล้วก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ อันนี้เป็นคติของพระโสดาบันโดยย่อ ๒. พระสกทาคามี หมายถึง ผู้กลับมาเกิดอีกเพียงครั้งเดียว สำหรับพระสกทาคามีที่ไม่ได้ฌาน บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก ในสวรรค์ ๖ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามบุญญาธิการที่ตนได้สร้างสมอบรมไว้ แต่ถ้าเป็นพระสกทาคามีที่ได้รูปฌาน ๔ ฌานใดฌานหนึ่ง ก็จะไปบังเกิดในรูปพรหมตามกำลังของฌานใดฌานหนึ่ง ถ้าพระสกทาคามีที่ได้อรูปฌาน จุติแล้วก็จะไปบังเกิดในอรูปพรหม ๔ ชั้น ชั้นใดชั้นหนึ่ง ตามกำลังของฌาน พระสกทาคามีนี้ทำลายกิเลสตัณหา(เพิ่มขึ้นจากที่โสดาปัตติมรรคทำลายแล้ว)ไม่ได้ เป็นแต่เพียงทำกิเลสที่เหลืออยู่นั้นให้เบาบางลง คือไม่มีกำลังพอที่จะทำลายกิเลสตัณหาที่เหลืออยู่ให้หมดไป แต่ถึงกระนั้นก็จะไม่ไปสู่อบายภูมิ เหมือนกันกับคติของพระโสดาบัน พระสกทาคามี เมื่อจุติแล้วก็จะไปบังเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็มาเกิดในโลกมนุษย์ บางทีก็ไปเกิดในเทวโลก บางทีก็ไปเกิดในพรหมโลก เมื่อไปเกิดในสุคติภพ ภพใดภพหนึ่ง บางทีก็ได้สำเร็จเป็นพระอรหันต์ในภพนั้นแล้วก็ปรินิพพาน
วิปัสสนา กรรมฐาน ไม่ใช่เรื่องลึกลับอะไร เราไม่ได้ฝึกเป็นยอดมนุษย์ท่านสอนให้รู้ทันที่จิตนี้เอง สมาธิมันเกิดขึ้นได้ง่ายๆเลย อย่างใจเราฟุ้งซ่านเก่งมั้ย วันนึงวันนึงนะใจเราหนีไปคิดนับครั้งไม่ถ้วน ร้อยครั้งพันครั้งหมื่นครั้งนะหนีทั้งวัน นั้นเราคอยมีสติรู้ทันนะจิตมันไหลไปแล้ว จิตมันฟุ้งซ่านไปแล้ว จิตมันหนีไปคิดแล้ว ให้เราคอยรู้ทันไว้ ถ้าเรารู้ทันจิตที่ไหลไปคิดจิตจะตั้งมั่น จิตจะตื่นขึ้นมาเป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ไม่ใช่ผู้คิดผู้นึกผู้ปรุงผู้แต่ง จิตที่เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานเนี่ยเป็นจิตที่มีสมาธิที่ดี สมาธิอย่างนี้เป็นสมาธิที่สำคัญสำหรับการเจริญปัญญา เมื่อเดินปัญญาแก่รอบเต็มที่แล้ว จิตจะรวมเข้าอัปปนาเอง ในนาทีที่จะตัดสินความรู้บรรลุ อริยมรรค อริยผล ... เจริญปัญญาให้มาก มีแค่ขณิกสมาธินะ ทุกวันพยายามไหว้พระสวดมนต์ไว้ ทำในรูปแบบ จิตหนีไปคิดแล้วรู้ทัน ฝึกให้มันมีขณิกสมาธิ แล้วมาเดินปัญญา รู้กาย รู้ใจ ในชีวิตประจำวัน ... แล้วสิ่งนั้นดับไป อย่างนี้ก็ใช้ได้ ถ้าถึงขนาดเห็นองค์ฌานเกิดดับอย่างนี้มีน้อยเต็มที
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)