วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ทุกข์เท่านั้นที่เกิดขึ้นทุกข์เท่านั้นที่ตั้งอยู่ทุกข์เท่านั้นที่ดับไป ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตานี้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วิมริยาทิกตจิต” คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง .. วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง ...

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักที ผู้ที่เปี่ยมด้วยพลังแห่งเมตตานี้ในขั้นสมบูรณ์ที่สุดคือพระอรหันต์ จะมีภาวะจิตอย่างหนึ่งที่เรียกว่า “วิมริยาทิกตจิต” คือ จิตใจไร้พรมแดน ซึ่งหมายถึง .. วิมริยาทิกตํ จิตฺตํ ความว่า จิตของเราอันเรากระทำให้มี ที่สุดไปปราศแล้ว คือให้ถึงความไม่ต้องเกิดต่อไปเป็นธรรมดา อธิบายว่า เพราะเหตุนั้นแล จิตของเราจักดับอยู่ในภพนี้เอง ...

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้องภิกษุ ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพานอันใครๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี ผู้มีจิต ไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน

สิ่งนั้นมันก็เคยได้มาแล้วแต่จิตมันก็ไม่พอซักทีภิกษุ ผู้มีฉันทะเกิดแล้ว ในพระนิพพานอันใครๆ บอกไม่ได้ พึงเป็นผู้อันใจถูกต้องแล้วก็ดี ผู้มีจิต ไม่เกี่ยวเกาะในกามทั้งหลายก็ดี ท่านเรียกว่า ผู้มีกระแสในเบื้องบน

พระสารีบุตรมหาเถระเจ้าพระอัครสาวกเบื้องขวาเสด็จปรินิพพานลำดับนั้น พระเถระดึงมหาจีวรมาปิดหน้า นอนโดยข้างขวา เข้า สมาบัติ ๙ ตามลำดับสมาบัติทั้งโดยอนุโลมและปฏิโลม เหมือนพระศาสดา มหาปฐพีสั่นสะเทือนในทันใดนั้นเอง ปรินิพพานแล้วด้วยอนุปาทิเสสนิพพาน ธาตุ

วันศุกร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิต

ยืนเดินนั่งนอนกินดื่มทำพูดคิดให้มีสติรู้ทันจิต

การเรียนรู้สิ่งที่เรียกว่าตัวเรา

ยากเหลือเกินที่จะหลอกกิเลสได้เพราะกิเลสอยู่ในใจเราเราคิดอะไรกิเลสรู้หมดเ...จุดสุดท้ายของการปฎิบัติคือเห็นขันธ์ห้าปรุงแต่งแต่เราที่ไม่ปรุงแต่งขันธ์ห้า.. พบจิตให้ทำลายจิตพบผู้รู้ให้ทำลายผู้รู้คืออย่างนี้เอง..เข้าใจแล้ว..ครับ..

เหมาะสำหรับใช้กับโซ ล่า เชลล์ สูบ น้ำ เข้า เรือก สวน ไร่นา ราคานำอุปกรณ์ไปประกอบเองชุดละ1500-2000 บาท ราคาปรกอบสำเร็จ 2500 ใช้ได้กับมอเตอร์ไม่เกิน 1 แรงม้า ใช้กับไฟฟ้าไม่เกิน 320 VDC เพิ่มความเร็วมอเตอร์ได้ 4-5 เท่า..ของความเร็วปกติ..

รับออกแบบ ซ่อม สร้าง เเก้ไข inverter converter

บ้านอันแสนสุขสบายรอได้รอใจเย็นเย็น เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อม ไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ ไม่ทะเยอทะยาน แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้อง เกิด เมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื่อไม่แก่ จักตายได้อย่างไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบ จักทะเยอทะยานได้อย่างไร

วันพฤหัสบดีที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริง ดูกรภิกษุ ก็เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี๋ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น ฯ พ. ดูกรภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นหรือ และท่าน เห็นแล้วจะรู้จักไหม ฯ ปุ. ดูกรท่านผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคพระองค์นั้นเลย ถึงเห็นแล้วก็ไม่รู้จัก ฯ ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้บวช อุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูกรภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงฟังธรรมนั้น จงใส่ใจให้ดี เราจัก กล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ ฯ พระผู้มีพระภาคจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูกรภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็น ธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียก เขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้คืออุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก

ตามรอยพระพุทธเจ้า 5... กรุงราชคฤห์ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

PS21244 เพาเวอร์โมดูลสำหรับสร้างซ่อมอินเวอร์เตอร์ที่ใช้กับมอเตอร์สามเฟส

วันเสาร์ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันทา (บทขอขมา) วันทามิ พุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ธัมมัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ สังฆัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ อาราเม พัทธะเสมายัง โพธิรุกขัง เจฏิยัง พุทธะรูปัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ปัจเจกะพุทธัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ คุรูอุปปัชฌาอาจาริยะคุณัง สัพพะเมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต วันทามิ ภันเต ภะคะวา โลกะนาถัง อะตีตัง เมโทสัง อะนาคะตัง เมโทสัง ปัจจุปัณณัง เมโทสัง ขะมะถะเม ภันเต สาธุ สาธุ อนุโมทามิ กายะกัมมัง วะจีกัมมัง มะโนกัมมัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ โยโทโส โมหะจิตเตนะ พุทธัสสะมิง ธัมมัสสะมิง สังฆัสสะมิง ปะกะโตมะยา ขะมะถะเม กะตังโทสัง สัพพะปะปัง วินัสสะตุ อามันตะยามิโว ภิกขะเว ปฏิเวทะยามิโว ภิกขะเว ขะยะวะยะธัมมา สังขารา อัปปามาเทนะ สัมปาเทถาติ อิจเจวะมัจ จันตะมะนัสสะเนยยัง นะมัสสะมาโน ระตะนัตตะยัง ยัง ปุญญา ภิสันธัง วิปุลัง อะรัตถัง ตัสสานุภาเวนะ หะตันตะราโย

พาราณสี สถานที่แสดงปฐมเทศนา 2ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ (สังเวชนียสถาน) มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

ก็ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่ง เที่ยวจาริกไปยังเจดีย์ (สังเวชนียสถาน) มีจิตเลื่อมใสแล้ว จักทำกาละลง ชนเหล่านั้นทั้งหมดเบื้องหน้าแต่ตายเพราะกายแตก จักเข้าถึงสุคติโลกสวรรค์

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

สุดท้ายคืนกายคืนใจให้โลกและธรรมชาติไปหลวงพ่อปราโมทย์: เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

หลวงพ่อปราโมทย์: เวลาเราปฏิบัตินะ แต่เดิมเราก็จะหลงผิดว่าเราปฏิบัติให้มันมีความสุข เราเห็นว่าในโลกนี้มีทั้งความสุขและความทุกข์ เราก็จะพยายามหลบไอ้ตรงทุกข์ จะไปเอาตรงสุข ดิ้นไปเรื่อยๆ เวลาเจอความสุขก็พอใจ เพลิน เจอความทุกข์ก็พยายามจะหนี
ทุกข์กายทุกข์ใจ มี ๒ อัน ทางกายเราก็อยากจะไปเห็น อยากได้กลิ่น ได้รส ได้สัมผัสที่มันดีๆ หนีที่ไม่ดี เวลาเจอของไม่ดีเราก็หวังว่าถ้าหนีอันนี้ไปได้แล้วจะได้ไปเจอของดี ลืมไปอันนึงว่าไอ้ต้นตอตัวหัวโจกเลยมันไม่ใช่รูปรสกลิ่นเสียงโผฏฐัพพะหรอก กระทั่งกายเรานี้ก็ไม่ใช่ของดิบดีอะไร ไม่มีความสุขจริง ทั้งกายนี้มีแต่ความทุกข์ จิตใจก็เหมือนกันนะ จิตใจก็เที่ยวหาอารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายของเรา เราก็อยากให้ร่างกายเราได้แต่อารมณ์ที่เป็นสุข ร่างกายจิตใจอยากจะเอาแต่สุข ไม่เอาทุกข์ แล้วที่ใจเราดิ้นรนไม่เลิกเนี่ย เพราะเรายังหลงผิดว่าสุขมันมีอยู่ เจอทุกข์แล้วหลบให้ดีเหอะ เดี๋ยวเราจะเจอสุข
ถ้าศึกษาศาสนาพุทธอย่างถึงแก่นจริงๆจะพบว่าเราหลบหลีกไปไม่ได้นาน เพราะตัวเราเองเป็นตัวทุกข์ ร่างกายจิตใจของเราเองนั่นแหละตัวทุกข์ ไม่ใช่คนอื่นทุกข์นะ อย่างสมมติไปหาของอร่อยที่สุดมากิน ร่างกายก็ยังมีความทุกข์อีก ของที่อร่อยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุขได้ถาวรอะไร รูปที่สวยที่สุดไม่ได้ทำให้ร่างกายมีความสุข อารมณ์ที่ดีก็ไม่ได้ทำให้จิตมีความสุขถาวรได้เพราะจิตไม่เที่ยง
ถ้าเราเข้าใจว่าร่างกายจิตใจของเราบังคับไม่ได้ ไม่เที่ยง ไม่ใช่ตัวตน ก็ค่อยคลายความยึดถือ มันจะไม่ไปดิ้นหาความสุข แล้วก็ไม่ดิ้นหนีความทุกข์ แต่ก็ไม่ใช่โง่แช่ความทุกข์อยู่นะ ไม่ใช่นั่งภาวนา มดกัดให้มันกัดไป ไม่ใช่กายเรา เนี่ยโง่เกินไปแล้ว สุดโต่งไป

วันพฤหัสบดีที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557

พลังงานทดแทน โซล่าเซลล์ สามารถใช้กับมอเตอร์สามเฟสได้ครับการใช้งานจริง TM51และ TM52Aเพื่อสูบน้ำเข้านา หรือ สวน...ไร่..และงานทีเป็นประโยชน์แก่ ทุกข์..ชีวิต.ของสรรพสัตว์..TM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 48 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ TM 52 A ครับ TM 52 A จะทำหน้าที่ขับมอเตอร์ สามเฟส 220/380 Volts สูงสุดที่ประมาณ 3- 5 แรงม้าแนะนำให้ใช้ที่..3 แรงม้าครับ..บอร์ด MC3PHAC ทำหน้าที่ สร้างและกำหนดค่าของสัญญาณ สามเฟส SINE WAVE แบบ PWM ครับ..มีจำหน่ายหลายที่ครับ ติดต่อกันเองก็แล้วกัน ถ้าหาไม่ได้ ลองโทรไปที่ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE 6 DI 15 S -050 C 6 DI 15 S-050 D TM 51 TM 52 A สำหรับสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟส.

การใช้งานจริง TM51และ TM52Aเพื่อสูบน้ำเข้านา หรือ สวน...ไร่..และงานทีเป็นประโยชน์แก่ ทุกข์..ชีวิต.ของสรรพสัตว์..TM 51 รับแรงดันไฟฟ้ากระแสตรงตั้งแต่ 48 Voltsถึง 300 Volts ครับ รับกระแสได้ 10 ถึง 15 Amps แล้วจะทำหน้าที่ เปลี่ยนเป็นไฟฟ้ากระแสตรง -ทีแรงดัน 370-375 Volts เพื่อนำไปจ่ายให้กับ TM 52 A ครับ TM 52 A จะทำหน้าที่ขับมอเตอร์ สามเฟส 220/380 Volts สูงสุดที่ประมาณ 3- 5 แรงม้าแนะนำให้ใช้ที่..3 แรงม้าครับ..บอร์ด MC3PHAC ทำหน้าที่ สร้างและกำหนดค่าของสัญญาณ สามเฟส SINE WAVE แบบ PWM ครับ..มีจำหน่ายหลายที่ครับ ติดต่อกันเองก็แล้วกัน ถ้าหาไม่ได้ ลองโทรไปที่ 02 951 1356 และ 081-803-6553 นะครับ...หรือ ติดต่อที่ s o m p o n g i n d u s t r i a l @ g mail .com m r s o m p o n g t @h o t mail.comm ก็ได้ครับ จำหน่าย PS 21244 MITSUBISHI SEMICONDUCTOR TRANSFER-MOLD TYPE INSULATED TYPE 6 DI 15 S -050 C 6 DI 15 S-050 D TM 51 TM 52 A สำหรับสร้างเครื่องควบคุมมอเตอร์สามเฟส.

ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่าว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

การทำตนให้หลุดพ้นจากสังสารวัฎ เมื่อใดแล จิตของภิกษุเป็นจิตได้รับอบรมแล้วด้วยสิ่ง สมควรแก่บรรพชา อกุศลธรรมอันลามกที่เกิดขึ้นแล้วย่อมไม่รั­ดรึงจิตตั้งอยู่ จิตได้ รับอบรมแล้วด้วยอนิจจสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอนัตตสัญญา จิตได้รับอบรม แล้วด้วยอสุภสัญญา จิตได้รับอบรมแล้วด้วยอาทีนวสัญญา จิตรู้ความประพฤติ ชอบและความประพฤติไม่ชอบของสัตวโลกแล้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเจริญและความเสื่อมของสัตวโลกแล­้ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตรู้ความเกิดและความดับแห่งสังขารโลกแล้­ว ได้รับอบรมแล้วด้วยสัญญานั้น จิตได้รับอบรมด้วยปหานสัญญา จิตได้รับอบรมด้วยวิราคสัญญา และจิตได้รับอบรม ด้วยนิโรธสัญญา เมื่อนั้น ภิกษุนั้นพึงหวังผลได้ ๒ อย่าง อย่างใดอย่างหนึ่ง คือ อรหัตผลในปัจจุบัน หรือเมื่อยังมีอุปาทานเหลืออยู่ เป็นพระอนาคามี แสดงน้อยลง

ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าแม้บัณฑิตผู้ฉลาด มีปัญญาใคร่ครวญ อายตนะภายใน ๖ นั้น ทางตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ก็จะปรากฏว่าเป็นของ ว่าง เปล่า สูญทั้งนั้น ฯ คำว่า โจรผู้ฆ่าชาวบ้านนั้น เป็นชื่อแห่งอายตนะภายนอก ๖ ตาย่อม เดือดร้อนเพราะรูปเป็นที่พอใจและไม่พอใจ หูย่อมเดือดร้อน เพราะเสียงเป็นที่ พอใจและไม่พอใจ จมูกย่อมเดือดร้อนเพราะกลิ่นเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ลิ้น ย่อมเดือดร้อนเพราะรสเป็นที่พอใจและไม่พอใจ กายย่อมเดือดร้อนเพราะโผฏ- *ฐัพพะเป็นที่พอใจและไม่พอใจ ใจย่อมเดือดร้อนเพราะธรรมารมณ์เป็นที่พอใจและ ไม่พอใจ คำว่า ห้วงน้ำใหญ่นั้น เป็นชื่อแห่งโอฆะทั้ง ๔ คือ กาโมฆะ ภโวฆะ ทิฏโฐฆะ อวิชโชฆะ คำว่า ฝั่งข้างนี้อันเป็นที่น่ารังเกียจ เต็มไปด้วยภัยอันตราย นั้น เป็นชื่อแห่งร่างกายของตน คำว่า ฝั่งข้างโน้นเป็นที่เกษม ปลอดภัยนั้น เป็นชื่อแห่งนิพพาน คำว่า แพนั้น เป็นชื่อแห่งอริยมรรคมีองค์ ๘ ประการ คือ สัมมาทิฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ คำว่า พยายามข้ามไปด้วยมือและเท้า เป็นชื่อแห่ง วิริยารัมภะ คำว่า ผู้เป็นพราหมณ์ว่ายข้ามฟากถึงฝั่งโน้นแล้วขึ้นบกไป เป็นชื่อ แห่งพระอรหันต์

คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร

พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

วันพุธที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ท่องจักรวาล พระเจ้าและจักรวาล

ท่องจักรวาล 76 เอกภพต่างมิติ

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทราย

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

หลวงพ่อฤาษี วัดท่าซุง-วิปัสสนาญาณ ๙

เรื่องเกิดขึ้นที่กรุงสาวัตถี เทวดานั้นยืนอยู่ ณ ที่สมควรแล้ว ได้กล่าวคาถานี้ในสำนักของพระผู้มีพระภาคว่า กาล๑ล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัย๒ละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรทำบุญที่นำความสุขมาให้ พระผู้มีพระภาคตรัสว่า กาลล่วงเลยไป คืนผ่านพ้นไป ช่วงแห่งวัยละไปตามลำดับ บุคคลพิจารณาเห็นภัยนี้ในมรณะ ควรละโลกามิส มุ่งสู่สันติเถิด

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ เราตามหานายช่างผู้สร้างเรือน เมื่อไม่พบ จึงท่องเที่ยวไปในสงสารเป็นอเนกชาติ เพราะการเกิดบ่อย ๆ เป็นทุกข์ นายช่างเอ๋ย เราพบท่านแล้ว ท่านจะสร้างเรือนไม่ได้อีก ซี่โครงทุกซี่ของท่านเราหักแล้ว ยอดเรือนเราก็รื้อแล้ว จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว เราได้บรรลุธรรมเป็นที่สิ้นตัณหาแล้ว

วันอาทิตย์ที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2557

กรุณาธารณีสูตร 2 กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรง และตรงด้วยดี พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต พึงเป็นผู้มีอินทร์สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นใด ด้วยกรรม ลามกอันใด ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา] ทั้งหมดไม่เหลือเลย. เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรืออ้วน. เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหาภพเกิด. ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด. สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขา ไม่ว่าในที่ไร ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กัน และกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น. มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ ทั้งปวง แม้ฉันนั้น. พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลก ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรม อันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู. ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอน ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน [คือไม่ง่วงนอน] เพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ว่า พรหมวิหาร ในพระศาสนานี้. มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ [สักกายทิฏฐิ] เป็นผู้ มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ [สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติ มรรค] นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็ ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก โดยแท้แล. จบเมตตสูตร

กรุณาธารณีสูตร กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรง และตรงด้วยดี พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต พึงเป็นผู้มีอินทร์สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นใด ด้วยกรรม ลามกอันใด ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา] ทั้งหมดไม่เหลือเลย. เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรืออ้วน. เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหาภพเกิด. ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด. สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขา ไม่ว่าในที่ไร ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กัน และกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น. มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ ทั้งปวง แม้ฉันนั้น. พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลก ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรม อันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู. ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอน ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน [คือไม่ง่วงนอน] เพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ว่า พรหมวิหาร ในพระศาสนานี้. มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ [สักกายทิฏฐิ] เป็นผู้ มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ [สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติ มรรค] นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็ ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก โดยแท้แล. จบเมตตสูตร

วิธีละกิเลส วิธีเข้าถึงคำสอนของพระพุทธเจ้า กิจนั้นใด อันพระอริยะบรรลุบทอันสงบ ทำแล้ว กิจนั้นอันกุลบุตรผู้ฉลาดพึงทำ กุลบุตรนั้น พึงเป็นผู้อาจหาญ ตรง และตรงด้วยดี พึงเป็นผู้ว่าง่าย อ่อนโยน ไม่มีอติมานะ พึงเป็นผู้สันโดษ เลี้ยงง่าย เป็นผู้มีกิจน้อย ประพฤติเบากายจิต พึงเป็นผู้มีอินทร์สงบ มีปัญญารักษาตัว เป็น ผู้ไม่คะนอง ไม่ติดในสกุลทั้งหลาย วิญญูชนติเตียนชนทั้งหลายอื่นใด ด้วยกรรม ลามกอันใด ก็ไม่พึงประพฤติกรรมอันลามกนั้น พึงแผ่ไมตรีจิตไปในหมู่สัตว์ว่า ขอสัตว์ทั้งปวง จงเป็นผู้มีสุข มีความเกษม มีตนถึงความสุขเถิด สัตว์มีชีวิตทั้งหลาย เหล่าใดเหล่าหนึ่งมีอยู่ ยัง เป็นผู้สะดุ้ง [มีตัณหา] หรือเป็นผู้มั่นคง [ไม่มีตัณหา] ทั้งหมดไม่เหลือเลย. เหล่าใดยาวหรือใหญ่ ปานกลางหรือสั้น ผอมหรืออ้วน. เหล่าใดที่เราเห็นแล้ว หรือมิได้เห็น เหล่าใด อยู่ในที่ไกลหรือไม่ไกล ที่เกิดแล้ว หรือที่แสวงหาภพเกิด. ขอสัตว์ทั้งปวงเหล่านั้น จงเป็นผู้มีตนถึงความสุขเถิด. สัตว์อื่นไม่พึงข่มเหงสัตว์อื่น ไม่พึงดูหมิ่นอะไร ๆ เขา ไม่ว่าในที่ไร ๆ เลย ไม่พึงปรารถนาทุกข์แก่กัน และกัน เพราะความกริ้วโกรธ และเพราะความคุมแค้น. มารดาถนอมบุตรคนเดียวผู้เกิดในตน ด้วยชีวิต ฉันใด พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในสัตว์ ทั้งปวง แม้ฉันนั้น. พึงเจริญเมตตามีในใจไม่มีประมาณ ในโลก ทั้งปวง ทั้งเบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องขวาง เป็นธรรม อันไม่คับแค้น ไม่มีเวร ไม่มีศัตรู. ผู้เจริญเมตตานั้น ยืนก็ดี เดินก็ดี นั่งก็ดี นอน ก็ดี เป็นผู้ปราศจากความง่วงนอน [คือไม่ง่วงนอน] เพียงใด ก็พึงตั้งสตินั้นไว้เพียงนั้น. ปราชญ์ทั้งหลายเรียกการอยู่นี้ว่า พรหมวิหาร ในพระศาสนานี้. มีเมตตา ไม่เข้าถึงทิฏฐิ [สักกายทิฏฐิ] เป็นผู้ มีศีล ถึงพร้อมด้วยทัสสนะ [สัมมาทิฏฐิในโสดาปัตติ มรรค] นำความหมกมุ่นในกามทั้งหลายออกไปได้ ก็ ย่อมไม่เข้าถึงการนอนในครรภ์อีก โดยแท้แล. จบเมตตสูตร

กุลบุตรเหล่าใด มีศรัทธา ออกบวชเป็นบรรพชิต ไม่เป็นคนโอ้อวด ไม่มีมารยา ไม่หลอกลวง ไม่ฟุ้งซ่าน ไม่ถือตน ไม่กลับกลอก ไม่ปากกล้า ไม่มีวาจาเคลือบแคลง คุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย รู้ประมาณในโภชนะ ประกอบความเพียร มีความแพ่งเล็งในสามัญคุณ มีความเคารพอย่างแรงกล้าในสิกขา ไม่เป็นผู้มักมาก ไม่ย่อหย่อน ทอดธุระในการท้อถอย เป็นหัวหน้าในความสงัด ปรารภความเพียร มีตนส่งไป มีสติตั้งมั่น มีสัมปชัญญะ มีจิตมั่นคง มีจิตแน่วแน่ มีปัญญา ไม่เป็นดุจคนใบ้ กุลบุตรเหล่านั้นฟังธรรมปริยายของท่าน

วันศุกร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ผู้สละโลกหญ้าสดในทะเลทรายเรารู้ของเราเองอย่างนี้ รู้ลงไปซื่อๆ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ คอยรู้ไป ถ้าเราไปเพ่งจิตให้นิ่ง มันจะไม่มีกิเลสอะไรให้ดู มันจะนิ่งๆ ..

พระธรรมเทศนาของพระพุทธเจ้าเรารู้ของเราเองอย่างนี้ รู้ลงไปซื่อๆ กิเลสอะไรเกิดขึ้นในจิตในใจ คอยรู้ไป ถ้าเราไปเพ่งจิตให้นิ่ง มันจะไม่มีกิเลสอะไรให้ดู มันจะนิ่งๆ ..

โอวาทพระอานนท์เถระจิตใจของเรามีคุณภาพระดับไหน เราก็เห็นธรรมะระดับนั้น ถ้าวันไหนจิตใจเราขุ่นมัว โลกทั้งโลกจะขุ่นมัวไปหมด วันไหนจิตใจเราเบิกบานแจ่มใส โลกนี้เบิกบานแจ่มใสไปกับเราด้วย ถ้าวันใดใจของเราพ้นจากความปรุงแต่ง เราจะเห็นธรรมที่พ้นความปรุงแต่ง

วันพฤหัสบดีที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2557

เรื่องนี้คล้ายนิยายอิงธรรมะแต่เป็นเรื่องจริงเมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด

ลำดับนั้น พระองค์ทรงเห็นกุลบุตรปราศจากการคะนองมือ การคะนองเท้าและการสั่นศีรษะ นั่งเหมือนเสาเขื่อนที่ฝังไว้อย่างดีแล้ว เหมือนพระพุทธรูปทองไม่หวั่นไหวเป็นนิตย์ จึงตรัสว่า เอตํ ปาสาทิกํ นุโข เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ปาสาทิโก คือ นำมาซึ่งความเลื่อมใส. ก็คำนั้นเป็นภาวนปุงสกลิงค์. ในคำนั้นมีเนื้อความดังนี้ว่า กุลบุตรย่อมเป็นไปด้วยอิริยาบถอันน่าเลื่อมใส เพราะฉะนั้น อิริยาบถเป็นกิริยาที่น่าเลื่อมใสโดยประการใด ก็ย่อมเป็นไปโดยประการนั้น. ในอิริยาบถทั้ง ๔ อย่าง อิริยาบถ ๓ อย่างย่อมไม่งาม. จริงอยู่ ภิกษุเดินไป มือทั้งหลายย่อมแกว่ง เท้าทั้งหลายย่อมเคลื่อนไป ศีรษะย่อมสั่น. กายของภิกษุผู้ยืน ย่อมแข็งกระด้าง. อิริยาบถแม้ของภิกษุผู้นอน ย่อมไม่น่าพอใจ. แต่เมื่อภิกษุปัดกวาดที่พักกลางวัน ในปัจฉาภัต ปูแผ่นหนัง มีมือและเท้าชำระล้างดีแล้ว นั่งขัดสมาธิอันประกอบด้วยสนธิสี่นั้นเทียว อิริยาบถย่อมงาม. ก็กุลบุตรนี้ขัดสมาธินั่งเข้าอานาปานจตุตถฌาน กุลบุตรประกอบด้วยอิริยาบถด้วยประการฉะนี้แล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า กุลบุตรน่าเลื่อมใสหนอแล. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปริวิตกว่า เอาเถิดเราควรจะถามดูบ้าง แล้วตรัสถาม เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นเป็นผู้บวชอุทิศพระองค์หรือ. ตอบว่า ไม่ทรงรู้หามิได้ แต่เมื่อไม่ตรัสถาม ถ้อยคำก็ไม่ตั้งขึ้น เมื่อถ้อยคำไม่ตั้งขึ้นแล้ว การแสดงย่อมไม่เกิดขึ้น เพราะฉะนั้น จึงตรัสถาม เพื่อเริ่มตั้งถ้อยคำขึ้น. บทว่า ทิสฺวาปาหํ น ชาเนยฺยํ ความว่า ชนทั้งหมดย่อมรู้พระตถาคตผู้รุ่งโรจน์ด้วยพุทธสิริว่านี้พระพุทธเจ้า. การรู้นั้นไม่น่าอัศจรรย์. แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปกปิดพระพุทธรัศมีเสด็จไปด้วยอำนาจของภิกษุผู้บิณฑบาตรูปหนึ่ง จึงรู้ได้ยาก. ท่านปุกกุสาติกล่าวสภาพตามเป็นจริงว่า เราไม่รู้ด้วยประการฉะนี้. ความจริงเป็นอย่างนั้น ท่านปุกสุสาติไม่รู้พระผู้มีพระภาคเจ้านั้น แม้ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อด้วยกัน. บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางสงบระงับแล้ว ทรงมีพระดำริ. บทว่า เอวมาวุโส ความว่า กุลบุตรได้อ่านสักว่าสาส์นที่พระสหายส่งไป สละราชสมบัติออกบวช ด้วยคิดว่า เราจักได้ฟังพระธรรมเทศนาอันไพเราะของพระทศพล ครั้นบรรพชาแล้วก็เดินทางไกลประมาณนี้ ก็ไม่ได้พระศาสดาผู้ตรัสสักบทว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน กุลบุตรนั้นจักไม่ฟังคำที่ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน โดยเคารพหรือ. กุลบุตรนี้เป็นเหมือนนักเลงสุราที่กระหายและเหมือนช้างที่ตกมันฉะนั้น. เพราะฉะนั้น กุลบุตรเมื่อปฏิญาณถึงการฟังโดยความเคารพ จึงทูลว่า เอวมาวุโส ดังนี้. บทว่า ฉธาตุโร อยํ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ตรัสข้อปฏิบัติส่วนเบื้องต้นแก่กุลบุตร แต่ทรงปรารภเพื่อตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะเท่านั้น ซึ่งมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งอันเป็นปทัฎฐานแห่งพระอรหัต แต่เบื้องต้น. จริงอยู่ บุพภาคปฏิปทาของผู้ใดยังไม่บริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ตรัสบอกบุพภาคปฏิปทานี้ คือศีลสังวร ความคุ้มครองทวารในอินทรีย์ทั้งหลาย ความเป็นผู้รู้ประมาณในโภชนะ การประกอบเนืองๆ ซึ่งความเพียรเป็นเครื่องตื่น สัทธรรม ๗ ฌาน ๔ แก่ผู้นั้นก่อนเทียว. แต่บุพภาคปฏิปทานั้นของผู้ใดบริสุทธิ์ พระผู้มีพระภาคเจ้าจะไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทานั้น แต่จักตรัสบอกวิปัสสนานั้นแล ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตแก่ผู้นั้น. ก็บุพภาคปฏิปทาของกุลบุตรบริสุทธิ์แล้ว. จริงอย่างนั้น กุลบุตรนั้นอ่านพระสาส์นแล้วขึ้นปราสาทอันประเสริฐนั้นเทียว ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดขึ้นแล้ว จึงเดินทางไปตลอด ๑๙๒ โยชน์ ยังกิจในยานให้สำเร็จ. แม้สามเณรศีลของกุลบุตรนั้นก็บริบูรณ์ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสบุพภาคปฏิปทา แต่ทรงปรารภเพื่อจะตรัสบอกวิปัสสนาลักษณะอันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่ง ซึ่งเป็นปทัฏฐานแห่งพระอรหัตเท่านั้นแก่กุลบุตรนั้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า ฉธาตุโร ได้แก่ ธาตุ ๖ มีอยู่ บุรุษไม่มี. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงสิ่งที่ไม่มีด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่มีในที่ไหน ทรงแสดงสิ่งที่ไม่มีด้วยสิ่งที่ไม่มีในที่ไหน คำดังกล่าวมานี้พึงให้พิสดารโดยนัยที่กล่าวแล้วในสัพพาสวสูตรนั้นแล. แต่ในธาตุวิภังคสูตรนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อจะทรงแสดงสิ่งที่มีด้วยสิ่งที่ไม่มี จึงตรัสอย่างนั้น. ก็ถ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสละบัญญัติว่า บุรุษ ตรัสว่า ธาตุเท่านั้นแล้วทรงวางพระหฤทัย กุลบุตรก็พึงทำความสนเท่ห์ ถึงความงงงวยไม่อาจเพื่อรับเทศนาได้. เพราะฉะนั้น พระตถาคตจึงทรงละบัญญัติว่า บุรุษโดยลำดับ ตรัสสักว่า บัญญัติว่า สัตว์หรือบุรุษหรือบุคคลเท่านั้น โดยปรมัตถ์ ชื่อว่าสัตว์ ไม่มี ทรงวางพระทัยในธรรมสักว่า ธาตุเท่านั้น ตรัสไว้ในอนังคณสูตรว่า เราจักให้แทงตลอดผลสาม ดังนี้. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสอย่างนี้ ดุจอาจารย์ให้เรียนศิลปะด้วยภาษานั้น เพราะเป็นผู้ฉลาดในภาษาอื่น. ในธาตุวิภังคสูตรนั้น ธาตุ ๖ ของบุคคลนั้น เพราะฉะนั้น บุคคลนั้นจึงชื่อว่ามีธาตุ ๖. มีอธิบายว่า ท่านย่อมจำบุคคลใดว่า บุรุษ บุคคลนั้นมีธาตุ ๖ ก็ในที่นี้โดยปรมัตถ์ก็มีเพียงธาตุเท่านั้น. ก็บทว่า ปุริโส คือ เป็นเพียงบัญญัติ. แม้ในบทที่เหลือก็มีนัยนี้เหมือนกัน. ปติฏฐาน เรียกว่า อธิษฐาน ในบทนี้ว่า จตุราธิฏฺฐาโน ความว่า มีอธิษฐานสี่. มีอธิบายว่า ดูก่อนภิกษุ บุรุษนี้นั้นมีธาตุ ๖ มีผัสสอายตนะ ๖ มีมโนปวิจาร ๑๘ ดังนี้. กุลบุตรนั้นเวียนกลับจากธาตุนี้เทียว ถือเอาอรหัตอันเป็นสิทธิที่สูงสุด ดำรงอยู่ในฐานะ ๔ นี้ ถือเอาพระอรหัต เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ามีอธิษฐาน ๔. บทว่า ยตฺถฏฺฐิตํ ได้แก่ ดำรงอยู่ในอธิษฐานเหล่าใด. บทว่า มญฺญสฺสวา นปฺปวตฺตนฺติ ได้แก่ ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนเป็นไป. บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ได้แก่ มุนีผู้พระขีณาสพ เรียกว่าสงบแล้ว ดับแล้ว. บทว่า ปญฺญํ นปฺปมชฺเชยฺย ความว่า ไม่พึงประมาทสมาธิปัญญาและวิปัสสนาปัญญาตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อแทงตลอดอรหัตผลปัญญา. บทว่า สจฺจมนุรกฺเขยฺย ความว่า พึงรักษาวจีสัจ ตั้งแต่ต้นเพื่อกระทำให้แจ้งซึ่งปรมัตถสัจ คือนิพพาน. บทว่า จาคมนุพฺรูเหยฺย ความว่า พึงพอกพูนการเสียสละกิเลสแต่ต้นเทียว เพื่อทำการสละกิเลสทั้งปวงด้วยอรหัตมรรค. บทว่า สนฺติเมว โส สิกฺเขยฺย ความว่า พึงศึกษาการสงบระงับกิเลสตั้งแต่ต้นเทียว เพื่อสงบระงับกิเลสทั้งหมดด้วยอรหัตมรรค. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสบุพภาคาธิษฐานทั้งหลาย มีสมถวิปัสสนาปัญญาเป็นต้นนี้ เพื่อประโยชน์แก่การบรรลุอธิษฐานทั้งหลายมีปัญญาธิษฐานเป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. บทว่า ผสฺสายตนํ ความว่า อายตนะ คืออาการของผัสสะ. บทว่า ปญฺญาธิฏฺฐาโน เป็นต้น พึงทราบด้วยอำนาจแห่งปัญญาทั้งหลายมีอรหัตผลปัญญาเป็นต้น ซึ่งได้กล่าวแล้วในบทก่อน. บัดนี้ เป็นอันกล่าวถึงบทว่า อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไปด้วยอำนาจแห่งมาติกาที่ตั้งไว้แล้ว. แต่ครั้นบรรลุอรหัตแล้ว กิจด้วยคำว่า ไม่พึงประมาทปัญญาเป็นต้น ย่อมไม่มีอีก. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงวางมาติกาที่มีธาตุกลับกันแล้ว เมื่อจะทรงจำแนกวิภังค์ด้วยอำนาจตามธรรมเท่านั้น จึงตรัสคำว่า ไม่พึงประมาทปัญญา ดังนี้เป็นต้น ด้วยประการฉะนี้. ถามว่า ในบาทคาถานั้น ใครประมาทปัญญา ใครไม่ประมาทปัญญา. ตอบว่า บุคคลใดบวชในศาสนานี้ก่อนแล้ว สำเร็จชีวิตด้วยอเนสนา ๒๑ วิธีด้วยอำนาจกรรมมีเวชกรรมเป็นต้น ไม่อาจเพื่อตั้งจิตตุปบาทโดยสมควรแก่บรรพชา บุคคลนี้ชื่อว่าประมาทปัญญา. ส่วนบุคคลใดบวชในศาสนาแล้วตั้งอยู่ในศีล เล่าเรียนพระพุทธพจน์ สมาทานธุดงค์อันเป็นที่สบาย ถือกัมมัฏฐานอันชอบจิต อาศัยเสนาสนะอันสงัด กระทำกสิณบริกรรม ยังสมาบัติให้เกิดขึ้น เจริญวิปัสสนาว่า ในวันนี้แล พระอรหัตดังนี้ เที่ยวไป บุคคลนี้ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. แต่ในสูตรนี้ ได้ตรัสถึงความไม่ประมาทปัญญานั้นด้วยอำนาจแห่งธาตุกัมมัฏฐาน. ส่วนคำใดพึงกล่าวในธาตุกัมมัฏฐานนั้น คำนั้นได้กล่าวไว้แล้วในสูตรทั้งหลายมีหัตถิปโทปมสูตรเป็นต้นในหนก่อนนั้นแล. ในสูตรนี้มีอนุสนธิ โดยเฉพาะว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีก คือวิญญาณดังนี้. เพราะได้ตรัสรูปกัมมัฏฐานในหนก่อนแล้ว. บัดนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าเพื่อจะทรงเปลี่ยนแสดงอรูปกัมมัฏฐาน ด้วยอำนาจเวทนา จึงทรงปรารภเทศนานี้. ก็หรืออรูปกัมมัฏฐานนี้ใดอันเป็นวิญญาณ ผู้กระทำกรรมด้วยอำนาจวิปัสสนาที่ภิกษุนี้พึงถึงในธาตุทั้งหลายมีปฐวีธาตุเป็นต้น พระผู้มีพระภาคเจ้าแม้เมื่อจะทรงจำแนกแสดงอรูปกัมมัฏฐานนั้นด้วยอำนาจวิญญาณธาตุ จึงทรงปรารภเทศนานี้. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า อวสิสฺสติ ความว่า จะเหลือเพื่อประโยชน์อะไร. จะเหลือเพื่อประโยชน์แก่การแสดงของพระศาสดา และเพื่อประโยชน์แก่การแทงตลอดของกุลบุตร. บทว่า ปริสุทธํ ได้แก่ ปราศจากอุปกิเลส. บทว่า ปริโยทาตํ ได้แก่ ประภัสสร. บทว่า สุขนฺติปิ ปชานาติ ความว่า ย่อมรู้ชัดว่า เมื่อเราเสวยสุข ชื่อว่าเสวยสุขเวทนา. แม้ในบททั้งสองที่เหลือก็นัยนี้เหมือนกัน. ก็ถ้าเวทนากถานี้ไม่ได้ตรัสไว้ในหนก่อนไซร้ ก็ควรเป็นไปเพื่อตรัสไว้ในสูตรนี้. ก็เวทนากถานั้นได้ตรัสไว้แล้วในสติปัฏฐานนั้นเทียว เพราะฉะนั้น พึงทราบโดยนัยที่กล่าวแล้วในสติปัฏฐานนั้นแล. บทเป็นต้นอย่างนี้ว่า สุขเวทนียํ ได้กล่าวไว้แล้ว เพื่อแสดงความเกิดขึ้นและความดับด้วยอำนาจปัจจัย. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สุขเวทนียํ คือ เป็นปัจจัยแห่งสุขเวทนา. แม้ในบทที่เหลือทั้งหลายก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อุเปกฺขาเยว อวสิสฺสติ ความว่า ก็ศิษย์จับมุกดาที่อาจารย์ผู้ทำแก้วมณีผู้ฉลาด ร้อยเพชรด้วยเข็มเอามาวางแล้ววางอีกให้ในแผ่นหนังเมื่อทำการร้อยด้วยด้าย ชื่อว่าทำเครื่องประดับมีตุ้มหูแก้วมุกดาและข่ายแก้วมุกดาเป็นต้นชื่อฉันใด กุลบุตรนี้เมื่อมนสิการซึ่งกัมมัฏฐานที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสให้แล้ว ชื่อว่าได้กระทำให้คล่องแคล่วฉันนั้นเหมือนกัน เพราะฉะนั้น รูปกัมมัฏฐานก็ดี อรูปกัมมัฏฐานก็ดี ได้เกิดคล่องแคล้ว ด้วยประการเท่านี้. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่ คืออุเบกขา ดังนี้. ถามว่า จะเหลือเพื่ออะไร. ตอบว่า เพื่อการทรงแสดงของพระศาสดา. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า เพื่อแทงตลอดของกุลบุตรดังนี้บ้าง. คำนั้นไม่ควรถือเอา. กุลบุตรได้อ่านสาส์นของพระสหายได้ยืนอยู่บนพื้นปราสาท ยังอานาปานจตุตถฌานให้เกิดแล้ว ก็อานาปานจตุตถฌานนั้น ย่อมยังยานกิจของกุลบุตรนั้นผู้เดินทางมาประมาณนี้ให้สำเร็จ เพราะฉะนั้น จึงเหลือเพื่อการตรัสของพระศาสดาเท่านั้น. ก็ในฐานะนี้ พระศาสดาตรัสคุณในรูปาวจรฌานแก่กุลบุตร. เพราะได้ตรัสว่า ดูก่อนภิกษุ รูปาวจรจตุตถฌานนี้ คล่องแคล่วก่อน ดังนี้. บทว่า ปริสุทฺธา เป็นต้น เป็นการแสดงคุณแห่งอุเบกขานั้นเทียว. บทว่า อุกฺกํ พนฺเธยฺย คือ เตรียมเบ้าเพลิง. บทว่า อาลิมฺเปยฺย ความว่า ใส่ถ่านเพลิงลงในเบ้านั้นแล้วจุดไฟ เป่าด้วยสูบให้ไฟลุกโพลง. บทว่า อุกฺกามุเข ปกฺขิเปยฺย ความว่า คีบถ่านเพลิงวางไว้บนถ่านเพลิง หรือใส่ถ่านเพลิงบนถ่านเพลิงนั้น. บทว่า นีหตํ คือ มีมลทินอันนำออกไปแล้ว. บทว่า นินฺนิตกสาวํ ได้แก่ มีน้ำฝาดออกแล้ว. บทว่า เอวเมว โข ความว่า ทรงแสดงคุณว่า จตุตถฌานูเปกขานี้ก่อน ย่อมมีเพื่อประโยชน์แก่ธรรมที่ท่านปรารถนา ในบรรดาธรรมนี้คือ วิปัสสนา อภิญญา นิโรธ ภโวกกันติ เหมือนทองนั้นย่อมเป็นไปเพื่อชนิดแห่งเครื่องประดับที่ปรารถนาและต้องการแล้วฉะนั้น. ถามว่า ก็เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ตรัสโทษ เพื่อความผ่องแผ้วจากความใคร่ในรูปาวจรจตุตถฌานแม้นี้ แต่ตรัสคุณเล่า. ตอบว่า เพราะการยึดมั่นความใคร่ในจตุตถฌานของกุลบุตร มีกำลัง. ถ้าจะพึงตรัสโทษไซร้ กุลบุตรก็จะพึงถึงความสงสัย ความงงงวยว่า เมื่อเราบวชแล้ว เดินทางมาตลอด ๑๙๒ โยชน์ จตุตถฌานนี้ยังยานกิจให้สำเร็จได้ เรามาสู่หนทางประมาณเท่านี้ ก็มาแล้วเพื่อความยินดีในฌานสุข ด้วยฌานสุข พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสโทษแห่งธรรมอันประณีตเห็นปานนี้ ทรงรู้หนอแลจึงตรัส หรือไม่ทรงรู้จึงตรัส ดังนี้ เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสคุณ. ในบทนี้ว่า ตทนุธมฺมํ ดังนี้ อรูปาวจรฌาน ชื่อว่าธรรม. รูปาวจรฌาน เรียกว่าอนุธรรม เพราะเป็นธรรมคล้อยตามอรูปาวจรฌานนั้น. อีกประการหนึ่ง วิปากฌาน ชื่อว่าธรรม กุศลฌาน ชื่อว่าอนุธรรม. บทว่า ตทุปาทานา คือ การถือเอาธรรมนั้น. บทว่า จิรํ ทีฆมทฺธานํ ได้แก่ ตลอด ๒๐,๐๐๐ กัป. ก็คำนั้น ตรัสด้วยอำนาจแห่งวิบาก. แม้นอกจากนี้ก็มีนัยเหมือนกัน. . พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นตรัสคุณของอรูปาวจรฌาน โดยวาระ ๔ อย่างนี้แล้ว บัดนี้ เมื่อจะทรงแสดงโทษแห่งอรูปาวจรฌานนั้น จึงตรัสว่า เธอรู้ชัดอย่างนี้ เป็นต้น. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า สงฺขตเมตํ ความว่า ในปฐมพรหมโลกนั้น มีอายุ ๒๐,๐๐๐ กัป แม้ก็จริง แต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อทรงกระทำจิตนั้นให้เป็นการปรับปรุง คือความสำเร็จ ความพอกพูนก็ย่อมทรงกระทำ. อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน ชั่วคราว มีการเคลื่อนไป แตกดับและกระจัดกระจายเป็นธรรมดาคล้อยตามความเกิด ถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย. แม้ในวิญญาณายตนะเป็นต้น ก็นัยนี้เหมือนกัน. บัดนี้ เมื่อจะทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. เหมือนหมอผู้ฉลาดเห็นความเปลี่ยนแปลงแห่งพิษแล้ว กระทำใจให้พิษเคลื่อนจากฐานให้ขึ้นข้างบน ไม่ให้เพื่อจับคอหรือศีรษะ ให้พิษตกลงในแผ่นดินฉันใด พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงคุณในอรูปาวจรฌานแก่กุลบุตรฉันนั้นเหมือนกัน. กุลบุตร ครั้นฟังอรูปาวจรฌานนั้นแล้ว ครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌาน ตั้งความปรารถนาในอรูปาวจรฌาน. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงรู้ความที่กุลบุตรนั้นครอบงำความใคร่ในรูปาวจรฌานนั้นแล้ว จึงทรงแสดงโทษนั้นทั้งหมด ด้วยบทเดียวเท่านั้นว่า สงฺขตเมตํ ดังนี้แก่ภิกษุผู้ยังไม่บรรลุ ยังไม่ได้อรูปาวจรฌานนั้นว่า ชื่อว่าสมบัติในอากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้นมีอยู่ ก็อายุของผู้ได้อากาสานัญจายตนะเป็นต้นนั้น ในพรหมโลกที่หนึ่งมี ๒๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สองมี ๔๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สามมี ๖๐,๐๐๐ กัป ในพรหมโลกที่สี่มี ๘๔,๐๐๐ กัป แต่อายุนั้นไม่เที่ยง ไม่ยั่งยืน ไม่แน่นอน เป็นไปชั่วคราว มีการเคลื่อนไป แตกดับและกระจัดกระจายเป็นธรรมดา คล้อยตามความเกิด ถูกชราบั่นทอน อันมรณะครอบงำ ตั้งอยู่ในทุกข์ ไม่มีอะไรต้านทาน ไม่เป็นที่เร้นลับ ไม่เป็นที่พึ่ง ไม่เป็นที่พึ่งพาอาศัย แม้ได้เสวยสมบัติในพรหมโลกนั้น ตลอดกาลประมาณเท่านี้ ทำกาลกิริยาอย่างปุถุชนแล้ว พึงตกในอบายสี่อีก. กุลบุตรได้ฟังพระพุทธพจน์นั้นแล้ว ยึดมั่นความใคร่ในอรูปาวจรฌาน. พระผู้มีพระภาคเจ้าครั้นทรงทราบความที่กุลบุตรนั้นเป็นผู้ยึดมั่นความใคร่ในรูปาวจรและอรูปาวจรแล้ว เมื่อจะทรงถือยอดคืออรหัต จึงตรัสว่า บุคคลนั้นจะไม่คำนึง ดังนี้เป็นต้น. ก็หรือว่ามหาโยธะ (นายทหารผู้ใหญ่) คนหนึ่ง ยังพระราชาพระองค์หนึ่งให้พอพระราชหฤทัยแล้ว จึงได้บ้านส่วยซึ่งมีรายได้หนึ่งแสน. พระราชาทรงระลึกถึงอานุภาพของมหาโยธะนั้นว่า โยธะมีอานุภาพมาก เขาได้ทรัพย์น้อย ดังนี้ จึงพระราชทานอีกว่า ดูก่อนพ่อ บ้านนี้ไม่สมควรแก่ท่าน ท่านจงรับเอาบ้านอื่นซึ่งมีรายได้ตั้งสี่แสน. เขารับสนองพระบรมราชโอการว่า ดีละ พระเจ้าข้า ละบ้านนั้นแล้วรับเอาบ้านนี้. พระราชาตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะนั้นผู้ยังไม่ถึงบ้านนั้นแล ทรงส่งไปว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น แต่ในที่โน้นมีนครใหญ่ ท่านพึงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิดดังนี้. มหาโยธะนั้นพึงเสวยราชย์อย่างนั้น. ในข้อนั้น พึงเห็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเหมือนพระราชา. ปุกกุสาติกุลบุตรเหมือนมหาโยธะ. อานาปานจตุตถฌานเหมือนบ้านที่ได้ครั้งแรก. การให้กระทำการยึดมั่นซึ่งความใคร่ในอานาปานฌานแล้วตรัสอรูป เหมือนกาลให้มหาโยธะสละบ้านนั้นแล้วตรัสว่า เจ้าจงถือเอาบ้านนี้. การที่ให้กุลบุตรนั้นเปลี่ยนการปรารถนาในสมาบัติเหล่านั้นที่ยังไม่ถึง ด้วยการทรงแสดงโทษในอรูปว่า สงฺขตเมตํ แล้วทรงถือเอาเทศนาด้วยยอดคืออรหัตในเบื้องสูง เหมือนกาลที่ตรัสสั่งให้เรียกมหาโยธะซึ่งยังไม่ถึงบ้านนั้น แล้วตรัสว่า ท่านจะมีประโยชน์อะไรด้วยบ้านนั้น อหิวาตกโรคกำลังเกิดในบ้านนั้น ในที่โน้นมีนคร ท่านจงยกฉัตรเสวยราชย์ในนครนั้นเถิด. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า เนว อภิสงฺขโรติ คือ ไม่สั่งสม ได้แก่ไม่ทำให้เป็นกอง. บทว่า น อภิสญฺเจตยติ คือ ไม่ให้สำเร็จ. บทว่า ภวาย วา วิภวาย วา ได้แก่ เพื่อความเจริญหรือเพื่อความเสื่อม. พึงประกอบแม้ด้วยอำนาจแห่งสัสสตะและอุจเฉทะ. บทว่า น กิญจิ โลเก อุปาทิยติ ความว่า ไม่ถือ ไม่ลูบคลำ แม้ธรรมหนึ่งอะไรๆ ในธรรมทั้งหลายมีรูปเป็นต้นในโลกด้วยตัณหา. บทว่า นาปรํ อิตฺถตฺตายาติ ปชานาติ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตั้งอยู่ในพุทธวิสัยของพระองค์ ทรงถือยอดคืออรหัตด้วยเทศนา. ส่วนกุลบุตรแทงตลอดสามัญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน. พระราชาเสวยโภชนะมีรสต่างๆ ด้วยภาชนะทองคำ ทรงปั้นก้อนข้าวโดยประมาณของพระองค์ ครั้นเมื่อพระราชกุมารประทับนั่ง ณ พระเพลา แสดงความอาลัยในก้อนข้าวพึงทรงน้อมก้อนข้าวนั้น. กุมารทรงทำคำข้าวโดยประมาณพระโอษฐ์ของพระองค์ พระราชาทรงเสวยคำข้าวที่เหลือด้วยพระองค์เองหรือทรงใส่ในจานฉันใด พระตถาคตผู้ธรรมราชาก็ฉันนั้น เมื่อทรงถือยอดคือพระอรหัตโดยประมาณพระองค์ ทรงแสดงเทศนา. กุลบุตรแทงตลอดสามัญญผล ๓ ตามอุปนิสัยของตน. ก็ในกาลก่อนแต่นี้ กุลบุตรนั้นแสดงกถาอันประกอบด้วยไตรลักษณ์ อันมีความว่างเปล่าอย่างยิ่งเห็นปานนี้ว่า ขันธ์ ธาตุ อายตนะทั้งหลาย ย่อมไม่กังขา ย่อมไม่สงสัยว่า นัยว่าไม่เป็นอย่างนั้น ข้อนั้นอาจารย์ของเรากล่าวแล้วอย่างนี้ ทราบว่า ความเป็นคนเขลา ความเป็นผู้ผิดไม่มี ด้วยประการฉะนี้. ได้ยินว่า ในฐานะบางอย่าง พระพุทธเจ้าทั้งหลายเสด็จไปด้วยเพศอันบุคคลไม่รู้ได้ ได้มีความสงสัย มีความเคลือบแคลงว่า นั่นเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าหนอแล. เพราะกุลบุตรนี้แทงตลอดอนาคามิผลแล้ว ในกาลนั้นจึงถึงความตกลงว่า บุคคลนี้ คือพระศาสดาของเรา. ถามว่า เมื่อเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร กุลบุตรจึงไม่แสดงโทษล่วงเกินเล่า. ตอบว่า เพราะไม่มีโอกาส. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำวาระอันไม่ตัดแล้วด้วยมาติกาตามที่ทรงยกขึ้นแล้ว จึงทรงแสดงพระเทศนา ดุจทรงให้หยั่งลงสู่อากาศคงคาฉะนั้นแล. บทว่า โส คือ พระอรหันต์นั้น. บทว่า อนชฺโฌสิตา ความว่า รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้ว เพื่อกลืน ติดใจ ถือเอา. บทว่า อนภินนฺทิตา คือ รู้ชัดว่า ไม่ควรแล้วเพื่อเพลิดเพลินด้วยอำนาจแห่งตัณหาและทิฐิ. บทว่า วิสํยุตฺโต น เวทิยติ ความว่า ก็ถ้าว่า ราคานุสัยเพราะปรารภสุขเวทนา ปฏิฆานุสัยเพราะปรารภทุกขเวทนา อวิชชานุสัยเพราะปรารภเวทนานอกนี้ พึงเกิดแก่บุคคลนั้นไซร้ บุคคลนั้น ก็ชื่อว่าประกอบพร้อมแล้วเสวย. แต่เพราะไม่เกิดจึงชื่อว่าไม่ประกอบเสวยคือสลัดออกแล้ว พ้นวิเศษแล้ว. บทว่า กายปริยนฺติกํ ความว่า เวทนาซึ่งเกิดขึ้นมีกายเป็นที่สุด จนถึงความเป็นไปแห่งกาย ต่อแต่นั้นก็ไม่เกิด. แม้ในบทที่สองก็นัยนี้เหมือนกัน. บทว่า อภินนฺทิตานิ สีติภวิสฺสนฺติ ความว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดเป็นอันชื่อว่าไม่ยินดีแล้ว เพราะความที่กิเลสทั้งหลายไม่มีพิเศษ ในอายตนะสิบสอง จักดับในอายตนะสิบสองนี้นั้นเทียว. ก็กิเลสทั้งหลายแม้ดับแล้วเพราะมาถึงนิพพาน ย่อมไม่มีในที่ใด เรียกว่าดับแล้วในที่นั้น. เนื้อความนี้นั้นพึงแสดงด้วยสมุทยปัญหาว่า ตัณหานั้น เมื่อจะดับย่อมดับในที่นั้น. เพราะฉะนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงตรัสว่า ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดแม้เป็นธรรมชาติสงบแล้ว เพราะอาศัยนิพพาน จักเป็นของสงบในโลกนี้แล. ถามว่า ก็พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสความเสวยอารมณ์ทั้งหลายในที่นี้มิใช่หรือ ทำไมจึงไม่ตรัสกิเลสทั้งหลายเล่า. ตอบว่า เพราะแม้ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายจะเป็นของสงบ เพราะไม่มีกิเลสนั้นเทียว. ธรรมดาความที่ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายเป็นของสงบ ไม่มีในฐานะนอกนี้ เพราะฉะนั้น คำนั้นกล่าวดีแล้ว. นี้เป็นการเปรียบเทียบอุปมาในบทนี้ว่า เอวเมว โข. เหมือนบุรุษคนหนึ่ง เมื่อประทีปน้ำมันไหม้อยู่ ครั้นน้ำมันหมดแล้ว ก็เติมน้ำมันเหล่านั้น เมื่อไส้หมดก็ใส่ไส้ เมื่อเป็นเช่นนั้นเปลวประทีปก็ไม่ดับฉันใด ปุถุชนก็ฉันนั้นเหมือนกัน ตั้งอยู่ในภพหนึ่ง ย่อมทำกุศลและอกุศล เขาก็จะเกิดในสุคติและในอบายทั้งหลาย เพราะกุศลและอกุศลนั้น เมื่อเป็นเช่นนั้น เวทนาทั้งหลายก็ยังไม่ขาดสูญนั้นเทียว. อนึ่ง คนหนึ่งกระสันในเปลวประทีปแอบซ่อนด้วยคิดว่า เพราะอาศัยบุรุษนี้เปลวประทีปจึงไม่ดับดังนี้ พึงตัดศีรษะของบุรุษนั้น. เพราะไม่ใส่ไส้และไม่เติมน้ำมันอย่างนี้ เปลวประทีปที่หมดเชื้อก็ย่อมดับฉันใด พระโยคาวจรผู้กระสันในประวัตตกาลก็ฉันนั้นเหมือนกัน ย่อมตัดขาดกุศลและอกุศลด้วยอรหัตมรรค. เพราะความที่กุศลนั้นถูกตัดขาดแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหลายย่อมไม่เกิดขึ้นอีกแก่ภิกษุผู้ขีณาสพ เพราะความแตกแห่งกายดังนี้. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะอรหัตผลปัญญา ยิ่งกว่าสมาธิปัญญาและวิปัสสนาปัญญาในเบื้องต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอรหัตผลปัญญาอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ อันสูงสุดนี้. ญาณในอรหัตมรรค ชื่อว่าญาณในความสิ้นไปซึ่งทุกข์ทั้งปวง. แต่ในสูตรนี้ทรงประสงค์ญาณในอรหัตผล. เพราะเหตุนั้นแล จึงตรัสว่า ความหลุดพ้นของเขานั้นจัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะ เป็นคุณไม่กำเริบ ดังนี้. ก็ในบทเหล่านั้น บทว่า วิมุตฺติ ได้แก่ อรหัตผลวิมุตติ. บทว่า สจฺจํ ได้แก่ ปรมัตถสัจ คือนิพพาน. ความหลุดพ้นนั้นตรัสว่า ไม่กำเริบ เพราะทำอารมณ์อันไม่กำเริบด้วยประการฉะนี้. บทว่า มุสา ได้แก่ ไม่จริง. บทว่า โมสธมฺมํ ได้แก่ สภาพที่พินาศ. บทว่า ตํ สจฺจํ ความว่า สัจจะนั้นเป็นของแท้มีสภาพ. บทว่า อโมสธมฺมํ ได้แก่ มีสภาพไม่พินาศ. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะปรมัตถสัจ คือนิพพานนั้นแล สูงกว่าวจีสัจบ้าง ทุกขสัจและสมุทัยสัจบ้าง ด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่ต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยปรมัตถสัจจาธิษฐานอันสูงสุดนี้. บทว่า ปุพฺเพ คือ ในกาลเป็นปุถุชน. บทว่า อุปธี โหนฺติ ได้แก่ อุปธิเหล่านี้คือขันธูปธิ กิเลสูปธิ อภิสังขารูปธิ ปัญจกามคุณูปธิ. บทว่า สมตฺตา สมาทินฺนา ความว่า บริบูรณ์คือถือเอาแล้ว ได้แก่ลูบคลำแล้ว. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสละกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้นแลดีกว่าการสละกิเลสด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่ต้น และกว่าการสละกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต คือ ผู้ประกอบพร้อมแล้วด้วยจาคาธิษฐานอันสูงสุดนี้. ชื่อว่าอาฆาฏะ ด้วยอำนาจแห่งการทำการล้างผลาญ ในคำเป็นต้นว่า อาฆาโฏ. ชื่อว่าพยาบาท ด้วยอำนาจแห่งการปองร้าย. ชื่อว่าสัมปโทสะ ด้วยอำนาจแห่งการประทุษร้ายทุกอย่าง. ท่านกล่าวอกุศลมูลเท่านั้น ด้วยบททั้ง ๓. บทว่า ตสฺมา ความว่า เพราะการสงบระงับกิเลสด้วยอรหัตมรรคนั้นแล สูงกว่าการสงบระงับกิเลสด้วยอำนาจแห่งสมถะและวิปัสสนาแต่เบื้องต้น และการสงบระงับกิเลสด้วยโสดาปัตติมรรคเป็นต้น. บทว่า เอวํ สมนฺนาคโต ความว่า ผู้ประกอบพร้อมด้วยอุปสมาธิษฐานอันอุดมนี้. บทว่า มญฺญิตเมตํ ความว่า ความสำคัญแม้ ๓ อย่างคือ ตัณหามัญญิตะ มานมัญญิตะ ทิฏฐิมัญญิตะ ย่อมเป็นไป. ก็บทนี้ว่า อสฺสมหํ ในบทนี้ว่า อหมสฺมิ คือ ความสำคัญตัณหานั้นเทียว ย่อมเป็นไป. ชื่อว่าโรค เพราะอรรถว่าเบียดเบียน ในบทว่า โรโค เป็นต้น. ชื่อว่าคัณฑะ เพราะอรรถว่าประทุษร้ายในภายใน. ชื่อว่าสัลละ เพราะอรรถว่าเสียดแทงเนืองๆ. บทว่า มุนิ สนฺโตติ วุจฺจติ ความว่า บุคคลนั้นเรียกว่า มุนีผู้พระขีณาสพ ผู้สงบแล้ว คือผู้สงบระงับแล้ว ดับทุกข์แล้ว. บทว่า ยตฺถ ฐิตํ คือ ตั้งอยู่ในฐานะใด. บทว่า สงฺขิตฺเตน ความว่า ก็พระธรรมเทศนาแม้ทั้งหมดของพระพุทธเจ้าทั้งหลายก็ย่อแล้วเทียว. ชื่อว่า เทศนาโดยพิสดารไม่มี. แม้สมันตปัฏฐานกถาก็ย่อแล้วนั้นแล. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงยังเทศนาให้ถึงตามอนุสนธิด้วยประการฉะนี้. ก็ในบุคคล ๔ จำพวก มีอุคฆฏิตัญญูเป็นต้น ปุกกุสาตีกุลบุตรเป็นวิปัจจิตัญญู. พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงแสดงธาตุวิภังคสูตรนี้ ด้วยอำนาจแห่งวิปัจจิตัญญู ด้วยประการฉะนี้. ในบทว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ บาตรและจีวรของข้าพระองค์ยังไม่ครบแล. มีคำถามว่า เพราะเหตุไร บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์จึงไม่เกิดขึ้นแก่กุลบุตรเล่า. ตอบว่า เพราะความที่บริขาร ๘ อย่างอันกุลบุตรไม่เคยให้ทานแล้วในกาลก่อน. กุลบุตรมีทานเคยถวายแล้ว มีอภินิหารได้กระทำแล้ว จึงไม่ควรกล่าวว่า เพราะความที่ทานไม่เคยให้แล้ว. ก็บาตรและจีวรอันสำเร็จแต่ฤทธิ์ ย่อมเกิดแก่สาวกทั้งหลายผู้มีภพสุดท้ายเท่านั้น. ส่วนกุลบุตรนี้ยังมีปฏิสนธิอีก. เพราะฉะนั้น บาตรและจีวรที่สำเร็จด้วยฤทธิ์ จึงไม่เกิดขึ้น. ถามว่า ถ้าเป็นเช่นนั้น เพราะเหตุไร พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เองให้ถึงพร้อมเล่า. ตอบว่า เพราะพระองค์ไม่มีโอกาส. อายุของกุลบุตรก็สิ้นแล้ว. มหาพรหมผู้อนาคามีชั้นสุทธาวาส ก็เป็นราวกะมาสู่ศาลาช่างหม้อแล้วนั่งอยู่. เพราะฉะนั้น จึงไม่ทรงแสวงหาด้วยพระองค์เอง. บทว่า ปตฺตจีวรํ ปริเยสนํ ปกฺกามิ ความว่า ท่านปุกกุสาติหลีกไปในเวลานั้น เมื่ออรุณขึ้นแล้ว. ได้ยินว่า การจบพระธรรมเทศนาของพระผู้มีพระภาคเจ้า การขึ้นแห่งอรุณและการเปล่งพระรัศมี ได้มีในขณะเดียวกัน. นัยว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงจบพระเทศนาแล้ว ทรงเปล่งพระรัศมีมีสี ๖ ประการ. นิเวศน์แห่งช่างหม้อทั้งสิ้นก็โชติช่วงเป็นอันเดียวกัน. พระฉัพพัณณรัศมีชัชวาลย์แผ่ไปเป็นกลุ่มๆ ทำทิศทางทั้งปวงให้เป็นดุจปกคลุมด้วยแผ่นทองคำ และดุจรุ่งเรืองด้วยดอกคำและรัตนะอันประเสริฐซึ่งมีสีต่างๆ. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอธิษฐานว่า ขอให้ชาวพระนครทั้งหลายจงเห็นเรา ดังนี้. ชาวพระนครทั้งหลายเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ต่างก็บอกต่อๆ กันว่า ได้ยินว่า พระศาสดาเสด็จมาแล้ว นัยว่า ประทับนั่ง ณ ศาลาช่างหม้อ แล้วกราบทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จไปถวายบังคมพระศาสดาแล้วตรัสถามว่า พระองค์เสด็จมาแล้วเมื่อไร. เมื่อเวลาพระอาทิตย์ตกวานนี้ มหาบพิตร. พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยกรรมอะไร. พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของพระองค์ทรงฟังพระราชสาส์นที่มหาบพิตรส่งไปแล้ว เสด็จออกบวช เสด็จมาเจาะจงอาตมาภาพ ล่วงเลยกรุงสาวัตถีเสด็จมาสิ้น ๔๕ โยชน์ เสด็จเข้าสู่ศาลาช่างหม้อนี้แล้วประทับนั่ง อาตมภาพจึงมาเพื่อสงเคราะห์พระสหายของมหาบพิตร ได้แสดงธรรมกถา กุลบุตรทรงแทงตลอดผล ๓ มหาบพิตร. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ เวลานี้ พระเจ้าปุกกุสาติประทับอยู่ที่ไหน พระเจ้าข้า. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสว่า พระเจ้าปุกกุสาติกุลบุตรทรงขออุปสมบทแล้ว เสด็จไปเพื่อทรงแสวงหาบาตรและจีวร เพราะบาตรและจีวรยังไม่ครบบริบูรณ์. พระราชาเสด็จไปทางทิศทางที่กุลบุตรเสด็จไป. ฝ่ายพระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเหาะไปปรากฏ ณ พระคันธกุฏีในพระเชตวันนั้นแล. แม้กุลบุตรเมื่อแสวงหาบาตรและจีวร ก็ไม่ไปสู่สำนักของพระเจ้าพิมพิสาร และของพวกพ่อค้าเดินเท้า ชาวเมืองตักกสิลา. ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นคิดอย่างนี้ว่า การที่เลือกแสวงหาบาตรและจีวรที่พอใจและไม่พอใจในสำนักนั้นๆ แล ไม่สมควรแก่เราผู้ดุจไก่ พระนครใหญ่ จำเราจักแสวงหาที่ท่าน้ำ ป่าช้า กองขยะและตามตรอก ดังนี้. กุลบุตรปรารภเพื่อแสวงหาเศษผ้าที่กองขยะในตรอกก่อน. บทว่า ชีวิตา โวโรเปสิ ความว่า แม่โคลูกอ่อนหมุนไปวิ่งมาขวิดกุลบุตรนั้นผู้กำลังแลดูเศษผ้าในกองขยะแห่งหนึ่ง ให้กระเด็นขึ้นถึงความตาย. กุลบุตรผู้ถูกความหิวครอบงำ ถึงความสิ้นอายุในอากาศนั่นเทียว ตกลงมานอนคว่ำหน้าในที่กองขยะเป็นเหมือนรูปทองคำฉะนั้น. ก็แลทำกาละแล้วไปเกิดในพรหมโลกชั้นอวิหา. พอเกิดแล้วก็บรรลุพระอรหัต. ได้ยินว่า ชนที่สักว่าเกิดแล้วในอวิหาพรหมโลกมี ๗ คน ได้บรรลุพระอรหัต. สมจริงดังคำที่ท่านกล่าวไว้ว่า ภิกษุ ๗ รูป เข้าถึงอวิหาพรหมโลกแล้วหลุดพ้น มีราคะและโทสะสิ้นแล้ว ข้ามตัณหาในโลก และท่าน เหล่านั้นข้ามเปลือกตม บ่วงมัจจุราช ซึ่งข้ามได้แสน ยาก ท่านเหล่านั้นละโยคะของมนุษย์แล้ว ก้าวล่วงโยคะ อันเป็นทิพย์. ท่านเหล่านั้น คือ อุปกะ ๑ ปลคัณฑะ ๑ ปุกกุสาติ ๑ รวม ๓ ภัททิยะ ๑ ขันฑเทวะ ๑ พาหุทัตติ ๑ ปิงคิยะ ๑ ท่านเหล่านั้น ละโยคะ ของมนุษย์แล้ว ก้าวล่วงโยคะอันเป็นทิพย์ ดังนี้. ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารทรงพระราชดำริว่า พระสหายของเราได้อ่านสักว่าสาส์นที่เราส่งไป ทรงสละราชสมบัติที่อยู่ในเงื้อมพระหัตถ์ เสด็จมาทางไกลประมาณเท่านี้ กิจที่ทำได้ยากอันกุลบุตรได้ทำแล้ว เราจักสักการะเข้าด้วยเครื่องสักการะของบรรพชิต ดังนี้แล้ว จึงตรัสว่า พวกท่านจงไปตามหาพระสหายของเรา ดังนี้. ราชบริวารทั้งหลายที่ถูกส่งไปในที่นั้นๆ ได้เห็นกุลบุตรนั้น. เห็นเขาล้มลงที่กองขยะ กลับมาทูลแด่พระราชา. พระราชาเสด็จไปทรงเห็นกุลบุตรแล้ว ทรงคร่ำครวญว่า ท่านทั้งหลาย พวกเราไม่ได้เพื่อทำสักการะแก่พระสหายหนอ พระสหายของเราไม่มีที่พึ่งแล้ว ตรัสสั่งให้นำกุลบุตรด้วยเตียง ทรงตั้งไว้ในโอกาสอันสมควร ตรัสสั่งให้เรียกผู้อาบน้ำให้และช่างกัลบกเป็นต้น โดยให้รู้ถึงการทำสักการะแก่กุลบุตรผู้ยังไม่ได้อุปสมบท ทรงให้อาบพระเศียรของกุลบุตร ทรงให้นุ่งผ้าอันบริสุทธิ์เป็นต้น ทรงให้ตกแต่งด้วยเพศของพระราชา ทรงยกขึ้นสู่วอทอง ทรงให้ทำการบูชาด้วยวัตถุทั้งหลายมีดนตรี ของหอมและมาลาทุกอย่างเป็นต้น ทรงนำออกจากพระนคร ทรงให้ทำมหาจิตกาธานด้วยไม้หอมเป็นอันมาก. ครั้นทรงทำสรีรกิจของกุลบุตรแล้ว ทรงนำเอาพระธาตุมาประดิษฐ์ไว้ในพระเจดีย์. คำที่เหลือในบททั้งปวงง่ายทั้งนั้นแล.

ธาตุวิภังคสูตร มีคำเริ่มต้นว่า ข้าพเจ้าได้สดับอย่างนี้ :- ในบทเหล่านั้น บทว่า จาริกํ ได้แก่ จาริกไปโดยรีบด่วน. บทว่า สเจ เต อครุ ความว่า ถ้าไม่เป็นความหนักใจ คือไม่ผาสุกอะไรแก่ท่าน. บทว่า สเจ โส อนุชานาติ ความว่า ได้ยินว่า ภัคควะมีความคิดอย่างนี้ว่า ธรรมดาบรรพชิตทั้งหลายย่อมมีอัธยาศัยต่างกัน คนหนึ่งมีหมู่เป็นที่มายินดี คนหนึ่งยินดีอยู่คนเดียว ถ้าคนนั้นยินดีอยู่คนเดียวจักกล่าวว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านอย่าเข้ามา ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว ถ้าคนนี้ยินดีอยู่คนเดียว ก็จักพูดว่า ดูก่อนผู้มีอายุ ท่านจงออกไป ข้าพเจ้าได้ศาลาแล้ว เมื่อเป็นเช่นนี้ เราก็จักเป็นเหตุให้คนทั้งสองทำการทะเลาะกัน ธรรมดาสิ่งที่ให้แล้ว ก็ควรเป็นอันให้แล้วเทียว สิ่งที่ทำแล้ว ก็ควรเป็นอันทำแล้วแล. เพราะฉะนั้น จึงกล่าวอย่างนี้. บทว่า กุลปุตฺโต ได้แก่ กุลบุตรโดยชาติบ้าง กุลบุตรโดยมรรยาทบ้าง. บทว่า วาสูปคโต ได้แก่ เข้าไปอยู่แล้ว. ถามว่า กุลบุตรนั้นมาจากไหน. ตอบว่า จากนครตักกสิลา. ในเรื่องนั้นมีการเล่าโดยลำดับดังนี้. ได้ยินว่า ครั้นเมื่อพระเจ้าพิมพิสารเสวยราชสมบัติในพระนครราชคฤห์ ในมัชฌิมประเทศ. พระเจ้าปุกกุสาติเสวยราชสมบัติในพระนครตักกสิลา ในปัจจันตประเทศ. ครั้งนั้น พ่อค้าทั้งหลายต่างก็เอาสินค้าจากพระนครตักกสิลามาสู่พระนครราชคฤห์ นำบรรณาการไปถวายแด่พระราชา. พระราชาตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้นผู้ยืนถวายบังคมว่า พวกท่านอยู่ที่ไหน. ขอเดชะ อยู่ในพระนครตักกสิลา. ลำดับนั้น พระราชาตรัสถามถึงความเกษม และความที่ภิกษาหาได้ง่ายเป็นต้นของชนบทและประวัติแห่งพระนครกะพ่อค้าเหล่านั้นแล้ว ตรัสถามว่า พระราชาของพวกท่านมีพระนามอย่างไร. พระนามว่า ปุกกุสาติ พระเจ้าข้า. ทรงดำรงอยู่ในธรรมหรือ. อย่างนั้น พระเจ้าข้า ทรงดำรงอยู่ในธรรม ทรงสงเคราะห์ชนด้วยสังคหวัตถุสี่ ทรงดำรงอยู่ในฐานะมารดาบิดาของโลก ทรงยังชนดุจทารกนอนบนตักให้ยินดี. ทรงมีวัยเท่าใด. ลำดับนั้น พวกพ่อค้าทูลบอกวัยแด่พระราชานั้น. ทรงมีวัยเท่ากับพระเจ้าพิมพิสาร. ครั้งนั้น พระราชาตรัสกะพ่อค้าเหล่านั้นว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย พระราชาของพวกท่านดำรงอยู่ในธรรม และทรงมีวัยเท่ากับเรา พวกท่านพึงอาจเพื่อทำพระราชาของพวกท่านให้เป็นมิตรกับเราหรือ. อาจ พระเจ้าข้า. พระราชาทรงสละภาษีแก่พ่อค้าเหล่านั้น ทรงให้พระราชทานเรือนแล้วตรัสว่า พวกท่านประสงค์ในเวลาขายสินค้ากลับไป พวกท่านพึงพบเราแล้วจึงกลับไปดังนี้. พ่อค้าเหล่านั้นทำอย่างนั้นแล้ว เข้าไปเฝ้าพระราชาในเวลากลับ. พระราชาตรัสว่า พวกท่านจงกลับไป พวกท่านจงทูลถามถึงความไม่มีพระโรคบ่อยๆ ตามคำของเรา แล้วทูลว่า พระราชาทรงพระประสงค์มิตรภาพกับพระองค์. พ่อค้าเหล่านั้นทูลรับพระราชโองการแล้ว ไปรวบรวมสินค้า รับประทานอาหารเช้าแล้ว เข้าไปถวายบังคมพระราชา. พระราชาตรัสถามว่า แน่ะพนาย พวกท่านไปไหน ไม่เห็นหลายวันแล้ว. พวกพ่อค้าทูลบอกเรื่องราวทั้งหมดแด่พระราชา. พระราชาทรงมีพระหฤทัยยินดีว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย เป็นการดีเช่นกับเรา พระราชาในมัชฌิมประเทศได้มิตรแล้วเพราะอาศัยพวกท่าน. ในเวลาต่อมา พ่อค้าทั้งหลายแม้อยู่ในพระนครราชคฤห์ ก็ไปสู่พระนครตักกสิลา. พระเจ้าปุกกุสาติตรัสถามพ่อค้าเหล่านั้นผู้ถือบรรณาการมาว่า พวกท่านมาจากไหน. พระราชาทรงสดับว่าจากพระนครราชคฤห์จึงตรัสว่า พวกท่านมาจากพระนครของพระสหายเรา. อย่างนั้น พระเจ้าข้า. พระราชาตรัสถามถึงความไม่มีพระโรคว่า พระสหายของเราไม่มีพระโรคหรือ แล้วทรงให้ตีกลองประกาศว่า จำเดิมแต่วันนี้ พวกพ่อค้าเดินเท้า หรือพวกเกวียนเหล่าใด มาจากพระนครของพระสหายเรา จำเดิมแต่กาลที่พ่อค้าทั้งปวง เข้ามาสู่เขตแดนของเรา จงให้เรือนเป็นที่พักอาศัยและเสบียงจากพระคลังหลวง จงสละภาษี อย่าทำอันตรายใดๆ แก่พ่อค้าเหล่านั้นดังนี้. ฝ่ายพระเจ้าพิมพิสารก็ทรงให้ตีกลองประกาศเช่นนี้เหมือนกันในพระนครของพระองค์. ลำดับนั้น พระเจ้าพิมพิสารได้ทรงส่งพระบรรณาการแก่พระเจ้าปุกกุสาติว่า รัตนะทั้งหลายมีแก้วมณีและมุกดาเป็นต้น ย่อมเกิดในปัจจันตประเทศ รัตนะใดที่ควรเห็นหรือควรฟัง เกิดขึ้นในราชสมบัติแห่งพระสหายของเรา ขอพระสหายเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น. ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติก็ทรงส่งพระราชบรรณาการตอบไปว่า ธรรมดามัชฌิมประเทศเป็นมหาชนบท รัตนะเห็นปานนี้ใด ย่อมเกิดในมหาชนบทนั้น ขอพระสหายของเราจงอย่าทรงตระหนี่ในรัตนะนั้น. เมื่อกาลล่วงไปๆ อย่างนี้ พระราชาเหล่านั้น แม้ไม่ทรงเห็นกัน ก็เป็นมิตรแน่นแฟ้น. เมื่อพระราชาทั้งสองพระองค์นั้นทรงทำการตรัสอยู่อย่างนี้ บรรณาการย่อมเกิดแก่พระเจ้าปุกกุสาติก่อน. ได้ยินว่า พระราชาทรงได้ผ้ากัมพล ๘ ผืน อันหาค่ามิได้ มีห้าสี. พระราชานั้นทรงพระดำริว่า ผ้ากัมพลเหล่านี้งามอย่างยิ่ง เราจักส่งให้พระสหายของเรา. ทรงส่งอำมาตย์ทั้งหลายด้วยพระดำรัสว่า พวกท่านจงให้ทำผอบแข็งแรง ๘ ผอบเท่าก้อนครั่งใส่ผ้ากัมพลเหล่านั้นในผอบเหล่านั้น ให้ประทับด้วยครั่งพันด้วยผ้าขาว ใส่ในหีบพันด้วยผ้า ประทับด้วยตราพระราชลัญจกรแล้วถวายแก่พระสหายของเรา และได้พระราชทานพระราชสาส์นว่า บรรณาการนี้อันเราผู้อำมาตย์เป็นต้นแวดล้อมแล้ว เห็นในท่ามกลางพระนคร. อำมาตย์เหล่านั้นไปทูลถวายแด่พระเจ้าพิมพิสาร. พระเจ้าพิมพิสารนั้นทรงสดับพระราชสาส์น ทรงให้ตีกลองประกาศว่า ชนทั้งหลายมีอำมาตย์เป็นต้นจงประชุม ดังนี้ อันอำมาตย์เป็นต้นแวดล้อมแล้วในท่ามกลางพระนคร ทรงมีพระเศวตฉัตรกั้นประทับนั่งบนพระราชบัลลังก์อันประเสริฐ ทรงทำลายรอยประทับ เปิดผ้าออก เปิดผอบ แก้เครื่องภายใน ทรงเห็นก้อนครั่ง ทรงพระราชดำริว่า พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเราคงสำคัญว่า พระสหายของเรามีพระราชหฤทัยรุ่งเรือง จึงทรงส่งพระราชบรรณาการนี้ไปให้ดังนี้. ทรงจับก้อนอันหนึ่งแล้วทรงทุบด้วยพระหัตถ์ พิจารณาดูก็ไม่ทรงทราบว่า ภายในมีเครื่องผ้า. ลำดับนั้น ทรงตีก้อนนั้นที่เชิงพระราชบัลลังก์. ทันใดนั้น ครั่งก็แตกออก. พระองค์ทรงเปิดผอบด้วยพระนขา ทรงเห็นกัมพลรัตนะภายในแล้ว ทรงให้เปิดผอบทั้งหลาย แม้นอกนี้. แม้ทั้งหมดก็เป็นผ้ากัมพล. ลำดับนั้น ทรงให้คลี่ผ้ากัมพลเหล่านั้น. ผ้ากัมพลเหล่านั้นถึงพร้อมด้วยสี ถึงพร้อมด้วยผัสสะ ยาว ๑๖ ศอก กว้าง ๘ ศอก. มหาชนทั้งหลายเห็นแล้วกระดิกนิ้ว ทำการยกผ้าเล็กๆ ขึ้น พากันดีใจว่า พระเจ้าปุกกุสาติ พระสหายไม่เคยพบเห็นของพระราชาแห่งพวกเรา ไม่ทรงเห็นกันเลย ยังทรงส่งพระราชบรรณาการเห็นปานนี้ สมควรแท้เพื่อทำพระราชาเห็นปานนี้ให้เป็นมิตร. พระราชาทรงให้ตีราคาผ้ากัมพลแต่ละผืน. ผ้ากัมพลทุกผืนหาค่ามิได้. ในผ้ากัมพลแปดผืนนั้น ทรงถวายสี่ผืนแด่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า. ทรงไว้ใช้สี่ผืนในพระราชวังของพระองค์. แต่นั้น ทรงพระราชดำริว่า การที่เราเมื่อจะส่งภายหลังก็ควรส่งบรรณาการดีกว่าบรรณาการที่ส่งแล้วก่อน ก็พระสหายได้ส่งบรรณาการอันหาค่ามิได้แก่เรา เราจะส่งอะไรดีหนอ. ก็ในกรุงราชคฤห์ไม่มีวัตถุที่ดียิ่งกว่านั้นหรือ. ไม่มีหามิได้ พระราชาทรงมีบุญมาก ก็อีกประการหนึ่ง จำเดิมแต่กาลที่พระองค์ทรงเป็นพระโสดาบันแล้ว เว้นจากพระรัตนตรัยแล้ว ไม่มีสิ่งใดอื่น ที่ชื่อว่าสามารถเพื่อยังพระโสมนัสให้เกิดขึ้นได้. พระองค์จึงทรงปรารภเพื่อทรงเลือกรัตนะ. ธรรมดารัตนะมี ๒ อย่างคือ มีวิญญาณ ไม่มีวิญญาณ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น รัตนะที่ไม่มีวิญญาณ ได้แก่ทองและเงินเป็นต้น ที่มีวิญญาณได้แก่สิ่งที่เนื่องกับอินทรีย์. รัตนะที่ไม่มีวิญญาณเป็นเครื่องใช้ ด้วยสามารถแห่งเครื่องประดับเป็นต้นของรัตนะที่มีวิญญาณนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ รัตนะที่มีวิญญาณประเสริฐที่สุด. รัตนะแม้มีวิญญาณมี ๒ อย่าง คือ ติรัจฉานรัตนะ มนุษยรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น ดิรัจฉานรัตนะ ได้แก่ช้างแก้วและม้าแก้ว. ดิรัจฉานรัตนะแม้นั้น เกิดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องใช้ของมนุษย์ทั้งหลายนั้นเทียว. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น มนุษยรัตนะประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้มนุษยรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อิตถีรัตนะ ปุริสรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างนั้น แม้อิตถีรัตนะซึ่งเกิดแก่พระเจ้าจักรพรรดิ ย่อมเป็นอุปโภคของบุรุษแล. ในรัตนะ ๒ อย่างนี้ ปุริสรัตนะเทียวประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้ปุริสรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ อาคาริกรัตนะ ๑ อนาคาริกรัตนะ ๑. แม้ในอาคาริกรัตนะนั้น พระเจ้าจักรพรรดิย่อมทรงนมัสการสามเณรที่บวชในวันนี้ด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์. ในรัตนะทั้ง ๒ อย่างแม้นี้ อนาคาริกรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด. แม้อนาคาริกรัตนะก็มี ๒ อย่างคือ เสกขรัตนะ ๑ อเสกขรัตนะ ๑. ในอนาคาริกรัตนะ ๒ อย่างนั้น พระเสกขะตั้งแสนย่อมไม่ถึงส่วนแห่งพระอเสกขะ. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ อเสกขรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุด. อเสกขรัตนะแม้นั้นก็มี ๒ อย่างคือ พุทธรัตนะ สาวกรัตนะ. ในอเสกขรัตนะนั้น สาวกรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของพุทธรัตนะ. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ พุทธรัตนะเท่านั้นประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. แม้พุทธรัตนะก็มี ๒ อย่าง คือ ปัจเจกพุทธรัตนะ สัพพัญญูพุทธรัตนะ. ในพุทธรัตนะนั้น ปัจเจกพุทธรัตนะแม้ตั้งแสน ก็ไม่ถึงส่วนของสัพพัญญูพุทธเจ้า. ในรัตนะ ๒ อย่างแม้นี้ สัพพัญญูพุทธรัตนะเท่านั้น ประเสริฐที่สุดด้วยประการฉะนี้. ก็ขึ้นชื่อว่า รัตนะที่เสมอด้วยพุทธรัตนะย่อมไม่มีในโลกพร้อมทั้งเทวโลก. เพราะฉะนั้น จึงทรงพระราชดำริว่า เราจักส่งรัตนะที่ไม่มีอะไรเสมอเท่านั้นแก่พระสหายของเรา จึงตรัสถามพวกพ่อค้าชาวนครตักกสิลาว่า ดูก่อนพ่อทั้งหลาย รัตนะ ๓ อย่างนี้คือ พุทธะ ธรรมะ สังฆะย่อมปรากฏในชนบทของพวกท่านหรือ. ข้าแต่มหาราช แม้เสียงก็ไม่มีในชนบทนั้น ก็การเห็นจักมีแต่ที่ไหนเล่า. พระราชาทรงยินดีแล้ว ทรงพระราชดำริว่า เราอาจเพื่อจะส่งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าไปสู่สถานที่เป็นที่อยู่ของพระสหายเรา เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชน แต่พระพุทธเจ้าทั้งหลายจะไม่ทรงแรมคืนในปัจจันตชนบททั้งหลาย เพราะฉะนั้น พระศาสดาจะไม่อาจเสด็จไป. พึงอาจส่งพระมหาสาวกมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น แต่เราฟังมาว่า พระเถระทั้งหลายอยู่ในปัจจันตชนบทสมควรเพื่อส่งคนทั้งหลายไปนำพระเถระเหล่านั้นมาสู่ที่ใกล้ตนแล้ว บำรุงเทียว เพราะฉะนั้น แม้พระเถระทั้งหลายไม่อาจไป ครั้นส่งสาส์นไปแล้วด้วยบรรณาการใด พระศาสดาและพระมหาสาวกทั้งหลายก็เป็นเหมือนไปแล้ว เราจักส่งสาส์นด้วยบรรณาการนั้น ดังนี้ ทรงพระราชดำริอีกว่า เราให้ทำแผ่นทองคำ ยาวสี่ศอก กว้างประมาณหนึ่งคืบ หนาพอควร ไม่บางนักไม่หนานัก แล้วจักลิขิตอักษรลงในแผ่นทองคำนั้นในวันนี้ ทรงสนานพระเศียรตั้งแต่เช้าตรู่ ทรงอธิษฐานองค์พระอุโบสถ ทรงเสวยพระยาหารเช้า ทรงเปลื้องพระสุคนธมาลาและอาภรณ์ออก ทรงถือชาดสีแดงด้วยพระขันทอง ทรงปิดพระทวารทั้งหลาย ตั้งแต่ชั้นล่าง เสด็จขึ้นพระปราสาท ทรงเปิดพระสีหบัญชรด้านทิศตะวันออก ประทับนั่งบนพื้นอากาศ ทรงลิขิตพระอักษรลงในแผ่นทองคำ ทรงลิขิตพระพุทธคุณโดยเอกเทศก่อนว่า พระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก ทรงเป็นสารถีฝึกคนอย่างยอดเยี่ยม เป็นพระศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ทรงตื่นแล้ว ทรงจำแนกพระธรรม เสด็จอุบัติในโลกนี้ ดังนี้. ต่อแต่นั้น ทรงลิขิตว่า พระพุทธเจ้าทรงบำเพ็ญบารมี ๑๐ ทัศอย่างนี้ ทรงจุติจากชั้นดุสิต ทรงถือปฏิสนธิในพระครรภ์พระมารดา การเปิดโลกได้มีแล้วอย่างนี้ เมื่อทรงอยู่ในพระครรภ์มารดา ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อทรงอยู่ครอบครองเรือน ชื่อนี้ได้มีแล้ว เมื่อเสด็จออกพระมหาภิเนษกรมณ์อย่างนี้ ทรงเริ่มตั้งความเพียรอันยิ่งใหญ่อย่างนี้ ทรงบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างนี้ เสด็จขึ้นสู่ควงมหาโพธิ ประทับนั่งบนอปราชิตบัลลังก์แล้ว ทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เมื่อทรงแทงตลอดสัพพัญญุตญาณ เป็นอันมีการเปิดโลกแล้วอย่างนี้ ขึ้นชื่อว่ารัตนะเห็นปานนี้อื่นไม่มีในโลกพร้อมกับเทวโลก ดังนี้ ทรงลิขิตพระพุทธคุณทั้งหลายโดยเอกเทศอย่างนี้ว่า ทรัพย์เครื่องปลื้มใจอย่างใดอย่างหนึ่ง ในโลกนี้หรือโลกอื่น หรือรัตนะใดอันประณีตในสวรรค์ ทรัพย์และรัตนะนั้นเสมอ ด้วยพระตถาคต ไม่มี พุทธรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้ เมื่อจะทรงชมเชยธรรมรัตนะที่สองว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว ฯลฯ อันวิญญูชนทั้งหลายพึงรู้เฉพาะตน ดังนี้แล้ว ทรงลิขิตโพธิปักขิยธรรม ๓๗ ประการ โดยเอกเทศว่า สติปัฏฐานสี่ ฯลฯ มรรคมีองค์แปดอันประเสริฐ ชื่อว่าพระธรรมอันพระศาสดาทรงแสดงแล้ว เห็นปานนี้และเห็นปานนี้ ดังนี้ แล้วทรงลิขิตพระธรรมคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า พระพุทธเจ้าผู้ประเสริฐสุดทรงสรรเสริญแล้ว ซึ่งสมาธิใดว่า เป็นธรรมอันสะอาด บัณฑิต ทั้งหลายกล่าว ซึ่งสมาธิใดว่าให้ผลในลำดับ สมาธิอื่นเสมอด้วยสมาธินั้น ย่อมไม่มี ธรรมรัตนะแม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความสวัสดีจงมี ดังนี้ ต่อแต่นั้น เมื่อจะทรงชมเชยพระสังฆรัตนะที่สามว่า พระสงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้าเป็นผู้ปฏิบัติดี ฯลฯ เป็นเนื้อนาบุญของโลก ดังนี้ ทรงลิขิตจุลศีล มัชฌิมศีลและมหาศีลโดยเอกเทศว่า ธรรมดากุลบุตรทั้งหลายฟังธรรมกถาของพระศาสดาแล้ว ออกบวชอย่างนี้ บางพวกละเศวตฉัตรบวช บางพวกละความเป็นอุปราชบวช บางพวกละตำแหน่งทั้งหลายมีตำแหน่งเสนาบดีเป็นต้นบวช ก็แล ครั้นบวชแล้ว บำเพ็ญปฏิบัตินี้ ทรงลิขิตการสำรวมในทวารหก สติสัมปชัญญะ ความยินดีในการเจริญสันโดษด้วยปัจจัยสี่ การละนีวรณ์ บริกรรมฌานและอภิญญา กรรมฐาน ๓๘ ประการ จนถึงความสิ้นไปแห่งอาสวะโดยเอกเทศ ทรงลิขิตอานาปานสติกรรมฐาน ๑๖ ประการโดยพิสดารเทียว ทรงลิขิตพระสังฆคุณทั้งหลายโดยเอกเทศว่า ชื่อว่าพระสงฆ์สาวกของพระศาสดาถึงพร้อมด้วยคุณทั้งหลายเห็นปานนี้และเห็นปานนี้ บุคคลเหล่าใด ๘ จำพวก ๔ คู่ อันสัตบุรุษทั้งหลาย สรรเสริญแล้ว บุคคลเหล่านั้นควรแก่ทักษิณาทาน เป็นสาวกของพระสุคต ทานทั้งหลายอันบุคคล ถวายแล้วในท่านเหล่านั้นย่อมมีผลมาก สังฆรัตนะ แม้นี้เป็นรัตนะอันประณีต ด้วยคำสัตย์นี้ ขอความ สวัสดีจงมี ทรงลิขิตว่า ศาสนาของพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้ว เป็นศาสนานำสัตว์ออกจากทุกข์ ถ้าพระสหายของเราจะอาจไซร้ ขอได้เสด็จออกทรงผนวชเถิด ดังนี้ ทรงม้วนแผ่นทองคำ พันด้วยผ้ากัมพลเนื้อละเอียด ทรงใส่ในหีบอันแข็งแรง ทรงวางหีบนั้นในหีบทองคำ ทรงวางหีบทองคำลงในหีบเงิน ทรงวางหีบเงินลงในหีบแก้วมณี ทรงวางหีบแก้วมณีลงในหีบแก้วประพาฬ ทรงวางหีบแก้วประพาฬลงในหีบทับทิม ทรงวางหีบทับทิมลงในหีบแก้วมรกต ทรงวางหีบแก้วมรกตลงในหีบแก้วผลึก ทรงวางหีบแก้วผลึกลงในหีบงา ทรงวางหีบงาลงในหีบรัตนะทุกอย่าง ทรงวางหีบรัตนะทุกอย่างลงในหีบเสื่อลำแพน ทรงวางหีบเสื่อลำแพนลงในผอบแข็งแรง ทรงวางผอบแข็งแรงลงในผอบทองอีก ทรงนำไปโดยนัยก่อนนั้นเทียว ทรงวางผอบที่ทำด้วยรัตนะทุกอย่างลงในผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน. แต่นั้น ทรงวางผอบที่ทำด้วยเสื่อลำแพนลงในหีบที่ทำด้วยไม้แก่น ทรงนำไปโดยนัยกล่าวแล้วอีกนั้นเทียว ทรงวางหีบที่ทำด้วยรัตนะทุกชนิดลงในหีบที่ทำด้วยเสื่อลำแพน ข้างนอกทรงพันด้วยผ้าประทับตราพระราชลัญจกร ตรัสสั่งอำมาตย์ทั้งหลายว่า ท่านทั้งหลายจงตกแต่งทางในสถานที่ซึ่งอยู่ในอำนาจของเรา ทำให้กว้างแปดอุสภะ สถานที่สี่อุสภะ ต้องให้งามเสมอ ท่านทั้งหลายจงตกแต่งสถานที่สี่อุสภะ ในท่ามกลางด้วยอานุภาพของพระราชา. แต่นั้น ทรงส่งทูตด่วนแก่ข้าราชการภายในว่า จงประดับช้างมงคล จัดบัลลังก์บนช้างนั้น ยกเศวตฉัตร ทำถนนพระนครให้สวยงาม ประดับประดาอย่างดี ด้วยธงปฏากอันงดงาม ต้นกล้วย หม้อน้ำที่เต็ม ของหอม ธูปและดอกไม้เป็นต้น จงทำบูชาเห็นปานนี้ ในสถานที่ครอบครองของตนๆ ดังนี้ ส่วนพระองค์ทรงประดับด้วยเครื่องอลังการทุกอย่าง อันกองกำลังพร้อมกับดนตรีทุกชนิดแวดล้อม ทรงพระราชดำริว่า เราจะส่งบรรณาการไปดังนี้ เสด็จไปจนสุดพระราชอาณาเขตของพระองค์แล้ว ได้พระราชทานพระราชสาส์นสำคัญแก่อำมาตย์แล้วตรัสว่า ดูก่อนพ่อ พระเจ้าปุกกุสาติพระสหายของเรา เมื่อจะทรงรับบรรณาการนี้ อย่ารับในท่ามกลางตำหนักนางสนมกำนัล จงเสด็จขึ้นพระปราสาทแล้วทรงรับเถิด. ครั้นพระราชทานพระราชสาส์นนี้แล้ว ทรงพระราชดำริว่า พระศาสดาเสด็จไปสู่ปัจจันตประเทศ ทรงนมัสการด้วยพระเบญจางคประดิษฐ์แล้วเสด็จกลับ. ส่วนข้าราชการภายในทั้งหลายตกแต่งทางโดยทำนองนั้นเทียว นำไปซึ่งพระราชบรรณาการ. ฝ่ายพระเจ้าปุกกุสาติทรงตกแต่งทางโดยทำนองนั้น ตั้งแต่รัชสีมาของพระองค์ ทรงให้ประดับประดาพระนคร ได้ทรงกระทำการต้อนรับพระราชบรรณาการ. พระราชบรรณาการเมื่อถึงพระนครตักกสิลา ได้ถึงในวันอุโบสถ. ฝ่ายอำมาตย์ผู้รับพระราชบรรณการไปทูลบอกพระราชสาส์นที่กล่าวแด่พระราชา. พระราชาทรงสดับพระราชสาส์นนั้นแล้ว ทรงพิจารณากิจที่ควรทำแก่อำมาตย์ทั้งหลายผู้มาพร้อมกับพระราชบรรณาการ ทรงถือพระราชบรรณาการ เสด็จขึ้นสู่พระปราสาทแล้วตรัสว่า ใครๆ อย่าเข้ามาในที่นี้. ทรงให้ทำการรักษาที่พระทวาร ทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงวางพระราชบรรณาการ บนที่พระบรรทมสูง ส่วนพระองค์ประทับนั่งบนอาสนะต่ำ ทรงทำลายรอยประทับ ทรงเปลื้องเครื่องห่อหุ้ม เมื่อทรงเปิดโดยลำดับจำเดิมแต่หีบเสื่อลำแพน ทรงเห็นหีบซึ่งทำด้วยแก่นจันทร์ ทรงพระราชดำริว่า ชื่อว่ามหาบริวารนี้จักไม่มีแก่รัตนะอื่น รัตนะที่ควรฟังได้เกิดขึ้นแล้วในมัชฌิมประเทศแน่แท้. ลำดับนั้น ทรงเปิดหีบนั้นแล้ว ทรงทำลายรอยประทับพระราชลัญจนะ ทรงเปิดผ้ากัมพลอันละเอียดทั้งสองข้าง ทรงเห็นแผ่นทองคำ. พระองค์ทรงคลี่แผ่นทองคำนั้นออก ทรงพระราชดำริว่า พระอักษรทั้งหลายน่าพอใจจริงหนอ มีหัวเท่ากัน มีระเบียบเรียบร้อย มีมุมสี่ ดังนี้ ทรงปรารภเพื่อจะทรงอ่านจำเดิมแต่ต้น. พระโสมนัสอันมีกำลังได้เกิดขึ้นแก่พระองค์ที่ทรงอ่านแล้วอ่านอีกซึ่งพระพุทธคุณทั้งหลายว่า พระตถาคตทรงอุบัติขึ้นแล้วในโลกนี้. ขุมพระโลมาเก้าหมื่นเก้าพันขุม ก็มีปลายพระโลมชูชันขึ้น. พระองค์ไม่ทรงทราบถึงความที่พระองค์ประทับยืนหรือประทับนั่ง. ลำดับนั้น พระปีติอันมีกำลังอย่างยิ่งได้บังเกิดขึ้นแก่พระองค์ว่า เราได้ฟังพระศาสนาที่หาได้โดยยากนี้ แม้โดยแสนโกฏิกัป เพราะอาศัยพระสหาย. พระองค์เมื่อไม่อาจเพื่อทรงอ่านต่อไป ก็ประทับนั่งจนกว่ากำลังปีติสงบระงับ แล้วทรงปรารภพระธรรมคุณทั้งหลายต่อไปว่า พระธรรมอันพระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสดีแล้วดังนี้. พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นแม้ในพระธรรมคุณนั้นเทียว. พระองค์ประทับนั่งอีกจนกว่าความสงบแห่งกำลังปีติ ทรงปรารภพระสังฆคุณทั้งหลายต่อไปว่า พระสงฆ์สาวกเป็นผู้ปฏิบัติดี. ในพระสังฆคุณแม้นั้น พระองค์ก็ทรงมีพระปีติอย่างนั้นเหมือนกัน. ลำดับนั้น ทรงอ่านอานาปานสติกัมมัฏฐาน ในลำดับสุดท้าย ทรงยังฌานหมวดสี่และหมวดห้าให้เกิดขึ้น. พระองค์ทรงยังเวลาให้ล่วงไป ด้วยความสุขในฌานนั้นและ. ใครอื่นย่อมไม่ได้เพื่อเห็น. มหาดเล็กประจำพระองค์คนเดียวเท่านั้น ย่อมเข้าไปได้. ทรงยังเวลาประมาณกึ่งเดือนให้ผ่านไปด้วยประการฉะนี้. ชาวพระนครทั้งหลายประชุมกันในพระลานหลวง ได้ทำการโห่ร้องตะโกนว่า จำเดิมแต่วันที่พระราชาทรงรับพระราชบรรณาการแล้ว ไม่มีการทอดพระเนตรพระนคร หรือการทอดพระเนตรดูนางฟ้อนรำ ไม่มีการพระราชทานวินิจฉัย พระราชาจงทรงพระราชทานพระราชบรรณาการที่พระสหายส่งมาให้แก่ผู้รับไปเถิด ธรรมดาพระราชาทั้งหลาย ย่อมทรงพยายามเพื่อหลอกลวงแม้ด้วยเครื่องบรรณาการ ยึดพระราชสมบัติของพระราชาบางพระองค์ให้แก่ตน พระราชาของพวกเราทรงทำอะไรหนอ ดังนี้. พระราชาทรงสดับเสียงตะโกนแล้วทรงพระราชดำริว่า เราจะธำรงไว้ซึ่งราชสมบัติหรือพระศาสดา. ลำดับนั้น พระองค์ทรงมีพระราชดำริว่า ประธานและมหาอำมาตย์ของประธานย่อมไม่อาจเพื่อจะนับความที่เราเสวยราชสมบัติได้ เราจักธำรงไว้ซึ่งพระศาสนาของพระศาสดา ดังนี้. ทรงจับพระแสงดาบที่ทรงวางไว้บนพระที่บรรทม ตัดพระเกศาแล้วทรงเปิดพระสีหบัญชร ทรงยังกำพระเกศาพร้อมกับพระจุฑามณีให้ตกลงในท่ามกลางบริษัทว่า ท่านทั้งหลายถือเอากำเกศานี้ครองราชสมบัติเถิด. มหาชนยกกำพระเกศานั้นขึ้นแล้ว ร้องเป็นเสียงเดียวกันว่า ข้าแต่พระสมมติเทพ พระราชาทั้งหลายชื่อว่าได้พระราชบรรณาการจากสำนักพระสหายแล้ว ย่อมเป็นเช่นกับพระองค์. พระเกศาและพระมัสสุประมาณสององคุลีแม้ของพระราชาได้มีแล้ว. ได้ยินว่า พระเกศาและพระมัสสุเกิดเป็นเช่นกับบรรพชาของพระโพธิสัตว์นั้นแล. ลำดับนั้น ทรงส่งมหาดเล็กประจำพระองค์ให้นำผ้ากาสาวพัสตร์สองผืน และบาตรดินจากในตลาด ทรงอุทิศต่อพระศาสดาว่า พระอรหันต์เหล่าใดในโลก เราบวชอุทิศพระอรหันต์เหล่านั้น ดังนี้ แล้วทรงนุ่งผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงห่มผ้ากาสาวะผืนหนึ่ง ทรงสะพายบาตร ทรงถือธารพระกร ทรงจงกรมไปมาสอง-สามครั้งในพื้นใหญ่ ด้วยพระราชดำริว่า บรรพชาของเรางามหรือไม่ ดังนี้ ทรงทราบว่า บรรพชาของเรางามดังนี้แล้ว ทรงเปิดพระทวาร เสด็จลงจากพระปราสาท. ก็ประชาชนทั้งหลายเห็นนางฟ้อนผู้ยืนที่ประตูทั้งสามเป็นต้น แต่จำพระราชานั้นซึ่งเสด็จลงมาไม่ได้. ได้ยินว่า พากันคิดว่า พระปัจเจกพุทธเจ้าองค์หนึ่งมาเพื่อแสดงธรรมกถาแก่พระราชาของพวกเรา. แต่ครั้นขึ้นบนพระปราสาทแล้ว เห็นแต่ที่ประทับยืนและที่ประทับนั่งเป็นต้นของพระราชารู้ว่า พระราชาเสด็จไปเสียแล้ว จึงพากันร้องพร้อมกันทีเดียว เหมือนชนในเรือกำลังอับปางจมน้ำในท่ามกลางสมุทรฉะนั้น. เสนีทั้งสิบแปด ชาวนครทั้งหมดและพลกายทั้งหลายพากันแวดล้อมกุลบุตรผู้สักว่าเสด็จลงสู่พื้นแผ่นดินแล้ว ร้องเสียงดัง. ฝ่ายอำมาตย์ทั้งหลายกราบทูลแด่กุลบุตรนั้นว่า ข้าแต่เทวะ ธรรมดาพระราชาทั้งหลายในมัชฌิมประเทศทรงมีมายามาก ขอพระองค์ได้โปรดส่งพระราชสาส์นไปว่า ขึ้นชื่อว่าพุทธรัตนะ ได้เกิดขึ้นในโลกแล้วหรือไม่ ทรงทราบแล้วจักเสด็จไป ขอเดชะ ขอพระองค์จงเสด็จกลับเถิด. เราเชื่อพระสหายของเรา เรากับพระสหายนั้นไม่มีความต่างกัน พวกเจ้าจงหยุดเถิด. อำมาตย์เหล่านั้นก็ติดตามเสด็จนั้นเทียว. กุลบุตรทรงเอาธารพระกรขีดเป็นตัวหนังสือ ตรัสว่า ราชสมบัตินี้เป็นของใคร. ของพระองค์ ขอเดชะ. ผู้ใดทำตัวหนังสือนี้ในระหว่าง บุคคลนั้นพึงให้เสวยพระราชอำนาจ. พระเทวีพระนามว่า สีวลี เมื่อไม่ทรงอาจเพื่อทำพระอักษรที่พระโพธิสัตว์กระทำแล้วในมหาชนกชาดก ให้มีระหว่างก็เสด็จกลับไป. มหาชนก็ได้ไปตามทางที่พระเทวีเสด็จไป. ก็มหาชนไม่อาจเพื่อทำพระอักษรนั้นให้มีในระหว่าง. ชาวนครทำพระอักษรนี้ไว้เหนือศีรษะกลับไปร้องแล้ว. มหาชนคิดว่ากุลบุตรนี้จักให้ไม้สีฟันหรือน้ำบ้วนปาก ในสถานที่เราไปแล้ว ดังนี้ เมื่อไม่ได้อะไรโดยที่สุดแม้เศษผ้าก็หลีกไป. ได้ยินว่า กุลบุตรนั้นมีความคิดอย่างนี้ว่า พระศาสดาของเราเสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงบรรพชาพระองค์เดียวเสด็จไปพระองค์เดียว เราละอายต่อพระศาสดา ได้ยินว่า พระศาสดาของเราทรงบรรพชาแล้ว ไม่เสด็จขึ้นยาน และไม่ทรงสวมฉลองพระบาทโดยที่สุดแม้ชั้นเดียว ไม่ทรงกั้นร่มกระดาษ. มหาชนขึ้นต้นไม้กำแพงและป้อมเป็นต้นแลดูว่า พระราชาของเราเสด็จไปดังนี้. กุลบุตรคิดว่า เราเดินทางไกล ไม่อาจเพื่อจะไปทางหนึ่งได้ จึงเสด็จติดตามพ่อค้าพวกหนึ่ง. เมื่อกุลบุตรผู้สุขุมมาลไปในแผ่นดินที่ร้อนระอุ พื้นพระบาททั้งสองข้าง ก็กลัดหนองแตกเป็นแผล. ทุกข์เวทนาก็เกิดขึ้น. ครั้นเมื่อพวกพ่อค้าตั้งค่ายพักนั่งแล้ว กุลบุตรก็ลงจากทาง นั่ง ณ โคนต้นไม้ต้นหนึ่ง. ชื่อว่าผู้ทำบริกรรมเท้า หรือนวดหลังในที่นั่ง ไม่มี. กุลบุตรเข้าอานาปานจตุตถฌาน ข่มความลำบากในทางความเหน็ดเหนื่อยและความเร่าร้อน ยังเวลาให้ผ่านไปด้วยความยินดีในฌาน. ในวันรุ่งขึ้น เมื่ออรุณขึ้นแล้ว ทำการปฏิบัติสรีระ เดินติดตามพวกพ่อค้าอีก. ในเวลาอาหารเช้า พวกพ่อค้ารับบาตรของกุลบุตรแล้วใส่ขาทนียะและโภชนียะลงในบาตรถวาย. ขาทนียะและโภชนียะนั้นเป็นข้าวสารดิบบ้าง เศร้าหมองบ้าง. แข็งเสมอกับก้อนกรวดบ้าง จืดและเค็มจัดบ้าง. กุลบุตรพิจารณาสถานที่พัก บริโภคขาทนียะและโภชนียะนั้นดุจอมฤตโดยทำนองนั้น เดินไปสิ้นทาง ๒๐๐ โยชน์ต่ำกว่า ๘ โยชน์ (๑๙๒ โยชน์) แม้จะเดินไปใกล้ซุ้มประตูพระเชตวันก็ตาม แต่ก็ไม่ถามว่า พระศาสดาประทับอยู่ ณ ที่ไหน. เพราะเหตุไร. เพราะเคารพในพระศาสดา และเพราะอำนาจแห่งพระราชสาส์นที่พระราชาทรงส่งไป. ก็พระราชาทรงส่งพระราชสาส์นไป ทรงทำดุจพระศาสดาทรงอุบัติในกรุงราชคฤห์ว่า พระตถาคตทรงอุบัติในโลกนี้. เพราะฉะนั้น จึงไม่ถาม เดินทางไปสิ้น ๔๕ โยชน์. ในเวลาพระอาทิตย์ตก กุลบุตรนั้นไปถึงกรุงราชคฤห์ จึงถามว่า พระศาสดาทรงประทับ ณ ที่ไหน. ท่านมาจากที่ไหนขอรับ. จากอุตตรประเทศนี้. พระนครชื่อว่า สาวัตถี มีอยู่ในทางที่ท่านมา ไกลจากพระนครราชคฤห์นี้ประมาณ ๔๕ โยชน์ พระศาสดาประทับอยู่ ณ กรุงสาวัตถีนั้น. กุลบุตรนั้นคิดว่า บัดนี้ไม่ใช่กาล เราไม่อาจกลับ วันนี้เราพักอยู่ในที่นี้ก่อน พรุ่งนี้จักไปสู่สำนักพระศาสดา. แต่นั้นจึงถามว่า เหล่าบรรพชิตที่มาถึงในยามวิกาล พัก ณ ที่ไหน. พัก ณ ศาลานายช่างหม้อนี้ ท่าน. ลำดับนั้น กุลบุตรนั้นขอพักกะนายช่างหม้อนั้นแล้ว เข้าไปนั่งเพื่อประโยชน์แก่การพักอาศัยในศาลาของนายช่างหม้อนั้น. ในเวลาใกล้รุ่งวันนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้ ทรงทำการปฏิบัติพระสรีระแต่เช้าตรู่ มีพระภิกษุสงฆ์แวดล้อม เสด็จบิณฑบาตในกรุงสาวัตถี ภายหลังภัตเสด็จกลับจากบิณฑบาต เสด็จเข้าพระคันธกุฏิ ทรงระงับความลำบากในการเดินทางครู่หนึ่ง ทรงพระดำริว่า กุลบุตรได้ทำกิจที่ทำได้ยากเพราะความเคารพในเรา ละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์ ไม่ถือเศษผ้า โดยที่สุดแม้คนผู้ให้น้ำบ้วนปาก ออกไปเพียงคนเดียว ดังนี้ ไม่ตรัสอะไรในพระเถระทั้งหลายมีพระสารีบุตรและพระโมคคัลลานะเป็นต้น พระองค์เองทรงถือบาตรและจีวรของพระองค์ เสด็จออกไปเพียงพระองค์เดียว และเมื่อเสด็จไป ก็ไม่ได้ทรงเหาะไป ไม่ทรงย่นแผ่นดิน. ทรงพระดำริอีกว่า กุลบุตรละอายต่อเราไม่นั่งแม้ในยานหนึ่ง ในบรรดาช้าง ม้า รถและวอทองเป็นต้น โดยที่สุดไม่สวมรองเท้าชั้นเดียว ไม่กางร่มกระดาษออกไป แม้เราก็ควรไปด้วยเท้าเท่านั้น ดังนี้ จึงเสด็จไปด้วยพระบาท. พระองค์ทรงปกปิดพระพุทธสิรินี้ คือ อนุพยัญชนะ ๘๐ รัศมี ๑ วา มหาปุริสลักษณะ ๓๒ ประการ เสด็จไปด้วยเพศของภิกษุรูปหนึ่ง ดุจพระจันทร์เพ็ญที่หมอกเมฆปกปิดไว้ฉะนั้น โดยปัจฉาภัตเดียวเท่านั้น ก็เสด็จไปได้ ๔๕ โยชน์ ในเวลาพระอาทิตย์ตก ก็เสด็จถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น ในขณะที่กุลบุตรเข้าไปแล้วนั้นแล. ท่านหมายถึงศาลาของนายช่างหม้อนั้น จึงกล่าวว่า ก็โดยสมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ มีศรัทธาออกจากเรือน บวชเป็นบรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้า เขาเข้าไปพักในนิเวศน์ของนายช่างหม้อนั้นก่อน ดังนี้. ก็พระผู้มีพระภาคเจ้า แม้ครั้นเสด็จไปอย่างนี้แล้ว ก็ไม่ทรงข่มขู่ว่า เราเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จไปยังศาลาของนายช่างหม้อประทับยืนที่ประตูนั้นแล เมื่อจะให้กุลบุตรทำโอกาส จึงตรัสว่า สเจ เต ภิกฺขุ ดังนี้เป็นต้น. บทว่า อุรุทฺทํ ได้แก่ สงัดไม่คับแคบ. บทว่า วิหรตายสฺมา ยถาสุขํ ความว่า กุลบุตรทำโอกาสว่า ขอพระผู้เป็นเจ้าจงอยู่เป็นสุข ตามอิริยาบถที่มีความผาสุกเถิด. ก็กุลบุตรละราชสมบัติเกินหนึ่งร้อยโยชน์แล้วบวช จักตระหนี่ศาลาของนายช่างหม้อที่คนอื่นทอดทิ้ง เพื่อพรหมจารีอื่นหรือ. ก็โมฆบุรุษบางพวกบวชในศาสนาแล้ว ถูกความตระหนี่ทั้งหลายมีความตระหนี่ เพราะอาวาสเป็นต้นครอบงำ ย่อมตะเกียกตะกาย เพราะอาวาสของบุคคลเหล่าอื่นว่า สถานที่อยู่ของตน เป็นกุฏิของเรา เป็นบริเวณของเรา ดังนี้. บทว่า นิสีทิ ความว่า พระโลกนาถทรงสุขุมาลชาติอย่างยิ่ง ทรงละพระคันธกุฏิเป็นเช่นกับเทพวิมาน ทรงปูลาดสันถัดคือหญ้าในศาลาช่างหม้อซึ่งมีขี้เถ้าเรี่ยราดไปทั่ว สกปรกด้วยภาชนะแตก หญ้าแห้ง ขี้ไก่และขี้สุกรเป็นต้น เป็นเช่นกับที่ทิ้งขยะ ทรงปูปังสุกุลจีวรประทับนั่ง ดุจเสด็จเข้าพระมหาคันธกุฏิ อันมีกลิ่นทิพย์เช่นกับเทพวิมานแล้วประทับนั่งฉะนั้น. ด้วยประการฉะนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงอุบัติในพระมหาสัมมตวงศ์อันไม่เจือปน แม้กุลบุตรก็เจริญแล้วในขัตติยครรภ์. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินิหาร แม้กุลบุตรก็ถึงพร้อมด้วยอภินิหาร. พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ต่างก็ทรงสละราชสมบัติทรงผนวช. แม้พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงมีพระวรรณะดุจทอง แม้กุลบุตรก็มีวรรณะดุจทอง พระผู้มีพระภาคเจ้าก็ดี กุลบุตรก็ดี ทรงมีลาภคือสมาบัติ. ทั้งสองก็ทรงเป็นกษัตริย์ ทั้งสองก็ทรงถึงพร้อมด้วยพระอภินิหาร ทั้งสองก็ทรงผนวชจากราชตระกูล ทั้งสองทรงมีพระวรรณะดุจทอง ทั้งสองทรงมีลาภคือสมาบัติ เสด็จเข้าสู่ศาลาของช่างหม้อแล้ว ประทับนั่ง ด้วยประการฉะนี้. ด้วยเหตุนั้น ศาลาช่างหม้อจึงงดงามอย่างยิ่ง. พึงนำสถานที่ทั้งหลายเป็นต้นว่า ถ้ำที่พญาสัตว์ทั้งสองมีสีหะเป็นต้นเข้าไปแสดงเปรียบเทียบเถิด. ก็ในบุคคลทั้งสองนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าไม่ทรงยังแม้พระหฤทัยให้เกิดขึ้นว่า เราเป็นผู้สุขุมาล เดินทางมาสิ้น ๔๕ โยชน์โดยเวลาหลังภัตเดียว ควรสำเร็จสีหไสยาสักครู่ก่อน ให้หายเหนื่อยจากการเดินทาง ดังนี้ ประทับนั่งเข้าผลสมาบัติเทียว. ฝ่ายกุลบุตรก็ไม่ยังจิตให้เกิดขึ้นว่า เราเดินทางมาสิ้น ๑๙๒ โยชน์ ควรนอนพักบรรเทาความเหนื่อยในการเดินทางสักครู่ก่อน ก็นั่งเข้าอานาปานจตุตถฌานแล. ท่านหมายถึงการเข้าสมาบัตินั้น จึงกล่าวว่า อถโข ภควา พหุเทว รตฺตึ เป็นต้น. ถามว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จมาด้วยพระดำริว่า เราจักแสดงธรรมแก่กุลบุตรมิใช่หรือ เพราะเหตุไร จึงไม่ทรงแสดงเล่า. ตอบว่า ไม่ทรงแสดง เพราะเหตุว่า กุลบุตรมีความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางยังไม่สงบระงับ จักไม่อาจเพื่อรับพระธรรมเทศนาได้ ขอให้ความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางนั้นของกุลบุตรสงบระงับก่อน. อาจารย์พวกอื่นกล่าวว่า ธรรมดานครราชคฤห์เกลื่อนกล่นด้วยมนุษย์ ไม่สงัดจากเสียง ๑๐ อย่าง เสียงนั้นจะสงบโดยประมาณสองยามครึ่ง พระองค์ทรงรอการสงบเสียงนั้นจึงไม่ทรงแสดง. นั้นไม่ใช่การณ์. เพราะพระผู้มีพระภาคเจ้าทรงสามารถเพื่อยังเสียง แม้ประมาณพรหมโลกให้สงบระงับได้ ด้วยอานุภาพของพระองค์. พระองค์ทรงรอความสงบระงับจากความเหน็ดเหนื่อยในการเดินทางก่อน จึงไม่ทรงแสดง. บรรดาบทเหล่านั้น บทว่า พหุเทว รตฺตึ ได้แก่ ประมาณสองยามครึ่ง. บทว่า เอตทโหสิ ความว่า พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จออกจากผลสมาบัติแล้ว ทรงลืมพระเนตรที่ประดับประดาด้วยประสาทห้าอย่าง ทรงแลดูดุจทรงเปิดสีหบัญชรแก้วมณี ในวิมานทองฉะนั้น

สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเมื่อเสด็จจาริกไปในมคธชนบท ทรงแวะยังพระนครราชคฤห์ เสด็จเข้าไปหานายช่างหม้อ ชื่อภัคควะยังที่อยู่ แล้วตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนนายภัคควะ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. นายภัคควะทูลว่า ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าไม่มีความหนักใจเลย แต่ในโรงนี้มีบรรพชิตเข้าไปอยู่ก่อนแล้ว ถ้าบรรพชิตนั้นอนุญาต ก็นิมนต์ท่านพักตามสบายเถิด. ก็สมัยนั้นแล กุลบุตรชื่อปุกกุสาติ ออกจากเรือนบวชเป็น บรรพชิตอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยศรัทธา. ปุกกุสาติกุลบุตรนั้นเข้าไปพักอยู่ ในโรงของนายช่างหม้อนั้นก่อนแล้ว. ครั้งนั้นแล พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้า ไปหาท่านปุกกุสาติยังที่พัก แล้วตรัสกะท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ ถ้าไม่เป็นความหนักใจแก่ท่าน เราจะขอพักอยู่ในโรงสักคืนหนึ่งเถิด. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ โรงช่างหม้อกว้างขวาง นิมนต์ท่านผู้มีอายุพักตามสบายเถิด. ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จเข้าไปสู่โรงช่างหม้อแล้ว ทรงลาดสันถัดหญ้า ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง ประทับนั่งคู้บัลลังก์ ตั้งพระกายตรงดำรงพระสติมั่นเฉพาะหน้า พระองค์ประทับนั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมาก. แม้ท่านปุกกุสาติก็นั่งล่วงเลยราตรีไปเป็นอันมากเหมือนกัน . ครั้งนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตรนี้ ประพฤติน่าเลื่อมใสหนอ เราควรถามดูบ้าง. ต่อนั้น พระองค์จึงตรัสถามท่านปุกกุสาติดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุท่านบวช อุทิศใครเล่า หรือว่าใครเป็นศาสดาของท่าน หรือท่านชอบใจธรรมของใคร. ท่านปุกกุสาติตอบว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระสมณโคดมผู้ศากยบุตร เสด็จออกจากศากยราชสกุลทรงผนวชแล้ว ก็พระโคดมผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นแล มีกิตติศัพท์งามฟุ้งไป อย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุดังนี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นเป็นผู้ไกลจากกิเลส รู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ ดำเนินไปดี รู้แจ้งโลก เป็นสารถีผู้ฝึกบุรุษที่ควรฝึกอย่างหา คนอื่นยิ่งกว่ามิได้ เป็นครูของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้ตื่นแล้ว เป็นผู้แจงธรรม ดังนี้ ข้าพเจ้าบวชอุทิศพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น และพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เป็นศาสดาของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าชอบใจธรรมของพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น ประทับอยู่ที่ไหน. ปุ. ดูก่อนท่านผู้มีอายุ มีพระนครชื่อว่าสาวัตถีอยู่ในชนบท ทางทิศเหนือ เดี่ยวนี้ พระผู้มีพระภาคอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้าพระองค์นั้น ประทับอยู่ที่นั่น. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็ท่านเคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้นหรือ และท่านเห็นแล้วจะรู้จักไหม. ปุ. ดูก่อนผู้มีอายุ ข้าพเจ้าไม่เคยเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น เลย ถึงเห็นแล้ว ก็ไม่รู้จัก . ลำดับนั้น พระผู้มีพระภาคเจ้าได้มีพระดำริดังนี้ว่า กุลบุตร นี้บวชอุทิศเรา เราควรจะแสดงธรรมแก่เขา. แต่นั้น พระองค์จึงตรัสเรียกท่านปุกกุสาติว่า ดูก่อนภิกษุ เราจักแสดงธรรมแก่ท่าน ท่านจงพึงธรรมนี้ จงใส่ใจให้ดี. เราจักกล่าวต่อไป ท่านปุกกุสาติทูลรับพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ชอบแล้ว ท่านผู้มีอายุ. พระผู้มีพระภาคเจ้าจึงได้ตรัสดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธาตุ ๖ มีแดนสัมผัส ๖ มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตน และกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นี้อุเทศแห่งธาตุวิภังค์หก. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ อย่างนี้ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธาตุ ๖ นั้น เราอาศัยธาตุดังนี้ กล่าวแล้ว . ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส ๖ นั้นเราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ จักษุ โสต ฆานะ ชิวหา กาย มโน เป็นแดนสัมผัส. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีแดนสัมผัส. นั่น เราอาศัยอายตนะนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึก ของใจ ๑๘ นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ บุคคลเห็นรูปด้วยจักษุแล้วย่อม หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกรูปเป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา ฟังเสียงด้วยโสตแล้ว . . . ดมกลิ่นด้วยฆานะแล้ว ... ลิ้มรสด้วยชิวหาแล้ว. . . ถูกต้องโผฏฐัพพะด้วยกายแล้ว. . . รู้ธรรมารมณ์ด้วยมโนแล้ว ย่อมหน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโสมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งโทมนัส หน่วงนึกธรรมารมณ์เป็นที่ตั้งแห่งอุเบกขา นี้เป็นการหน่วงนึกโสมนัส ๖ หน่วงนึกโทมนัส ๖ หน่วงนึกอุเบกขา ๖. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีความหน่วงนึกของใจ ๑๘ นั่น เราอาศัยความหน่วงนึกนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. คือ มีปัญญาเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีสัจจะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีจาคะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ มีอุปสมะเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจ ความสงบ ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ดูก่อนภิกษุ คนเรานี้ มีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ นั้น เราอาศัยธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ อย่างไรเล่า ชื่อว่าไม่ประมาทปัญญา. ดูก่อนภิกษุ ธาตุนี้มี ๖ คือ ปฐวีธาตุ อาโปธาตุ เตโชธาตุ วาโยธาตุ อากาสธาตุ วิญญาณธาตุ. ดูก่อนภิกษุ ก็ปฐวีธาตุเป็นไฉน คือ ปฐวีธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็ปฐวีธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่แข่นแข็ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ผม ขน เล็บ ฟัน หนัง เนื้อ เอ็น กระดูก เยื้อในกระดูก ม้าม หัวใจ ตับ พังผืด ไต ปอด ไส้ใหญ่ ไส้น้อย อาหารใหม่ อาหารเก่าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่แข่นแข็ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตนนี้เรียกว่าปฐวีธาตุภายใน. ก็ปฐวีธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นปฐวีธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นปฐวีธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่าย ปฐวีธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดปฐวีธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อาโปธาตุเป็นไฉน. คืออาโปธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็อาโปธาตุภายใน เป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่เอิบอาบ ซึมซาบไปกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ดี เสลด น้ำเหลือง เลือด เหงื่อ มันข้น น้ำตา เปลวมัน น้ำลาย น้ำมูก ไขข้อ มูตร หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่เอิบอาบซึมซาบไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า อาโปธาตุภายใน. ก็อาโปธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอาโปธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอาโปธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอาโปธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอาโปธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็เตโชธาตุเป็นไฉน. คือ เตโชธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็เตโชธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน คือ ธาตุที่เป็นเครื่องยังกายให้อบอุ่น ยังกายให้ทรุดโทรม ยังกายให้กระวนกระวาย และธาตุที่เป็นเหตุให้ของที่กิน ที่ดื่มที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วถึงความย่อยไปด้วยดี หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่อบอุ่น ถึงความเร่าร้อนกำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่า เตโชธาตุภายใน. ก็เตโชธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นเตโชธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นเตโชธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรานั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายเตโชธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดเตโชธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็วาโยธาตุเป็นไฉน. คือ วาโยธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี. ก็วาโยธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่พัดผันไป กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ลมพัดขึ้นเบื้องบน ลมพัดลงเบื้องต่ำ ลมในท้อง ลมในลำไส้ ลมแล่นไปตามอวัยวะน้อยใหญ่ ลมหายใจออก ลมหายใจเข้าหรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่พัดผันไป กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าวาโยธาตุภายใน. ก็วาโยธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นวาโยธาตุทั้งนั้น . พึงเห็นวาโยธาตุนั้น ด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่าง นี้ว่า นั่นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั่นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้วจะเบื่อหน่ายวาโยธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดวาโยธาตุได้. ดูก่อนภิกษุ ก็อากาสธาตุเป็นไฉน คือ อากาสธาตุภายในก็มีภายนอกก็มี ก็อากาสธาตุภายในเป็นไฉน. ได้แก่สิ่งที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้มีในตน อาศัยตน คือ ช่องหู ช่องจมูก ช่องปากซึ่งเป็นทางให้กลืนของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม. เป็นที่ตั้งของที่กิน ที่ดื่ม ที่เคี้ยว ที่ลิ้ม และเป็นทางระบายของที่กิน ที่ดม ที่เคี้ยว ที่ลิ้มแล้วออกทางเบื้องล่าง หรือแม้สิ่งอื่นไม่ว่าชนิดไร ๆ ที่ว่าง ปรุโปร่ง กำหนดได้ มีในตน อาศัยตน นี้เรียกว่าอากาสธาตุภายใน. ก็อากาสธาตุทั้งภายในและภายนอก นี้แล เป็นอากาสธาตุทั้งนั้น. พึงเห็นอากาสธาตุนั้นด้วยปัญญาชอบตามความเป็นจริงอย่างนี้ว่า นั้นไม่ใช่ของเรา นั่นไม่ใช่เรา นั้นไม่ใช่อัตตาของเรา. ครั้นเห็นแล้ว จะเบื่อหน่ายอากาสธาตุ และจะให้จิตคลายกำหนัดอากาสธาตุได้. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือวิญญาณอันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง บุคคลย่อมรู้อะไร ๆ ได้ด้วยวิญญาณนั้น คือ รู้ชัดว่า สุขบ้าง ทุกข์บ้างไม่ทุกข์ไม่สุขบ้าง. ดูก่อนภิกษุ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้น แลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้นเมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่าความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็น ที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนเกิดความร้อน เกิดไฟได้ เพราะไม้สองท่อนประชุมสีกัน ความร้อนที่เกิดแต่ไม้สองท่อนนั้น ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะไม้สองท่อนนั้น เองแยกกันไปเสียคนละทาง แม้ฉัน ใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนา ย่อมเกิดสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้ง แห่งสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมเกิดทุกขเวทนา บุคคลนั้นเมื่อเสวยทุกขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่ากำลังเสวยทุกขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือ ตัวทุกขเวทนาอันเกิด เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งทุกขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. เพราะอาศัยผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมเกิดอทุกขมสุขเวทนา. บุคคลนั้น เมื่อเสวยอทุกขมสุขเวทนา ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ เพราะผัสสะเป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนานั้นแลดับไป ย่อมรู้ชัดว่า ความเสวยอารมณ์ที่เกิดแต่ผัสสะนั้น คือตัวอทุกขมสุขเวทนาอันเกิดเพราะอาศัยผัสสะ เป็นที่ตั้งแห่งอทุกขมสุขเวทนา ย่อมดับ ย่อมเข้าไปสงบ. ต่อนั้นสิ่งที่จะเหลืออยู่อีกก็คือ อุเบกขา อัน บริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงานและผ่องแผ้ว. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนนายช่างทอง หรือลูกมือ ของนายช่างทองผู้ฉลาด ติดเตาสุมเบ้าแล้ว เอาคีมคีบทองใส่เบ้า หลอมไป ซัดน้ำไป สังเกตดูไปเป็นระยะ ๆ ทองนั้น จะเป็นของถูกไล่ขี้แล้ว หมดฝ้า เป็นเนื้ออ่อนสลวย และผ่องแผ้ว เขาประสงค์ชนิดเครื่องประดับใด ๆ จะเป็นแหวน ตุ้มหูเครื่องประดับคอ มาลัยทองก็ตาม ย่อมสำเร็จความประสงค์อันนั้นแต่ทองนั้นได้ ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล เมื่อเหลืออยู่แต่อุเบกขา อันบริสุทธิ์ ผุดผ่อง อ่อน ควรแก่การงาน และผ่องแผ้ว บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยอากาสานัญจายตนฌานนั้น ยึดอากาสานัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ยึดวิญญาณัญจายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌานและเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะ เป็นอุเบกขาอาศัยอากิญจัญญายตนฌานนั้น ยึดอากิญจัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ อุเบกขาของเรานี้ ก็จะเป็นอุเบกขาอาศัยเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ยึดเนวสัญญานาสัญญายตนฌานนั้น ดำรงอยู่ตลอดกาลยืนนาน. บุคคลนั้นย่อมรู้ชัดอย่างนี้ว่า ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากาสานัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่ วิญญาณัญจายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้ อันบริสุทธิ์ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่อากิญจัญญายตนฌาน และเจริญจิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ ถ้าเราน้อมอุเบกขานี้อันบริสุทธิ์ ผุดผ่องอย่างนี้ เข้าไปสู่เนวสัญญานาสัญญายตนฌาน และเจริญ จิตมีธรรมควรแก่ฌานนั้น จิตนี้ก็เป็นสังขตะ. บุคคลนั้นจะไม่คำนึง จะไม่คิดถึงความเจริญหรือความเสื่อมเลย เมื่อไม่คำนึง ไม่คิดถึง ย่อมไม่ยึดมั่นอะไร ๆ ในโลก เมื่อไม่ยึดมั่น ย่อมไม่หวาดเสียว เมื่อไม่หวาดเสียว ย่อมปรินิพพานเฉพาะตนทีเดียว ย่อมทราบชัดว่าชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำได้ทำเสร็จแล้ว กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้มิได้มี. ถ้าเขาเสวยสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า สุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยทุกขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่า ทุกขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาอยู่ ย่อมรู้ชัดว่าอทุกขมสุขเวทนานั้น ไม่เที่ยง อันบัณฑิตไม่ติดใจ ไม่เพลิดเพลิน. ถ้าเสวยสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยทุกขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย ถ้าเสวยอทุกขมสุขเวทนาก็เป็นผู้ไม่ประกอบเสวย เขาเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด. เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด. และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกัน แล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. ดูก่อนภิกษุ เปรียบเหมือนประทีปน้ำมัน อาศัยน้ำมันและไส้ จึงโพลงอยู่ได้ เพราะสิ้นน้ำมันและไส้นั้น และไม่เติมน้ำมัน และไส้อื่นย่อมเป็นประทีปหมดเชื้อ ดับไป ฉันใด ดูก่อนภิกษุ ฉันนั้นเหมือนกันแล บุคคลนั้นเมื่อเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีกายเป็นที่สุด เมื่อเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด ย่อมรู้ชัดว่า กำลังเสวยเวทนามีชีวิตเป็นที่สุด และรู้ชัดว่า เบื้องหน้าแต่สิ้นชีวิต เพราะตายไปแล้ว ความเสวยอารมณ์ทั้งหมดที่ยินดีกันแล้วในโลกนี้แล จักเป็นของสงบ. เพราะเหตุนั้นผู้ถึงพร้อมด้วยความรู้สึกอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยปัญญาอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งด้วยประการนี้. ก็ปัญญานี้ คือความรู้ในความสิ้นทุกข์ ทั้งปวงเป็นปัญญาอันประเสริฐยิ่ง ความหลุดพ้นของเขานั้น จัดว่าตั้งอยู่ในสัจจะเป็นคุณไม่กำเริบ. ดูก่อนภิกษุ เพราะสิ่งที่เปล่าประโยชน์เป็นธรรมดา นั้นเท็จ สิ่งที่ไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา ได้แก่ นิพพาน นั้นจริง ฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสัจจะอันเป็นธรรม ควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็สัจจะนี้ คือนิพพาน มีความไม่เลอะเลือนเป็นธรรมดา เป็นสัจจะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั่นแล ยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงเป็นอันพรั่งพร้อม สมาทานอุปธิเข้าไป อุปธิเหล่านั้นเป็นอันเขาละได้แล้วถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยการสละอย่างนี้ ชื่อว่าเป็นผู้ถึงพร้อมด้วยจาคะอันเป็นธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็จาคะนี้ คือความสละคืนอุปธิทั้งปวง เป็นจาคะอันประเสริฐยิ่ง. อนึ่ง บุคคลนั้น แลยังไม่ทราบในกาลก่อน จึงมีอภิชฌา ฉันทะ ราคะกล้า อาฆาต พยาบาท ความคิดประทุษร้าย อวิชชา ความหลงพร้อม และความหลงงมงาย อกุศลธรรมนั้น ๆ เป็นอันเขาละได้แล้ว ถอนรากขึ้นแล้ว ทำให้เหมือนตาลยอดด้วนแล้ว ถึงความเป็นอีกไม่ได้ มีความไม่เกิดต่อไปเป็นธรรมดา เพราะฉะนั้น ผู้ถึงพร้อมด้วยความสงบอย่างนี้ ชื่อว่า เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยอุปสมะอันเป็น ธรรมควรตั้งไว้ในใจอย่างยิ่งประการนี้. ก็อุปสมะนี้ คือความเข้าไปสงบราคะ โทสะ โมหะ เป็นอุปสนะอันประเสริฐอย่างยิ่ง. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า ไม่พึงประมาทปัญญา พึงตามรักษาสัจจะ พึงเพิ่มพูนจาคะ พึงศึกษาสันติเท่านั้น. นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว. ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมมเป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญคนมีอยู่ดังนี้ ว่า เราเป็น เราไม่เป็น เราจักเป็น เราจักไม่เป็น เราจักต้องเป็นสัตว์มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีรูป เราจักต้องเป็นสัตว์มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญา เราจักต้องเป็นสัตว์ไม่มีสัญญาก็มิใช่มีสัญญาก็มิใช่. ดูก่อนภิกษุ ความสำคัญตนจัดเป็นโรค เป็นหัวผี เป็นลูกศร ก็ท่านเรียกบุคคลว่า เป็นมุนีผู้สงบแล้ว เพราะล่วงความสำคัญตนได้ทั้งหมดเทียว และมุนีผู้สงบแล้วแล ย่อมไม่เกิดไม่แก่ ไม่ตาย ไม่กำเริบ. ไม่ทะเยอทะยาน. แม้มุนีนั้นก็ไม่มีเหตุที่จะต้องเกิดเมื่อไม่เกิด จักแก่ได้อย่างไร เมื้อไม่แก่ จักตายได้อย่าง ไร เมื่อไม่ตาย จักกำเริบได้อย่างไร เมื่อไม่กำเริบจักทะเยอทะยานได้อย่างไร. ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า คนเรามีธรรมที่ควรตั้งไว้ ในใจ ๔ อันเป็นธรรมที่ผู้ตั้งอยู่แล้ว ไม่มีกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม เป็นไป ก็เมื่อกิเลสเครื่องสำคัญตนและกิเลสเครื่องหมักหมม ไม่เป็นไปอยู่ บัณฑิตจะเรียกเขาว่า มุนีผู้สงบแล้ว นั่นเราอาศัยเนื้อความกล่าวแล้ว. ดูก่อนภิกษุ ท่านจงทรงจำธาตุวิภังค์ ๖ โดยย่อนี้ของเราไว้เถิด. ลำดับนั้นแล ท่านปุกกุสาติทราบแน่นอนว่า พระศาสดา พระสุคต พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เสด็จมาถึงแล้วโดยลำดับ จึงลุกจากอาสนะทำจีวรเฉวียงบ่าข้างหนึ่ง ซบเศียรลงแทบพระยุคลบาทของพระผู้มีพระภาคเจ้า แล้วทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ โทษล่วงเกินได้ต้อง ข้าพระองค์เข้าแล้ว ผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งข้าพระองค์ได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกพระผู้มีพระภาคเจ้าด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ ขอพระผู้มีพระภาคเจ้าจงรับอดโทษล่วงเกินแก่ข้าพระองค์ เพื่อจะสำรวมต่อไปเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ เอาเถอะ โทษล่วงเกินได้ต้องเธอผู้มีอาการโง่เขลา ไม่ฉลาด ซึ่งเธอได้สำคัญ ถ้อยคำที่เรียกเราด้วยวาทะว่า ดูก่อนท่านผู้มีอายุ แต่เพราะเธอเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษแล้วกระทำคืน ตามธรรม เราขอรับอดโทษนั้นแก่เธอ ดูก่อนภิกษุ ก็ข้อที่บุคคลเห็นโทษล่วงเกินโดยความเป็นโทษ แล้วกระทำคืนตามธรรม ถึงความสำรวมต่อไปได้นั้น เป็นความเจริญในอริยวินัย. ปุ. ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอข้าพระองค์พึงได้อุปสนบทในสำนักของพระผู้มีพระภาคเจ้าเถิด. พ. ดูก่อนภิกษุ ก็บาตรจีวรของเธอครบแล้วหรือ. ปุ. ยังไม่ครบ พระพุทธเจ้าข้า. พ. ดูก่อนภิกษุ ตถาคตทั้งหลาย จะให้กุลบุตรผู้มีบาตรและจีวรยัง ไม่ครบอุปสมบทไม่ได้เลย. ลำดับนั้น ท่านปุกกุสาติ ยินดี อนุโมทนาพระภาษิตของ พระผู้มีพระภาคเจ้าแล้ว ลุกจากอาสนะ ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้ากระทำประทักษิณแล้ว หลีกไปหาบาตรจีวร. ทันใดนั้นแล แม่โคได้ปลิดชีพท่านปุกกุสาติ ผู้กำลังเที่ยวหาบาตรจีวรอยู่. ต่อนั้น ภิกษุมากรูปด้วยกัน ได้เข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้า ยังที่ประทับแล้ว ถวายอภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า นั่งณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง พอนั่งเรียบร้อยแล้ว ได้ทูลพระผู้มีพระภาคเจ้าดังนี้ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ กุลบุตร ชื่อปุกกุสาติที่พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสสอนด้วย พระโอวาทย่อ ๆ คนนั้น ทำกาละเสียแล้ว เขาจะมีคติอย่างไร มีสัมปรายภพอย่างไร. พ. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตรเป็นบัณฑิต ได้บรรลุธรรมสมควรแก่ธรรมแล้ว ทั้งไม่ให้เราลำบากเพราะเหตุแห่งธรรม ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ปุกกุสาติกุลบุตร เป็นผู้เข้าถึงอุปปาติกเทพ เพราะสิ้นสัญโญชน์อันเป็นส่วนเบื้องต่ำ ๕ เป็นอันปรินิพพานในโลกนั้น มีความไม่กลับมาจากโลกนั้นอีกเป็นธรรมดา. พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสพระภาษิตนี้แล้ว ภิกษุเหล่านั้น ต่างชื่นชมยินดีพระภาษิตของพระผู้มีพระภาคเจ้าแล. จบ ธาตุวิภังคสูตร ที่ ๑๐

วันอังคารที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วิธีเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่ถูกต้อง*โดยกำหนดลมหายใจเข้าออก ไม่ต้องคิด ไม่ต้องภาวนา หรือไม่ต้องพิจารณา* ถ้าไปภาวนาหรือพิจารณาเข้า ไอ้ตัวยุ่งๆ ในใจมันมีอยู่แล้ว วิตกนี่มันก็ยุ่ง โมหะมันก็ยุ่ง มันคิดไม่หยุดไม่หย่อน ถ้าเราไปภาวนาเข้า หรือพิจารณาเข้าก็เลยช่วยกันคิดเข้าไปใหญ่ ส่งเสริมกำลังใจกันเข้าไป ทีนี้ท่านเลยให้ตัดเสียด้วยการพิจารณาลมหายใจเข้าออกอย่างเดียว โดยไม่ต้องภาวนาใดๆ ทั้งหมด

วันจันทร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าเลยไปหนึ่งอสงไขยแสนกัปแต่กัปนี้ไปข้าพระองค์หมอบลงที่ใกล้พระบาทของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงพระนามว่า อโนมทัสสี ปรารถนาเห็นพระองค์ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ข้าพระองค์บำเพ็ญ บารมีมาหนึ่งอสงไขยกำไรแสนกัป ก็เพื่อถวายบังคมพระบาททั้งสองนี้ของพระองค์ มโนรถของข้าพระองค์ถึงที่สุดแล้ว ถ้าว่า พระองค์ไม่ทรงชอบพระทัย โทษไร ๆ ของข้าพระองค์ ที่เป็นไปทาง กายหรือทางวาจา ขอพระองค์ทรงอดโทษนั้นด้วย ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้านี้เป็นการไปของข้าพระองค์แล้ว

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

วันศุกร์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2557

นิพพานคาถาโดยพระราชพรหมยานเถระกิเลสย่อมไม่เกิดขึ้นเนืองๆ แก่พระสกทาคามี เหมือนกับที่เกิดแก่ปุถุชนส่วนมากที่แล่นไปตามวัฏฏะ ย่อมเกิดขึ้นเป็นบางครั้งบางคราวเท่านั้น แม้เมื่อเกิดขึ้นก็เป็นอาการที่เบาบาง เหมือนอย่างหน่อพืชในไร่นาที่หว่านไว้ห่างๆ แม้เมื่อเกิดขึ้นก็ไม่รุนแรง ไม่กระทำความมืดมนให้เหมือนกันที่เกิดแก่ปุถุชนส่วนมากที่แล่นไปตามวัฏฏะ อีกประการหนึ่งเพราะเหตุที่ถูกมรรคทั้งสองประหานเสียแล้ว จึงเกิดขึ้นอ่อนๆ ไม่รุนแรง ย่อมเกิดขึ้นเป็นอาการบางๆ เหมือนชั้นแห่งหมอก

ความประพฤติของพระโพธิสัตว์พึงประกอบความเพียรในประโยชน์ของสัตว์นั้นนั้น..พึงอดกลั้นสิ่งทั้งปวงมีสิ่งที่น่าปราถนาและไม่น่าปราถนา

พระเจ้าปุกกุสาติ อานาปานจตุถฌาน พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงตรวจดูโลก ทรงเห็นกุลบุตรชื่อว่าปุกกุสาติ ทรงพระดำริว่า กุลบุตรนี้อ่านเพียงสาส์นที่พระสหายส่งไป ละราชสมบัติใหญ่ เกินร้อยโยชน์ บวชอุทิศเจาะจงเรา เดินทางสิ้น ๑๙๒ โยชน์ถึงกรุงราชคฤห์ ก็เมื่อเราไม่ไป จักไม่แทงตลอดสามัญญผล ๓ จะทำกาลกิริยาไร้ที่พึ่ง โดยการพักคืนเดียว แต่ครั้นเมื่อเราไปแล้ว จักแทงตลอดสามัญญผล ๓ ก็เราบำเพ็ญบารมีทั้งหลายสิ้นสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป เพื่อประโยชน์แก่การสงเคราะห์ชนเท่านั้น เราจักทำการสงเคราะห์แก่กุลบุตรปุกกุสาตินั้น ดังนี้

วันจันทร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2557

มหากรุณาจิตธารณีสูตรคาถา(ไทย) พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

บูชาเจ้าแม่กวนอิมมหาโพธิสัตว์ (มหากรุณาธารณีสูตร) พระพุทธเจ้า...กับ...มังสวิรัติ หลายที่หลายแห่งนานาประเทศทั่วโลก มีผู้คนส่วนหนึ่งพากันดำรงชีวิตอยู่ ด้วยการอาศัยอาหาร ที่ได้มาจากพืชผัก และนมเนย โดยไม่ต้องอาศัยการฆ่าแกงทำร้ายสัตว์อื่น แล้วนำมากินเป็นอาหารเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ประเทศอินเดีย อันเป็นต้นกำเนิดของพุทธศาสนา ซึ่งนับแต่โบราณกาล มาจนตราบ เท่าทุกวันนี้ ชาวอินเดียส่วนใหญ่ก็ยังคงไม่กินเนื้อสัตว์กันเป็นอาหาร แต่จะกินพืช ผัก ผลไม้ นม เนย เป็นอาหาร หลักสำคัญของชีวิต บทความนี้ จะเป็นการเสนอแง่มุมคิดเกี่ยวกับ "อาหารมังสวิรัติ" ในแง่มุมทางพุทธศาสนาเท่านั้น ไม่ใช่แง่มุม ทางสุขภาพอนามัย ไม่ใช่ทางโภชนาการ ไม่ใช่ทางวิทยาศาสตร์ ไม่ใช่ทางเศรษฐกิจ ฯลฯ เป็นความคิดเห็น ที่อาศัยคำตรัสของพระพุทธเจ้า ที่มีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกเป็นหลักฐานอ้างอิง ในพระไตรปิฎกมีอยู่มากมายหลายพระสูตร ที่พระพุทธเจ้าตรัสเอาไว้ แล้วมีส่วนเกี่ยวพันกันไปถึง "มังสวิรัติ" อันคือ งดเว้นการกินอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆจากสัตว์ ซึ่งได้มาจากการฆ่าสัตว์เพื่อทำเป็นอาหาร ที่นี้จะขอยกมากล่าวถึงเพียงบางพระสูตรเท่านั้น ได้แก่... พระพุทธองค์ตรัส (๑) "ละการฆ่า เว้นขาดจากการฆ่าสัตว์ วางทัณฑะ(โทษภัย) วางศาสตรา(ของมีคม)แล้ว มีความละอาย มีความเอ็นดู มีความกรุณา หวังประโยชน์ แก่สัตว์ทั้งปวงอยู่ ตลอดคืนหนึ่งกับวันหนึ่งในวันนี้ แม้ด้วยการกระทำอย่างนี้ ก็ชื่อว่าได้ทำตามพระอรหันต์ทั้งหลาย" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๐ "อุโปสถสูตร" ข้อ๕๑๐) จากพระสูตรนี้ก็คือ ศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์นั่นเอง ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงห้าม การฆ่าสัตว์เอาไว้ แก่พุทธศาสนิกชนทุกคน ไม่ว่าจะอยู่ในฐานะ อาชีพใดๆ คือ เป็นข้าราชการ พ่อค้า ลูกจ้าง กรรมกร ทั้งหญิง ชาย ทั้งเด็ก และผู้ใหญ่ เมื่อเป็นชาวพุทธ ก็ต้องพยายามถือศีลข้อที่ ๑ ละเว้นจากการฆ่าสัตว์ มีใจเอ็นดู แก่สัตว์ทั้งปวง ถ้าปฏิบัติกันจริงเมืองไทยย่อมจะหาเนื้อสัตว์กินกันได้ยาก ภายในเมืองพุทธ แห่งนี้ อาหาร การกินส่วนใหญ่ ก็คงต้องเป็น "อาหารมังสวิรัติ" นั่นแหละมากกว่า ดังนั้นการที่ชาวพุทธชักชวนกันเลิกกินเนื้อสัตว์ได้ ก็จะเป็นการเอื้อเฟื้อต่อศีลข้อที่ ๑ ที่พระพุทธเจ้า ทรงบัญญัติ เอาไว้ จะได้ไม่ทำให้ศีลข้อนี้ต้องกลายเป็นหมันไป มิฉะนั้นแล้ว ยิ่งมีคนกินเนื้อสัตว์กันมากเท่าใด ก็ย่อมต้องมีการฆ่าสัตว์เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น อันเป็น การส่งเสริม ให้ชาวพุทธ กระทำผิดศีลข้อที่ ๑ เพิ่มมากขึ้นนั่นเอง พระพุทธองค์ตรัส (๒) การค้าขาย ๕ ประการนี้ อันอุบาสกไม่พึงกระทำคือ ๑.การค้าขายศาสตรา ๒.การค้าขายสัตว์(เป็น) ๓.การค้าขายเนื้อสัตว์(ตาย) ๔.การค้าขายน้ำเมา ๕.การค้าขายยาพิษ (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๒ "วณิชชสูตร" ข้อ๑๗๗) นอกจากทรงห้ามการฆ่าสัตว์แล้ว พระพุทธเจ้าก็ยังทรงห้ามไปถึง....การค้าขายสัตว์ทั้งที่มีชีวิตอยู่ หรือ ทั้งที่ตาย กลายเป็นเนื้อสัตว์ด้วย ดังนั้นก็จะยิ่งเห็นได้ชัดเจน ถึงสภาพชีวิตความเป็นอยู่ ในด้านอาหารการกินของชาวพุทธได้ว่า จะทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ค้าขายกันเกลื่อนกล่นทั่วไปอย่างแน่นอน ถ้าพุทธศาสนิกชน ปฏิบัติตามคำสอน ของพระพุทธเจ้า อย่างถูกตรงแล้ว พระพุทธองค์ตรัส (๓) "สัตว์ทั้งหลายที่ไม่ได้ประทุษร้ายใคร ถูกนำมาฆ่า คนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ทั้งหลาย ย่อมเสื่อมจากธรรม วิญญูชนติเตียนแล้วอย่างนี้ วิญญูชนเห็นความจริง อันเลวทรามเช่นนี้ ในที่ใด ย่อมติเตียนคนผู้ทำการบูชาด้วยความตายของสัตว์ในที่นั้น" (พระไตรปิฎก เล่ม ๒๕ "พราหมณธรรมิกสูตร" ข้อ ๓๒๓) ไม่ใช่แค่เพียงห้ามชาวพุทธไม่ให้ฆ่าสัตว์ และห้ามค้าขายเนื้อสัตว์เท่านั้น พระพุทธเจ้ายังทรงติเตียนห้ามปราม แม้กระทั่งการใช้ความตายของสัตว์อื่น มาเป็นเครื่องสักการะบูชาอีกด้วย ดังนั้นการที่จะนำเอาเลือด เนื้อ เอ็น กระดูก ตับ ไต ไส้พุง หรืออวัยวะอื่นใดของสัตว์ มาเป็นเครื่องบูชา ต่อสิ่งที่ เราเคารพนับถือ หรือต่อบุคคลที่เราเคารพนับถือนั้น จึงเป็นการทำบาปมาหวังบุญ ช่างน่าติเตียน ไม่สมควรทำอย่างยิ่ง เมื่อเป็นเช่นนี้ การกราบไหว้บูชาใดๆของชาวพุทธ หรือแม้การตักบาตรพระ ก็ควรเป็นอาหาร ที่ไม่ต้อง เกิดบาปกรรม จากการฆ่าสัตว์ให้ถึงแก่ความตายเลย คือเป็น"อาหารมังสวิรัติ" จะประเสริฐกว่า พระพุทธองค์ตรัส (๔) "ชนใดกล่าวอย่างนี้ว่า ชนทั้งหลายย่อมฆ่าสัตว์เจาะจงพระสมณโคดม พระสมณโคดมทรงทราบข้อนั้นอยู่ ก็ยังทรงฉัน เนื้อสัตว์ที่เขาทำเฉพาะตน อาศัยตนทำดังนี้ ชนเหล่านั้นจะชื่อว่า กล่าวตรงกับที่เรากล่าวก็หามิได้ ชื่อว่ากล่าวตู่เราด้วยคำอันไม่จริง เรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า เป็นของควรบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้เห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนไม่ได้รังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) และเรากล่าวเนื้อสัตว์ว่า ไม่ควรเป็นของบริโภค ด้วยเหตุ ๓ ประการคือ ๑. เนื้อสัตว์ที่ตนเห็น(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๒. เนื้อสัตว์ที่ตนได้ยิน(ว่าเจาะจงฆ่ามา) ๓. เนื้อสัตว์ที่ตนรังเกียจ(ว่าเจาะจงฆ่ามา) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อ ๕๗) พระพุทธเจ้าทรงเป็นคนในลัทธิฮินดูมาก่อน ซึ่งไม่เคยเสวยเนื้อสัตว์เลยตลอดชีวิต เพราะฉะนั้นใครกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันเนื้อสัตว์ คนนั้นย่อมกล่าวตู่พระพุทธเจ้า แต่แม้ว่าพระพุทธเจ้าทรงเป็นนักมังสวิรัติก็ตาม ถึงกระนั้นก็ยังทรงมีบทอนุโลมให้แก่พระอยู่บ้าง ในกรณีที่ญาติโยมนำอาหารเนื้อสัตว์มาถวายพระ.... พระสามารถฉันเนื้อสัตว์นั้นได้ โดยไม่เป็นความผิดบาป ก็ต่อเมื่อพระนั้นจะต้องไม่ได้เห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือจะต้องไม่ได้รังเกียจว่าเขาฆ่าสัตว์กระทำผิดศีลข้อที่๑ เพื่อเอาเนื้อ มาทำเป็นอาหาร แล้วนำเนื้อนั้นมาเจาะจงถวายให้พระ แต่ถ้าพระเห็นว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือได้ยินว่าเขาเจาะจงฆ่ามา หรือคิดรังเกียจ ว่าเขาฆ่าสัตว์ กระทำ บาปกรรมขึ้น ก็เพื่อเอาเนื้อสัตว์ มาทำอาหาร แล้วนำอาหารเนื้อสัตว์นั้นมาเจาะจงถวายให้พระ เมื่อพิจารณา ดังนี้แล้วรู้สึกรังเกียจ พระก็ไม่สมควรฉันเนื้อสัตว์นั้นเลย เพราะย่อมรู้อยู่แก่ใจดีว่า พระเองได้ กลายเป็น ต้นเหตุ ให้สัตว์ต้องตาย และเป็นต้นเหตุให้ญาติโยมต้องได้"บาป" ในการทำผิดศีลข้อ ๑ ซะแล้ว ซึ่งถือว่าเป็น "การทำบุญ" แต่"ได้บาป"ของชาวบ้านนั่นเอง ดังนั้น หากเป็น"อาหารมังสวิรัติ"แล้ว ก็คงหมดห่วงในปัญหาเหล่านี้ไปได้ทั้งหมด เพราะพระท่านสามารถ จะพิจารณา อาหารได้ง่าย และ ฉันได้อย่างสบายใจ พระพุทธองค์ตรัส (๕) "ผู้ใดฆ่าสัตว์เจาะจงตถาคต หรือสาวกตถาคต ผู้นั้นย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ด้วย เหตุ ๕ ประการคือ ๑. ผู้นั้นกล่าวอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปนำสัตว์ชื่อโน้นมา พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญ เป็นอันมาก ๒. สัตว์นั้นเมื่อถูกเขาผูกคอนำมา ได้รับทุกข์เสียใจ ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๓. ผู้นั้นพูดอย่างนี้ว่า ท่านทั้งหลายจงไปฆ่าสัตว์นี้ พูดดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๔. สัตว์นั้นเมื่อกำลังถูกเขาฆ่า ย่อมได้รับทุกข์เสียใจ ดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก ๕. ผู้นั้นย่อมยังตถาคตและสาวกตถาคตให้ยินดีด้วยเนื้อสัตว์อันเป็นอกัปปิยะ (ของต้องห้าม ไม่สมควร แก่ภิกษุ จะบริโภค) ทำดังนี้ชื่อว่า ย่อมประสบบาป มิใช่บุญเป็นอันมาก (พระไตรปิฎก เล่ม ๑๓ "ชีวกสูตร" ข้อที่ ๖๐) บรรดาชาวบ้านที่ทำอาหารเนื้อสัตว์ไปถวายพระ หรือใส่บาตรพระ เพื่อหวังบุญกุศลนั้น จะรู้หรือไม่ว่า การที่สัตว์ ต้องถูกฆ่า เพื่อทำเป็นอาหารนั้น ก็เป็นบาปกรรมแล้ว แต่จะบาปหนักขึ้นมิใช่บุญเลย เมื่อเจาะจง นำเนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ ดังนั้นผู้ปรารถนาบุญอย่างแท้จริง ไม่น่าเสี่ยงต่อการที่จะทำบุญแล้วได้บาปแทน สมควรทำเป็น "อาหารมังสวิรัติ" ดีกว่า จะได้บุญสมใจ ทั้งยังเป็นการปฏิบัติถูกต้อง ไม่ประมาท ต่อคำเตือน ของพระพุทธเจ้า อีกด้วย ในพระสูตรนี้มีข้อน่าสังเกต ที่ชาวบ้านอาจคาดไม่ถึงก็คือ การฆ่าสัตว์ทำเป็นอาหาร แล้วเจาะจง นำอาหาร เนื้อสัตว์นั้น ไปถวายพระ จะได้รับบาปกรรมแทนบุญนั้น เหตุหนึ่งก็เพราะ ทำให้พระเกิดความยินดี ในการฉัน เนื้อสัตว์ อันเป็นของต้องห้าม ที่พระไม่ควรฉัน พระพุทธองค์ตรัส (๖) "ดูก่อนภิกษุ ภิกษุฉันเนื้อเดน(ของเหลือทิ้ง)จากราชสีห์ เนื้อเดนจากเสือโคร่ง เนื้อเดนจากเสือเหลือง เนื้อเดน จากเสือดาว เนื้อเดนจากสุนัขป่า ภิกษุนั้นไม่เป็นอาบัติ (ไม่เป็นโทษผิด) (พระไตรปิฎก เล่ม ๑ "ทุติยปาราชิกกัณฑ์ วินีตวัตถุ" ข้อ ๑๓๗) โอกาสที่พระจะฉันเนื้อสัตว์ได้ ก็ยังมีอยู่อีกประการคือ เนื้อสัตว์ที่เป็นของเหลือทิ้งแล้ว จากการถูกฆ่าตาย ด้วยสัตว์ ดิรัจฉานอื่นๆ ดังนั้นหากชาวบ้านได้เนื้อเดนสัตว์ หรือเนื้อบังสุกุล(เนื้อทิ้งแล้ว)มา ย่อมสามารถนำมาทำเป็นอาหาร ถวายพระ ได้โดยปลอดภัย ไร้โทษบาปเวรใดๆ มิหนำซ้ำยังเป็นบุญกุศลอีกด้วย พระพุทธองค์ตรัส (๗) "ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุไม่พึงฉันเนื้อมนุษย์ เนื้อช้าง เนื้อม้า เนื้อสุนัข เนื้องู เนื้อราชสีห์ เนื้อเสือโคร่ง เนื้อเสือเหลือง เนื้อหมี เนื้อเสือดาว อนึ่ง ภิกษุยังไม่ได้พิจารณา ไม่พึงฉันเนื้อ หากภิกษุรูปใดฉันเนื้อนั้น ต้องอาบัติ (ต้องโทษผิด) ทุกกฏ (พระไตรปิฎก เล่ม ๕ "เภสัชชขันธกะ" ข้อ ๕๙-๖๐) พระพุทธเจ้าอนุโลมให้พระฉันเนื้อได้บ้างเท่านั้น ด้วยเหตุบางประการดังกล่าวมาแล้ว แต่แม้ในบท อนุโลม นั้น ก็ไม่ทรงอนุญาตให้พระฉันเนื้อ ๑๐ ชนิดเหล่านี้เลย หากพระรูปใดฉัน ก็ต้องมีความผิด นั่นก็คือ ชีวิตปกติจะต้องงดเว้นเนื้อ(มังสวิรัติ) ๑๐ ชนิดเหล่านี้อย่างเด็ดขาด จุดที่น่าให้ความสนใจ ในพระสูตรนี้ก็คือ ทุกครั้งที่พระจะฉันอาหารเนื้อสัตว์ ซึ่งญาติโยมนำมาถวาย จะต้อง พิจารณาเนื้อนั้น ให้ชัดเจน ก่อนขบฉันทุกครั้งไปว่า เนื้อนั้นห้ามฉันหรือไม่ อันเป็นความยุ่งยาก แก่พระ ไม่น้อยทีเดียว ฉะนั้นจึง ควรทำอาหารประเภท ไม่มีเนื้อสัตว์ ใส่บาตร หรือถวายพระจะดีกว่า โดยสรุปจากพระสูตรเท่าที่ยกตัวอย่างมานี้ ก็พอจะเห็นได้ว่า พระพุทธเจ้าทรงเป็น "นักมังสวิรัติเอกของโลก" อย่างแน่นอน เพราะทรงใช้ วิธีการต่างๆ นำมาห้ามกั้นไม่ให้ชาวพุทธ ได้กินเนื้อสัตว์ ทั้งยังทรงตำหนิการฆ่าสัตว์ อันเป็นที่มาของอาหารเนื้อสัตว์ว่า เป็นเรื่องบาปกรรมแท้ๆ ส่วนผู้ที่ยังมีความสงสัยว่า พระพุทธเจ้าทรงฉันอาหารชื่อ"สุกรมัทวะ" แล้วก็ถึงแก่ปรินิพพานไปนั้น อย่าเข้าใจผิดว่า อาหารสุกรมัทวะนั้น คือ"เนื้อสุกรอ่อน" เพราะที่ถูกต้องเป็นจริงนั้นคือ "อาหารที่ปรุงด้วยเห็ด ชนิดที่หมูชอบกิน" ต่างหากเล่า ซึ่งสามารถค้นดูหลักฐานได้จาก พระไตรปิฎกเล่ม ๑๐ "มหาปรินิพพานสูตร" ข้อ ๑๑๗ แล้วท่าน ก็จะได้หมดสงสัยเสียที สุดท้ายนี้ถามใจตัวเองดูสิว่า วันพระนี้ หรือ.... วันคล้ายวันเกิด (จันทร์,อังคาร,...ฯลฯ) ในสัปดาห์นี้ หรือ.... เข้าพรรษานี้ ลองหันมากิน "อาหารมังสวิรัติ" และทำ "อาหารมังสวิรัติ" ถวายพระให้เป็นบุญกุศลอันยิ่ง.ขึ้นไป...

โมฆราชมาณพ ทูลถามปัญหาว่า ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ศากยะ ข้าพระองค์ได้ทูลถามปัญหาถึงสองครั้งแล้ว พระองค์ผู้มีพระจักษุ ไม่ทรงพยากรณ์แก่ ข้าพระองค์ แต่ข้าพระองค์ ได้สดับมาว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นเทพฤาษี จะทรง พยากรณ์ในครั้งที่สาม ข้าพระองค์จึงขอทูล ถามว่า โลกนี้ โลกอื่น พรหมโลกกับทั้ง เทวโลก ข้าพระองค์ย่อมไม่ทราบความเห็น ของพระองค์ผู้โคดม ผู้เรืองยศ ข้าพระองค์ มีความต้องการด้วยปัญหา จึงได้มาเฝ้า พระองค์ ผู้มีปกติเห็นธรรมอันงามอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลกอย่างไร มัจจุราช จึงจะไม่เห็น. พระผู้มีพระภาคเจ้า ตรัสพยากรณ์ว่า ดูกร โมฆราช ท่านจงเป็นผู้มีสติ ทุกเมื่อ พิจารณาเห็นโลกโดยความเป็นของ ว่างเปล่าเถิด จงถอนความตามเห็นว่าเป็น ตัวตนเสียแล้ว พึงเป็นผู้ข้ามพ้นมัจจุราชได้ ด้วยอาการอย่างนี้ บุคคลผู้พิจารณาเห็นโลก อยู่อย่างนี้ มัจจุราชจึงจะไม่เห็น

ดั่งดอกบัวของพระโพธิสัตว์

Homemade Welding Inverter

กรุณาธารณีสูตร 2 ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

กรุณาธารณีสูตร ไม่ควรเพื่อทำกาละตราบเท่าที่ยัง ไม่ทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล. ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้ใดรู้เห็นธรรมเหล่านี้อย่างนี้. เรากล่าวผู้นี้ว่า เป็นโสดาบัน มีความไม่ตกต่ำเป็นธรรมดา เป็นผู้เที่ยงที่จะตรัสรู้เป็นเบื้องหน้า.

ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา..ท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่า­ว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่า­ว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

พระอานนท์พระพุทธอนุชาผู้ประเสริฐท่ามกลางความสับสนอลหม่านใจจิตใ­จของผู้ คนอันเกิดจากเปลี่ยนแปลงอย่างรว­ดเร็วของสังคม และศีลธรรมที่เสื่อมสลาย ทุกคนแสวงหาทางออกซึ่งยากที่จะป­ระสบ แต่ทางออกเพื่อหนีจากความสับสน วุ่น..วาย...เหล่านี้ได้ปรากฏแล้วใน "พระอานนท์พุทธอนุชา" ซึ่งเป็นผลงานของวศิน อินทสระ ผู้ได้รับการยอมรับว่าเป็นนักปร­าชญ์ทางพุทธศาสนาท่านหนึ่ง ในผลงานดังกล่าวท่านได้หยิบยกเอ­าแง่มุมต่างๆ ของพระพุทธศาสนาที่สามารถประยุก­ต์ใช้ได้ในชีวิตปัจจุบันมากล่า­ว­อธิบายไว้ด้ว ยภาษาที่สละสลวย และง่ายแก่การเข้าใจของคนทั่วๆ ไป

วันอาทิตย์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2557

โลกธาตุหนึ่ง มีพระพุทธเจ้าเพียงองค์เดียว อานนท์! ภิกษุผู้ฉลาดในฐานะและอฐานะนั้น ย่อมรู้ว่า ข้อนี้มิใช่ ฐานะ ข้อนี้มิใช่โอกาสที่จะมี คือข้อที่ในโลกธาตุอันเดียว จะมีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะ สององค์ เกิดขึ้นพร้อมกัน ไม่ก่อน ไม่หลังกัน. นั่นมิใช่ฐานะที่จะมีได้. ส่วนฐานะ อันมีได้นั้น คือใน โลกธาตุอันเดียว มีพระตถาคต ผู้อรหันตสัมมาสัมพุทธะองค์เดียว เกิดขึ้น. นั่นเป็นฐานะที่จะมีได้.

กายสังขารวจีสังขารจิตสังขาร บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

กายสังขารวจีสังขารจิตสังขาร บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

วิธีบัดกรีอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 2 บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

ช้าก่อนไม่พึงด่วนทำกาละแปลว่าอย่าพึ่งตายยังไม่ถึงเวลา.. บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ บาปกรรมที่ทำไว้ ผู้ใดละเสียได้ด้วยกุศล ผู้นั้นย่อมทำโลกนี้ให้สว่างไสว ดุจดวงจันทร์พ้นจากเมฆ ฉะนั้น

คาถาธรรมบท ภาษาไทย ฉบับสมบูรณ์ อุฏฺานกาลมฺหิ อนุฏฺหาโน ยุวา พลี อาลสิย อุเปโต สสนฺนสงฺกปฺปมโน กุสีโต ปญฺาย มคฺค อลโส น วินฺทติ. " ก็บุคคลยังหนุ่มแน่นมีกำลัง (แต่) ไม่ขยันใน กาลที่ควรขยัน เข้าถึงความเป็นผู้เกียจคร้าน มีใจ ประกอบด้วยความดำริอันจมแล้ว ขี้เกียจ เกียจคร้าน ย่อมไม่ประสบทางด้วยปัญญา."

วันเสาร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2557

จิตของเราถึงธรรมปราศจากเครื่องปรุงแต่งแล้ว ฐานแห่งจิตจะอยู่ไม่คงที่ เปลี่ยนที่อยู่ไปเรื่อย แต่ว่าอยู่ในกายแน่นอน ไม่ต้องไปหานอกกาย ... ไม่ใช่จิต แต่จิตนั้นโดยตัวมันเองก็ไม่ใช่จิต ขอให้เลิกละการคิดและการอธิบายเสียให้หมดสิ้น .... เมื่อสังขารดับได้แล้ว ความเป็นตัวเป็นตนก็จะไม่มี เพราะไม่ได้เข้าไปเพื่อปรุงแต่ง .... เมื่อเราสังเกตกิริยาจิตไปเรื่อยๆ จนเข้าใจถึงเหตุปัจจัยของอารมณ์ความนึกคิด 

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี...เราภาวนาไปแล้วเราจะไม่ได้อะไรมา และเราจะไม่ได้เสียอะไรไป เพราะเราไม่มีอะไรอยู่ตั้งแต่้แรกแล้ว จะไม่มีอะไรเลย จิตถัดจากนั้นจะเป็นอย่างไร จิตที่ปล่อยวางจิตไปแล้ว จะมีแต่ความสุขล้วนๆ ยืนเดินนั่งนอนมีแต่ความสุขล้วนๆเลย เกิดอะไรขึ้น จิตจะไม่มีกระเพื่อมไหวเลย กลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับธรรมชาติ ฉะนั้นจิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน หลอมหลวมเข้าด้วยกัน จิตที่หลอมรวมเข้ากับธรรมแล้ว จิตกับธรรมะก็เป็นอันเดียวกัน จิตอันนั้นเรียกว่า “พระสงฆ์” จิตอันนั้นเป็น “พระพุทธ-พุทธะ” พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เป็นอันเดียวกัน

สู้ทีไรชั้นแพ้ทุกทีเลย เพราะต่อไปนี้ไม่สู้กิเลสแล้ว จะรู้มันไปเรื่อยๆ นี...อย่าไปเล่น ตามเกมส์ ของกิเลส เพียงสังเกต นิ่งดู,รู้ อยู่เฉยๆ เป็นเพียงผู้ดู ไม่เป็นผู้เป็น อย่าละเลย จะเสบย สังขารที่ปรุง ดับไปเอง ไม่ถอย ไม่สู้ ไม่อยู่ไม่หนี